ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ไอเอ็มเอฟคาดว่าเศรษฐกิจปีนี้จะขยายตัวต่ำกว่าร้อยละ 5.0 ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย
(ธปท.) เปิดเผยถึง การที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ส่งเจ้าหน้าที่มาเก็บข้อมูลและฟังความ
เห็นจาก ธปท. เพื่อนำไปประเมินภาพเศรษฐกิจประจำปีของไทยว่า หลังจากรับข้อมูลและความคิดเห็นจาก ธปท.
แล้ว ไอเอ็มเอฟมีความคิดเห็นต่อเศรษฐกิจไทยเช่นเดียวกับ ธปท. โดยเห็นว่า เศรษฐกิจไทยปีนี้จะขยายตัวต่ำกว่า
ร้อยละ 5.0 แต่การชะลอตัวของเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นนั้นยังไม่น่ากังวล เพราะเศรษฐกิจโลกอยู่ในภาวะชะลอตัวเช่น
กัน นอกจากนั้น ยังคาดว่าการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดของไทยทั้งปีจะลดลงจากการขาดดุล 3,000 ล้านดอลลาร์
สรอ.ในขณะนี้ สำหรับการลงทุนในโครงการลงทุนพื้นฐานขนาดใหญ่ของรัฐบาลนั้น ไอเอ็มเอฟเห็นว่าเป็นเรื่องที่จำ
เป็นต้องลงทุน แต่ได้ให้ความเห็นไว้ 2 เรื่อง คือ 1) ต้องเป็นการลงทุนในโครงการที่ได้ผลตอบแทนที่แท้จริงทาง
เศรษฐกิจ และ 2) จะไม่ทำให้การขาดดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุลมากขึ้น (ข่าวสด, แนวหน้า), สยามรัฐ, บ้าน
เมือง, เดลินิวส์, โลกวันนี้, ผู้จัดการรายวัน, กรุงเทพธุรกิจ)
2. ก.คลังเผยรายชื่อรัฐวิสาหกิจ 11 แห่งที่อยู่ระหว่างการแปรสภาพเป็นบริษัทเอกชน ผอ.สำนักงาน
คณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ ก.คลัง กล่าวในงานสัมมนา การพัฒนารัฐวิสาหกิจและการเตรียมความพร้อมใน
การเข้าจดทะเบียน ว่า ขณะนี้มีรัฐวิสาหกิจจำนวน 11 แห่ง ที่อยู่ระหว่างการแปรสภาพเป็นบริษัทเอกชน และ
เตรียมเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ซึ่งในจำนวนนี้มีบางแห่งจะดำเนินการแค่การ
แปรสภาพเป็นบริษัทเอกชนเท่านั้นไม่จำเป็นต้องเข้าจดทะเบียน เพราะอาจพัฒนาศักยภาพการดำเนินงานด้วยการหา
พันธมิตรภาคเอกชนเข้ามาร่วมบริหารก็ได้ โดยมีรัฐเป็นผู้ถือหุ้นอย่างน้อยร้อยละ 50 ทั้งนี้ รัฐวิสาหกิจทั้ง 11 แห่งที่
อยู่ระหว่างการแปรสภาพ ประกอบด้วย 1) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) 2) การไฟฟ้าส่วน
ภูมิภาค (กฟภ.) 3) การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) 4) การประปานครหลวง (กปน.) 5) องค์การฟอกหนัง 6)
องค์การเภสัชกรรม 7) การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) 8) บ.ขนส่ง จำกัด 9) บ.ไปรษณีย์ไทย
10) บ.ทศท.คอร์ปอเรชั่น 11) บ.กสท โทรคมนาคม ทั้งนี้ ปัญหาสำคัญที่ต้องดำเนินการในขณะนี้ คือระเบียบข้อ
บังคับต่าง ๆ ที่ต้องแก้ไขหรือผ่อนคลายเพื่อเพิ่มความคล่องตัวในการบริหารจัดการของรัฐวิสาหกิจ ซึ่งเป็นหลักสำคัญ
ที่จะเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารงาน (เดลินิวส์)
3. ก.พาณิชย์เตรียมพิจารณามาตรการตรึงราคาสินค้าหลังสิ้นสุดเวลาขอความร่วมมือวันที่ 30 มิ.ย.
