ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท. จะทยอยปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ม.ร.ว. ปรีดิยาธร เทวกุล ผู้ว่าการ ธปท.
เปิดเผยว่า การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน ในวันที่ 19 ต.ค.นี้ จะทยอยปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย
หรือดอกเบี้ยอาร์/พี 14 วัน แต่ยังไม่สามารถระบุได้ว่าจะปรับขึ้นร้อยละ 0.25 หรือ 0.50 โดยจะพิจารณาจาก
หลายปัจจัย เพราะอัตราดอกเบี้ยของ ธ.พาณิชย์มี 2 ขา คือ ดอกเบี้ยเงินกู้ และเงินฝาก รวมทั้งตลาดพันธบัตร
ของไทยในตอนนี้เริ่มขยายตัวอย่างรวดเร็ว มีจำนวนพันธบัตรเพิ่มขึ้นมากทั้งระยะสั้นและระยะยาว จึงต้องดูอัตรา
ดอกเบี้ยพันธบัตรประกอบด้วย ส่วนอัตราเงินเฟ้อคาดว่าเฉลี่ยทั้งปีจะอยู่ที่ร้อยละ 4-4.5 ซึ่งจะเป็นปัจจัยหนึ่งใน
การกำหนดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของ ธปท. ด้วย เนื่องจาก ธปท. ต้องการให้อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงเป็นบวกได้
ภายในกลางปี 49 ในส่วนของการทยอยปรับขึ้นดอกเบี้ยของ ธ.พาณิชย์เป็นเรื่องที่ ธปท. คาดการณ์ไว้แล้ว และหากอัตราดอกเบี้ยเงินฝากในกลางปีหน้าจะปรับขึ้นไปอยู่ที่ร้อยละ 4 ก็ถือว่าเป็นเรื่องที่ดีต่อผู้ฝากเงิน ทั้งนี้ ที่ผ่าน
มาอัตราดอกเบี้ยถือว่าต่ำไปเมื่อเทียบกับภาวะเศรษฐกิจที่ดีขึ้น ซึ่งแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยขาขึ้นที่เกิดขึ้นในตอนนี้ถือว่า
เป็นอัตราที่เหมาะสมแล้ว และการขึ้นอัตราดอกเบี้ยในขณะนี้เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจและสภาพคล่องที่ปรับตัวลดลง (ผู้จัดการรายวัน, โลกวันนี้)
2. ธปท. หามาตรการจัดการบริษัทที่ทำทุจริตการให้บริการซื้อสินค้าผ่านบัตรเครดิต ม.ร.ว. ปรีดิ
ยาธร เทวกุล ผู้ว่าการ ธปท. ปาฐกถาพิเศษในการสัมมนาของ ธปท. และสถาบันกฎหมายอาญา สนง.อัยการสูง
สุด เรื่อง “แนวทางพัฒนามาตรการบังคับใช้กฎหมายสถาบันการเงิน” ว่า ขณะนี้ผู้ประกอบการสินเชื่อส่วนบุคคลที่ไม่
ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจมีการทำทุจริตผ่านการให้บริการซื้อสินค้าผ่านบัตรเครดิตที่เห็นมีการทำอยู่มีถึงหลายร้อย
ราย โดยลักษณะของการทุจริตผู้ให้กู้จะให้ผู้ขอกู้รูดบัตรเครดิตเพื่อซื้อสินค้าจากร้านค้า แต่แทนที่จะได้รับสินค้าก็เอา
เงินให้ผู้ขอกู้แทน โดยจำนวนเงินนี้จะมีมูลค่าต่ำกว่าภาระที่จะต้องจ่ายคืนเงินที่รูดบัตรเครดิตไป เป็นการผลักภาระ
การเรียกเก็บหนี้สินของผู้กู้ไปที่ผู้ออกบัตรเครดิต ซึ่งขณะนี้ ธปท. ได้ส่งเรื่องไปให้ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบเข้ามาจัดการ
หลายรายแล้ว โดยผู้ทุจริตที่พบมีทั้งที่เป็นบริษัทประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลและบุคคลธรรมดา (กรุงเทพ
ธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน, ไทยรัฐ)
3. ธปท. ต้องการให้ฟ้องร้องผู้บริหารและสถาบันการเงินได้ทันทีเมื่อพบว่าเกิดความผิดขึ้นจริง ม.
