ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. สศช.ชี้แจงสาเหตุการที่ขีดความสามารถทางการแข่งขันของไทยลดลงเนื่องจากมีประเทศคู่แข่ง
เพิ่มขึ้น รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยถึงการจัดอันดับขีด
ความสามารถทางการแข่งขันของ World Economic Forum (WEF) ในปี 48 ที่จัดให้ประเทศไทยถูกเลื่อนอันดับ
ลงมาจากเดิมอยู่ลำดับที่ 34 จากจำนวน 104 เขตเศรษฐกิจในปี 47 มาเป็นลำดับที่ 36 จาก 117 เขตเศรษฐกิจ
ในปี 48 มีสาเหตุจากการมีกลุ่มเขตเศรษฐกิจเพิ่มเข้ามาจำนวน 13 กลุ่ม และมี 2 กลุ่มเศรษฐกิจที่ได้รับการจัด
ลำดับดีกว่าไทยคือ กาตาร์ อยู่ในลำดับที่ 19 และคูเวต อยู่ในลำดับที่ 33 ทั้งนี้ การที่ลำดับความสามารถทางการ
แข่งขันของไทยลดลงไม่ได้หมายความว่าความสามารถลดลง เพราะเมื่อดูจากปัจจัยที่ WEF นำมาพิจารณาและค่า
ความสามารถจะเห็นว่าไทยยังคงมีอัตราการเติบโตเท่าเดิม สำหรับปัญหาและอุปสรรค 5 ลำดับแรกที่ผู้บริหารธุรกิจ
ระดับสูงของไทยระบุในการตอบแบบสอบถามของ WEF คือ 1) ประสิทธิภาพของระบบราชการ 2) การคอร์รัปชั่น
3) โครงสร้างพื้นฐาน 4) คุณภาพการศึกษาของแรงงาน และ 5) กฎระเบียบเกี่ยวกับภาษีอากร (มติชน)
2. คาดว่า คนง.อาจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอาร์/พีอีก 0.25-0.50% น.ส.อุสรา วิไลพิชญ์ นัก
เศรษฐศาสตร์อาวุโส ธ.สแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า คณะกรรมการนโยบายการเงิน
(คนง.) อาจพิจารณาปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีก 0.50% จากเดิมที่ระดับ 3.25% เป็น 3.75% ในการ
ประชุมวันที่ 19 ต.ค.นี้ เช่นเดียวกับความเห็นของรองกรรมการผู้จัดการบริษัทศูนย์วิจัยกสิกรไทย และรองผู้จัดการ
ฝ่ายวิจัย ธ.กรุงเทพ โดยสาเหตุที่เห็นว่าน่าจะปรับขึ้นถึง 0.50% ในคราวเดียว เพราะเห็นว่าอัตราเงินเฟ้อจะยัง
ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจนถึงครึ่งแรกของปีหน้า เนื่องจากขณะนี้ต้นทุนการขนส่งและการผลิตยังไม่ส่งผ่านไปยัง
สินค้าทั่วไป และคาดว่าจะเริ่มทยอยส่งผ่านทำให้ราคาสินค้ามีโอกาสที่จะปรับตัวสูงขึ้นได้อีก อย่างไรก็ตาม ผอ.ศูนย์
พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กลับเห็นว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายน่าจะปรับขึ้นอีก 0.25%
เพราะเห็นว่าในปีนี้ ธปท.ยังเหลือการประชุมในเดือน ธ.ค.อีกครั้ง จึงน่าจะสามารถรอดูท่าทีของเฟดว่าจะปรับขึ้น
อัตราดอกเบี้ยในอัตราเท่าใดก่อน เช่นเดียวกับ ดร.อนุสรณ์ ธรรมใจ กรรมการผู้จัดการ บลจ.กองทุนบีทีจำกัดและ
ที่ปรึกษาสำนักวิจัยไทยธนาคาร ที่เห็นว่าโอกาสที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% มีมากกว่า เพราะหากปรับขึ้น
0.50% จะส่งผลกระทบต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจได้มากพอสมควร (กรุงเทพธุรกิจ)
