ยังไม่นับคำมั่นสัญญาทั้งหลายเวลาท่านสัญจรไปตามที่ต่างๆ เขตปลอดภาษีที่ภูเก็ต เขตปลอดภาษีที่เชียงใหม่ เมืองยางที่หาดใหญ่ ศูนย์เกษตรอินทรีย์ที่ศรีสะเกษ บางเรื่องบางแห่งเขาเคยทำงานเป็ระบบเช่นที่เกาะช้าง พอท่านไปรื้อปรากฏว่า 2-3 ปีผ่านไปไม่เป็นไปตามเป้า บางโครงการก็ไปให้คำมั่นสัญญาเขา เช่น โครงการกีฬา จะมียุทธศาสตร์จัดงบประมาณด้านการกีฬาเป็นหลายหมื่นล้าน วันนี้พวกกระผมที่สนใจเรื่องกีฬาเขาก็บ่นว่า ยังไม่เห็นความชัดเจน สิ่งเหล่านี้คือ สิ่งที่ผมคิดว่า รัฐบาลต้องมาทบทวนจริงๆว่า อย่าใช้นโยบายที่ขาดการดำเนินการอย่างจริงจัง รอบคอบ ต่อเนื่อง และมันไม่ใช่เฉพาะมาตรการโดยตรงทางการคลัง พอเราหันไปดูนโยบายของรัฐบาลที่ใช้สถาบันการเงินเฉพาะกิจในการที่จะหาทางให้เงินออกไป เพื่อผลักดันนโยบายรัฐบาลตอนนี้อยากให้รัฐบาลเข้าไปดูว่าภาระหนี้สินตรงนี้เป็นอย่างไร ภาระหนี้สินโดยรวมก็พูดกันมาทุกปีนะครับ ผมคงไม่ไปพูดซ้ำ แต่ว่าหนี้เสียที่เกิดจากโครงการของรัฐบาล ท่านต้องดูแล้วครับ เพราะว่าโครงการเหล่านี้เริ่มต้นอย่างเร็วสุดคือปี 2545 ไม่งั้นก็ปี 2546 2547 แต่ว่าตัวเลขสัดส่วนหนี้ที่มีปัญหาหรือเอ็นพีแอลมันสูงนะครับ ถ้าเทียบกับโครงการหรือสถาบันการเงินที่มาทำเรื่องนี้เพียงแค่ไม่กี่ปี
ธนาคารประชาชนสัดส่วนเอ็นพีแอลอยู่ที่ร้อยละ 8.7 บ้านธกส. เพื่อคนไทยร้อยละ 7.25 โครงการสินเชื่อเอสเอ็มอีของธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เอ็นพีแอลอยู่ที่ร้อยละ 25 สินเชื่อเอสเอ็มอีเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทยเอ็นพีแอลอยู่ที่ 9.8 และค้ำประกันสินเชื่อเอสเอ็มอีของ บสย. อยู่ที่ร้อยละ 10.1 เอาล่ะครับตัวเลขไม่ได้ต้องตื่นตระหนกตกใจว่าเป็นเลข 2 หลักสูงๆ แต่ว่าโครงการเพิ่งเริ่มผมคิดว่าต้องยอมรับว่าต้องเข้าไปดูนะครับ อย่าประมาท เพราะว่าความเสี่ยงตรงนี้ไม่ช้าไม่เร็วมันก็ส่งถ่ายกลับมา อยู่ที่เรื่องของงบงบประมาณของพี่น้องประชาชนอยู่ดี
ท่านประธานที่เคารพครับ ถ้าพูดถึงสถาบันการเงินตรงนี้แล้วขออนุญาตที่จะกราบเรียนต่อไปเลยว่าการกำกับดูแลตรงนี้จึงต้องมีความเข้มแข็ง และมีผู้ที่กำกับดูและประเมินสามารถลงโทษได้อย่างเป็นอิสระให้ข้อสังเกตไว้นิดเดียว เพราะว่าวันนี้เราดูเรื่องงบประมาณ แต่ว่ากำลังคิดจะออกกฎหมายที่ย้ายงานการกำกับตรวจสอบสถาบันการเงินออกมาจากธนาคารแห่งประเทศไทยเอามาไว้ที่กระทรวงการคลัง ผมไม่อยากให้ทำครับ แล้วย้ายมาเท่าที่ผมดูโครงร่างที่เขาเตรียมไว้มันไม่ได้ย้ายมาแล้วเป็นหน่วยงานอิสระ แบบเดิม มันมาเข้าสายตรงการบังคับบัญชาในระบบราชการ แล้วถ้าเราเห็นว่ารัฐบาลโดยฝ่ายการเมืองสั่งการทำโครงการนั้นโครงการนี้อย่างที่ผมกราบเรียนครับ แล้วเงินมันสูญไป และเท่ากับสถาบันการงินก็ต้องมาสนองนโยบายตรงนี้ด้วย แล้วผู้กำกับตรวจสอบต้องถูกดึงออกจากธนาคารแห่งประเทศไทยที่เป็นอิสระมาอยู่ตรงนี้ด้วย อันตรายครับ
อันนี้ก็ต้องขอกราบเรียนท่านประธานว่า เบื้องต้นของประสิทธิภาพในการใช้งบประมาณขอให้ไปดูตรงนี้นะครับ นอกจากนั้นอยากจะกราบเรียนครับว่า นอกจากการจัดสรรงบประมาณแล้วเรื่องของประสิทธิภาพในเชิงของการจัดวางรูปแบบขององค์การบริหารก็สำคัญ ผมไม่ลงรายละเอียดนะครับ จะมีเพื่อนสมาชิกที่พูด แต่ว่าทั้งกรณีของงบประมาณที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ทั้งกรณีที่เกี่ยวข้องกับสึนามิ ที่จริงจะพูดว่าเงินตรงนี้น้อยไหมไม่น้อยครับ แต่ปัญหาคือว่า มันเป็นเงินที่สามารถไปใช้และแก้ปัญหาได้ตรงจุดหรือไม่
กรณีของ 3 จังหวัด ตราบใดที่ท่านยังไม่สามารถแก้ปัญหาช่องว่างระหว่างรัฐกับประชาชนในพื้นที่ ยังไม่เลิกคิดในแนวทางเกี่ยวกับซีอีโอตรงนั้นนะครับ เงินก็แก้ปัญหาตรงนั้นไม่ได้ ไม่ได้เป็นไปตามความตั้งใจ ของท่านนายก ของกระผม ของทุกคนที่อยากเห็นความสงบ สึนามิไม่ได้ขาดเงินแน่นอนครับเพราะว่าอย่าว่าแต่งบประมาณเลยครับ แค่เงินบริจาคก็มากมายมหาศาลแต่ว่าความขลุกขลักยังเกิดขึ้น ผมเคยเสนอเหมือนกันครับ บอกตั้งองค์กรจุดเดียวรับผิดชอบเพื่อประสานงานทุกอย่าง แต่ว่าถึงวันนี้ความขัดแย้งยังเยอะแยะไปหมด โดยเฉพาะเวลาโต้แย้งเรื่องของที่ดิน หน่วยงานต่างๆ ของทางราชการก็มีความลังเลในการที่จะไปช่วยเหลือประชาชน อันนี้ก็เป็นสิ่งที่อยากจะกราบเรียนย้ำครับ
ท่านประธานที่เคารพครับ ในแง่ของการเอางบประมาณเพื่อมาผลักดันนโยบายต่างๆ ผมคงมีข้อสังเกตอยู่ไม่มาก เพราะว่าในเรื่องเศรษฐกิจ ผมได้กราบเรียนเกี่ยวกับภาพรวมของเศรษฐกิจมหภาค มี 2 เรื่องที่ผมอยากกราบเรียนฝากไปยังรัฐบาล เรื่องแรกคือมีการตั้งงบประมาณสำหรับโครงการขนาดใหญ่ของรัฐบาลเอาไว้ยอด 7 หมื่นล้าน ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องของขนส่ง เรื่องของรถไฟฟ้า ทั้งลอยฟ้า และใต้ดิน ขอย้ำอีกครั้งว่าต้องมองเรื่องนี้ด้วยความจริงใจ ส่วนของกทม.ก็ยังรออยู่ว่าเมื่อไหร่รัฐบาลจะอนุมัติ
