กรุงเทพ--7 ม.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อวันที่ 6 มกราคม 2548 นายสีหศักดิ์ พวงเกตุแก้ว อธิบดีกรมสารนิเทศ และโฆษกกระทรวงการต่างประเทศได้ให้สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ทางไกลจากกรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย เกี่ยวกับความคืบหน้าของผลการประชุมผู้นำอาเซียนว่าด้วยผลกระทบจากธรณีพิบัติภัย (The special ASEAN Leaders’ Meeting on Aftermath of Earthquake and Tsunami) ณ กรุงจาการ์ตา ในภาคเช้า สาระสำคัญสรุปได้ดังนี้
1. ที่ประชุมเห็นว่าภัยพิบัติจากคลื่นยักษ์นี้เป็นภัยพิบัติที่มีความรุนแรงอย่างมากที่ประชาคมโลกไม่เคยประสบในลักษณะแบบนี้มาก่อน ทุกฝ่ายจึงได้ย้ำว่ากรณีนี้เป็นเรื่องที่ประชาคมโลกจะต้องร่วมมือกัน เพื่อช่วยเหลือประเทศที่ประสบภัย ในการนี้ ที่ประชุมฯ ได้เน้นการดำเนินการในสามเรื่อง ดังนี้
1.1 การให้ความช่วยเหลือเพื่อบรรเทาภัยพิบัติ (relief assistance) ที่ประชุมฯ
เห็นว่าเป็นเรื่องที่เร่งด่วนในการนำความช่วยเหลือไปสู่ประชาชนที่ประสบภัยและสหประชาชาติควรเป็นผู้ประสานเพื่อระดมความช่วยเหลือแก่ประเทศที่ประสบปัญหา ที่ประชุมฯ เห็นว่าประเทศไทยสามารถควบคุมสถานการณ์ได้ แต่ในขณะที่บางประเทศ เช่น ศรีลังกา อินเดีย ยังมีปัญหาในการบรรเทาภัยพิบัติ โดยไม่สามารถเข้าถึงผู้ประสบภัยได้
1.2 การฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศที่ถูกกระทบ (economic reconstruction) ซึ่งได้แก่ การฟื้นฟูบูรณะโครงสร้างพื้นฐานที่ได้ถูกทำลายลง เช่น การสร้างระบบสาธารณูปโภคพื้นฐาน การสร้างโรงเรียน การสร้างงานหรืออาชีพ ตลอดจนการฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องดำเนินการในระยะต่อไปเพื่อให้ประชาชนที่ถูกผลกระทบจะได้กลับสู่ภาวะปกติ ทั้งนี้ ธนาคารโลก และธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชียจะต้องเข้ามามีบทบาทในเรื่องนี้ด้วย
1.3 การจัดตั้งระบบเตือนภัยในระดับภูมิภาค (regional early warning system)ทุกประเทศต่างเห็นความสำคัญของการจัดตั้งระบบป้องกันหรือเตือนภัยล่วงหน้า
2. ในช่วงพิธีเปิดการประชุม นายโคฟี อันนัน เลขาธิการสหประชาชาติ ได้เรียกร้องให้นานาประเทศบริจาคเงินช่วยเหลือเป็นจำนวน 977 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อระดมความช่วยเหลือบรรเทาภัยพิบัติ โดยสิ่งที่จำเป็นอย่างเร่งด่วนที่สุดในเวลานี้ คือ อาหาร การฟื้นฟูเกษตร การปรับปรุงระบบสาธารณสุข และการสร้างที่อยู่อาศัยชั่วคราว ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องเร่งดำเนินการให้แก่ประเทศที่ถูกผลกระทบ