ร.ว. ปรีดิยาธร เทวกุล ผู้ว่าการ ธปท. กล่าวว่า ธปท. ต้องการให้มีการฟ้องร้องผู้บริหารและสถาบันการเงินได้
ทันทีเมื่อพบว่าเกิดความผิดขึ้นจริง ไม่ควรรอจนกว่าจะพบว่าเงินกู้ดังกล่าวกลายเป็นหนี้เสียที่ไม่สามารถชำระคืนได้
แล้วจึงเริ่มเข้าสู่ขั้นตอนการฟ้องร้อง ซึ่งต่อไป ธปท. จะเริ่มดำเนินการฟ้องร้องตั้งแต่พบว่ามีการเอาประโยชน์เข้า
ตัวเองแล้ว จะไม่รอจนชำระหนี้ได้หรือไม่ ซึ่งการฟ้องร้องเกี่ยวกับคดีการเงินและสถาบันการเงินปัจจุบันมีความซับ
ซ้อนขึ้น จำเป็นต้องอาศัยการร่วมมือตีความกฎหมายให้เป็นไปในทางเดียวกัน ทั้งนี้ หลังเกิดปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจ
ธปท. ได้มีมาตรการเข้มงวดในการปล่อยกู้ของสถาบันการเงิน โดยกำหนดให้ธนาคารปล่อยกู้ให้บุคคลที่เกี่ยวข้องไม่
เกินร้อยละ 25 ของยอดหนี้ และต้องไม่เกินร้อยละ 5 ของทุนธนาคาร และไม่เกินร้อยละ 50 ของทุนจดทะเบียนที่
เหลือ เพื่อป้องกันไม่ให้มีการปล่อยกู้ให้กับพวกพ้อง นอกจากนี้ ยังเข้มงวดให้มีการเปิดเผยข้อมูลในงบดุลหรือมีหมาย
เหตุท้ายงบดุล เพื่อป้องกันการตกแต่งบัญชีและติดตามตรวจสอบกรณีการใช้ชื่อบุคคลอื่นกู้เงิน เพื่อป้องกันปัญหาเพราะ
เคยมีบทเรียนจากในอดีต (โพสต์ทูเดย์, ไทยรัฐ)
4. ก.คลังจะเชิญ ธปท. หารือเพื่อร่วมกันหาแนวทางการแก้ไข พรบ. ประกอบธุรกิจสถาบันการ
เงิน นายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ รอง ผอ.สนง.เศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยว่า ภายใน 1-2 สัปดาห์
นี้ ก.คลังจะเชิญตัวแทน ธปท. หารือเพื่อร่วมกันหาแนวทางการแก้ไข พรบ.ประกอบธุรกิจสถาบันการเงิน สำหรับ
สาระสำคัญที่จะมีการหารือคือ ประเด็นแรก การถอดถอนใบอนุญาตการประกอบธุรกิจสถาบันการเงิน โดยการ
กำหนดความชัดเจนของเงินกองทุนว่าระดับใดที่ทางการควรจะเข้าไปแทรกแซง ประเด็นที่สอง บทบาทของกอง
ทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ในอนาคตหลังมีการจัดตั้งสถาบันประกันเงินฝาก และพิจารณาประเด็นว่า ธ.พาณิชย์สามารถยก
เลิกกิจการได้หรือไม่ ประเด็นต่อมา การแบ่งแยกอำนาจหน้าที่ในการกำกับดูแลสถาบันการเงินให้มีความชัดเจน
ระหว่าง ธปท. และ ก.คลัง ใครจะเป็นผู้กำกับดูแลสถาบันการเงิน นอกจากนี้ ยังจะมีการหารือเรื่องภาระใน
การพิสูจน์ความผิดระหว่างทางการหรือจำเลย โดยจะเป็นการเปิดโอกาสให้สถาบันการเงินที่ตกเป็นจำเลยได้ใช้
หลักฐานเข้าชี้แจงความผิดที่ถูกกล่าวหา ซึ่งจะเชิญผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายเข้าร่วมหารือด้วย เพื่อลดปัญหาการ
พิจารณาคดีเศรษฐกิจที่ทำได้ยากและใช้เวลายืดเยื้อจากสาเหตุข้อมูลหลักฐานประกอบคดี (โพสต์ทูเดย์)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนาหรือ OECD ปรับลดประมาณการการขยาย
ตัวทางเศรษฐกิจของอังกฤษในปีนี้เหลือร้อยละ 1.7 ต่อปี แต่ไม่มีความจำเป็นที่ ธ.กลางอังกฤษต้องลดอัตรา
ดอกเบี้ยอีก รายงานจากลอนดอน เมื่อ 12 ต.ค.48 องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนาหรือ
OECD ปรับลดประมาณการการขยายตัวทางเศรษฐกิจของอังกฤษในปีนี้เหลือร้อยละ 1.7 ต่อปีจากประมาณการครั้ง
ก่อนที่ร้อยละ 2.4 ต่อปี เมื่อเดือน มิ.ย.48 ที่ผ่านมา แต่ยังคงประมาณการการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปีหน้าไว้ที่
ร้อยละ 2.4 ต่อปี ในขณะที่รัฐบาลคาดว่าเศรษฐกิจในปีนี้จะขยายตัวระหว่างร้อยละ 2.0 —2.5 ต่อปี อย่างไรก็ดี
แม้ว่าเศรษฐกิจจะชะลอตัวลง แต่ OECD ให้ความเห็นว่า ธ.กลางอังกฤษไม่มีความจำเป็นต้องปรับลดอัตราดอกเบี้ย
นโยบายลงอีก เนื่องจากผลผลิตของประเทศในขณะนี้อยู่ในระดับใกล้เคียงกับกำลังการผลิตที่มีอยู่และมีตัวชี้วัดระยะ
สั้นว่าเศรษฐกิจจะกลับมาขยายตัวดังเดิม ในส่วนของอัตราเงินเฟ้อในปีนี้ OECD คาดว่าจะอยู่ที่เฉลี่ยร้อยละ 2.1
ต่อปี เพิ่มขึ้นจากประมาณการครั้งก่อนเมื่อกลางปีนี้ แต่ยังคงประมาณการอัตราเงินเฟ้อสำหรับปีหน้าไว้ที่ร้อยละ
2.1 ต่อปี (รอยเตอร์)
2. จำนวนผู้ขอสวัสดิการว่างงานของอังกฤษในเดือน ก.ย.48 เพิ่มขึ้นมากกว่าถึง 2 เท่าจากที่คาด
การณ์ไว้ที่จำนวน 8,200 คน รายงานจากลอนดอน เมื่อ 12 ต.ค.48 สำนักงานสถิติอังกฤษเปิดเผยว่า จำนวนผู้
ขอสวัสดิการว่างงานของอังกฤษในเดือน ก.ย.48 เพิ่มขึ้นจำนวน 8,200 คน ซึ่งสูงกว่าถึง 2 เท่าจากที่นัก
วิเคราะห์คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ ขณะที่ในเดือน ส.ค.48 เมื่อทบทวนตัวเลขแล้วเพิ่มขึ้น 2,700 คน จากจำนวน
1,600 คน สำหรับรายได้เฉลี่ยต่อปีในรอบ 3 เดือนถึงเดือน ส.ค.48 ยังคงขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 4.2 สอดคล้อง
กับที่คาดการณ์ไว้ ขณะที่หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์เห็นว่า จากตัวเลขดังกล่าวดูเหมือนว่าจะยังไม่กระทบกับตลาดแรง
งานในส่วนของค่าจ้างแรงงานที่จะสูงขึ้นในขณะนี้ ด้านผู้ว่าการ ธ.กลางอังกฤษ (Mervyn King) กล่าวเมื่อวัน
อังคารที่ผ่านมาว่า อัตราค่าจ้างยังอยู่ในระดับที่เหมาะสม แต่เศรษฐกิจของอังกฤษในขณะนี้คงอยู่ในภาวะชะลอตัว
ไม่สดใสเท่าใดนัก ทำให้คาดว่าอาจมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในเร็ว ๆ นี้ ทั้งนี้ ธ.กลางอังกฤษได้ปรับลด
อัตราดอกเบี้ยเป็นครั้งแรกในรอบ 2 ปีในการประชุมเมื่อเดือน ส.ค.ที่ผ่านมา ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจของอังกฤษ
ที่ชะลอตัว (รอยเตอร์)
3. อัตราการว่างงานของเกาหลีใต้เพิ่มขึ้นในเดือน ก.ย.48 รายงานจากโซลเมื่อ 13 ต.ค.48
The National Statistical Office เปิดเผยว่า อัตราการว่างงานของเกาหลีใต้ในเดือน ก.ย.48 เพิ่มขึ้น
ที่ระดับร้อยละ 3.8 สูงสุดในรอบ 4 ปีนับตั้งแต่เดือน เม.ย.44 ซึ่งอัตราการว่างงานอยู่ในระดับร้อยละ 4.0 และ
เป็นการเพิ่มขึ้นเหนือความคาดหมายของนักเศรษฐศาสตร์ที่คาดว่า อัตราการว่างงานจะไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือน
ก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับร้อยละ 3.7 สอดคล้องกับจำนวนแรงงานในเดือนเดียวกัน ซึ่งลดลงต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน ก.
