ภาวะสินค้าเกษตรกรรม
ในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้พืชผลเกษตรที่สำคัญ ได้แก่ ข้าว มันสำปะหลัง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ อ้อยโรงงาน ส่วนใหญ่ของภาคได้เสร็จสิ้นการเก็บเกี่ยวลงแล้ว ผลผลิตเริ่มทยอยออกสู่ตลาด ราคาข้าวลดลง เนื่องจากข้าวนาปรังออกสู่ตลาด ส่งผลให้ราคาข้าวลดลง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ราคาลดลง เนื่องจากการนำผลผลิตในสต๊อกออกจำหน่ายเป็นจำนวนมาก ส่วนมันสำปะหลังและอ้อยโรงงานราคาปรับตัวสูงขึ้น
ข้าว ในช่วงไตรมาสแรกปีนี้ ผลผลิตข้าวออกสู่ท้องตลาดในปริมาณไม่มากนัก เนื่องจากราคาข้าวไม่จูงใจ ประกอบกับมีโครงการรับจำนำข้าวซึ่งเริ่มจากเดือนพฤศจิกายน 2543 ระยะเวลาไถ่ถอน 5 เดือน เกษตรกรจึงนำผลผลิตส่วนหนึ่งไปเข้าโครงการดังกล่าว ด้านการตลาดความต้องการรับซื้อลดลงเพื่อการส่งออกลดน้อยลง ขณะที่พ่อค้าท้องถิ่นมีการรับซื้อข้าวกักตุนเพื่อเก็งกำไรเพราะคาดว่าราคาข้าวจะปรับตัวสูงขึ้น
ราคาขายส่งเฉลี่ยข้าวเปลือก 10% เกวียนละ 4,510 บาท ลดลงร้อยละ 7.6 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนเกวียนละ 4,882 บาท ข้าวเปลือกเหนียว 10% เกวียนละ 4,843 บาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.0 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนเกวียนละ 4,210 บาท ข้าวสารเจ้า 10% กระสอบละ 961 บาท ลดลงร้อยละ 10.6 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน 1,075 บาท ข้าวสารเหนียว 10% (เมล็ดสั้น) กระสอบละ 1,063 บาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.2 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนกระสอบละ 907 บาท
มันสำปะหลัง เกษตรกรมีการขุดหัวมันออกจำหน่ายจำนวนมากในช่วงปลายเดือนมีนาคม หัวมันที่ยับไม่ได้ขุดเหลือเพียงเล็กน้อย เกษตรกรจัดเตรียมท่อนพันธุ์เพื่อการเพาะปลูกในช่วงต้นฤดูฝน สำหรับด้านการตลาดราคายังไม่ดีนัก เนื่องจากความต้องการของตลาดลดลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งตลาดที่สำคัญ ได้แก่ ตลาดยุโรป
ราคาขายส่งเฉลี่ยหัวมันสำปะหลังกิโลกรัมละ 0.78 บาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.8 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนกิโลกรัมละ 0.73 บาท มันเส้นกิโลกรัมละ 1.57 บาท ลดลงร้อยละ 0.6 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนกิโลกรัมละ 1.58 บาท มันอัดเม็ดกิโลกรัมละ 2.09 บาท ลดลงร้อยละ 1.4 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน 2.12 บาท
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ในไตรมาสแรกของปีเกษตรกรอยู่ระหว่างการเก็บเกี่ยวข้าวโพดรุ่นที่สองและเตรียมการเพาะปลูกข้าวโพดรุ่นที่หนึ่ง ราคาข้าวโพดปรับตัวลดลงเนื่องจากมีการนำข้าวโพดในสต๊อกออกขายจำนวนมาก ทำให้ราคาข้าวโพดลดลงโดยราคาขายส่งเฉลี่ยข้าวโพดเลี้ยงสัตว์กิโลกรัมละ 4.10 บาท ลดลงร้อยละ 79.7 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน 4.93 บาท
ราคาขายส่งเฉลี่ยพืชที่สำคัญในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
รายการ 2543 2544
ไตรมาส 1 ไตรมาส 4 ไตรมาสแรก
ข้าวเปลือกเจ้า 10% (บาทต่อเกวียน) 4,882.00 4,887.00 4,510.00
(-18.3) (-6.2) (-7.6)
ข้าวเปลือกเหนียว 10% (บาทต่อเกวียน) 4,210.00 4,585.00 4,843.00
(-16.1) -12.9 -15
