กรุงเทพฯ--10 มี.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
วันนี้ (8 มีนาคม 2543) เวลา 13.30 น. ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้เป็นประธานในพิธีส่งชาวไทยมุสลิมที่เดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์ภายใต้โครงการอุปถัมภ์ของสมเด็จพระราชาธิบดีฟาฮัด อับดุลอาซีซ แห่งซาอุดิอาระเบีย ร่วมกับ ฯพณฯ นายวันมูฮัมหมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภา และ ฯพณฯ นายสวาสดิ์ สุมาลยศักดิ์ จุฬาราชมนตรี ณ ท่าอากาศดอนเมือง และภายหลังพิธีดังกล่าว ดร. สุรินทร์ฯ ได้ให้สัมภาษณ์ต่อสื่อมวลชนสรุปดังนี้
1. การที่พี่น้องประชาชนไทยจำนวนมากซึ่งขาดแคลนทุนทรัพย์ได้มีโอกาสเดินทางไปแสวงบุญและร่วมประกอบพิธีฮัจญ์ ณ นครมักกะฮ์ นั้น ถือเป็นพระกรุณาของสมเด็จพระราชาธิบดี ฟาฮัดฯ อย่างยิ่ง โดยอุปทูตฯ ซาอุดิอาระเบียประจำประเทศไทยได้แจ้งทางการซาอุดิอาระเบียพิจารณาอุปถัมภ์ชาวไทยมุสลิมเป็นจำนวนถึง 500 คน ซึ่งมีจำนวนมากกว่าชาวมุสลิมที่ได้รับการอุปถัมภ์ในประเทศอื่นๆ ของเอเชียทั้งหมด เนื่องจากสมเด็จพระราชาธิบดีฟาฮัดฯ ทรงชื่นชมการดำเนินนโยบายและมาตรการต่างๆ ของประเทศไทยที่มีต่อประชาชนไทยมุสลิมและประชาคมมุสลิมในประเทศไทย โดยนโยบายของประเทศไทยได้รับการยอมรับจากทั่วโลก โดยเฉพาะประชาคมประเทศมุสลิมทั้ง 53 ประเทศ อนึ่ง ในปีนี้ ทางการซาอุดิอาระเบียยังได้เชิญ ดร.สุรินทร์ฯ หัวหน้าคณะผู้แทนไทยเพื่อประกอบพิธีฮัจญ์เป็นองค์ปาฐก 1 ใน 3 ที่จะกล่าวในหัวข้อ “ฮัจญ์ : สายสัมพันธ์ประชาคมโลกมุสลิม” อีกด้วย ซึ่งถือเป็นการให้เกียรติอย่างยิ่ง สมเด็จพระราชาธิบดีฟาฮัดฯ ทรงให้ความสำคัญต่อคณะผู้แทนมุสลิมไทยเป็นพิเศษ ด้วย โดยโปรดเกล้าฯ มอบหมายให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกิจการฮัจญ์ในฐานะผู้แทนพระองค์ ต้อนรับคณะของไทย ณ ท่าอากาศยานเจดดาห์ ซึ่งรัฐบาลไทยถือว่าเป็นพระกรุณาของสมเด็จพระราชาธิบดีฟาฮัดฯ อย่างยิ่ง
2. ดร.สุรินทร์ฯ กล่าวว่า นอกจากนี้ รัฐบาลซาอุดิอาระเบียซาบซึ้งในพระมหา กรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในฐานะที่ทรงเป็นองค์ศาสนูปถัมภก และ ทรงมี พระเมตตาต่อพี่น้องประชาชนไทยมุสลิมทุกหมู่เหล่าด้วย
3. ดร. สุรินทร์ฯ กล่าวด้วยว่า ปัจจุบันรัฐบาลซาอุดิอาระเบียเห็นประโยชน์ที่จะฟื้นฟูความสัมพันธ์และความร่วมมือกับประเทศไทย ตลอดจนแสดงความเกื้อกูลต่อกัน เมื่อเร็วๆ นี้ สมเด็จพระราชาธิบดีฟาฮัดได้เสนอแนวคิดว่า นโยบายที่ประชาคมมุสลิมต้องปรับตัวและแก้ไขคือ การเร่งพัฒนาทรัพยากรบุคคล วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้เท่าเทียมกัน โดยซาอุดิอาระเบียรับจะเป็นเจ้าภาพการประชุมเกี่ยวกับการถ่ายทอดวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศกำลังพัฒนาในกรอบของ UNCTAD ซึ่งประเทศไทย โดย ฯพณฯ ดร. ศุภชัย พานิชภักดิ์ รองนายกรัฐมนตรีและ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เป็นประธานยินดีให้การสนับสนุน ในขณะเดียวกัน ประเทศไทยมีนโยบายให้ความสำคัญต่อประเทศกลุ่มอาหรับ โดยในการประชุม AMM/PMC ในปลายเดือนกรกฎาคม 2543 ซึ่งประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพ นั้น ประเทศไทยจะเชิญเลขาธิการคณะมนตรีว่าด้วยความร่วมมือของกลุ่มรัฐอ่าว (Gulf Cooperation Council- GCC) เข้าร่วมประชุมในฐานะผู้สังเกตการณ์และแขกพิเศษของประเทศเจ้าภาพด้วย
