1. เสถียรภาพในประเทศ
เครื่องชี้เสถียรภาพในประเทศโดยรวมอยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจ ทั้งนี้ อัตราเงินเฟ้อ อัตราการว่างงาน และสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศอยู่ในระดับใกล้เคียงกับเดือนก่อน
รายละเอียดของเครื่องชี้เสถียรภาพในประเทศมีดังนี้
-อัตราเงินเฟ้อ
ในเดือนมกราคม 2548 ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.7 โดยราคาหมวดอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.3 ตามราคาในหมวดผักและผลไม้ ราคาไข่และผลิตภัณฑ์นม รวมทั้งราคาหมวดเนื้อสัตว์ เป็ด ไก่ และสัตว์น้ำที่สูงขึ้นเนื่องจากความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น สำหรับราคาหมวดที่ไม่รวมอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.8 ชะลอลงจากเดือนก่อนตามราคาขายปลีกน้ำมันเบนซินที่เพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอลงส่วนอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ร้อยละ 0.7 ทรงตัวเป็นเดือนที่ 5 ติดต่อกัน
-อัตราการว่างงาน
ในเดือนธันวาคม 2547 อัตราการว่างงานอยู่ที่ร้อยละ 1.5 ของกำลังแรงงานรวม ซึ่งเป็นระดับเดียวกับระยะเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้ การจ้างงานในภาคเกษตรกรลดลงร้อยละ 6.2 จากระยะเดียวกันปีก่อน ส่วนหนึ่งเพราะภาวะภัยแล้ง ขณะที่การจ้างงานในภาคนอกเกษตรขยายตัวร้อยละ 8.1 เร่งขึ้นมากจากร้อยละ 1.4 ในเดือนก่อน โดยการจ้างงานเร่งตัวขึ้นในทุกสาขา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การจ้างงานในภาคการผลิตอุตสาหกรรมซึ่งกลับมาขยายตัวหลังจากหดตัว ในเดือนก่อน โดยในเดือนนี้ขยายตัวร้อยละ 6.9
-หนี้สาธารณะ
ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2547 หนี้สาธารณะมีจำนวน 3,120.8 พันล้านบาท ลดลงสุทธิจากเดือนก่อน 2.1 พันล้านบาท ตามการลดลงของหนี้สินกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ เป็นสำคัญ ขณะที่หนี้รัฐบาลกู้โดยตรงเพิ่มขึ้นเล็กน้อยตามหนี้เงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลเงินงบประมาณ อย่างไรก็ดีหนี้สาธารณะต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศใกล้เคียงกับเดือนพฤศจิกายนอยู่ที่ประมาณร้อยละ 47.8
2. เสถียรภาพต่างประเทศ
-หนี้ต่างประเทศ
หนี้ต่างประเทศรวม ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2547 มียอดคงค้าง 50.6 พันล้านดอลล่าร์ สรอ.โดยเดือนนี้มีการชำระคืนหนี้ภาคเอกชนและภาครัฐสุทธิ จำนวน 0.2 พันล้านดอลลาร์ สรอ.แต่ผลของค่าเงินเยนที่แข็งค่าขึ้นทำให้ยอดคงค้างหนี้ต่างประเทศลดลงเพียง 0.1 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
โครงสร้างหนี้ต่างประเทศ หนี้ระยะสั้นคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 22.3 ของหนี้ต่างประเทศทั้งหมด ลดลงจากเดือนก่อนจากการชำระคืนหนี้ระยะสั้นของภาคเอกชน
