ภาวะอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์
1. การผลิต
1.1 ปริมาณการผลิต
การผลิตปูนซีเมนต์ ไตรมาสที่ 2 ปี 2548 มีปริมาณการผลิตรวม 19.95 ล้านตัน
เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ลดลงร้อยละ 3.76 เนื่องจากในช่วงเดือนเมษายน มีวันหยุดยาวในช่วงเทศกาลสงกรานต์ประกอบกับเดือนมิถุนายนเริ่มเข้าสู่ฤดูฝนการก่อสร้างเริ่มชะลอตัวทำให้ปริมาณการผลิตปูนซีเมนต์ลดลง โดยเป็นการผลิตปูนเม็ด 10.02 ล้านตัน และการผลิตซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) 9.93 ล้านตัน
แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน การผลิตปูนซีเมนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.46 เนื่องจากภาวะธุรกิจก่อสร้างและธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ทำให้มีความต้องการใช้ปูนซีเมนต์เพิ่มขึ้น
ในช่วงครึ่งแรกของปี 2548 มีการผลิตปูนซีเมนต์จำนวน 40.68 ล้านตัน เมื่อเทียบกับ
ช่วงเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.11 เนื่องจากภาวะธุรกิจก่อสร้างและธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ขยายตัวเพิ่มขึ้นโดยมีปัจจัยสนับสนุนหลักทั้งการขยายการลงทุนในภาคเอกชน และการลงทุนในโครงการพัฒนาสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานของภาครัฐ
2. การตลาด
2.1 การจำหน่ายในประเทศ
การจำหน่ายปูนซีเมนต์ ไตรมาสที่ 2 ปี 2548 มีปริมาณ 7.84 ล้านตัน เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนลดลง ร้อยละ 9.26 เนื่องจากในช่วงเดือนเมษายนมีวันหยุดยาวในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ประกอบกับเดือนมิถุนายนเริ่มเข้าสู่ฤดูฝนการก่อสร้างเริ่มชะลอตัว ทำให้ปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ลดลง โดยเป็นการจำหน่ายปูนเม็ด 0.01 ล้านตัน และปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) 7.83 ล้านตัน แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน การจำหน่ายปูนซีเมนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.84 เนื่องจากภาวะธุรกิจก่อสร้างและธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ขยายตัวเพิ่มขึ้น
ในช่วงครึ่งแรกของปี 2548 การจำหน่ายปูนซีเมนต์มีปริมาณ 16.48 ล้านตัน เมื่อเทียบกับ ช่วงเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.71 เนื่องจากภาวะธุรกิจก่อสร้างและธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง มีปัจจัยสนับสนุนทั้งการขยายการลงทุนในภาคเอกชนและการลงทุนในโครงการพัฒนาสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานของรัฐ ทำให้มีความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ในประเทศเพิ่มขึ้น
2.2 การส่งออก
การส่งออกปูนซีเมนต์ ไตรมาสที่ 2 ปี 2548 มีปริมาณการส่งออก 3.76 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 4,567.75 ล้านบาท เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ปริมาณการส่งออกลดลงร้อยละ 11.11 แต่มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 27.84 โดยเป็นการส่งออกปูนเม็ด จำนวน 2.20 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 2,385.41 ล้านบาท และปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) จำนวน 1.56 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 2,182.34 ล้านบาท แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ปริมาณและมูลค่าการส่งออกปูนซีเมนต์เพิ่มขึ้น ร้อยละ 17.87 และ 43.00 ตามลำดับ เนื่องจากความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ในประเทศคู่ค้าขยายตัวเพิ่มขึ้น
