ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. สาขานอนแบงก์ ณ สิ้นเดือน ก.ย.48 มีจำนวนเพิ่มขึ้นร้อยละ 58.20 เทียบต่อเดือน รายงาน
จากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยถึงสถิติสำนักงานของบริษัทที่ประกอบธุรกิจบัตรเครดิตที่ไม่ใช่สถาบัน
การเงิน (นอนแบงก์) ณ สิ้นเดือน ก.ย.48 ว่า นอนแบงก์ 12 บริษัท มีสาขารวมทั้งสิ้น 318 สาขา เพิ่มขึ้น
117 สาขา หรือร้อยละ 58.20 เมื่อเทียบกับเดือน มิ.ย.ที่มีเพียง 201 สาขา ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นที่รวดเร็วมาก
หากเทียบกับการเพิ่มขึ้นในเดือน มิ.ย.เทียบกับ มี.ค.ที่เพิ่มขึ้นเพียง 4 สาขาเท่านั้น ทั้งนี้ บริษัทที่มีสำนักงานสาขา
เพิ่มขึ้นมากที่สุดได้แก่ บ.เซทเทเลม (ประเทศไทย) เพิ่มขึ้นร้อยละ 189.13 ขณะที่ นางธาริษา วัฒนเกส รองผู้
ว่าการ ธปท. กล่าวว่า ไม่กังวลกับจำนวนสาขานอนแบงก์ที่เพิ่มขึ้นมาก เพราะนอนแบงก์ไม่ได้มีสาขาไว้ทำหน้าที่รับ
ฝากเงินจากประชาชนเหมือนกับ ธพ. และ ธปท.ก็ไม่ได้มีหน้าที่ดูแลเรื่องสาขานอนแบงก์ อีกทั้งเน้นดูปริมาณธุรก
รรมการปล่อยสินเชื่อมากกว่า (เดลินิวส์, มติชน)
2. ก.คลังประเมินแก้ไขหนี้สินภาคประชาชนมียอดเงินต้นและดอกเบี้ยรวม 2.7 หมื่นล้านบาท รมว.
คลัง เปิดเผยว่า หลักเกณฑ์การปรับหนี้นั้น ต้องเป็นหนี้ที่มีการฟ้องร้องหรือเข้าสู่กระบวนการศาลก่อน 30 มิ.ย.48
และเฉพาะหนี้เงินต้นที่กู้มาไม่เกิน 2 แสนบาทต่อราย หรือจำนวน 7 พันล้านบาท ซึ่งมีผู้กู้อยู่ 1 แสนราย แต่เมื่อ
รวมอัตราดอกเบี้ยจากเงินต้น 2 หมื่นล้านบาทแล้วพบว่า มียอดรวม 27,000 ล้านบาท ทั้งนี้ อัตราดอกเบี้ยมีจำนวน
สูงกว่าเงินต้นถึง 3 เท่า หรือร้อยละ 300 ของเงินต้น โดยลูกหนี้กลุ่มดังกล่าวเป็นลูกหนี้ที่เกิดขึ้นในช่วงวิกฤติ
เศรษฐกิจแต่ไม่ได้รับการดูแล ดังนั้น จึงต้องมีกลไกลของรัฐเข้าไปช่วยแก้ไข ซึ่งมีแนวโน้มที่จะตั้งบริษัทบริหาร
สินทรัพย์สถาบันการเงิน (เอเอ็มซี) เข้ารับซื้อหนี้ออกมาจากสถาบันการเงินและเอเอ็มซีของเอกชน อย่างไรก็
ตาม แนวทางการแก้ไขจะไม่ใช้เงินงบประมาณอย่างแน่นอน ส่วนจะเป็นแนวทางใดนั้น ต้องให้ธนาคารแห่งประเทศ
ไทย (ธปท.) ผ่อนปรนเงื่อนไขบางอย่างเพื่อที่จะเข้าไปเจรจาแก้ไขหนี้ได้ ขณะที่ผู้ว่าการ ธปท.กล่าวว่า ธปท.มี
แนวทางในการเร่งลดหนี้โดยให้บรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน (บบส.) และเอเอ็มซีที่กองทุนเพื่อการฟื้นฟู
และพัฒนาระบบสถาบันการเงิน คือ บริษัทบริหารสินทรัพย์กรุงเทพพาณิชย์การ (บกส.) และบริษัทบริหารสินทรัพย์
สุขุมวิท ลดมูลหนี้ให้แก่ลูกค้าลงร้อยละ 50 และกำหนดให้ผ่อนชำระให้หมดภายใน 6 เดือน (กรุงเทพธุรกิจ, ผู้
จัดการรายวัน, โลกวันนี้, โพสต์ทูเดย์, เดลินิวส์, บ้านเมือง, มติชน, สยามรัฐ, แนวหน้า)
3. ก.คลัง เตรียมจัดตั้งคณะกรรมการ 3 ชุด เพื่อติดตามระบบเศรษฐกิจมหภาค รมว.คลัง เปิดเผย
ว่า ได้มอบหมายให้ ปลัด ก.คลังดำเนินการจัดตั้งคณะกรรมการ 3 ชุด คือ ชุดแรกทำหน้าที่ในการจัดทำระบบ
ข้อมูล เพื่อให้การบริหารโครงการลงทุนเมกะโปรเจ็กเดินหน้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยติดตามการใช้จ่ายเงินลง
ทุนอย่างใกล้ชิด ชุดที่ 2 จะทำหน้าที่ในการติดตามภาวะเศรษฐกิจมหภาค โดยมีผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจเข้ามาเพิ่ม
เติม เช่น ดร.วีรพงษ์ รามางกูร ที่ปรึกษา รมว.คลัง ดร.สุชาติ ธาดาดำรงเวช ที่ปรึกษารมว.คลัง และ ดร.
ฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) เป็นต้น ส่วนคณะกรรมการชุด
ที่ 3 จะทำหน้าที่ในการปรับปรุงโครงสร้างภาษีทั้งหมด โดยมอบหมายให้ ปลัด ก.คลังเป็นประธานคณะกรรมการ
ทั้งนี้ เนื่องจากในระยะ 10 ปีข้างหน้า อัตราภาษีนำเข้าสินค้าจะเหลือร้อยละ 0 ดังนั้น จึงควรมีการปรับปรุงโครง
สร้างภาษีที่เป็นระบบมากขึ้น (กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน)
4. ยอดเบิกจ่ายเงินงบประมาณปี 48 จากคลังร้อยละ 93.79 สูงสุดในรอบ 10 ปี อธิบดีกรมบัญชี
กลาง เปิดเผยภายหลังประชุมคณะกรรมการติดตามผลการใช้จ่ายเงินภาครัฐในปีงบประมาณ 48 ว่า ตั้งแต่ต้นปีงบ
ประมาณจนถึงสิ้นปีงบประมาณในเดือน ก.ย.48 มีการเบิกจ่ายเงินจากคลังไปแล้วจำนวน 1,103,522 ล้านบาท
คิดเป็นร้อยละ 93.79 ของวงเงินงบประมาณ 1,176,600 ล้านบาท สูงกว่าเป้าหมายที่วางไว้ 1,082,500 ล้าน
บาท หรือร้อยละ 92 จำนวน 21,022 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 1.79 ทั้งนี้ ผลการเบิกจ่ายงบประมาณดัง
กล่าวอยู่ในระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะรายจ่ายลงทุนวงเงินงบประมาณ
276,664 ล้านบาท มีการเบิกจ่าย 206,726 ล้านบาท สูงกว่างบประมาณที่วางไว้ 199,199 ล้านบาท จำนวน
7,527 ล้านบาท หรือร้อยละ 2.72 อย่างไรก็ตาม การเบิกจ่ายเงินงบประมาณในภาพรวมจำนวน 1,250,000
ล้านบาท ได้มีการเบิกจ่ายไปแล้วทั้งสิ้น 1,139,775 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 91.18 ของวงเงินงบประมาณรวม
(ผู้จัดการรายวัน, กรุงเทพธุรกิจ)
5. ก.พาณิชย์ขึ้นบัญชีควบคุมสินค้าเพิ่มเติมอีก 11 รายการ รมว.พาณิชย์ เปิดเผยภายหลังการประชุม
คณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการว่า ที่ประชุมได้มีการพิจารณารายการสินค้าที่จำเป็นต่อการครองชีพ
ของประชาชน และด้วยความพยายามที่จะดูแลไม่ให้สินค้ามีการปรับราคาเพิ่มขึ้นจนเกินไป จึงได้มีมติให้เพิ่มรายการ
สินค้าควบคุมอีก 11 รายการ ได้แก่ 1) นมข้น นมคืนรูป นมแปลงไขมัน ครีมเทียมข้นหวาน 2) อาหารในภาชนะ
บรรจุที่ปิดสนิท 3) น้ำยาซักฟอก 4) ผลิตภัณฑ์ล้างจาน 5) ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดห้องน้ำ 6) ผ้าอนามัย 7) เยื่อ
กระดาษ 8) กระดาษทำลูกฟูก 9) กระดาษพิมพ์และเขียน 10) ยางรถยนต์ ยางรถจักรยานยนต์ และ 11) เนื้อ
ไก่ เนื้อไก่ชำแหละ (ผู้จัดการรายวัน, โลกวันนี้, สยามรัฐ, ข่าวสด, ไทยรัฐ)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. กิจกรรมของภาคการผลิตและบริการทั่วโลกในเดือน ก.ย.48 ขยายตัวต่ำสุดในรอบ 2 ปี
รายงานจากกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เมื่อวันที่ 5 ต.ค.48 All-Industry Output Index ในเดือน ก.
