กรุงเทพ--9 ก.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อวันที่ 8 กันยายน 2548 นายสีหศักดิ์ พวงเกตุแก้ว อธิบดีกรมสารนิเทศ ในฐานะโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ แถลงที่ทำเนียบรัฐบาล ภายหลังจากการแถลงข่าวประจำสัปดาห์ของนายกรัฐมนตรี เกี่ยวกับความคืบหน้ากรณีคนไทยมุสลิม 131 คน หลบหนีเข้ามาเลเซีย ในส่วนที่สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (United Nations High Commissioner for Refugees - UNHCR) ประจำมาเลเซียมีท่าทีจะเข้ามาเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์นี้ ว่า ยังไม่ได้มีการประสานกัน เพราะการดำเนินการในส่วนของทางการมาเลเซียยังไม่เสร็จสิ้น และรัฐบาลไทยเห็นว่า คนไทยมุสลิมกลุ่มที่เดินทางเข้าไปในมาเลเซียดังกล่าว ไม่เข้าข่ายเป็นผู้ลี้ภัย
อธิบดีกรมสารนิเทศกล่าวว่า การเดินทางเข้าไปในมาเลเซียของคนไทยกลุ่มดังกล่าวอาจเกิดจากความหวาดกลัวต่อสถานการณ์ความไม่ปลอดภัย ที่เกิดจากกลุ่มที่ก่อความไม่สงบ ไม่ได้มีสาเหตุมาจากการใช้อำนาจรัฐของรัฐบาล จึงไม่มีประเด็นเรื่องการใช้ความรุนแรงจากรัฐบาล เมื่อเป็นเช่นนั้น จึงไม่น่าจะเข้าข่ายผู้ลี้ภัย นี่คือท่าทีของรัฐบาลไทย
สำหรับท่าทีของ UNHCR นั้น อธิบดีกรมสารนิเทศกล่าวว่ายังไม่สามารถให้ความเห็นได้ เพราะกระบวนการสัมภาษณ์บุคคลกลุ่มนี้ยังไม่แล้วเสร็จ จะรอให้กระบวนการทางฝ่ายมาเลเซียเสร็จสิ้นเสียก่อน ทั้งนี้ ฝ่ายไทยได้ดำเนินการช่องทางด้านการทูตกับมาเลเซียแล้ว ให้ทั้ง 2 ฝ่ายมีความเข้าใจที่ตรงกัน เกี่ยวกับข้อเท็จจริงต่างๆ ที่นำไปสู่การเดินทางเข้ามาเลเซียของคนไทยมุสลิม 131 คนดังกล่าว
ต่อข้อถามของผู้สื่อข่าวว่า ขบวนการก่อเหตุในภาคใต้ และกลุ่มพูโล มีความเข้มแข็งเพียงใด อธิบดีกรมสารนิเทศกล่าวว่า ทางกระทรวงการต่างประเทศมีข้อมูลเฉพาะส่วนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ว่าได้มีการประสานระหว่างกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ ซึ่งข้อมูลยังไม่ชัดเจนว่าเป็นกลุ่มไหน ร่วมกับกลุ่มที่เรียกตัวเองว่าพูโล เพื่อให้มีการดำเนินการในด้านต่างประเทศด้วย และกลุ่มดังกล่าวได้มีการประสานให้ข้อมูลกับ UNHCR เพื่อจะทำให้รัฐบาลมาเลเซียไม่ส่งบุคคลเหล่านั้นกลับมาประเทศไทย และเพื่อมุ่งให้กระทบต่อภาพลักษณ์ของประเทศไทย แต่ข้อมูลของฝ่ายเรามิได้หมายความว่ากลุ่มพูโลคือกลุ่มที่ก่อความไม่สงบในภาคใต้ เพียงแต่มีการประสานงานกันระหว่างกลุ่มนี้กับพูโล ให้ดำเนินการทางด้านต่างประเทศ แต่ฝ่ายไทยก็ได้ประสานกับมาเลเซียแล้ว มีการตรวจสอบข้อมูลร่วมกัน และจะเร่งประสานงานกันเพื่อแก้ไขเรื่องนี้ให้จบโดยเร็ว