หนี้ภาคเอกชน มียอดคงค้าง 35.7 พันล้านดอลลาร์ สรอ. โดยชำระคืนหนี้สุทธิ 0.1 พันล้านดอลลาร์ สรอ. จากการชำระคืนเงินกู้ระยะสั้นของกิจการวิเทศธนกิจและชำระคืนสินเชื่อการค้าของกลุ่มธุรกิจน้ำมัน อย่างไรก็ดีผลของค่าเงินเยนที่แข็งค่าขึ้น ทำให้ยอดคงค้างหนี้ต่างประเทศภาคเอกชนเมื่อคิดเป็นเงินสกุลดอลลาร์ สรอ.อยู่ในระดับใกล้เคียงกับเดือนก่อน
หนี้ภาคทางการ ลดลง 0.1 พันล้านดอลลาร์ สรอ. จากการไถ่ถอนพันธบัตรระยะยาวและการชำระเงินกู้ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการชำระคืนเงินกู้ก่อนกำหนดของรัฐวิสาหกิจ
เมื่อเทียบกับสิ้นปี 2546
หนี้ต่างประเทศรวม ในปี 2547 มีการชำระเงินคืนทั้งสิ้น 2.2 พันล้านดอลลาร์ สรอ. แต่เนื่องจากเงินเยน มีค่าแข็งขึ้นทำให้เมื่อตีราคาในรูปดอลลาร์ สรอ.หนี้ต่างประเทศรวม ณ สิ้นปี 2547 จึงลดลงเพียง 1.2 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
หนี้ภาคเอกชน เพิ่มขึ้นสุทธิ 0.9 พันล้านดอลลาร์ สรอ. จากการโอนย้ายหนี้ของบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (IFCT) ซึ่งควบรวมกิจการกับธนาคารทหารไทยจากหนี้ภาครัฐมาเป็นหนี้ภาคธนาคาร รวมทั้งมีการนำเข้าสินเชื่อการค้าในกลุ่มธุรกิจน้ำมัน นอกจากนี้หนี้ภาคเอกชนที่เพิ่มขึ้นยังเป็นผลมาจากการตีราคาของหนี้ในสกุลเงินเยนที่มีค่าแข็งขึ้นด้วย
หนี้ภาคทางการ ลดลงจากการชำระคืนเงินกู้ตามสัญญาและก่อนกำหนดของรัฐบาลและรัฐวิสาหกิจสุทธิ 2.3 พันล้านดอลลาร์ สรอ. และการโอนย้ายหนี้ของ IFCT ไปอยู่ที่ภาคธนาคาร อีกจำนวน 0.6 พันล้านดอลลาร์ สรอ.แต่ในส่วนของตราสารหนี้นั้น เป็นการนำเข้าเงินกู้สุทธิ 0.3 พันล้านดอลลาร์ สรอ.จาการออกตราสารหนี้ระยะยาว Floating Rate Notes (FRNs) ของรัฐบาล และการออกหุ้นกู้ของรัฐวิสาหกิจ สุทธิแล้วยอดคงค้างหนี้ในภาครัฐจึงลดลง 2.6 พันล้านดอลลาร์ สรอ.อย่างไรก็ดี ผลของค่าเงินเยนที่แข็งค่าขึ้น ทำให้เมื่อตีราคาหนี้ภาครัฐเป็นอัตราตลาดยอดคงค้างจึงลดลงเพียง 2.1 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
-เงินสำรองระหว่างประเทศ
เงินสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนมกราคม 2547 เท่ากับ 48.9 พันล้านดอลลาร์ สรอ. และมียอดคงค้างการซื้อเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าสุทธิจำนวน 5.5 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
-ดัชนีวัดเสถียรภาพต่างประเทศ
ในไตรมาสที่ 4 เสถียรภาพด้านต่างประเทศอยู่ในเกณฑ์ดี โดยสัดส่วนหนี้ต่างประเทศต่อการส่งออกสินค้าและบริการ ซึ่งเป็นดัชนีชี้ความสามารถในการชำระหนี้ต่างประเทศได้ลดลงต่อเนื่องจากไตรมาสก่อน รวมทั้งดัชนีวัดความเสี่ยงด้านสภาพคล่องของประเทศ ซึ่งได้แก่สัดส่วนเงินสำรองระหว่างประเทศที่เพิ่มขึ้น สำหรับภาระหนี้ต่างประเทศ (เงินต้น+ดอกเบี้ย) ต่อรายได้ที่เป็นเงินตราต่างประเทศ (Debt Service Ratio:DSR) ปรับตัวลดลงเนื่องจากการชำระหนี้ที่ลดลง รวมทั้งรายได้ส่งออกที่ขยายตัวดีขึ้น
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