พ.48 เป็นจำนวน 22.84 พัน ล.คน จากจำนวน 22.88 พัน ล.คนในเดือนก่อนหน้า ทั้งนี้ อัตราการว่างงานที่
เพิ่มขึ้นเป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของจำนวนแรงงานที่สมัครเข้าทำงานในตำแหน่งชั่วคราว (ลูกจ้างชั่วคราว) อนึ่ง
อัตราการว่างงานได้มีการเคลื่อนไหวอยู่ในระหว่างร้อยละ 3.6-3.8 นับตั้งแต่เดือน เม.ย.47 เนื่องจากการฟื้น
ตัวของความต้องการภายในประเทศไม่ชัดเจน อย่างไรก็ตาม นักเศรษฐศาสตร์กล่าวว่า ตัวเลขอัตราการว่างงาน
ในเดือน ก.ย.นี้ ยังไม่สามารถบ่งชี้ได้ว่าการใช้จ่ายภาคเอกชนจะหยุดชะงักลง แต่สะท้อนว่าการฟื้นตัวจะยังคงไม่
เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในเวลาอันใกล้นี้ (รอยเตอร์)
4. รัฐบาลเกาหลีใต้คาดว่าการส่งออกของเกาหลีใต้ในปีนี้จะสูงกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ รายงาน
จากโซล เมื่อ 12 ต.ค.48 ประธานาธิบดีเกาหลีใต้ (Roh Moo-hyun) เปิดเผยว่า การส่งออกของเกาหลีใต้ใน
ปีนี้คาดว่าน่าจะสูงกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ที่จำนวน 285 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. หลังจากที่มูลค่าการส่งออกในปี
47 มีจำนวน 253.85 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ หรือเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 31 ขณะที่ 9 เดือนแรกของปีนี้ขยายตัวร้อย
ละ 12.4 เมื่อเทียบจากปีก่อนหน้า แม้ว่าระดับราคาน้ำมันจะพุ่งทะยานสูงขึ้นต่อเนื่องก็ตาม นอกจากนี้
ประธานาธิบดียังกล่าวเพิ่มเติมว่า การเติบโตทางเศรษฐกิจของเกาหลีใต้ยังคงขยายตัวต่อเนื่อง จากการฟื้นตัวด้าน
ตลาดแรงงาน การลงทุนในสินทรัพย์ประเภททุน และการบริโภคภาคเอกชน รวมถึงการส่งออกที่เพิ่มสูงขึ้น ทั้งนี้
การเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวเกิดขึ้นภายหลังจากที่ ธ.กลางเกาหลีใต้ปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็นครั้งแรกใน
รอบมากกว่า 3 ปี (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 13 ต.ค. 48 12 ต.ค. 48 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 40.996 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 40.8241/41.1124 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.47653 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 709.20/ 13.73 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 9,150/9,250 9,200/9,300 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 55.29 55.37 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 27.34*/24.19 27.34*/24.19 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับลด 40 สตางค์ เมื่อ 10 ต.ค. 48
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ธปท. จะทยอยปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ม.ร.ว. ปรีดิยาธร เทวกุล ผู้ว่าการ ธปท.