นี่คือสิ่งที่ผมอยากเรียนว่า อย่าไปคิดแต่ว่าลงทุนเพิ่มๆ สิ่งที่มันก่อสร้างแล้วผลักดันได้แล้วจะเล่นการเมือง ช่วยดำเนินการให้ตรงนี้มันเดินหน้าไปได้ ที่นี้โครงการขนาดใหญ่บางเรื่อง ก็สะท้อนให้เห็นถึงความไม่รอบคอบ ปีที่แล้วก็มีโครงการถนนที่ไปจากกรุงเทพฯ-แหลมผักเบี้ย-ชะอำ ที่จะสร้างลงไปในทะเล ฮือฮา เพราะเป็นโครงการหลายหมื่นล้าน จัดงบประมาณกันไปแล้วไปออกแบบ ไปดำเนินการเข้าใจว่าเป็นเงินที่จ่ายไปแล้วก็ 400 ล้าน ปีนี้ผมพยายามหาในเอกสารงบประมาณ ก็ไม่เห็น ก็สอบถามไป ท่านบอกว่าไม่ผ่านการประเมินเรื่องสิ่งแวดล้อม ไม่ทำต่อ ผมว่ามาตรฐานของการที่จะมาจัดงบประมาณของบประมาณในเรื่องใหญ่ๆ นี้ ไม่ควรเกิดขึ้นอีก หรือโครงการอาจจะไม่ใช่โครงสร้างพื้นฐานอย่างที่เราเห็น โครงการ Smart Card ปีที่แล้ว ผมก็ท้วง เอาไป 2,000 กว่าล้าน ปีนี้เอาไป 2,000 กว่าล้าน แต่ว่า
1.ไม่พร้อม ซึ่งผมได้เรียนแต่ต้นว่า Smart Card จะใช้ประโยชน์ได้สูงสุด รัฐต้องมีการจัดวางระบบข้อมูลให้เรียบร้อยก่อน และมีความมั่นใจในเรื่องความปลอดภัยของข้อมูลอย่างไร แต่ว่าเวลาเนิ่นนานมาไม่มีการไปทำความชัดเจนในเชิงกฎหมาย กฎระเบียบต่างๆเลยว่าจะเอาข้อมูลตรงไหนใส่ ไม่ใส่ ใครจะดูแลความปลอดภัยตรงนี้
2.อื้อฉาวมาก คุณภาพที่จะทำประมูลมาตรงนี้ไม่ทราบกระทรวงจะรับ หรือไม่รับ แต่ผู้เชี่ยวชาญเข้าไปตรวจ แล้วให้เวลาตรวจน้อยมาก ไม่เป็นไปตามข้อกำหนดที่ควรจะเป็นเลย และเขาพูดถึงขึ้นว่ามันมีความเสี่ยงอย่างมากว่า จะกระทบต่อความมั่นคงของประชาชนในแง่ของข้อมูลส่วนบุคคล และถ้าไม่รับจะทำอย่างไรครับ เริ่มต้นกันใหม่ และถ้ารับ จะแก้ไขอย่างไร นี้ก็เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งซึ่งไม่ใช่เงินบาท 2 บาท เป็นเรื่องที่ผมอยากกราบเรียนว่าเมื่อต้องทำโครงการตรงนี้มากขึ้น ก็คงไปดู
ผมกราบเรียนผ่านไปอย่างเดียวว่าโครงการขนาดใหญ่ที่จะต้องไปเชื่อมโยงกับภาคการผลิต ก็คงต้องมีการจัดลำดับความสำคัญดูให้ดี เพราะภัยแล้งที่ผ่านมาก็เป็นตัวบ่งบอกครับว่าเราขาดการเตรียมการพร้อมที่จะรับมือกับเรื่องของปัญหาภัยแล้ง และล่าสุดในชายฝั่งทะเลตะวันออก คือปัญหานิคมอุตสาหกรรม ความจริงรัฐบาล อยู่ในฐานะที่จะทราบว่าระดับน้ำมันผิดปกติมาตั้งแต่ประมาณอย่างน้อยครึ่งปีแล้ว แต่ว่าเพิ่งมาตื่นตัวกันเพราะว่าทางบริษัทใหญ่บริษัทหนึ่งเขาไปรายงานว่าจะต้องลดกำลังการผลิต งั้นเตรียมการ การวางแผนคงต้องละเอียดรอบคอบกว่านี้
ในเรื่องเศรษฐกิจผมมีเรื่องเดียวนั้นครับ คือปีนี้มีการพูดถึงยุทธศาสตร์การปรับโครงการเศรษฐกิจให้สมดุลแข่งขันได้ หนึ่งในโครงการนั้นคือ แผนงบประมาณปรับโครงสร้างภาคเกษตร ผมก็ไปดูในเอกสารที่เป็นงบประมาณทางยุทธศาสตร์ว่า งบปรับโครงสร้างทางภาคเกษตร ซึ่งมีทั้งหมด 3 หมื่นกว่าล้านแต่ผมพลิกไปดูแล้วส่วนใหญ่เป็นลักษณะงานการพัฒนามากกว่า
ผมอยากเห็นวิสัยทัศน์ความชัดเจนว่าจากนี้ไปภาครัฐจะปรับโครงสร้างและช่วยภาคการเกษตร อย่างไร ผมจำได้ว่าในช่วงแรกๆที่รัฐบาลนี้เข้ามา บอกว่าการไปอุ้มเกษตรกรด้วยวิธีการแทรกแซงราคาเป็นเรื่องที่ใช้ไม่ได้ ไม่สอดคล้องกับระบบเศรษฐกิจสมัยใหม่ รัฐบาลจะไม่ทำ เวลาผ่านไป พืชผลตกต่ำท่านก็เข้าไปทำ ทำเสร็จมีแต่เรื่องอื้อฉาว โกงข้าว โกงลำไย โกงวัว วันนี้พยายามจะบอกว่าเกิดการโกงขึ้นยกเลิกโครงการเหล่านี้หมด แล้วท่านจะช่วยเกษตรกรอย่างไร
ผมอยากเห็นการทำเป็นระบบซักทีว่าถ้าไม่ใช้แนวการแทรกแซงราคา เรากฎหมาย ทำแผนแม่บท การอุดหนุนเกษตรไหม นี่คือสิ่งที่มันขาดไปครับ ผมไปเห็นวิสัยทัศน์ เมื่อเร็วๆนี้ก็คือบอกว่า มีการเรียกประชุมเกี่ยวกับการปรับโครงสร้างการผลิตด้านการเกษตร แล้ววิสัยทัศน์ของท่านนายกฯก็คือว่าใช้รูปแบบจำลองของบอสตัน แบบจำลองของบอสตันคงต้องอธิบายสั้นๆ นะครับ
ผมจะแบ่งสินค้า พืชผล เป็น 4 กลุ่มกลุ่มทำเงินดี (Cash Pouch) กลุ่มที่ยังไม่มีกำไรแต่มีอนาคต (Baby) กลุ่มดาวรุ่ง (Star) และกลุ่มที่ 4 เรียก Dog ผมขออนุญาตไม่แปล ผมก็ไปดูว่ากลุ่ม Dog ยุทธศาสตร์คืออะไร ที่รองนายกฯไปบรรยายบอกว่า กลุ่มนี้ต้องฆ่าทิ้ง ผมก็ไปดูว่าแล้วสินค้าเกษตรที่ถูกจัดว่าเป็น Dog มีไหม เขาก็บอกว่าจำแนกมาแล้ว กลุ่ม Dog ประกอบด้วยหอม กระเทียม ข้าวโพด
ผมนึกถึงคำที่ท่านนายกฯพูดว่าท่านเป็นคนกตัญญู เกษตรกรที่ปลูกหอม กระทียม จะทราบหรือไม่วิสัยของท่านนายกฯคือให้ฆ่าทิ้ง อันนี้ได้มีการเผยแพร่ในการสัมมนา หากผิดพลาดต้องไปต่อว่ารองนายกฯ เพราะเป็นคนที่พูดและบอกว่าเป็นวิสัยทัศน์ของท่าน ผมหวังว่าไม่เป็นอย่างนั้นเพราะว่าขนาดไม่ทำอะไร เขตการค้าเสรีก็จะฆ่าทิ้งอยู่แล้ว วันนี้ปรับซิครับ อย่าไปใช้คำว่าฆ่าทิ้ง จะฟื้นฟู หรืออย่างไรขึ้นมาจะได้เกิดความสบายใจ และผมคิดว่าถ้าเรามองเพียงแค่ว่าเป็นเศรษฐกิจ เราก็บอกว่าไม่เป็นไรเปลี่ยนอาชีพ แต่จริงๆสิ่งเหล่านี้เป็นวิถีชีวิตครับ ขอความกรุณาว่ารัฐบาลลองไปดูและทำให้ชัดเจนว่าตกลงปรับโครงสร้างทางเกษตร ยังจะเอาแบบจำลองบอสตัน ยังจะมีการฆ่าทิ้งอีกหรือไม่ ถ้าไม่มีก็รีบปฏิเสธเสีย เพื่อให้ทุกคนสบายใจ
