1. สถานการณ์การผลิต
เอ็นจีโอในเยอรมันนี ประกาศต่อต้านการทำนากุ้งของไทย
รายงานข่าวจากกระทรวงพาณิชย์แจ้งว่า สำนักงานพาณิชย์ในต่างประเทศ ณ กรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี ได้รายงานมายังกระทรวงพาณิชย์ว่า ขณะนี้กลุ่ม FIAN (Food-First Informations & Actions Network) ซึ่งเป็นองค์กรเอกชนที่เกี่ยวข้องกับ สิ่งแวดล้อมและสิทธิมนุษยชนในเยอรมนี ได้ประกาศกิจกรรมต่อต้านการผลิตกุ้งจาก เอกวาดอร์และไทย โดยระบุว่าการทำนากุ้ง โดยเฉพาะของไทยทำลายป่าชายเลน และทำให้ดินเค็ม ทั้งนี้ เนื่องจากเยอรมนีเป็นหนึ่งในสมาชิกอียูที่เข้มงวดการอนุรักษ์ สิ่งแวดล้อม และหากเยอรมนีมีมาตรการใด ๆ ออกมาใช้กับกุ้งไทย หรือห้ามนำเข้ากุ้งไทย ประเทศสมาชิกอื่น ๆ ของอียูก็อาจเห็นชอบด้วย ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการส่งออกกุ้งไทย เพราะอียูเป็นตลาดใหญ่ ทั้งนี้หากมีการประกาศต่อต้านกุ้งไทย ผู้ส่งออกไทยคงมีปัญหาเช่นเดียวกับที่สหรัฐฯ เคยห้ามนำเข้ากุ้งไทย เพราะไม่ได้ติดเครื่องแยกเต่าทะเล (TEDs) มาแล้ว แต่ครั้งนั้นไทยได้ฟ้องร้องสหรัฐฯ ในเวทีองค์การการค้าโลก (WTO) จนได้รับชัยชนะมาแล้ว
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ( 26-31 กค.2543) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,410.51 ตัน แยกเป็นสัตว์ น้ำเค็ม 581.98 ตัน สัตว์น้ำจืด 828.53 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 5.20 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 5.61 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 67.53 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 76.57 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 62.60 ตัน
2. สถานการณ์การตลาด
การนำเข้ากุ้งของโปแลนด์มีแนวโน้มขยายตัวได้สูง
รายงานข่าวจากกรมส่งเสริมการส่งออก แจ้งว่า การนำเข้ากุ้งของโปแลนด์ มีแนวโน้มขยายตัวได้สูง เนื่องจากเศรษฐกิจเริ่มดีขึ้น ประกอบกับผู้นำเข้าพยายามส่งเสริมให้บริโภคกุ้งเพิ่มขึ้นโดยส่วนใหญ่จะนำเข้าจากเยอรมันเป็นหลัก
กุ้งของไทยมีราคาสูงกว่าคู่แข่ง แต่ผู้นำเข้าโปแลนด์ก็พอใจที่จะนำเข้า จากไทย เนื่องจากคุณภาพดีกว่า และตลาดกุ้งยังเป็นกลุ่มผู้ที่มีรายได้สูง ส่วนการบริโภคสัตว์น้ำมีประมาณปีละ 6.5 กก./คน ส่วนใหญ่เป็นเนื้อปลา และมีแนวโน้มที่จะบริโภค เพิ่มขึ้น เนื่องจากชาวโปแลนด์ให้ความสำคัญต่ออาหารเพื่อสุขภาพ อย่างไรก็ตามชาว โปแลนด์ ไม่รู้จักวิธีการปรุงอาหารจากกุ้ง ปลาหมึก ปูและหอยมากนัก
ดังนั้น ในการขยายการส่งออกของไทย ผู้ส่งออกไทยจะต้องร่วมมือกับ ผู้นำเข้าโปแลนด์ในการส่งเสริมให้ชาวโปแลนด์รู้จักวิธีการปรุงอาหารจากกุ้ง และต้องยอมรับการขายแบบคละสินค้า-คละขนาดในตู้คอนเทนเนอร์เพราะความต้องการบริโภคใน โปแลนด์ ยังมีจำกัด ปริมาณการสั่งซื้อยังไม่มากพอ แต่เชื่อว่าจะขยายเพิ่มขึ้นในระยะต่อไป
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 27.55 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 27.11 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.44 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 49.17 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 48.18 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.99 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน2.3 กุ้งกุลาดำ กุ้งกุลาดำสดขนาดกลางราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 396.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 387.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 9.00 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 421.67 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 419.37 บาท ของสัปดาห์ 2.30 บาท2.4 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 17.47 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 17.80 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.33 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.5 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดชาวประมงขายได้ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 59.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 47.67 บาท ของสัปดาห์ก่อน 11.33 บาทสำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ80.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.6 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 3.11 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 3.25 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.14 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นเกรดเบอร์สาม (ระหว่างวันที่ 7 - 11 สค.43) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 13.60 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 31 ประจำวันที่ 7 - 13 ส.ค. 2543--