ส่วนที่มีรายงานข่าวว่า ตุน ดร. มหาเธร์ มูฮัมหมัด อดีตนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย แสดงความเห็นว่า ทางการมาเลเซียควรให้สถานะผู้ลี้ภัยกับบุคลลทั้ง 131 คน ขณะเดียวกัน ไทยควรให้ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นเขตปกครองตนเองนั้น โฆษกกระทรวงการต่างประเทศชี้แจงว่า อดีตนายกรัฐมนตรีมาเลเซียไม่ได้พูดหรือเรียกร้องว่า ควรจะให้ที่พักพิงแก่คนไทย 131 คนในมาเลเซีย หรือควรให้เป็นผู้ลี้ภัย เพียงแต่ตุน ดร. มหาเธร์ถูกผู้สื่อข่าวถามในเรื่องนี้จึงได้ตอบไปว่า ถ้ามีการพิสูจน์แล้วว่าเป็นผู้ลี้ภัย ก็เป็นเรื่องธรรมดาที่มาเลเซียจะให้ที่พักพิง มิใช่เป็นการออกมาพูดเรียกร้องโดยตุน ดร. มหาเธร์ แต่เป็นเรื่องข้อเท็จจริง
อธิบดีกรมสารนิเทศแจ้งว่า ขณะนี้ เท่าที่ฝ่ายไทยตรวจสอบได้แล้ว มี 69 คน จาก 131 คน ซึ่งมีเพียงคนเดียวที่มาจากอำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส ส่วนที่เหลือจะมาจากที่ไหนบ้าง ตนยังไม่เห็นข้อมูล และยังไม่มีข้อมูลว่าในจำนวน 69 คนดังกล่าว มีผู้ที่มีหมายจับของรัฐบาลไทยหรือไม่
สำหรับรายงานข่าวที่ว่ากงสุลใหญ่ไทย ณ เมืองโกตาบารู ได้พูดคุยกับบุคคลกลุ่มนี้แล้วนั้น อธิบดีกรมสารนิเทศชี้แจงว่า ยังไม่ได้พบกับทุกคน ได้คุยกับตัวแทนเพียง 2 คนเท่านั้น และไม่ได้เป็นการพูดคุยในลักษณะสัมภาษณ์ เป็นการถามสารทุกข์สุกดิบธรรมดา เพราะกระบวนการของมาเลเซียยังไม่เสร็จ และคงไม่สามารถระบุเวลาได้ แม้ว่าเราต้องการทราบข้อเท็จจริง และยุติปัญหาโดยเร็ว
โฆษกกระทรวงการต่างประเทศชี้แจงด้วยว่า กฎหมายของมาเลเซียให้เวลาดำเนินกระบวนการสัมภาษณ์ 14 วัน แต่อาจจะมีการยืดเวลาออกไปได้ ขณะนี้ เราต้องเคารพกระบวนการของมาเลเซีย เพื่อจะได้มีการแก้ไขปัญหาได้โดยเร็ว บนพื้นฐานของความเป็นเพื่อนบ้านที่ดีระหว่างไทยและมาเลเซีย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
เมื่อวันที่ 8 กันยายน 2548 นายสีหศักดิ์ พวงเกตุแก้ว อธิบดีกรมสารนิเทศ ในฐานะโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ แถลงที่ทำเนียบรัฐบาล ภายหลังจากการแถลงข่าวประจำสัปดาห์ของนายกรัฐมนตรี เกี่ยวกับความคืบหน้ากรณีคนไทยมุสลิม 131 คน หลบหนีเข้ามาเลเซีย ในส่วนที่สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (United Nations High Commissioner for Refugees - UNHCR) ประจำมาเลเซียมีท่าทีจะเข้ามาเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์นี้ ว่า ยังไม่ได้มีการประสานกัน เพราะการดำเนินการในส่วนของทางการมาเลเซียยังไม่เสร็จสิ้น และรัฐบาลไทยเห็นว่า คนไทยมุสลิมกลุ่มที่เดินทางเข้าไปในมาเลเซียดังกล่าว ไม่เข้าข่ายเป็นผู้ลี้ภัย
อธิบดีกรมสารนิเทศกล่าวว่า การเดินทางเข้าไปในมาเลเซียของคนไทยกลุ่มดังกล่าวอาจเกิดจากความหวาดกลัวต่อสถานการณ์ความไม่ปลอดภัย ที่เกิดจากกลุ่มที่ก่อความไม่สงบ ไม่ได้มีสาเหตุมาจากการใช้อำนาจรัฐของรัฐบาล จึงไม่มีประเด็นเรื่องการใช้ความรุนแรงจากรัฐบาล เมื่อเป็นเช่นนั้น จึงไม่น่าจะเข้าข่ายผู้ลี้ภัย นี่คือท่าทีของรัฐบาลไทย
สำหรับท่าทีของ UNHCR นั้น อธิบดีกรมสารนิเทศกล่าวว่ายังไม่สามารถให้ความเห็นได้ เพราะกระบวนการสัมภาษณ์บุคคลกลุ่มนี้ยังไม่แล้วเสร็จ จะรอให้กระบวนการทางฝ่ายมาเลเซียเสร็จสิ้นเสียก่อน ทั้งนี้ ฝ่ายไทยได้ดำเนินการช่องทางด้านการทูตกับมาเลเซียแล้ว ให้ทั้ง 2 ฝ่ายมีความเข้าใจที่ตรงกัน เกี่ยวกับข้อเท็จจริงต่างๆ ที่นำไปสู่การเดินทางเข้ามาเลเซียของคนไทยมุสลิม 131 คนดังกล่าว