การส่งออกปูนซีเมนต์ในช่วงครึ่งแรกของปี 2548 มีปริมาณ 8.00 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 8,140.90 ล้านบาท เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนปริมาณและมูลค่าการส่งออก เพิ่มขึ้นร้อยละ 28.82 และ 35.06 ตามลำดับ เนื่องจากความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ในประเทศคู่ค้าขยายตัวเพิ่มขึ้น สำหรับตลาดส่งออกปูนซีเมนต์ที่สำคัญ ได้แก่เวียดนาม สหรัฐอเมริกา กัมพูชาและบังคลาเทศ
2.3 การนำเข้า
ปูนซีเมนต์เป็นสินค้าที่มีปริมาณการนำเข้าไม่มากนัก การนำเข้าปูนซีเมนต์ไตรมาสที่ 2 ปี 2548 มีจำนวน 3,570.92 ตัน คิดเป็นมูลค่า 22.67 ล้านบาท เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ปริมาณการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 66.68 แต่มูลค่าการนำเข้าลดลงร้อยละ 8.81 โดยเป็นการนำเข้าปูนเม็ด จำนวน 1.39 ตัน คิดเป็นมูลค่า 0.07 ล้านบาท ปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) จำนวน 3,569.53 ตัน คิดเป็นมูลค่า 22.60 ล้านบาท เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ปริมาณการนำเข้าปูนซีเมนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.32 และ มูลค่าการนำเข้าลดลงร้อยละ 27.13 ตามลำดับ
สำหรับการนำเข้าปูนซีเมนต์ในช่วงครึ่งแรกของปี 2548 มีปริมาณ 5,713.24 ตัน คิดเป็นมูลค่า 47.53 ล้านบาท เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนลดลงร้อยละ 19.70 และ 32.54 ตามลำดับ
ทั้งนี้การนำเข้าส่วนใหญ่จะเป็นอะลูมินัสซีเมนต์ ซึ่งไม่สามารถผลิตในประเทศได้ และบางส่วนเป็นการนำเข้าซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ตลาดนำเข้าที่สำคัญ คือไต้หวัน เกาหลีใต้ โครเอเชีย และจีน
5. สรุป
การผลิตและการจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศ ไตรมาสที่ 2 ปี 2548 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน เนื่องจากในเดือนเมษายนมีวันหยุดยาวในช่วงเทศกาลสงกรานต์ และเดือนมิถุนายนเริ่มเข้าสู่ฤดูฝน การก่อสร้างเริ่มชะลอตัว ทำให้ปริมาณการผลิตและการจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศลดลงเมื่อเทียบกับต้นปี ซึ่งถือว่าเป็นไปตามฤดูกาล แต่เมื่อพิจารณาในครึ่งแรก ปี 2548 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน การผลิตและการจำหน่ายในประเทศเพิ่มสูงขึ้น ตามการขยายตัวของภาวะธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และการก่อสร้าง แม้ว่าจะมีปัจจัยลบที่มีผลกระทบต่อธุรกิจ เช่น อัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น ราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้ราคาวัตถุดิบ และค่าขนส่งปรับสูงขึ้น แต่ภาคอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้างยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะโครงการก่อสร้างสาธารณูปโภคของภาครัฐ ส่วนในภาคเอกชนความต้องการของผู้บริโภคยังอยู่ในระดับดี เนื่องจากขณะนี้ผู้บริโภคส่วนใหญ่ซื้อที่อยู่อาศัยเพื่ออยู่อาศัยมากกว่าที่จะซื้อเพื่อเก็งกำไร ซึ่งอัตราดอกเบี้ยแม้จะอยู่ในช่วงขาขึ้นแต่ยังอยู่ในระดับต่ำ ขณะที่สถาบันการเงินบางแห่งก็ปล่อยเงินกู้เต็มจำนวน ทำให้ความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ยังคงขยายตัวได้ดี สำหรับในด้านราคายังอยู่ในระดับปกติ โดยส่วนหนึ่งเกิดจากการแข่งขันกันทางด้านราคา แนวโน้มราคาในระยะต่อไปคาดว่าจะปรับเพิ่มอย่างค่อยเป็นค่อยไป เนื่องจากมีแรงกดดันจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น
สำหรับตลาดต่างประเทศ การส่งออกปูนซีเมนต์ในไตรมาส 2 มีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ของประเทศคู่ค้าเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกา ในช่วงครึ่งแรกของปี 2548 มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สำหรับแนวโน้มการส่งออกขึ้นอยู่กับอุปสงค์ของประเทศคู่ค้า
