รับลูกปรับโครงสร้างอุตฯ ชงคณะทำงานเน้นให้สอดคล้องภาครัฐ เป้า 4 ปี ขยาย 3.3 ล้านล้านบาท จาก 2.3 ล้านล้านบาท สำเร็จแน่ ย่ำตามยุทธศาสตร์พัฒนาคนพร้อมงานศึกษาวิจัยส่งภาคอุตสาหกรรมโตยั่งยืน
นางชุตาภรณ์ ลัมพสาระ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยในการสัมภาษณ์สดในรายการ “ข้อเท็จจริงวันนี้” ทางสถานีโทรทัศน์ UBC 7 เมื่อวันที่ 24 มี.ค. 2548 ว่า สศอ.ได้เร่งดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์ปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม โดยมีเป้าหมายสร้างมูลค่าเพิ่มภาคอุตสาหกรรม 3.3 ล้านล้านบาทภายในปี พ.ศ. 2551 จาก 2.3 ล้านล้านบาทในปีที่ผ่านมา โดยแผนดังกล่าวปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมได้เสนอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยแผนปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมที่เสนอไปครั้งนี้ หากดำเนินการสำเร็จจะส่งผลให้ภาคอุตสาหกรรมของประเทศเติบโตและสามารถแข่งขันได้อย่างยั่งยืน
“การปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมถือว่าสำคัญยิ่ง เนื่องจากอุตสาหกรรมเป็นภาคการผลิตที่ใหญ่และมีมูลค่าสูงมาก คิดเป็นร้อยละ 40 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (จีดีพี) สศอ.ได้เสนอแผนปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมและลงมือปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง โดยแบ่งกลุ่มทำงาน เพื่อง่ายต่อการดูแลและให้การสนับสนุน ซึ่งกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายประกอบด้วยกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพอยู่เดิม และกลุ่มอุตสาหกรรมสำหรับอนาคต”
นางชุตาภรณ์ กล่าวว่า สำหรับกลุ่มอุตสาหกรรมเดิมนั้นแบ่งเป็นอุตสาหกรรมตามนโยบายของรัฐบาล เช่น ยานยนต์ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ แฟชั่น กลุ่มอุตสาหกรรมเดิมที่มีศักยภาพ เช่น การแปรรูปผลิตภัณฑ์การเกษตร และกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีความเชื่อมโยงสูง เช่นอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ อุตสาหกรรมเครื่องจักร ซึ่งปัจจุบันนี้เครื่องจักรกลการเกษตรของไทยเราเป็นที่ยอมรับและสามารถเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญเพราะมีต้นทุนการผลิตต่ำและใช้วัตถุดิบในประเทศ ซึ่งสอดคล้องกับแผนปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม
“สำหรับอุตสาหกรรมในอนาคตในขณะนี้ กำลังเล็งไปในหลายสาขาโดยผ่านกระบวนการวิจัยพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ซึ่ง สศอ.ได้ส่งทีมงานเข้าไปสำรวจและวิจัยหาข้อมูลในทุกด้านมาประกอบ เพื่อให้การพัฒนาภาคอุตสาหกรรมเป็นไปอย่างยั่งยืน และรองรับกับสภาพการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ทั้งในมิติของเทคโนโลยี สภาพสังคม สิ่งแวดล้อม และอื่นๆ ซึ่งการดำเนินงานอาจต้องใช้เวลาในการพิจารณา เพราะต้องผ่านกระบวนการหลายขั้นตอน เช่น บางอุตสาหกรรมที่ต้องขอความร่วมมือจากทุกฝ่ายในการต่อยอด เพื่อให้สอดคล้องกับแผนปฏิบัติทั้งทางตรงและทางอ้อม ซึ่งจะเป็นอุตสาหกรรมที่มีต้นทุนต่ำและใช้วัตถุดิบภายในประเทศ เช่น การแปรรูปจากผลิตภัณฑ์การเกษตร ซึ่งกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีอนาคตต้องสร้างควบคู่กับการพัฒนาบุคลากรและผู้ประกอบการที่มีคุณภาพต่อไป การให้ความรู้และเทคโนโลยีสมัยใหม่ รวมทั้งให้ความสำคัญกับการพัฒนาสิ่งแวดล้อมและสร้างบรรยากาศในการทำงานควบคู่กันไปด้วย”
ส่วนข้อกำหนดในการผลักดันให้เกิดผู้ประกอบการใหม่ หรือการลงทุนภาคอุตสาหกรรม เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มที่สูงจากความรู้ นวัตกรรม ตามแนวทางการพัฒนาประเทศไปสู่ระบบเศรษฐกิจ บนฐานความรู้นั้น เมื่อดูตามข้อกฎหมายต่างๆ หากเห็นว่าไม่เหมาะสมและขัดต่อการพัฒนาตามแผนงาน ก็จะต้องมีการหารือจากหลายฝ่ายเพื่อทำข้อตกลงร่วมกัน อาจจะเป็นการแก้กฎหมาย หรือลดขั้นตอนในบางข้อเพื่อให้เกิดความคล่องตัว ทั้งนี้แล้วย่อมขึ้นอยู่กับทุกฝ่ายที่จะต้องช่วยกัน ผลักดันในทุกแผนงานให้ดำเนินไปอย่างราบรื่น คณะทำงานทุกคนต่างก็ทำงานหนักโดยมีเป้าหมายสูงสุดคือ บรรลุตามแผนงานที่วางไว้ เพื่อให้อุตสาหกรรมของประเทศต้องเติบโตอย่างยั่งยืนและมั่นคง ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมกล่าว