4. ต่อข้อซักถามสื่อมวลชนเกี่ยวกับการเจรจากับประเทศกลุ่มโอเปคเพื่อแก้ไขปัญหาราคาน้ำมันนั้น ดร.สุรินทร์ฯ กล่าวว่า ระหว่างการเดินทางไปเตรียมการฮัจญ์ที่สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ตนมีโอกาสพบผู้แทนภาครัฐและเอกชนของประเทศต่างๆ ในกลุ่มโอเปค ซึ่ง ดร. สุรินทร์ฯ ได้กล่าวว่า การที่โอเปคได้เคยกำหนดราคาน้ำมันที่ 9 — 10 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล นั้น ได้มีส่วนช่วยประเทศในเอเชียซึ่งประสบปัญหาในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ แต่ปัจจุบันในขณะที่ประเทศในเอเชียกำลังฟื้นฟูสภาพเศรษฐกิจของประเทศ โอเปคกลับพยายามกำหนดราคาน้ำมันให้สูงถึง 30 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล จึงมีผลกระทบอย่างมากต่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม ดร. สุรินทร์ฯ คาดว่า ในการประชุมประเทศกลุ่มโอเปคในวันที่ 27 มีนาคม 2543 กลุ่มโอเปคคงจะพิจารณาปัญหาผลกระทบอันรุนแรงที่อาจเกิดขึ้นจากราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นในเอเชีย ซึ่งในท้ายที่สุดแล้วก็จะส่งผลกระทบต่อประเทศกลุ่มโอเปคด้วย--จบ--
วันนี้ (8 มีนาคม 2543) เวลา 13.30 น. ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้เป็นประธานในพิธีส่งชาวไทยมุสลิมที่เดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์ภายใต้โครงการอุปถัมภ์ของสมเด็จพระราชาธิบดีฟาฮัด อับดุลอาซีซ แห่งซาอุดิอาระเบีย ร่วมกับ ฯพณฯ นายวันมูฮัมหมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภา และ ฯพณฯ นายสวาสดิ์ สุมาลยศักดิ์ จุฬาราชมนตรี ณ ท่าอากาศดอนเมือง และภายหลังพิธีดังกล่าว ดร. สุรินทร์ฯ ได้ให้สัมภาษณ์ต่อสื่อมวลชนสรุปดังนี้
1. การที่พี่น้องประชาชนไทยจำนวนมากซึ่งขาดแคลนทุนทรัพย์ได้มีโอกาสเดินทางไปแสวงบุญและร่วมประกอบพิธีฮัจญ์ ณ นครมักกะฮ์ นั้น ถือเป็นพระกรุณาของสมเด็จพระราชาธิบดี ฟาฮัดฯ อย่างยิ่ง โดยอุปทูตฯ ซาอุดิอาระเบียประจำประเทศไทยได้แจ้งทางการซาอุดิอาระเบียพิจารณาอุปถัมภ์ชาวไทยมุสลิมเป็นจำนวนถึง 500 คน ซึ่งมีจำนวนมากกว่าชาวมุสลิมที่ได้รับการอุปถัมภ์ในประเทศอื่นๆ ของเอเชียทั้งหมด เนื่องจากสมเด็จพระราชาธิบดีฟาฮัดฯ ทรงชื่นชมการดำเนินนโยบายและมาตรการต่างๆ ของประเทศไทยที่มีต่อประชาชนไทยมุสลิมและประชาคมมุสลิมในประเทศไทย โดยนโยบายของประเทศไทยได้รับการยอมรับจากทั่วโลก โดยเฉพาะประชาคมประเทศมุสลิมทั้ง 53 ประเทศ อนึ่ง ในปีนี้ ทางการซาอุดิอาระเบียยังได้เชิญ ดร.สุรินทร์ฯ หัวหน้าคณะผู้แทนไทยเพื่อประกอบพิธีฮัจญ์เป็นองค์ปาฐก 1 ใน 3 ที่จะกล่าวในหัวข้อ “ฮัจญ์ : สายสัมพันธ์ประชาคมโลกมุสลิม” อีกด้วย ซึ่งถือเป็นการให้เกียรติอย่างยิ่ง สมเด็จพระราชาธิบดีฟาฮัดฯ ทรงให้ความสำคัญต่อคณะผู้แทนมุสลิมไทยเป็นพิเศษ ด้วย โดยโปรดเกล้าฯ มอบหมายให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกิจการฮัจญ์ในฐานะผู้แทนพระองค์ ต้อนรับคณะของไทย ณ ท่าอากาศยานเจดดาห์ ซึ่งรัฐบาลไทยถือว่าเป็นพระกรุณาของสมเด็จพระราชาธิบดีฟาฮัดฯ อย่างยิ่ง
