ข่าวประเทศ
1. ธปท.กล่าวว่าเป้าหมายเงินเฟ้อที่ระดับร้อยละ 0-3.5 เป็นระดับที่เหมาะสม แหล่งข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยถึงการกำหนดเป้าหมายเงินเฟ้อ (Inflation Targeting) ในระยะปี 2544-2545 ซึ่ง ธปท.กำหนดไว้ที่ระดับร้อยละ 0-3.5 ว่า ธปท.ได้พิจารณาอย่างรอบคอบ ทั้งปัจจัยการขยายตัวและเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ โดยใช้เงินเฟ้อพื้นฐาน(Core Inflation) ที่หักราคาสินค้าหมวดอาหารสดและพลังงานแล้ว ทั้งนี้ เดือน มี.ค.44 เป้าหมายเงินเฟ้ออยู่ที่ระดับร้อยละ 0.8 ซึ่งหากเทียบกับเป้าหมายสูงสุดร้อยละ 3.5 แล้วยังมีช่วงที่จะดูแลเศรษฐกิจให้ขยายตัวได้อีกมาก ฉะนั้นจึงไม่จำเป็นต้องขยายเป้าหมายเงินเฟ้อ(ไทยโพสต์ 10)
2. สถิติการหักบัญชีเช็คระหว่างธนาคารในเขต กทม. และปริมณฑล ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รายงานสถิติการหักบัญชีเช็คระหว่างธนาคารในเขต กทม. และปริมณฑลเดือน เม.ย. 44 ว่า มีปริมาณเช็คเรียกเก็บทั้งหมด 4.41 ล้านฉบับ มูลค่า 1.17 ล้านล้านบาท ลดลงจากเดือน มี.ค. 44 ร้อยละ 8.10 แต่ในแง่ปริมาณและมูลค่าเช็คเรียกเก็บเฉลี่ยต่อวันทำการเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.52 และ 12.32 ตามลำดับ ส่วนเช็คคืนมีปริมาณทั้งหมด 111,127 ฉบับ มูลค่า 1.02 หมื่นล้านบาท ซึ่งลดลงจากเดือน มี.ค. 44 เล็กน้อย สำหรับเช็คคืนด้วยเหตุผลไม่มีเงินมีปริมาณทั้งหมด 66,665 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 1.51 ของจำนวนเช็คเรียกเก็บทั้งหมด และมีมูลค่า 5.12 พันล้านบาท หรือร้อยละ 0.44 ของจำนวนเช็คเรียกเก็บทั้งหมด(โลกวันนี้ 10)
3. รัฐบาลมีแนวคิดยกเลิกการชดเชยความเสียหายของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ แหล่งข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า รัฐบาลมีแนวคิดจะยกเลิกการชดเชยความเสียหายของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน เนื่องจากทีมที่ปรึกษา นรม. มีความเห็นว่า กองทุนฯ สามารถกู้ยืมเงินต้นทุนต่ำได้จากตลาดซื้อคืนพันธบัตร แต่หาก ครม. มีมติดังกล่าวก็อาจส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของรัฐบาลได้ (กรุงเทพธุรกิจ 10)
4. ผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเดือน เม.ย.44 คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเดือน เม.ย.44 ว่า ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวมอยู่ที่ระดับ 71 ลดลงจากเดือน มี.ค.44 ที่อยู่ที่ 72.5 ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับโอกาสในการหางานอยู่ที่ 64.7 ลดลงจากเดือน มี.ค.44 ที่อยู่ที่ 65.9 และดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับรายได้ในอนาคตอยู่ที่ 100.3 ลดลงจากเดือน มี.ค.44 ที่อยู่ที่ 100.9 ทั้งนี้ ปัจจัยลบที่ส่งผลต่อดัชนีความเชื่อมั่น ได้แก่ การที่ ธปท.ปรับลดประมาณการอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจปี 44 เหลือร้อยละ 2.5-4 จากเดิมร้อยละ 3-4.5 รวมถึงราคาน้ำมันที่อยู่ในระดับสูง ค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์ สรอ. การชะลอตัวของเศรษฐกิจ สรอ.และญี่ปุ่น ความล่าช้าในการแก้ไขปัญหาหนี้ด้อยคุณภาพ และราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ ในส่วนของดัชนีอุตสาหกรรมไตรมาสแรกปี 44 อยู่ที่ 155.5 ลดลงร้อยละ 5 จากช่วงเดียวกันปี 43 (ไทยรัฐ 10)
