บันทึกการประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ ๑ (สมัยวิสามัญ)

ข่าวการเมือง Tuesday July 3, 2001 09:25 —รัฐสภา

                                บันทึกการประชุมวุฒิสภา
ครั้งที่ ๑ (สมัยวิสามัญ)
วันศุกร์ที่ ๒๙ มิถุนายน ๒๕๔๔
ณ ตึกรัฐสภา
เริ่มประชุมเวลา ๐๙.๓๕ นาฬิกา
เมื่อสมาชิกฯ มาครบองค์ประชุมแล้ว พลตรี มนูญกฤต รูปขจร ประธานวุฒิสภา
นายพิเชฐ พัฒนโชติ รองประธานวุฒิสภาคนที่หนึ่ง และนายบุญทัน ดอกไธสง รองประธานวุฒิสภา
คนที่สอง ขึ้นบัลลังก์
ประธานวุฒิสภาได้กล่าวเปิดประชุม แล้วให้เลขาธิการวุฒิสภาอ่าน
พระบรมราชโองการให้ที่ประชุมทราบ รวม ๓ ฉบับ ดังนี้
๑. พระบรมราชโองการประกาศพระราชกฤษฎีกาเรียกประชุมสมัยวิสามัญแห่งรัฐสภา
พ.ศ. ๒๕๔๔ ตั้งแต่วันที่ ๒๖ มิถุนายน ๒๕๔๔
๒. พระบรมราชโองการประกาศแต่งตั้งนายศักดิ์ เตชาชาญ เป็นตุลาการ
ศาลรัฐธรรมนูญ ตั้งแต่วันที่ ๓ มิถุนายน ๒๕๔๔
๓. พระบรมราชโองการประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี ดังนี้ พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร
เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการอีกตำแหน่งหนึ่ง และนางสิริกร มณีรินทร์ เป็นรัฐมนตรี
ช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ตั้งแต่วันที่ ๑๔ มิถุนายน ๒๕๔๔
ต่อมา ประธานวุฒิสภาได้แจ้งให้ที่ประชุมรับทราบเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
๑. ในคราวประชุมสภาผู้แทนราษฎร วันพฤหัสบดีที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๔๔
ที่ประชุมได้รับทราบรายงานของผู้สอบบัญชีอิสระและงบการเงินสำหรับงวดตั้งแต่วันที่ ๒๑
มีนาคม ๒๕๔๓ ถึงวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๔๓ ของสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน
ของรัฐสภา แล้ว
๒. คณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อติดตามการดำเนินการตรวจสอบทรัพย์สินของ
พลเอก สุนทร คงสมพงษ์ ขอขยายเวลาการพิจารณาเรื่องดังกล่าวออกไปอีก ๑๘๐ วัน
นับแต่วันที่ ๒๘ มิถุนายน ๒๕๔๔
๓. ในคราวประชุมสภาผู้แทนราษฎร วันอังคารที่ ๒๖ มิถุนายน ๒๕๔๔
ที่ประชุมได้ลงมติอนุมัติพระราชกำหนดบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย พ.ศ. ๒๕๔๔
ซึ่งคณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอ แล้ว และในคราวประชุมสภาผู้แทนราษฎร วันพฤหัสบดีที่ ๒๘
มิถุนายน ๒๕๔๔ ที่ประชุมได้ลงมติรับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่าย
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๕ แล้ว
จากนั้น ประธานวุฒิสภาได้ขอปรึกษาที่ประชุมเพื่อขอนำเรื่องตามระเบียบวาระ
เรื่องด่วน ลำดับที่ ๓ และลำดับที่ ๒ ขึ้นมาพิจารณาก่อน ซึ่งที่ประชุมมีมติเห็นชอบ ประธานวุฒิสภา
จึงได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณาเรื่องตามระเบียบวาระเรื่องด่วน คือ ตั้งคณะกรรมาธิการสามัญเพื่อ
ทำหน้าที่ตรวจสอบประวัติและความประพฤติของบุคคลผู้ได้รับการเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่งกรรมการ
