แท็ก
ดัชนีความเชื่อมั่น
ในเดือนสิงหาคม 2548ดัชนีการลงทุนภาคเอกชน (เบื้องต้น) ขยายตัวในอัตราร้อยละ 7.9 เร่งตัวขึ้นจากเดือนก่อนเล็กน้อย ตามการขยายตัวของการลงทุนในหมวดก่อสร้าง และหมวดเครื่องมือเครื่องจักรที่ยังขยายตัวในเกณฑ์ดี ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจทรงตัวใกล้เคียงกับเดือนก่อนโดยอยู่ที่ร้อยละ 44.1 จากยอดคำสั่งซื้อที่ปรับตัวดีขึ้น
การลงทุนในหมวดก่อสร้างเร่งตัวขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อน ตามปริมาณการจำหน่ายปูนซิเมนต์
ในประเทศ แม้ว่าแนวโน้มของพื้นที่รับอนุญาตก่อสร้างในเขตเทศบาลจะลดลงต่อเนื่อง สำหรับการลงทุนในหมวด
เครื่องมือเครื่องจักรขยายตัวอยู่ในเกณฑ์สูง ตามมูลค่า การนำเข้าสินค้าทุน ณ ราคาคงที่ และปริมาณจำหน่าย
รถยนต์เชิงพาณิชย์
อนึ่ง แม้ว่าผู้ประกอบการส่วนใหญ่ยังคงมีความกังวลเกี่ยวกับต้นทุนการประกอบการ ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจใน 3 เดือนข้างหน้า ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนมาอยู่ที่ร้อยละ 50.1 โดยองค์ประกอบของดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจทุกรายการปรับตัวดีขึ้น สะท้อนความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการเกี่ยวกับภาวะธุรกิจในอนาคตที่เริ่มปรับตัวดีขึ้น
ภาคการคลัง1/
รายได้รัฐบาล เดือนสิงหาคม 2548 รัฐบาลมีรายได้จัดเก็บ 186.5 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อน ร้อยละ 20.8 โดยรายได้ภาษีเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.9 และรายได้ ที่มิใช่ภาษีเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.5
รายได้ภาษีขยายตัวในทุกฐานภาษี ยกเว้นภาษีที่จัดเก็บจากฐานการค้าระหว่างประเทศที่ลดลงร้อยละ 0.2 จากระยะเดียวกันปีก่อน ตามอากรขาเข้าที่ลดลง อย่างไรก็ดี ภาษีที่จัดเก็บจากฐานรายได้ขยายตัวร้อยละ 25.5 จากระยะเดียวกันปีก่อนตามการขยายตัวของของภาษีเงินได้นิติบุคคล ที่ร้อยละ 25.7 เนื่องจากอยู่ในช่วงของการเสียภาษีจากกำไรสุทธิรอบครึ่งปีบัญชี 2548 ขณะที่ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาขยายตัวร้อยละ 6.0 สำหรับภาษีที่จัดเก็บจากฐานการบริโภคขยายตัวร้อยละ 13.1 โดยภาษีมูลค่าเพิ่มขยายถึงถึงร้อยละ 22.2 ส่วนภาษีสรรพสามิตลดลงร้อยละ 0.2 จาก ผลกระทบของการปรับลดอัตราภาษีน้ำมันดีเซล และการปรับโครงสร้างภาษีสรรพสามิตรถยนต์
รายได้ที่มิใช่ภาษีเพิ่มขึ้นร้อยละ 67.5 จากระยะ เดียวกันปีก่อน เป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของการนำส่งรายได้ของรัฐวิสาหกิจขนาดใหญ่ โดยรายได้นำส่งที่สำคัญในเดือนนี้ ของรัฐวิสาหกิจขนาดใหญ่ โดยรายได้นำส่งที่สำคัญในเดือนนี้ มาจากสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล 672 ล้านบาท และ การไฟฟ้านครหลวง 232 ล้านบาท
ทั้งนี้ ในรอบ 11 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2548 รัฐบาลมีรายได้จัดเก็บรวม 1,355.3 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก ระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 12.9 ซึ่งเมื่อหักการถอนคืนภาษีจะทำให้รัฐบาลมีรายได้สุทธิรวม 1,183.0 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 12.0 และสูงกว่า ประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 66.6 พันล้านบาท หรือร้อยละ6.0