ข่าวต่างประเทศ
1. ดัชนีสำคัญที่ใช้วัดภาวะธุรกิจของญี่ปุ่นในเดือน มี.ค.ลดลงต่ำกว่าระดับ 50 ติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 รายงานจากโตเกียวเมื่อ 9 พ.ค.44 Cabinet Office เปิดเผยว่า ดัชนีสำคัญที่ใช้วัดภาวะธุรกิจในเดือน มี.ค.44 ลดลงต่ำกว่าระดับ 50 ติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 และเป็นการลดลงติดต่อกันเป็นครั้งแรกในช่วงเวลามากกว่า 2 ปี แสดงให้เห็นถึงภาพทางเศรษฐกิจที่ไม่แจ่มใสในอนาคต โดยตัวเลขเบื้องต้นของ coincident index ที่ใช้วัดภาวะธุรกิจในปัจจุบันอยู่ที่ระดับ 14.3 เทียบกับระดับ 10.0 ในเดือน ก.พ.44 ส่วน index of leading indicators อยู่ที่ระดับ 25.0 ลดลงจากระดับ 40.0 ในเดือน ม.ค.44 และ 30.0 ในเดือน ก.พ.44 ต่ำกว่าระดับ 50 ติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 ซึ่งค่าของดัชนีฯ ที่ระดับต่ำกว่า 50 นั้น แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าเศรษฐกิจจะหดตัวในเดือนต่อๆ ไป อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่ของรัฐและนักวิเคราะห์ต่างระบุว่า การลดลงของ coincident index มีสาเหตุมาจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก (รอยเตอร์ 9)
2. ราคาขายส่งในประเทศของญี่ปุ่นในเดือน เม.ย. 44 ลดลงมากกว่าที่คาดหมาย รายงานจากโตเกียวเมื่อ 10 พ.ค. 44 ธ. กลางญี่ปุ่นเปิดเผยว่า ราคาขายส่งในประเทศเทียบปีต่อปี ลดลงร้อยละ 0.7 ในเดือน เม.ย. 44 ซึ่งลดลงมากกว่าที่คาดไว้ และลดลงต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน ต.ค. 42 ขณะที่การให้สินเชื่อของธ.พ. ในเดือน เม.ย. ลดลงร้อยละ 3.4 โดยลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 40 ทั้งนี้ตัวเลขเศรษฐกิจหลายตัวชี้ว่า ภาวะเศรษฐกิจของญี่ปุ่นยังซบเซาหลังจากที่อยู่ในภาวะชะงักงันมาแล้วเป็นเวลา 10 ปี(รอยเตอร์10)
3. ผลผลิตอุตสาหกรรมของเยอรมนีลดลงอย่างมากในเดือน มี.ค. 44 รายงานจากเบอร์ลินเมื่อ 9 พ.ค. 44 ก. คลังเยอรมนีเปิดเผยว่า ในเดือน มี.ค. 44 ผลผลิตอุตสาหกรรม ที่ปรับฤดูกาล ลดลงร้อยละ 3.7 หลังจากเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 ในเดือน ก.พ. 44 ซึ่งลดลงมากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดไว้ว่าจะลดลงร้อยละ 1.3 และเมื่อเทียบปีต่อปี ผลผลิตฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.6 ในเดือน ก.พ.44 และต่ำกว่าที่คาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.5 ขณะเดียวกัน ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมการผลิตในเดือน มี.ค. 44 ลดลงร้อยละ 3 โดยผลผลิตสินค้าทุนลดลงร้อยละ 2.6 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 1.6 ในเดือน ก.พ. 44 ทั้งนี้ การที่ผลผลิตดังกล่าวลดลง เนื่องจากเศรษฐกิจที่อ่อนแอกำลังส่งผลกระทบต่อผลผลิตอุตสาหกรรม (รอยเตอร์9)