3. ภายหลังพิธีเปิดการประชุมฯ ประเทศที่ได้รับผลกระทบได้นำเสนอรายงานเกี่ยวกับสถานการณ์ในประเทศของตน ซึ่งได้แก่ อินโดนีเซีย พม่า มาเลเซีย ศรีลังกา และไทย ในส่วนของประเทศไทย ไทยได้นำเสนอพร้อมภาพวีดีโอ เพื่ออธิบายสภาพของความเสียหายและการระดมความช่วยเหลือ การที่นายกรัฐมนตรีไปตรวจพื้นที่และการที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศประสานกับประเทศต่างๆ เพื่อช่วยเหลือคนต่างชาติ ทั้งนี้ สถานการณ์ของประเทศไทยต่างจากประเทศอื่นๆ เนื่องจากสถานที่ที่ได้รับผลกระทบนั้นเป็นสถานที่ท่องเที่ยว นอกจากนั้น ที่ประชุมฯ เห็นว่าการจัดตั้งศูนย์ประสานงาน และการชันสูตรศพของประเทศไทยเป็นประสบการณ์ที่น่าเป็นประโยชน์ต่อประเทศอื่นๆในอนาคต
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้กล่าวถึงเหตุการณ์และบทเรียนต่างๆที่ไทยได้รับจากเหตุการณ์ครั้งนี้ ในการนี้ ที่ประชุมฯ ได้ตอบสนองอย่างดีต่อข้อเสนอของไทยที่เป็นรูปธรรมในสามระดับ คือ
3.1 การเพิ่มขีดความสามารถของสหประชาชาติในการระดมความช่วยเหลือใน
การเข้าไปดำเนินการเมื่อเกิดภัยพิบัติอย่างทันที และการปฎิบัติหน้าที่ในการให้ความช่วยเหลือของสหประชาชาติจะต้องมีความสำคัญเท่ากับการรักษาสันติภาพ โดยสหประชาชาติจะต้องมีกลไกในการดูแลเรื่องนี้ พร้อมด้วยงบประมาณและกำลังคนสนับสนุน
3.2 การจัดตั้งระบบเตือนภัยในระดับภูมิภาค ประเทศไทยเสนอว่าประเทศ
ไทยมีศูนย์เพื่อการเตรียมพร้อมสำหรับภัยพิบัติในเอเชีย (Asian Disaster Preparedness Center) จัดตั้งตั้งแต่ปี 1986 ขณะนี้มีฐานะเป็นมูลนิธิและมีประเทศสมาชิก 30 ประเทศ
รัฐบาลไทยกำลังยกระดับเป็นองค์การระหว่างประเทศ ไทยเห็นว่าศูนย์นี้น่าจะเป็นแกนกลางและต้องขยายสมาชิกและขอบเขตของการดำเนินงานของศูนย์ ประเทศส่วนใหญ่ได้สนับสนุนหรือตอบสนองข้อเสนอของไทยในเรื่องนี้
3.3 ประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับรัฐมนตรีเพื่อหารือแนวทางในการจัดตั้งระบบเตือนภัยในระดับภูมิภาค ในชั้นนี้ ไทยกำหนดวันการประชุมฯ เป็นวันที่ 28 มกราคม 2548 และได้แจ้งให้ที่ประชุมฯ ทราบ โดยที่ประชุมฯ ได้สนับสนุนในหลักการ ซึ่งเป็นเรื่องที่จะต้องมีการหารือกันระหว่างประเทศต่างๆ เพิ่มเติมต่อไป
4. ในการประชุมครั้งนี้ ประเทศอื่นๆ ที่อยู่ในฐานะที่จะให้ความช่วยเหลือได้เข้าประชุมด้วย โดยประเทศต่างๆ ดังกล่าวได้กล่าวท่าทีของตน และประกาศการให้เงินช่วยเหลือ เช่น ออสเตรเลียได้ประกาศให้เงิน 60 ล้านเหรียญออสเตรเลีย สหรัฐจะให้เงินช่วยเหลือ 350 ล้านเหรียญสหรัฐ เกาหลีใต้จะให้ 50 ล้านเหรียญสหรัฐ และนายกรัฐมนตรีจีนกล่าวว่าได้จัดสรรเงินเพิ่มอีก 30 ล้านหยวน และยังจะให้ความช่วยเหลือในรูปสิ่งของ หน่วยกู้ภัย และการตรวจดีเอ็นเอ หลังจากนั้น การประชุมในภาคบ่ายจะหารือในเรื่องของแนวทางในการบรรเทาภัยพิบัติและการฟื้นฟูและการจัดตั้งศูนย์เตือนภัยในภูมิภาค
5. ประเทศอินโดนีเซียพยายามผลักดันและหลายประเทศสนับสนุนในหลักการ คือ การเสนอให้มีการระงับการจ่ายหนี้ต่างประเทศเป็นการชั่วคราวของประเทศที่ถูกผลกระทบ ซึ่งประเทศที่เป็นเจ้าหนี้จะต้องพิจารณาเป็นรายๆไป ซึ่งน่าจะเป็นมาตรการที่ออกมาจากการประชุมฯ ครั้งนี้ ในส่วนที่เกี่ยวกับการฟื้นฟูทางเศรษฐกิจของประเทศที่ได้รับผลกระทบ
6. อธิบดีกรมสารนิเทศได้กล่าวเพิ่มเติมว่า ในการเดินทางไปประชุมครั้งนี้
ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้มีการพบหารือทวิภาคีกับนายโคฟี่ อันนัน เลขาธิการสหประชาชาติด้วย เป็นเวลา 20 นาที โดยนายโคฟีได้ชื่นชมประเทศไทยว่าสามารถรับมือกับภัยพิบัติและสามารถพึ่งตนเองในเรื่องของงบประมาณและบุคคลากร และสังเกตว่าสถานการณ์ของไทยได้แตกต่างจากประเทศอื่นๆ เนื่องจากมีชาวต่างประเทศเสียชีวิตจำนวนมาก ในด้านการให้ความช่วยเหลือและข้อมูลแก่ชาวต่างประเทศ คงต้องถือว่าประเทศไทยได้ประสบความสำเร็จ และโดยที่สหประชาชาติมีสำนักงานในระดับภูมิภาค เช่น ESCAP และสำนักงานชำนัญพิเศษ เช่น FAO WHO และ UNICEF ในประเทศไทยอยู่เป็นจำนวนมาก เลขาธิการสหประชาชาติจึงประสงค์จะให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางในการประสานความช่วยเหลือประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศแจ้งว่าฝ่ายไทยยินดีสนับสนุน
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
เมื่อวันที่ 6 มกราคม 2548 นายสีหศักดิ์ พวงเกตุแก้ว อธิบดีกรมสารนิเทศ และโฆษกกระทรวงการต่างประเทศได้ให้สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ทางไกลจากกรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย เกี่ยวกับความคืบหน้าของผลการประชุมผู้นำอาเซียนว่าด้วยผลกระทบจากธรณีพิบัติภัย (The special ASEAN Leaders’ Meeting on Aftermath of Earthquake and Tsunami) ณ กรุงจาการ์ตา ในภาคเช้า สาระสำคัญสรุปได้ดังนี้
1. ที่ประชุมเห็นว่าภัยพิบัติจากคลื่นยักษ์นี้เป็นภัยพิบัติที่มีความรุนแรงอย่างมากที่ประชาคมโลกไม่เคยประสบในลักษณะแบบนี้มาก่อน ทุกฝ่ายจึงได้ย้ำว่ากรณีนี้เป็นเรื่องที่ประชาคมโลกจะต้องร่วมมือกัน เพื่อช่วยเหลือประเทศที่ประสบภัย ในการนี้ ที่ประชุมฯ ได้เน้นการดำเนินการในสามเรื่อง ดังนี้
1.1 การให้ความช่วยเหลือเพื่อบรรเทาภัยพิบัติ (relief assistance) ที่ประชุมฯ
เห็นว่าเป็นเรื่องที่เร่งด่วนในการนำความช่วยเหลือไปสู่ประชาชนที่ประสบภัยและสหประชาชาติควรเป็นผู้ประสานเพื่อระดมความช่วยเหลือแก่ประเทศที่ประสบปัญหา ที่ประชุมฯ เห็นว่าประเทศไทยสามารถควบคุมสถานการณ์ได้ แต่ในขณะที่บางประเทศ เช่น ศรีลังกา อินเดีย ยังมีปัญหาในการบรรเทาภัยพิบัติ โดยไม่สามารถเข้าถึงผู้ประสบภัยได้