ข้าวสารเจ้า 10% (บาทต่อเกวียน) 1,075.00 1,008.00 961
(-13.8) (-9.6) (-10.6)
ข้าวสารเหนียว 10% (บาทต่อกระสอบ) 907 1,038.00 1,063.00
(-17.6) -15.7 -17.2
มันสำปะหลัง (บาทต่อกิโลกรัม) 0.73 0.72 0.78
(-27.0) (-8.87) -6.8
มันเส้น (บาทต่อกิโลกรัม) 1.58 1.48 1.57
(-21.0) (-24.49) (-0.6)
มันอัดเม็ด (บาทต่อกิโลกรัม) 2.12 1.9 2.09
(-21.2) (-23.08) (-1.4)
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ (บาทต่อกิโลกรัม) 4.93 4 4.1
-25.1 (-9.91) (-79.7)
ปอฟอกเกรดบี (บาทต่อกิโลกรัม) 9.67 9.3 10.75
-85.3 (-3.83) -11.2
ที่มา : พาณิชย์จังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
การลงทุนภาคเอกชน
การส่งเสริมการลงทุน ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2544 ภาวะการส่งเสริมการลงทุนชะลอตัวอย่างเห็นได้ชัด จากจำนวนโครงการและเงินลงทุนที่ลดลง โดยมีจำนวน 5 โครงการ เงินลงทุน 258.9 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 58.3 และร้อยละ 77.5 ตามลำดับ ส่วนมากเป็นโครงการขนาดเล็ก โดยอุตสาหกรรมที่นักลงทุนสนใจลงทุน ได้แก่ อุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์และชิ้นส่วนเครื่องจักร อุตสาหกรรมเบา ประเภทสิ่งทอ เครื่องนุ่งห่มสำเร็จรูป
เป็นที่น่าสังเกตว่าอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ซึ่งเป็นโรงงานที่จังหวัดนครราชสีมา ขณะนี้กำลังขยายการผลิตอย่างต่อเนื่องเพื่อป้อนให้อุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ส่งออก ซึ่งตั้งอยู่ในภาคกลางและโครงการพัฒนาชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก (Eastern Seaboard)
ในส่วนอุตสาหกรรมสิ่งทอและอุตสาหกรรมเกษตรก็ยังมีแนวโน้มขยายตัวดูจากความสนใจของนักลงทุนที่มาขอคำปรึกษาแนะนำ เพื่อขอรับการส่งเสริมการลงทุนจากศูนย์เศรษฐกิจการลงทุนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
รายการ 2543 2544
ไตรมาสแรก ไตรมาส 4 ไตรมาสแรก
จำนวนโครงการ 12 23 5
-50 -109 (-58.3)
เงินลงทุน (ล้านบาท) 1,154.00 2,005.70 258.9
(-95.80) -127.4 (-77.5)
ที่มา : ศูนย์เศรษฐกิจการลงทุนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ภาคการก่อสร้าง
การก่อสร้างยังทรงตัว โดยส่วนใหญ่เป็นการก่อสร้างที่อยู่อาศัยเป็นสำคัญ การก่อสร้างอาคารพาณิชย์ ส่วนใหญ่มีเฉพาะจังหวัดหลักของภาคฯ ได้แก่ นครราชสีมา ขอนแก่น อุดรธานีและอุบลราชธานี
โดยพื้นที่รับอนุญาตก่อสร้างในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้มี 137,997 ตารางเมตร ลดลงร้อยละ 38.1 เป็นพื้นที่รับอนุญาตก่อสร้างที่อยู่อาศัยมากที่สุด สัดส่วนร้อยละ 74.0 ลดลงร้อยละ 23.7 ขณะที่การก่อสร้างอาคารพาณิชย์ 33,347 ตารางเมตร สัดส่วนร้อยละ 24.2 ลดลงร้อยละ 36.3
จังหวัดนครราชสีมามีพื้นที่ขอรับอนุญาตก่อสร้างมากที่สุด รองลงมาได้แก่ อุบลราชธานี สุรินทร์ ขอนแก่น และอุดรธานี
พื้นที่รับอนุญาตก่อสร้างในเขตเทศบาลเมืองและเทศบาลนคร
ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
(พันตารางเมตร)
รายการ 2543 2544
ไตรมาสแรก ไตรมาส 4 ไตรมาสแรก
ที่อยู่อาศัย 133.8 123.4 102
-57.1 (-9.9) (-23.7)
อาคารพาณิชย์ 52.3 61.1 33.3
-22.4 -107.6 (-36.3)
รวม 223.1 194.8 137.9
-64.3 (-1.3) (-38.1)
ที่มา : สำนักงานเทศบาลนครและเมืองในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
การซื้อขายที่ดิน
