กรุงเทพ--6 พ.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเข้าร่วมการประชุม The Third Ministerial Conference of the Community of Democracies ณ กรุงซานติอาโก สาธารณรัฐชิลี ระหว่างวันที่ 28-30 เมษายน 2548
ดร. ประชา คุณะเกษม ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้เป็น ผู้แทนพิเศษของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เข้าร่วมการประชุมระดับรัฐมนตรีของประชาคมประเทศประชาธิปไตย ครั้งที่ 3 (The Third Ministerial Conference of the Community of Democracies) ที่กรุงซานติอาโก สาธารณรัฐชิลี ระหว่างวันที่ 28-30 เมษายน 2548 มีประเทศต่างๆ เข้าร่วม 104 ประเทศ โดยเป็นผู้แทนระดับรัฐมนตรีจากกว่า 40 ประเทศ รวมทั้งรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ
การประชุม Community of Democracies เป็นการริเริ่มของกลุ่ม Convening Group ประกอบด้วยสมาชิก 10 ประเทศ คือ ชิลี เช็ก อินเดีย มาลี โปแลนด์ สาธารณรัฐเกาหลี สหรัฐอเมริกาฯ โปรตุเกส แอฟริกาใต้ และเม็กซิโก มีวัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นและประสบการณ์เรื่องความเชื่อมโยงระหว่างสันติภาพ เสรีภาพ ความมั่นคง สิทธิมนุษยชน ประชาธิปไตยและการพัฒนา และเพื่อให้ประชาคมโลกประสานความร่วมมือและความช่วยเหลือด้านการส่งเสริมประชาธิปไตย โดยเน้นการปรับปรุงสถาบันระดับภูมิภาคและระหว่างประเทศให้มีความโปร่งใส มีประสิทธิภาพ และการแก้ไขวิกฤตการณ์เกี่ยวกับประชาธิปไตย การประชุมฯ จัดขึ้นสองปีต่อครั้ง การประชุม ครั้งแรกมีขึ้นที่กรุงวอร์ซอ สาธารณรัฐโปแลนด์ เมื่อปี 2543 ครั้งที่ 2 ที่กรุงโซล สาธารณรัฐเกาหลี เมื่อปี 2545 และครั้งที่ 3 ที่กรุงซานติอาโก สาธารณรัฐชิลี
ประเทศไทยได้รับการยอมรับจากประชาคมระหว่างประเทศว่า เป็นประเทศกำลังพัฒนา ที่มีการพัฒนาประชาธิปไตยอย่างก้าวหน้า และมีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง และได้รับเชิญให้เข้าร่วม การประชุมดังกล่าวมาโดยตลอด ซึ่งที่ผ่านมา ไทยได้ส่งผู้แทนระดับสูงเข้าร่วมการประชุมฯ เพื่อร่วม แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นและประสบการณ์ของไทยในการดำเนินการปกครองประเทศในระบอบประชาธิปไตย รวมทั้งแสดงเจตนารมณ์ทางการเมืองของไทยร่วมกับกว่า 100 ประเทศในการส่งเสริม กระบวนการประชาธิปไตยที่มีประสิทธิภาพ
ในการประชุมระดับรัฐมนตรีฯ ครั้งที่ 3 ดร.ประชา คุณะเกษม ได้ร่วมแลกเปลี่ยน ข้อคิดเห็นและประสบการณ์ของไทยในการหารือโต๊ะกลมหัวข้อเรื่อง “ความยากจน การพัฒนาและธรรมาภิบาล”
และ “ประชาธิปไตยในภูมิภาคเอเชีย” โดยได้ยืนยันความยึดมั่นต่อการส่งเสริมประชาธิปไตยของรัฐบาลไทยชุดปัจจุบันซึ่งเพิ่งได้รับเลือกตั้งให้บริหารประเทศอีกสมัยหนึ่ง
นอกจากนี้ ได้เน้นย้ำความเกี่ยวโยงของความยากจน การพัฒนาและธรรมาภิบาล ตลอดจน
ความสำคัญของการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชน การส่งเสริมประชาธิปไตยและการพัฒนาที่มีมนุษย์เป็นศูนย์กลาง รวมทั้งเน้นด้วยว่า การสร้างกระบวนการประชาธิปไตยที่เข้มแข็งต้องมีความอดทน เพราะต้องใช้เวลาในการเห็นผลและต้องมีการพัฒนาทรัพยากรบุคคลและเสริมสร้างสมรรถนะของบุคลากรในประเทศ ซึ่งกระบวนการนี้จะส่งเสริมให้เกิดสันติภาพ ความมั่นคงของมนุษย์ และประชาธิปไตยที่ยั่งยืน ในการนี้ ประชาคมระหว่างประเทศสามารถช่วยเหลือและสนับสนุน แต่ไม่ควรพยายามกำหนดสูตรสำเร็จสูตรเดียวสำหรับทุกประเทศ เพราะแม้ว่าค่านิยมประชาธิปไตยจะมีลักษณะเป็นสากล แต่ก็ควรที่จะได้รับการขัดเกลาจากภายใน โดยคำนึงถึงบริบทด้านประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และเศรษฐกิจของแต่ละสังคมด้วย
ที่ประชุมฯ ยังได้หารือเกี่ยวกับหัวข้อต่างๆ ได้แก่ บทบาทขององค์การระดับภูมิภาคและภาคประชาสังคมในการส่งเสริมประชาธิปไตยและธรรมาธิภาล ความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของพรรคการเมือง และบทบาทของกลุ่มพันธมิตรในการสนับสนุนประชาธิปไตยในกรอบสหประชาชาติและเวทีการประชุมระหว่างประเทศต่างๆ
การประชุมประชาคมประเทศประชาธิปไตยดังกล่าวนับว่าเป็นประโยชน์ในการเรียนรู้และการแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นระหว่างกันในการส่งเสริมกระบวนการประชาธิปไตยที่มีประสิทธิภาพ โดยการประชุมครั้งต่อไปกำหนดจะมีขึ้นที่กรุงบามาโก สาธารณรัฐมาลี ในปี 2550
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเข้าร่วมการประชุม The Third Ministerial Conference of the Community of Democracies ณ กรุงซานติอาโก สาธารณรัฐชิลี ระหว่างวันที่ 28-30 เมษายน 2548
ดร. ประชา คุณะเกษม ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้เป็น ผู้แทนพิเศษของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เข้าร่วมการประชุมระดับรัฐมนตรีของประชาคมประเทศประชาธิปไตย ครั้งที่ 3 (The Third Ministerial Conference of the Community of Democracies) ที่กรุงซานติอาโก สาธารณรัฐชิลี ระหว่างวันที่ 28-30 เมษายน 2548 มีประเทศต่างๆ เข้าร่วม 104 ประเทศ โดยเป็นผู้แทนระดับรัฐมนตรีจากกว่า 40 ประเทศ รวมทั้งรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ
การประชุม Community of Democracies เป็นการริเริ่มของกลุ่ม Convening Group ประกอบด้วยสมาชิก 10 ประเทศ คือ ชิลี เช็ก อินเดีย มาลี โปแลนด์ สาธารณรัฐเกาหลี สหรัฐอเมริกาฯ โปรตุเกส แอฟริกาใต้ และเม็กซิโก มีวัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นและประสบการณ์เรื่องความเชื่อมโยงระหว่างสันติภาพ เสรีภาพ ความมั่นคง สิทธิมนุษยชน ประชาธิปไตยและการพัฒนา และเพื่อให้ประชาคมโลกประสานความร่วมมือและความช่วยเหลือด้านการส่งเสริมประชาธิปไตย โดยเน้นการปรับปรุงสถาบันระดับภูมิภาคและระหว่างประเทศให้มีความโปร่งใส มีประสิทธิภาพ และการแก้ไขวิกฤตการณ์เกี่ยวกับประชาธิปไตย การประชุมฯ จัดขึ้นสองปีต่อครั้ง การประชุม ครั้งแรกมีขึ้นที่กรุงวอร์ซอ สาธารณรัฐโปแลนด์ เมื่อปี 2543 ครั้งที่ 2 ที่กรุงโซล สาธารณรัฐเกาหลี เมื่อปี 2545 และครั้งที่ 3 ที่กรุงซานติอาโก สาธารณรัฐชิลี
