แท็ก
bangkok
22 กุมภาพันธ์ 2543 สรุปสาระสำคัญของเอกสารแผนปฏิบัติการกรุงเทพฯ (Bangkok Plan of Action) ------------------ เอกสารแผนปฏิบัติการกรุงเทพฯ (Bangkok Plan of Action) ซึ่งเป็นเอกสารกำหนดรายละเอียดของการดำเนินการให้เป็นตามปฏิญญากรุงเทพฯ โดยเน้นความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิก และการให้ความช่วยเหลือของอังค์ถัดในการศึกษา วิเคราะห์ประเด็นต่างๆ ด้านการพัฒนา เพื่อพัฒนาขีดความสามารถของประเทศกำลังพัฒนาทั้งด้านการค้า การเงิน และการลงทุน เอกสารมีเนื้อหาแบ่งออกเป็น 2 ภาค โดยภาคแรก เป็นเรื่องเกี่ยวกับยุทธศาสตร์สำหรับการพัฒนา ซึ่งประกอบด้วยเนื้อหา 3 ส่วนได้แก่ (1) การประเมินผลกระทบของโลกภิวัตน์ต่อการพัฒนา (2) การประมวลพัฒนาการและการดำเนินการระหว่างประเทศในด้านต่างๆ และ (3) มาตรการและข้อเสนอแนะในด้านต่างๆ ที่เกี่ยวกับพัฒนา และภาคที่สอง เป็นเรื่องเกี่ยวกับบทบาทและการดำเนินงานของอังค์ถัดในอีก 4 ปีข้างหน้า สรุปสาระสำคัญของเนื้อหาในเอกสารดังกล่าวได้ดังนี้ ภาคแรก (1) การประเมินผลกระทบของโลกภิวัตน์ต่อการพัฒนา : ได้วิเคราะห์ผลกระทบของกระบวนการโลกภิวัตน์ทั้งทางบวกและทางลบต่อการพัฒนา และกล่าวถึงเหตุผลและความจำเป็นที่ประชาคมโลกต้องร่วมกันปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์สำหรับการพัฒนา เพื่อให้ทุกประเทศสามารถได้รับประโยชน์จากกระบวนการโลกาภิวัตน์ และย้ำถึงความจำเป็นที่ประชาคมโลกต้องหาทางแก้ไขความไม่สมดุลและความไม่เท่าเทียมกันของระบบเศรษฐกิจระหว่างประเทศด้วย การประมวลพัฒนาการและการดำเนินการระหว่างประเทศในด้านต่างๆ ได้แก่ ผลสำเร็จจากการเจรจารอบอุรุกวัย การพัฒนาประเทศในภูมิภาคแอฟริกาขององค์การสหประชาชาติ (The United Nations New Agenda for the Development of Africa : UN-NADAF) การดำเนินการให้ความช่วยเหลือประเทศพัฒนาน้อยที่สุด (LDCs) ขององค์กรระหว่างประเทศต่างๆ การแก้ไขปัญหาหนี้สินและแผนการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ประเทศยากจนที่มีภาระหนี้สินสูง (3) มาตรการและข้อเสนอแนะในด้านต่างๆ ที่เกี่ยวกับพัฒนา เพื่อให้ประเทศกำลังพัฒนาเข้าไปมีส่วนร่วมในระบบเศรษฐกิจระหว่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ซึ่งได้แก่ ด้านการเงิน : ประสบการณ์จากวิกฤตการณ์ทางการเงินที่เกิดขึ้นในทวีปเอเชีย ทำให้มีจำเป็นที่จะต้องปรับปรุงระบบการเงินระหว่างประเทศโดยอาศัยความร่วมมือระหว่างประเทศ เพื่อป้องกันและเตรียมมาตรการรับมือกับวิกฤตการณ์ที่อาจเกิดขึ้นได้อีกในอนาคต การให้ความช่วยเหลือทางการเงินเพื่อการพัฒนา (ODA) ซึ่งถือเป็นความจำเป็นเร่งด่วนเพื่อลดภาวะความยากจนของประเทศที่ยากจน ประเทศผู้บริจาคเงินจึงควรพยายามที่จะยกเลิกเงื่อนไขผูกพันในการให้เงินช่วยเหลือดังกล่าวแก่ประเทศพัฒนาน้อยที่สุด รวมทั้งปัญหาหนี้สินของประเทศกำลังพัฒนาซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศ ด้านการลงทุน : สนับสนุนให้มีการลงทุนในรูปแบบการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ในประเทศกำลังพัฒนา เนื่องจากประเทศกำลังพัฒนาจะได้รับประโยชน์มากกว่าการลงทุนในรูปแบบอื่น คือทั้งด้านเงินทุน ประโยชน์จากการถ่ายทอดเทคโนโลยี การจัดการและความชำนาญในด้านอื่นๆดังนั้น ประชาคมโลกจึงควรสนับสนุนความพยายามของประเทศกำลังพัฒนาในการกำหนดยุทธศาสตร์และนโยบายเพื่อดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ ด้านการค้า : ประโยชน์จากการเปิดเสรีทางการค้าในแง่การขยายตัวของการส่งออก แต่ประเทศกำลังพัฒนาส่วนใหญ่เห็นว่า ยังมีความไม่สมดุล โดยเฉพาะในการดำเนินการตามความตกลงต่างๆ ของ WTO เนื่องจากข้อจำกัดด้านกำลังคน ด้านสถาบันและด้านการเงิน ซึ่งเป็นปัญหาที่จะต้องแก้ไขอย่างเร่งด่วน เพื่อให้ทุกประเทศสามารถได้รับประโยชน์จากระบบการค้าพหุภาคี โดยประเทศกำลังพัฒนาจำเป็นต้องปรับปรุงให้นโยบายภายในประเทศมีความสอดคล้องกับนโยบายระหว่างประเทศ รวมทั้งการปรับปรุงให้นโยบายภายในประเทศในสาขาการผลิตต่างๆ มีความสอดคล้องกันด้วย นอกจากนี้ ประเทศกำลังพัฒนาเห็นว่า กรอบเวลาสำหรับการดำเนินการตามความตกลงของ WTO ที่กำหนดไว้ในปัจจุบันนั้นยังไม่เพียงพอ และความจำเป็นที่จะต้องมีการปรับปรุงเงื่อนไขในการเข้าสู่ตลาดทั้งสินค้าเกษตร อุตสาหกรรม และบริการ ที่ประเทศกำลังพัฒนาได้รับประโยชน์จากการส่งออก โดยเฉพาะสินค้าที่ส่งออกจากประเทศพัฒนาน้อยที่สุด โดยให้ประเทศพัฒนาแล้วไม่เรียกเก็บภาษีศุลกากร และยกเลิกการกำหนดโควต้าสินค้าที่นำเข้าจากประเทศพัฒนาน้อยที่สุด สำหรับกระบวนการเข้าเป็นสมาชิกของ WTO นั้น ควรมีการคำนึงถึงระดับการพัฒนาที่แตกต่างกันของประเทศ และหลักการพื้นฐานว่าด้วยการปฏิบัติอย่างเป็นพิเศษและแตกต่างด้วย ด้านการพัฒนาอื่นๆ : ให้ความสำคัญกับการพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก โดยเห็นความจำเป็นที่จะต้องมีการดำเนินนโยบายและโครงสร้างทั้งระดับชาติและระดับระหว่างประเทศ เพื่อเปิดโอกาสให้บริษัทเหล่านี้สามารถแข่งขันได้ทั้งภายในและระหว่างประเทศ อาทิ การเข้าถึงสินเชื่อโดยเฉพาะสินเชื่อระยะยาว การเข้าถึงข้อมูลและโอกาสทางการตลาด การเข้าถึงเงินทุน ทักษะทางธุรกิจ และการได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยี เป็นต้น การพัฒนาบริการต่างๆ เพื่อสนับสนุนการค้า อาทิ ระบบการขนส่งที่มีประสิทธิภาพ การบริหารระบบศุลกากรที่ทันสมัย การพัฒนาบริการทางการเงินของประเทศในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการค้า และประโยชน์จากพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ นอกจากนี้ ยังเน้นในเรื่องการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งถือเป็นนโยบายหลักของการพัฒนาโดยรวมด้วย ภาคที่สอง บทบาทและการดำเนินงานของอังค์ถัดอนาคตในด้านต่างๆ ได้แก่ ด้านกระบวนการโลกาภิวัตน์กับการพัฒนา บทบาทของอังค์ถัดในการเป็นเวทีเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดการ กระบวนการโลกาภิวัตน์ และความเกี่ยวพันซึ่งกันและกันระหว่างการค้า การเงิน การลงทุน และเทคโนโลยี โดยมุ่งเน้นเรื่องผลกระทบของโลกาภิวัตน์ต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และการเข้าไปมีส่วนร่วมในระบบเศรษฐกิจโลกที่เพิ่มขึ้นของประเทศกำลังพัฒนารวมทั้งการปฏิรูปสถาบันและการเพิ่มขีดความสามารถด้านการแข่งขันแก่ประเทศกำลังพัฒนา ด้านการลงทุน วิสาหกิจ และเทคโนโลยี การวิเคราะห์และรวบรวมข้อมูลเรื่องการลงทุนที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนา โดยเน้น มาตรการในการถ่ายทอดเทคโนโลยีแก่ประเทศกำลังพัฒนาจากการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ การวิเคราะห์และรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินการในระดับชาติเพื่อกระตุ้น การพัฒนาวิสาหกิจ โดยเฉพาะวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดเล็กของประเทศกำลังพัฒนา การวิจัยในเชิงนโยบายเกี่ยวกับผลกระทบของการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ การเพิ่มขีดความสามารถทางเทคโนโลยี และการสร้างวิสาหกิจให้เป็นสากลเพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันระหว่างประเทศ เสริมสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างการค้าและการลงทุน บทบาท ของความตกลงด้านการลงทุนระหว่างประเทศทั้งระดับทวิภาคี ระดับภูมิภาค และระดับพหุภาคี ด้านการค้าระหว่างประเทศ ประกอบด้วย เรื่องการเข้าสู่ตลาด : งานของอังค์ถัดควรเกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์และสร้าง ฉันทามติในเรื่องการลดภาษี และมาตรการที่มิใช่ภาษีต่างๆ ในสินค้าส่งออกที่ประเทศกำลังพัฒนาได้รับประโยชน์โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตลาดของประเทศพัฒนาแล้ว การรักษา และปรับปรุงระดับของการปลอดภาษี หรือการลดภาษี ในการเข้าสู่ตลาดผ่านโครงการให้สิทธิ GSP ของประเทศ การใช้มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดและการเก็บภาษีตอบโต้การทุ่มตลาด เรื่องการค้าสินค้าเกษตร : ให้อังค์ถัดช่วยเหลือประเทศกำลังพัฒนาในการเจรจาพหุภาคีด้านการค้าสินค้าเกษตรโดยการศึกษาวิเคราะห์ และให้ความช่วยเหลือด้านวิชาการแก่ประเทศกำลังพัฒนาเกี่ยวกับ (1) วิธีที่จะปรับปรุงการเข้าสู่ตลาดของสินค้าเกษตร (2) การสนับสนุนภายในประเทศ (domestic support) ซึ่งรวมถึงความพยายามที่จะเพิ่มผลผลิต และความมั่นคงด้านอาหารของ LDCs และ (3) การอุดหนุนการส่งออก และการสนับสนุนด้านการส่งออกชนิดอื่นๆ โดยให้อังค์ถัดวิเคราะห์ถึงผลกระทบของกระบวนการปฏิรูปการค้าสินค้าเกษตรต่อประเทศกำลังพัฒนา ตามมาตรา 20 ของความตกลง WTO ว่าด้วยการเกษตรด้วย เรื่องการค้าบริการ : ให้อังค์ถัดช่วยประเทศกำลังพัฒนาในการจัดลำดับความ สำคัญในการเปิดเสรีการค้าบริการ และให้ระบุข้อกีดกันทางการค้าหลักๆ ที่ประเทศกำลังพัฒนาประสบในสาขาบริการต่างๆ โดยเฉพาะที่จำกัดความสามารถในการส่งออกบริการของประเทศกำลังพัฒนา และเงื่อนไขภายในประเทศ (preconditions) อื่นๆ ที่จำเป็นต่อการได้รับประโยชน์จากการเปิดเสรีการค้าบริการโดยรวม เรื่องการสนับสนุนประเทศกำลังพัฒนาในการเจรจาการค้าพหุภาคีและการเข้าเป็น สมาชิก WTO : อังค์ถัดควรให้การสนับสนุนทั้งด้านการวิเคราะห์และด้านวิชาการแก่ประเทศกำลังพัฒนาเกี่ยว กับ Built-in Agenda และเรื่องอื่นๆที่อาจมีการเจรจา โดยเฉพาะวาระการเจรจาที่จะเป็นประโยชน์แก่ประเทศกำลังพัฒนา (positive agenda) โดยอังค์ถัดจะให้การสนับสนุนด้านข้อมูลเชิงวิเคราะห์ที่จำเป็นต่อการเจรจา และให้การสนับสนุนกระบวนการสร้างฉันทามติ และจัดให้มีเวทีแลกเปลี่ยนมุมมองและข้อมูลระหว่างกัน และอังค์ถัดควรให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศที่อยู่ระหว่างกระบวนการเข้าเป็นสมาชิก WTO ต่อไปเพื่อให้ประเทศเหล่านั้นสามารถเข้าเป็นสมาชิกได้เร็วขึ้น เรื่องการรวมกลุ่มระดับภูมิภาคและระบบการค้าพหุภาคี : ให้อังค์ถัดช่วยเหลือ ประเทศกำลังพัฒนาในการวิเคราะห์ผลกระทบของความตกลงทางการค้าระดับภูมิภาคต่อการพัฒนาของประเทศกำลังพัฒนา และช่วยประเทศกำลังพัฒนาในการสร้างกลไกที่เหมาะสมภายใต้กรอบของกฎระเบียบ WTO เพื่อให้สามารถกำหนดยุทธศาสตร์ใหม่ๆ ที่จะทำให้ได้รับประโยชน์จากการรวมกลุ่มในระดับภูมิภาค