ดุลเงินสด ในเดือนสิงหาคม รัฐบาลขาดดุลเงินสด10.4 พันล้านบาท และชำระคืนเงินกู้ต่างประเทศอีก 0.8 พันล้านบาท รัฐบาลชดเชยโดยกู้เงินในประเทศ 0.4 พันล้านบาท พร้อมทั้งใช้เงินคงคลัง 10.8 พันล้านบาท ทั้งนี้ ในรอบ 11 เดือนแรกของปีงบประมาณรัฐบาลขาดดุลเงินสด 12.3 พันล้าน เทียบกับการขาดดุล 2.0 พันล้านบาทในปีก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
การลงทุนในหมวดก่อสร้างเร่งตัวขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อน ตามปริมาณการจำหน่ายปูนซิเมนต์
ในประเทศ แม้ว่าแนวโน้มของพื้นที่รับอนุญาตก่อสร้างในเขตเทศบาลจะลดลงต่อเนื่อง สำหรับการลงทุนในหมวด
เครื่องมือเครื่องจักรขยายตัวอยู่ในเกณฑ์สูง ตามมูลค่า การนำเข้าสินค้าทุน ณ ราคาคงที่ และปริมาณจำหน่าย
รถยนต์เชิงพาณิชย์
อนึ่ง แม้ว่าผู้ประกอบการส่วนใหญ่ยังคงมีความกังวลเกี่ยวกับต้นทุนการประกอบการ ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจใน 3 เดือนข้างหน้า ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนมาอยู่ที่ร้อยละ 50.1 โดยองค์ประกอบของดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจทุกรายการปรับตัวดีขึ้น สะท้อนความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการเกี่ยวกับภาวะธุรกิจในอนาคตที่เริ่มปรับตัวดีขึ้น
ภาคการคลัง1/
รายได้รัฐบาล เดือนสิงหาคม 2548 รัฐบาลมีรายได้จัดเก็บ 186.5 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อน ร้อยละ 20.8 โดยรายได้ภาษีเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.9 และรายได้ ที่มิใช่ภาษีเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.5
รายได้ภาษีขยายตัวในทุกฐานภาษี ยกเว้นภาษีที่จัดเก็บจากฐานการค้าระหว่างประเทศที่ลดลงร้อยละ 0.2 จากระยะเดียวกันปีก่อน ตามอากรขาเข้าที่ลดลง อย่างไรก็ดี ภาษีที่จัดเก็บจากฐานรายได้ขยายตัวร้อยละ 25.5 จากระยะเดียวกันปีก่อนตามการขยายตัวของของภาษีเงินได้นิติบุคคล ที่ร้อยละ 25.7 เนื่องจากอยู่ในช่วงของการเสียภาษีจากกำไรสุทธิรอบครึ่งปีบัญชี 2548 ขณะที่ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาขยายตัวร้อยละ 6.0 สำหรับภาษีที่จัดเก็บจากฐานการบริโภคขยายตัวร้อยละ 13.1 โดยภาษีมูลค่าเพิ่มขยายถึงถึงร้อยละ 22.2 ส่วนภาษีสรรพสามิตลดลงร้อยละ 0.2 จาก ผลกระทบของการปรับลดอัตราภาษีน้ำมันดีเซล และการปรับโครงสร้างภาษีสรรพสามิตรถยนต์
รายได้ที่มิใช่ภาษีเพิ่มขึ้นร้อยละ 67.5 จากระยะ เดียวกันปีก่อน เป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของการนำส่งรายได้ของรัฐวิสาหกิจขนาดใหญ่ โดยรายได้นำส่งที่สำคัญในเดือนนี้ ของรัฐวิสาหกิจขนาดใหญ่ โดยรายได้นำส่งที่สำคัญในเดือนนี้ มาจากสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล 672 ล้านบาท และ การไฟฟ้านครหลวง 232 ล้านบาท
ทั้งนี้ ในรอบ 11 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2548 รัฐบาลมีรายได้จัดเก็บรวม 1,355.3 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก ระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 12.9 ซึ่งเมื่อหักการถอนคืนภาษีจะทำให้รัฐบาลมีรายได้สุทธิรวม 1,183.0 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 12.0 และสูงกว่า ประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 66.6 พันล้านบาท หรือร้อยละ6.0
ดุลเงินสด ในเดือนสิงหาคม รัฐบาลขาดดุลเงินสด10.4 พันล้านบาท และชำระคืนเงินกู้ต่างประเทศอีก 0.8 พันล้านบาท รัฐบาลชดเชยโดยกู้เงินในประเทศ 0.4 พันล้านบาท พร้อมทั้งใช้เงินคงคลัง 10.8 พันล้านบาท ทั้งนี้ ในรอบ 11 เดือนแรกของปีงบประมาณรัฐบาลขาดดุลเงินสด 12.3 พันล้าน เทียบกับการขาดดุล 2.0 พันล้านบาทในปีก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--