ข้อมูลพื้นฐาน
จังหวัดสตูลประกอบด้วย 6 อำเภอกับ 1 กิ่ง อำเภอประกอบด้วย อำเภอเมืองสตูล ทุ่งหว้า ละงู ควนกาหลง ควนโดน และ ท่าแพ
พื้นที่รวม 2,479.0 ตารางกิโลเมตร หรือ 1,549,360 ไร่ และมีฝั่งทะเลยาวประมาณ 145 กิโลเมตร
ณ สิ้นธันวาคม 2542 มีประชากรจำนวน 260,127 คน หรือร้อยละ 3.2 ของประชากรทั้งภาค
ผลิตภัณฑ์จังหวัดตามราคาคงที่ (Gross Provincial at constant price )ปี 2539 มีจำนวน 7,967.8ล้านบาท โดยมีภาคเกษตรกรรมเป็นสาขาเศรษฐกิจหลัก มีสัดส่วนร้อยละ 48. ของผลิตภัณฑ์จังหวัดทั้งหมด รองลงมาได้แก่ สาขาการค้าปลีกและค้าส่งร้อยละ 15.6 สาขาก่อสร้างร้อยละ 7.8 สาขาอุตสาหกรรมร้อยละ 6.5 และสาขาการบริการร้อยละ 6.2 รายได้เฉลี่ยต่อหัวของประชากรเท่ากับ 51,437 บาทต่อปี เป็นอันดับที่ 7 ของภาค
ศักยภาพและโอกาสในการลงทุน
กลยุทธ์การพัฒนาหลักของจังหวัดสตูล
กลยุทธ์ที่ 1. พัฒนาจังหวัดให้เป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวแบบอนุรักษ์(Eco-Tourism)
กลยุทธ์ที่ 2. พัฒนาจังหวัดสตูลให้เป็นประตูสู่พื้นที่โครงการพัฒนาร่วม 3 ฝ่าย อินโดนีเซีย มาเลเซีย และไทย (IMT-GT)ด้านอันดามันกับมาเลเซียและอินโดนีเซีย
กลยุทธ์ที่ 3. พัฒนาจังหวัดสตูลให้เป็นประตูเชื่อมทางทะเลอันดามัน สำหรับโครงการพัฒนาชายฝั่งภาคใต้ตอนล่าง (Lower Southern Seaboard)ของประเทศไทย
กลยุทธ์ที่ 4. พัฒนาจังหวัดสตูลให้เป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมการเกษตรและประมงด้านทะเลอันดามัน
กลยุทธ์ที่ 5. พัฒนาจังหวัดสตูลให้เป็นศูนย์กลางการศึกษาและการวิจัย
กลยุทธ์ที่ 6. พัฒนาให้ภาคเอกชนในจังหวัดสตูล มีบทบาทในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของจังหวัดและภูมิภาค
กลยุทธ์ที่ 7. พัฒนาให้องค์กรของจังหวัดสตูลให้มีองค์ประกอบทั้งจากภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อทำหน้าที่ส่งเสริมสนับสนุนและดำเนินการลงทุนด้านเศรษฐกิจอุตสาหกรรมของจังหวัด (Satun Provincial Development Corproration / Authority )ที่ทำงานในลักษณะเป็น One Stop Service
กลยุทธ์ที่ 8. พัฒนาสังคมของจังหวัดสตูลให้ประชาชนอยู่ดีกินดีมีความสุขถ้วนหน้า
ข้อเสนอการลงทุน
สรุปโครงการที่อยู่ในแผนลงทุนจังหวัดสตูล
1.สาขาการท่องเที่ยว
1.1 ส่งเสริมการลงทุนสร้าง Resort ริมทะเล เกาะหลีเป๊ะ
1.2 ส่งเสริมการลงทุนสร้าง Resort ริมทะเล หาดปากบารา อ.ละงู
1.3 การจัด One —Day Trip ล่องเรือ เกาะตะรุเตา เกาะสาหร่าย
1.4 ตั้งศูนย์บริการข้อมูลการท่องเที่ยวสตูล (Satun Tourism Information Center ) อำเภอเมือง กำหนดให้เป็นศูนย์ข้อมูลกลางปากบารา อำเภอละงู และอุทยานแห่งชาติทะเลบันกำหนดให้เป็นข้อมูลย่อย
2.สาขาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
2.1 ส่งเสริมการเลี้ยงหอยแครงในพื้นที่ที่เหมาะสมบริเวณชายฝั่งในเขตอำเภอเมืองบนพื้นที่ประมาณ 10000ไร่