เรื่องการปฏิบัติอย่างเป็นพิเศษและแตกต่าง (S&D) : ให้ความยืดหยุ่นแก่ประเทศกำลังพัฒนา เพื่อให้สามารถได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่จากระบบการค้าพหุภาคี เรื่องการแข่งขัน : ให้อังค์ถัดเพิ่มการช่วยเหลือแก่ประเทศที่สนใจในการพัฒนากฎ ระเบียบภายในประเทศเกี่ยวกับนโยบายและกฎหมายเรื่องการแข่งขัน และให้อังค์ถัดร่วมมือองค์กรต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อเสริมสร้างศักยภาพของสถาบันของรัฐในประเทศกำลังพัฒนาที่เกี่ยวข้องกับเรื่องการแข่งขันและการคุ้มครองผู้บริโภค เรื่องสินค้าโภคภัณฑ์ อุตสาหกรรมและบริการ : อังค์ถัดควรให้การสนับสนุนแก่ประเทศกำลังพัฒนาในเรื่องสินค้าโภคภัณฑ์ โดย การศึกษาวิธีการที่จะปรับปรุง supply capacity ของประเทศที่ผลิตสินค้าโภคภัณฑ์ และให้ร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับกองทุนร่วมสินค้าโภคภัณฑ์ (Common Fund) ประเมินโอกาสในการพัฒนาอุตสาหกรรมและบริการ ที่มุ่งเน้นด้านการส่งออกใน ประเทศกำลังพัฒนา และให้อังค์ถัดระบุสาขาบริการที่ประเทศกำลังพัฒนาได้รับประโยชน์จากการส่งออก ให้อังค์ถัดวิเคราะห์แนวทางสำหรับประเทศกำลังพัฒนาในการปรับปรุงขีดความ สามารถในด้านอุปทานในสาขาการค้าบริการ โดยการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การสร้างศักยภาพด้านสถาบัน และการปรับปรุงการเข้าถึงและการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีใหม่ๆ วิเคราะห์ความเป็นไปได้ที่จะเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของสินค้าและบริการ จากประเทศกำลังพัฒนาในการเข้าสู่ตลาดระหว่างประเทศ และช่วยประเทศกำลังพัฒนาในการกำหนดกลยุทธ์ในการเข้าร่วมในตลาดทั้งระดับภูมิภาคและระดับโลก เรื่องการค้าและสิ่งแวดล้อม : ให้อังค์ถัดร่วมมือกับองค์กรต่างๆที่เกี่ยวข้อง ดำเนิน การให้เกิดความสมดุลในการกำหนด agenda ในการหารือเรื่องการค้าและสิ่งแวดล้อม โดยเน้นประเด็นที่เป็น ข้อกังวลของประเทศกำลังพัฒนา และให้อังค์ถัดช่วยสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับผลกระทบด้านเศรษฐกิจและสังคมจากมาตรการด้านการค้าต่อนโยบายสิ่งแวดล้อมในประเทศกำลังพัฒนาในระดับการพัฒนาที่แตกต่างกัน รวมทั้งผลกระทบของข้อกำหนดเรื่องสิ่งแวดล้อมต่อสินค้าส่งออกของประเทศกำลังพัฒนา เรื่องการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านบริการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพด้านการค้าและการ พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ : ให้อังค์ถัดช่วยเหลือประเทศกำลังพัฒนาในการสร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านบริการ (service infrastructure) ในสาขาการขนส่ง การศุลกากร การธนาคารและประกันภัย การบริการต่างๆ สำหรับวิสาหกิจขนาดย่อม และพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพและพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศกำลังพัฒนาในตลาดโลก เรื่องการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ : อังค์ถัดควรแสดงบทบาทในการให้การสนับสนุนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ผ่านการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ของอังค์ถัด
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กุมภาพันธ์ 2543--
-ปส-
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กุมภาพันธ์ 2543--
-ปส-