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
นางชุตาภรณ์ ลัมพสาระ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยในการสัมภาษณ์สดในรายการ “ข้อเท็จจริงวันนี้” ทางสถานีโทรทัศน์ UBC 7 เมื่อวันที่ 24 มี.ค. 2548 ว่า สศอ.ได้เร่งดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์ปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม โดยมีเป้าหมายสร้างมูลค่าเพิ่มภาคอุตสาหกรรม 3.3 ล้านล้านบาทภายในปี พ.ศ. 2551 จาก 2.3 ล้านล้านบาทในปีที่ผ่านมา โดยแผนดังกล่าวปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมได้เสนอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยแผนปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมที่เสนอไปครั้งนี้ หากดำเนินการสำเร็จจะส่งผลให้ภาคอุตสาหกรรมของประเทศเติบโตและสามารถแข่งขันได้อย่างยั่งยืน
“การปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมถือว่าสำคัญยิ่ง เนื่องจากอุตสาหกรรมเป็นภาคการผลิตที่ใหญ่และมีมูลค่าสูงมาก คิดเป็นร้อยละ 40 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (จีดีพี) สศอ.ได้เสนอแผนปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมและลงมือปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง โดยแบ่งกลุ่มทำงาน เพื่อง่ายต่อการดูแลและให้การสนับสนุน ซึ่งกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายประกอบด้วยกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพอยู่เดิม และกลุ่มอุตสาหกรรมสำหรับอนาคต”
นางชุตาภรณ์ กล่าวว่า สำหรับกลุ่มอุตสาหกรรมเดิมนั้นแบ่งเป็นอุตสาหกรรมตามนโยบายของรัฐบาล เช่น ยานยนต์ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ แฟชั่น กลุ่มอุตสาหกรรมเดิมที่มีศักยภาพ เช่น การแปรรูปผลิตภัณฑ์การเกษตร และกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีความเชื่อมโยงสูง เช่นอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ อุตสาหกรรมเครื่องจักร ซึ่งปัจจุบันนี้เครื่องจักรกลการเกษตรของไทยเราเป็นที่ยอมรับและสามารถเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญเพราะมีต้นทุนการผลิตต่ำและใช้วัตถุดิบในประเทศ ซึ่งสอดคล้องกับแผนปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม
“สำหรับอุตสาหกรรมในอนาคตในขณะนี้ กำลังเล็งไปในหลายสาขาโดยผ่านกระบวนการวิจัยพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ซึ่ง สศอ.ได้ส่งทีมงานเข้าไปสำรวจและวิจัยหาข้อมูลในทุกด้านมาประกอบ เพื่อให้การพัฒนาภาคอุตสาหกรรมเป็นไปอย่างยั่งยืน และรองรับกับสภาพการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ทั้งในมิติของเทคโนโลยี สภาพสังคม สิ่งแวดล้อม และอื่นๆ ซึ่งการดำเนินงานอาจต้องใช้เวลาในการพิจารณา เพราะต้องผ่านกระบวนการหลายขั้นตอน เช่น บางอุตสาหกรรมที่ต้องขอความร่วมมือจากทุกฝ่ายในการต่อยอด เพื่อให้สอดคล้องกับแผนปฏิบัติทั้งทางตรงและทางอ้อม ซึ่งจะเป็นอุตสาหกรรมที่มีต้นทุนต่ำและใช้วัตถุดิบภายในประเทศ เช่น การแปรรูปจากผลิตภัณฑ์การเกษตร ซึ่งกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีอนาคตต้องสร้างควบคู่กับการพัฒนาบุคลากรและผู้ประกอบการที่มีคุณภาพต่อไป การให้ความรู้และเทคโนโลยีสมัยใหม่ รวมทั้งให้ความสำคัญกับการพัฒนาสิ่งแวดล้อมและสร้างบรรยากาศในการทำงานควบคู่กันไปด้วย”
ส่วนข้อกำหนดในการผลักดันให้เกิดผู้ประกอบการใหม่ หรือการลงทุนภาคอุตสาหกรรม เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มที่สูงจากความรู้ นวัตกรรม ตามแนวทางการพัฒนาประเทศไปสู่ระบบเศรษฐกิจ บนฐานความรู้นั้น เมื่อดูตามข้อกฎหมายต่างๆ หากเห็นว่าไม่เหมาะสมและขัดต่อการพัฒนาตามแผนงาน ก็จะต้องมีการหารือจากหลายฝ่ายเพื่อทำข้อตกลงร่วมกัน อาจจะเป็นการแก้กฎหมาย หรือลดขั้นตอนในบางข้อเพื่อให้เกิดความคล่องตัว ทั้งนี้แล้วย่อมขึ้นอยู่กับทุกฝ่ายที่จะต้องช่วยกัน ผลักดันในทุกแผนงานให้ดำเนินไปอย่างราบรื่น คณะทำงานทุกคนต่างก็ทำงานหนักโดยมีเป้าหมายสูงสุดคือ บรรลุตามแผนงานที่วางไว้ เพื่อให้อุตสาหกรรมของประเทศต้องเติบโตอย่างยั่งยืนและมั่นคง ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมกล่าว
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-