นี้ รมว.พาณิชย์ เปิดเผยถึงแนวทางในการกำกับดูแลราคาสินค้า หลังจากวันที่ 30 มิ.ย.48 ซึ่งเป็นวันสิ้นสุดระยะ
เวลาการขอความร่วมมือตรึงราคาสินค้าของ ก.พาณิชย์ว่า หากผู้ประกอบการผลิตและจำหน่ายสินค้ารายใดจำเป็น
ต้องปรับขึ้นราคาจากภาระต้นทุนที่เพิ่มขึ้น สามารถส่งข้อมูลต้นทุนย้อนหลัง 1-2 ปี พร้อมชี้แจงเหตุผลเสนอขอปรับ
ราคาสินค้ามายัง ก.พาณิชย์ได้ ภายหลังจากวันที่ 30 มิ.ย.นี้ ทั้งนี้ ปัจจุบันกรมการค้าภายในสามารถกำกับดูแล
สถานการณ์ราคาสินค้าอุปโภคบริโภคได้ เนื่องจากทำให้อัตราเงินเฟ้อเพิ่มไม่มากนัก โดยในช่วง 5 เดือนที่ผ่านมามี
อัตราประมาณร้อยละ 3.2 เท่านั้นซึ่งยังไม่น่ากังวลเท่าใดนัก (โลกวันนี้, เดลินิวส์)
4. ยอดนักท่องเที่ยวเดินทางเข้าประเทศใน 5 เดือนแรกปีนี้เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.06 รายงานจากการ
ท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เปิดเผยว่า สถิติยอดนักท่องเที่ยวเดินทางเข้าประเทศผ่านสนามบินนานา
ชาติดอกเมืองใน 5 เดือนแรกปีนี้ (ม.ค.-พ.ค.48) มีจำนวน 3,184,496 คน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน
ที่มี 3,182,481 คน เพิ่มขึ้นเพียง 2,015 คน หรือเติบโตร้อยละ 0.06 อย่างไรก็ตาม ในส่วนของนักท่องเที่ยว
เอเชียตะวันออก ซึ่งประกอบด้วย จีน ญี่ปุ่น เกาหลี และอาเซียน ซึ่งเป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวหลักของไทยยังพบว่า มี
จำนวนติดลบจากปีก่อนร้อยละ 4.83 หรือมีจำนวนลดลง 77,477 คน โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวจีนลดลง 64,145
คน (เดลินิวส์)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ดัชนีราคาผู้บริโภคของ สรอ.ในเดือน พ.ค.48 ลดลงร้อยละ 0.1 จากเดือนก่อนลดลงเป็นครั้ง
แรกในรอบ 10 เดือนในขณะที่ผลผลิตอุตสาหกรรมในเดือนเดียวกันเพิ่มขึ้น รายงานจากวอชิงตัน เมื่อ 15 มิ.