ย.48 ที่ร่วมกันจัดทำโดย JP Morgan และสถาบันวิจัยหลายแห่ง ลดลงอยู่ที่ระดับ 54.8 จากระดับ 58.1 ใน
เดือนก่อน นับเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน ก.ค.46 แต่ยังอยู่ที่ระดับเหนือกว่าเส้น 50 ที่แสดงว่ายังอยู่ในระดับที่มี
การเติบโต โดยสาเหตุของการลดลงครั้งนี้มาจากการที่ภาคบริการของ สรอ. มีอัตราการเติบโตชะลอตัวลงอย่าง
มากจากผลกระทบของพายุเฮอริเคนและราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น ทั้งนี้ การจัดทำดัชนีดังกล่าวเป็นการรวบรวม
ข้อมูลจากการสำรวจของภาคการผลิตและบริการจากหลายประเทศ เช่น สรอ. เยอรมนี ฝรั่งเศส อังกฤษ อิตาลี
จีน และรัสเซีย แต่หากดูเฉพาะภาคการผลิตแล้ว การที่ภาคการผลิตของ สรอ. ที่เพิ่มขึ้นอย่างมากส่งผลให้ดัชนี
PMI ภาคการผลิตทั่วโลกเพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 57.3 จากระดับ 54.1 ในเดือน ส.ค.48 ในขณะที่ดัชนี PMI
ภาคบริการทั่วโลกลดลงอยู่ที่ระดับ 53.1 จากระดับ 60.6 ด้าน All-Industry New Orders Index ลดลง
อยู่ที่ระดับ 55.9 จากระดับ 57.5 ในเดือน ส.ค. และ ดัชนีการจ้างงานลดลงเล็กน้อยอยู่ที่ระดับ 52.1
จากระดับ 53.2 ส่วน All-Industry Input Prices Index เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วอยู่ที่ระดับ 66.5 จาก
61.8 สะท้อนให้เห็นถึงต้นทุนด้านพลังงานที่เพิ่มสูงขึ้น ทั้งนี้ คาดว่าอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจทั่วโลกส่วนใหญ่
จะลดลงเหลือร้อยละ 2 —3 ต่อปี (รอยเตอร์)
2. ยอดขายปลีกของยูโรโซนในเดือน ส.ค.48 แข็งแกร่งเกินความคาดหมาย รายงานจากบ
รัสเซลส์เมื่อ 5 ต.ค.48 The EU’s statistics office (Eurostat) เปิดเผยว่า ยอดขายปลีกของกลุ่ม
ประเทศเขตเศรษฐกิจยุโรปที่ใช้เงินสกุลยูโร (ยูโรโซน) ในเดือน ส.ค.48 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 (อัตราต่อ
เดือน) และเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0 (อัตราต่อปี) เป็นการเพิ่มขึ้นอย่างมากเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าซึ่งลดลงร้อยละ
0.5 และ 0.2 ตามลำดับ และยังเป็นการเพิ่มขึ้นเหนือความคาดหมายของนักเศรษฐศาสตร์ซึ่งคาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อย
ละ 0.5 และ 1.0 ตามลำดับ ทั้งนี้ การปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างมากของยอดขายปลีกดังกล่าว มีสาเหตุจากความต้อง
การของผู้บริโภคในฝรั่งเศส เบลเยี่ยม และฟินแลนด์ เพิ่มขึ้นอย่างมากชดเชยกับการชะลอตัวของยอดขายปลีกของ
เยอรมนีซึ่งเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในยูโรโซน โดยยอดขายปลีกของฝรั่งเศสซึ่งมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่
เป็นอันดับ 2 ของยูโรโซน ขยายตัวร้อยละ 4.1 (อัตราต่อปี) ส่วนเบลเยี่ยมและฟินแลนด์ ยอดขายปลีกขยายตัว
ร้อยละ 6.7 และ 6.2 ตามลำดับ ขณะที่ยอดขายปลีกของเยอรมนีชะลอตัวลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 ร้อยละ 0.8
(อัตราต่อเดือน) สำหรับยอดขายปลีกของกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป 25 ประเทศ (European Union : EU)
เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 (อัตราต่อเดือน) และเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 (อัตราต่อปี) อนึ่ง ยอดขายปลีกเป็นเครื่องสะท้อน
ความต้องการของผู้บริโภคซึ่งชะลอตัวในระดับต่ำมาเป็นเวลานานตามการอ่อนแอของภาวะเศรษฐกิจ อันเป็นผลจาก
อัตราการว่างงานที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการที่ราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งส่งผลให้รายได้ลดลงตามไปด้วย