3. ธพ.ขนาดใหญ่พิจารณาปรับเพิ่มค่าครองชีพให้กับพนักงาน ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากการที่แนว
โน้มอัตราเงินเฟ้อปรับเพิ่มขึ้นตามราคาสินค้า ที่ได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันและอัตราดอกเบี้ย ทำให้ค่าครองชีพ
ของประชาชนและพนักงานบริษัทต่างๆ เพิ่มขึ้น ส่งผลให้มีการเรียกร้องจากสหภาพแรงงานต่างๆ เพื่อขอปรับขึ้นค่า
ครองชีพให้พนักงานในขณะนี้ โดยเฉพาะ ธพ.ขนาดใหญ่ ได้มีการพิจารณาปรับเพิ่มค่าครองชีพพิเศษให้กับพนักงาน ได้แก่ 1) ธ.กรุงไทย มีการพิจารณาค่าครองชีพพิเศษให้กับพนักงานระดับรอง ผอ.ลงมา โดยพนักงานทั่วไปได้รับ
ในอัตรา 1,000 บาทต่อเดือน และพนักงานที่มีรายได้ต่ำกว่า 5 หมื่นบาทได้รับในอัตรา 1,200 บาทต่อเดือน 2)
ธ.กรุงเทพ ได้มีการจ่ายค่าครองชีพตั้งแต่เดือน ก.ค.เป็นจำนวน 1,000 บาทต่อคน หลังจากที่สหภาพแรงงานได้
ยื่นข้อเรียกร้องต่อฝ่ายจัดการให้พิจารณาคืนเงินเดือนบางส่วนที่พนักงานถูกปรับลดไปในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ 3) ธ.
กสิกรไทย ได้พิจารณาจ่ายค่าครองชีพให้กับพนักงานอีก 1,000 บาทมีผลสิ้นเดือน ต.ค.นี้ 4) ธ.ธนชาต มีการ
ปรับเพิ่มเงินให้กับพนักงานที่ฐานเงินเดือนต่ำกว่า 20,000 บาทอีก 1,000 บาทต่อเดือน ขณะที่ ธ.ไทยพาณิชย์
ธ.กรุงศรีอยุธยา และ ธ.ทหารไทย กำลังอยู่ระหว่างการพิจารณา (กรุงเทพธุรกิจ)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. IMF คาดว่าเศรษฐกิจโลกในปี 49 จะขยายตัวร้อยละ 4.3 แต่มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น รายงาน
จาก Xianghe ประเทศจีนเมื่อวันที่ 15 ต.ค. 48 ว่าภายหลังการประชุมG-20 ที่ประเทศจีน นาย Rodrigo
Rato , Managing Director ของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เปิดเผยว่า ในปีหน้าเศรษฐกิจโลก
จะเติบโตร้อยละ 4.3 แต่จะเผชิญกับปัญหาความเสี่ยงเพิ่มขึ้นรวมทั้งระดับราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นและการกีดกันทาง
การค้า แม้ว่าภาพรวมเศรษฐกิจโลกจะสดใสแต่ยังมีความเสี่ยงจากปัญหาราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นนอกจากนั้นความ
เสี่ยงยังเกิดขึ้นจากความไม่สมดุลของเศรษฐกิจโลกเนื่องจากการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดที่อยู่ในระดับสูงของสรอ.ขณะ
ที่ญี่ปุ่น จีน และประเทศที่เป็นตลาดเกิดใหม่ในอาเซียนอื่นๆ มีการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้ความไม่
สมดุลดังกล่าวจะนำมาซึ่งความเสี่ยงหลายด้านจากความไม่เสถียรภาพทางเศรษฐกิจ และหากเป็นเช่นนี้ต่อไปจะส่ง
ผลต่อค่าเงินดอลลาร์ สรอ. ตกต่ำลงขณะที่อัตราดอกเบี้ยสรอ.เพิ่มสูงขึ้น จะส่งผลกระทบต่อการเติบโตทาง