เปิดเผยว่า การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน ในวันที่ 19 ต.ค.นี้ จะทยอยปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย
หรือดอกเบี้ยอาร์/พี 14 วัน แต่ยังไม่สามารถระบุได้ว่าจะปรับขึ้นร้อยละ 0.25 หรือ 0.50 โดยจะพิจารณาจาก
หลายปัจจัย เพราะอัตราดอกเบี้ยของ ธ.พาณิชย์มี 2 ขา คือ ดอกเบี้ยเงินกู้ และเงินฝาก รวมทั้งตลาดพันธบัตร
ของไทยในตอนนี้เริ่มขยายตัวอย่างรวดเร็ว มีจำนวนพันธบัตรเพิ่มขึ้นมากทั้งระยะสั้นและระยะยาว จึงต้องดูอัตรา
ดอกเบี้ยพันธบัตรประกอบด้วย ส่วนอัตราเงินเฟ้อคาดว่าเฉลี่ยทั้งปีจะอยู่ที่ร้อยละ 4-4.5 ซึ่งจะเป็นปัจจัยหนึ่งใน
การกำหนดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของ ธปท. ด้วย เนื่องจาก ธปท. ต้องการให้อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงเป็นบวกได้
ภายในกลางปี 49 ในส่วนของการทยอยปรับขึ้นดอกเบี้ยของ ธ.พาณิชย์เป็นเรื่องที่ ธปท. คาดการณ์ไว้แล้ว และหากอัตราดอกเบี้ยเงินฝากในกลางปีหน้าจะปรับขึ้นไปอยู่ที่ร้อยละ 4 ก็ถือว่าเป็นเรื่องที่ดีต่อผู้ฝากเงิน ทั้งนี้ ที่ผ่าน
มาอัตราดอกเบี้ยถือว่าต่ำไปเมื่อเทียบกับภาวะเศรษฐกิจที่ดีขึ้น ซึ่งแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยขาขึ้นที่เกิดขึ้นในตอนนี้ถือว่า
เป็นอัตราที่เหมาะสมแล้ว และการขึ้นอัตราดอกเบี้ยในขณะนี้เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจและสภาพคล่องที่ปรับตัวลดลง (ผู้จัดการรายวัน, โลกวันนี้)
2. ธปท. หามาตรการจัดการบริษัทที่ทำทุจริตการให้บริการซื้อสินค้าผ่านบัตรเครดิต ม.ร.ว. ปรีดิ
ยาธร เทวกุล ผู้ว่าการ ธปท. ปาฐกถาพิเศษในการสัมมนาของ ธปท. และสถาบันกฎหมายอาญา สนง.อัยการสูง
สุด เรื่อง “แนวทางพัฒนามาตรการบังคับใช้กฎหมายสถาบันการเงิน” ว่า ขณะนี้ผู้ประกอบการสินเชื่อส่วนบุคคลที่ไม่
ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจมีการทำทุจริตผ่านการให้บริการซื้อสินค้าผ่านบัตรเครดิตที่เห็นมีการทำอยู่มีถึงหลายร้อย
ราย โดยลักษณะของการทุจริตผู้ให้กู้จะให้ผู้ขอกู้รูดบัตรเครดิตเพื่อซื้อสินค้าจากร้านค้า แต่แทนที่จะได้รับสินค้าก็เอา
เงินให้ผู้ขอกู้แทน โดยจำนวนเงินนี้จะมีมูลค่าต่ำกว่าภาระที่จะต้องจ่ายคืนเงินที่รูดบัตรเครดิตไป เป็นการผลักภาระ
การเรียกเก็บหนี้สินของผู้กู้ไปที่ผู้ออกบัตรเครดิต ซึ่งขณะนี้ ธปท. ได้ส่งเรื่องไปให้ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบเข้ามาจัดการ
หลายรายแล้ว โดยผู้ทุจริตที่พบมีทั้งที่เป็นบริษัทประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลและบุคคลธรรมดา (กรุงเทพ
ธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน, ไทยรัฐ)
3. ธปท. ต้องการให้ฟ้องร้องผู้บริหารและสถาบันการเงินได้ทันทีเมื่อพบว่าเกิดความผิดขึ้นจริง ม.