ในช่วงเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ปีนี้ มูลค่าการซื้อขายที่ดินในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3,276.4 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 1.2 โดยมีธุรกรรมการซื้อขายที่ดิน 20,489 ราย เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.9 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
โดยจังหวัดนครราชสีมามีการซื้อขายที่ดินสูงที่สุด รองลงมาได้แก่ จังหวัดขอนแก่น อุดรธานี และอุบลราชธานี ตามลำดับ
การซื้อขายที่ดินในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
(พัน ตรม.)
รายการ 2543 2544
ไตรมาสแรก ไตรมาส 4 ม.ค.-ก.พ.
การซื้อขายที่ดิน
จำนวนราย 59,541 48,628 20,489
-2.3 (-2.4) -6.9
มูลค่า (ล้านบาท) 10,072.70 8,251.90 3,276.40
-13.5 -3.2 (-1.2)
ที่มา : สายนโยบายการเงิน รวบรวมจากกรมที่ดิน กระทรวงมหาดไทย
ภาวะการค้าชายแดนไทย-ลาว
ไตรมาสแรกปี 2544 มูลค่าการค้าไทย-ลาว 4,724.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.1 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการส่งออก 3,588.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.8 สินค้าที่สำคัญ ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้า 490.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 72.5 สินค้าบริโภคในครัวเรือน 394.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 36.6 การนำเข้า 1,136.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.3 สินค้านำเข้า ที่สำคัญยังคงเป็นไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ 883.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.6
การค้าชายแดนไทย-ลาว
(ล้านบาท)
รายการ 2543 2544
ไตรมาสแรก ไตรมาส 4 ไตรมาสแรก
มูลค่าการค้า 4,289.40 4,707.50 4,724.70
-25.5 -37.8 -10.1
การส่งออก 3,329.00 3,991.80 3,588.20
-24.5 -27.5 -7.8
การนำเข้า 960.4 715.6 1,136.50
-185.7 -151.2 -18.3
ดุลการค้า 2,368.60 3,276.20 2,451.70
-1.3 (-4.1) -3.5
ที่มา : ด่านศุลกากรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
การส่งออก
ในช่วงไตรมาสแรก การส่งออก 3,588.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.8 โดยสินค้าหมวดอุปโภคบริโภค 1,427.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.6 สินค้าที่สำคัญ ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้า 490.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 72.5 สินค้าบริโภคในครัวเรือน 394.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 36.6 ยานพาหนะและอุปกรณ์ 343.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 42.5 สินค้าหมวดวัตถุดิบและ กึ่งวัตถุดิบ 380.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 61.8 สินค้าที่สำคัญ ได้แก่ ผ้าผืน 115.4 ล้นบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.6 อุปกรณ์ตัดเย็บ 105.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 71.2 เหล็กและเหล็กกล้า 57.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 448.6 พืชไร่ 17.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นถึงสิบสองเท่า ปศุสัตว์ประมง 23.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 262.6 กระดาษและกระดาษแข็ง 16.