ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ค่าเงินหยวนแข็งไม่กระทบเศรษฐกิจไทยมากนัก ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล ผู้ว่าการ ธปท.
กล่าวว่า การที่จีนเลือกแนวทางแบบค่อยเป็นค่อยไป ตามแนวทาง “ปรัชญาตะวันออก” ที่ไม่เน้นหวือหวา ทำให้การ
เปลี่ยนแปลงค่าเงินหยวนครั้งนี้มีผลกระทบต่อไทยน้อยมาก เพราะการเปลี่ยนแปลงในแต่ละวันแข็งและอ่อนเพียงร้อย
ละ 0.3 ถือว่าแคบ และในวันที่ 21 ก.ค.ที่ผ่านมา ค่าเงินบาทไทยในตลาดต่างประเทศแข็งค่าเพียงร้อยละ
1.27 เงินสิงคโปร์แข็งค่าร้อยละ 1.5 และเงินเย็นแข็งค่าร้อยละ 2 แต่ต้องติดตามในระยะยาวว่าจะเปลี่ยนแปลง
แค่ไหน ทั้งนี้ ผู้ว่าการ ธปท. เรียกระบบค่าเงินใหม่ของจีนนี้ว่า “Managed Float” ที่อิงกับตะกร้าเงิน หมาย
ความว่า ค่าเงินหยวนนับจากนี้ไปคำนวณจากหลาย ๆ สกุลในตะกร้า เพื่อประกาศอัตรากลางค่าเงินหยวน หลังจาก
นั้นจะมีการกำหนดช่วงการเคลื่อนไหว ห้ามแข็งหรืออ่อนเกินร้อยละ 0.3 หากระหว่างวันมีการเคลื่อนไหวเกินขึ้นลง
ช่วงดังกล่าว ธ.กลางจีนจะเข้าไปดูแล และหลังสิ้นวันปิดตลาดจะมาดูสกุลเงินในตะกร้าว่าเปลี่ยนแปลงไปเท่าไหร่
เพื่อกำหนดอัตรากลางของวันต่อไป (กรุงเทพธุรกิจ)
2. เงินทุนไหลเข้าไทย 510 ล้านดอลลาร์ สรอ. ในไตรมาสแรกปีนี้ สนง.คณะกรรมการ
พัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ เปิดเผยในรายงานภาวะเศรษฐกิจไทยฉบับล่าสุดว่า
ในช่วงไตรมาสแรกปี 48 การเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศสุทธิของไทยเกินดุลหรือมีเงินทุนไหลเข้า 510
ล้านดอลลาร์ สรอ. เนื่องจากบัญชีเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศของทั้งภาคธนาคารและไม่ใช่ธนาคารที่เกินดุล
สุทธิ 564 ล้านดอลลาร์ สรอ. (ธุรกิจที่ไม่ใช่ธนาคารเกินดุลจากการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศสุทธิ 267 ล้าน
ดอลลาร์ สรอ. ในไตรมาสแรก) โดยเป็นเงินที่ไหลเข้าจากเยอรมนีที่เพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ เงินทุนไหลเข้ายัง
มาจากบัญชีลงทุนอื่น ๆ ที่เกินดุลสุทธิ 375 ล้านดอลลาร์ สรอ. จากการที่ ธปท. ได้ซื้อเงินตราต่างประเทศสุทธิ
1,938 ล้านดอลลาร์ สรอ. หรือกว่า 7.7 หมื่นล้านบาท เพื่อแทรกแซงค่าเงินบาท โดยเฉพาะในช่วงเดือน ม.
