บันทึกการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๒ ปีที่ ๑
ครั้งที่ ๑๒ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ)
วันพุธที่ ๒๘ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๔๘
ณ ตึกรัฐสภา
--------------------------
เริ่มประชุมเวลา ๑๓.๓๕ นาฬิกา
เนื่องจาก นายโภคิน พลกุล ประธานสภาผู้แทนราษฎร ไปราชการต่างประเทศ เมื่อครบองค์ประชุมแล้ว
รองศาสตราจารย์ลลิตา ฤกษ์สำราญ รองประธาน สภาผู้แทนราษฎรคนที่สอง ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภาผู้แทนราษฎร
ขึ้นบัลลังก์และกล่าวเปิดประชุม
จากนั้น ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภาผู้แทนราษฎรได้แจ้งให้ที่ประชุมรับทราบเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
๑. เรื่องคำสั่งให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรใหม่ ตามคำสั่งคณะกรรมการการเลือกตั้งที่
๕๙๒/๒๕๔๘ ลงวันที่ ๒๐ กันยายน ๒๕๔๘ กรณีได้รับ คำร้องเรียนว่าการเลือกตั้งดังกล่าวเป็นไป
โดยไม่สุจริตและเที่ยงธรรม ตามคำวินิจฉัยสั่งการคณะกรรมการการเลือกตั้ง ที่ ๒๕๔๗/๒๕๔๘ ที่ ๒๕๔๘/๒๕๔๘
ที่ ๒๕๔๙/๒๕๔๘ และที่ ๒๕๕๐/๒๕๔๘ รวม ๔ เขตเลือกตั้ง ซึ่งมีผลให้สมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
ในเขตเลือกตั้งดังกล่าวสิ้นสุดลง จำนวน ๔ คน คือ
กรณีให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง จำนวน ๑ เขต คือ
นายธานินทร์ ใจสมุทร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดสตูล เขตเลือกตั้งที่ ๒
กรณีให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรใหม่ จำนวน ๓ เขต คือ
(๑) นายนาวิน บุญเสรฐ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดพิจิตร เขตเลือกตั้งที่ ๓
(๒) นายพายัพ ปั้นเกตุ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดสิงห์บุรี เขตเลือกตั้งที่ ๑
(๓) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประแสง มงคลศิริ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดอุทัยธานี เขตเลือกตั้งที่ ๑
ดังนั้น ปัจจุบันมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเหลือจำนวน ๔๙๖ คน
๒. ที่ประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ ๗ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันอังคารที่ ๑๓ กันยายน ๒๕๔๘
ได้พิจารณาและรับทราบรายงานผลการพัฒนาระบบราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๖
ที่ประชุมรับทราบ
ก่อนที่ที่ประชุมจะพิจารณาระเบียบวาระต่อไป ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภาผู้แทนราษฎรได้ปรึกษาที่ประชุม
เพื่อขอนำระเบียบวาระที่ ๗ เรื่องอื่น ๆ ขึ้นมาพิจารณาก่อน ซึ่งที่ประชุมเห็นชอบ
ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภาผู้แทนราษฎรจึงได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณาระเบียบวาระที่ ๗ เรื่องอื่น ๆ ตามลำดับ คือ
๑. ตั้งซ่อมกรรมาธิการสามัญประจำสภา ในคณะกรรมาธิการ
การแรงงาน แทนตำแหน่งที่ว่างลง ๒ ตำแหน่ง (ในระเบียบวาระที่ ๗.๑)
ที่ประชุมได้ลงมติเลือก นางเจิมมาศ จึงเลิศศิริ เป็นกรรมาธิการแทน
นายประพนธ์ นิลวัชรมณี และนายอิสสระ สมชัย เป็นกรรมาธิการแทน นายไพฑูรย์ แก้วทอง
๒. ตั้งซ่อมกรรมาธิการสามัญประจำสภา ในคณะกรรมาธิการ
การพัฒนาเศรษฐกิจ แทนตำแหน่งที่ว่างลง ๑ ตำแหน่ง (ในระเบียบวาระที่ ๗.๒)
ที่ประชุมได้ลงมติเลือก นายพินิจ จันทรสุรินทร์ เป็นกรรมาธิการแทน นางปวีณา หงสกุล
ต่อจากนั้น ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภาผู้แทนราษฎรจึงได้เสนอให้ ที่ประชุมพิจารณาระเบียบวาระ
เรื่องที่มีมติให้เลื่อนขึ้นมาพิจารณาก่อน ตามลำดับ คือ
๑. พิจารณากรณีวุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยทักษิณ พ.ศ. ....