1.2 การฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศที่ถูกกระทบ (economic reconstruction) ซึ่งได้แก่ การฟื้นฟูบูรณะโครงสร้างพื้นฐานที่ได้ถูกทำลายลง เช่น การสร้างระบบสาธารณูปโภคพื้นฐาน การสร้างโรงเรียน การสร้างงานหรืออาชีพ ตลอดจนการฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องดำเนินการในระยะต่อไปเพื่อให้ประชาชนที่ถูกผลกระทบจะได้กลับสู่ภาวะปกติ ทั้งนี้ ธนาคารโลก และธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชียจะต้องเข้ามามีบทบาทในเรื่องนี้ด้วย
1.3 การจัดตั้งระบบเตือนภัยในระดับภูมิภาค (regional early warning system)ทุกประเทศต่างเห็นความสำคัญของการจัดตั้งระบบป้องกันหรือเตือนภัยล่วงหน้า
2. ในช่วงพิธีเปิดการประชุม นายโคฟี อันนัน เลขาธิการสหประชาชาติ ได้เรียกร้องให้นานาประเทศบริจาคเงินช่วยเหลือเป็นจำนวน 977 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อระดมความช่วยเหลือบรรเทาภัยพิบัติ โดยสิ่งที่จำเป็นอย่างเร่งด่วนที่สุดในเวลานี้ คือ อาหาร การฟื้นฟูเกษตร การปรับปรุงระบบสาธารณสุข และการสร้างที่อยู่อาศัยชั่วคราว ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องเร่งดำเนินการให้แก่ประเทศที่ถูกผลกระทบ
3. ภายหลังพิธีเปิดการประชุมฯ ประเทศที่ได้รับผลกระทบได้นำเสนอรายงานเกี่ยวกับสถานการณ์ในประเทศของตน ซึ่งได้แก่ อินโดนีเซีย พม่า มาเลเซีย ศรีลังกา และไทย ในส่วนของประเทศไทย ไทยได้นำเสนอพร้อมภาพวีดีโอ เพื่ออธิบายสภาพของความเสียหายและการระดมความช่วยเหลือ การที่นายกรัฐมนตรีไปตรวจพื้นที่และการที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศประสานกับประเทศต่างๆ เพื่อช่วยเหลือคนต่างชาติ ทั้งนี้ สถานการณ์ของประเทศไทยต่างจากประเทศอื่นๆ เนื่องจากสถานที่ที่ได้รับผลกระทบนั้นเป็นสถานที่ท่องเที่ยว นอกจากนั้น ที่ประชุมฯ เห็นว่าการจัดตั้งศูนย์ประสานงาน และการชันสูตรศพของประเทศไทยเป็นประสบการณ์ที่น่าเป็นประโยชน์ต่อประเทศอื่นๆในอนาคต
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้กล่าวถึงเหตุการณ์และบทเรียนต่างๆที่ไทยได้รับจากเหตุการณ์ครั้งนี้ ในการนี้ ที่ประชุมฯ ได้ตอบสนองอย่างดีต่อข้อเสนอของไทยที่เป็นรูปธรรมในสามระดับ คือ
3.1 การเพิ่มขีดความสามารถของสหประชาชาติในการระดมความช่วยเหลือใน
การเข้าไปดำเนินการเมื่อเกิดภัยพิบัติอย่างทันที และการปฎิบัติหน้าที่ในการให้ความช่วยเหลือของสหประชาชาติจะต้องมีความสำคัญเท่ากับการรักษาสันติภาพ โดยสหประชาชาติจะต้องมีกลไกในการดูแลเรื่องนี้ พร้อมด้วยงบประมาณและกำลังคนสนับสนุน
3.2 การจัดตั้งระบบเตือนภัยในระดับภูมิภาค ประเทศไทยเสนอว่าประเทศ
ไทยมีศูนย์เพื่อการเตรียมพร้อมสำหรับภัยพิบัติในเอเชีย (Asian Disaster Preparedness Center) จัดตั้งตั้งแต่ปี 1986 ขณะนี้มีฐานะเป็นมูลนิธิและมีประเทศสมาชิก 30 ประเทศ