เศรษฐกิจของโลก ก่อนหน้านั้นสรอ.ได้กดดันจีนให้ปล่อยค่าเงินหยวนให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้นอีกจากที่จีนได้ปรับอัตรา
แลกเปลี่ยนเงินหยวนให้แข็งค่าขึ้นเพื่อช่วยบรรเทาปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดของสรอ. (รอยเตอร์)
2. ญี่ปุ่นเตือนให้ระวังนโยบายอัตราดอกเบี้ยต่ำอาจทำให้เศรษฐกิจโลกเสียหาย รายงานจากเมือง
Xianghe ประเทศจีน เมื่อวันที่ 16 ต.ค.48 Toshihiko Fukui ผู้ว่าการ ธ.กลางญี่ปุ่น กล่าวภายหลังการ
ประชุม รมว.คลัง และผู้ว่าการธนาคารกลาง ของกลุ่ม G20 ว่า หัวข้อหนึ่งที่ที่ประชุมไม่ได้ให้ความสำคัญมากนัก
คือ การรักษาเสถียภาพของอัตราดอกเบี้ยระยะยาวทั่วโลกท่ามกลางปัญหาราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น ขณะที่ต้องคำนึง
ถึงการขยายตัวของเศรษฐกิจด้วย ทั้งนี้ โดยที่ปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยออมทรัพย์ทั่วโลกสูงขึ้น ขณะที่การลงทุนลดลงเมื่อ
เทียบกับการออม ซึ่งความพึงพอใจมากเกินไปจากอัตราดอกเบี้ยระยะยาวที่อยู่ในระดับต่ำและมีเสถียรภาพอาจทำให้
ประชาชนมีการดำเนินการใด ๆ ที่อาจส่งผลในทางลบต่อระบบเศรษฐกิจ ทั้งนี้ ญี่ปุ่นเพิ่งจะฟื้นตัวจากภาวะ
เศรษฐกิจชะงักงันหลังจากที่เกิดภาวะฟองสบู่ของภาคอสังหาริมทรัพย์ในช่วงต้นทศวรรษ 1990 ส่งผลกระทบต่อ
เศรษฐกิจและทำให้เกิดวิกฤตต่อภาคการธนาคาร ธ.กลางญี่ปุ่นจึงได้เลือกใช้นโยบายอัตราดอกเบี้ยต่ำเกือบร้อย
ละ 0 และทุ่มเงินจำนวนมหาศาลเข้าสู่ระบบการเงินเพื่อแก้ปัญหาเศรษฐกิจถดถอยและฟื้นฟูเศรษฐกิจ ซึ่งผู้ว่าการ
ธ.กลางญี่ปุ่น กล่าวว่า ในขณะที่เศรษฐกิจกำลังปรับตัวดีขึ้น ธ.กลางจะยังคงนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายพิเศษไว้
จนกว่าดัชนีราคาผู้บริโภคจะฟื้นตัวในระดับที่มีเสถียรภาพ (รอยเตอร์)
3. รัฐบาลเยอรมนีจะปรับลดประมาณการอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปีหน้าลงร้อยละ 0.1 -
0.2 ต่อปี รายงานจากเบอร์ลิน เมื่อ 15 ต.ค.48 นิตยสารรายสัปดาห์ Der Spiegel อ้างแหล่งข่าวในรัฐบาล
ว่ารัฐบาลเยอรมนีเตรียมที่จะปรับลดประมาณการอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปีหน้าลงระหว่างร้อยละ 0.1
ถึง 0.2 ต่อปีในวันที่ 21 ต.ค.48 ที่จะถึงนี้จากที่คาดไว้ว่าเศรษฐกิจในปีหน้าจะขยายตัวประมาณร้อยละ 1.6 ต่อ
ปี โดยเป็นผลจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้นถึงร้อยละ 70 นับตั้งแต่ต้นปีนี้เป็นต้นมา ทำให้บรรดาผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจ
ของ ก.คลังเยอรมนีมองแนวโน้มเศรษฐกิจในปีหน้าในแง่ลบ ในขณะเดียวกันคาดว่ารัฐบาลจะปรับลดประมาณการ
อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปีนี้ลงเล็กน้อยจากที่คาดไว้ว่าเศรษฐกิจในปีนี้จะขยายตัวร้อยละ 1.0 ต่อปี หลัง