-สส-
เอ็นจีโอในเยอรมันนี ประกาศต่อต้านการทำนากุ้งของไทย
รายงานข่าวจากกระทรวงพาณิชย์แจ้งว่า สำนักงานพาณิชย์ในต่างประเทศ ณ กรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี ได้รายงานมายังกระทรวงพาณิชย์ว่า ขณะนี้กลุ่ม FIAN (Food-First Informations & Actions Network) ซึ่งเป็นองค์กรเอกชนที่เกี่ยวข้องกับ สิ่งแวดล้อมและสิทธิมนุษยชนในเยอรมนี ได้ประกาศกิจกรรมต่อต้านการผลิตกุ้งจาก เอกวาดอร์และไทย โดยระบุว่าการทำนากุ้ง โดยเฉพาะของไทยทำลายป่าชายเลน และทำให้ดินเค็ม ทั้งนี้ เนื่องจากเยอรมนีเป็นหนึ่งในสมาชิกอียูที่เข้มงวดการอนุรักษ์ สิ่งแวดล้อม และหากเยอรมนีมีมาตรการใด ๆ ออกมาใช้กับกุ้งไทย หรือห้ามนำเข้ากุ้งไทย ประเทศสมาชิกอื่น ๆ ของอียูก็อาจเห็นชอบด้วย ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการส่งออกกุ้งไทย เพราะอียูเป็นตลาดใหญ่ ทั้งนี้หากมีการประกาศต่อต้านกุ้งไทย ผู้ส่งออกไทยคงมีปัญหาเช่นเดียวกับที่สหรัฐฯ เคยห้ามนำเข้ากุ้งไทย เพราะไม่ได้ติดเครื่องแยกเต่าทะเล (TEDs) มาแล้ว แต่ครั้งนั้นไทยได้ฟ้องร้องสหรัฐฯ ในเวทีองค์การการค้าโลก (WTO) จนได้รับชัยชนะมาแล้ว
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ( 26-31 กค.2543) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,410.51 ตัน แยกเป็นสัตว์ น้ำเค็ม 581.98 ตัน สัตว์น้ำจืด 828.53 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 5.20 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 5.61 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 67.53 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 76.57 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 62.60 ตัน
2. สถานการณ์การตลาด
การนำเข้ากุ้งของโปแลนด์มีแนวโน้มขยายตัวได้สูง
รายงานข่าวจากกรมส่งเสริมการส่งออก แจ้งว่า การนำเข้ากุ้งของโปแลนด์ มีแนวโน้มขยายตัวได้สูง เนื่องจากเศรษฐกิจเริ่มดีขึ้น ประกอบกับผู้นำเข้าพยายามส่งเสริมให้บริโภคกุ้งเพิ่มขึ้นโดยส่วนใหญ่จะนำเข้าจากเยอรมันเป็นหลัก
กุ้งของไทยมีราคาสูงกว่าคู่แข่ง แต่ผู้นำเข้าโปแลนด์ก็พอใจที่จะนำเข้า จากไทย เนื่องจากคุณภาพดีกว่า และตลาดกุ้งยังเป็นกลุ่มผู้ที่มีรายได้สูง ส่วนการบริโภคสัตว์น้ำมีประมาณปีละ 6.5 กก./คน ส่วนใหญ่เป็นเนื้อปลา และมีแนวโน้มที่จะบริโภค เพิ่มขึ้น เนื่องจากชาวโปแลนด์ให้ความสำคัญต่ออาหารเพื่อสุขภาพ อย่างไรก็ตามชาว โปแลนด์ ไม่รู้จักวิธีการปรุงอาหารจากกุ้ง ปลาหมึก ปูและหอยมากนัก
ดังนั้น ในการขยายการส่งออกของไทย ผู้ส่งออกไทยจะต้องร่วมมือกับ ผู้นำเข้าโปแลนด์ในการส่งเสริมให้ชาวโปแลนด์รู้จักวิธีการปรุงอาหารจากกุ้ง และต้องยอมรับการขายแบบคละสินค้า-คละขนาดในตู้คอนเทนเนอร์เพราะความต้องการบริโภคใน โปแลนด์ ยังมีจำกัด ปริมาณการสั่งซื้อยังไม่มากพอ แต่เชื่อว่าจะขยายเพิ่มขึ้นในระยะต่อไป
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 27.55 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 27.11 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.44 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 49.17 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 48.18 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.99 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน2.3 กุ้งกุลาดำ กุ้งกุลาดำสดขนาดกลางราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 396.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 387.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 9.00 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 421.67 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 419.37 บาท ของสัปดาห์ 2.30 บาท2.4 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 17.47 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 17.80 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.33 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.5 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดชาวประมงขายได้ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 59.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 47.67 บาท ของสัปดาห์ก่อน 11.33 บาทสำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ80.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.6 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 3.11 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 3.25 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.14 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นเกรดเบอร์สาม (ระหว่างวันที่ 7 - 11 สค.43) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 13.60 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 31 ประจำวันที่ 7 - 13 ส.ค. 2543--
-สส-