สรุปภาวะการค้าไทย-อินเดียระหว่างเดือน ม.ค.- ก.ค.2548

ข่าวเศรษฐกิจ Monday September 19, 2005 12:28 —กรมส่งเสริมการส่งออก

          1. อินเดียเป็นตลาดนำเข้าสำคัญอันดับ 22 ของโลก โดยมีมูลค่าการนำเข้า 97,312,729,185 
ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 36.71 ในขณะที่เป็นตลาดส่งออกอันดับที่ 28 มูลค่า 75,630,585,967
ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 31.63 (ม.ค.-ธ.ค. 2547)
2. แหล่งผลิตสำคัญที่อินเดียนำเข้าในปี 2548 (ม.ค.-มี.ค.) ได้แก่
- สวิตเซอร์แลนด์ ร้อยละ 6.48 มูลค่า 2,012.732 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 183.20
- จีน ร้อยละ 6.23 มูลค่า 1,935.374 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 61.00
- สหรัฐฯ ร้อยละ 5.44 มูลค่า 1,690.902 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 37.71
- สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ร้อยละ 5.14 มูลค่า 1,596.467 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 92.81
ไทยอยู่อันดับที่ 23 ร้อยละ 0.82 มูลค่า 254.943 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 50.89
3. สมาพันธ์อุตสาหกรรมอินเดียรายงานว่า เศรษฐกิจอินเดียในปีงบประมาณ 48-49 น่าจะขยายตัว
ได้ที่ระดับร้อยละ 7.2 เนื่องจากภาคอุตสาหกรรมและบริการเติบโตเพิ่มขึ้น รวมทั้งภาคการเกษตรและการส่งออก
ยังขยายตัวได้ดี
4. อินเดียเป็นตลาดส่งออกอันดับที่ 16 ของไทย โดยมีสัดส่วนร้อยละ 1.40 ของมูลค่าการส่งออก
860.13 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 71.96 (ม.ค-ก.ค 2548) หรือคิดเป็นร้อยละ 52.31 ของเป้าหมาย
การส่งออก
5. การค้าระหว่างประเทศไทย-อินเดีย มูลค่า : ล้านเหรียญสหรัฐ
2545 2546 2547 2547 2548 อัตราการขยายตัว (ร้อยละ)
2545 2546 2547 2548
(ม.ค.-ก.ค.) (ม.ค.-ก.ค) (ม.ค.-ก.ค)
มูลค่าการค้า 1,184.82 1,508.478 2,049.16 1,202.81 1,647.72 2.66 27.32 35.84 36.99
สินค้าออก 413.71 638.58 913.58 500.19 860.13 -14.36 54.36 43.06 71.96
สินค้าเข้า 771.12 869.90 1,135.58 702.62 787.59 14.92 12.81 30.54 12.09
ดุลการค้า -357.41 -231.31 -222.00 -202.44 72.54 90.20 -35.28 -4.03 -
6. สินค้าไทยส่งออกไปอินเดีย (ม.ค.-ก.ค 2548) 25 อันดับแรกมีสัดส่วนรวมกันร้อยละ 85.49
ของมูลค่าการส่งออกโดยรวมไปตลาดนี้ สินค้าสำคัญที่มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นเกินกว่าร้อยละ 900 มี 1 รายการ
สินค้าสำคัญที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้นเกินกว่าร้อยละ 100 มี 7 รายการ และสินค้าที่มีมูลค่าลดลงเกินกว่าร้อยละ 20 มี