2.2 โครงการตั้งศูนย์เพาะเลี้ยงพ่อ-แม่พันธุ์กุ้งกุลาดำ ปลอดโรค ICARI (International Commercial Aquaculture Research Institute) เกาะตะรุเตา เกาะเขาใหญ่
2.3 ตลาดกลางสินค้าสัตว์น้ำ อำเภอเมือง
3. สาขาอุตสาหกรรมเกษตร การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ประมง
3.1 โรงงานแปรรูปผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ อ.เมือง ละงู ทุ่งหว้า ท่าแพ
3.2 การใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย เพื่อเพิ่มผลผลิตในการเลี้ยงปลากะรังและปลากะพงขาวในกระชังชายฝั่งบริเวณอ.เมือง ละงู ทุ่งหว้า ท่าแพ
3.3 โรงงานทำเฟอร์นิเจอร์จากไม้ยางพารา อ.เมือง
3.4 จัดระบบการเลี้ยงกุ้งกุลาดำในพื้นที่ที่เหมาะสม อ.เมือง ละงู ทุ่งหว้า ท่าแพ
3.5 โรงงานอาหารแช่แข็ง / ห้องเย็น (ขนาดย่อม) อ.เมือง ละงู
3.6 สะพานตกปลาและปะการังเทียม บริเวณ อ.เมือง ปากบารา ท่าแพ
3.7 Marine Science Research Center และ Sea Aquarium เกาะตะรุเตา
4.สาขาการค้าและการบริการท่องเที่ยว
4.1 ศูนย์การค้า /ห้างสรรพสินค้า อ.เมือง
4.2 ศูนย์การค้า : อาคารพาณิชย์ อ.เมือง
4.3 ศูนย์การค้า :โรงแรม อ.เมือง
5.โครงการด้านโครงสร้างพื้นที่ลงทุนโดยภาคเอกชน
5.1 การพัฒนาที่อยู่อาศัยในชุมชน ระหว่างเทศบาลเมืองสตูลและตำบลฉลุงบริเวณที่มีการขยายตัวและการพัฒนาอย่างรวดเร็วในเขตเทศบาลเมืองสตูล บริเวณรอบนอกเขตเทศบาลเมืองและเส้นทางตามข้างถนนสายสตูล-ฉลุง
5.2 การพัฒนาที่อยู่อาศัยในเขตชุมชน สุขาภิบาลกำแพงและบริเวณตำบลแหลมสน อ.ละงุ และบริเวณปริมณฑลสุขาภิบาล บริเวณสุขาภิบาลกำแพง อ.ละงู และบริเวณตำบลแหลมสน ใกล้เขตก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกที่บุโบย
5.3โครงการพัฒนาที่พักอาศัยที่บริเวณปากบารา ต.ปากน้ำ อ.ละงู
5.4 โครงการสร้างโรงพยาบาลเอกชนที่อ.เมืองสตูล บริเวณรอบนอกของบริเวณเขตเทศบาล บนเส้นทางถนนสตุล-ฉลุง
5.5โครงการก่อสร้างโรงพยาบาลเอกชนที่อำเภอละงู บริเวณเขตสุขาภิบาลกำแพง ต.กำแพง อ.ละงู
6.โครงการด้านโครงสร้างพื้นฐานที่ลงทุนโดยภาครัฐ
6.1 ด้านคมนาคม
6.1.1โครงการท่าเรือน้ำลึกบุโบย ต.บุโบย
6.1.2 โครงการก่อสร้างเส้นทางท่าเรือน้ำลึกบุโบย-ละงู-ท่าเรือน้ำลึกสงขลา
6.1.3 โครงการก่อสร้างถนนเส้นทางสตุล-เปอร์ลิส
6.1.4โครงการปรับปรุงท่าเรือตำมะลัง
6.1.5โครงการปรับปรุงท่าเรือปากบาราและท่าเรือที่เกี่ยวข้อง
6.1.6 โครงการปรับปรุงถนนสายสนามบิน-ทุ่งตำเสาและคลองแงะ — ทุ่งนุ้ย-วังพา-สนามบิน
6.2 ด้านระบบไฟฟ้า
โครงการขยายขีดความสามารถการจ่ายไฟบริเวณ อ.ละงู
6.3 ด้านระบบน้ำประปา
6.3.1 โครงการพัฒนาระบบประปาบริเวณเขตสุขาถิบาลกำแพง อ.ละงู
6.3.2 โครงการพัฒนาระบบประปาที่ชุมชนปากบารา
6.4 ด้านระบบโทรคมนาคม
โครงการขยายให้อัตราจำนวนโทรศัพท์ต่อประชากรสูงขึ้น โดยมีจำนวน 10 เลขหมายต่อประชากร 100 คน ในปี 2539
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-สส-