ค. — ก.พ. ที่ค่าเงินบาทมีแนวโน้มแข็งค่ามากขึ้นตามเงินทุนระยะสั้นที่เข้ามาลงทุนในหุ้นและพันธบัตรมากขึ้น และ
จากการที่ได้รับสินเชื่อการค้าเพิ่มขึ้น 1 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสินเชื่อการค้าของบริษัทน้ำมัน
อย่างไรก็ตาม เงินทุนในตลาดหลักทรัพย์ไหลออกสุทธิ 429 ล้านดอลลาร์ สรอ. จากการที่มีเงินทุนไหลออกสุทธิใน
ตลาดตราสารทุนในเดือน มี.ค.48 มากขึ้นสาเหตุจากค่าเงินดอลลาร์ สรอ. ปรับตัวดีขึ้นและการปรับขึ้นดอกเบี้ย
ของเฟด ส่วนการส่งออกของไทยลดลงทำให้มีการคาดการณ์ว่าไทยจะขาดดุลบัญชีเดินสะพัดแม้จะมีเงินไหลเข้าสุทธิ
ในตลาดตราสารทุน 232 ล้านดอลลาร์ สรอ. (โพสต์ทูเดย์)
3. เศรษฐกิจภาคเหนือเดือน พ.ค.48 ชะลอตัวลงจากเดือนก่อน รายงานข่าวจาก ธปท. สาขา
ภาคเหนือ แจ้งว่าเศรษฐกิจภาคเหนือเดือน พ.ค.48 ชะลอตัวลงจากเดือนก่อน โดยการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน
การลงทุนภาคเอกชน และการส่งออกขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลผลิตพืชผลหลักลดลง
จากระยะเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 13.9 เป็นผลจากภาวะความแห้งแล้ง ทำให้รายได้เกษตรกรลดลงเป็นเดือน
แรกในปีนี้ ส่วนผลผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง โดยมูลค่าการผลิตและส่งออกสินค้า
อิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้าผ่านด่านศุลกากรนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีก่อนร้อย
ละ 10 แต่ลดลงจากเดือนก่อน ส่วนภาคบริการชะลอลงและมีแนวโน้มที่ลดลง จากปัญหาความไม่สงบในจังหวัดภาค
ใต้ และราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลให้อัตราการเข้าพักโรงแรมเฉลี่ยลดลงเหลือเพียงร้อยละ 40.9 เทียบกับ
ร้อยละ 45.2 ในปีก่อน ในขณะที่ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปเดือน พ.ค.48 เร่งตัวจากเดือนก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ
3.7 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า (บ้านเมือง)
4. โครงการเมกะโปรเจกท์จะส่งผลดีต่อการจัดเก็บรายได้ของกรมสรรพากร นายศิโรฒม์ สวัสดิ์
พาณิชย์ อธิบดีกรมสรรพากร เปิดเผยถึงแนวโน้มในการจัดเก็บภาษีในปี 49 ที่ตั้งเป้าไว้ที่ 1.009 ล้านล้านบาท
ว่า กรมจัดการเก็บภาษีน่าจะหารายได้ตามที่ตั้งเป้าไว้อย่างแน่นอน และการลงทุนในโครงการเมกะโปรเจกท์ของ
รัฐบาลจะส่งผลดีต่อการจัดเก็บรายได้ เพราะโครงการดังกล่าวก่อให้เกิดการลงทุนและการจ้างงาน ซึ่งจะก่อให้
เกิดฐานภาษีเพิ่มขึ้น เช่น ภาษีเงินได้บุคคลธรรมได้ ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่ม รวมถึงการรีไฟแนนซ์ การ
แปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ ซึ่งจะต้องมีการเสียภาษีเช่นกัน ทั้งนี้ แนวทางในการดูแลฐานภาษีที่มีอยู่เดิมรวมทั้งฐาน
ภาษีใหม่กรมสรรพากรได้ร่วมมือกับหลายหน่วยงานในการเชื่อมโยงระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อตรวจสอบข้อมูล
ของฐานภาษีเดิมและฐานภาษีใหม่ รวมถึงที่อยู่นอกระบบ ซึ่งถือว่าเป็นเครื่องมือที่ทำให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมี
ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ส่วนในปี 48 จะสามารถจัดเก็บรายได้เกินเป้าหมายที่ตั้งไว้ 820,000 ล้านบาท เพราะ
ผลการจัดเก็บรายได้ 9 เดือนแรกของปี งปม. 48 (1 ต.ค.47 — 30 มิ.ย.48) มีจำนวนกว่า 70,000 ล้าน
บาท เมื่อรวมกับรายได้ของกรมสรรพสามิต กรมศุลกากร และรายได้อื่น ๆ แล้วจะมีรายได้เพียงพอต่อการจัดทำ
งปม. กลางปีและ งปม. แบบสมดุลในปี 49 อย่างแน่นอน (แนวหน้า, ผู้จัดการรายวัน)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. คาดว่ายอดขายบ้านมือสองของสรอ. ในเดือนมิ.ย. จะเพิ่มขึ้น รายงานจากนิวยอร์ก เมื่อวันที่
22 ก.ค. 48 ผลการสำรวจนักเศรษฐศาสตร์โดยรอยเตอร์ คาดว่าในเดือนมิ.ย. ยอดขายบ้านมือสองของสรอ.จะ
อยู่ที่เฉลี่ย 7.15 ล้านหลังจากช่วงเดียวกันปีที่แล้วเพิ่มขึ้นจาก 7.13 ล้านหลังในเดือนพ.ค. โดยมีค่าเฉลี่ยที่คาดไว้
ว่าจะอยู่ระหว่าง 6.77 — 7.20 ล้านหลัง ทั้งนี้เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนองที่อยู่ในระดับต่ำ นอกจากนั้นนัก
วิเคราะห์ยังคาดว่ายอดขายบ้านมือสองจะเพิ่มขึ้นเล็กน้อยหากอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนองยังคงต่ำกว่าร้อยละ 6.0
และบางส่วนเนื่องจากการฟื้นตัวของตลาดแรงงานทำให้มีคนที่จะซื้อบ้านมากขึ้น ทั้งนี้ยอดขายบ้านมือสองในเดือนพ.
ค. ลดลงจากสถิติสูงสุด 7.18 ล้านหลังในเดือนเม.ย. อนึ่งสมาคมอสังหาริมทรัพย์แห่งชาติของสรอ. มีกำหนดที่จะ
เปิดเผยตัวเลขยอดขายบ้านอย่างเป็นทางการในวันนี้เวลา 10.00 น. ตามเวลาท้องถิ่น (รอยเตอร์)
2. ดัชนีความเชื่อมั่นภาวะธุรกิจของเยอรมนีในเดือน ก.ค.48 เพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 อยู่ที่
ระดับ 94.0 รายงานจากเบอร์ลิน เมื่อ 22 ก.ค.48 The Ifo institute เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นภาวะ
ธุรกิจของเยอรมนี ซึ่งได้จากการสำรวจธุรกิจ 7,000 แห่ง ในเดือน ก.ค.48 เพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 อยู่ที่
ระดับ 94.0 จากระดับ 93.3 ในเดือนก่อน สอดคล้องกับที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ว่าจะไม่ปรับตัวลด
ลง เนื่องจากการส่งออกเพิ่มขึ้นจากภาวะการอ่อนค่าของเงินยูโร (โดยเงินยูโรลดลงมากกว่าร้อยละ 10 ตั้งแต่ที่
เคยอยู่ในระดับสูงสุดเมื่อสิ้นเดือน ธ.ค.47 ที่ 1.3670 ดอลลาร์ สรอ.ต่อยูโร) อีกทั้งความต้องการสินค้าจากก็มี
มากขึ้น (รอยเตอร์)
3. เศรษฐกิจของอังกฤษในไตรมาสที่ 2 ปีนี้ขยายตัวร้อยละ 1.7 ต่อปีต่ำสุดในรอบ 12 ปี รายงาน
จากลอนดอน เมื่อ 22 ก.ค.48 สนง.สถิติแห่งชาติของอังกฤษรายงานเศรษฐกิจของอังกฤษในไตรมาสที่ 2 ปีนี้
ขยายตัวร้อยละ 0.4 ต่อไตรมาสเท่ากับไตรมาสแรกแต่ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดไว้ว่าจะขยายตัวร้อยละ 0.5 ต่อ
ไตรมาส โดยหากเทียบต่อปีแล้วเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 2 ปีนี้ขยายตัวร้อยละ 1.7 เมื่อเทียบกับปีก่อน ต่ำสุดใน
รอบ 12 ปีนับตั้งแต่ไตรมาสแรกปี 36 ทั้งนี้เป็นผลจากการหดตัวของภาคอุตสาหกรรมซึ่งมีผลผลิตลดลง 2 ไตรมาส
ติดต่อกันโดยลดลงร้อยละ 0.9 และ 0.7 ในไตรมาสที่ 1 และ 2 ปีนี้ตามลำดับ ในขณะที่การขยายตัวทาง