เครื่องชี้เสถียรภาพในประเทศโดยรวมอยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจ ทั้งนี้ อัตราเงินเฟ้อ อัตราการว่างงาน และสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศอยู่ในระดับใกล้เคียงกับเดือนก่อน
รายละเอียดของเครื่องชี้เสถียรภาพในประเทศมีดังนี้
-อัตราเงินเฟ้อ
ในเดือนมกราคม 2548 ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.7 โดยราคาหมวดอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.3 ตามราคาในหมวดผักและผลไม้ ราคาไข่และผลิตภัณฑ์นม รวมทั้งราคาหมวดเนื้อสัตว์ เป็ด ไก่ และสัตว์น้ำที่สูงขึ้นเนื่องจากความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น สำหรับราคาหมวดที่ไม่รวมอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.8 ชะลอลงจากเดือนก่อนตามราคาขายปลีกน้ำมันเบนซินที่เพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอลงส่วนอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ร้อยละ 0.7 ทรงตัวเป็นเดือนที่ 5 ติดต่อกัน
-อัตราการว่างงาน
ในเดือนธันวาคม 2547 อัตราการว่างงานอยู่ที่ร้อยละ 1.5 ของกำลังแรงงานรวม ซึ่งเป็นระดับเดียวกับระยะเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้ การจ้างงานในภาคเกษตรกรลดลงร้อยละ 6.2 จากระยะเดียวกันปีก่อน ส่วนหนึ่งเพราะภาวะภัยแล้ง ขณะที่การจ้างงานในภาคนอกเกษตรขยายตัวร้อยละ 8.1 เร่งขึ้นมากจากร้อยละ 1.4 ในเดือนก่อน โดยการจ้างงานเร่งตัวขึ้นในทุกสาขา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การจ้างงานในภาคการผลิตอุตสาหกรรมซึ่งกลับมาขยายตัวหลังจากหดตัว ในเดือนก่อน โดยในเดือนนี้ขยายตัวร้อยละ 6.9
-หนี้สาธารณะ
ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2547 หนี้สาธารณะมีจำนวน 3,120.8 พันล้านบาท ลดลงสุทธิจากเดือนก่อน 2.1 พันล้านบาท ตามการลดลงของหนี้สินกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ เป็นสำคัญ ขณะที่หนี้รัฐบาลกู้โดยตรงเพิ่มขึ้นเล็กน้อยตามหนี้เงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลเงินงบประมาณ อย่างไรก็ดีหนี้สาธารณะต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศใกล้เคียงกับเดือนพฤศจิกายนอยู่ที่ประมาณร้อยละ 47.8
2. เสถียรภาพต่างประเทศ
-หนี้ต่างประเทศ
หนี้ต่างประเทศรวม ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2547 มียอดคงค้าง 50.6 พันล้านดอลล่าร์ สรอ.โดยเดือนนี้มีการชำระคืนหนี้ภาคเอกชนและภาครัฐสุทธิ จำนวน 0.2 พันล้านดอลลาร์ สรอ.แต่ผลของค่าเงินเยนที่แข็งค่าขึ้นทำให้ยอดคงค้างหนี้ต่างประเทศลดลงเพียง 0.1 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
โครงสร้างหนี้ต่างประเทศ หนี้ระยะสั้นคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 22.3 ของหนี้ต่างประเทศทั้งหมด ลดลงจากเดือนก่อนจากการชำระคืนหนี้ระยะสั้นของภาคเอกชน
