กรุงเทพ--3 ก.พ.--กระทรวงการต่างประเทศ
ในวันศุกร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ 2543 เวลา 10.00 น. ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิต์จะมีพิธีลงนามความตกลงเพื่อการส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุนระหว่างไทยกับประเทศต่างๆ ซึ่ง ในชั้นนี้ มีจำนวน 9 ประเทศ ได้แก่ อาร์เจนตินา โครเอเชีย อินเดีย อิหร่าน อิสราเอล อียิปต์ สโลเวเนีย สวีเดน และซิมบับเว โดย ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจะเป็นผู้ลงนามความตกลงในนามรัฐบาลไทย กับผู้แทนรัฐบาลระดับรัฐมนตรีของประเทศดังกล่าวข้างต้น
การจัดให้มีพิธีลงนามความตกลงเพื่อการส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุนในโอกาสการประชุมเพื่อการค้าและการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNCTAD) ครั้งที่ 10 ที่จะจัดขึ้นที่กรุงเทพฯ ระหว่างวันที่ 12-19 กุมภาพันธ์ 2543 ครั้งนี้ จะเป็นการแสดงถึงความร่วมมือด้านการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศไทยกับต่างประเทศอย่างเป็นรูปธรรม รวมทั้ง แสดงออกถึงเจตนารมณ์และความมุ่งมั่นของประเทศไทยในการส่งเสริมความร่วมมือด้านการลงทุนกับประเทศในภูมิภาคต่างๆ อันสอดคล้องกับหลักการของ UNCTAD ซึ่งประเทศที่ไทยได้ดำเนินการเจรจาจัดทำความตกลง ฯ ดังกล่าวจนเป็นผลสำเร็จ ได้แก่ 5 ประเทศ คือ อาร์เจนตินา อินเดีย อิสราเอล อียิปต์ และสโลเวเนีย และต่อมาสำนักเลขาธิการ UNCTAD ได้เข้ามามีบทบาทเป็นผู้ประสานเรื่องการทาบทามและสนับสนุนให้มีการจัดการเจรจาความตกลงฯ ระหว่างไทยกับอีก 4 ประเทศ ได้แก่ โครเอเชีย อิหร่าน สวีเดน และซิมบับเว ณ นครเจนีวา ระหว่างวันที่ 17-24 มกราคม 2543 ซึ่งการเจรจาดังกล่าวสำเร็จลงด้วยดี จึงทำให้สามารถจัดลงนามความตกลง ฯ ได้เพิ่มขึ้นกับอีก 4 ประเทศดังกล่าวในโอกาสการประชุม UNCTAD ครั้งที่ 10 นี้
ความตกลงเพื่อการส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุนมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
1. ภาคีคู่สัญญาตกลงที่จะดำเนินการเพื่อส่งเสริมการลงทุนของผู้ลงทุนของภาคีคู่สัญญาในดินแดนของภาคีคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง
2. ภาคีคู่สัญญาจะให้การปฏิบัติที่เป็นธรรมเและให้ความคุ้มครองอย่างเต็มที่แก่การลงทุนของนักลงทุนของภาคีแต่ละฝ่าย
3. ภาคีคู่สัญญาแต่ละฝ่ายจะปฏิบัติแก่ผู้ลงทุนและการลงทุน รวมทั้งผลตอบแทนของผู้ลงทุนของภาคีคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งที่เป็นธรรมโดยไม่ด้อยไปกว่าที่ภาคีคู่สัญญาให้แก่การลงทุนและผลตอบแทนของผู้ลงทุนของตน หรือแก่การลงทุนและผลตอบแทนของผู้ลงทุนของรัฐที่สามแล้วแต่การปฏิบัติใดจะเป็นคุณยิ่งกว่า