ร.ว. ปรีดิยาธร เทวกุล ผู้ว่าการ ธปท. กล่าวว่า ธปท. ต้องการให้มีการฟ้องร้องผู้บริหารและสถาบันการเงินได้
ทันทีเมื่อพบว่าเกิดความผิดขึ้นจริง ไม่ควรรอจนกว่าจะพบว่าเงินกู้ดังกล่าวกลายเป็นหนี้เสียที่ไม่สามารถชำระคืนได้
แล้วจึงเริ่มเข้าสู่ขั้นตอนการฟ้องร้อง ซึ่งต่อไป ธปท. จะเริ่มดำเนินการฟ้องร้องตั้งแต่พบว่ามีการเอาประโยชน์เข้า
ตัวเองแล้ว จะไม่รอจนชำระหนี้ได้หรือไม่ ซึ่งการฟ้องร้องเกี่ยวกับคดีการเงินและสถาบันการเงินปัจจุบันมีความซับ
ซ้อนขึ้น จำเป็นต้องอาศัยการร่วมมือตีความกฎหมายให้เป็นไปในทางเดียวกัน ทั้งนี้ หลังเกิดปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจ
ธปท. ได้มีมาตรการเข้มงวดในการปล่อยกู้ของสถาบันการเงิน โดยกำหนดให้ธนาคารปล่อยกู้ให้บุคคลที่เกี่ยวข้องไม่
เกินร้อยละ 25 ของยอดหนี้ และต้องไม่เกินร้อยละ 5 ของทุนธนาคาร และไม่เกินร้อยละ 50 ของทุนจดทะเบียนที่
เหลือ เพื่อป้องกันไม่ให้มีการปล่อยกู้ให้กับพวกพ้อง นอกจากนี้ ยังเข้มงวดให้มีการเปิดเผยข้อมูลในงบดุลหรือมีหมาย
เหตุท้ายงบดุล เพื่อป้องกันการตกแต่งบัญชีและติดตามตรวจสอบกรณีการใช้ชื่อบุคคลอื่นกู้เงิน เพื่อป้องกันปัญหาเพราะ
เคยมีบทเรียนจากในอดีต (โพสต์ทูเดย์, ไทยรัฐ)
4. ก.คลังจะเชิญ ธปท. หารือเพื่อร่วมกันหาแนวทางการแก้ไข พรบ. ประกอบธุรกิจสถาบันการ
เงิน นายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ รอง ผอ.สนง.เศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยว่า ภายใน 1-2 สัปดาห์
นี้ ก.คลังจะเชิญตัวแทน ธปท. หารือเพื่อร่วมกันหาแนวทางการแก้ไข พรบ.ประกอบธุรกิจสถาบันการเงิน สำหรับ
สาระสำคัญที่จะมีการหารือคือ ประเด็นแรก การถอดถอนใบอนุญาตการประกอบธุรกิจสถาบันการเงิน โดยการ
กำหนดความชัดเจนของเงินกองทุนว่าระดับใดที่ทางการควรจะเข้าไปแทรกแซง ประเด็นที่สอง บทบาทของกอง
ทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ในอนาคตหลังมีการจัดตั้งสถาบันประกันเงินฝาก และพิจารณาประเด็นว่า ธ.พาณิชย์สามารถยก
เลิกกิจการได้หรือไม่ ประเด็นต่อมา การแบ่งแยกอำนาจหน้าที่ในการกำกับดูแลสถาบันการเงินให้มีความชัดเจน
ระหว่าง ธปท. และ ก.คลัง ใครจะเป็นผู้กำกับดูแลสถาบันการเงิน นอกจากนี้ ยังจะมีการหารือเรื่องภาระใน
การพิสูจน์ความผิดระหว่างทางการหรือจำเลย โดยจะเป็นการเปิดโอกาสให้สถาบันการเงินที่ตกเป็นจำเลยได้ใช้
หลักฐานเข้าชี้แจงความผิดที่ถูกกล่าวหา ซึ่งจะเชิญผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายเข้าร่วมหารือด้วย เพื่อลดปัญหาการ
พิจารณาคดีเศรษฐกิจที่ทำได้ยากและใช้เวลายืดเยื้อจากสาเหตุข้อมูลหลักฐานประกอบคดี (โพสต์ทูเดย์)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนาหรือ OECD ปรับลดประมาณการการขยาย
ตัวทางเศรษฐกิจของอังกฤษในปีนี้เหลือร้อยละ 1.7 ต่อปี แต่ไม่มีความจำเป็นที่ ธ.กลางอังกฤษต้องลดอัตรา
ดอกเบี้ยอีก รายงานจากลอนดอน เมื่อ 12 ต.ค.48 องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนาหรือ
OECD ปรับลดประมาณการการขยายตัวทางเศรษฐกิจของอังกฤษในปีนี้เหลือร้อยละ 1.7 ต่อปีจากประมาณการครั้ง
ก่อนที่ร้อยละ 2.4 ต่อปี เมื่อเดือน มิ.ย.48 ที่ผ่านมา แต่ยังคงประมาณการการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปีหน้าไว้ที่
ร้อยละ 2.4 ต่อปี ในขณะที่รัฐบาลคาดว่าเศรษฐกิจในปีนี้จะขยายตัวระหว่างร้อยละ 2.0 —2.5 ต่อปี อย่างไรก็ดี
แม้ว่าเศรษฐกิจจะชะลอตัวลง แต่ OECD ให้ความเห็นว่า ธ.กลางอังกฤษไม่มีความจำเป็นต้องปรับลดอัตราดอกเบี้ย
นโยบายลงอีก เนื่องจากผลผลิตของประเทศในขณะนี้อยู่ในระดับใกล้เคียงกับกำลังการผลิตที่มีอยู่และมีตัวชี้วัดระยะ
สั้นว่าเศรษฐกิจจะกลับมาขยายตัวดังเดิม ในส่วนของอัตราเงินเฟ้อในปีนี้ OECD คาดว่าจะอยู่ที่เฉลี่ยร้อยละ 2.1
ต่อปี เพิ่มขึ้นจากประมาณการครั้งก่อนเมื่อกลางปีนี้ แต่ยังคงประมาณการอัตราเงินเฟ้อสำหรับปีหน้าไว้ที่ร้อยละ
2.1 ต่อปี (รอยเตอร์)
2. จำนวนผู้ขอสวัสดิการว่างงานของอังกฤษในเดือน ก.ย.48 เพิ่มขึ้นมากกว่าถึง 2 เท่าจากที่คาด
การณ์ไว้ที่จำนวน 8,200 คน รายงานจากลอนดอน เมื่อ 12 ต.ค.48 สำนักงานสถิติอังกฤษเปิดเผยว่า จำนวนผู้
ขอสวัสดิการว่างงานของอังกฤษในเดือน ก.ย.48 เพิ่มขึ้นจำนวน 8,200 คน ซึ่งสูงกว่าถึง 2 เท่าจากที่นัก
วิเคราะห์คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ ขณะที่ในเดือน ส.ค.48 เมื่อทบทวนตัวเลขแล้วเพิ่มขึ้น 2,700 คน จากจำนวน
1,600 คน สำหรับรายได้เฉลี่ยต่อปีในรอบ 3 เดือนถึงเดือน ส.ค.48 ยังคงขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 4.2 สอดคล้อง
กับที่คาดการณ์ไว้ ขณะที่หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์เห็นว่า จากตัวเลขดังกล่าวดูเหมือนว่าจะยังไม่กระทบกับตลาดแรง
งานในส่วนของค่าจ้างแรงงานที่จะสูงขึ้นในขณะนี้ ด้านผู้ว่าการ ธ.กลางอังกฤษ (Mervyn King) กล่าวเมื่อวัน
อังคารที่ผ่านมาว่า อัตราค่าจ้างยังอยู่ในระดับที่เหมาะสม แต่เศรษฐกิจของอังกฤษในขณะนี้คงอยู่ในภาวะชะลอตัว
ไม่สดใสเท่าใดนัก ทำให้คาดว่าอาจมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในเร็ว ๆ นี้ ทั้งนี้ ธ.กลางอังกฤษได้ปรับลด
อัตราดอกเบี้ยเป็นครั้งแรกในรอบ 2 ปีในการประชุมเมื่อเดือน ส.ค.ที่ผ่านมา ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจของอังกฤษ
ที่ชะลอตัว (รอยเตอร์)
3. อัตราการว่างงานของเกาหลีใต้เพิ่มขึ้นในเดือน ก.ย.48 รายงานจากโซลเมื่อ 13 ต.ค.48
The National Statistical Office เปิดเผยว่า อัตราการว่างงานของเกาหลีใต้ในเดือน ก.ย.48 เพิ่มขึ้น
ที่ระดับร้อยละ 3.8 สูงสุดในรอบ 4 ปีนับตั้งแต่เดือน เม.ย.44 ซึ่งอัตราการว่างงานอยู่ในระดับร้อยละ 4.0 และ
เป็นการเพิ่มขึ้นเหนือความคาดหมายของนักเศรษฐศาสตร์ที่คาดว่า อัตราการว่างงานจะไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือน
ก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับร้อยละ 3.7 สอดคล้องกับจำนวนแรงงานในเดือนเดียวกัน ซึ่งลดลงต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน ก.