โดยรายงานจาก European Commission ซึ่งเปิดเผยเมื่อสัปดาห์ที่แล้วพบว่า ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในเดือน
ก.ย.48 ยังคงไม่เปลี่ยนแปลงจากระดับ —15 ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 แม้ว่าธุรกิจส่วนใหญ่จะมีมุมมองในแง่บวกเพิ่ม
ขึ้นก็ตาม (รอยเตอร์)
3. ธุรกิจภาคบริการของอังกฤษในเดือน ก.ย.48 ขยายตัวในอัตราต่ำสุดในรอบ 9 เดือน รายงาน
จากลอนดอน เมื่อ 5 ต.ค.48 The Chartered Institute of Purchasing and Supply หรือ CIPS
รายงานดัชนีชี้วัดธุรกรรมของธุรกิจภาคบริการของอังกฤษในเดือน ก.ย.48 อยู่ที่ระดับ 55.0 จากระดับ 55.2 ใน
เดือนก่อน ต่ำสุดในรอบ 9 เดือน แต่ยังอยู่ในระดับสูงกว่า 50 ซึ่งแสดงถึงการขยายตัว ผลจากราคาพลังงานที่สูง
ขึ้นส่งผลให้ต้นทุนของธุรกิจเพิ่มขึ้น โดยดัชนีชี้วัดต้นทุนของธุรกิจเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 61.2 ในเดือน ก.ย.48 สูงสุด
นับตั้งแต่เดือน พ.ย.47 ในขณะที่ดัชนีชี้วัดราคาที่ธุรกิจคิดกับผู้บริโภคเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 52.1 จากระดับ 51.4
ในเดือนก่อน สูงสุดในรอบ 3 เดือน อย่างไรก็ดี แม้ว่าธุรกิจภาคบริการจะชะลอตัวลง แต่อัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นอยู่
ในระดับสูงกว่าร้อยละ 2.0 ต่อปีซึ่งเป็นเป้าหมายที่ ธ.กลางอังกฤษตั้งไว้ ทำให้นักวิเคราะห์คาดว่า ธ.กลาง
อังกฤษจะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 4.5 ต่อปีต่อไปอีกช่วงระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งสอดคล้องกับผลสำรวจรอย
เตอร์ที่คาดว่า ธ.กลางอังกฤษจะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ร้อยละ 4.5 ต่อปีหลังจากสิ้นสุดการประชุม 2 วันในวันที่ 6
ต.ค.48 นี้ เวลา 11.00 น. ตามเวลากรีนนิช (รอยเตอร์)
4. ดัชนี PMI ของจีนในเดือนก.ยเพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 55.1 รายงานจากปักกิ่ง เมื่อวันที่ 5 ต.ค.
48 สำนักงานสถิติแห่งชาติของจีนเปิดเผยว่า ในเดือนก.ย. Purchasing Managers’ Index — PMI เพิ่มขึ้น
อยู่ที่ระดับ 55.1 จากระดับ 52.6 ในเดือนส.ค. ทำสถิติสูงสุดนับตั้งแต่เดือนพ.ค. ที่ PMI อยู่ที่ระดับ 52.9
เนื่องจากคำสั่งซื้อสินค้าส่งออกซึ่งเป็นส่วนประกอบของ PMI เพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 57.2 สูงที่สุดนับตั้งแต่ที่จีนเริ่ม
คำนวณดัชนีดังกล่าว รวมทั้งอุปสงค์ผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้นส่งผลให้การผลิตสินค้าบริโภคและสินค้ากึ่งสำเร็จรูปขยาย
ตัวอย่างแข็งแกร่งเช่นเดียวกันที่ระดับ 58.5 และ 55.5 ตามลำดับ ช่วยให้ดัชนี PMI ของจีนเพิ่มขึ้นทำสถิติสูงสุด
ต่อเนื่องติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 ทั้งนี้ดัชนี PMI ที่ขยายตัวมากกว่าระดับ 50 หมายถึงเศรษฐกิจขยายตัวแต่หากต่ำ
กว่า 50 หมายถึงเศรษฐกิจหดตัว ซึ่งก่อนหน้านั้นดัชนี PMI เคยลดลงอย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลาถึง 4 เดือนก่อนที่
จะฟื้นตัวในเดือนส.ค. ทั้งนี้ดัชนี PMI และตัวเลขทางเศรษฐกิจอื่นๆแสดงถึงการฟื้นตัวจากภาวะการชะลอตัวของ
กิจกรรมทางเศรษฐกิจในภาคอุตสาหกรรมการผลิตของจีน นอกจากนั้นยังยืนยันได้ว่าเศรษฐกิจจีนในระยะต่อไปกำลัง
ก้าวสู่ภาวะการขยายตัวที่แข็งแกร่งอย่างต่อเนื่อง(รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 6 ต.ค. 48 5 ต.ค. 48 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 41.059 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 40.8661/41.1568 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.48319 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 717.17/ 15.63 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 9,050/9,150 9,050/9,150 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 53.82 55.57 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 27.74*/24.19* 27.74*/24.19 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับเพิ่ม 40 สตางค์ เมื่อ 18 ก.ย. 48