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.6 วัตถุดิบอื่น ๆ (เมล็ดพลาสติก ขวดพลาสติก ฯลฯ) 34.8 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 17.1 สินค้าหมวดทุน 557.2 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 27.4 สินค้าที่สำคัญ ได้แก่ เครื่องจักรและอุปกรณ์ 107.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 31.1 แก้วและเครื่องแก้ว 27.4 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 39.3 คอมพิวเตอร์ 8.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 35.3 วัสดุก่อสร้าง 402.8 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 34.0 ปุ๋ย 10.6 ล้านบาท ลดลง ร้อยละ 75.6
การนำเข้า
การนำเข้า 1,136.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.3 สินค้าที่สำคัญ ได้แก่ ไม้และ ผลิตภัณฑ์ไม้ 883.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.6 พืชไร่ 56.47 ล้านบาท เพิ่มขึ้นถึงสามสิบเท่า หนังโค-กระบือ 18.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 128.2 สินแร่ 91.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 185.2 เครื่องจักรและอุปกรณ์ 7.3 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 72.8 ของป่า 6.2 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 11.7
การค้าผ่านแดน
ประเทศลาวนำเข้าสินค้าจากประเทศที่สามผ่านแดนไทย 3,432.3 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 45.6 จากระยะเดียวกันของปีก่อนลาวนำเข้า 6,313.3 ล้านบาท เนื่องจากการนำเข้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์เพียง 172.5 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 91.7 เครื่องจักรและอุปกรณ์ 143.1 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 90.2 วัสดุก่อสร้าง 60.3 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 39.7 แต่มีการนำเข้าสุรา 475.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเกือบสามเท่า ขณะเดียวกันลาวส่งออกผ่านไทยไปประเทศที่สาม 1,857.3 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 9.8 เนื่องจากเสื้อผ้าและเครื่องแต่งกาย 1,076.4 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 14.0 ไม้แปรรูป 186.0 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 8.9 เฟอร์นิเจอร์ 16.0 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 9.9 แต่ส่งออกเมล็ดกาแฟดิบ 352.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 40.2 เครื่องจักรและอุปกรณ์ 70.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.8
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
ในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้พืชผลเกษตรที่สำคัญ ได้แก่ ข้าว มันสำปะหลัง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ อ้อยโรงงาน ส่วนใหญ่ของภาคได้เสร็จสิ้นการเก็บเกี่ยวลงแล้ว ผลผลิตเริ่มทยอยออกสู่ตลาด ราคาข้าวลดลง เนื่องจากข้าวนาปรังออกสู่ตลาด ส่งผลให้ราคาข้าวลดลง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ราคาลดลง เนื่องจากการนำผลผลิตในสต๊อกออกจำหน่ายเป็นจำนวนมาก ส่วนมันสำปะหลังและอ้อยโรงงานราคาปรับตัวสูงขึ้น