4. คาดว่า ธ. กลางอังกฤษจะลดอัตราดอกเบี้ยลงต่ำสุดในรอบ 19 เดือน รายงานจากลอนดอนเมื่อ 10 พ.ค. 44 นักเศรษฐศาสตร์คาดว่า ธ. กลางอังกฤษจะลดอัตราดอกเบี้ย repo rate ลงร้อยละ 0.25 เหลือร้อยละ 5.25 ในการประชุมคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินในวันที่ 10 พ.ค.นี้ ซึ่งจะส่งผลให้ดอกเบี้ยอยู่ในอัตราต่ำสุดในรอบ 19 เดือน ทั้งนี้เพื่อกระตุ้นความเชื่อมั่นของธุรกิจและผู้บริโภคท่ามกลางเศรษฐกิจโลกที่กำลังชะลอตัว และจากการสำรวจตัวเลขทางเศรษฐกิจทั้งในภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการก่อนหน้านี้ชี้ให้เห็นว่าเศรษฐกิจยังคงอ่อนแอต่อไป (รอยเตอร์10)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์ สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 9พ.ค. 44 45.562 (45.514)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 9 พ.ค. 44ซื้อ 45.3850 (45.2794) ขาย 45.6934 (45.5785)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,700 (5,650) ขาย 5,800 (5,750)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 24.97 (24.94)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 17.29 (17.29) ดีเซลหมุนเร็ว 14.54 (14.54)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. ธปท.กล่าวว่าเป้าหมายเงินเฟ้อที่ระดับร้อยละ 0-3.5 เป็นระดับที่เหมาะสม แหล่งข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยถึงการกำหนดเป้าหมายเงินเฟ้อ (Inflation Targeting) ในระยะปี 2544-2545 ซึ่ง ธปท.กำหนดไว้ที่ระดับร้อยละ 0-3.5 ว่า ธปท.ได้พิจารณาอย่างรอบคอบ ทั้งปัจจัยการขยายตัวและเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ โดยใช้เงินเฟ้อพื้นฐาน(Core Inflation) ที่หักราคาสินค้าหมวดอาหารสดและพลังงานแล้ว ทั้งนี้ เดือน มี.ค.44 เป้าหมายเงินเฟ้ออยู่ที่ระดับร้อยละ 0.8 ซึ่งหากเทียบกับเป้าหมายสูงสุดร้อยละ 3.5 แล้วยังมีช่วงที่จะดูแลเศรษฐกิจให้ขยายตัวได้อีกมาก ฉะนั้นจึงไม่จำเป็นต้องขยายเป้าหมายเงินเฟ้อ(ไทยโพสต์ 10)
2. สถิติการหักบัญชีเช็คระหว่างธนาคารในเขต กทม. และปริมณฑล ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รายงานสถิติการหักบัญชีเช็คระหว่างธนาคารในเขต กทม. และปริมณฑลเดือน เม.ย. 44 ว่า มีปริมาณเช็คเรียกเก็บทั้งหมด 4.41 ล้านฉบับ มูลค่า 1.17 ล้านล้านบาท ลดลงจากเดือน มี.ค. 44 ร้อยละ 8.10 แต่ในแง่ปริมาณและมูลค่าเช็คเรียกเก็บเฉลี่ยต่อวันทำการเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.52 และ 12.32 ตามลำดับ ส่วนเช็คคืนมีปริมาณทั้งหมด 111,127 ฉบับ มูลค่า 1.02 หมื่นล้านบาท ซึ่งลดลงจากเดือน มี.ค. 44 เล็กน้อย สำหรับเช็คคืนด้วยเหตุผลไม่มีเงินมีปริมาณทั้งหมด 66,665 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 1.51 ของจำนวนเช็คเรียกเก็บทั้งหมด และมีมูลค่า 5.12 พันล้านบาท หรือร้อยละ 0.44 ของจำนวนเช็คเรียกเก็บทั้งหมด(โลกวันนี้ 10)