เศรษฐกิจในไตรมาสที่ 2 ปีนี้เป็นผลจากการขยายตัวร้อยละ 0.6 ของภาคบริการซึ่งมีสัดส่วนเกือบ 3 ใน 4 ของ
ระบบเศรษฐกิจ โดยเป็นการขยายตัวของธุรกิจโรงแรม การจำหน่ายสินค้าและธุรกิจร้านอาหารร้อยละ 0.5 ต่อ
ไตรมาสหรือเท่ากับร้อยละ 0.9 ต่อปี ต่ำสุดในรอบ 10 ปี จากการที่เศรษฐกิจในไตรมาสที่ 2 ปีนี้ชะลอตัวลงทำให้
นักวิเคราะห์เชื่อว่า ธ.กลางอังกฤษจะลดอัตราดอกเบี้ยในการประชุมในเดือนหน้าเพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายในประเทศ
ซึ่งได้รับกระทบจากการก่อวินาศกรรมในลอนดอนเมื่อเร็ว ๆ นี้ (รอยเตอร์)
4. ราคาบ้านในอังกฤษและเวลล์ในเดือน ก.ค.48 ลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 13 ที่ร้อยละ 0.2
รายงานจากลอนดอน เมื่อ 25 ก.ค.48 บริษัทวิจัยอสังหาริมทรัพย์ Hometrack เปิดเผยว่า ราคาบ้านในอังกฤษ
และเวลล์ ซึ่งเป็นเครื่องชี้วัดระดับราคาบ้านโดยเฉลี่ยลดลงร้อยละ 0.2 ในเดือน ก.ค.48 จากเดือนก่อนหน้า ซึ่ง
เป็นการลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 13 นับตั้งแต่เดือน มิ.ย.47 และหากเทียบต่อปีลดลงร้อยละ 3.74 ซึ่งเป็นการ
ลดลงมากที่สุดตั้งแต่ Hometrack จัดทำข้อมูลมา (มี.ค.44) สำหรับราคาบ้านเฉลี่ยต่อหลังอยู่ที่ราคา 161,300
ปอนด์ ซึ่งเป็นราคาต่ำสุดตั้งแต่เดือน พ.ย.46 เป็นต้นมา อย่างไรก็ตาม การคาดการณ์ว่า ธ.กลางอังกฤษอาจร
ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงจากร้อยละ 4.75 เป็นร้อยละ 4.50 ในเดือน ส.ค. จะสนับสนุนให้ความเชื่อมั่น
ของผู้บริโภคฟื้นตัวดีขึ้น ขณะที่ Hometrack เห็นว่า จำนวนบ้านที่มีผู้จับจองในเดือน ก.ค.48 เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ที่ร้อยละ 3.0 แม้ว่าจะชะลอตัวลงจากเดือน มิ.ย.48 ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.5 นอกจากนี้ Hometrack ยังได้ปรับลด
ประมาณการ house price inflation ปี 48 ลงร้อยละ 5.0 เทียบกับที่ประมาณการว่าจะไม่เปลี่ยนแปลงใน
เดือน มิ.ย. และเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.0 ในเดือน พ.ค.48 (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 25 ก.ค. 48 21 ก.ค. 48 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 41.925 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 41.7304/42.0134 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 2.78125 — 2.8000 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 648.92/ 8.14 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 8,300/8,400 8,350/8,450 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 52.31 50.14 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 25.74*/22.99** 25.74*/22.99** 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับเพิ่ม 40 สตางค์ เมื่อ 12 ก.ค. 48
**ปรับเพิ่ม 90 สตางค์เมื่อ13 ก.ค. 48
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ค่าเงินหยวนแข็งไม่กระทบเศรษฐกิจไทยมากนัก ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล ผู้ว่าการ ธปท.
