กรุงเทพ--5 ม.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
ตามที่เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2542 ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้พบปะหารือกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศลาว กัมพูชา และพม่า ระหว่างการประชุมสุดยอดอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการครั้งที่ 3 ณ กรุงมะนิลา สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ โดย ดร. สุรินทร์ฯ ได้เสนอแนวคิดโครงการ "สิ่งมหัศจรรย์แห่งสุวรรณภูมิ" (The Great Wonders of Suwannaphumi) เพื่อการพัฒนาผลประโยชน์ด้านการท่องเที่ยวร่วมกันของประเทศในอนุภูมิภาค นั้น
เพื่อเป็นการสานต่อความคิดดังกล่าว เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2542 กระทรวงการต่างประเทศได้จัดประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านการท่องเที่ยวทั้งภาครัฐและเอกชนเพื่อแจ้งการดำเนินงานในส่วนของกระทรวงการต่างประเทศ และแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น ปัญหาและอุปสรรคที่จำเป็นจะต้องแก้ไข โดยการประชุมครั้งนี้มีผู้แทนต่างๆ เข้าร่วมได้แก่ ผู้แทนการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ผู้แทนสมาคมไทยธุรกิจการท่องเที่ยว บริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) บริษัทการบินกรุงเทพ จำกัด บริษัทแองเจิล แอร์ไลน์ จำกัด ผู้แทนกรมเศรษฐกิจ กรมอาเซียนและกรมเอเชียตะวันออก โดยมีนายสุพัฒน์ จิตรานุเคราะห์ รองอธิบดีกรมสารนิเทศเป็นประธาน
เกี่ยวกับเรื่องนี้ ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้มีหนังสือถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของลาว กัมพูชา และพม่า ตั้งแต่เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2542 เพื่อแจ้งให้ทราบว่า รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นางปวีณา หงส์สกุล) ที่กำกับดูแลการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยจะเป็นผู้ดำเนินงานและผลักดันแนวคิดดังกล่าวให้เป็นรูปธรรม โดยในช่วงปลายเดือนมกราคม 2543 นางปวีณาฯ จะพิจารณาเชิญรัฐมนตรีด้านการท่องเที่ยวจากทั้ง 3 ประเทศมาประชุมหารือกันต่อไป
ผู้แทนการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยได้แจ้งในที่ประชุมว่า ระหว่างวันที่ 20-24 มกราคม 2543 การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม ASEAN Tourism Forum (ATF) ที่ศูนย์ประชุม BITEC และโรงแรมแกรนด์ไฮแอท เอราวัณ ซึ่งจะมีหารือเกี่ยวกับการสถาปนาปีการท่องเที่ยวอาเซี่ยน ปี ค.ศ.2002 ในโอกาสนี้ นางปวีณาฯจะพิจารณาหารืออย่างไม่เป็นทางการกับรัฐมนตรีด้านการท่องเที่ยวของลาว กัมพูชาและพม่า เกี่ยวกับการพัฒนาความร่วมมืออย่างเป็นรูปธรรมตามแนวคิดสิ่งมหัศจรรย์แห่งสุวรรณภูมิดังกล่าวด้วย
นอกจากนี้ ผู้แทนการท่องเที่ยวภาคเอกชนได้แลกเปลี่ยนข้อมูลและข้อคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาอุปสรรคในการพัฒนาแผนท่องเที่ยวรวม (package program) อันได้แก่ ความสะดวกในการคมนาคมขนส่ง ระเบียบพิธีการศุลกากรและตรวจคนเข้าเมือง และการกำหนดจุดและเส้นทางการท่องเที่ยวในกลุ่มประเทศสุวรรณภูมิดังกล่าว โดยที่ประชุมได้มอบหมายให้การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยพิจารณาศึกษารายละเอียดการดำเนินโครงการดังกล่าวก่อนที่จะหารือกับฝ่ายการท่องเที่ยวของประเทศต่างๆ ต่อไป--จบ--