ตามมาตรา ๑๗๕ ของรัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทย (ในระเบียบวาระเรื่องที่มีมติให้เลื่อนขึ้นมาพิจารณาก่อนลำดับ ที่ ๑)
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ และได้ลงมติไม่เห็นชอบด้วยกับการแก้ไขเพิ่มเติมของวุฒิสภา
โดยมีมติกำหนดจำนวนบุคคลที่จะประกอบเป็นกรรมาธิการร่วมกันเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ จำนวน ๒๔ คน และ
ตั้งกรรมาธิการฝ่ายสภาผู้แทนราษฎร จำนวน ๑๒ คน ประกอบด้วย
๐๑. นายสฤต สันติเมทนีดล ๐๒. นายสุภาพ คลี่ขจาย
๐๓. ศาสตราจารย์ลิขิต ธีรเวคิน ๐๔. รองศาสตราจารย์ชูศักดิ์ ศิรินิล
๐๕. นายวีระ มุสิกพงศ์ ๐๖. นายสวัสดิ์ คำประกอบ
๐๗. รองศาสตราจารย์สมเกียรติ สายธนู๐๘. นายมุข สุไลมาน
๐๙. นายสุธรรม แสงประทุม ๑๐. นายเจือ ราชสีห์
๑๑. นายสุพัฒน์ ธรรมเพชร ๑๒. นายนิกร จำนง
๒. พิจารณากรณีวุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติสถาบัน
พระบรมราชชนก พ.ศ. .... ตามมาตรา ๑๗๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ในระเบียบวาระเรื่องที่มีมติให้เลื่อนขึ้นมาพิจารณาก่อนลำดับที่ ๒)
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ และได้ลงมติไม่เห็นชอบด้วยกับการแก้ไขเพิ่มเติมของวุฒิสภา
โดยมีมติกำหนดจำนวนบุคคลที่จะประกอบ เป็นกรรมาธิการร่วมกันเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้
จำนวน ๒๔ คน และตั้งกรรมาธิการฝ่ายสภาผู้แทนราษฎร จำนวน ๑๒ คน ประกอบด้วย
๐๑. นายพินิจ จันทร์สมบูรณ์ ๐๒. นายจำนงค์ โพธิสาโร
๐๓. นายธเนศ เครือรัตน์ ๐๔. นายปภัสสร เจียมบุญศรี
๐๕. ร้อยโท กุเทพ ใสกระจ่าง ๐๖. นางสาวคนึง ไทยประสิทธิ์
๐๗. นายชลน่าน ศรีแก้ว ๐๘. นายสุริยะ วงศ์คงคาเทพ
๐๙. นายพฤฒิชัย ดำรงรัตน์ ๑๐. นายบุรณัชย์ สมุทรักษ์
๑๑. นางนิภา พริ้งศุลกะ ๑๒. พลตำรวจโท วิโรจน์ เปาอินทร์
๓. พิจารณากรณีวุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติจัดตั้ง
ศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามมาตรา ๑๗๕
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ในระเบียบวาระเรื่องที่มีมติให้เลื่อนขึ้นมาพิจารณาก่อนลำดับที่ ๓)
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ และได้ลงมติเห็นชอบ ด้วยกับการแก้ไขเพิ่มเติมของวุฒิสภา
จึงถือว่าร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ ได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาแล้ว ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๑๗๕ (๓)
โดยในระหว่างการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่หนึ่งได้ปฏิบัติหน้าที่แทน
ต่อมา ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภาผู้แทนราษฎรได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณาระเบียบวาระที่ ๔
เรื่องที่คณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้ว ตามลำดับ คือ
๑. ร่างพระราชบัญญัติธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว (ในระเบียบวาระ ที่ ๔.๑)
๒. ร่างพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจข้อมูลเครดิต (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว (ในระเบียบวาระที่ ๔.๒)
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติทั้ง ๒ ฉบับ ในวาระที่ ๒
ทีละฉบับ ตามลำดับ โดยเริ่มต้นด้วยชื่อร่าง คำปรารภ แล้วเรียงตามลำดับมาตรา จนจบร่าง
และได้ลงมติเห็นชอบในวาระที่ ๓ ทั้ง ๒ ฉบับ ทีละฉบับ ตามลำดับ
เพื่อเสนอให้วุฒิสภาพิจารณาต่อไปตามรัฐธรรมนูญฯ ทั้งนี้ที่ประชุมได้ลงมติเห็นชอบด้วยกับข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการฯ
ในร่างพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจข้อมูลเครดิต (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... เพื่อแจ้งไปยังคณะรัฐมนตรีด้วย
โดยในระหว่าง การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... รองประธานสภาผู้แทนราษฎรทั้งสองได้ผลัดเปลี่ยนกันดำเนินการประชุม
เลิกประชุมเวลา ๑๘.๒๒ นาฬิกา
(นายพิทูร พุ่มหิรัญ)
เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
สำนักรายงานการประชุมและชวเลข
กลุ่มงานรายงานการประชุม
โทร. ๐ ๒๒๔๔ ๒๓๗๒ - ๓
โทรสาร ๐ ๒๒๔๔ ๒๓๗๒
สรุปผลการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ
ตั้งคณะกรรมาธิการร่วมกันเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่วุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติม ตามมาตรา ๑๗๕ (๓)
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จำนวน ๒ ฉบับ คือ
๑. ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยทักษิณ พ.ศ. ....
๒. ร่างพระราชบัญญัติสถาบันพระบรมราชชนก พ.ศ. ....
เห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติที่วุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติม ตามมาตรา ๑๗๕ (๓)
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จำนวน ๑ ฉบับ คือ
- ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย (ฉบับที่ ..)
พ.ศ. ....
เห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติ จำนวน ๒ ฉบับ คือ
. ร่างพระราชบัญญัติธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
๒. ร่างพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจข้อมูลเครดิต (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
*************************
ครั้งที่ ๑๒ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ)
วันพุธที่ ๒๘ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๔๘
ณ ตึกรัฐสภา
--------------------------
เริ่มประชุมเวลา ๑๓.๓๕ นาฬิกา
เนื่องจาก นายโภคิน พลกุล ประธานสภาผู้แทนราษฎร ไปราชการต่างประเทศ เมื่อครบองค์ประชุมแล้ว
รองศาสตราจารย์ลลิตา ฤกษ์สำราญ รองประธาน สภาผู้แทนราษฎรคนที่สอง ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภาผู้แทนราษฎร
ขึ้นบัลลังก์และกล่าวเปิดประชุม
จากนั้น ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภาผู้แทนราษฎรได้แจ้งให้ที่ประชุมรับทราบเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
๑. เรื่องคำสั่งให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรใหม่ ตามคำสั่งคณะกรรมการการเลือกตั้งที่
๕๙๒/๒๕๔๘ ลงวันที่ ๒๐ กันยายน ๒๕๔๘ กรณีได้รับ คำร้องเรียนว่าการเลือกตั้งดังกล่าวเป็นไป
โดยไม่สุจริตและเที่ยงธรรม ตามคำวินิจฉัยสั่งการคณะกรรมการการเลือกตั้ง ที่ ๒๕๔๗/๒๕๔๘ ที่ ๒๕๔๘/๒๕๔๘
ที่ ๒๕๔๙/๒๕๔๘ และที่ ๒๕๕๐/๒๕๔๘ รวม ๔ เขตเลือกตั้ง ซึ่งมีผลให้สมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
ในเขตเลือกตั้งดังกล่าวสิ้นสุดลง จำนวน ๔ คน คือ
กรณีให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง จำนวน ๑ เขต คือ
นายธานินทร์ ใจสมุทร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดสตูล เขตเลือกตั้งที่ ๒
กรณีให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรใหม่ จำนวน ๓ เขต คือ
(๑) นายนาวิน บุญเสรฐ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดพิจิตร เขตเลือกตั้งที่ ๓
(๒) นายพายัพ ปั้นเกตุ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดสิงห์บุรี เขตเลือกตั้งที่ ๑
