สศอ.เผยไตรมาส 3 อุตฯยางและผลิตภัณฑ์คึกคัก ยอดการผลิต-ส่งออกโตถ้วนหน้า ชี้เป็นไปตามทิศทางยานยนต์ คาดไตรมาส 4 และปี 49 แนวโน้มยังดีต่อเนื่อง
ดร.อรรชกา บริมเบิล ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า อุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยางไตรมาสที่ 3 ของปี 2548 มีทิศทางเติบโตจากไตรมาสที่ผ่านมา และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2547 ก็มีการขยายตัวได้ดีทั้งตลาดในประเทศและตลาดส่งออก ปัจจัยหลักมาจากความต้องการที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ยางไตรมาสที่ 3 มีมูลค่าการส่งออก 627 ล้านเหรียญเทียบจากไตรมาสเดียวกันของปี 2547 ที่มีมูลค่า 505 ล้านเหรียญ เพิ่มขึ้นร้อยละ 23 ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับอุตสาหกรรมยานยนต์ โดยเฉพาะความคึกคักของการผลิตรถปิคอัพขนาด 1 ตันที่มียอดการผลิตได้เกิน 1 ล้านคันในปี 2548 สำหรับภาพรวมของอุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยางไตรมาสที่ 3 มีมูลค่าการส่งออกรวมกัน 1,600 ล้านเหรียญ แบ่งเป็นยางพาราร้อยละ 62 และผลิตภัณฑ์ยางร้อยละ 37
"ภาวะการผลิตยางที่สำคัญในไตรมาสที่ 3 เทียบกับไตรมาสที่ 2 ปี 2548 สำหรับยางขั้นต้น ได้แก่ ยางแท่งและยางแผ่น ปรากฎว่ามีปริมาณการผลิตยางแท่งจำนวน 180,000 ตัน ลดลงเล็กน้อย ร้อยละ 3 แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี 2547 เพิ่มขึ้นร้อยละ 64 ส่วนยางแผ่นผลิตได้ 85,000 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 75 แต่เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี 2547 ลดลงร้อยละ 3
สำหรับผลิตภัณฑ์ยาง จำแนกเป็นยางนอกรถยนต์นั่ง ผลิตได้ 3,450,000 เส้น เพิ่มขึ้นร้อยละ 7 แต่ชะลอลงร้อยละ 3 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี 2547 ยางนอกรถปิคอัพ ผลิตได้ 1,450,000 เส้น เพิ่มขึ้นร้อยละ 8 และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี 2547 เพิ่มขึ้นร้อยละ 11 ซึ่งเป็นผลมาจากยอดการผลิตรถยนต์ที่เพิ่มขึ้น ส่วนถุงมือยางมีปริมาณการผลิต 2,000 ล้านชิ้น ลดลงร้อยละ 21 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี 2547 ลดลงร้อยละ 8 เนื่องจากมีต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นจากราคาน้ำยางดิบทำให้ผู้ผลิตเริ่มหันไปผลิตผลิตภัณฑ์ชนิดอื่นแทน"
ดร.อรรชกา กล่าวว่า ตลาดส่งออกสำหรับอุตสาหกรรมยางในไตรมาสที่ 3 นี้มีความคึกคักเป็นอย่างมาก เนื่องจากประเทศผู้นำเข้าอุตสาหกรรมยางรายใหญ่ของไทย ทั้ง จีน ญี่ปุ่น มาเลเซีย และสหรัฐอเมริกาส่งคำสั่งซื้อเข้ามาอย่างหนาแน่น ทำให้มีมูลค่าการส่งออกยางแปรรูปขั้นต้น (ยางแผ่น ยางแท่ง ยางเครพ และน้ำยางข้น) 1,000 ล้านเหรียญ เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 2 ร้อยละ 43 และเพิ่มขึ้นร้อยละ 35 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี 2547 ส่วนผลิตภัณฑ์ยาง (ยางรถยนต์ ถุงมือยาง ยางรัดของ หลอด) ไตรมาสที่ 3 ก็มีคำสั่งซื้อเข้ามาอย่างหนาแน่น จากประเทศสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และฮ่องกง ทำให้มีมูลค่าการส่งออก 627 ล้านเหรียญ เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 2 ร้อยละ 9 และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2547 ร้อยละ 23
"ในไตรมาสที่ 3 ปี 2548 การผลิตยางขั้นต้นประเภทยางแท่งมีปริมาณการผลิตลดลงเล็กน้อยจากไตรมาสที่แล้ว ส่วนการผลิตยางแผ่น และผลิตภัณฑ์ยางประเภทยางล้อรถปิคอัพมีปริมาณการผลิตเพิ่มมากขึ้น อันเนื่องมาจากการขยายตัวของการผลิตยานยนต์ ซึ่งประเทศไทยสามารถผลิตรถยนต์ได้เกิน 1 ล้านคันเมื่อเดือนที่ผ่านมา (พ.ย.) สำหรับแนวโน้มของอุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยางไตรมาสที่ 4 ปี 2548 คาดว่าราคาน้ำยางจะยังคงมีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วงแคบๆ แต่ความต้องการในตลาดโลกยังมีทิศทางที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจโลก สำหรับภาพรวมอุตสาหกรรมยางปี 2549 คาดว่าจะขยายตัวได้ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 10 เมื่อเทียบกับปี 2548 ซึ่งสอดคล้องกันกับยุทธศาสตร์ปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมใหม่และยุทธศาสตร์ยางพารา 2549-2551 โดยมุ่งเน้นการเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพต่อไป" ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กล่าวในที่สุด