4. ภาคีคู่สัญญาจะไม่เวนคืน หรือยึดทรัพย์ที่ลงทุนของผู้ลงทุนอีกฝ่ายหนึ่ง เป็นของรัฐ เว้นแต่เป็นไปเพื่อความมุ่งประสงค์ทางสาธารณะและอยู่ภายใต้กระบวนการทางกฎหมาย โดยไม่เลือกปฏิบัติและจ่ายค่าทดแทนโดยพลัน เพียงพอ และอย่างมีประสิทธิภาพ ค่าทดแทนดังกล่าวสามารถโอนได้โดยเสรีในสกุลเงินตราที่ใช้ได้โดยเสรี
5. ภาคีคู่สัญญาจะให้การปฏิบัติอย่างคนชาติ หรือชาติที่ได้รับอนุเคราะห์ยิ่งเกี่ยวกับการชดใช้ค่าเสียหายแก่การลงทุนของอีกฝ่ายหนึ่งอันเนื่องมาจากสงคราม การขัดกันด้วยอาวุธ การปฏิวัติ การ จลาจล ฯลฯ โดยค่าเสียหายนี้จะสามารถโอนได้โดยเสรี
6. การโอนการลงทุนและผลตอบแทนจากการลงทุน จะสามารถกระทำได้โดยเสรี ในอัตราแลกเปลี่ยนตามราคาตลาดในวันที่มีการโอน
7. ในกรณีภาคีคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดหรือตัวแทนที่ได้รับการแต่งตั้ง ได้ชำระเงินให้แก่ผู้ลงทุนภายใต้กรมธรรม์ประกันภัยที่เกี่ยวกับการเสี่ยงภัยที่ไม่ใช่เชิงพาณิชย์แล้ว ภาคีคู่สัญญาผู้รับการลงทุนจะต้องยอมรับการเข้ารับช่วงสิทธิดังกล่าว
8. การระงับข้อพิพาทเกี่ยวกับการลงทุนระหว่างรัฐภาคีคู่สัญญา ให้เป็นไปโดยการเจรจากัน แต่หากการเจรจาไม่สามารถหาข้อยุติได้ ให้นำข้อพิพาทนั้นเสนอเข้าสู่การพิจารณาของอนุญาโตตุลาการ
9. การระงับข้อพิพาทเกี่ยวกับการลงทุนระหว่างผู้ลงทุนกับภาคีคู่สัญญาให้เป็นไปโดยการเจรจา หากไม่สามารถระงับได้ ผู้ลงทุนอาจเสนอให้ศาลภายในประเทศภาคีคู่สัญญาพิจารณาหรือมีการระงับโดยกระบวนการอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ ซึ่งคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการจะถือว่าสิ้นสุดและมีผลผูกพันคู่พิพาท
10. ความตกลงดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้นับตั้งแต่วันลงนาม หรือนับแต่วันที่ได้มีการแจ้งของประเทศภาคีคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายว่า ได้ดำเนินการตามขั้นตอนหรือการให้สัตยาบันตามที่กำหนดโดยกฎหมายภายในเพื่อให้ความตกลงฯ มีผลบังคับใช้เรียบร้อยแล้ว
ประโยชน์ของความตกลงฯ
1. ความตกลงเพื่อการส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุนเป็นกรอบและกลไกในการขยายและส่งเสริมความร่วมมือในด้านการลงทุนระหว่างไทยกับต่างประเทศ
2. ความร่วมมือด้านการลงทุนดังกล่าวจะนำไปสู่การเพิ่มขึ้นของมูลค่าการค้า และการลงทุนระหว่างกัน
3.การจัดทำความตกลงนี้จะสร้างบรรยากาศด้านการลงทุนแก่นักลงทุนทั้งสองประเทศ โดยให้ความมั่นใจและหลักประกันว่าการลงทุนจากประเทศภาคีคู่สัญญาจะได้รับการส่งเสริมและคุ้มครองตามความตกลง
4. การลงนามความตกลงฯ เป็นสัญญลักษณ์อย่างหนึ่งของการส่งเสริมการดำเนินความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างทั้งสองประเทศที่ชัดเจนและเป็นรูปธรรม--จบ--
