แท็ก
ปลาดุก
1. สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่าน มา (วันที่ 20 - 25 เม.ย. 48) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลา กรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,232.14 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 435.09 ตัน สัตว์น้ำจืด 797.05 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 4.39 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 4.98 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 90.81 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 5.29 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 43.39 ตัน
การตลาด
นำเข้ากุ้งสหรัฐอเมริกามีปัญหา
นายภิญโญ เกียรติภิญโญ ประธานชมรมผู้ประกอบการกุ้งขาว เปิดเผยว่าขณะนี้เกษตรกร ผู้เลี้ยงกุ้งประสบปัญหาราคาตกต่ำอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากแพกุ้งและบริษัทห้องเย็นรับซื้อกุ้งในราคาที่ลดต่ำลง เช่น กุ้งขนาด 100 ตัวต่อกิโลกรัม จากราคาเดิม 105-110 บาท เหลือเพียง 80-85 บาท ขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม จากกิโลกรัมละ 130 บาท เหลือเพียงกิโลกรัมละ 105 บาท ซึ่งราคาดังกล่าวทำให้ผู้เลี้ยงกุ้งประสบปัญหาขาดทุนกันอย่างทั่วหน้า
ทั้งนี้เหตุที่แพและห้องเย็นรับซื้อกุ้งในราคาลดลง เนื่องจากเวลานี้การส่งออกกุ้งไปสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นตลาดส่งออกสำคัญไม่สะดวกราบรื่น โดยเป็นผลสืบเนื่องมาจากศุลกากรสหรัฐอเมริกากำหนดให้ผู้นำเข้าในสหรัฐอเมริกาจะต้องวางเงินค้ำประกัน ( Continuous Bond) อัตราภาษีเฉลี่ยตอบโต้การทุ่มตลาดของปริมาณการส่งออกกุ้งที่บริษัทนั้นๆส่งออกไปยังสหรัฐอเมริกาในปีที่ผ่านมา เงื่อนไขดังกล่าวสร้างปัญหาให้กับผู้นำเข้าสหรัฐอเมริกาเป็นอย่างมาก ทำให้ผู้นำเข้าขนาดกลางถึงขนาดเล็กไม่สามารถนำเข้ากุ้งจากประเทศที่ถูกเรียกเก็บภาษีเอดีได้และกระทบมาถึงผู้ส่งออกขนาดกลางและขนาดเล็กของไทยด้วย
แหล่งข่าวจากวงการผู้ส่งออกกุ้ง เปิดเผยเพิ่มเติมว่า เงื่อนไขของศุลกากรสหรัฐดังกล่าว จะกระทบกับผู้ส่งออกรายกลางกับรายเล็กมากกว่า โดยรายใหญ่เช่นไทยยูเนี่ยนโฟรเซ่นโปรดักส์ หรือทียูเอฟ ที่มีบริษัทนำเข้าของตนเองอยู่ในสหรัฐอเมริกาก็ไม่ได้รับผลกระทบมาก ส่วนรายใหญ่อื่นๆ เช่น ซีพีเอฟ กลุ่มรูบิคอน ก็ไม่ได้รับผลกระทบมากเช่นเดียวกัน
แหล่งข่าวกล่าวอีกว่า ความเคลื่อนไหวของผู้ส่งออกรายใหญ่เวลานี้ หลายรายได้พยายามติดต่อเช่าห้องเย็น และฟาร์มกุ้ง จากเกษตรกรที่ประสบปัญหา เพื่อขยายธุรกิจของตนแทนการใช้เงินลงทุนเพิ่ม เพราะเวลานี้มีห้องเย็น และฟาร์มกุ้งจำนวนมาก ที่ประสบปัญหาการดำเนินธุรกิจและคิดจะเลิกกิจการโดยสาเหตุหลักคือการส่งออกกุ้งไปสหรัฐอเมริกาและราคากุ้งที่ตกต่ำอย่างต่อเนื่อง
2. ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 26.93 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ26.21 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.72 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 63.22 บาท ลดลง จากกิโลกรัมละ 63.69 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.47 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 113.33 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 94.29 บาทของสัปดาห์ก่อน 19.04 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 212.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 214.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.00 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาคร ขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 215.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 214.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.00 บาท
2.4 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 36.20 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 31.18 บาท ของสัปดาห์ก่อน 5.02 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 56.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 55.86 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.14 บาท
2.5 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 113.34 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 106.43 บาทของสัปดาห์ก่อน 6.91 บาท
2.6 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 4.90 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 5.15 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.25 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ( ระหว่างวัน ที่ 2 - 6 พค. 2548 ) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 21.80 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 21.86 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.06 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 17 ประจำวันที่ 2-8 พฤษภาคม 2548--