จากเศรษฐกิจในปีที่ผ่านมาขยายตัวร้อยละ 1.6 ต่อปี สูงสุดนับตั้งแต่ปี 43 (รอยเตอร์)
4. ราคาบ้านในอังกฤษเพิ่มสูงขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 6 เดือน รายงานจากลอนดอนเมื่อวันที่ 17 ต.ค. 48
ผลการสำรวจของบริษัทอสังหาริมทรัพย์ Rightmove ของอังกฤษในช่วงวันที่ 11 ก.ย. — 8 ต.ค.พบว่าราคา
บ้านช่วงกลางเดือนก.ย. — กลางเดือนต.ค. อยู่ที่เฉลี่ย 196,348 ปอนด์เพิ่มขึ้นจาก 195,407 ปอนด์หรือ
เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 จากช่วงกลางเดือนส.ค. — ก.ย. และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่แล้วเพิ่มขึ้นเกือบร้อยละ
1.5 และเพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนเม.ย. ที่ราคาบ้านเพิ่มขึ้นทำสถิติสูงสุด การเพิ่มขึ้นของราคาบ้านดัง
กล่าวแสดงถึงตลาดอสังหาริมทรัพย์ของอังกฤษมีการเติบโตอย่างมีเสถียรภาพ (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 17 ต.ค. 48 14 ต.ค. 48 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 40.879 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 40.6867/40.9797 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.51458 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 700.02/ 9.01 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 9,100/9,200 9,150/9,250 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 54.18 53.7 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 27.34*/24.19 27.34*/24.19 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับลด 40 สตางค์ เมื่อ 10 ต.ค. 48
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. สศช.ชี้แจงสาเหตุการที่ขีดความสามารถทางการแข่งขันของไทยลดลงเนื่องจากมีประเทศคู่แข่ง
เพิ่มขึ้น รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยถึงการจัดอันดับขีด
ความสามารถทางการแข่งขันของ World Economic Forum (WEF) ในปี 48 ที่จัดให้ประเทศไทยถูกเลื่อนอันดับ
ลงมาจากเดิมอยู่ลำดับที่ 34 จากจำนวน 104 เขตเศรษฐกิจในปี 47 มาเป็นลำดับที่ 36 จาก 117 เขตเศรษฐกิจ
ในปี 48 มีสาเหตุจากการมีกลุ่มเขตเศรษฐกิจเพิ่มเข้ามาจำนวน 13 กลุ่ม และมี 2 กลุ่มเศรษฐกิจที่ได้รับการจัด
ลำดับดีกว่าไทยคือ กาตาร์ อยู่ในลำดับที่ 19 และคูเวต อยู่ในลำดับที่ 33 ทั้งนี้ การที่ลำดับความสามารถทางการ
แข่งขันของไทยลดลงไม่ได้หมายความว่าความสามารถลดลง เพราะเมื่อดูจากปัจจัยที่ WEF นำมาพิจารณาและค่า
ความสามารถจะเห็นว่าไทยยังคงมีอัตราการเติบโตเท่าเดิม สำหรับปัญหาและอุปสรรค 5 ลำดับแรกที่ผู้บริหารธุรกิจ
ระดับสูงของไทยระบุในการตอบแบบสอบถามของ WEF คือ 1) ประสิทธิภาพของระบบราชการ 2) การคอร์รัปชั่น
3) โครงสร้างพื้นฐาน 4) คุณภาพการศึกษาของแรงงาน และ 5) กฎระเบียบเกี่ยวกับภาษีอากร (มติชน)
2. คาดว่า คนง.อาจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอาร์/พีอีก 0.25-0.50% น.ส.อุสรา วิไลพิชญ์ นัก
เศรษฐศาสตร์อาวุโส ธ.สแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า คณะกรรมการนโยบายการเงิน
(คนง.) อาจพิจารณาปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีก 0.50% จากเดิมที่ระดับ 3.25% เป็น 3.75% ในการ
ประชุมวันที่ 19 ต.ค.นี้ เช่นเดียวกับความเห็นของรองกรรมการผู้จัดการบริษัทศูนย์วิจัยกสิกรไทย และรองผู้จัดการ
ฝ่ายวิจัย ธ.กรุงเทพ โดยสาเหตุที่เห็นว่าน่าจะปรับขึ้นถึง 0.50% ในคราวเดียว เพราะเห็นว่าอัตราเงินเฟ้อจะยัง
ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจนถึงครึ่งแรกของปีหน้า เนื่องจากขณะนี้ต้นทุนการขนส่งและการผลิตยังไม่ส่งผ่านไปยัง
สินค้าทั่วไป และคาดว่าจะเริ่มทยอยส่งผ่านทำให้ราคาสินค้ามีโอกาสที่จะปรับตัวสูงขึ้นได้อีก อย่างไรก็ตาม ผอ.ศูนย์
พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กลับเห็นว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายน่าจะปรับขึ้นอีก 0.25%
เพราะเห็นว่าในปีนี้ ธปท.ยังเหลือการประชุมในเดือน ธ.ค.อีกครั้ง จึงน่าจะสามารถรอดูท่าทีของเฟดว่าจะปรับขึ้น
อัตราดอกเบี้ยในอัตราเท่าใดก่อน เช่นเดียวกับ ดร.อนุสรณ์ ธรรมใจ กรรมการผู้จัดการ บลจ.กองทุนบีทีจำกัดและ
ที่ปรึกษาสำนักวิจัยไทยธนาคาร ที่เห็นว่าโอกาสที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% มีมากกว่า เพราะหากปรับขึ้น
0.50% จะส่งผลกระทบต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจได้มากพอสมควร (กรุงเทพธุรกิจ)
3. ธพ.ขนาดใหญ่พิจารณาปรับเพิ่มค่าครองชีพให้กับพนักงาน ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากการที่แนว
โน้มอัตราเงินเฟ้อปรับเพิ่มขึ้นตามราคาสินค้า ที่ได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันและอัตราดอกเบี้ย ทำให้ค่าครองชีพ
ของประชาชนและพนักงานบริษัทต่างๆ เพิ่มขึ้น ส่งผลให้มีการเรียกร้องจากสหภาพแรงงานต่างๆ เพื่อขอปรับขึ้นค่า
ครองชีพให้พนักงานในขณะนี้ โดยเฉพาะ ธพ.ขนาดใหญ่ ได้มีการพิจารณาปรับเพิ่มค่าครองชีพพิเศษให้กับพนักงาน ได้แก่ 1) ธ.กรุงไทย มีการพิจารณาค่าครองชีพพิเศษให้กับพนักงานระดับรอง ผอ.ลงมา โดยพนักงานทั่วไปได้รับ
ในอัตรา 1,000 บาทต่อเดือน และพนักงานที่มีรายได้ต่ำกว่า 5 หมื่นบาทได้รับในอัตรา 1,200 บาทต่อเดือน 2)
ธ.กรุงเทพ ได้มีการจ่ายค่าครองชีพตั้งแต่เดือน ก.ค.เป็นจำนวน 1,000 บาทต่อคน หลังจากที่สหภาพแรงงานได้
ยื่นข้อเรียกร้องต่อฝ่ายจัดการให้พิจารณาคืนเงินเดือนบางส่วนที่พนักงานถูกปรับลดไปในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ 3) ธ.