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
1. การผลิต
1.1 ปริมาณการผลิต
การผลิตปูนซีเมนต์ ไตรมาสที่ 2 ปี 2548 มีปริมาณการผลิตรวม 19.95 ล้านตัน
เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ลดลงร้อยละ 3.76 เนื่องจากในช่วงเดือนเมษายน มีวันหยุดยาวในช่วงเทศกาลสงกรานต์ประกอบกับเดือนมิถุนายนเริ่มเข้าสู่ฤดูฝนการก่อสร้างเริ่มชะลอตัวทำให้ปริมาณการผลิตปูนซีเมนต์ลดลง โดยเป็นการผลิตปูนเม็ด 10.02 ล้านตัน และการผลิตซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) 9.93 ล้านตัน
แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน การผลิตปูนซีเมนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.46 เนื่องจากภาวะธุรกิจก่อสร้างและธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ทำให้มีความต้องการใช้ปูนซีเมนต์เพิ่มขึ้น
ในช่วงครึ่งแรกของปี 2548 มีการผลิตปูนซีเมนต์จำนวน 40.68 ล้านตัน เมื่อเทียบกับ
ช่วงเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.11 เนื่องจากภาวะธุรกิจก่อสร้างและธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ขยายตัวเพิ่มขึ้นโดยมีปัจจัยสนับสนุนหลักทั้งการขยายการลงทุนในภาคเอกชน และการลงทุนในโครงการพัฒนาสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานของภาครัฐ
2. การตลาด
2.1 การจำหน่ายในประเทศ
การจำหน่ายปูนซีเมนต์ ไตรมาสที่ 2 ปี 2548 มีปริมาณ 7.84 ล้านตัน เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนลดลง ร้อยละ 9.26 เนื่องจากในช่วงเดือนเมษายนมีวันหยุดยาวในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ประกอบกับเดือนมิถุนายนเริ่มเข้าสู่ฤดูฝนการก่อสร้างเริ่มชะลอตัว ทำให้ปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ลดลง โดยเป็นการจำหน่ายปูนเม็ด 0.01 ล้านตัน และปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) 7.83 ล้านตัน แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน การจำหน่ายปูนซีเมนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.84 เนื่องจากภาวะธุรกิจก่อสร้างและธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ขยายตัวเพิ่มขึ้น
ในช่วงครึ่งแรกของปี 2548 การจำหน่ายปูนซีเมนต์มีปริมาณ 16.48 ล้านตัน เมื่อเทียบกับ ช่วงเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.71 เนื่องจากภาวะธุรกิจก่อสร้างและธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง มีปัจจัยสนับสนุนทั้งการขยายการลงทุนในภาคเอกชนและการลงทุนในโครงการพัฒนาสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานของรัฐ ทำให้มีความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ในประเทศเพิ่มขึ้น
2.2 การส่งออก
การส่งออกปูนซีเมนต์ ไตรมาสที่ 2 ปี 2548 มีปริมาณการส่งออก 3.76 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 4,567.75 ล้านบาท เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ปริมาณการส่งออกลดลงร้อยละ 11.11 แต่มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 27.84 โดยเป็นการส่งออกปูนเม็ด จำนวน 2.20 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 2,385.41 ล้านบาท และปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) จำนวน 1.56 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 2,182.34 ล้านบาท แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ปริมาณและมูลค่าการส่งออกปูนซีเมนต์เพิ่มขึ้น ร้อยละ 17.87 และ 43.00 ตามลำดับ เนื่องจากความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ในประเทศคู่ค้าขยายตัวเพิ่มขึ้น