ข้าว ในช่วงไตรมาสแรกปีนี้ ผลผลิตข้าวออกสู่ท้องตลาดในปริมาณไม่มากนัก เนื่องจากราคาข้าวไม่จูงใจ ประกอบกับมีโครงการรับจำนำข้าวซึ่งเริ่มจากเดือนพฤศจิกายน 2543 ระยะเวลาไถ่ถอน 5 เดือน เกษตรกรจึงนำผลผลิตส่วนหนึ่งไปเข้าโครงการดังกล่าว ด้านการตลาดความต้องการรับซื้อลดลงเพื่อการส่งออกลดน้อยลง ขณะที่พ่อค้าท้องถิ่นมีการรับซื้อข้าวกักตุนเพื่อเก็งกำไรเพราะคาดว่าราคาข้าวจะปรับตัวสูงขึ้น
ราคาขายส่งเฉลี่ยข้าวเปลือก 10% เกวียนละ 4,510 บาท ลดลงร้อยละ 7.6 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนเกวียนละ 4,882 บาท ข้าวเปลือกเหนียว 10% เกวียนละ 4,843 บาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.0 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนเกวียนละ 4,210 บาท ข้าวสารเจ้า 10% กระสอบละ 961 บาท ลดลงร้อยละ 10.6 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน 1,075 บาท ข้าวสารเหนียว 10% (เมล็ดสั้น) กระสอบละ 1,063 บาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.2 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนกระสอบละ 907 บาท
มันสำปะหลัง เกษตรกรมีการขุดหัวมันออกจำหน่ายจำนวนมากในช่วงปลายเดือนมีนาคม หัวมันที่ยับไม่ได้ขุดเหลือเพียงเล็กน้อย เกษตรกรจัดเตรียมท่อนพันธุ์เพื่อการเพาะปลูกในช่วงต้นฤดูฝน สำหรับด้านการตลาดราคายังไม่ดีนัก เนื่องจากความต้องการของตลาดลดลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งตลาดที่สำคัญ ได้แก่ ตลาดยุโรป
ราคาขายส่งเฉลี่ยหัวมันสำปะหลังกิโลกรัมละ 0.78 บาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.8 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนกิโลกรัมละ 0.73 บาท มันเส้นกิโลกรัมละ 1.57 บาท ลดลงร้อยละ 0.6 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนกิโลกรัมละ 1.58 บาท มันอัดเม็ดกิโลกรัมละ 2.09 บาท ลดลงร้อยละ 1.4 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน 2.12 บาท
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ในไตรมาสแรกของปีเกษตรกรอยู่ระหว่างการเก็บเกี่ยวข้าวโพดรุ่นที่สองและเตรียมการเพาะปลูกข้าวโพดรุ่นที่หนึ่ง ราคาข้าวโพดปรับตัวลดลงเนื่องจากมีการนำข้าวโพดในสต๊อกออกขายจำนวนมาก ทำให้ราคาข้าวโพดลดลงโดยราคาขายส่งเฉลี่ยข้าวโพดเลี้ยงสัตว์กิโลกรัมละ 4.10 บาท ลดลงร้อยละ 79.7 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน 4.93 บาท
ราคาขายส่งเฉลี่ยพืชที่สำคัญในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
รายการ 2543 2544
ไตรมาส 1 ไตรมาส 4 ไตรมาสแรก
ข้าวเปลือกเจ้า 10% (บาทต่อเกวียน) 4,882.00 4,887.00 4,510.00
(-18.3) (-6.2) (-7.6)
ข้าวเปลือกเหนียว 10% (บาทต่อเกวียน) 4,210.00 4,585.00 4,843.00
(-16.1) -12.9 -15
ข้าวสารเจ้า 10% (บาทต่อเกวียน) 1,075.00 1,008.00 961
(-13.8) (-9.6) (-10.6)
ข้าวสารเหนียว 10% (บาทต่อกระสอบ) 907 1,038.00 1,063.00
(-17.6) -15.7 -17.2
มันสำปะหลัง (บาทต่อกิโลกรัม) 0.73 0.72 0.78
(-27.0) (-8.87) -6.8
มันเส้น (บาทต่อกิโลกรัม) 1.58 1.48 1.57
(-21.0) (-24.49) (-0.6)
มันอัดเม็ด (บาทต่อกิโลกรัม) 2.12 1.9 2.09
(-21.2) (-23.08) (-1.4)
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ (บาทต่อกิโลกรัม) 4.93 4 4.1
-25.1 (-9.91) (-79.7)
ปอฟอกเกรดบี (บาทต่อกิโลกรัม) 9.67 9.3 10.75
-85.3 (-3.83) -11.2
ที่มา : พาณิชย์จังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
การลงทุนภาคเอกชน