2 รายการ
สถิติการส่งออกสินค้าไทยไปอินเดียที่มีมูลค่าการเปลี่ยนแปลงสูง ม.ค.-ก.ค. 2548
ตลาด อันดับที่ มูลค่า : ล้านเหรียญสหรัฐ มูลค่าการ %เปลี่ยนแปลง สัดส่วน ร้อยละ2548
ม.ค.-ก.ค 47 ม.ค.-ก.ค 48 เปลี่ยนแปลง ม.ค.-ก.ค 2547 ม.ค.-ก.ค
1. สินค้าที่มีมูลค่าการส่งออกไปอินเดียเพิ่มขึ้น
สูงมากกว่าร้อยละ 900 มี 1 รายการ
(1) หลอดภาพโทรทัศน์สี 20 0.98 10.73 9.75 989.91 0.52 1.25
2. สินค้าที่มีมูลค่าการส่งออกไปอินเดีย
เพิ่มขึ้นสูงมากกว่าร้อยละ 100 มี 7 รายการ
(1) เม็ดพลาสติก 1 39.19 104.92 66.73 174.70 7.66 12.20
(2) เครื่องยนต์สันดาปภายในแบบลูกสูบและส่วนประกอบ 4 18.23 62.73 44.50 244.07 2.98 7.29
(3) เครื่องรับวิทยุและส่วนประกอบ 6 18.83 45.19 26.36 139.91 6.39 5.25
(4) เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ 7 16.71 43.87 27.16 162.61 3.62 5.10
(5) สายไฟฟ้า สายเคเบิล 13 5.75 15.97 10.22 177.56 1.99 1.86
(6) ผลิตภัณฑ์อลูมิเนียม 14 5.43 14.38 8.95 164.72 1.10 1.67
(7) เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ 15 6.70 14.07 7.37 109.87 1.41 1.64
3. สินค้าที่มีมูลค่าการส่งออกไปอินเดีย
ลดลงมากกว่าร้อยละ 20 มี 2 รายการ
(1) เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ 8 51.78 30.04 -21.74 -42.00 8.24 3.49
(2) เคมีภัณฑ์ 12 26.48 20.29 -6.19 -23.40 4.84 2.36
รวบรวมโดย : ศูนย์สารสนเทศการค้าระหว่างประเทศ
จากสถิติการส่งออกดังกล่าวมีข้อสังเกต ดังนี้
หลอดภาพโทรทัศน์สี (HS. 854011) COL CAT-RAY TV TUBE
ไทยเป็นผู้ส่งออกอันดับที่ 11 ของโลกผู้ส่งออกหลักคือ จีน สหรัฐฯ เกาหลีใต้
อินเดีย นำเข้าจากไทยเป็นอันดับที่ 5 มูลค่า 2.363 ล้านเหรียญสหรัฐ มีสัดส่วนร้อยละ 12.00
เพิ่มขึ้นร้อยละ 75,709.58 ด้านการนำเข้าจากตลาดโลกของอินเดีย มูลค่า 19.699 ล้านเหรียญสหรัฐ
ลดลงร้อยละ 39.58 นำเข้าจาก มาเลเซีย เกาหลีใต้ จีนเป็นหลัก (ม.ค.-มี.ค. 2548)
เม็ดพลาสติก (HS. 3901) ETHYLENE, PRIMARY FORM
ไทยเป็นผู้ส่งออกอันดับที่ 12 ของโลกผู้ส่งออกหลักคือ เบลเยี่ยม สหรัฐฯ แคนาดา
อินเดีย นำเข้าจากไทยเป็นอันดับที่ 9 มูลค่า 2.925 ล้านเหรียญสหรัฐ มีสัดส่วนร้อยละ 4.57
เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.50 ด้านการนำเข้าจากตลาดโลกของอินเดีย มูลค่า 64.027 ล้านเหรียญสหรัฐ
เพิ่มขึ้นร้อยละ 42.85 นำเข้าจาก ซาอุดิอาระเบีย สหรัฐสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เป็นหลัก
(ม.ค.-มี.ค. 2548)
เครื่องยนต์สันดาปภายในแบบลูกสูบและส่วนประกอบ (HS. 8408) COMPRESSION-IGNITION
ไทยเป็นผู้ส่งออกอันดับที่ 18 ของโลกผู้ส่งออกหลักคือ เยอรมนี ฝรั่งเศส สหรัฐ