(๓) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประแสง มงคลศิริ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดอุทัยธานี เขตเลือกตั้งที่ ๑
ดังนั้น ปัจจุบันมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเหลือจำนวน ๔๙๖ คน
๒. ที่ประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ ๗ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันอังคารที่ ๑๓ กันยายน ๒๕๔๘
ได้พิจารณาและรับทราบรายงานผลการพัฒนาระบบราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๖
ที่ประชุมรับทราบ
ก่อนที่ที่ประชุมจะพิจารณาระเบียบวาระต่อไป ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภาผู้แทนราษฎรได้ปรึกษาที่ประชุม
เพื่อขอนำระเบียบวาระที่ ๗ เรื่องอื่น ๆ ขึ้นมาพิจารณาก่อน ซึ่งที่ประชุมเห็นชอบ
ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภาผู้แทนราษฎรจึงได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณาระเบียบวาระที่ ๗ เรื่องอื่น ๆ ตามลำดับ คือ
๑. ตั้งซ่อมกรรมาธิการสามัญประจำสภา ในคณะกรรมาธิการ
การแรงงาน แทนตำแหน่งที่ว่างลง ๒ ตำแหน่ง (ในระเบียบวาระที่ ๗.๑)
ที่ประชุมได้ลงมติเลือก นางเจิมมาศ จึงเลิศศิริ เป็นกรรมาธิการแทน
นายประพนธ์ นิลวัชรมณี และนายอิสสระ สมชัย เป็นกรรมาธิการแทน นายไพฑูรย์ แก้วทอง
๒. ตั้งซ่อมกรรมาธิการสามัญประจำสภา ในคณะกรรมาธิการ
การพัฒนาเศรษฐกิจ แทนตำแหน่งที่ว่างลง ๑ ตำแหน่ง (ในระเบียบวาระที่ ๗.๒)
ที่ประชุมได้ลงมติเลือก นายพินิจ จันทรสุรินทร์ เป็นกรรมาธิการแทน นางปวีณา หงสกุล
ต่อจากนั้น ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภาผู้แทนราษฎรจึงได้เสนอให้ ที่ประชุมพิจารณาระเบียบวาระ
เรื่องที่มีมติให้เลื่อนขึ้นมาพิจารณาก่อน ตามลำดับ คือ
๑. พิจารณากรณีวุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยทักษิณ พ.ศ. ....
ตามมาตรา ๑๗๕ ของรัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทย (ในระเบียบวาระเรื่องที่มีมติให้เลื่อนขึ้นมาพิจารณาก่อนลำดับ ที่ ๑)
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ และได้ลงมติไม่เห็นชอบด้วยกับการแก้ไขเพิ่มเติมของวุฒิสภา
โดยมีมติกำหนดจำนวนบุคคลที่จะประกอบเป็นกรรมาธิการร่วมกันเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ จำนวน ๒๔ คน และ
ตั้งกรรมาธิการฝ่ายสภาผู้แทนราษฎร จำนวน ๑๒ คน ประกอบด้วย
๐๑. นายสฤต สันติเมทนีดล ๐๒. นายสุภาพ คลี่ขจาย
๐๓. ศาสตราจารย์ลิขิต ธีรเวคิน ๐๔. รองศาสตราจารย์ชูศักดิ์ ศิรินิล
๐๕. นายวีระ มุสิกพงศ์ ๐๖. นายสวัสดิ์ คำประกอบ
๐๗. รองศาสตราจารย์สมเกียรติ สายธนู๐๘. นายมุข สุไลมาน
๐๙. นายสุธรรม แสงประทุม ๑๐. นายเจือ ราชสีห์
๑๑. นายสุพัฒน์ ธรรมเพชร ๑๒. นายนิกร จำนง
๒. พิจารณากรณีวุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติสถาบัน
พระบรมราชชนก พ.ศ. .... ตามมาตรา ๑๗๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ในระเบียบวาระเรื่องที่มีมติให้เลื่อนขึ้นมาพิจารณาก่อนลำดับที่ ๒)
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ และได้ลงมติไม่เห็นชอบด้วยกับการแก้ไขเพิ่มเติมของวุฒิสภา
โดยมีมติกำหนดจำนวนบุคคลที่จะประกอบ เป็นกรรมาธิการร่วมกันเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้
จำนวน ๒๔ คน และตั้งกรรมาธิการฝ่ายสภาผู้แทนราษฎร จำนวน ๑๒ คน ประกอบด้วย
๐๑. นายพินิจ จันทร์สมบูรณ์ ๐๒. นายจำนงค์ โพธิสาโร
๐๓. นายธเนศ เครือรัตน์ ๐๔. นายปภัสสร เจียมบุญศรี
๐๕. ร้อยโท กุเทพ ใสกระจ่าง ๐๖. นางสาวคนึง ไทยประสิทธิ์
๐๗. นายชลน่าน ศรีแก้ว ๐๘. นายสุริยะ วงศ์คงคาเทพ
๐๙. นายพฤฒิชัย ดำรงรัตน์ ๑๐. นายบุรณัชย์ สมุทรักษ์