ผมขอขยับมาเรื่องของนโยบายของคนในสังคม ก็เป็นเรื่องการศึกษาซึ่งต้องกราบเรียนว่าปัญหาปฏิรูปการศึกษายังเป็นปัญหาที่เรื้อรังมาก ศาลปกครองเพิ่งตัดสินไป อย่างที่ฝ่ายค้านได้อภิปรายไว้เมื่อปีที่แล้ว รัฐมนตรีเข้าใจหลักของการปฏิรูประบบการศึกษาผิด คือใช้กฎหมายผิด ผมดูลักษณะของการขับเคลื่อนของการปฏิรูประบบการศึกษาวันนี้ดูเหมือนปล่อยกระทรวงศึกษาทำไปเรื่อยๆ
โดยเฉพาะบุคลากรระดับผู้สอนเสียขวัญกำลังใจมาก หนี้สินก็รุงรัง ความไม่ชัดเจนเรื่องการปฏิรูปก็ยังมี ภาระงานที่ไม่ใช่งานสอนก็เยอะแยะไปหมด แต่ว่าไม่มีความชัดเจนว่าจะขับเคลื่อนปัญหาตรงนี้อย่างไร ผมดูแล้วรัฐบาลมาให้น้ำหนักกับองค์กรใหม่ที่ตั้งขึ้นมาก็คือสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ ซึ่งเป็นองค์การมหาชน
เอาว่าปีนี้จะจัดสรรงบประมาณให้ถึง 2,251 ล้านบาท ที่พูดคือสนับสนุนนะครับว่า เมื่อท่านคิดแล้วว่าจะต้องกระตุ้นให้เกิดการปฏิรูปผ่านการสร้างองค์ความรู้ผ่านนวัตกรรม ผมก็จะสนับสนุนตรงนี้เกี่ยวกับเรื่องเยาวชน ความรู้ด้านชีวะ วิทยาศาสตร์ การเผยแพร่ทางเว็บไซต์
ผมมีข้อสังเกต 2 ข้อ คือ1.การขับเคลื่อนผ่านตรงนี้อยากให้ดูว่าจะทำอย่างไร สามารถกระจายให้คนได้รับโอกาสทั่วถึงจริงๆ เพราะว่าส่วนใหญ่ต้องไปผ่านศูนย์การเรียนรู้ ศูนย์พัฒนาแหล่งความรู้ ผมเข้าใจดีว่าต้องใช้เวลาในการกระจายออกไป แต่ช่วยกันดูว่าจะเร่งรัดอย่างไร
2. คงไม่อยากพัฒนาความรู้อย่างเดียว ในนี้ก็เขียนเหมือนกัน อยากจะพัฒนาเรื่องศีลธรรม จริยธรรมด้วย แต่พอไปดูรายละเอียดยังไม่เห็นชัด ว่าเรื่องคุณธรรม ศีลธรรม จริยธรรม จะทำกันอย่างไร ผมเห็นแหล่งการเรียนรู้ที่จะไปทำงานเรื่องนี้ 6 แหล่งทั่วประเทศ เท่ากับจำนวนบ่อน ที่ท่านคิดจะเปิดในรอบแรก ผมก็ไม่ทราบว่าจำนวนผู้บริการมันจะมากกว่ากัน สรุปสัญญาณที่เราจะส่งเรื่องศีลธรรมจริยธรรมมันคืออะไร ผมกราบเรียนว่าตรงนี้เป็นเรื่องที่ หลายคนเรียกร้องมาก ว่าวันนี้แนวงทางการพัฒนา คนกังวลมากเรื่องวัตถุนิยม และเขาต้องการแบบอย่างที่ดี การสัญญาณที่ดี เพราะฉะนั้นขอความกรุณาเรื่องที่ไม่มีความเพียงพอในเรื่องนี้ผมอยากเห็นคนที่เป็นผู้นำได้ส่งสัญญาณ อย่าไปคิดตัดสินใจง่ายๆ เพียงแค่ว่าภาษีเข้ารัฐ อย่าคิดเพียงว่าเอาเงินมาช่วยคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง แต่ขอให้สัญญาณที่เราส่งไปว่า สิ่งเหล่านี้เราจะยอมรับ สิ่งเหล่านี้เราจะสื่อสารกับเยาวชนอย่างไรด้วย นี่คือข้อสังเกตของผมในเรื่องของการพัฒนาศีลธรรม จริยธรรม
อีกเรื่องหนึ่งที่เกี่ยวกับเรื่องการศึกษาก็คือเรื่องของกองทุนกู้ยืม ปีนี้ท่านลดเงินกูยืมเพื่อการศึกษาลงไป 2พันล้าน ก็คงมีคนได้รับผลกระทบ แต่ว่าท่านก็คงบอกว่าท่านก็มีกองทุนใหม่ขึ้นมา คือกองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษาที่ผูกติดกับรายได้ในอนาคต (ไอซีแอล) ตั้งงบไว้ 4,800 ล้าน นะครับแล้วก็บอกว่าจะมีคนที่จะมากู้ยืมได้ 4 แสนกว่าคน ซึ่งผมดูแล้วตัวเลข แปลว่าการกู้ยืมก็คงไม่มาก ที่จะท้วงไว้คือแนวคิดแบบไอซีแอล มันก็มีทั้งข้อดี ข้อเสีย แต่หลักคิดจะมาทำทีละนิดๆ คงไม่ได้ หลักคิดของกองทุนแบบนี้คือทั้งใช้ทั้งระบบ ทุกคนมีสิทธิกู้ เพื่อจะจัดระบบงบประมาณให้มหาวิทยาลัย สถาบันการศึกาทั้งหมด ผมจึงไม่เข้าใจว่าตรงนี้ยังไม่ได้ทำ ยังไม่มีการเตรียมเรื่องกฎหมาย การเซ็นสัญญา ผูกมัด โดยการเอาระบบภาษีมาจัดเพื่อหักรายได้ ท่านตั้งงบตัวนี้ไปแล้วยังมีกองทุนกู้ยืมอยู่ การจัดสรรงบปราณมหาวิทยาลัยยังเป็นแบบเดิม จะเป็นอย่างไร จะบริหารอย่างไร นี่คือสิ่งที่อยากจะให้รัฐบาลไปลองดูนะครับว่าจะทำให้เกิดความชัดเจนกับการบริหารตรงนี้
ในส่วนของคนพูดอีกนิดเดียวคือ โครงการ 30 บาท เพราะพูดมาทุกปี เมื่อตอนแถลงนโยบายก็ได้บอกไปแล้วว่าอยากให้โครงการนี้เดินต่อไปได้ น่าจะได้งบต่อหัวซัก 1,700 บาท ได้ 1,500บาท ก็จะเกิดปัญหาในการบริหารจัดการ จะเกิดปัญหาสมองไหล และความชัดเจนและข้อเสนอที่ผมเคยจะช่วยรัฐบาล บอกว่าจริงๆ มันหาเงินมาเพิ่มได้ ผลักดันเถอะครับกฎหมายเรื่องของการกันเงินภาษีเหล้า ภาษีบุหรี่ เหมือนกับจัดให้กับ สสส. มาให้ตรงนี้อย่ามาทำความเข้าใจว่าเรื่องภาษีเหล้าบุหรี่มาช่วยโครงการ 30 บาท เอาแค่กระเป๋าซ้าย กระเป๋าขวาอย่าไปทำอย่างนั้นครับ ควรจะไปหาแหล่งเงินเพิ่ม