ย.48 กรมแรงงานของ สรอ.รายงานดัชนีราคาผู้บริโภคของ สรอ.ลดลงร้อยละ 0.1 ในเดือน พ.ค.48 จาก
เดือนก่อน ลดลงเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือน ก.ค.47 อันเป็นผลจากราคาพลังงานลดลงร้อยละ 2.0 ซึ่งรวมถึง
ราคาน้ำมันที่ลดลงร้อยละ 4.4 โดยราคาพลังงานลดลงมากที่สุดนับตั้งแต่เดือน ก.ค.47 และลดลงเป็นครั้งแรกนับ
ตั้งแต่เดือน ม.ค.48 ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อชะลอตัวลงมาอยู่ที่ร้อยละ 2.8 เมื่อเทียบกับปีก่อน หลังจากในเดือน
เม.ย.48 เพิ่มขึ้นมาอยู่ในระดับที่น่ากังวลที่ร้อยละ 3.5 ต่อปี โดยดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานซึ่งไม่รวมราคาอาหาร
และพลังงานเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.1 น้อยกว่าที่คาดไว้ หลังจากอยู่ในระดับคงที่ในเดือน เม.ย.48 ส่งผลให้อัตรา
เงินเฟ้อพื้นฐานคงที่อยู่ที่ร้อยละ 2.2 เมื่อเทียบกับปีก่อน อันเป็นผลจากราคาอาหารที่เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.1 ใน
ขณะที่ ธ.กลาง สรอ.รายงานผลผลิตอุตสาหกรรมในเดือนเดียวกันเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 หลังจากลดลงร้อยละ 0.3
ในเดือน เม.ย.48 จากผลผลิตโรงงานที่เพิ่มขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับรายงานอีกฉบับของ ธ.กลาง สรอ.ที่เตรียมไว้
สำหรับการประชุมเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยในวันที่ 29-30 มิ.ย.48 นี้ว่าเศรษฐกิจ สรอ.กำลังขยายตัวโดยมีแรงกด
ดันด้านราคาเพียงเล็กน้อย นักเศรษฐศาสตร์มีความเห็นว่าผลผลิตอุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้นและอัตราเงินเฟ้อที่มีแนวโน้ม
เพิ่มสูงขึ้นทำให้มีความเป็นไปได้ว่า ธ.กลาง สรอ.อาจจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 3 ครั้ง ๆ ละร้อยละ 0.25 ภายใน
สิ้นปีนี้โดยคาดว่าหนึ่งในนั้นจะมีขึ้นในปลายเดือนนี้ (รอยเตอร์)
2. อัตราการว่างงานของอังกฤษเดือน พ.ค. เพิ่มขึ้นเป็นเดือนที่สี่ติดต่อกัน รายงานจากกรุง
ลอนดอน ประเทศอังกฤษ เมื่อวันที่ 15 มิ.ย.48 สนง.สถิติแห่งชาติของอังกฤษ เปิดเผยว่า จำนวนคนว่างงาน
และขอรับความช่วยเหลือจากรัฐในเดือน พ.ค.48 เพิ่มขึ้น 13,200 คน มากกว่าที่คาดไว้เพียง 5,000 คน เทียบ
กับเดือน เม.ย.48 ที่เพิ่มขึ้น 10,800 คน ซึ่งการเพิ่มขึ้นครั้งนี้นับเป็นการเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 4 และเป็น
การเพิ่มขึ้นติดต่อกันยาวนานที่สุดในรอบเกือบ 13 ปี สาเหตุหนึ่งมาจากการปิดโรงงานผลิตรถยนต์ของ MG Rover
ทำให้ตัวเลขคนว่างงานเพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้ ตัวเลขคนว่างงานที่ขอรับความช่วยเหลือจากรัฐในปีนี้เพิ่มขึ้นเป็น
41,500 คน ในขณะที่ ผู้ว่าการ ธ.กลางของอังกฤษ กล่าวว่า ขณะที่มีสัญญาณว่าตลาดแรงงานกำลังชะลอตัวลง