อินเดีย นำเข้าจากไทยเป็นอันดับที่ 1 มูลค่า 17.497 ล้านเหรียญสหรัฐ มีสัดส่วนร้อยละ 40.71
เพิ่มขึ้นร้อยละ 498.10 ด้านการนำเข้าจากตลาดโลกของอินเดีย มูลค่า 42.980 ล้านเหรียญสหรัฐ
เพิ่มขึ้นร้อยละ 140.52 นำเข้าจาก ไทย เกาหลีใต้ สหรัฐฯ เป็นหลัก (ม.ค.-มี.ค. 2548)
เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์และส่วนประกอบ (HS. 8527) Radiobroadcst Recvers
ไทยเป็นผู้ส่งออกอันดับที่ 10 ของโลก ผู้ส่งออกหลักคือ จีน ฮ่องกง เม็กซิโก
อินเดีย นำเข้าจากไทยเป็นอันดับที่ 5 มูลค่า 0.841 ล้านเหรียญสหรัฐ มีสัดส่วนร้อยละ 5.06
เพิ่มขึ้นร้อยละ 255.63 ด้านการนำเข้าจากตลาดโลกของอินเดีย มูลค่า 16.611 ล้านเหรียญสหรัฐ
เพิ่มขึ้นร้อยละ 58.36 นำเข้าจาก จีน มาเลเซีย เกาหลีใต้ เป็นหลัก (ม.ค.-มี.ค. 2548)
เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ (HS. 84) MACHINERY
ไทยเป็นผู้ส่งออกอันดับที่ 21 ของโลก ผู้ส่งออกหลักคือ เยอรมนี สหรัฐฯ จีน
อินเดีย นำเข้าจากไทยเป็นอันดับที่ 13 มูลค่า 53.000 ล้านเหรียญสหรัฐ มีสัดส่วนร้อยละ 2.00
เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.09 ด้านการนำเข้าจากตลาดโลกของอินเดีย มูลค่า 2,653.559 ล้านเหรียญสหรัฐ
เพิ่มขึ้นร้อยละ 33.55 นำเข้าจาก เยอรมนี สหรัฐฯ จีน เป็นหลัก (ม.ค.-มี.ค. 2548)
สายไฟฟ้า สายเคเบิ้ล (HS. 8544) INSUL CABL, WIRE, ETC
ไทยเป็นผู้ส่งออกอันดับ 23 ของโลก ผู้ส่งออกหลักคือ เม็กซิโก สหรัฐฯ เยอรมนี
อินเดีย นำเข้าจากไทยเป็นอันดับที่ 2 มูลค่า 8.082 ล้านเหรียญสหรัฐ มีสัดส่วนร้อยละ 10.39
เพิ่มขึ้นร้อยละ 539.84 ด้านการนำเข้าจากตลาดโลกของอินเดีย มูลค่า 77.754 ล้านเหรียญสหรัฐ
เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.86 นำเข้าจาก จีน ไทย สหรัฐฯ เป็นหลัก (ม.ค.-มี.ค. 2548)
ผลิตภัณฑ์อลูมิเนียม (HS. 76) Aluminum
ไทยเป็นผู้ส่งออกอันดับที่ 33 ของโลก ผู้ส่งออกหลักคือ เยอรมนี แคนาดา สหรัฐ
อินเดีย นำเข้าจากไทยอันดับที่ 11 มูลค่า 3.996 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 236.45
ด้านการนำเข้าจากตลาดโลกของอินเดีย มูลค่า 121.320 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.40 นำเข้าจาก
สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ อิหร่าน จีน เป็นหลัก (ม.ค.-มี.ค. 2548)
เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ (HS. 8415) Air Conditioning
ไทยเป็นผู้ส่งออกอันดับที่ 33 ของโลก ผู้ส่งออกหลักคือ เยอรมนี แคนาดา สหรัฐ
อินเดีย นำเข้าจากไทยอันดับที่ 3 มูลค่า 7.549 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 94.89