2.คือใช้ประโยชน์จากโครงการประกันสังคม ระบบมันลงตัวมากกว่า การตรวจสอบจะถูกต้องกว่า เพราะว่ามันแบ่งผู้ซื้อผู้ขายบริการอย่างนี้ชัดเจนขยายสิทธิอย่างไรให้ผู้ประกันตน จะได้แบ่งเบาภาระคนในโครงการ 30 บาท ไปด้วย อันนี้ก็ยังไม่ได้ทำ และในส่วนของสาธารณสุข จะฝากไว้คือว่าที่จริงแล้ว ผมได้เรียกร้องให้โรงพยาบาลบ้านแพ้วมาทุกปี เขาเป็นองค์กรมหาชน เขาควรจะได้รับงบประมาณเป็นรายการชัดเจนในเอกสารงบประมาณ แต่ว่าพอรัฐบาลมีโครงการ 30 บาทเลยดึงเขากลับสู่จุดเดิม และทำให้แนวทางที่จะเป็นตัวอย่างของความสำเร็จ ขอความกรุณาไปดูแลตรงนั้นด้วย
ก็คงมาถึงนโยบายด้านสุดท้ายครับ คือนโยบายด้านการเมืองเพราะว่าปีนี้มียุทธศาสตร์เรื่องของการส่งเสริมประชาธิปไตยและขบวนการประชาสังคม เงินตั้ง 1,900 ล้านบาท ผมไปดูเอกสารงบประมาณในรายละเอียด ส่วนใหญ่มีการจัดสรรไปในเรื่องของการประชาสัมพันธ์ส่วนใหญ่ ปัญหาคือว่าเรื่องประชาธิปไตย การมีส่วนร่วม เหมือนเรื่องศิลปธรรมจริยะธรรม ต้องเริ่มจากแบบอย่างที่ดี จากคนที่เป็นผู้นำสังคม เพราะฉะนั้นอยากให้มีส่วนร่วม ต้องทำเป็นนโยบายอย่างจริง เรื่องการผลักดันกฎหมาย เรื่องการรับฟังความคิดเห็น ต้องสร้างบรรยากาศให้คนกล้า ที่จะเสนอข้อเท็จจริง วิพากษ์ วิจารณ์ ต้องรับฟัง ไม่ใครเรียกร้องให้ท่านนายกฯ เชื่อฟังใคร แต่ขอให้รับฟัง ตรงนี้เป็นสิ่งที่มีความสำคัญ และท่านต้องเปิดใจกว้าง แล้วอย่าเผยแพร่ค่านิยมผิดๆ เกี่ยวกับประชาธิปไตย ขออนุญาตพูด 2 เรื่องนะครับว่าหยุดเถอะ
1. เรื่องงบประมาณ นายกฯ ไปประชุมนักเรียนอยากได้คอมพิวเตอร์ นายกฯถามว่ามาจากไหน มาจากสุรินทร์เลือกไทยรักไทย ให้ได้ นายกฯ ไปประชุมเชียงใหม่เด็กจากพิษณุโลกบอกลำบากโรงเรียนอยู่ห่างไกล ไม่มีเครื่องอำนวยความสะดวก นายกตอบก็พิษณุโลกไม่เลือกพรรคไทยรักไทยจึงเป็นอย่างนี้ ที่จริงเด็กคนนั้นอยู่เขตไทยรักไทยนะครับ ผมได้ไปตรวจสอบมาแล้ว แต่นั่นไม่ใช่สาระสำคัญ
เราอย่าไปสอนเด็กนะครับว่าเลือกตั้งแล้วผู้บริหารประเทศก็มาแลกผลประโยชน์กัน คนเป็นนายกฯ ต้องเป็นนายกฯของคนทั้งประเทศ ท่านเป็นหัวหน้าพรรคไทยรักไทยท่านพูดได้ แต่ไม่ใช่พูดในฐานะนายกฯ ให้สื่อของรัฐถ่ายทอดสดไปทั่วประเทศ ค่านิยมผิด หลักประชาธิปไตยก็ผิด อย่างนี้เงิน 1,600 ล้านจะไปลบล้างได้หรือไม่ หรือ
2.เกิดปัญหาภายในพรรคท่านไม่เป็นไรใครอึดอัดออกไป ผมให้เงินเดือนได้ อย่าไปให้คนเข้าใจนะครับว่า พวกเรามาเป็นนักการเมือง มาเป็นเพราะว่าเห็นแก่เงิน ที่เขาเรียกร้องตรงนั้นก็ไม่ใช่เงิ น เป็นเรื่องศักดิ์ศรีอะไรกันเนี่ย ผมก็ไม่ทราบ เป็นเรื่องภายในพรรคไทยรักไทย แต่ว่าตรงนี้ท่านต้องทำให้เป็นแบบอย่างและป่วยการที่จะไปทำโครงการอันใหญ่โตอะไรที่จะไปเผยแพร่ค่านิยม เรื่องของประชาธิปไตย ถ้าการพูด การกระทำของเราไม่เป็นแบบอย่างที่ดี และเรื่องประชาธิปไตย สิ่งหนึ่งที่อยากจะขอทำความเข้าใจคือมันผูกพันล้ำลึกกับเรื่องของกระบวนการวิธีการ ความชอบธรรมความถูกต้องด้วย มันอาจจะขัดกับวัฒนธรรมของบางท่านที่คิดว่าสำคัญแต่ผล อยากสำเร็จวิธีใดก็ได้ จะทางธุรกิจ ทางการเมือง เพราะฉะนั้นอันนี้ต้องขอติงไว้ในส่วนของนโยบายการเมืองที่มีการจัดสรรงบประมาณที่เป็นยุทธศาสตร์เรื่องของประชาธิปไตย
ก็คงจะมาสุดท้ายจริงๆ ก็คือว่าจะอย่างไรก็ตาม สิ่งที่ไม่ควรมีใครยอมรับก็คือการทุจริตจากงบประมาณ ผมเชื่อว่าตรงนี้ ใครพูดก็ต้องยืนยันตรงกัน แต่ว่าเราต้องจริงกับเรื่องนี้ เมื่อเกิดเรื่องทุจริตกล้ายางขึ้นจะแก้ตัวเพียงแค่ว่าปัญหาเกิดเพราะว่าผู้แทนยากหาเสียงเรื่องตั้ง เลยเอาไปแจกแล้วเกิดความเสียหาย มาถึงวันนี้บอกว่าไมเป็นไร เดี๋ยวมีการชดเชยให้ ผมคิอว่ามันไม่ควร ถ้ามาตรฐานเกี่ยวกับการจัดการการทุจริตเป็นอย่างนี้ ใครจะเกรงกลัว ทุกคนก็ทำตามใจชอบต่อไป ถูกจับได้ค่อยไปคืนและแก้ตัวต้องเข้าใจนะอยากจะได้คะแนนเสียง
ถ้าเป็นอย่างนี้ธรรมาภิบาลไม่เกิดขึ้น วันนี้เราต้องการธรรมาภิบาลให้เกิดขึ้น รัฐจะต้องเป็นตัวอย่างเพราะฉะนั้นถ้ามาตรฐานธรรมาภิบาลเสื่อมลงๆ ท่านเห็นไหมครับว่าขณะนี้ แม้เอกชนเอง ปัญหาการตกแต่งบัญชีในตลาดหลักทรัพย์ เกี่ยวข้องกับคนในรัฐบาลเกี่ยวข้องด้วย อย่างนี้ก็จะระบาดไปหมด สุดท้ายปัญหาก็สะสมมากขึ้น ปัญหาเช่นนี้เกิดขึ้นทุกสมัย บางยุคอาจจะรุนแรง แต่ว่าหลายครั้งบังเอิญเศรษฐกิจดีคนก็มองไม่เห็นอันตราย บางครั้งก็มีค่านิยมว่าโกงก็ได้ แต่ว่าให้เศรษฐกิจมันดูดี มีอะไรมาให้พวกเราบ้าง แต่ว่าประวัติศาสตร์มันพิสูจน์ครั้งแล้วครั้งเล่าว่า มันไปเป็นเช่นนั้น ที่สุดมันเป็นเชื้อโรคร้าย ที่ลามไปแล้วพังทั้งระบบ ผมกราบเรียนว่าผมได้พูดแต่ต้นว่าผมไม่คิดว่ามันจะมีวิกฤติเศรษฐกิจ และมันคงไม่มีวิกฤติเศรษฐกิจแบบปี 40 ที่มันเกิดปัญหาในส่วนกลางเพราะหนี้ต่างประเทศ แต่วันนี้ถ้าตรงนั้นเหมือนวิกฤติที่เกิดขึ้นเป็นแรงสั้นสะเทือนกระจายออกไป วันนี้มันจะต่างกันก็คือว่ามีแรงสั้นสะเทือนเกิดขึ้นทุกหย่อมหญ้า เรื่องหนี้สิน เรื่องทุจริต ถ้าสะสมรวมกันมันก็จะกลายเป็นวิกฤติอีกแบบ
