นายราเชนทร์ พจนสุนทร อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า หลังจากไทยเปิดเสรีการค้ากับจีนตั้งแต่เดือนตุลาคม 2546 เป็นต้นมา แม้ว่าการส่งออกผลไม้ของไทยไปจีนจะขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยปี 2547 มีมูลค่าและปริมาณส่งออกเพิ่มขึ้น ร้อยละ 4 และ 138 ตามลำดับ แต่ที่ผ่านมาจีนได้มีมาตรการเข้มงวดในการตรวจสอบสารพิษตกค้างและศัตรูพืชในผลไม้มากขึ้น ซึ่งกระทรวงพาณิชย์ได้ประสานกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในการแก้ไขปัญหาอุปสรรคดังกล่าวกับจีนมาโดยตลอด และตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2548 เป็นต้นไป การส่งออกผลไม้ 5 ชนิด ได้แก่ ลำไย ลิ้นจี่ มังคุด มะม่วง และทุเรียนไปจีน จะต้องเป็นสวนที่จดทะเบียนกับกรมวิชาการเกษตรเท่านั้น สำหรับมะม่วงจะต้องผ่านการรับรองว่าปลอดแมลงวันผลไม้ ส่วนการนำเข้าผลไม้จากจีน 5 ชนิด ได้แก่ แอปเปิล แพร์ พืชตระกูลส้ม พุทรา และองุ่น จะต้องเป็นสวนที่จดทะเบียนกับกระทรวงควบคุมคุณภาพและกักกันโรคเช่นกัน กรณีการส่งออกผลไม้อื่น ๆ ที่มีการค้าอยู่แล้วให้ปฏิบัติเช่นเดิมไปก่อน
จากการแก้ไขปัญหาการตรวจสอบของจีนดังกล่าวจะช่วยอำนวยความสะดวกต่อการส่งออกผลไม้ของไทยไปจีนมากขึ้น และการส่งออกผลไม้ไปจีนจะต้องติดฉลากบนหีบห่อโดยมีข้อความดังนี้ ชื่อของบริษัท ชนิดผลไม้ หมายเลขทะเบียนสวน หมายเลขทะเบียนโรงบรรจุหีบห่อ วันบรรจุ และส่งออกไปสาธารณรัฐประชาชนจีน
นอกจากนี้ จีนยังได้ออกประกาศระเบียบการตรวจสอบกักกันสำหรับการนำเข้า ผลไม้สดฉบับใหม่เพิ่มเติม โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 5 กรกฎาคม 2548 เป็นต้นไป โดยมี ข้อกำหนดที่ต้องปฏิบัติเพิ่มเติม คือต้องระบุหมายเลข container ที่บรรจุผลไม้ลงในใบรับรองปลอดศัตรูพืช (Phytosanitary Certificate : PC) ตลอดจนห้ามบรรจุผลไม้ที่ไม่ได้แจ้งไว้หรือระบุไว้ในใบรับรองปลอดศัตรูพืช
ทั้งนี้ หากผู้ส่งออกผลไม้ไปจีนไม่ปฎิบัติตามประกาศดังกล่าว จะทำให้ผลไม้ที่ส่งออกไปจีนติดอยู่ที่ด่านศุลกากรของจีน และต้องดำเนินการให้ถูกต้องก่อน ซึ่งอาจมีผลให้ผลไม้เสียหาย และใช้ระยะเวลานานในการออกของที่ด่านจีน ในขณะนี้จีนได้อนุญาตให้นำเข้าผลไม้จากไทย 23 ชนิด ได้แก่ ทุเรียน ลำไย มังคุด สับปะรด ละมุด กล้วย เสาวรส ลิ้นจี่ มะพร้าว น้อยหน่า มะขาม มะละกอ มะเฟือง มะม่วง ฝรั่ง เงาะ ชมพู่ ขนุน สละ ลองกอง ส้มเขียวหวาน ส้ม ส้มโอ
--กรมการค้าระหว่างประเทศ--
-สส-
จากการแก้ไขปัญหาการตรวจสอบของจีนดังกล่าวจะช่วยอำนวยความสะดวกต่อการส่งออกผลไม้ของไทยไปจีนมากขึ้น และการส่งออกผลไม้ไปจีนจะต้องติดฉลากบนหีบห่อโดยมีข้อความดังนี้ ชื่อของบริษัท ชนิดผลไม้ หมายเลขทะเบียนสวน หมายเลขทะเบียนโรงบรรจุหีบห่อ วันบรรจุ และส่งออกไปสาธารณรัฐประชาชนจีน
นอกจากนี้ จีนยังได้ออกประกาศระเบียบการตรวจสอบกักกันสำหรับการนำเข้า ผลไม้สดฉบับใหม่เพิ่มเติม โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 5 กรกฎาคม 2548 เป็นต้นไป โดยมี ข้อกำหนดที่ต้องปฏิบัติเพิ่มเติม คือต้องระบุหมายเลข container ที่บรรจุผลไม้ลงในใบรับรองปลอดศัตรูพืช (Phytosanitary Certificate : PC) ตลอดจนห้ามบรรจุผลไม้ที่ไม่ได้แจ้งไว้หรือระบุไว้ในใบรับรองปลอดศัตรูพืช
ทั้งนี้ หากผู้ส่งออกผลไม้ไปจีนไม่ปฎิบัติตามประกาศดังกล่าว จะทำให้ผลไม้ที่ส่งออกไปจีนติดอยู่ที่ด่านศุลกากรของจีน และต้องดำเนินการให้ถูกต้องก่อน ซึ่งอาจมีผลให้ผลไม้เสียหาย และใช้ระยะเวลานานในการออกของที่ด่านจีน ในขณะนี้จีนได้อนุญาตให้นำเข้าผลไม้จากไทย 23 ชนิด ได้แก่ ทุเรียน ลำไย มังคุด สับปะรด ละมุด กล้วย เสาวรส ลิ้นจี่ มะพร้าว น้อยหน่า มะขาม มะละกอ มะเฟือง มะม่วง ฝรั่ง เงาะ ชมพู่ ขนุน สละ ลองกอง ส้มเขียวหวาน ส้ม ส้มโอ
--กรมการค้าระหว่างประเทศ--
-สส-