ด้านการนำเข้าจากตลาดโลกของอินเดีย มูลค่า 47.770 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 51.98 นำเข้าจาก
จีน เกาหลีใต้ ไทย เป็นหลัก (ม.ค.-มี.ค. 2548)
7. ข้อมูลเพิ่มเติมและข้อคิดเห็นเรื่องการค้าระหว่างไทย-อินเดีย
ปัจจุบันทุกประเทศได้หันมาจับตามองอินเดียไม่แพ้จีน ภายหลังจากที่อินเดียต้องเผชิญภาวะเศรษฐกิจ
ตกต่ำอย่างรุนแรงและต้องกู้เงินจาก IMF (International Monetary Fund) และจากธนาคาร-โลก
ส่งผลให้อินเดียต้องดำเนินนโยบายการปฏิรูปทางเศรษฐกิจ (Economic Reform) ซึ่งจากเดิมที่ใช้ระบบ
เศรษฐกิจแบบสังคมนิยม กลายเป็นระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม อย่างไรก็ตามจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญของอินเดียอยู่ที่
การแปรรูปรัฐวิสาหกิจที่เรียกว่า "fast track privatisation" ส่งผลให้เกิดการลงทุนจากต่างชาติในกิจการ
ด้านไฟฟ้า พลังงาน และอุตสาหกรรมต่างๆ
ในปี 2000 อินเดียได้ก้าวสู่ยุคที่เรียกว่า "ยุคอินเตอร์เน็ต" ซึ่งมีจำนวนผู้ที่ใช้อินเตอร์เน็ตเพิ่มขึ้น
อย่างรวดเร็ว ซึ่งจะสอดรับกับการเติบโตของธุรกิจไอทีในอินเดีย โดยนอกจากอินเดียจะมีนิคมอุตสาห-กรรมไอที
ที่บังกาลอร์ ซึ่งเป็นคลัสเตอร์อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์อันดับ 2 ของโลกรองจากซิลิคอน วัลเล่ย์ ที่สหรัฐฯ แล้ว
อินเดียยังพยายามที่จะก้าวขึ้นมาเป็นผู้ส่งออก Content รายใหญ่ของโลก โดยมีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมอื่นๆ
ที่เกี่ยวข้อง อาทิ นิคมอุตสาหกรรมภาพยนตร์ ซึ่งอินเดียหวังว่าจะเป็นเหมือนฮอลลีวู้ดในสหรัฐฯ ทั้งนี้จะเห็นได้
ว่าอินเดียได้แสดงให้นานาประเทศเห็นว่า จำนวนประชากรที่มีอยู่เป็นจำนวนมากมิได้เป็นอุปสรรคในการพัฒนา
ประเทศ แต่กลับเป็นจุดเปลี่ยนในการสร้างโอกาสให้แก่อินเดียในตลาดโลก
อินเดียมุ่งรุกในการแข่งขันกับจีน โดยมุ่งเน้นด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ๆ เนื่องจากอินเดีย
มีประชากรที่มีทักษะสูงและมีความเชี่ยวชาญด้านภาษาอังกฤษ ซึ่งส่งผลให้อินเดียมีความได้เปรียบเป็นอย่างยิ่ง
นอกจากนี้ปริมาณคนงานที่มีอยู่มากพร้อมกับค่าแรงที่ต่ำกว่าในตะวันตกหลายเท่าตัว อินเดียจึงกลายศูนย์กลางการ
ดำเนินงานในกระบวนการต่างๆ แทนที่บริษัทของตะวันตก ซึ่งเรียกบริการดังกล่าวว่า "business process
outsourcing" โดยจะรับจ้างบริษัทต่างๆ ทั่วโลกเพื่อที่จะทำงานแทนให้ทั้งหมด เช่น รับจ้างดำเนินงานด้าน
ธุรกิจในออฟฟิศ งานด้านคอลเซ็นเตอร์ งานด้านบุคลากร เป็นต้น
ปัจจุบันเขตบังกาลอร์ของอินเดียเป็นศูนย์กลางธุรกิจ outsourcing ทางด้านเทคโนโลยีที่สำคัญ
มากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก โดยปี 2547 มีอัตราการขยายตัวถึงร้อยละ 40 โดยมีมูลค่าอุตสาหกรรมสูงถึง 5.8