2. ดร.สุรินทร์ฯ กล่าวว่า นอกจากนี้ รัฐบาลซาอุดิอาระเบียซาบซึ้งในพระมหา กรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในฐานะที่ทรงเป็นองค์ศาสนูปถัมภก และ ทรงมี พระเมตตาต่อพี่น้องประชาชนไทยมุสลิมทุกหมู่เหล่าด้วย
3. ดร. สุรินทร์ฯ กล่าวด้วยว่า ปัจจุบันรัฐบาลซาอุดิอาระเบียเห็นประโยชน์ที่จะฟื้นฟูความสัมพันธ์และความร่วมมือกับประเทศไทย ตลอดจนแสดงความเกื้อกูลต่อกัน เมื่อเร็วๆ นี้ สมเด็จพระราชาธิบดีฟาฮัดได้เสนอแนวคิดว่า นโยบายที่ประชาคมมุสลิมต้องปรับตัวและแก้ไขคือ การเร่งพัฒนาทรัพยากรบุคคล วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้เท่าเทียมกัน โดยซาอุดิอาระเบียรับจะเป็นเจ้าภาพการประชุมเกี่ยวกับการถ่ายทอดวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศกำลังพัฒนาในกรอบของ UNCTAD ซึ่งประเทศไทย โดย ฯพณฯ ดร. ศุภชัย พานิชภักดิ์ รองนายกรัฐมนตรีและ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เป็นประธานยินดีให้การสนับสนุน ในขณะเดียวกัน ประเทศไทยมีนโยบายให้ความสำคัญต่อประเทศกลุ่มอาหรับ โดยในการประชุม AMM/PMC ในปลายเดือนกรกฎาคม 2543 ซึ่งประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพ นั้น ประเทศไทยจะเชิญเลขาธิการคณะมนตรีว่าด้วยความร่วมมือของกลุ่มรัฐอ่าว (Gulf Cooperation Council- GCC) เข้าร่วมประชุมในฐานะผู้สังเกตการณ์และแขกพิเศษของประเทศเจ้าภาพด้วย
4. ต่อข้อซักถามสื่อมวลชนเกี่ยวกับการเจรจากับประเทศกลุ่มโอเปคเพื่อแก้ไขปัญหาราคาน้ำมันนั้น ดร.สุรินทร์ฯ กล่าวว่า ระหว่างการเดินทางไปเตรียมการฮัจญ์ที่สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ตนมีโอกาสพบผู้แทนภาครัฐและเอกชนของประเทศต่างๆ ในกลุ่มโอเปค ซึ่ง ดร. สุรินทร์ฯ ได้กล่าวว่า การที่โอเปคได้เคยกำหนดราคาน้ำมันที่ 9 — 10 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล นั้น ได้มีส่วนช่วยประเทศในเอเชียซึ่งประสบปัญหาในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ แต่ปัจจุบันในขณะที่ประเทศในเอเชียกำลังฟื้นฟูสภาพเศรษฐกิจของประเทศ โอเปคกลับพยายามกำหนดราคาน้ำมันให้สูงถึง 30 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล จึงมีผลกระทบอย่างมากต่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม ดร. สุรินทร์ฯ คาดว่า ในการประชุมประเทศกลุ่มโอเปคในวันที่ 27 มีนาคม 2543 กลุ่มโอเปคคงจะพิจารณาปัญหาผลกระทบอันรุนแรงที่อาจเกิดขึ้นจากราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นในเอเชีย ซึ่งในท้ายที่สุดแล้วก็จะส่งผลกระทบต่อประเทศกลุ่มโอเปคด้วย--จบ--