ในวันศุกร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ 2543 เวลา 10.00 น. ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิต์จะมีพิธีลงนามความตกลงเพื่อการส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุนระหว่างไทยกับประเทศต่างๆ ซึ่ง ในชั้นนี้ มีจำนวน 9 ประเทศ ได้แก่ อาร์เจนตินา โครเอเชีย อินเดีย อิหร่าน อิสราเอล อียิปต์ สโลเวเนีย สวีเดน และซิมบับเว โดย ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจะเป็นผู้ลงนามความตกลงในนามรัฐบาลไทย กับผู้แทนรัฐบาลระดับรัฐมนตรีของประเทศดังกล่าวข้างต้น
การจัดให้มีพิธีลงนามความตกลงเพื่อการส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุนในโอกาสการประชุมเพื่อการค้าและการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNCTAD) ครั้งที่ 10 ที่จะจัดขึ้นที่กรุงเทพฯ ระหว่างวันที่ 12-19 กุมภาพันธ์ 2543 ครั้งนี้ จะเป็นการแสดงถึงความร่วมมือด้านการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศไทยกับต่างประเทศอย่างเป็นรูปธรรม รวมทั้ง แสดงออกถึงเจตนารมณ์และความมุ่งมั่นของประเทศไทยในการส่งเสริมความร่วมมือด้านการลงทุนกับประเทศในภูมิภาคต่างๆ อันสอดคล้องกับหลักการของ UNCTAD ซึ่งประเทศที่ไทยได้ดำเนินการเจรจาจัดทำความตกลง ฯ ดังกล่าวจนเป็นผลสำเร็จ ได้แก่ 5 ประเทศ คือ อาร์เจนตินา อินเดีย อิสราเอล อียิปต์ และสโลเวเนีย และต่อมาสำนักเลขาธิการ UNCTAD ได้เข้ามามีบทบาทเป็นผู้ประสานเรื่องการทาบทามและสนับสนุนให้มีการจัดการเจรจาความตกลงฯ ระหว่างไทยกับอีก 4 ประเทศ ได้แก่ โครเอเชีย อิหร่าน สวีเดน และซิมบับเว ณ นครเจนีวา ระหว่างวันที่ 17-24 มกราคม 2543 ซึ่งการเจรจาดังกล่าวสำเร็จลงด้วยดี จึงทำให้สามารถจัดลงนามความตกลง ฯ ได้เพิ่มขึ้นกับอีก 4 ประเทศดังกล่าวในโอกาสการประชุม UNCTAD ครั้งที่ 10 นี้
ความตกลงเพื่อการส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุนมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
1. ภาคีคู่สัญญาตกลงที่จะดำเนินการเพื่อส่งเสริมการลงทุนของผู้ลงทุนของภาคีคู่สัญญาในดินแดนของภาคีคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง
2. ภาคีคู่สัญญาจะให้การปฏิบัติที่เป็นธรรมเและให้ความคุ้มครองอย่างเต็มที่แก่การลงทุนของนักลงทุนของภาคีแต่ละฝ่าย
3. ภาคีคู่สัญญาแต่ละฝ่ายจะปฏิบัติแก่ผู้ลงทุนและการลงทุน รวมทั้งผลตอบแทนของผู้ลงทุนของภาคีคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งที่เป็นธรรมโดยไม่ด้อยไปกว่าที่ภาคีคู่สัญญาให้แก่การลงทุนและผลตอบแทนของผู้ลงทุนของตน หรือแก่การลงทุนและผลตอบแทนของผู้ลงทุนของรัฐที่สามแล้วแต่การปฏิบัติใดจะเป็นคุณยิ่งกว่า