ผมจึงกราบเรียนว่าการตั้งงบประมาณครั้งนี้ ซึ่งพวกเราก็ต้องติดตามตรวจสอบในรายละเอียด ในวาระที่3 ที่ 2 ต่อไป กระผมจึงเรียกร้องเพียงแค่ว่า อยากให้ท่านใช้การจัดงบประมาณประจำปี ครั้งแรกของรัฐบาลนี้ ตั้งหลักเสียใหม่ ทบทวนในสิ่งที่เคยผิดพลาดมาเป็นบทเรียน ว่าอย่าไปทำอีก เพราะทั้งสิ้นเปลืองและเสียหายกับประชาชน ผมเสียดายว่าหลักที่มันถูกต้องมันควรจะตั้ง ตั้งแต่ 4 ปีแรกของท่าน แต่ไม่เป็นไรจะเริ่มต้นใหม่ผมก็ไม่ว่าอะไร
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 29 มิ.ย. 2548--จบ--
ธนาคารประชาชนสัดส่วนเอ็นพีแอลอยู่ที่ร้อยละ 8.7 บ้านธกส. เพื่อคนไทยร้อยละ 7.25 โครงการสินเชื่อเอสเอ็มอีของธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เอ็นพีแอลอยู่ที่ร้อยละ 25 สินเชื่อเอสเอ็มอีเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทยเอ็นพีแอลอยู่ที่ 9.8 และค้ำประกันสินเชื่อเอสเอ็มอีของ บสย. อยู่ที่ร้อยละ 10.1 เอาล่ะครับตัวเลขไม่ได้ต้องตื่นตระหนกตกใจว่าเป็นเลข 2 หลักสูงๆ แต่ว่าโครงการเพิ่งเริ่มผมคิดว่าต้องยอมรับว่าต้องเข้าไปดูนะครับ อย่าประมาท เพราะว่าความเสี่ยงตรงนี้ไม่ช้าไม่เร็วมันก็ส่งถ่ายกลับมา อยู่ที่เรื่องของงบงบประมาณของพี่น้องประชาชนอยู่ดี
ท่านประธานที่เคารพครับ ถ้าพูดถึงสถาบันการเงินตรงนี้แล้วขออนุญาตที่จะกราบเรียนต่อไปเลยว่าการกำกับดูแลตรงนี้จึงต้องมีความเข้มแข็ง และมีผู้ที่กำกับดูและประเมินสามารถลงโทษได้อย่างเป็นอิสระให้ข้อสังเกตไว้นิดเดียว เพราะว่าวันนี้เราดูเรื่องงบประมาณ แต่ว่ากำลังคิดจะออกกฎหมายที่ย้ายงานการกำกับตรวจสอบสถาบันการเงินออกมาจากธนาคารแห่งประเทศไทยเอามาไว้ที่กระทรวงการคลัง ผมไม่อยากให้ทำครับ แล้วย้ายมาเท่าที่ผมดูโครงร่างที่เขาเตรียมไว้มันไม่ได้ย้ายมาแล้วเป็นหน่วยงานอิสระ แบบเดิม มันมาเข้าสายตรงการบังคับบัญชาในระบบราชการ แล้วถ้าเราเห็นว่ารัฐบาลโดยฝ่ายการเมืองสั่งการทำโครงการนั้นโครงการนี้อย่างที่ผมกราบเรียนครับ แล้วเงินมันสูญไป และเท่ากับสถาบันการงินก็ต้องมาสนองนโยบายตรงนี้ด้วย แล้วผู้กำกับตรวจสอบต้องถูกดึงออกจากธนาคารแห่งประเทศไทยที่เป็นอิสระมาอยู่ตรงนี้ด้วย อันตรายครับ
อันนี้ก็ต้องขอกราบเรียนท่านประธานว่า เบื้องต้นของประสิทธิภาพในการใช้งบประมาณขอให้ไปดูตรงนี้นะครับ นอกจากนั้นอยากจะกราบเรียนครับว่า นอกจากการจัดสรรงบประมาณแล้วเรื่องของประสิทธิภาพในเชิงของการจัดวางรูปแบบขององค์การบริหารก็สำคัญ ผมไม่ลงรายละเอียดนะครับ จะมีเพื่อนสมาชิกที่พูด แต่ว่าทั้งกรณีของงบประมาณที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ทั้งกรณีที่เกี่ยวข้องกับสึนามิ ที่จริงจะพูดว่าเงินตรงนี้น้อยไหมไม่น้อยครับ แต่ปัญหาคือว่า มันเป็นเงินที่สามารถไปใช้และแก้ปัญหาได้ตรงจุดหรือไม่
กรณีของ 3 จังหวัด ตราบใดที่ท่านยังไม่สามารถแก้ปัญหาช่องว่างระหว่างรัฐกับประชาชนในพื้นที่ ยังไม่เลิกคิดในแนวทางเกี่ยวกับซีอีโอตรงนั้นนะครับ เงินก็แก้ปัญหาตรงนั้นไม่ได้ ไม่ได้เป็นไปตามความตั้งใจ ของท่านนายก ของกระผม ของทุกคนที่อยากเห็นความสงบ สึนามิไม่ได้ขาดเงินแน่นอนครับเพราะว่าอย่าว่าแต่งบประมาณเลยครับ แค่เงินบริจาคก็มากมายมหาศาลแต่ว่าความขลุกขลักยังเกิดขึ้น ผมเคยเสนอเหมือนกันครับ บอกตั้งองค์กรจุดเดียวรับผิดชอบเพื่อประสานงานทุกอย่าง แต่ว่าถึงวันนี้ความขัดแย้งยังเยอะแยะไปหมด โดยเฉพาะเวลาโต้แย้งเรื่องของที่ดิน หน่วยงานต่างๆ ของทางราชการก็มีความลังเลในการที่จะไปช่วยเหลือประชาชน อันนี้ก็เป็นสิ่งที่อยากจะกราบเรียนย้ำครับ
ท่านประธานที่เคารพครับ ในแง่ของการเอางบประมาณเพื่อมาผลักดันนโยบายต่างๆ ผมคงมีข้อสังเกตอยู่ไม่มาก เพราะว่าในเรื่องเศรษฐกิจ ผมได้กราบเรียนเกี่ยวกับภาพรวมของเศรษฐกิจมหภาค มี 2 เรื่องที่ผมอยากกราบเรียนฝากไปยังรัฐบาล เรื่องแรกคือมีการตั้งงบประมาณสำหรับโครงการขนาดใหญ่ของรัฐบาลเอาไว้ยอด 7 หมื่นล้าน ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องของขนส่ง เรื่องของรถไฟฟ้า ทั้งลอยฟ้า และใต้ดิน ขอย้ำอีกครั้งว่าต้องมองเรื่องนี้ด้วยความจริงใจ ส่วนของกทม.ก็ยังรออยู่ว่าเมื่อไหร่รัฐบาลจะอนุมัติ
นี่คือสิ่งที่ผมอยากเรียนว่า อย่าไปคิดแต่ว่าลงทุนเพิ่มๆ สิ่งที่มันก่อสร้างแล้วผลักดันได้แล้วจะเล่นการเมือง ช่วยดำเนินการให้ตรงนี้มันเดินหน้าไปได้ ที่นี้โครงการขนาดใหญ่บางเรื่อง ก็สะท้อนให้เห็นถึงความไม่รอบคอบ ปีที่แล้วก็มีโครงการถนนที่ไปจากกรุงเทพฯ-แหลมผักเบี้ย-ชะอำ ที่จะสร้างลงไปในทะเล ฮือฮา เพราะเป็นโครงการหลายหมื่นล้าน จัดงบประมาณกันไปแล้วไปออกแบบ ไปดำเนินการเข้าใจว่าเป็นเงินที่จ่ายไปแล้วก็ 400 ล้าน ปีนี้ผมพยายามหาในเอกสารงบประมาณ ก็ไม่เห็น ก็สอบถามไป ท่านบอกว่าไม่ผ่านการประเมินเรื่องสิ่งแวดล้อม ไม่ทำต่อ ผมว่ามาตรฐานของการที่จะมาจัดงบประมาณของบประมาณในเรื่องใหญ่ๆ นี้ ไม่ควรเกิดขึ้นอีก หรือโครงการอาจจะไม่ใช่โครงสร้างพื้นฐานอย่างที่เราเห็น โครงการ Smart Card ปีที่แล้ว ผมก็ท้วง เอาไป 2,000 กว่าล้าน ปีนี้เอาไป 2,000 กว่าล้าน แต่ว่า