จังหวัดสตูลประกอบด้วย 6 อำเภอกับ 1 กิ่ง อำเภอประกอบด้วย อำเภอเมืองสตูล ทุ่งหว้า ละงู ควนกาหลง ควนโดน และ ท่าแพ
พื้นที่รวม 2,479.0 ตารางกิโลเมตร หรือ 1,549,360 ไร่ และมีฝั่งทะเลยาวประมาณ 145 กิโลเมตร
ณ สิ้นธันวาคม 2542 มีประชากรจำนวน 260,127 คน หรือร้อยละ 3.2 ของประชากรทั้งภาค
ผลิตภัณฑ์จังหวัดตามราคาคงที่ (Gross Provincial at constant price )ปี 2539 มีจำนวน 7,967.8ล้านบาท โดยมีภาคเกษตรกรรมเป็นสาขาเศรษฐกิจหลัก มีสัดส่วนร้อยละ 48. ของผลิตภัณฑ์จังหวัดทั้งหมด รองลงมาได้แก่ สาขาการค้าปลีกและค้าส่งร้อยละ 15.6 สาขาก่อสร้างร้อยละ 7.8 สาขาอุตสาหกรรมร้อยละ 6.5 และสาขาการบริการร้อยละ 6.2 รายได้เฉลี่ยต่อหัวของประชากรเท่ากับ 51,437 บาทต่อปี เป็นอันดับที่ 7 ของภาค
ศักยภาพและโอกาสในการลงทุน
กลยุทธ์การพัฒนาหลักของจังหวัดสตูล
กลยุทธ์ที่ 1. พัฒนาจังหวัดให้เป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวแบบอนุรักษ์(Eco-Tourism)
กลยุทธ์ที่ 2. พัฒนาจังหวัดสตูลให้เป็นประตูสู่พื้นที่โครงการพัฒนาร่วม 3 ฝ่าย อินโดนีเซีย มาเลเซีย และไทย (IMT-GT)ด้านอันดามันกับมาเลเซียและอินโดนีเซีย
กลยุทธ์ที่ 3. พัฒนาจังหวัดสตูลให้เป็นประตูเชื่อมทางทะเลอันดามัน สำหรับโครงการพัฒนาชายฝั่งภาคใต้ตอนล่าง (Lower Southern Seaboard)ของประเทศไทย
กลยุทธ์ที่ 4. พัฒนาจังหวัดสตูลให้เป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมการเกษตรและประมงด้านทะเลอันดามัน
กลยุทธ์ที่ 5. พัฒนาจังหวัดสตูลให้เป็นศูนย์กลางการศึกษาและการวิจัย
กลยุทธ์ที่ 6. พัฒนาให้ภาคเอกชนในจังหวัดสตูล มีบทบาทในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของจังหวัดและภูมิภาค
กลยุทธ์ที่ 7. พัฒนาให้องค์กรของจังหวัดสตูลให้มีองค์ประกอบทั้งจากภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อทำหน้าที่ส่งเสริมสนับสนุนและดำเนินการลงทุนด้านเศรษฐกิจอุตสาหกรรมของจังหวัด (Satun Provincial Development Corproration / Authority )ที่ทำงานในลักษณะเป็น One Stop Service
กลยุทธ์ที่ 8. พัฒนาสังคมของจังหวัดสตูลให้ประชาชนอยู่ดีกินดีมีความสุขถ้วนหน้า
ข้อเสนอการลงทุน
สรุปโครงการที่อยู่ในแผนลงทุนจังหวัดสตูล
1.สาขาการท่องเที่ยว
1.1 ส่งเสริมการลงทุนสร้าง Resort ริมทะเล เกาะหลีเป๊ะ
1.2 ส่งเสริมการลงทุนสร้าง Resort ริมทะเล หาดปากบารา อ.ละงู
1.3 การจัด One —Day Trip ล่องเรือ เกาะตะรุเตา เกาะสาหร่าย
1.4 ตั้งศูนย์บริการข้อมูลการท่องเที่ยวสตูล (Satun Tourism Information Center ) อำเภอเมือง กำหนดให้เป็นศูนย์ข้อมูลกลางปากบารา อำเภอละงู และอุทยานแห่งชาติทะเลบันกำหนดให้เป็นข้อมูลย่อย
2.สาขาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
2.1 ส่งเสริมการเลี้ยงหอยแครงในพื้นที่ที่เหมาะสมบริเวณชายฝั่งในเขตอำเภอเมืองบนพื้นที่ประมาณ 10000ไร่