การส่งเสริมการลงทุน ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2544 ภาวะการส่งเสริมการลงทุนชะลอตัวอย่างเห็นได้ชัด จากจำนวนโครงการและเงินลงทุนที่ลดลง โดยมีจำนวน 5 โครงการ เงินลงทุน 258.9 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 58.3 และร้อยละ 77.5 ตามลำดับ ส่วนมากเป็นโครงการขนาดเล็ก โดยอุตสาหกรรมที่นักลงทุนสนใจลงทุน ได้แก่ อุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์และชิ้นส่วนเครื่องจักร อุตสาหกรรมเบา ประเภทสิ่งทอ เครื่องนุ่งห่มสำเร็จรูป
เป็นที่น่าสังเกตว่าอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ซึ่งเป็นโรงงานที่จังหวัดนครราชสีมา ขณะนี้กำลังขยายการผลิตอย่างต่อเนื่องเพื่อป้อนให้อุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ส่งออก ซึ่งตั้งอยู่ในภาคกลางและโครงการพัฒนาชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก (Eastern Seaboard)
ในส่วนอุตสาหกรรมสิ่งทอและอุตสาหกรรมเกษตรก็ยังมีแนวโน้มขยายตัวดูจากความสนใจของนักลงทุนที่มาขอคำปรึกษาแนะนำ เพื่อขอรับการส่งเสริมการลงทุนจากศูนย์เศรษฐกิจการลงทุนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
รายการ 2543 2544
ไตรมาสแรก ไตรมาส 4 ไตรมาสแรก
จำนวนโครงการ 12 23 5
-50 -109 (-58.3)
เงินลงทุน (ล้านบาท) 1,154.00 2,005.70 258.9
(-95.80) -127.4 (-77.5)
ที่มา : ศูนย์เศรษฐกิจการลงทุนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ภาคการก่อสร้าง
การก่อสร้างยังทรงตัว โดยส่วนใหญ่เป็นการก่อสร้างที่อยู่อาศัยเป็นสำคัญ การก่อสร้างอาคารพาณิชย์ ส่วนใหญ่มีเฉพาะจังหวัดหลักของภาคฯ ได้แก่ นครราชสีมา ขอนแก่น อุดรธานีและอุบลราชธานี
โดยพื้นที่รับอนุญาตก่อสร้างในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้มี 137,997 ตารางเมตร ลดลงร้อยละ 38.1 เป็นพื้นที่รับอนุญาตก่อสร้างที่อยู่อาศัยมากที่สุด สัดส่วนร้อยละ 74.0 ลดลงร้อยละ 23.7 ขณะที่การก่อสร้างอาคารพาณิชย์ 33,347 ตารางเมตร สัดส่วนร้อยละ 24.2 ลดลงร้อยละ 36.3
จังหวัดนครราชสีมามีพื้นที่ขอรับอนุญาตก่อสร้างมากที่สุด รองลงมาได้แก่ อุบลราชธานี สุรินทร์ ขอนแก่น และอุดรธานี
พื้นที่รับอนุญาตก่อสร้างในเขตเทศบาลเมืองและเทศบาลนคร
ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
(พันตารางเมตร)
รายการ 2543 2544
ไตรมาสแรก ไตรมาส 4 ไตรมาสแรก
ที่อยู่อาศัย 133.8 123.4 102
-57.1 (-9.9) (-23.7)
อาคารพาณิชย์ 52.3 61.1 33.3
-22.4 -107.6 (-36.3)
รวม 223.1 194.8 137.9
-64.3 (-1.3) (-38.1)
ที่มา : สำนักงานเทศบาลนครและเมืองในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
การซื้อขายที่ดิน
ในช่วงเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ปีนี้ มูลค่าการซื้อขายที่ดินในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3,276.4 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 1.2 โดยมีธุรกรรมการซื้อขายที่ดิน 20,489 ราย เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.9 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
โดยจังหวัดนครราชสีมามีการซื้อขายที่ดินสูงที่สุด รองลงมาได้แก่ จังหวัดขอนแก่น อุดรธานี และอุบลราชธานี ตามลำดับ
การซื้อขายที่ดินในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
(พัน ตรม.)
รายการ 2543 2544
ไตรมาสแรก ไตรมาส 4 ม.ค.-ก.พ.