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. สาขานอนแบงก์ ณ สิ้นเดือน ก.ย.48 มีจำนวนเพิ่มขึ้นร้อยละ 58.20 เทียบต่อเดือน รายงาน
จากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยถึงสถิติสำนักงานของบริษัทที่ประกอบธุรกิจบัตรเครดิตที่ไม่ใช่สถาบัน
การเงิน (นอนแบงก์) ณ สิ้นเดือน ก.ย.48 ว่า นอนแบงก์ 12 บริษัท มีสาขารวมทั้งสิ้น 318 สาขา เพิ่มขึ้น
117 สาขา หรือร้อยละ 58.20 เมื่อเทียบกับเดือน มิ.ย.ที่มีเพียง 201 สาขา ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นที่รวดเร็วมาก
หากเทียบกับการเพิ่มขึ้นในเดือน มิ.ย.เทียบกับ มี.ค.ที่เพิ่มขึ้นเพียง 4 สาขาเท่านั้น ทั้งนี้ บริษัทที่มีสำนักงานสาขา
เพิ่มขึ้นมากที่สุดได้แก่ บ.เซทเทเลม (ประเทศไทย) เพิ่มขึ้นร้อยละ 189.13 ขณะที่ นางธาริษา วัฒนเกส รองผู้
ว่าการ ธปท. กล่าวว่า ไม่กังวลกับจำนวนสาขานอนแบงก์ที่เพิ่มขึ้นมาก เพราะนอนแบงก์ไม่ได้มีสาขาไว้ทำหน้าที่รับ
ฝากเงินจากประชาชนเหมือนกับ ธพ. และ ธปท.ก็ไม่ได้มีหน้าที่ดูแลเรื่องสาขานอนแบงก์ อีกทั้งเน้นดูปริมาณธุรก
รรมการปล่อยสินเชื่อมากกว่า (เดลินิวส์, มติชน)
2. ก.คลังประเมินแก้ไขหนี้สินภาคประชาชนมียอดเงินต้นและดอกเบี้ยรวม 2.7 หมื่นล้านบาท รมว.
คลัง เปิดเผยว่า หลักเกณฑ์การปรับหนี้นั้น ต้องเป็นหนี้ที่มีการฟ้องร้องหรือเข้าสู่กระบวนการศาลก่อน 30 มิ.ย.48
และเฉพาะหนี้เงินต้นที่กู้มาไม่เกิน 2 แสนบาทต่อราย หรือจำนวน 7 พันล้านบาท ซึ่งมีผู้กู้อยู่ 1 แสนราย แต่เมื่อ
รวมอัตราดอกเบี้ยจากเงินต้น 2 หมื่นล้านบาทแล้วพบว่า มียอดรวม 27,000 ล้านบาท ทั้งนี้ อัตราดอกเบี้ยมีจำนวน
สูงกว่าเงินต้นถึง 3 เท่า หรือร้อยละ 300 ของเงินต้น โดยลูกหนี้กลุ่มดังกล่าวเป็นลูกหนี้ที่เกิดขึ้นในช่วงวิกฤติ
เศรษฐกิจแต่ไม่ได้รับการดูแล ดังนั้น จึงต้องมีกลไกลของรัฐเข้าไปช่วยแก้ไข ซึ่งมีแนวโน้มที่จะตั้งบริษัทบริหาร
สินทรัพย์สถาบันการเงิน (เอเอ็มซี) เข้ารับซื้อหนี้ออกมาจากสถาบันการเงินและเอเอ็มซีของเอกชน อย่างไรก็
ตาม แนวทางการแก้ไขจะไม่ใช้เงินงบประมาณอย่างแน่นอน ส่วนจะเป็นแนวทางใดนั้น ต้องให้ธนาคารแห่งประเทศ
ไทย (ธปท.) ผ่อนปรนเงื่อนไขบางอย่างเพื่อที่จะเข้าไปเจรจาแก้ไขหนี้ได้ ขณะที่ผู้ว่าการ ธปท.กล่าวว่า ธปท.มี
แนวทางในการเร่งลดหนี้โดยให้บรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน (บบส.) และเอเอ็มซีที่กองทุนเพื่อการฟื้นฟู
และพัฒนาระบบสถาบันการเงิน คือ บริษัทบริหารสินทรัพย์กรุงเทพพาณิชย์การ (บกส.) และบริษัทบริหารสินทรัพย์
สุขุมวิท ลดมูลหนี้ให้แก่ลูกค้าลงร้อยละ 50 และกำหนดให้ผ่อนชำระให้หมดภายใน 6 เดือน (กรุงเทพธุรกิจ, ผู้
จัดการรายวัน, โลกวันนี้, โพสต์ทูเดย์, เดลินิวส์, บ้านเมือง, มติชน, สยามรัฐ, แนวหน้า)
3. ก.คลัง เตรียมจัดตั้งคณะกรรมการ 3 ชุด เพื่อติดตามระบบเศรษฐกิจมหภาค รมว.คลัง เปิดเผย
ว่า ได้มอบหมายให้ ปลัด ก.คลังดำเนินการจัดตั้งคณะกรรมการ 3 ชุด คือ ชุดแรกทำหน้าที่ในการจัดทำระบบ
ข้อมูล เพื่อให้การบริหารโครงการลงทุนเมกะโปรเจ็กเดินหน้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยติดตามการใช้จ่ายเงินลง
ทุนอย่างใกล้ชิด ชุดที่ 2 จะทำหน้าที่ในการติดตามภาวะเศรษฐกิจมหภาค โดยมีผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจเข้ามาเพิ่ม
เติม เช่น ดร.วีรพงษ์ รามางกูร ที่ปรึกษา รมว.คลัง ดร.สุชาติ ธาดาดำรงเวช ที่ปรึกษารมว.คลัง และ ดร.
ฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) เป็นต้น ส่วนคณะกรรมการชุด
ที่ 3 จะทำหน้าที่ในการปรับปรุงโครงสร้างภาษีทั้งหมด โดยมอบหมายให้ ปลัด ก.คลังเป็นประธานคณะกรรมการ
ทั้งนี้ เนื่องจากในระยะ 10 ปีข้างหน้า อัตราภาษีนำเข้าสินค้าจะเหลือร้อยละ 0 ดังนั้น จึงควรมีการปรับปรุงโครง
สร้างภาษีที่เป็นระบบมากขึ้น (กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน)
4. ยอดเบิกจ่ายเงินงบประมาณปี 48 จากคลังร้อยละ 93.79 สูงสุดในรอบ 10 ปี อธิบดีกรมบัญชี
กลาง เปิดเผยภายหลังประชุมคณะกรรมการติดตามผลการใช้จ่ายเงินภาครัฐในปีงบประมาณ 48 ว่า ตั้งแต่ต้นปีงบ
ประมาณจนถึงสิ้นปีงบประมาณในเดือน ก.ย.48 มีการเบิกจ่ายเงินจากคลังไปแล้วจำนวน 1,103,522 ล้านบาท
คิดเป็นร้อยละ 93.79 ของวงเงินงบประมาณ 1,176,600 ล้านบาท สูงกว่าเป้าหมายที่วางไว้ 1,082,500 ล้าน
บาท หรือร้อยละ 92 จำนวน 21,022 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 1.79 ทั้งนี้ ผลการเบิกจ่ายงบประมาณดัง
กล่าวอยู่ในระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะรายจ่ายลงทุนวงเงินงบประมาณ
276,664 ล้านบาท มีการเบิกจ่าย 206,726 ล้านบาท สูงกว่างบประมาณที่วางไว้ 199,199 ล้านบาท จำนวน
7,527 ล้านบาท หรือร้อยละ 2.72 อย่างไรก็ตาม การเบิกจ่ายเงินงบประมาณในภาพรวมจำนวน 1,250,000
ล้านบาท ได้มีการเบิกจ่ายไปแล้วทั้งสิ้น 1,139,775 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 91.18 ของวงเงินงบประมาณรวม
(ผู้จัดการรายวัน, กรุงเทพธุรกิจ)
5. ก.พาณิชย์ขึ้นบัญชีควบคุมสินค้าเพิ่มเติมอีก 11 รายการ รมว.พาณิชย์ เปิดเผยภายหลังการประชุม
คณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการว่า ที่ประชุมได้มีการพิจารณารายการสินค้าที่จำเป็นต่อการครองชีพ
ของประชาชน และด้วยความพยายามที่จะดูแลไม่ให้สินค้ามีการปรับราคาเพิ่มขึ้นจนเกินไป จึงได้มีมติให้เพิ่มรายการ
สินค้าควบคุมอีก 11 รายการ ได้แก่ 1) นมข้น นมคืนรูป นมแปลงไขมัน ครีมเทียมข้นหวาน 2) อาหารในภาชนะ
บรรจุที่ปิดสนิท 3) น้ำยาซักฟอก 4) ผลิตภัณฑ์ล้างจาน 5) ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดห้องน้ำ 6) ผ้าอนามัย 7) เยื่อ
กระดาษ 8) กระดาษทำลูกฟูก 9) กระดาษพิมพ์และเขียน 10) ยางรถยนต์ ยางรถจักรยานยนต์ และ 11) เนื้อ
ไก่ เนื้อไก่ชำแหละ (ผู้จัดการรายวัน, โลกวันนี้, สยามรัฐ, ข่าวสด, ไทยรัฐ)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. กิจกรรมของภาคการผลิตและบริการทั่วโลกในเดือน ก.ย.48 ขยายตัวต่ำสุดในรอบ 2 ปี
รายงานจากกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เมื่อวันที่ 5 ต.ค.48 All-Industry Output Index ในเดือน ก.
