สุกร
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ในสัปดาห์นี้ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ยังทรงตัว เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมาได้เกิดโรคระบบทางเดินหายใจ (PRRS) ในสุกร ทำให้ผลผลิตในบางพื้นที่ได้รับความเสียหาย ปริมาณสุกรที่ออกสู่ตลาดจึงเพิ่มขึ้นไม่มากนักแม้ว่าจะมีการขยายการผลิตเพิ่มขึ้น ซึ่งใกล้เคียงกับความต้องการบริโภคที่เริ่มอ่อนตัวลงเพราะผู้บริโภคหันไปบริโภคสินค้าอื่นที่มีราคาถูกกว่า แนวโน้มคาดว่าราคาจะทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 51.33 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 51.24 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.18 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 50.34 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 49.42 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 51.71 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 56.00 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ตัวละ 1,300 บาท (บวกลบ 51 บาท) ราคาทรงตัว เท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 51.50 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา ส่วนราคาขายส่งสุกรชำแหละเฉลี่ยกิโลกรัมละ 61.50 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไก่เนื้อ
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
อธิบดีกรมปศุสัตว์ เปิดเผยว่า ในเดือนกรกฎาคมนี้กระทรวงเกษตร ฯ โดยกรมปศุสัตว์ ได้ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงมหาดไทยและกระทรวงทรัพยากร ฯ X-RAY พื้นที่ทั่วประเทศเพื่อค้นหาเชื้อไข้หวัดนกที่ยังอาจแฝงตัวอยู่ และเร่งสำรวจจำนวนสัตว์ปีกทั้งหมดในประเทศให้ได้ข้อมูลที่เป็นปัจจุบัน เพื่อเป็นการศึกษาเรื่องการเปลี่ยนแปลงของเชื้อไข้หวัดนกในแต่ละพื้นที่ด้วย
หลังการระบาดของโรคไข้หวัดนกในจีนเมื่อ 2 เดือนที่ผ่านมา ทำให้นกป่าตายประมาณ 5,000 ตัว องค์การอนามัยโลก (WHO) เรียกร้องให้จีนเร่งตรวจสอบหาเชื้อไวรัสในห่านป่าและ นกทะเลหากนกอพยพเหล่านี้แพร่กระจายเชื้อไวรัส H5 N1 ออกนอกพื้นที่ในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้แล้วจะส่งผลกระทบต่อฟาร์มสัตว์ปีกหลาย ๆ แห่ง จะเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดการระบาดของโรคฯ ในคนได้ และอาจมีแนวโน้มแพร่ระบาดไปถึงอินเดีย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และยุโรป
น.พ. สุชัย เจริญรัตนกุล รมว. สาธารณาสุข (สธ) กล่าวภายหลังในการประชุมสมัชชาองค์การอนามัยโลก ที่นครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ว่า รมว. สาธารณสุขจากประเทศต่าง ๆ ประชุมร่วมกันเพื่อหามาตรการรับมือโรคไข้หวัดใหญ่ รวมทั้งการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดนกสายพันธ์ H5 N1 ซึ่งต้องจัดการควบคู่กันไปเพื่อป้องกันเชื้อกลายพันธุ์ และได้ตกลงความร่วมมือกัน 3 เรื่อง คือ 1. ตั้งธนาคารยาต้านไวรัสทามิฟูร่วมกัน ซึ่งไทยได้สำรองยานี้ไว้แล้ว 300,00 เม็ด ฮ่องกง สำรองไว้ 3 ล้านเม็ด โดยจะทำเป็นธนาคารยา-วัคซีนภูมิภาคเอเซีย มีการระบาดที่ประเทศใดจะได้นำไปใช้ได้ทัน ฮ่องกง และสหรัฐอเมริกา เห็นด้วยกับแนวทางนี้ และจะพัฒนาเป็นเครือข่ายระดับโลก 2. การแลกเปลี่ยนผู้เชี่ยวชาญระหว่างไทย ฮ่องกง เพื่อควบคุมและป้องกันการระบาด และ 3. ความร่วมมือในการศึกษาวิจัยเชื้อไวรัสร่วมกันระหว่างฮ่องกงกับไทย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 36.53 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 36.84 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.84 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 38.30 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 38.00 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 33.91 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 35.41 บาท ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ตัวละ 12.50 บาท สูงขึ้นจากตัวละ 11.50 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 8.70
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.50 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา ส่วนราคาขายส่งไก่สดกิโลกรัมละ 41.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่ไก่
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ในสัปดาห์นี้ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ ปรับตัวสูงขึ้นในบางพื้นที่ โดยเฉพาะภาคตะวันออกเฉียงเหนือราคาได้ปรับตัวสูงขึ้น ตามความต้องการบริโภคที่เพิ่มขึ้น แนวโน้มคาดว่าจะทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ เฉลี่ยร้อยฟองละ 260 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 258 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.78 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือร้อยฟองละ 267 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 284บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 254 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ 260 บาท ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี.ตัวละ 18 บาท สูงขึ้นตัวละ 16 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 12.5
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 284 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 261 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 8.81
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 293 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ278 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.40 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือร้อยฟองละ 266 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 307 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 293 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 291 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ กรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 361 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
โค
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโค (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 46.85 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 44.05 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 52.16 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 48.13 บาท ส่วนภาคกลางกิโลกรัมละ 39.63 บาท
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 36.14 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ36.08 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.17 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 34.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 35.23 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 47.50 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงานราคา
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 4-10 กรกฎาคม 2548--