กล่าวว่า การที่จีนเลือกแนวทางแบบค่อยเป็นค่อยไป ตามแนวทาง “ปรัชญาตะวันออก” ที่ไม่เน้นหวือหวา ทำให้การ
เปลี่ยนแปลงค่าเงินหยวนครั้งนี้มีผลกระทบต่อไทยน้อยมาก เพราะการเปลี่ยนแปลงในแต่ละวันแข็งและอ่อนเพียงร้อย
ละ 0.3 ถือว่าแคบ และในวันที่ 21 ก.ค.ที่ผ่านมา ค่าเงินบาทไทยในตลาดต่างประเทศแข็งค่าเพียงร้อยละ
1.27 เงินสิงคโปร์แข็งค่าร้อยละ 1.5 และเงินเย็นแข็งค่าร้อยละ 2 แต่ต้องติดตามในระยะยาวว่าจะเปลี่ยนแปลง
แค่ไหน ทั้งนี้ ผู้ว่าการ ธปท. เรียกระบบค่าเงินใหม่ของจีนนี้ว่า “Managed Float” ที่อิงกับตะกร้าเงิน หมาย
ความว่า ค่าเงินหยวนนับจากนี้ไปคำนวณจากหลาย ๆ สกุลในตะกร้า เพื่อประกาศอัตรากลางค่าเงินหยวน หลังจาก
นั้นจะมีการกำหนดช่วงการเคลื่อนไหว ห้ามแข็งหรืออ่อนเกินร้อยละ 0.3 หากระหว่างวันมีการเคลื่อนไหวเกินขึ้นลง
ช่วงดังกล่าว ธ.กลางจีนจะเข้าไปดูแล และหลังสิ้นวันปิดตลาดจะมาดูสกุลเงินในตะกร้าว่าเปลี่ยนแปลงไปเท่าไหร่
เพื่อกำหนดอัตรากลางของวันต่อไป (กรุงเทพธุรกิจ)
2. เงินทุนไหลเข้าไทย 510 ล้านดอลลาร์ สรอ. ในไตรมาสแรกปีนี้ สนง.คณะกรรมการ
พัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ เปิดเผยในรายงานภาวะเศรษฐกิจไทยฉบับล่าสุดว่า
ในช่วงไตรมาสแรกปี 48 การเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศสุทธิของไทยเกินดุลหรือมีเงินทุนไหลเข้า 510
ล้านดอลลาร์ สรอ. เนื่องจากบัญชีเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศของทั้งภาคธนาคารและไม่ใช่ธนาคารที่เกินดุล
สุทธิ 564 ล้านดอลลาร์ สรอ. (ธุรกิจที่ไม่ใช่ธนาคารเกินดุลจากการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศสุทธิ 267 ล้าน
ดอลลาร์ สรอ. ในไตรมาสแรก) โดยเป็นเงินที่ไหลเข้าจากเยอรมนีที่เพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ เงินทุนไหลเข้ายัง
มาจากบัญชีลงทุนอื่น ๆ ที่เกินดุลสุทธิ 375 ล้านดอลลาร์ สรอ. จากการที่ ธปท. ได้ซื้อเงินตราต่างประเทศสุทธิ
1,938 ล้านดอลลาร์ สรอ. หรือกว่า 7.7 หมื่นล้านบาท เพื่อแทรกแซงค่าเงินบาท โดยเฉพาะในช่วงเดือน ม.