กสิกรไทย ได้พิจารณาจ่ายค่าครองชีพให้กับพนักงานอีก 1,000 บาทมีผลสิ้นเดือน ต.ค.นี้ 4) ธ.ธนชาต มีการ
ปรับเพิ่มเงินให้กับพนักงานที่ฐานเงินเดือนต่ำกว่า 20,000 บาทอีก 1,000 บาทต่อเดือน ขณะที่ ธ.ไทยพาณิชย์
ธ.กรุงศรีอยุธยา และ ธ.ทหารไทย กำลังอยู่ระหว่างการพิจารณา (กรุงเทพธุรกิจ)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. IMF คาดว่าเศรษฐกิจโลกในปี 49 จะขยายตัวร้อยละ 4.3 แต่มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น รายงาน
จาก Xianghe ประเทศจีนเมื่อวันที่ 15 ต.ค. 48 ว่าภายหลังการประชุมG-20 ที่ประเทศจีน นาย Rodrigo
Rato , Managing Director ของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เปิดเผยว่า ในปีหน้าเศรษฐกิจโลก
จะเติบโตร้อยละ 4.3 แต่จะเผชิญกับปัญหาความเสี่ยงเพิ่มขึ้นรวมทั้งระดับราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นและการกีดกันทาง
การค้า แม้ว่าภาพรวมเศรษฐกิจโลกจะสดใสแต่ยังมีความเสี่ยงจากปัญหาราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นนอกจากนั้นความ
เสี่ยงยังเกิดขึ้นจากความไม่สมดุลของเศรษฐกิจโลกเนื่องจากการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดที่อยู่ในระดับสูงของสรอ.ขณะ
ที่ญี่ปุ่น จีน และประเทศที่เป็นตลาดเกิดใหม่ในอาเซียนอื่นๆ มีการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้ความไม่
สมดุลดังกล่าวจะนำมาซึ่งความเสี่ยงหลายด้านจากความไม่เสถียรภาพทางเศรษฐกิจ และหากเป็นเช่นนี้ต่อไปจะส่ง
ผลต่อค่าเงินดอลลาร์ สรอ. ตกต่ำลงขณะที่อัตราดอกเบี้ยสรอ.เพิ่มสูงขึ้น จะส่งผลกระทบต่อการเติบโตทาง
เศรษฐกิจของโลก ก่อนหน้านั้นสรอ.ได้กดดันจีนให้ปล่อยค่าเงินหยวนให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้นอีกจากที่จีนได้ปรับอัตรา
แลกเปลี่ยนเงินหยวนให้แข็งค่าขึ้นเพื่อช่วยบรรเทาปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดของสรอ. (รอยเตอร์)
2. ญี่ปุ่นเตือนให้ระวังนโยบายอัตราดอกเบี้ยต่ำอาจทำให้เศรษฐกิจโลกเสียหาย รายงานจากเมือง
Xianghe ประเทศจีน เมื่อวันที่ 16 ต.ค.48 Toshihiko Fukui ผู้ว่าการ ธ.กลางญี่ปุ่น กล่าวภายหลังการ
ประชุม รมว.คลัง และผู้ว่าการธนาคารกลาง ของกลุ่ม G20 ว่า หัวข้อหนึ่งที่ที่ประชุมไม่ได้ให้ความสำคัญมากนัก
คือ การรักษาเสถียภาพของอัตราดอกเบี้ยระยะยาวทั่วโลกท่ามกลางปัญหาราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น ขณะที่ต้องคำนึง
ถึงการขยายตัวของเศรษฐกิจด้วย ทั้งนี้ โดยที่ปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยออมทรัพย์ทั่วโลกสูงขึ้น ขณะที่การลงทุนลดลงเมื่อ
เทียบกับการออม ซึ่งความพึงพอใจมากเกินไปจากอัตราดอกเบี้ยระยะยาวที่อยู่ในระดับต่ำและมีเสถียรภาพอาจทำให้
ประชาชนมีการดำเนินการใด ๆ ที่อาจส่งผลในทางลบต่อระบบเศรษฐกิจ ทั้งนี้ ญี่ปุ่นเพิ่งจะฟื้นตัวจากภาวะ
เศรษฐกิจชะงักงันหลังจากที่เกิดภาวะฟองสบู่ของภาคอสังหาริมทรัพย์ในช่วงต้นทศวรรษ 1990 ส่งผลกระทบต่อ
เศรษฐกิจและทำให้เกิดวิกฤตต่อภาคการธนาคาร ธ.กลางญี่ปุ่นจึงได้เลือกใช้นโยบายอัตราดอกเบี้ยต่ำเกือบร้อย