-พห-
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ในสัปดาห์นี้ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ยังทรงตัว เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมาได้เกิดโรคระบบทางเดินหายใจ (PRRS) ในสุกร ทำให้ผลผลิตในบางพื้นที่ได้รับความเสียหาย ปริมาณสุกรที่ออกสู่ตลาดจึงเพิ่มขึ้นไม่มากนักแม้ว่าจะมีการขยายการผลิตเพิ่มขึ้น ซึ่งใกล้เคียงกับความต้องการบริโภคที่เริ่มอ่อนตัวลงเพราะผู้บริโภคหันไปบริโภคสินค้าอื่นที่มีราคาถูกกว่า แนวโน้มคาดว่าราคาจะทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 51.33 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 51.24 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.18 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 50.34 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 49.42 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 51.71 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 56.00 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ตัวละ 1,300 บาท (บวกลบ 51 บาท) ราคาทรงตัว เท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 51.50 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา ส่วนราคาขายส่งสุกรชำแหละเฉลี่ยกิโลกรัมละ 61.50 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไก่เนื้อ
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
อธิบดีกรมปศุสัตว์ เปิดเผยว่า ในเดือนกรกฎาคมนี้กระทรวงเกษตร ฯ โดยกรมปศุสัตว์ ได้ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงมหาดไทยและกระทรวงทรัพยากร ฯ X-RAY พื้นที่ทั่วประเทศเพื่อค้นหาเชื้อไข้หวัดนกที่ยังอาจแฝงตัวอยู่ และเร่งสำรวจจำนวนสัตว์ปีกทั้งหมดในประเทศให้ได้ข้อมูลที่เป็นปัจจุบัน เพื่อเป็นการศึกษาเรื่องการเปลี่ยนแปลงของเชื้อไข้หวัดนกในแต่ละพื้นที่ด้วย
หลังการระบาดของโรคไข้หวัดนกในจีนเมื่อ 2 เดือนที่ผ่านมา ทำให้นกป่าตายประมาณ 5,000 ตัว องค์การอนามัยโลก (WHO) เรียกร้องให้จีนเร่งตรวจสอบหาเชื้อไวรัสในห่านป่าและ นกทะเลหากนกอพยพเหล่านี้แพร่กระจายเชื้อไวรัส H5 N1 ออกนอกพื้นที่ในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้แล้วจะส่งผลกระทบต่อฟาร์มสัตว์ปีกหลาย ๆ แห่ง จะเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดการระบาดของโรคฯ ในคนได้ และอาจมีแนวโน้มแพร่ระบาดไปถึงอินเดีย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และยุโรป
น.พ. สุชัย เจริญรัตนกุล รมว. สาธารณาสุข (สธ) กล่าวภายหลังในการประชุมสมัชชาองค์การอนามัยโลก ที่นครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ว่า รมว. สาธารณสุขจากประเทศต่าง ๆ ประชุมร่วมกันเพื่อหามาตรการรับมือโรคไข้หวัดใหญ่ รวมทั้งการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดนกสายพันธ์ H5 N1 ซึ่งต้องจัดการควบคู่กันไปเพื่อป้องกันเชื้อกลายพันธุ์ และได้ตกลงความร่วมมือกัน 3 เรื่อง คือ 1. ตั้งธนาคารยาต้านไวรัสทามิฟูร่วมกัน ซึ่งไทยได้สำรองยานี้ไว้แล้ว 300,00 เม็ด ฮ่องกง สำรองไว้ 3 ล้านเม็ด โดยจะทำเป็นธนาคารยา-วัคซีนภูมิภาคเอเซีย มีการระบาดที่ประเทศใดจะได้นำไปใช้ได้ทัน ฮ่องกง และสหรัฐอเมริกา เห็นด้วยกับแนวทางนี้ และจะพัฒนาเป็นเครือข่ายระดับโลก 2. การแลกเปลี่ยนผู้เชี่ยวชาญระหว่างไทย ฮ่องกง เพื่อควบคุมและป้องกันการระบาด และ 3. ความร่วมมือในการศึกษาวิจัยเชื้อไวรัสร่วมกันระหว่างฮ่องกงกับไทย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 36.53 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 36.84 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.84 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 38.30 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 38.00 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 33.91 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 35.41 บาท ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ตัวละ 12.50 บาท สูงขึ้นจากตัวละ 11.50 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 8.70
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.50 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา ส่วนราคาขายส่งไก่สดกิโลกรัมละ 41.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่ไก่
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ในสัปดาห์นี้ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ ปรับตัวสูงขึ้นในบางพื้นที่ โดยเฉพาะภาคตะวันออกเฉียงเหนือราคาได้ปรับตัวสูงขึ้น ตามความต้องการบริโภคที่เพิ่มขึ้น แนวโน้มคาดว่าจะทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ เฉลี่ยร้อยฟองละ 260 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 258 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.78 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือร้อยฟองละ 267 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 284บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 254 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ 260 บาท ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี.ตัวละ 18 บาท สูงขึ้นตัวละ 16 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 12.5
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 284 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 261 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 8.81
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 293 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ278 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.40 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือร้อยฟองละ 266 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 307 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 293 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 291 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ กรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 361 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
โค
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโค (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 46.85 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 44.05 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 52.16 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 48.13 บาท ส่วนภาคกลางกิโลกรัมละ 39.63 บาท
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 36.14 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ36.08 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.17 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 34.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 35.23 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 47.50 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงานราคา
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 4-10 กรกฎาคม 2548--
-พห-