2.2 โครงการตั้งศูนย์เพาะเลี้ยงพ่อ-แม่พันธุ์กุ้งกุลาดำ ปลอดโรค ICARI (International Commercial Aquaculture Research Institute) เกาะตะรุเตา เกาะเขาใหญ่
2.3 ตลาดกลางสินค้าสัตว์น้ำ อำเภอเมือง
3. สาขาอุตสาหกรรมเกษตร การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ประมง
3.1 โรงงานแปรรูปผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ อ.เมือง ละงู ทุ่งหว้า ท่าแพ
3.2 การใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย เพื่อเพิ่มผลผลิตในการเลี้ยงปลากะรังและปลากะพงขาวในกระชังชายฝั่งบริเวณอ.เมือง ละงู ทุ่งหว้า ท่าแพ
3.3 โรงงานทำเฟอร์นิเจอร์จากไม้ยางพารา อ.เมือง
3.4 จัดระบบการเลี้ยงกุ้งกุลาดำในพื้นที่ที่เหมาะสม อ.เมือง ละงู ทุ่งหว้า ท่าแพ
3.5 โรงงานอาหารแช่แข็ง / ห้องเย็น (ขนาดย่อม) อ.เมือง ละงู
3.6 สะพานตกปลาและปะการังเทียม บริเวณ อ.เมือง ปากบารา ท่าแพ
3.7 Marine Science Research Center และ Sea Aquarium เกาะตะรุเตา
4.สาขาการค้าและการบริการท่องเที่ยว
4.1 ศูนย์การค้า /ห้างสรรพสินค้า อ.เมือง
4.2 ศูนย์การค้า : อาคารพาณิชย์ อ.เมือง
4.3 ศูนย์การค้า :โรงแรม อ.เมือง
5.โครงการด้านโครงสร้างพื้นที่ลงทุนโดยภาคเอกชน
5.1 การพัฒนาที่อยู่อาศัยในชุมชน ระหว่างเทศบาลเมืองสตูลและตำบลฉลุงบริเวณที่มีการขยายตัวและการพัฒนาอย่างรวดเร็วในเขตเทศบาลเมืองสตูล บริเวณรอบนอกเขตเทศบาลเมืองและเส้นทางตามข้างถนนสายสตูล-ฉลุง
5.2 การพัฒนาที่อยู่อาศัยในเขตชุมชน สุขาภิบาลกำแพงและบริเวณตำบลแหลมสน อ.ละงุ และบริเวณปริมณฑลสุขาภิบาล บริเวณสุขาภิบาลกำแพง อ.ละงู และบริเวณตำบลแหลมสน ใกล้เขตก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกที่บุโบย
5.3โครงการพัฒนาที่พักอาศัยที่บริเวณปากบารา ต.ปากน้ำ อ.ละงู
5.4 โครงการสร้างโรงพยาบาลเอกชนที่อ.เมืองสตูล บริเวณรอบนอกของบริเวณเขตเทศบาล บนเส้นทางถนนสตุล-ฉลุง
5.5โครงการก่อสร้างโรงพยาบาลเอกชนที่อำเภอละงู บริเวณเขตสุขาภิบาลกำแพง ต.กำแพง อ.ละงู
6.โครงการด้านโครงสร้างพื้นฐานที่ลงทุนโดยภาครัฐ
6.1 ด้านคมนาคม
6.1.1โครงการท่าเรือน้ำลึกบุโบย ต.บุโบย
6.1.2 โครงการก่อสร้างเส้นทางท่าเรือน้ำลึกบุโบย-ละงู-ท่าเรือน้ำลึกสงขลา
6.1.3 โครงการก่อสร้างถนนเส้นทางสตุล-เปอร์ลิส
6.1.4โครงการปรับปรุงท่าเรือตำมะลัง
6.1.5โครงการปรับปรุงท่าเรือปากบาราและท่าเรือที่เกี่ยวข้อง
6.1.6 โครงการปรับปรุงถนนสายสนามบิน-ทุ่งตำเสาและคลองแงะ — ทุ่งนุ้ย-วังพา-สนามบิน
6.2 ด้านระบบไฟฟ้า
โครงการขยายขีดความสามารถการจ่ายไฟบริเวณ อ.ละงู
6.3 ด้านระบบน้ำประปา
6.3.1 โครงการพัฒนาระบบประปาบริเวณเขตสุขาถิบาลกำแพง อ.ละงู
6.3.2 โครงการพัฒนาระบบประปาที่ชุมชนปากบารา
6.4 ด้านระบบโทรคมนาคม
โครงการขยายให้อัตราจำนวนโทรศัพท์ต่อประชากรสูงขึ้น โดยมีจำนวน 10 เลขหมายต่อประชากร 100 คน ในปี 2539
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-สส-