พ.48 เป็นจำนวน 22.84 พัน ล.คน จากจำนวน 22.88 พัน ล.คนในเดือนก่อนหน้า ทั้งนี้ อัตราการว่างงานที่
เพิ่มขึ้นเป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของจำนวนแรงงานที่สมัครเข้าทำงานในตำแหน่งชั่วคราว (ลูกจ้างชั่วคราว) อนึ่ง
อัตราการว่างงานได้มีการเคลื่อนไหวอยู่ในระหว่างร้อยละ 3.6-3.8 นับตั้งแต่เดือน เม.ย.47 เนื่องจากการฟื้น
ตัวของความต้องการภายในประเทศไม่ชัดเจน อย่างไรก็ตาม นักเศรษฐศาสตร์กล่าวว่า ตัวเลขอัตราการว่างงาน
ในเดือน ก.ย.นี้ ยังไม่สามารถบ่งชี้ได้ว่าการใช้จ่ายภาคเอกชนจะหยุดชะงักลง แต่สะท้อนว่าการฟื้นตัวจะยังคงไม่
เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในเวลาอันใกล้นี้ (รอยเตอร์)
4. รัฐบาลเกาหลีใต้คาดว่าการส่งออกของเกาหลีใต้ในปีนี้จะสูงกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ รายงาน
จากโซล เมื่อ 12 ต.ค.48 ประธานาธิบดีเกาหลีใต้ (Roh Moo-hyun) เปิดเผยว่า การส่งออกของเกาหลีใต้ใน
ปีนี้คาดว่าน่าจะสูงกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ที่จำนวน 285 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. หลังจากที่มูลค่าการส่งออกในปี
47 มีจำนวน 253.85 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ หรือเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 31 ขณะที่ 9 เดือนแรกของปีนี้ขยายตัวร้อย
ละ 12.4 เมื่อเทียบจากปีก่อนหน้า แม้ว่าระดับราคาน้ำมันจะพุ่งทะยานสูงขึ้นต่อเนื่องก็ตาม นอกจากนี้
ประธานาธิบดียังกล่าวเพิ่มเติมว่า การเติบโตทางเศรษฐกิจของเกาหลีใต้ยังคงขยายตัวต่อเนื่อง จากการฟื้นตัวด้าน
ตลาดแรงงาน การลงทุนในสินทรัพย์ประเภททุน และการบริโภคภาคเอกชน รวมถึงการส่งออกที่เพิ่มสูงขึ้น ทั้งนี้
การเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวเกิดขึ้นภายหลังจากที่ ธ.กลางเกาหลีใต้ปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็นครั้งแรกใน
รอบมากกว่า 3 ปี (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 13 ต.ค. 48 12 ต.ค. 48 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 40.996 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 40.8241/41.1124 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.47653 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 709.20/ 13.73 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 9,150/9,250 9,200/9,300 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 55.29 55.37 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 27.34*/24.19 27.34*/24.19 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับลด 40 สตางค์ เมื่อ 10 ต.ค. 48
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--