1.ไม่พร้อม ซึ่งผมได้เรียนแต่ต้นว่า Smart Card จะใช้ประโยชน์ได้สูงสุด รัฐต้องมีการจัดวางระบบข้อมูลให้เรียบร้อยก่อน และมีความมั่นใจในเรื่องความปลอดภัยของข้อมูลอย่างไร แต่ว่าเวลาเนิ่นนานมาไม่มีการไปทำความชัดเจนในเชิงกฎหมาย กฎระเบียบต่างๆเลยว่าจะเอาข้อมูลตรงไหนใส่ ไม่ใส่ ใครจะดูแลความปลอดภัยตรงนี้
2.อื้อฉาวมาก คุณภาพที่จะทำประมูลมาตรงนี้ไม่ทราบกระทรวงจะรับ หรือไม่รับ แต่ผู้เชี่ยวชาญเข้าไปตรวจ แล้วให้เวลาตรวจน้อยมาก ไม่เป็นไปตามข้อกำหนดที่ควรจะเป็นเลย และเขาพูดถึงขึ้นว่ามันมีความเสี่ยงอย่างมากว่า จะกระทบต่อความมั่นคงของประชาชนในแง่ของข้อมูลส่วนบุคคล และถ้าไม่รับจะทำอย่างไรครับ เริ่มต้นกันใหม่ และถ้ารับ จะแก้ไขอย่างไร นี้ก็เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งซึ่งไม่ใช่เงินบาท 2 บาท เป็นเรื่องที่ผมอยากกราบเรียนว่าเมื่อต้องทำโครงการตรงนี้มากขึ้น ก็คงไปดู
ผมกราบเรียนผ่านไปอย่างเดียวว่าโครงการขนาดใหญ่ที่จะต้องไปเชื่อมโยงกับภาคการผลิต ก็คงต้องมีการจัดลำดับความสำคัญดูให้ดี เพราะภัยแล้งที่ผ่านมาก็เป็นตัวบ่งบอกครับว่าเราขาดการเตรียมการพร้อมที่จะรับมือกับเรื่องของปัญหาภัยแล้ง และล่าสุดในชายฝั่งทะเลตะวันออก คือปัญหานิคมอุตสาหกรรม ความจริงรัฐบาล อยู่ในฐานะที่จะทราบว่าระดับน้ำมันผิดปกติมาตั้งแต่ประมาณอย่างน้อยครึ่งปีแล้ว แต่ว่าเพิ่งมาตื่นตัวกันเพราะว่าทางบริษัทใหญ่บริษัทหนึ่งเขาไปรายงานว่าจะต้องลดกำลังการผลิต งั้นเตรียมการ การวางแผนคงต้องละเอียดรอบคอบกว่านี้
ในเรื่องเศรษฐกิจผมมีเรื่องเดียวนั้นครับ คือปีนี้มีการพูดถึงยุทธศาสตร์การปรับโครงการเศรษฐกิจให้สมดุลแข่งขันได้ หนึ่งในโครงการนั้นคือ แผนงบประมาณปรับโครงสร้างภาคเกษตร ผมก็ไปดูในเอกสารที่เป็นงบประมาณทางยุทธศาสตร์ว่า งบปรับโครงสร้างทางภาคเกษตร ซึ่งมีทั้งหมด 3 หมื่นกว่าล้านแต่ผมพลิกไปดูแล้วส่วนใหญ่เป็นลักษณะงานการพัฒนามากกว่า
ผมอยากเห็นวิสัยทัศน์ความชัดเจนว่าจากนี้ไปภาครัฐจะปรับโครงสร้างและช่วยภาคการเกษตร อย่างไร ผมจำได้ว่าในช่วงแรกๆที่รัฐบาลนี้เข้ามา บอกว่าการไปอุ้มเกษตรกรด้วยวิธีการแทรกแซงราคาเป็นเรื่องที่ใช้ไม่ได้ ไม่สอดคล้องกับระบบเศรษฐกิจสมัยใหม่ รัฐบาลจะไม่ทำ เวลาผ่านไป พืชผลตกต่ำท่านก็เข้าไปทำ ทำเสร็จมีแต่เรื่องอื้อฉาว โกงข้าว โกงลำไย โกงวัว วันนี้พยายามจะบอกว่าเกิดการโกงขึ้นยกเลิกโครงการเหล่านี้หมด แล้วท่านจะช่วยเกษตรกรอย่างไร
ผมอยากเห็นการทำเป็นระบบซักทีว่าถ้าไม่ใช้แนวการแทรกแซงราคา เรากฎหมาย ทำแผนแม่บท การอุดหนุนเกษตรไหม นี่คือสิ่งที่มันขาดไปครับ ผมไปเห็นวิสัยทัศน์ เมื่อเร็วๆนี้ก็คือบอกว่า มีการเรียกประชุมเกี่ยวกับการปรับโครงสร้างการผลิตด้านการเกษตร แล้ววิสัยทัศน์ของท่านนายกฯก็คือว่าใช้รูปแบบจำลองของบอสตัน แบบจำลองของบอสตันคงต้องอธิบายสั้นๆ นะครับ
ผมจะแบ่งสินค้า พืชผล เป็น 4 กลุ่มกลุ่มทำเงินดี (Cash Pouch) กลุ่มที่ยังไม่มีกำไรแต่มีอนาคต (Baby) กลุ่มดาวรุ่ง (Star) และกลุ่มที่ 4 เรียก Dog ผมขออนุญาตไม่แปล ผมก็ไปดูว่ากลุ่ม Dog ยุทธศาสตร์คืออะไร ที่รองนายกฯไปบรรยายบอกว่า กลุ่มนี้ต้องฆ่าทิ้ง ผมก็ไปดูว่าแล้วสินค้าเกษตรที่ถูกจัดว่าเป็น Dog มีไหม เขาก็บอกว่าจำแนกมาแล้ว กลุ่ม Dog ประกอบด้วยหอม กระเทียม ข้าวโพด
ผมนึกถึงคำที่ท่านนายกฯพูดว่าท่านเป็นคนกตัญญู เกษตรกรที่ปลูกหอม กระทียม จะทราบหรือไม่วิสัยของท่านนายกฯคือให้ฆ่าทิ้ง อันนี้ได้มีการเผยแพร่ในการสัมมนา หากผิดพลาดต้องไปต่อว่ารองนายกฯ เพราะเป็นคนที่พูดและบอกว่าเป็นวิสัยทัศน์ของท่าน ผมหวังว่าไม่เป็นอย่างนั้นเพราะว่าขนาดไม่ทำอะไร เขตการค้าเสรีก็จะฆ่าทิ้งอยู่แล้ว วันนี้ปรับซิครับ อย่าไปใช้คำว่าฆ่าทิ้ง จะฟื้นฟู หรืออย่างไรขึ้นมาจะได้เกิดความสบายใจ และผมคิดว่าถ้าเรามองเพียงแค่ว่าเป็นเศรษฐกิจ เราก็บอกว่าไม่เป็นไรเปลี่ยนอาชีพ แต่จริงๆสิ่งเหล่านี้เป็นวิถีชีวิตครับ ขอความกรุณาว่ารัฐบาลลองไปดูและทำให้ชัดเจนว่าตกลงปรับโครงสร้างทางเกษตร ยังจะเอาแบบจำลองบอสตัน ยังจะมีการฆ่าทิ้งอีกหรือไม่ ถ้าไม่มีก็รีบปฏิเสธเสีย เพื่อให้ทุกคนสบายใจ
ผมขอขยับมาเรื่องของนโยบายของคนในสังคม ก็เป็นเรื่องการศึกษาซึ่งต้องกราบเรียนว่าปัญหาปฏิรูปการศึกษายังเป็นปัญหาที่เรื้อรังมาก ศาลปกครองเพิ่งตัดสินไป อย่างที่ฝ่ายค้านได้อภิปรายไว้เมื่อปีที่แล้ว รัฐมนตรีเข้าใจหลักของการปฏิรูประบบการศึกษาผิด คือใช้กฎหมายผิด ผมดูลักษณะของการขับเคลื่อนของการปฏิรูประบบการศึกษาวันนี้ดูเหมือนปล่อยกระทรวงศึกษาทำไปเรื่อยๆ