ย.48 ที่ร่วมกันจัดทำโดย JP Morgan และสถาบันวิจัยหลายแห่ง ลดลงอยู่ที่ระดับ 54.8 จากระดับ 58.1 ใน
เดือนก่อน นับเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน ก.ค.46 แต่ยังอยู่ที่ระดับเหนือกว่าเส้น 50 ที่แสดงว่ายังอยู่ในระดับที่มี
การเติบโต โดยสาเหตุของการลดลงครั้งนี้มาจากการที่ภาคบริการของ สรอ. มีอัตราการเติบโตชะลอตัวลงอย่าง
มากจากผลกระทบของพายุเฮอริเคนและราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น ทั้งนี้ การจัดทำดัชนีดังกล่าวเป็นการรวบรวม
ข้อมูลจากการสำรวจของภาคการผลิตและบริการจากหลายประเทศ เช่น สรอ. เยอรมนี ฝรั่งเศส อังกฤษ อิตาลี
จีน และรัสเซีย แต่หากดูเฉพาะภาคการผลิตแล้ว การที่ภาคการผลิตของ สรอ. ที่เพิ่มขึ้นอย่างมากส่งผลให้ดัชนี
PMI ภาคการผลิตทั่วโลกเพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 57.3 จากระดับ 54.1 ในเดือน ส.ค.48 ในขณะที่ดัชนี PMI
ภาคบริการทั่วโลกลดลงอยู่ที่ระดับ 53.1 จากระดับ 60.6 ด้าน All-Industry New Orders Index ลดลง
อยู่ที่ระดับ 55.9 จากระดับ 57.5 ในเดือน ส.ค. และ ดัชนีการจ้างงานลดลงเล็กน้อยอยู่ที่ระดับ 52.1
จากระดับ 53.2 ส่วน All-Industry Input Prices Index เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วอยู่ที่ระดับ 66.5 จาก
61.8 สะท้อนให้เห็นถึงต้นทุนด้านพลังงานที่เพิ่มสูงขึ้น ทั้งนี้ คาดว่าอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจทั่วโลกส่วนใหญ่
จะลดลงเหลือร้อยละ 2 —3 ต่อปี (รอยเตอร์)
2. ยอดขายปลีกของยูโรโซนในเดือน ส.ค.48 แข็งแกร่งเกินความคาดหมาย รายงานจากบ
รัสเซลส์เมื่อ 5 ต.ค.48 The EU’s statistics office (Eurostat) เปิดเผยว่า ยอดขายปลีกของกลุ่ม
ประเทศเขตเศรษฐกิจยุโรปที่ใช้เงินสกุลยูโร (ยูโรโซน) ในเดือน ส.ค.48 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 (อัตราต่อ
เดือน) และเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0 (อัตราต่อปี) เป็นการเพิ่มขึ้นอย่างมากเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าซึ่งลดลงร้อยละ
0.5 และ 0.2 ตามลำดับ และยังเป็นการเพิ่มขึ้นเหนือความคาดหมายของนักเศรษฐศาสตร์ซึ่งคาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อย
ละ 0.5 และ 1.0 ตามลำดับ ทั้งนี้ การปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างมากของยอดขายปลีกดังกล่าว มีสาเหตุจากความต้อง
การของผู้บริโภคในฝรั่งเศส เบลเยี่ยม และฟินแลนด์ เพิ่มขึ้นอย่างมากชดเชยกับการชะลอตัวของยอดขายปลีกของ
เยอรมนีซึ่งเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในยูโรโซน โดยยอดขายปลีกของฝรั่งเศสซึ่งมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่
เป็นอันดับ 2 ของยูโรโซน ขยายตัวร้อยละ 4.1 (อัตราต่อปี) ส่วนเบลเยี่ยมและฟินแลนด์ ยอดขายปลีกขยายตัว
ร้อยละ 6.7 และ 6.2 ตามลำดับ ขณะที่ยอดขายปลีกของเยอรมนีชะลอตัวลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 ร้อยละ 0.8
(อัตราต่อเดือน) สำหรับยอดขายปลีกของกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป 25 ประเทศ (European Union : EU)
เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 (อัตราต่อเดือน) และเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 (อัตราต่อปี) อนึ่ง ยอดขายปลีกเป็นเครื่องสะท้อน
ความต้องการของผู้บริโภคซึ่งชะลอตัวในระดับต่ำมาเป็นเวลานานตามการอ่อนแอของภาวะเศรษฐกิจ อันเป็นผลจาก
อัตราการว่างงานที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการที่ราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งส่งผลให้รายได้ลดลงตามไปด้วย
โดยรายงานจาก European Commission ซึ่งเปิดเผยเมื่อสัปดาห์ที่แล้วพบว่า ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในเดือน
ก.ย.48 ยังคงไม่เปลี่ยนแปลงจากระดับ —15 ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 แม้ว่าธุรกิจส่วนใหญ่จะมีมุมมองในแง่บวกเพิ่ม