4. ภาคีคู่สัญญาจะไม่เวนคืน หรือยึดทรัพย์ที่ลงทุนของผู้ลงทุนอีกฝ่ายหนึ่ง เป็นของรัฐ เว้นแต่เป็นไปเพื่อความมุ่งประสงค์ทางสาธารณะและอยู่ภายใต้กระบวนการทางกฎหมาย โดยไม่เลือกปฏิบัติและจ่ายค่าทดแทนโดยพลัน เพียงพอ และอย่างมีประสิทธิภาพ ค่าทดแทนดังกล่าวสามารถโอนได้โดยเสรีในสกุลเงินตราที่ใช้ได้โดยเสรี
5. ภาคีคู่สัญญาจะให้การปฏิบัติอย่างคนชาติ หรือชาติที่ได้รับอนุเคราะห์ยิ่งเกี่ยวกับการชดใช้ค่าเสียหายแก่การลงทุนของอีกฝ่ายหนึ่งอันเนื่องมาจากสงคราม การขัดกันด้วยอาวุธ การปฏิวัติ การ จลาจล ฯลฯ โดยค่าเสียหายนี้จะสามารถโอนได้โดยเสรี
6. การโอนการลงทุนและผลตอบแทนจากการลงทุน จะสามารถกระทำได้โดยเสรี ในอัตราแลกเปลี่ยนตามราคาตลาดในวันที่มีการโอน
7. ในกรณีภาคีคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดหรือตัวแทนที่ได้รับการแต่งตั้ง ได้ชำระเงินให้แก่ผู้ลงทุนภายใต้กรมธรรม์ประกันภัยที่เกี่ยวกับการเสี่ยงภัยที่ไม่ใช่เชิงพาณิชย์แล้ว ภาคีคู่สัญญาผู้รับการลงทุนจะต้องยอมรับการเข้ารับช่วงสิทธิดังกล่าว
8. การระงับข้อพิพาทเกี่ยวกับการลงทุนระหว่างรัฐภาคีคู่สัญญา ให้เป็นไปโดยการเจรจากัน แต่หากการเจรจาไม่สามารถหาข้อยุติได้ ให้นำข้อพิพาทนั้นเสนอเข้าสู่การพิจารณาของอนุญาโตตุลาการ
9. การระงับข้อพิพาทเกี่ยวกับการลงทุนระหว่างผู้ลงทุนกับภาคีคู่สัญญาให้เป็นไปโดยการเจรจา หากไม่สามารถระงับได้ ผู้ลงทุนอาจเสนอให้ศาลภายในประเทศภาคีคู่สัญญาพิจารณาหรือมีการระงับโดยกระบวนการอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ ซึ่งคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการจะถือว่าสิ้นสุดและมีผลผูกพันคู่พิพาท
10. ความตกลงดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้นับตั้งแต่วันลงนาม หรือนับแต่วันที่ได้มีการแจ้งของประเทศภาคีคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายว่า ได้ดำเนินการตามขั้นตอนหรือการให้สัตยาบันตามที่กำหนดโดยกฎหมายภายในเพื่อให้ความตกลงฯ มีผลบังคับใช้เรียบร้อยแล้ว
ประโยชน์ของความตกลงฯ
1. ความตกลงเพื่อการส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุนเป็นกรอบและกลไกในการขยายและส่งเสริมความร่วมมือในด้านการลงทุนระหว่างไทยกับต่างประเทศ
2. ความร่วมมือด้านการลงทุนดังกล่าวจะนำไปสู่การเพิ่มขึ้นของมูลค่าการค้า และการลงทุนระหว่างกัน
3.การจัดทำความตกลงนี้จะสร้างบรรยากาศด้านการลงทุนแก่นักลงทุนทั้งสองประเทศ โดยให้ความมั่นใจและหลักประกันว่าการลงทุนจากประเทศภาคีคู่สัญญาจะได้รับการส่งเสริมและคุ้มครองตามความตกลง
4. การลงนามความตกลงฯ เป็นสัญญลักษณ์อย่างหนึ่งของการส่งเสริมการดำเนินความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างทั้งสองประเทศที่ชัดเจนและเป็นรูปธรรม--จบ--