โดยเฉพาะบุคลากรระดับผู้สอนเสียขวัญกำลังใจมาก หนี้สินก็รุงรัง ความไม่ชัดเจนเรื่องการปฏิรูปก็ยังมี ภาระงานที่ไม่ใช่งานสอนก็เยอะแยะไปหมด แต่ว่าไม่มีความชัดเจนว่าจะขับเคลื่อนปัญหาตรงนี้อย่างไร ผมดูแล้วรัฐบาลมาให้น้ำหนักกับองค์กรใหม่ที่ตั้งขึ้นมาก็คือสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ ซึ่งเป็นองค์การมหาชน
เอาว่าปีนี้จะจัดสรรงบประมาณให้ถึง 2,251 ล้านบาท ที่พูดคือสนับสนุนนะครับว่า เมื่อท่านคิดแล้วว่าจะต้องกระตุ้นให้เกิดการปฏิรูปผ่านการสร้างองค์ความรู้ผ่านนวัตกรรม ผมก็จะสนับสนุนตรงนี้เกี่ยวกับเรื่องเยาวชน ความรู้ด้านชีวะ วิทยาศาสตร์ การเผยแพร่ทางเว็บไซต์
ผมมีข้อสังเกต 2 ข้อ คือ1.การขับเคลื่อนผ่านตรงนี้อยากให้ดูว่าจะทำอย่างไร สามารถกระจายให้คนได้รับโอกาสทั่วถึงจริงๆ เพราะว่าส่วนใหญ่ต้องไปผ่านศูนย์การเรียนรู้ ศูนย์พัฒนาแหล่งความรู้ ผมเข้าใจดีว่าต้องใช้เวลาในการกระจายออกไป แต่ช่วยกันดูว่าจะเร่งรัดอย่างไร
2. คงไม่อยากพัฒนาความรู้อย่างเดียว ในนี้ก็เขียนเหมือนกัน อยากจะพัฒนาเรื่องศีลธรรม จริยธรรมด้วย แต่พอไปดูรายละเอียดยังไม่เห็นชัด ว่าเรื่องคุณธรรม ศีลธรรม จริยธรรม จะทำกันอย่างไร ผมเห็นแหล่งการเรียนรู้ที่จะไปทำงานเรื่องนี้ 6 แหล่งทั่วประเทศ เท่ากับจำนวนบ่อน ที่ท่านคิดจะเปิดในรอบแรก ผมก็ไม่ทราบว่าจำนวนผู้บริการมันจะมากกว่ากัน สรุปสัญญาณที่เราจะส่งเรื่องศีลธรรมจริยธรรมมันคืออะไร ผมกราบเรียนว่าตรงนี้เป็นเรื่องที่ หลายคนเรียกร้องมาก ว่าวันนี้แนวงทางการพัฒนา คนกังวลมากเรื่องวัตถุนิยม และเขาต้องการแบบอย่างที่ดี การสัญญาณที่ดี เพราะฉะนั้นขอความกรุณาเรื่องที่ไม่มีความเพียงพอในเรื่องนี้ผมอยากเห็นคนที่เป็นผู้นำได้ส่งสัญญาณ อย่าไปคิดตัดสินใจง่ายๆ เพียงแค่ว่าภาษีเข้ารัฐ อย่าคิดเพียงว่าเอาเงินมาช่วยคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง แต่ขอให้สัญญาณที่เราส่งไปว่า สิ่งเหล่านี้เราจะยอมรับ สิ่งเหล่านี้เราจะสื่อสารกับเยาวชนอย่างไรด้วย นี่คือข้อสังเกตของผมในเรื่องของการพัฒนาศีลธรรม จริยธรรม
อีกเรื่องหนึ่งที่เกี่ยวกับเรื่องการศึกษาก็คือเรื่องของกองทุนกู้ยืม ปีนี้ท่านลดเงินกูยืมเพื่อการศึกษาลงไป 2พันล้าน ก็คงมีคนได้รับผลกระทบ แต่ว่าท่านก็คงบอกว่าท่านก็มีกองทุนใหม่ขึ้นมา คือกองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษาที่ผูกติดกับรายได้ในอนาคต (ไอซีแอล) ตั้งงบไว้ 4,800 ล้าน นะครับแล้วก็บอกว่าจะมีคนที่จะมากู้ยืมได้ 4 แสนกว่าคน ซึ่งผมดูแล้วตัวเลข แปลว่าการกู้ยืมก็คงไม่มาก ที่จะท้วงไว้คือแนวคิดแบบไอซีแอล มันก็มีทั้งข้อดี ข้อเสีย แต่หลักคิดจะมาทำทีละนิดๆ คงไม่ได้ หลักคิดของกองทุนแบบนี้คือทั้งใช้ทั้งระบบ ทุกคนมีสิทธิกู้ เพื่อจะจัดระบบงบประมาณให้มหาวิทยาลัย สถาบันการศึกาทั้งหมด ผมจึงไม่เข้าใจว่าตรงนี้ยังไม่ได้ทำ ยังไม่มีการเตรียมเรื่องกฎหมาย การเซ็นสัญญา ผูกมัด โดยการเอาระบบภาษีมาจัดเพื่อหักรายได้ ท่านตั้งงบตัวนี้ไปแล้วยังมีกองทุนกู้ยืมอยู่ การจัดสรรงบปราณมหาวิทยาลัยยังเป็นแบบเดิม จะเป็นอย่างไร จะบริหารอย่างไร นี่คือสิ่งที่อยากจะให้รัฐบาลไปลองดูนะครับว่าจะทำให้เกิดความชัดเจนกับการบริหารตรงนี้
ในส่วนของคนพูดอีกนิดเดียวคือ โครงการ 30 บาท เพราะพูดมาทุกปี เมื่อตอนแถลงนโยบายก็ได้บอกไปแล้วว่าอยากให้โครงการนี้เดินต่อไปได้ น่าจะได้งบต่อหัวซัก 1,700 บาท ได้ 1,500บาท ก็จะเกิดปัญหาในการบริหารจัดการ จะเกิดปัญหาสมองไหล และความชัดเจนและข้อเสนอที่ผมเคยจะช่วยรัฐบาล บอกว่าจริงๆ มันหาเงินมาเพิ่มได้ ผลักดันเถอะครับกฎหมายเรื่องของการกันเงินภาษีเหล้า ภาษีบุหรี่ เหมือนกับจัดให้กับ สสส. มาให้ตรงนี้อย่ามาทำความเข้าใจว่าเรื่องภาษีเหล้าบุหรี่มาช่วยโครงการ 30 บาท เอาแค่กระเป๋าซ้าย กระเป๋าขวาอย่าไปทำอย่างนั้นครับ ควรจะไปหาแหล่งเงินเพิ่ม
2.คือใช้ประโยชน์จากโครงการประกันสังคม ระบบมันลงตัวมากกว่า การตรวจสอบจะถูกต้องกว่า เพราะว่ามันแบ่งผู้ซื้อผู้ขายบริการอย่างนี้ชัดเจนขยายสิทธิอย่างไรให้ผู้ประกันตน จะได้แบ่งเบาภาระคนในโครงการ 30 บาท ไปด้วย อันนี้ก็ยังไม่ได้ทำ และในส่วนของสาธารณสุข จะฝากไว้คือว่าที่จริงแล้ว ผมได้เรียกร้องให้โรงพยาบาลบ้านแพ้วมาทุกปี เขาเป็นองค์กรมหาชน เขาควรจะได้รับงบประมาณเป็นรายการชัดเจนในเอกสารงบประมาณ แต่ว่าพอรัฐบาลมีโครงการ 30 บาทเลยดึงเขากลับสู่จุดเดิม และทำให้แนวทางที่จะเป็นตัวอย่างของความสำเร็จ ขอความกรุณาไปดูแลตรงนั้นด้วย