3. รัฐบาลมีแนวคิดยกเลิกการชดเชยความเสียหายของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ แหล่งข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า รัฐบาลมีแนวคิดจะยกเลิกการชดเชยความเสียหายของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน เนื่องจากทีมที่ปรึกษา นรม. มีความเห็นว่า กองทุนฯ สามารถกู้ยืมเงินต้นทุนต่ำได้จากตลาดซื้อคืนพันธบัตร แต่หาก ครม. มีมติดังกล่าวก็อาจส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของรัฐบาลได้ (กรุงเทพธุรกิจ 10)
4. ผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเดือน เม.ย.44 คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเดือน เม.ย.44 ว่า ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวมอยู่ที่ระดับ 71 ลดลงจากเดือน มี.ค.44 ที่อยู่ที่ 72.5 ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับโอกาสในการหางานอยู่ที่ 64.7 ลดลงจากเดือน มี.ค.44 ที่อยู่ที่ 65.9 และดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับรายได้ในอนาคตอยู่ที่ 100.3 ลดลงจากเดือน มี.ค.44 ที่อยู่ที่ 100.9 ทั้งนี้ ปัจจัยลบที่ส่งผลต่อดัชนีความเชื่อมั่น ได้แก่ การที่ ธปท.ปรับลดประมาณการอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจปี 44 เหลือร้อยละ 2.5-4 จากเดิมร้อยละ 3-4.5 รวมถึงราคาน้ำมันที่อยู่ในระดับสูง ค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์ สรอ. การชะลอตัวของเศรษฐกิจ สรอ.และญี่ปุ่น ความล่าช้าในการแก้ไขปัญหาหนี้ด้อยคุณภาพ และราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ ในส่วนของดัชนีอุตสาหกรรมไตรมาสแรกปี 44 อยู่ที่ 155.5 ลดลงร้อยละ 5 จากช่วงเดียวกันปี 43 (ไทยรัฐ 10)
ข่าวต่างประเทศ
1. ดัชนีสำคัญที่ใช้วัดภาวะธุรกิจของญี่ปุ่นในเดือน มี.ค.ลดลงต่ำกว่าระดับ 50 ติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 รายงานจากโตเกียวเมื่อ 9 พ.ค.44 Cabinet Office เปิดเผยว่า ดัชนีสำคัญที่ใช้วัดภาวะธุรกิจในเดือน มี.ค.44 ลดลงต่ำกว่าระดับ 50 ติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 และเป็นการลดลงติดต่อกันเป็นครั้งแรกในช่วงเวลามากกว่า 2 ปี แสดงให้เห็นถึงภาพทางเศรษฐกิจที่ไม่แจ่มใสในอนาคต โดยตัวเลขเบื้องต้นของ coincident index ที่ใช้วัดภาวะธุรกิจในปัจจุบันอยู่ที่ระดับ 14.3 เทียบกับระดับ 10.0 ในเดือน ก.พ.44 ส่วน index of leading indicators อยู่ที่ระดับ 25.0 ลดลงจากระดับ 40.0 ในเดือน ม.ค.44 และ 30.0 ในเดือน ก.พ.44 ต่ำกว่าระดับ 50 ติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 ซึ่งค่าของดัชนีฯ ที่ระดับต่ำกว่า 50 นั้น แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าเศรษฐกิจจะหดตัวในเดือนต่อๆ ไป อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่ของรัฐและนักวิเคราะห์ต่างระบุว่า การลดลงของ coincident index มีสาเหตุมาจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก (รอยเตอร์ 9)