ประเทศไทยได้รับการยอมรับจากประชาคมระหว่างประเทศว่า เป็นประเทศกำลังพัฒนา ที่มีการพัฒนาประชาธิปไตยอย่างก้าวหน้า และมีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง และได้รับเชิญให้เข้าร่วม การประชุมดังกล่าวมาโดยตลอด ซึ่งที่ผ่านมา ไทยได้ส่งผู้แทนระดับสูงเข้าร่วมการประชุมฯ เพื่อร่วม แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นและประสบการณ์ของไทยในการดำเนินการปกครองประเทศในระบอบประชาธิปไตย รวมทั้งแสดงเจตนารมณ์ทางการเมืองของไทยร่วมกับกว่า 100 ประเทศในการส่งเสริม กระบวนการประชาธิปไตยที่มีประสิทธิภาพ
ในการประชุมระดับรัฐมนตรีฯ ครั้งที่ 3 ดร.ประชา คุณะเกษม ได้ร่วมแลกเปลี่ยน ข้อคิดเห็นและประสบการณ์ของไทยในการหารือโต๊ะกลมหัวข้อเรื่อง “ความยากจน การพัฒนาและธรรมาภิบาล”
และ “ประชาธิปไตยในภูมิภาคเอเชีย” โดยได้ยืนยันความยึดมั่นต่อการส่งเสริมประชาธิปไตยของรัฐบาลไทยชุดปัจจุบันซึ่งเพิ่งได้รับเลือกตั้งให้บริหารประเทศอีกสมัยหนึ่ง
นอกจากนี้ ได้เน้นย้ำความเกี่ยวโยงของความยากจน การพัฒนาและธรรมาภิบาล ตลอดจน
ความสำคัญของการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชน การส่งเสริมประชาธิปไตยและการพัฒนาที่มีมนุษย์เป็นศูนย์กลาง รวมทั้งเน้นด้วยว่า การสร้างกระบวนการประชาธิปไตยที่เข้มแข็งต้องมีความอดทน เพราะต้องใช้เวลาในการเห็นผลและต้องมีการพัฒนาทรัพยากรบุคคลและเสริมสร้างสมรรถนะของบุคลากรในประเทศ ซึ่งกระบวนการนี้จะส่งเสริมให้เกิดสันติภาพ ความมั่นคงของมนุษย์ และประชาธิปไตยที่ยั่งยืน ในการนี้ ประชาคมระหว่างประเทศสามารถช่วยเหลือและสนับสนุน แต่ไม่ควรพยายามกำหนดสูตรสำเร็จสูตรเดียวสำหรับทุกประเทศ เพราะแม้ว่าค่านิยมประชาธิปไตยจะมีลักษณะเป็นสากล แต่ก็ควรที่จะได้รับการขัดเกลาจากภายใน โดยคำนึงถึงบริบทด้านประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และเศรษฐกิจของแต่ละสังคมด้วย
ที่ประชุมฯ ยังได้หารือเกี่ยวกับหัวข้อต่างๆ ได้แก่ บทบาทขององค์การระดับภูมิภาคและภาคประชาสังคมในการส่งเสริมประชาธิปไตยและธรรมาธิภาล ความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของพรรคการเมือง และบทบาทของกลุ่มพันธมิตรในการสนับสนุนประชาธิปไตยในกรอบสหประชาชาติและเวทีการประชุมระหว่างประเทศต่างๆ
การประชุมประชาคมประเทศประชาธิปไตยดังกล่าวนับว่าเป็นประโยชน์ในการเรียนรู้และการแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นระหว่างกันในการส่งเสริมกระบวนการประชาธิปไตยที่มีประสิทธิภาพ โดยการประชุมครั้งต่อไปกำหนดจะมีขึ้นที่กรุงบามาโก สาธารณรัฐมาลี ในปี 2550
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-