ต่อข้อถามของผู้สื่อข่าวว่า ขบวนการก่อเหตุในภาคใต้ และกลุ่มพูโล มีความเข้มแข็งเพียงใด อธิบดีกรมสารนิเทศกล่าวว่า ทางกระทรวงการต่างประเทศมีข้อมูลเฉพาะส่วนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ว่าได้มีการประสานระหว่างกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ ซึ่งข้อมูลยังไม่ชัดเจนว่าเป็นกลุ่มไหน ร่วมกับกลุ่มที่เรียกตัวเองว่าพูโล เพื่อให้มีการดำเนินการในด้านต่างประเทศด้วย และกลุ่มดังกล่าวได้มีการประสานให้ข้อมูลกับ UNHCR เพื่อจะทำให้รัฐบาลมาเลเซียไม่ส่งบุคคลเหล่านั้นกลับมาประเทศไทย และเพื่อมุ่งให้กระทบต่อภาพลักษณ์ของประเทศไทย แต่ข้อมูลของฝ่ายเรามิได้หมายความว่ากลุ่มพูโลคือกลุ่มที่ก่อความไม่สงบในภาคใต้ เพียงแต่มีการประสานงานกันระหว่างกลุ่มนี้กับพูโล ให้ดำเนินการทางด้านต่างประเทศ แต่ฝ่ายไทยก็ได้ประสานกับมาเลเซียแล้ว มีการตรวจสอบข้อมูลร่วมกัน และจะเร่งประสานงานกันเพื่อแก้ไขเรื่องนี้ให้จบโดยเร็ว
ส่วนที่มีรายงานข่าวว่า ตุน ดร. มหาเธร์ มูฮัมหมัด อดีตนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย แสดงความเห็นว่า ทางการมาเลเซียควรให้สถานะผู้ลี้ภัยกับบุคลลทั้ง 131 คน ขณะเดียวกัน ไทยควรให้ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นเขตปกครองตนเองนั้น โฆษกกระทรวงการต่างประเทศชี้แจงว่า อดีตนายกรัฐมนตรีมาเลเซียไม่ได้พูดหรือเรียกร้องว่า ควรจะให้ที่พักพิงแก่คนไทย 131 คนในมาเลเซีย หรือควรให้เป็นผู้ลี้ภัย เพียงแต่ตุน ดร. มหาเธร์ถูกผู้สื่อข่าวถามในเรื่องนี้จึงได้ตอบไปว่า ถ้ามีการพิสูจน์แล้วว่าเป็นผู้ลี้ภัย ก็เป็นเรื่องธรรมดาที่มาเลเซียจะให้ที่พักพิง มิใช่เป็นการออกมาพูดเรียกร้องโดยตุน ดร. มหาเธร์ แต่เป็นเรื่องข้อเท็จจริง
อธิบดีกรมสารนิเทศแจ้งว่า ขณะนี้ เท่าที่ฝ่ายไทยตรวจสอบได้แล้ว มี 69 คน จาก 131 คน ซึ่งมีเพียงคนเดียวที่มาจากอำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส ส่วนที่เหลือจะมาจากที่ไหนบ้าง ตนยังไม่เห็นข้อมูล และยังไม่มีข้อมูลว่าในจำนวน 69 คนดังกล่าว มีผู้ที่มีหมายจับของรัฐบาลไทยหรือไม่
สำหรับรายงานข่าวที่ว่ากงสุลใหญ่ไทย ณ เมืองโกตาบารู ได้พูดคุยกับบุคคลกลุ่มนี้แล้วนั้น อธิบดีกรมสารนิเทศชี้แจงว่า ยังไม่ได้พบกับทุกคน ได้คุยกับตัวแทนเพียง 2 คนเท่านั้น และไม่ได้เป็นการพูดคุยในลักษณะสัมภาษณ์ เป็นการถามสารทุกข์สุกดิบธรรมดา เพราะกระบวนการของมาเลเซียยังไม่เสร็จ และคงไม่สามารถระบุเวลาได้ แม้ว่าเราต้องการทราบข้อเท็จจริง และยุติปัญหาโดยเร็ว
โฆษกกระทรวงการต่างประเทศชี้แจงด้วยว่า กฎหมายของมาเลเซียให้เวลาดำเนินกระบวนการสัมภาษณ์ 14 วัน แต่อาจจะมีการยืดเวลาออกไปได้ ขณะนี้ เราต้องเคารพกระบวนการของมาเลเซีย เพื่อจะได้มีการแก้ไขปัญหาได้โดยเร็ว บนพื้นฐานของความเป็นเพื่อนบ้านที่ดีระหว่างไทยและมาเลเซีย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-