การซื้อขายที่ดิน
จำนวนราย 59,541 48,628 20,489
-2.3 (-2.4) -6.9
มูลค่า (ล้านบาท) 10,072.70 8,251.90 3,276.40
-13.5 -3.2 (-1.2)
ที่มา : สายนโยบายการเงิน รวบรวมจากกรมที่ดิน กระทรวงมหาดไทย
ภาวะการค้าชายแดนไทย-ลาว
ไตรมาสแรกปี 2544 มูลค่าการค้าไทย-ลาว 4,724.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.1 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการส่งออก 3,588.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.8 สินค้าที่สำคัญ ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้า 490.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 72.5 สินค้าบริโภคในครัวเรือน 394.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 36.6 การนำเข้า 1,136.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.3 สินค้านำเข้า ที่สำคัญยังคงเป็นไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ 883.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.6
การค้าชายแดนไทย-ลาว
(ล้านบาท)
รายการ 2543 2544
ไตรมาสแรก ไตรมาส 4 ไตรมาสแรก
มูลค่าการค้า 4,289.40 4,707.50 4,724.70
-25.5 -37.8 -10.1
การส่งออก 3,329.00 3,991.80 3,588.20
-24.5 -27.5 -7.8
การนำเข้า 960.4 715.6 1,136.50
-185.7 -151.2 -18.3
ดุลการค้า 2,368.60 3,276.20 2,451.70
-1.3 (-4.1) -3.5
ที่มา : ด่านศุลกากรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
การส่งออก
ในช่วงไตรมาสแรก การส่งออก 3,588.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.8 โดยสินค้าหมวดอุปโภคบริโภค 1,427.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.6 สินค้าที่สำคัญ ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้า 490.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 72.5 สินค้าบริโภคในครัวเรือน 394.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 36.6 ยานพาหนะและอุปกรณ์ 343.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 42.5 สินค้าหมวดวัตถุดิบและ กึ่งวัตถุดิบ 380.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 61.8 สินค้าที่สำคัญ ได้แก่ ผ้าผืน 115.4 ล้นบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.6 อุปกรณ์ตัดเย็บ 105.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 71.2 เหล็กและเหล็กกล้า 57.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 448.6 พืชไร่ 17.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นถึงสิบสองเท่า ปศุสัตว์ประมง 23.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 262.6 กระดาษและกระดาษแข็ง 16.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.6 วัตถุดิบอื่น ๆ (เมล็ดพลาสติก ขวดพลาสติก ฯลฯ) 34.8 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 17.1 สินค้าหมวดทุน 557.2 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 27.4 สินค้าที่สำคัญ ได้แก่ เครื่องจักรและอุปกรณ์ 107.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 31.1 แก้วและเครื่องแก้ว 27.4 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 39.3 คอมพิวเตอร์ 8.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 35.3 วัสดุก่อสร้าง 402.8 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 34.0 ปุ๋ย 10.6 ล้านบาท ลดลง ร้อยละ 75.6
การนำเข้า
การนำเข้า 1,136.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.3 สินค้าที่สำคัญ ได้แก่ ไม้และ ผลิตภัณฑ์ไม้ 883.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.6 พืชไร่ 56.47 ล้านบาท เพิ่มขึ้นถึงสามสิบเท่า หนังโค-กระบือ 18.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 128.2 สินแร่ 91.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 185.2 เครื่องจักรและอุปกรณ์ 7.3 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 72.8 ของป่า 6.2 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 11.7
การค้าผ่านแดน
ประเทศลาวนำเข้าสินค้าจากประเทศที่สามผ่านแดนไทย 3,432.3 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 45.6 จากระยะเดียวกันของปีก่อนลาวนำเข้า 6,313.3 ล้านบาท เนื่องจากการนำเข้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์เพียง 172.5 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 91.7 เครื่องจักรและอุปกรณ์ 143.1 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 90.2 วัสดุก่อสร้าง 60.3 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 39.7 แต่มีการนำเข้าสุรา 475.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเกือบสามเท่า ขณะเดียวกันลาวส่งออกผ่านไทยไปประเทศที่สาม 1,857.3 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 9.8 เนื่องจากเสื้อผ้าและเครื่องแต่งกาย 1,076.4 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 14.0 ไม้แปรรูป 186.0 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 8.9 เฟอร์นิเจอร์ 16.0 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 9.9 แต่ส่งออกเมล็ดกาแฟดิบ 352.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 40.2 เครื่องจักรและอุปกรณ์ 70.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.8
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-