รัฐบาลไทยกำลังยกระดับเป็นองค์การระหว่างประเทศ ไทยเห็นว่าศูนย์นี้น่าจะเป็นแกนกลางและต้องขยายสมาชิกและขอบเขตของการดำเนินงานของศูนย์ ประเทศส่วนใหญ่ได้สนับสนุนหรือตอบสนองข้อเสนอของไทยในเรื่องนี้
3.3 ประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับรัฐมนตรีเพื่อหารือแนวทางในการจัดตั้งระบบเตือนภัยในระดับภูมิภาค ในชั้นนี้ ไทยกำหนดวันการประชุมฯ เป็นวันที่ 28 มกราคม 2548 และได้แจ้งให้ที่ประชุมฯ ทราบ โดยที่ประชุมฯ ได้สนับสนุนในหลักการ ซึ่งเป็นเรื่องที่จะต้องมีการหารือกันระหว่างประเทศต่างๆ เพิ่มเติมต่อไป
4. ในการประชุมครั้งนี้ ประเทศอื่นๆ ที่อยู่ในฐานะที่จะให้ความช่วยเหลือได้เข้าประชุมด้วย โดยประเทศต่างๆ ดังกล่าวได้กล่าวท่าทีของตน และประกาศการให้เงินช่วยเหลือ เช่น ออสเตรเลียได้ประกาศให้เงิน 60 ล้านเหรียญออสเตรเลีย สหรัฐจะให้เงินช่วยเหลือ 350 ล้านเหรียญสหรัฐ เกาหลีใต้จะให้ 50 ล้านเหรียญสหรัฐ และนายกรัฐมนตรีจีนกล่าวว่าได้จัดสรรเงินเพิ่มอีก 30 ล้านหยวน และยังจะให้ความช่วยเหลือในรูปสิ่งของ หน่วยกู้ภัย และการตรวจดีเอ็นเอ หลังจากนั้น การประชุมในภาคบ่ายจะหารือในเรื่องของแนวทางในการบรรเทาภัยพิบัติและการฟื้นฟูและการจัดตั้งศูนย์เตือนภัยในภูมิภาค
5. ประเทศอินโดนีเซียพยายามผลักดันและหลายประเทศสนับสนุนในหลักการ คือ การเสนอให้มีการระงับการจ่ายหนี้ต่างประเทศเป็นการชั่วคราวของประเทศที่ถูกผลกระทบ ซึ่งประเทศที่เป็นเจ้าหนี้จะต้องพิจารณาเป็นรายๆไป ซึ่งน่าจะเป็นมาตรการที่ออกมาจากการประชุมฯ ครั้งนี้ ในส่วนที่เกี่ยวกับการฟื้นฟูทางเศรษฐกิจของประเทศที่ได้รับผลกระทบ
6. อธิบดีกรมสารนิเทศได้กล่าวเพิ่มเติมว่า ในการเดินทางไปประชุมครั้งนี้
ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้มีการพบหารือทวิภาคีกับนายโคฟี่ อันนัน เลขาธิการสหประชาชาติด้วย เป็นเวลา 20 นาที โดยนายโคฟีได้ชื่นชมประเทศไทยว่าสามารถรับมือกับภัยพิบัติและสามารถพึ่งตนเองในเรื่องของงบประมาณและบุคคลากร และสังเกตว่าสถานการณ์ของไทยได้แตกต่างจากประเทศอื่นๆ เนื่องจากมีชาวต่างประเทศเสียชีวิตจำนวนมาก ในด้านการให้ความช่วยเหลือและข้อมูลแก่ชาวต่างประเทศ คงต้องถือว่าประเทศไทยได้ประสบความสำเร็จ และโดยที่สหประชาชาติมีสำนักงานในระดับภูมิภาค เช่น ESCAP และสำนักงานชำนัญพิเศษ เช่น FAO WHO และ UNICEF ในประเทศไทยอยู่เป็นจำนวนมาก เลขาธิการสหประชาชาติจึงประสงค์จะให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางในการประสานความช่วยเหลือประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศแจ้งว่าฝ่ายไทยยินดีสนับสนุน
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-