ขึ้นก็ตาม (รอยเตอร์)
3. ธุรกิจภาคบริการของอังกฤษในเดือน ก.ย.48 ขยายตัวในอัตราต่ำสุดในรอบ 9 เดือน รายงาน
จากลอนดอน เมื่อ 5 ต.ค.48 The Chartered Institute of Purchasing and Supply หรือ CIPS
รายงานดัชนีชี้วัดธุรกรรมของธุรกิจภาคบริการของอังกฤษในเดือน ก.ย.48 อยู่ที่ระดับ 55.0 จากระดับ 55.2 ใน
เดือนก่อน ต่ำสุดในรอบ 9 เดือน แต่ยังอยู่ในระดับสูงกว่า 50 ซึ่งแสดงถึงการขยายตัว ผลจากราคาพลังงานที่สูง
ขึ้นส่งผลให้ต้นทุนของธุรกิจเพิ่มขึ้น โดยดัชนีชี้วัดต้นทุนของธุรกิจเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 61.2 ในเดือน ก.ย.48 สูงสุด
นับตั้งแต่เดือน พ.ย.47 ในขณะที่ดัชนีชี้วัดราคาที่ธุรกิจคิดกับผู้บริโภคเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 52.1 จากระดับ 51.4
ในเดือนก่อน สูงสุดในรอบ 3 เดือน อย่างไรก็ดี แม้ว่าธุรกิจภาคบริการจะชะลอตัวลง แต่อัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นอยู่
ในระดับสูงกว่าร้อยละ 2.0 ต่อปีซึ่งเป็นเป้าหมายที่ ธ.กลางอังกฤษตั้งไว้ ทำให้นักวิเคราะห์คาดว่า ธ.กลาง
อังกฤษจะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 4.5 ต่อปีต่อไปอีกช่วงระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งสอดคล้องกับผลสำรวจรอย
เตอร์ที่คาดว่า ธ.กลางอังกฤษจะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ร้อยละ 4.5 ต่อปีหลังจากสิ้นสุดการประชุม 2 วันในวันที่ 6
ต.ค.48 นี้ เวลา 11.00 น. ตามเวลากรีนนิช (รอยเตอร์)
4. ดัชนี PMI ของจีนในเดือนก.ยเพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 55.1 รายงานจากปักกิ่ง เมื่อวันที่ 5 ต.ค.
48 สำนักงานสถิติแห่งชาติของจีนเปิดเผยว่า ในเดือนก.ย. Purchasing Managers’ Index — PMI เพิ่มขึ้น
อยู่ที่ระดับ 55.1 จากระดับ 52.6 ในเดือนส.ค. ทำสถิติสูงสุดนับตั้งแต่เดือนพ.ค. ที่ PMI อยู่ที่ระดับ 52.9
เนื่องจากคำสั่งซื้อสินค้าส่งออกซึ่งเป็นส่วนประกอบของ PMI เพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 57.2 สูงที่สุดนับตั้งแต่ที่จีนเริ่ม
คำนวณดัชนีดังกล่าว รวมทั้งอุปสงค์ผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้นส่งผลให้การผลิตสินค้าบริโภคและสินค้ากึ่งสำเร็จรูปขยาย
ตัวอย่างแข็งแกร่งเช่นเดียวกันที่ระดับ 58.5 และ 55.5 ตามลำดับ ช่วยให้ดัชนี PMI ของจีนเพิ่มขึ้นทำสถิติสูงสุด
ต่อเนื่องติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 ทั้งนี้ดัชนี PMI ที่ขยายตัวมากกว่าระดับ 50 หมายถึงเศรษฐกิจขยายตัวแต่หากต่ำ
กว่า 50 หมายถึงเศรษฐกิจหดตัว ซึ่งก่อนหน้านั้นดัชนี PMI เคยลดลงอย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลาถึง 4 เดือนก่อนที่
จะฟื้นตัวในเดือนส.ค. ทั้งนี้ดัชนี PMI และตัวเลขทางเศรษฐกิจอื่นๆแสดงถึงการฟื้นตัวจากภาวะการชะลอตัวของ
กิจกรรมทางเศรษฐกิจในภาคอุตสาหกรรมการผลิตของจีน นอกจากนั้นยังยืนยันได้ว่าเศรษฐกิจจีนในระยะต่อไปกำลัง
ก้าวสู่ภาวะการขยายตัวที่แข็งแกร่งอย่างต่อเนื่อง(รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 6 ต.ค. 48 5 ต.ค. 48 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 41.059 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 40.8661/41.1568 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.48319 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 717.17/ 15.63 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 9,050/9,150 9,050/9,150 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 53.82 55.57 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 27.74*/24.19* 27.74*/24.19 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับเพิ่ม 40 สตางค์ เมื่อ 18 ก.ย. 48
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--