ก็คงมาถึงนโยบายด้านสุดท้ายครับ คือนโยบายด้านการเมืองเพราะว่าปีนี้มียุทธศาสตร์เรื่องของการส่งเสริมประชาธิปไตยและขบวนการประชาสังคม เงินตั้ง 1,900 ล้านบาท ผมไปดูเอกสารงบประมาณในรายละเอียด ส่วนใหญ่มีการจัดสรรไปในเรื่องของการประชาสัมพันธ์ส่วนใหญ่ ปัญหาคือว่าเรื่องประชาธิปไตย การมีส่วนร่วม เหมือนเรื่องศิลปธรรมจริยะธรรม ต้องเริ่มจากแบบอย่างที่ดี จากคนที่เป็นผู้นำสังคม เพราะฉะนั้นอยากให้มีส่วนร่วม ต้องทำเป็นนโยบายอย่างจริง เรื่องการผลักดันกฎหมาย เรื่องการรับฟังความคิดเห็น ต้องสร้างบรรยากาศให้คนกล้า ที่จะเสนอข้อเท็จจริง วิพากษ์ วิจารณ์ ต้องรับฟัง ไม่ใครเรียกร้องให้ท่านนายกฯ เชื่อฟังใคร แต่ขอให้รับฟัง ตรงนี้เป็นสิ่งที่มีความสำคัญ และท่านต้องเปิดใจกว้าง แล้วอย่าเผยแพร่ค่านิยมผิดๆ เกี่ยวกับประชาธิปไตย ขออนุญาตพูด 2 เรื่องนะครับว่าหยุดเถอะ
1. เรื่องงบประมาณ นายกฯ ไปประชุมนักเรียนอยากได้คอมพิวเตอร์ นายกฯถามว่ามาจากไหน มาจากสุรินทร์เลือกไทยรักไทย ให้ได้ นายกฯ ไปประชุมเชียงใหม่เด็กจากพิษณุโลกบอกลำบากโรงเรียนอยู่ห่างไกล ไม่มีเครื่องอำนวยความสะดวก นายกตอบก็พิษณุโลกไม่เลือกพรรคไทยรักไทยจึงเป็นอย่างนี้ ที่จริงเด็กคนนั้นอยู่เขตไทยรักไทยนะครับ ผมได้ไปตรวจสอบมาแล้ว แต่นั่นไม่ใช่สาระสำคัญ
เราอย่าไปสอนเด็กนะครับว่าเลือกตั้งแล้วผู้บริหารประเทศก็มาแลกผลประโยชน์กัน คนเป็นนายกฯ ต้องเป็นนายกฯของคนทั้งประเทศ ท่านเป็นหัวหน้าพรรคไทยรักไทยท่านพูดได้ แต่ไม่ใช่พูดในฐานะนายกฯ ให้สื่อของรัฐถ่ายทอดสดไปทั่วประเทศ ค่านิยมผิด หลักประชาธิปไตยก็ผิด อย่างนี้เงิน 1,600 ล้านจะไปลบล้างได้หรือไม่ หรือ
2.เกิดปัญหาภายในพรรคท่านไม่เป็นไรใครอึดอัดออกไป ผมให้เงินเดือนได้ อย่าไปให้คนเข้าใจนะครับว่า พวกเรามาเป็นนักการเมือง มาเป็นเพราะว่าเห็นแก่เงิน ที่เขาเรียกร้องตรงนั้นก็ไม่ใช่เงิ น เป็นเรื่องศักดิ์ศรีอะไรกันเนี่ย ผมก็ไม่ทราบ เป็นเรื่องภายในพรรคไทยรักไทย แต่ว่าตรงนี้ท่านต้องทำให้เป็นแบบอย่างและป่วยการที่จะไปทำโครงการอันใหญ่โตอะไรที่จะไปเผยแพร่ค่านิยม เรื่องของประชาธิปไตย ถ้าการพูด การกระทำของเราไม่เป็นแบบอย่างที่ดี และเรื่องประชาธิปไตย สิ่งหนึ่งที่อยากจะขอทำความเข้าใจคือมันผูกพันล้ำลึกกับเรื่องของกระบวนการวิธีการ ความชอบธรรมความถูกต้องด้วย มันอาจจะขัดกับวัฒนธรรมของบางท่านที่คิดว่าสำคัญแต่ผล อยากสำเร็จวิธีใดก็ได้ จะทางธุรกิจ ทางการเมือง เพราะฉะนั้นอันนี้ต้องขอติงไว้ในส่วนของนโยบายการเมืองที่มีการจัดสรรงบประมาณที่เป็นยุทธศาสตร์เรื่องของประชาธิปไตย
ก็คงจะมาสุดท้ายจริงๆ ก็คือว่าจะอย่างไรก็ตาม สิ่งที่ไม่ควรมีใครยอมรับก็คือการทุจริตจากงบประมาณ ผมเชื่อว่าตรงนี้ ใครพูดก็ต้องยืนยันตรงกัน แต่ว่าเราต้องจริงกับเรื่องนี้ เมื่อเกิดเรื่องทุจริตกล้ายางขึ้นจะแก้ตัวเพียงแค่ว่าปัญหาเกิดเพราะว่าผู้แทนยากหาเสียงเรื่องตั้ง เลยเอาไปแจกแล้วเกิดความเสียหาย มาถึงวันนี้บอกว่าไมเป็นไร เดี๋ยวมีการชดเชยให้ ผมคิอว่ามันไม่ควร ถ้ามาตรฐานเกี่ยวกับการจัดการการทุจริตเป็นอย่างนี้ ใครจะเกรงกลัว ทุกคนก็ทำตามใจชอบต่อไป ถูกจับได้ค่อยไปคืนและแก้ตัวต้องเข้าใจนะอยากจะได้คะแนนเสียง
ถ้าเป็นอย่างนี้ธรรมาภิบาลไม่เกิดขึ้น วันนี้เราต้องการธรรมาภิบาลให้เกิดขึ้น รัฐจะต้องเป็นตัวอย่างเพราะฉะนั้นถ้ามาตรฐานธรรมาภิบาลเสื่อมลงๆ ท่านเห็นไหมครับว่าขณะนี้ แม้เอกชนเอง ปัญหาการตกแต่งบัญชีในตลาดหลักทรัพย์ เกี่ยวข้องกับคนในรัฐบาลเกี่ยวข้องด้วย อย่างนี้ก็จะระบาดไปหมด สุดท้ายปัญหาก็สะสมมากขึ้น ปัญหาเช่นนี้เกิดขึ้นทุกสมัย บางยุคอาจจะรุนแรง แต่ว่าหลายครั้งบังเอิญเศรษฐกิจดีคนก็มองไม่เห็นอันตราย บางครั้งก็มีค่านิยมว่าโกงก็ได้ แต่ว่าให้เศรษฐกิจมันดูดี มีอะไรมาให้พวกเราบ้าง แต่ว่าประวัติศาสตร์มันพิสูจน์ครั้งแล้วครั้งเล่าว่า มันไปเป็นเช่นนั้น ที่สุดมันเป็นเชื้อโรคร้าย ที่ลามไปแล้วพังทั้งระบบ ผมกราบเรียนว่าผมได้พูดแต่ต้นว่าผมไม่คิดว่ามันจะมีวิกฤติเศรษฐกิจ และมันคงไม่มีวิกฤติเศรษฐกิจแบบปี 40 ที่มันเกิดปัญหาในส่วนกลางเพราะหนี้ต่างประเทศ แต่วันนี้ถ้าตรงนั้นเหมือนวิกฤติที่เกิดขึ้นเป็นแรงสั้นสะเทือนกระจายออกไป วันนี้มันจะต่างกันก็คือว่ามีแรงสั้นสะเทือนเกิดขึ้นทุกหย่อมหญ้า เรื่องหนี้สิน เรื่องทุจริต ถ้าสะสมรวมกันมันก็จะกลายเป็นวิกฤติอีกแบบ
ผมจึงกราบเรียนว่าการตั้งงบประมาณครั้งนี้ ซึ่งพวกเราก็ต้องติดตามตรวจสอบในรายละเอียด ในวาระที่3 ที่ 2 ต่อไป กระผมจึงเรียกร้องเพียงแค่ว่า อยากให้ท่านใช้การจัดงบประมาณประจำปี ครั้งแรกของรัฐบาลนี้ ตั้งหลักเสียใหม่ ทบทวนในสิ่งที่เคยผิดพลาดมาเป็นบทเรียน ว่าอย่าไปทำอีก เพราะทั้งสิ้นเปลืองและเสียหายกับประชาชน ผมเสียดายว่าหลักที่มันถูกต้องมันควรจะตั้ง ตั้งแต่ 4 ปีแรกของท่าน แต่ไม่เป็นไรจะเริ่มต้นใหม่ผมก็ไม่ว่าอะไร
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 29 มิ.ย. 2548--จบ--