การเลือกตั้ง ตามรัฐธรรมนูญฯ มาตรา ๑๓๕ ซึ่งที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบให้งดใช้ข้อบังคับฯ ข้อ ๙๖
และข้อ ๙๗ และมีมติให้ตั้งคณะกรรมาธิการฯ จำนวน ๒๑ คน ประกอบด้วย
(๑) นายแก้วสรร อติโพธิ (๒) พลตำรวจเอก ประทิน สันติประภพ
(๓) นายสัก กอแสงเรือง (๔) พลตำรวจโท ทวี ทิพย์รัตน์
(๕) นายสุนทร จินดาอินทร์ (๖) พลตำรวจเอก สวัสดิ์ อมรวิวัฒน์
(๗) พลเอก วัฒนา สรรพานิช (๘) นายภิญญา ช่วยปลอด
(๙) นายเสรี สุวรรณภานนท์ (๑๐) นายไสว พราหมณี
(๑๑) นายสันติภาพ อินทรพัฒน์ (๑๒) พลเอก ศิริ ทิวะพันธุ์
(๑๓) พลตำรวจตรี อำพล งามจิตร (๑๔) นายผ่อง เล่งอี้
(๑๕) ร้อยตรี อนุกูล สุภาไชยกิจ (๑๖) นายนภินทร ศรีสรรพางค์
(๑๗) พลตำรวจเอก สมชาย ไชยเวช (๑๘) หม่อมราชวงศ์กำลูนเทพ เทวกุล
(๑๙) นายชุมพล ศิลปอาชา (๒๐) นายสมเกียรติ อ่อนวิมล
(๒๑) นายเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง
ต่อมา รองประธานวุฒิสภาคนที่หนึ่งและรองประธานวุฒิสภาคนที่สอง
ได้ผลัดเปลี่ยนกันเป็นประธานของที่ประชุม โดยประธานของที่ประชุมได้เสนอให้ที่ประชุม
พิจารณาระเบียบวาระเรื่องด่วนต่อไป ดังนี้
๑. ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณ
รายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๕ ตามข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา พ.ศ. ๒๕๔๔
ข้อ ๑๒๕ ซึ่งที่ประชุมมีมติให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ จำนวน ๔๙ คน ประกอบด้วย
(๑) นายวีระพล วัชรประทีป (๒) นายบุญญา หลีเหลด
(๓) นายนิพนธ์ สุทธิเดช (๔) นายสหัส พินทุเสนีย์
(๕) นายสุชน ชาลีเครือ (๖) นายสวัสดิภาพ กันทาธรรม
(๗) นายไพบูลย์ อุปัติศฤงค์ (๘) นายเกษม รุ่งธนเกียรติ
(๙) นายเกษม มาลัยศรี (๑๐) นายสันติ์ เทพมณี
(๑๑) นายนิเวศ พันธ์เจริญวรกุล (๑๒) ร้อยตรี อำนวย ไทยานนท์
(๑๓) นายวิชิต พูลลาภ (๑๔) นายนิรัตน์ อยู่ภักดี
(๑๕) นายศักดิ์ดา ณรงค์ (๑๖) นายสุรใจ ศิรินุพงศ์
(๑๗) นายวิบูลย์ แช่มชื่น (๑๘) นายนิคม เชาว์กิตติโสภณ
(๑๙) พลเอก ศิริ ทิวะพันธุ์ (๒๐) นายสมบูรณ์ ทองบุราณ
(๒๑) นายสันติภาพ อินทรพัฒน์ (๒๒) นายสุทัศน์ จันทร์แสงศรี
(๒๓) นายระวี กิ่งคำวงศ์ (๒๔) พลตำรวจโท ปรีชา ปฏิบัติสรกิจ
(๒๕) นายพิชิต ชัยวิรัตนะ (๒๖) พลตรี อินทรัตน์ ยอดบางเตย
(๒๗) นายสมัย ฮมแสน (๒๘) พลโท ปัญญา อยู่ประเสริฐ
(๒๙) นายวิทยา มะเสนา (๓๐) นายอนุชาติ บรรจงศุภมิตร
(๓๑) นายสมควร จิตแสง (๓๒) นายคำพันธ์ ป้องปาน
(๓๓) นายบุญยืน ศุภสารสาทร (๓๔) นางพรหมจารี รัตนเศรษฐ์
(๓๕) พลโท โกวิท พัฑฒฆายน (๓๖) นายถาวร เกียรติไชยากร
(๓๗) นายวัลลภ ตังคณานุรักษ์ (๓๘) นายวรวิทย์ เชื้อเพ็ชร์
(๓๙) นายประยุทธ ศรีมีชัย (๔๐) นายนิรันดร์ พิทักษ์วัชระ
(๔๑) นายสม ต๊ะยศ (๔๒) นายณรงค์ นุ่นทอง
(๔๓) พลเอก หาญ ลีนานนท์ (๔๔) นางมาลีรัตน์ แก้วก่า
(๔๕) นายสมพร คำชื่น (๔๖) นายวราเทพ รัตนากร
(๔๗) นายจาตุรนต์ ฉายแสง (๔๘) นายพูลทรัพย์ ปิยะอนันต์
(๔๙) นายวิษณุ พูนสุข
๒. พระราชกำหนดบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย พ.ศ. ๒๕๔๔ หลังจากสมาชิกฯ