การส่งออกปูนซีเมนต์ในช่วงครึ่งแรกของปี 2548 มีปริมาณ 8.00 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 8,140.90 ล้านบาท เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนปริมาณและมูลค่าการส่งออก เพิ่มขึ้นร้อยละ 28.82 และ 35.06 ตามลำดับ เนื่องจากความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ในประเทศคู่ค้าขยายตัวเพิ่มขึ้น สำหรับตลาดส่งออกปูนซีเมนต์ที่สำคัญ ได้แก่เวียดนาม สหรัฐอเมริกา กัมพูชาและบังคลาเทศ
2.3 การนำเข้า
ปูนซีเมนต์เป็นสินค้าที่มีปริมาณการนำเข้าไม่มากนัก การนำเข้าปูนซีเมนต์ไตรมาสที่ 2 ปี 2548 มีจำนวน 3,570.92 ตัน คิดเป็นมูลค่า 22.67 ล้านบาท เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ปริมาณการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 66.68 แต่มูลค่าการนำเข้าลดลงร้อยละ 8.81 โดยเป็นการนำเข้าปูนเม็ด จำนวน 1.39 ตัน คิดเป็นมูลค่า 0.07 ล้านบาท ปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) จำนวน 3,569.53 ตัน คิดเป็นมูลค่า 22.60 ล้านบาท เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ปริมาณการนำเข้าปูนซีเมนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.32 และ มูลค่าการนำเข้าลดลงร้อยละ 27.13 ตามลำดับ
สำหรับการนำเข้าปูนซีเมนต์ในช่วงครึ่งแรกของปี 2548 มีปริมาณ 5,713.24 ตัน คิดเป็นมูลค่า 47.53 ล้านบาท เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนลดลงร้อยละ 19.70 และ 32.54 ตามลำดับ
ทั้งนี้การนำเข้าส่วนใหญ่จะเป็นอะลูมินัสซีเมนต์ ซึ่งไม่สามารถผลิตในประเทศได้ และบางส่วนเป็นการนำเข้าซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ตลาดนำเข้าที่สำคัญ คือไต้หวัน เกาหลีใต้ โครเอเชีย และจีน
5. สรุป
การผลิตและการจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศ ไตรมาสที่ 2 ปี 2548 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน เนื่องจากในเดือนเมษายนมีวันหยุดยาวในช่วงเทศกาลสงกรานต์ และเดือนมิถุนายนเริ่มเข้าสู่ฤดูฝน การก่อสร้างเริ่มชะลอตัว ทำให้ปริมาณการผลิตและการจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศลดลงเมื่อเทียบกับต้นปี ซึ่งถือว่าเป็นไปตามฤดูกาล แต่เมื่อพิจารณาในครึ่งแรก ปี 2548 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน การผลิตและการจำหน่ายในประเทศเพิ่มสูงขึ้น ตามการขยายตัวของภาวะธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และการก่อสร้าง แม้ว่าจะมีปัจจัยลบที่มีผลกระทบต่อธุรกิจ เช่น อัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น ราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้ราคาวัตถุดิบ และค่าขนส่งปรับสูงขึ้น แต่ภาคอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้างยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะโครงการก่อสร้างสาธารณูปโภคของภาครัฐ ส่วนในภาคเอกชนความต้องการของผู้บริโภคยังอยู่ในระดับดี เนื่องจากขณะนี้ผู้บริโภคส่วนใหญ่ซื้อที่อยู่อาศัยเพื่ออยู่อาศัยมากกว่าที่จะซื้อเพื่อเก็งกำไร ซึ่งอัตราดอกเบี้ยแม้จะอยู่ในช่วงขาขึ้นแต่ยังอยู่ในระดับต่ำ ขณะที่สถาบันการเงินบางแห่งก็ปล่อยเงินกู้เต็มจำนวน ทำให้ความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ยังคงขยายตัวได้ดี สำหรับในด้านราคายังอยู่ในระดับปกติ โดยส่วนหนึ่งเกิดจากการแข่งขันกันทางด้านราคา แนวโน้มราคาในระยะต่อไปคาดว่าจะปรับเพิ่มอย่างค่อยเป็นค่อยไป เนื่องจากมีแรงกดดันจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น
สำหรับตลาดต่างประเทศ การส่งออกปูนซีเมนต์ในไตรมาส 2 มีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ของประเทศคู่ค้าเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกา ในช่วงครึ่งแรกของปี 2548 มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สำหรับแนวโน้มการส่งออกขึ้นอยู่กับอุปสงค์ของประเทศคู่ค้า
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-