ตามที่เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2542 ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้พบปะหารือกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศลาว กัมพูชา และพม่า ระหว่างการประชุมสุดยอดอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการครั้งที่ 3 ณ กรุงมะนิลา สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ โดย ดร. สุรินทร์ฯ ได้เสนอแนวคิดโครงการ "สิ่งมหัศจรรย์แห่งสุวรรณภูมิ" (The Great Wonders of Suwannaphumi) เพื่อการพัฒนาผลประโยชน์ด้านการท่องเที่ยวร่วมกันของประเทศในอนุภูมิภาค นั้น
เพื่อเป็นการสานต่อความคิดดังกล่าว เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2542 กระทรวงการต่างประเทศได้จัดประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านการท่องเที่ยวทั้งภาครัฐและเอกชนเพื่อแจ้งการดำเนินงานในส่วนของกระทรวงการต่างประเทศ และแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น ปัญหาและอุปสรรคที่จำเป็นจะต้องแก้ไข โดยการประชุมครั้งนี้มีผู้แทนต่างๆ เข้าร่วมได้แก่ ผู้แทนการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ผู้แทนสมาคมไทยธุรกิจการท่องเที่ยว บริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) บริษัทการบินกรุงเทพ จำกัด บริษัทแองเจิล แอร์ไลน์ จำกัด ผู้แทนกรมเศรษฐกิจ กรมอาเซียนและกรมเอเชียตะวันออก โดยมีนายสุพัฒน์ จิตรานุเคราะห์ รองอธิบดีกรมสารนิเทศเป็นประธาน
เกี่ยวกับเรื่องนี้ ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้มีหนังสือถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของลาว กัมพูชา และพม่า ตั้งแต่เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2542 เพื่อแจ้งให้ทราบว่า รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นางปวีณา หงส์สกุล) ที่กำกับดูแลการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยจะเป็นผู้ดำเนินงานและผลักดันแนวคิดดังกล่าวให้เป็นรูปธรรม โดยในช่วงปลายเดือนมกราคม 2543 นางปวีณาฯ จะพิจารณาเชิญรัฐมนตรีด้านการท่องเที่ยวจากทั้ง 3 ประเทศมาประชุมหารือกันต่อไป
ผู้แทนการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยได้แจ้งในที่ประชุมว่า ระหว่างวันที่ 20-24 มกราคม 2543 การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม ASEAN Tourism Forum (ATF) ที่ศูนย์ประชุม BITEC และโรงแรมแกรนด์ไฮแอท เอราวัณ ซึ่งจะมีหารือเกี่ยวกับการสถาปนาปีการท่องเที่ยวอาเซี่ยน ปี ค.ศ.2002 ในโอกาสนี้ นางปวีณาฯจะพิจารณาหารืออย่างไม่เป็นทางการกับรัฐมนตรีด้านการท่องเที่ยวของลาว กัมพูชาและพม่า เกี่ยวกับการพัฒนาความร่วมมืออย่างเป็นรูปธรรมตามแนวคิดสิ่งมหัศจรรย์แห่งสุวรรณภูมิดังกล่าวด้วย
นอกจากนี้ ผู้แทนการท่องเที่ยวภาคเอกชนได้แลกเปลี่ยนข้อมูลและข้อคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาอุปสรรคในการพัฒนาแผนท่องเที่ยวรวม (package program) อันได้แก่ ความสะดวกในการคมนาคมขนส่ง ระเบียบพิธีการศุลกากรและตรวจคนเข้าเมือง และการกำหนดจุดและเส้นทางการท่องเที่ยวในกลุ่มประเทศสุวรรณภูมิดังกล่าว โดยที่ประชุมได้มอบหมายให้การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยพิจารณาศึกษารายละเอียดการดำเนินโครงการดังกล่าวก่อนที่จะหารือกับฝ่ายการท่องเที่ยวของประเทศต่างๆ ต่อไป--จบ--