๑๑. นางนิภา พริ้งศุลกะ ๑๒. พลตำรวจโท วิโรจน์ เปาอินทร์
๓. พิจารณากรณีวุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติจัดตั้ง
ศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามมาตรา ๑๗๕
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ในระเบียบวาระเรื่องที่มีมติให้เลื่อนขึ้นมาพิจารณาก่อนลำดับที่ ๓)
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ และได้ลงมติเห็นชอบ ด้วยกับการแก้ไขเพิ่มเติมของวุฒิสภา
จึงถือว่าร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ ได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาแล้ว ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๑๗๕ (๓)
โดยในระหว่างการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่หนึ่งได้ปฏิบัติหน้าที่แทน
ต่อมา ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภาผู้แทนราษฎรได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณาระเบียบวาระที่ ๔
เรื่องที่คณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้ว ตามลำดับ คือ
๑. ร่างพระราชบัญญัติธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว (ในระเบียบวาระ ที่ ๔.๑)
๒. ร่างพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจข้อมูลเครดิต (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว (ในระเบียบวาระที่ ๔.๒)
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติทั้ง ๒ ฉบับ ในวาระที่ ๒
ทีละฉบับ ตามลำดับ โดยเริ่มต้นด้วยชื่อร่าง คำปรารภ แล้วเรียงตามลำดับมาตรา จนจบร่าง
และได้ลงมติเห็นชอบในวาระที่ ๓ ทั้ง ๒ ฉบับ ทีละฉบับ ตามลำดับ
เพื่อเสนอให้วุฒิสภาพิจารณาต่อไปตามรัฐธรรมนูญฯ ทั้งนี้ที่ประชุมได้ลงมติเห็นชอบด้วยกับข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการฯ
ในร่างพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจข้อมูลเครดิต (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... เพื่อแจ้งไปยังคณะรัฐมนตรีด้วย
โดยในระหว่าง การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... รองประธานสภาผู้แทนราษฎรทั้งสองได้ผลัดเปลี่ยนกันดำเนินการประชุม
เลิกประชุมเวลา ๑๘.๒๒ นาฬิกา
(นายพิทูร พุ่มหิรัญ)
เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
สำนักรายงานการประชุมและชวเลข
กลุ่มงานรายงานการประชุม
โทร. ๐ ๒๒๔๔ ๒๓๗๒ - ๓
โทรสาร ๐ ๒๒๔๔ ๒๓๗๒
สรุปผลการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ
ตั้งคณะกรรมาธิการร่วมกันเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่วุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติม ตามมาตรา ๑๗๕ (๓)
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จำนวน ๒ ฉบับ คือ
๑. ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยทักษิณ พ.ศ. ....
๒. ร่างพระราชบัญญัติสถาบันพระบรมราชชนก พ.ศ. ....
เห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติที่วุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติม ตามมาตรา ๑๗๕ (๓)
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จำนวน ๑ ฉบับ คือ
- ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย (ฉบับที่ ..)
พ.ศ. ....
เห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติ จำนวน ๒ ฉบับ คือ
. ร่างพระราชบัญญัติธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
๒. ร่างพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจข้อมูลเครดิต (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
*************************