ค. — ก.พ. ที่ค่าเงินบาทมีแนวโน้มแข็งค่ามากขึ้นตามเงินทุนระยะสั้นที่เข้ามาลงทุนในหุ้นและพันธบัตรมากขึ้น และ
จากการที่ได้รับสินเชื่อการค้าเพิ่มขึ้น 1 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสินเชื่อการค้าของบริษัทน้ำมัน
อย่างไรก็ตาม เงินทุนในตลาดหลักทรัพย์ไหลออกสุทธิ 429 ล้านดอลลาร์ สรอ. จากการที่มีเงินทุนไหลออกสุทธิใน
ตลาดตราสารทุนในเดือน มี.ค.48 มากขึ้นสาเหตุจากค่าเงินดอลลาร์ สรอ. ปรับตัวดีขึ้นและการปรับขึ้นดอกเบี้ย
ของเฟด ส่วนการส่งออกของไทยลดลงทำให้มีการคาดการณ์ว่าไทยจะขาดดุลบัญชีเดินสะพัดแม้จะมีเงินไหลเข้าสุทธิ
ในตลาดตราสารทุน 232 ล้านดอลลาร์ สรอ. (โพสต์ทูเดย์)
3. เศรษฐกิจภาคเหนือเดือน พ.ค.48 ชะลอตัวลงจากเดือนก่อน รายงานข่าวจาก ธปท. สาขา
ภาคเหนือ แจ้งว่าเศรษฐกิจภาคเหนือเดือน พ.ค.48 ชะลอตัวลงจากเดือนก่อน โดยการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน
การลงทุนภาคเอกชน และการส่งออกขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลผลิตพืชผลหลักลดลง
จากระยะเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 13.9 เป็นผลจากภาวะความแห้งแล้ง ทำให้รายได้เกษตรกรลดลงเป็นเดือน
แรกในปีนี้ ส่วนผลผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง โดยมูลค่าการผลิตและส่งออกสินค้า
อิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้าผ่านด่านศุลกากรนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีก่อนร้อย
ละ 10 แต่ลดลงจากเดือนก่อน ส่วนภาคบริการชะลอลงและมีแนวโน้มที่ลดลง จากปัญหาความไม่สงบในจังหวัดภาค
ใต้ และราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลให้อัตราการเข้าพักโรงแรมเฉลี่ยลดลงเหลือเพียงร้อยละ 40.9 เทียบกับ
ร้อยละ 45.2 ในปีก่อน ในขณะที่ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปเดือน พ.ค.48 เร่งตัวจากเดือนก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ
3.7 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า (บ้านเมือง)
4. โครงการเมกะโปรเจกท์จะส่งผลดีต่อการจัดเก็บรายได้ของกรมสรรพากร นายศิโรฒม์ สวัสดิ์
พาณิชย์ อธิบดีกรมสรรพากร เปิดเผยถึงแนวโน้มในการจัดเก็บภาษีในปี 49 ที่ตั้งเป้าไว้ที่ 1.009 ล้านล้านบาท
ว่า กรมจัดการเก็บภาษีน่าจะหารายได้ตามที่ตั้งเป้าไว้อย่างแน่นอน และการลงทุนในโครงการเมกะโปรเจกท์ของ
รัฐบาลจะส่งผลดีต่อการจัดเก็บรายได้ เพราะโครงการดังกล่าวก่อให้เกิดการลงทุนและการจ้างงาน ซึ่งจะก่อให้
เกิดฐานภาษีเพิ่มขึ้น เช่น ภาษีเงินได้บุคคลธรรมได้ ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่ม รวมถึงการรีไฟแนนซ์ การ
แปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ ซึ่งจะต้องมีการเสียภาษีเช่นกัน ทั้งนี้ แนวทางในการดูแลฐานภาษีที่มีอยู่เดิมรวมทั้งฐาน
ภาษีใหม่กรมสรรพากรได้ร่วมมือกับหลายหน่วยงานในการเชื่อมโยงระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อตรวจสอบข้อมูล
ของฐานภาษีเดิมและฐานภาษีใหม่ รวมถึงที่อยู่นอกระบบ ซึ่งถือว่าเป็นเครื่องมือที่ทำให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมี
ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ส่วนในปี 48 จะสามารถจัดเก็บรายได้เกินเป้าหมายที่ตั้งไว้ 820,000 ล้านบาท เพราะ
ผลการจัดเก็บรายได้ 9 เดือนแรกของปี งปม. 48 (1 ต.ค.47 — 30 มิ.ย.48) มีจำนวนกว่า 70,000 ล้าน
บาท เมื่อรวมกับรายได้ของกรมสรรพสามิต กรมศุลกากร และรายได้อื่น ๆ แล้วจะมีรายได้เพียงพอต่อการจัดทำ
งปม. กลางปีและ งปม. แบบสมดุลในปี 49 อย่างแน่นอน (แนวหน้า, ผู้จัดการรายวัน)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. คาดว่ายอดขายบ้านมือสองของสรอ. ในเดือนมิ.ย. จะเพิ่มขึ้น รายงานจากนิวยอร์ก เมื่อวันที่
22 ก.ค. 48 ผลการสำรวจนักเศรษฐศาสตร์โดยรอยเตอร์ คาดว่าในเดือนมิ.ย. ยอดขายบ้านมือสองของสรอ.จะ
อยู่ที่เฉลี่ย 7.15 ล้านหลังจากช่วงเดียวกันปีที่แล้วเพิ่มขึ้นจาก 7.13 ล้านหลังในเดือนพ.ค. โดยมีค่าเฉลี่ยที่คาดไว้
ว่าจะอยู่ระหว่าง 6.77 — 7.20 ล้านหลัง ทั้งนี้เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนองที่อยู่ในระดับต่ำ นอกจากนั้นนัก
วิเคราะห์ยังคาดว่ายอดขายบ้านมือสองจะเพิ่มขึ้นเล็กน้อยหากอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนองยังคงต่ำกว่าร้อยละ 6.0
และบางส่วนเนื่องจากการฟื้นตัวของตลาดแรงงานทำให้มีคนที่จะซื้อบ้านมากขึ้น ทั้งนี้ยอดขายบ้านมือสองในเดือนพ.
ค. ลดลงจากสถิติสูงสุด 7.18 ล้านหลังในเดือนเม.ย. อนึ่งสมาคมอสังหาริมทรัพย์แห่งชาติของสรอ. มีกำหนดที่จะ
เปิดเผยตัวเลขยอดขายบ้านอย่างเป็นทางการในวันนี้เวลา 10.00 น. ตามเวลาท้องถิ่น (รอยเตอร์)
2. ดัชนีความเชื่อมั่นภาวะธุรกิจของเยอรมนีในเดือน ก.ค.48 เพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 อยู่ที่
ระดับ 94.0 รายงานจากเบอร์ลิน เมื่อ 22 ก.ค.48 The Ifo institute เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นภาวะ
ธุรกิจของเยอรมนี ซึ่งได้จากการสำรวจธุรกิจ 7,000 แห่ง ในเดือน ก.ค.48 เพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 อยู่ที่
ระดับ 94.0 จากระดับ 93.3 ในเดือนก่อน สอดคล้องกับที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ว่าจะไม่ปรับตัวลด
ลง เนื่องจากการส่งออกเพิ่มขึ้นจากภาวะการอ่อนค่าของเงินยูโร (โดยเงินยูโรลดลงมากกว่าร้อยละ 10 ตั้งแต่ที่
เคยอยู่ในระดับสูงสุดเมื่อสิ้นเดือน ธ.ค.47 ที่ 1.3670 ดอลลาร์ สรอ.ต่อยูโร) อีกทั้งความต้องการสินค้าจากก็มี
มากขึ้น (รอยเตอร์)
3. เศรษฐกิจของอังกฤษในไตรมาสที่ 2 ปีนี้ขยายตัวร้อยละ 1.7 ต่อปีต่ำสุดในรอบ 12 ปี รายงาน
จากลอนดอน เมื่อ 22 ก.ค.48 สนง.สถิติแห่งชาติของอังกฤษรายงานเศรษฐกิจของอังกฤษในไตรมาสที่ 2 ปีนี้
ขยายตัวร้อยละ 0.4 ต่อไตรมาสเท่ากับไตรมาสแรกแต่ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดไว้ว่าจะขยายตัวร้อยละ 0.5 ต่อ
ไตรมาส โดยหากเทียบต่อปีแล้วเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 2 ปีนี้ขยายตัวร้อยละ 1.7 เมื่อเทียบกับปีก่อน ต่ำสุดใน
รอบ 12 ปีนับตั้งแต่ไตรมาสแรกปี 36 ทั้งนี้เป็นผลจากการหดตัวของภาคอุตสาหกรรมซึ่งมีผลผลิตลดลง 2 ไตรมาส