ละ 0 และทุ่มเงินจำนวนมหาศาลเข้าสู่ระบบการเงินเพื่อแก้ปัญหาเศรษฐกิจถดถอยและฟื้นฟูเศรษฐกิจ ซึ่งผู้ว่าการ
ธ.กลางญี่ปุ่น กล่าวว่า ในขณะที่เศรษฐกิจกำลังปรับตัวดีขึ้น ธ.กลางจะยังคงนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายพิเศษไว้
จนกว่าดัชนีราคาผู้บริโภคจะฟื้นตัวในระดับที่มีเสถียรภาพ (รอยเตอร์)
3. รัฐบาลเยอรมนีจะปรับลดประมาณการอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปีหน้าลงร้อยละ 0.1 -
0.2 ต่อปี รายงานจากเบอร์ลิน เมื่อ 15 ต.ค.48 นิตยสารรายสัปดาห์ Der Spiegel อ้างแหล่งข่าวในรัฐบาล
ว่ารัฐบาลเยอรมนีเตรียมที่จะปรับลดประมาณการอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปีหน้าลงระหว่างร้อยละ 0.1
ถึง 0.2 ต่อปีในวันที่ 21 ต.ค.48 ที่จะถึงนี้จากที่คาดไว้ว่าเศรษฐกิจในปีหน้าจะขยายตัวประมาณร้อยละ 1.6 ต่อ
ปี โดยเป็นผลจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้นถึงร้อยละ 70 นับตั้งแต่ต้นปีนี้เป็นต้นมา ทำให้บรรดาผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจ
ของ ก.คลังเยอรมนีมองแนวโน้มเศรษฐกิจในปีหน้าในแง่ลบ ในขณะเดียวกันคาดว่ารัฐบาลจะปรับลดประมาณการ
อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปีนี้ลงเล็กน้อยจากที่คาดไว้ว่าเศรษฐกิจในปีนี้จะขยายตัวร้อยละ 1.0 ต่อปี หลัง
จากเศรษฐกิจในปีที่ผ่านมาขยายตัวร้อยละ 1.6 ต่อปี สูงสุดนับตั้งแต่ปี 43 (รอยเตอร์)
4. ราคาบ้านในอังกฤษเพิ่มสูงขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 6 เดือน รายงานจากลอนดอนเมื่อวันที่ 17 ต.ค. 48
ผลการสำรวจของบริษัทอสังหาริมทรัพย์ Rightmove ของอังกฤษในช่วงวันที่ 11 ก.ย. — 8 ต.ค.พบว่าราคา
บ้านช่วงกลางเดือนก.ย. — กลางเดือนต.ค. อยู่ที่เฉลี่ย 196,348 ปอนด์เพิ่มขึ้นจาก 195,407 ปอนด์หรือ
เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 จากช่วงกลางเดือนส.ค. — ก.ย. และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่แล้วเพิ่มขึ้นเกือบร้อยละ
1.5 และเพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนเม.ย. ที่ราคาบ้านเพิ่มขึ้นทำสถิติสูงสุด การเพิ่มขึ้นของราคาบ้านดัง
กล่าวแสดงถึงตลาดอสังหาริมทรัพย์ของอังกฤษมีการเติบโตอย่างมีเสถียรภาพ (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 17 ต.ค. 48 14 ต.ค. 48 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 40.879 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 40.6867/40.9797 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.51458 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 700.02/ 9.01 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 9,100/9,200 9,150/9,250 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 54.18 53.7 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 27.34*/24.19 27.34*/24.19 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับลด 40 สตางค์ เมื่อ 10 ต.ค. 48
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--