พันล้านเหรียญสหรัฐ และคาดว่าจะมีการเติบโตในลักษณะก้าวกระโดดจนกระทั้งมูลค่าโดยรวมสูงถึง 64 พันล้าน
เหรียญสหรัฐ และคาดว่าจะสามารถเพิ่มการจ้างงานได้ถึง 3 ล้านคนในปี 2012
"benchmarking" คือกลยุทธ์สำคัญที่อินเดียใช้พัฒนาประเทศ ซึ่งหมายถึง การพยายามที่จะเพิ่ม
ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของกิจการ โดยนำผลการดำเนินงานด้านใดด้านหนึ่งของตนไปเปรียบเทียบ กับ
กิจการอื่น ซึ่งมักจะเป็นกิจการที่มีผลการดำเนินงานด้านนั้นดีที่สุด เพื่อพิจารณาระดับความสามารถ ของตนเอง
ว่าอยู่ระดับไหนและสมควรต้องมีการพัฒนาอย่างไร ทั้งนี้ไม่จำเป็นต้องเปรียบเทียบเฉพาะกับคู่แข่งขันในธุรกิจ
เดียวกัน แต่สามารถนำไปเปรียบเทียบกับผู้นำในอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่มีศักยภาพมากได้อีกด้วย
แม้อินเดียจะประสบความสำเร็จด้านไอที แต่เศรษฐกิจของอินเดียก็มิได้พึ่งพาแต่อุตสาหกรรมไฮเทค
เท่านั้น อินเดียยังคงมีทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ ได้แก่ "ถ่านหิน" (ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 4 ของโลก) แร่เหล็ก
แมงกานีส ไททาเนียม โครไมท์ ก๊าซธรรมชาติ เพชร ปิโตรเลียม และหินปูน ซึ่งนับเป็นพื้นฐานทางเศรษฐกิจ
ที่สำคัญ นอกจากนี้อินเดียยังมีผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญ ได้แก่ ข้าว (อันดับ 2 รองจากไทย) ข้าวสาลี
พืชน้ำมัน ฝ้าย ปอ ชา น้ำตาล มันฝรั่ง ปศุสัตว์ การจับปลา (อันดับ 10 ของโลก) รวมทั้งผลผลิตทาง
อุตสาหกรรมที่สำคัญอีกมากมาย อาทิ สิ่งทอ เคมีภัณฑ์ เหล็ก อุปกรณ์การ- ขนส่ง ซีเมนต์ เหมืองแร่ เป็นต้น
โดยธุรกิจเหล่านี้เป็นธุรกิจสำคัญในการขับเคลื่อนกลไกทางเศรษฐกิจของอินเดีย ตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมา
การค้าระหว่างไทย-อินเดีย ยังมีโอกาสการขยายตัวได้อีกมาก เนื่องจากศักยภาพทางเศรษฐกิจ
และภาวะความต้องการสินค้าอันเนื่องจากประชากรของอินเดียที่มีมากกว่า 1 พันล้านคน รวมถึงความได้เปรียบ
จากอัตราภาษีนำเข้าที่ลดลง อันเนื่องจากข้อตกลงการจัดทำเขตการค้าเสรีไทย-อินเดีย ซึ่งสินค้าไทยที่มีศักยภาพ
ส่งออกไปตลาดอินเดีย ได้แก่ ส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ ยางธรรมชาติ ลวดและเคเบิ้ล สายไฟฟ้า
และสายเคเบิ้ล โพลิอะซีทัล โพลิอีเทอร์อื่นๆ และยางสังเคราะห์ เป็นต้น ในขณะที่สินค้าส่งออกสำคัญของอินเดีย
ได้แก่ เพชร น้ำมันสำเร็จรูป สินแร่และหินแร่ เหล็ก อัญมณี เครื่องประดับและส่วนประกอบ ยารักษาโรค เป็นต้น
ที่มา: http://www.depthai.go.th

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