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
ดร.อรรชกา บริมเบิล ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า อุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยางไตรมาสที่ 3 ของปี 2548 มีทิศทางเติบโตจากไตรมาสที่ผ่านมา และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2547 ก็มีการขยายตัวได้ดีทั้งตลาดในประเทศและตลาดส่งออก ปัจจัยหลักมาจากความต้องการที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ยางไตรมาสที่ 3 มีมูลค่าการส่งออก 627 ล้านเหรียญเทียบจากไตรมาสเดียวกันของปี 2547 ที่มีมูลค่า 505 ล้านเหรียญ เพิ่มขึ้นร้อยละ 23 ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับอุตสาหกรรมยานยนต์ โดยเฉพาะความคึกคักของการผลิตรถปิคอัพขนาด 1 ตันที่มียอดการผลิตได้เกิน 1 ล้านคันในปี 2548 สำหรับภาพรวมของอุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยางไตรมาสที่ 3 มีมูลค่าการส่งออกรวมกัน 1,600 ล้านเหรียญ แบ่งเป็นยางพาราร้อยละ 62 และผลิตภัณฑ์ยางร้อยละ 37
"ภาวะการผลิตยางที่สำคัญในไตรมาสที่ 3 เทียบกับไตรมาสที่ 2 ปี 2548 สำหรับยางขั้นต้น ได้แก่ ยางแท่งและยางแผ่น ปรากฎว่ามีปริมาณการผลิตยางแท่งจำนวน 180,000 ตัน ลดลงเล็กน้อย ร้อยละ 3 แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี 2547 เพิ่มขึ้นร้อยละ 64 ส่วนยางแผ่นผลิตได้ 85,000 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 75 แต่เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี 2547 ลดลงร้อยละ 3
สำหรับผลิตภัณฑ์ยาง จำแนกเป็นยางนอกรถยนต์นั่ง ผลิตได้ 3,450,000 เส้น เพิ่มขึ้นร้อยละ 7 แต่ชะลอลงร้อยละ 3 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี 2547 ยางนอกรถปิคอัพ ผลิตได้ 1,450,000 เส้น เพิ่มขึ้นร้อยละ 8 และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี 2547 เพิ่มขึ้นร้อยละ 11 ซึ่งเป็นผลมาจากยอดการผลิตรถยนต์ที่เพิ่มขึ้น ส่วนถุงมือยางมีปริมาณการผลิต 2,000 ล้านชิ้น ลดลงร้อยละ 21 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี 2547 ลดลงร้อยละ 8 เนื่องจากมีต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นจากราคาน้ำยางดิบทำให้ผู้ผลิตเริ่มหันไปผลิตผลิตภัณฑ์ชนิดอื่นแทน"
ดร.อรรชกา กล่าวว่า ตลาดส่งออกสำหรับอุตสาหกรรมยางในไตรมาสที่ 3 นี้มีความคึกคักเป็นอย่างมาก เนื่องจากประเทศผู้นำเข้าอุตสาหกรรมยางรายใหญ่ของไทย ทั้ง จีน ญี่ปุ่น มาเลเซีย และสหรัฐอเมริกาส่งคำสั่งซื้อเข้ามาอย่างหนาแน่น ทำให้มีมูลค่าการส่งออกยางแปรรูปขั้นต้น (ยางแผ่น ยางแท่ง ยางเครพ และน้ำยางข้น) 1,000 ล้านเหรียญ เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 2 ร้อยละ 43 และเพิ่มขึ้นร้อยละ 35 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี 2547 ส่วนผลิตภัณฑ์ยาง (ยางรถยนต์ ถุงมือยาง ยางรัดของ หลอด) ไตรมาสที่ 3 ก็มีคำสั่งซื้อเข้ามาอย่างหนาแน่น จากประเทศสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และฮ่องกง ทำให้มีมูลค่าการส่งออก 627 ล้านเหรียญ เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 2 ร้อยละ 9 และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2547 ร้อยละ 23
"ในไตรมาสที่ 3 ปี 2548 การผลิตยางขั้นต้นประเภทยางแท่งมีปริมาณการผลิตลดลงเล็กน้อยจากไตรมาสที่แล้ว ส่วนการผลิตยางแผ่น และผลิตภัณฑ์ยางประเภทยางล้อรถปิคอัพมีปริมาณการผลิตเพิ่มมากขึ้น อันเนื่องมาจากการขยายตัวของการผลิตยานยนต์ ซึ่งประเทศไทยสามารถผลิตรถยนต์ได้เกิน 1 ล้านคันเมื่อเดือนที่ผ่านมา (พ.ย.) สำหรับแนวโน้มของอุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยางไตรมาสที่ 4 ปี 2548 คาดว่าราคาน้ำยางจะยังคงมีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วงแคบๆ แต่ความต้องการในตลาดโลกยังมีทิศทางที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจโลก สำหรับภาพรวมอุตสาหกรรมยางปี 2549 คาดว่าจะขยายตัวได้ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 10 เมื่อเทียบกับปี 2548 ซึ่งสอดคล้องกันกับยุทธศาสตร์ปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมใหม่และยุทธศาสตร์ยางพารา 2549-2551 โดยมุ่งเน้นการเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพต่อไป" ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กล่าวในที่สุด
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-