อภิปราย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง (นายวราเทพ รัตนากร)
และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายสุวรรณ วลัยเสถียร) ตอบชี้แจงแล้ว ที่ประชุมได้มีมติ
อนุมัติพระราชกำหนดดังกล่าว
จากนั้น ประธานของที่ประชุมได้ขอปรึกษาที่ประชุมเพื่อขอนำเรื่องการตั้งกรรมาธิการ
วิสามัญศึกษาปัญหาการพัฒนาพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ แทนตำแหน่งที่ว่าง และญัตติเรื่อง ขอเสนอญัตติเพื่อ
ขอตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาปัญหาความมั่นคงในจังหวัดภาคใต้ ซึ่งนายบุญญา หลีเหลด และ
นายฟัครุดดีน บอตอ เป็นผู้เสนอ ให้ที่ประชุมพิจารณา ซึ่งที่ประชุมมีมติเห็นชอบ ประธานของที่ประชุม
จึงได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณาเรื่องดังกล่าว ตามลำดับ ดังนี้
๑. ตั้งกรรมาธิการวิสามัญศึกษาปัญหาการพัฒนาพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ แทนตำแหน่งที่ว่าง
๑ ตำแหน่ง ซึ่งที่ประชุมมีมติให้ตั้งนายทรงศักดิ์ วงศ์ภูมิวัฒน์ เป็นกรรมาธิการแทนนายวีระศักดิ์ จินารัตน์
ซึ่งสิ้นสุดสมาชิกภาพจากการเป็นสมาชิกวุฒิสภา ตามคำสั่งของคณะกรรมการการเลือกตั้งที่ ๘๑/๒๕๔๔
ลงวันที่ ๑๓ มีนาคม ๒๕๔๔
๒. ญัตติเรื่อง ขอเสนอญัตติเพื่อขอตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาปัญหาความมั่นคง
ในจังหวัดภาคใต้ ซึ่งนายบุญญา หลีเหลด และนายฟัครุดดีน บอตอ เป็นผู้เสนอ หลังจากผู้เสนอ
ได้แถลงเหตุผลแล้ว ที่ประชุมมีมติตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญดังกล่าว จำนวน ๒๑ คน ประกอบด้วย
(๑) นายบุญญา หลีเหลด (๒) นายอิมรอน มะลูลีม
(๓) พลเอก หาญ ลีนานนท์ (๔) พลตำรวจโท ชูชาติ ทัศนเสถียร
(๕) นายคำนวณ ชโลปถัมภ์ (๖) พลตำรวจเอก มีชัย นุกูลกิจ
(๗) นายมุขตาร์ มะทา (๘) นายสมพงษ์ สระกวี
(๙) นายวีรพงศ์ สกลกิติวัฒน์ (๑๐) นายพร เพ็ญพาส
(๑๑) นางเตือนใจ ดีเทศน์ (๑๒) นายไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ
(๑๓) พลตำรวจเอก ประทิน สันติประภพ (๑๔) นายแก้วสรร อติโพธิ
(๑๕) นายปราโมทย์ ไม้กลัด (๑๖) นายฟัครุดดีน บอตอ
(๑๗) นายมนตรี สินทวิชัย (๑๘) พันตำรวจเอก ไพจิตร ศรีคงคา
(๑๙) นายเด่น โต๊ะมีนา (๒๐) นายอูมาร์ ตอยิบ
(๒๑) นายทองใบ ทองเปาด์
โดยมีกำหนดเวลาปฏิบัติภารกิจภายใน ๑๘๐ วัน นับแต่วันที่วุฒิสภามีมติตั้ง
คณะกรรมาธิการ
ต่อมา ประธานของที่ประชุมได้ให้เลขาธิการวุฒิสภาอ่านพระบรมราชโองการ
ประกาศพระราชกฤษฎีกาปิดประชุมสมัยวิสามัญแห่งรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๔๔
เลิกประชุมเวลา ๑๗.๑๕ นาฬิกา
(ลายเซ็น)
(นายพินิต อารยะศิริ)
เลขาธิการวุฒิสภา
สรุปผลการพิจารณาพระราชกำหนดของวุฒิสภา
อนุมัติพระราชกำหนด จำนวน ๑ ฉบับ คือ
- พระราชกำหนดบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย พ.ศ. ๒๕๔๔
ฝ่ายระเบียบวาระและรายงานการประชุม
กองการประชุม
โทร. ๒๔๔๑๕๖๘
โทรสาร ๒๔๔๑๕๖๖

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