หนี้ภาคเอกชน มียอดคงค้าง 35.7 พันล้านดอลลาร์ สรอ. โดยชำระคืนหนี้สุทธิ 0.1 พันล้านดอลลาร์ สรอ. จากการชำระคืนเงินกู้ระยะสั้นของกิจการวิเทศธนกิจและชำระคืนสินเชื่อการค้าของกลุ่มธุรกิจน้ำมัน อย่างไรก็ดีผลของค่าเงินเยนที่แข็งค่าขึ้น ทำให้ยอดคงค้างหนี้ต่างประเทศภาคเอกชนเมื่อคิดเป็นเงินสกุลดอลลาร์ สรอ.อยู่ในระดับใกล้เคียงกับเดือนก่อน
หนี้ภาคทางการ ลดลง 0.1 พันล้านดอลลาร์ สรอ. จากการไถ่ถอนพันธบัตรระยะยาวและการชำระเงินกู้ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการชำระคืนเงินกู้ก่อนกำหนดของรัฐวิสาหกิจ
เมื่อเทียบกับสิ้นปี 2546
หนี้ต่างประเทศรวม ในปี 2547 มีการชำระเงินคืนทั้งสิ้น 2.2 พันล้านดอลลาร์ สรอ. แต่เนื่องจากเงินเยน มีค่าแข็งขึ้นทำให้เมื่อตีราคาในรูปดอลลาร์ สรอ.หนี้ต่างประเทศรวม ณ สิ้นปี 2547 จึงลดลงเพียง 1.2 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
หนี้ภาคเอกชน เพิ่มขึ้นสุทธิ 0.9 พันล้านดอลลาร์ สรอ. จากการโอนย้ายหนี้ของบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (IFCT) ซึ่งควบรวมกิจการกับธนาคารทหารไทยจากหนี้ภาครัฐมาเป็นหนี้ภาคธนาคาร รวมทั้งมีการนำเข้าสินเชื่อการค้าในกลุ่มธุรกิจน้ำมัน นอกจากนี้หนี้ภาคเอกชนที่เพิ่มขึ้นยังเป็นผลมาจากการตีราคาของหนี้ในสกุลเงินเยนที่มีค่าแข็งขึ้นด้วย
หนี้ภาคทางการ ลดลงจากการชำระคืนเงินกู้ตามสัญญาและก่อนกำหนดของรัฐบาลและรัฐวิสาหกิจสุทธิ 2.3 พันล้านดอลลาร์ สรอ. และการโอนย้ายหนี้ของ IFCT ไปอยู่ที่ภาคธนาคาร อีกจำนวน 0.6 พันล้านดอลลาร์ สรอ.แต่ในส่วนของตราสารหนี้นั้น เป็นการนำเข้าเงินกู้สุทธิ 0.3 พันล้านดอลลาร์ สรอ.จาการออกตราสารหนี้ระยะยาว Floating Rate Notes (FRNs) ของรัฐบาล และการออกหุ้นกู้ของรัฐวิสาหกิจ สุทธิแล้วยอดคงค้างหนี้ในภาครัฐจึงลดลง 2.6 พันล้านดอลลาร์ สรอ.อย่างไรก็ดี ผลของค่าเงินเยนที่แข็งค่าขึ้น ทำให้เมื่อตีราคาหนี้ภาครัฐเป็นอัตราตลาดยอดคงค้างจึงลดลงเพียง 2.1 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
-เงินสำรองระหว่างประเทศ
เงินสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนมกราคม 2547 เท่ากับ 48.9 พันล้านดอลลาร์ สรอ. และมียอดคงค้างการซื้อเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าสุทธิจำนวน 5.5 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
-ดัชนีวัดเสถียรภาพต่างประเทศ
ในไตรมาสที่ 4 เสถียรภาพด้านต่างประเทศอยู่ในเกณฑ์ดี โดยสัดส่วนหนี้ต่างประเทศต่อการส่งออกสินค้าและบริการ ซึ่งเป็นดัชนีชี้ความสามารถในการชำระหนี้ต่างประเทศได้ลดลงต่อเนื่องจากไตรมาสก่อน รวมทั้งดัชนีวัดความเสี่ยงด้านสภาพคล่องของประเทศ ซึ่งได้แก่สัดส่วนเงินสำรองระหว่างประเทศที่เพิ่มขึ้น สำหรับภาระหนี้ต่างประเทศ (เงินต้น+ดอกเบี้ย) ต่อรายได้ที่เป็นเงินตราต่างประเทศ (Debt Service Ratio:DSR) ปรับตัวลดลงเนื่องจากการชำระหนี้ที่ลดลง รวมทั้งรายได้ส่งออกที่ขยายตัวดีขึ้น
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--