2. ราคาขายส่งในประเทศของญี่ปุ่นในเดือน เม.ย. 44 ลดลงมากกว่าที่คาดหมาย รายงานจากโตเกียวเมื่อ 10 พ.ค. 44 ธ. กลางญี่ปุ่นเปิดเผยว่า ราคาขายส่งในประเทศเทียบปีต่อปี ลดลงร้อยละ 0.7 ในเดือน เม.ย. 44 ซึ่งลดลงมากกว่าที่คาดไว้ และลดลงต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน ต.ค. 42 ขณะที่การให้สินเชื่อของธ.พ. ในเดือน เม.ย. ลดลงร้อยละ 3.4 โดยลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 40 ทั้งนี้ตัวเลขเศรษฐกิจหลายตัวชี้ว่า ภาวะเศรษฐกิจของญี่ปุ่นยังซบเซาหลังจากที่อยู่ในภาวะชะงักงันมาแล้วเป็นเวลา 10 ปี(รอยเตอร์10)
3. ผลผลิตอุตสาหกรรมของเยอรมนีลดลงอย่างมากในเดือน มี.ค. 44 รายงานจากเบอร์ลินเมื่อ 9 พ.ค. 44 ก. คลังเยอรมนีเปิดเผยว่า ในเดือน มี.ค. 44 ผลผลิตอุตสาหกรรม ที่ปรับฤดูกาล ลดลงร้อยละ 3.7 หลังจากเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 ในเดือน ก.พ. 44 ซึ่งลดลงมากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดไว้ว่าจะลดลงร้อยละ 1.3 และเมื่อเทียบปีต่อปี ผลผลิตฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.6 ในเดือน ก.พ.44 และต่ำกว่าที่คาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.5 ขณะเดียวกัน ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมการผลิตในเดือน มี.ค. 44 ลดลงร้อยละ 3 โดยผลผลิตสินค้าทุนลดลงร้อยละ 2.6 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 1.6 ในเดือน ก.พ. 44 ทั้งนี้ การที่ผลผลิตดังกล่าวลดลง เนื่องจากเศรษฐกิจที่อ่อนแอกำลังส่งผลกระทบต่อผลผลิตอุตสาหกรรม (รอยเตอร์9)
4. คาดว่า ธ. กลางอังกฤษจะลดอัตราดอกเบี้ยลงต่ำสุดในรอบ 19 เดือน รายงานจากลอนดอนเมื่อ 10 พ.ค. 44 นักเศรษฐศาสตร์คาดว่า ธ. กลางอังกฤษจะลดอัตราดอกเบี้ย repo rate ลงร้อยละ 0.25 เหลือร้อยละ 5.25 ในการประชุมคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินในวันที่ 10 พ.ค.นี้ ซึ่งจะส่งผลให้ดอกเบี้ยอยู่ในอัตราต่ำสุดในรอบ 19 เดือน ทั้งนี้เพื่อกระตุ้นความเชื่อมั่นของธุรกิจและผู้บริโภคท่ามกลางเศรษฐกิจโลกที่กำลังชะลอตัว และจากการสำรวจตัวเลขทางเศรษฐกิจทั้งในภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการก่อนหน้านี้ชี้ให้เห็นว่าเศรษฐกิจยังคงอ่อนแอต่อไป (รอยเตอร์10)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์ สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 9พ.ค. 44 45.562 (45.514)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 9 พ.ค. 44ซื้อ 45.3850 (45.2794) ขาย 45.6934 (45.5785)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,700 (5,650) ขาย 5,800 (5,750)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 24.97 (24.94)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 17.29 (17.29) ดีเซลหมุนเร็ว 14.54 (14.54)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-