-พห-
การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่าน มา (วันที่ 20 - 25 เม.ย. 48) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลา กรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,232.14 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 435.09 ตัน สัตว์น้ำจืด 797.05 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 4.39 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 4.98 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 90.81 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 5.29 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 43.39 ตัน
การตลาด
นำเข้ากุ้งสหรัฐอเมริกามีปัญหา
นายภิญโญ เกียรติภิญโญ ประธานชมรมผู้ประกอบการกุ้งขาว เปิดเผยว่าขณะนี้เกษตรกร ผู้เลี้ยงกุ้งประสบปัญหาราคาตกต่ำอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากแพกุ้งและบริษัทห้องเย็นรับซื้อกุ้งในราคาที่ลดต่ำลง เช่น กุ้งขนาด 100 ตัวต่อกิโลกรัม จากราคาเดิม 105-110 บาท เหลือเพียง 80-85 บาท ขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม จากกิโลกรัมละ 130 บาท เหลือเพียงกิโลกรัมละ 105 บาท ซึ่งราคาดังกล่าวทำให้ผู้เลี้ยงกุ้งประสบปัญหาขาดทุนกันอย่างทั่วหน้า
ทั้งนี้เหตุที่แพและห้องเย็นรับซื้อกุ้งในราคาลดลง เนื่องจากเวลานี้การส่งออกกุ้งไปสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นตลาดส่งออกสำคัญไม่สะดวกราบรื่น โดยเป็นผลสืบเนื่องมาจากศุลกากรสหรัฐอเมริกากำหนดให้ผู้นำเข้าในสหรัฐอเมริกาจะต้องวางเงินค้ำประกัน ( Continuous Bond) อัตราภาษีเฉลี่ยตอบโต้การทุ่มตลาดของปริมาณการส่งออกกุ้งที่บริษัทนั้นๆส่งออกไปยังสหรัฐอเมริกาในปีที่ผ่านมา เงื่อนไขดังกล่าวสร้างปัญหาให้กับผู้นำเข้าสหรัฐอเมริกาเป็นอย่างมาก ทำให้ผู้นำเข้าขนาดกลางถึงขนาดเล็กไม่สามารถนำเข้ากุ้งจากประเทศที่ถูกเรียกเก็บภาษีเอดีได้และกระทบมาถึงผู้ส่งออกขนาดกลางและขนาดเล็กของไทยด้วย
แหล่งข่าวจากวงการผู้ส่งออกกุ้ง เปิดเผยเพิ่มเติมว่า เงื่อนไขของศุลกากรสหรัฐดังกล่าว จะกระทบกับผู้ส่งออกรายกลางกับรายเล็กมากกว่า โดยรายใหญ่เช่นไทยยูเนี่ยนโฟรเซ่นโปรดักส์ หรือทียูเอฟ ที่มีบริษัทนำเข้าของตนเองอยู่ในสหรัฐอเมริกาก็ไม่ได้รับผลกระทบมาก ส่วนรายใหญ่อื่นๆ เช่น ซีพีเอฟ กลุ่มรูบิคอน ก็ไม่ได้รับผลกระทบมากเช่นเดียวกัน
แหล่งข่าวกล่าวอีกว่า ความเคลื่อนไหวของผู้ส่งออกรายใหญ่เวลานี้ หลายรายได้พยายามติดต่อเช่าห้องเย็น และฟาร์มกุ้ง จากเกษตรกรที่ประสบปัญหา เพื่อขยายธุรกิจของตนแทนการใช้เงินลงทุนเพิ่ม เพราะเวลานี้มีห้องเย็น และฟาร์มกุ้งจำนวนมาก ที่ประสบปัญหาการดำเนินธุรกิจและคิดจะเลิกกิจการโดยสาเหตุหลักคือการส่งออกกุ้งไปสหรัฐอเมริกาและราคากุ้งที่ตกต่ำอย่างต่อเนื่อง
2. ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 26.93 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ26.21 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.72 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 63.22 บาท ลดลง จากกิโลกรัมละ 63.69 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.47 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 113.33 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 94.29 บาทของสัปดาห์ก่อน 19.04 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 212.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 214.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.00 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาคร ขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 215.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 214.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.00 บาท
2.4 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 36.20 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 31.18 บาท ของสัปดาห์ก่อน 5.02 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 56.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 55.86 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.14 บาท
2.5 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 113.34 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 106.43 บาทของสัปดาห์ก่อน 6.91 บาท
2.6 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 4.90 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 5.15 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.25 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ( ระหว่างวัน ที่ 2 - 6 พค. 2548 ) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 21.80 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 21.86 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.06 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 17 ประจำวันที่ 2-8 พฤษภาคม 2548--
-พห-