ติดต่อกันโดยลดลงร้อยละ 0.9 และ 0.7 ในไตรมาสที่ 1 และ 2 ปีนี้ตามลำดับ ในขณะที่การขยายตัวทาง
เศรษฐกิจในไตรมาสที่ 2 ปีนี้เป็นผลจากการขยายตัวร้อยละ 0.6 ของภาคบริการซึ่งมีสัดส่วนเกือบ 3 ใน 4 ของ
ระบบเศรษฐกิจ โดยเป็นการขยายตัวของธุรกิจโรงแรม การจำหน่ายสินค้าและธุรกิจร้านอาหารร้อยละ 0.5 ต่อ
ไตรมาสหรือเท่ากับร้อยละ 0.9 ต่อปี ต่ำสุดในรอบ 10 ปี จากการที่เศรษฐกิจในไตรมาสที่ 2 ปีนี้ชะลอตัวลงทำให้
นักวิเคราะห์เชื่อว่า ธ.กลางอังกฤษจะลดอัตราดอกเบี้ยในการประชุมในเดือนหน้าเพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายในประเทศ
ซึ่งได้รับกระทบจากการก่อวินาศกรรมในลอนดอนเมื่อเร็ว ๆ นี้ (รอยเตอร์)
4. ราคาบ้านในอังกฤษและเวลล์ในเดือน ก.ค.48 ลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 13 ที่ร้อยละ 0.2
รายงานจากลอนดอน เมื่อ 25 ก.ค.48 บริษัทวิจัยอสังหาริมทรัพย์ Hometrack เปิดเผยว่า ราคาบ้านในอังกฤษ
และเวลล์ ซึ่งเป็นเครื่องชี้วัดระดับราคาบ้านโดยเฉลี่ยลดลงร้อยละ 0.2 ในเดือน ก.ค.48 จากเดือนก่อนหน้า ซึ่ง
เป็นการลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 13 นับตั้งแต่เดือน มิ.ย.47 และหากเทียบต่อปีลดลงร้อยละ 3.74 ซึ่งเป็นการ
ลดลงมากที่สุดตั้งแต่ Hometrack จัดทำข้อมูลมา (มี.ค.44) สำหรับราคาบ้านเฉลี่ยต่อหลังอยู่ที่ราคา 161,300
ปอนด์ ซึ่งเป็นราคาต่ำสุดตั้งแต่เดือน พ.ย.46 เป็นต้นมา อย่างไรก็ตาม การคาดการณ์ว่า ธ.กลางอังกฤษอาจร
ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงจากร้อยละ 4.75 เป็นร้อยละ 4.50 ในเดือน ส.ค. จะสนับสนุนให้ความเชื่อมั่น
ของผู้บริโภคฟื้นตัวดีขึ้น ขณะที่ Hometrack เห็นว่า จำนวนบ้านที่มีผู้จับจองในเดือน ก.ค.48 เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ที่ร้อยละ 3.0 แม้ว่าจะชะลอตัวลงจากเดือน มิ.ย.48 ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.5 นอกจากนี้ Hometrack ยังได้ปรับลด
ประมาณการ house price inflation ปี 48 ลงร้อยละ 5.0 เทียบกับที่ประมาณการว่าจะไม่เปลี่ยนแปลงใน
เดือน มิ.ย. และเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.0 ในเดือน พ.ค.48 (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 25 ก.ค. 48 21 ก.ค. 48 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 41.925 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 41.7304/42.0134 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 2.78125 — 2.8000 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 648.92/ 8.14 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 8,300/8,400 8,350/8,450 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 52.31 50.14 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 25.74*/22.99** 25.74*/22.99** 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับเพิ่ม 40 สตางค์ เมื่อ 12 ก.ค. 48
**ปรับเพิ่ม 90 สตางค์เมื่อ13 ก.ค. 48
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--