แต่ต้นทุนค่าจ้างแรงงานกลับเพิ่มสูงขึ้นและอาจส่งผลกระทบต่ออัตราเงินเฟ้อ ส่วน สนง.สถิติแห่งชาติกล่าวว่า
อัตราการเติบโตของรายได้เฉลี่ยต่อปีในช่วง 3 เดือน นับถึงเดือน เม.ย. เพิ่มขึ้นสูงถึงร้อยละ 4.6 แต่ยังต่ำกว่า
ที่คาดการณ์ไว้ที่ระดับร้อยละ 4.7 (รอยเตอร์)
3. ผลผลิตอุตสาหกรรมของจีนในเดือนพ.ค.เพิ่มขึ้นเหนือความคาดหมาย รายงานจากปักกิ่ง เมื่อวัน
ที่ 15 มิ.ย 48 รัฐบาลจีนเปิดเผยว่าในเดือนพ.ค. ผลผลิตอุตสาหกรรมของจีนขยายตัวร้อยละ 16.6 จากระยะ
เดียวกันปีก่อน มากกว่าผลการสำรวจนักเศรษฐศาสตร์จำนวน 7 คนของรอยเตอร์ที่คาดว่าผลผลิตอุตสาหกรรมดัง
กล่าวจะขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 15.5 ชะลอตัวจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 16 ในเดือนเม.ย. เนื่องจากการภาคการส่ง
ออกขยายตัวอย่างแข็งแกร่งมากกว่าด้านการลงทุนที่รัฐบาลจีนพยายามควบคุมเพื่อให้ขยายตัวอย่างมีเสถียรภาพ รวม
ทั้งยอดค้าปลีกก็ขยายตัวอย่างแข็งแกร่งเช่นเดียวกันโดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เนื่องจากการ
ใช้จ่ายของผู้บริโภคส่วนการส่งออกขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนมากกว่าร้อยละ 30 การขยายตัวของการส่งออก
ดังกล่าวเนื่องจากต้นทุนการผลิตสินค้าทุกๆอย่างของจีนอยู่ในระดับต่ำ ทั้งนี้นักเศรษฐศาสตร์จากสถาบันวิจัย Daiwa
ในเชียงไฮ้กล่าวว่า การขยายตัวอย่างมากของผลผลิตอุตสาหกรรมในเดือนพ.ค.ดังกล่าวส่วนใหญ่ได้รับแรงสนับสนุน
จากอุปสงค์จากต่างประเทศคาดว่าการส่งออกในช่วงครึ่งปีแรกจะยังคงขยายตัวอย่างแข็งแกร่งแต่จะชะลอตัวลงใน
ช่วงครึ่งปีหลัง (รอยเตอร์)
4. ยอดขายปลีกของสิงคโปร์ในเดือน เม.ย.48 ลดลงสูงสุดในรอบ 9 เดือนที่ร้อยละ 1.5 เทียบต่อ
เดือน รายงานจากสิงคโปร์ เมื่อ 15 มิ.ย.48 รัฐบาลสิงคโปร์ เปิดเผยว่า ยอดการขายปลีกของสิงคโปร์ในเดือน เม.ย.48 ลดลงถึงร้อยละ 1.5 เทียบต่อเดือน (ตัวเลขหลังปรับปัจจัยทางฤดูกาลแล้ว) ซึ่งเป็นการลดลง
มากที่สุดในรอบ 9 เดือน (เคยลดลงสูงสุดที่ร้อยละ 5.0 เมื่อเดือน ก.ค.47) แต่ลดลงน้อยกว่าที่นักวิเคราะห์คาด
การณ์ก่อนหน้านี้ว่าจะลดลงร้อยละ 2.0 เนื่องจากยอดขายสินค้าหมวดรถยนต์ ผลิตภัณฑ์ยา และเครื่องสำอางค์ชะลอ
ตัวลง ทั้งนี้ นักวิเคราะห์กล่าวเพิ่มเติมว่า ตัวเลขการชะลอตัวของยอดขายปลีกแสดงให้เห็นว่าความเชื่อมั่นของผู้
บริโภคสิงคโปร์เริ่มลดลง (โดยตัวเลขยอดขายปลีกและขายส่ง เป็นเครื่องชี้วัดความเชื่อมั่นของผู้บริโภค ซึ่งมีสัด
ส่วนถึงร้อยละ 14 ของระบบเศรษฐกิจสิงคโปร์) อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจสิงคโปร์ในไตรมาสแรก ปี 48 นี้ขยาย
ตัวลดลงเพียงร้อยละ 5.5 หลังจากที่แข็งแกร่งอย่างมากเมื่อปี 47 ขณะที่รัฐบาลคาดการณ์ว่า เศรษฐกิจสิงคโปร์ใน
ครึ่งหลังของปีนี้จะฟื้นตัวดีขึ้น เนื่องจากสินค้าหมวดเทคโนโลยีทั่วโลกกระเตื้องขึ้น นอกจากนี้ รัฐบาลสิงคโปร์ยังเปิด
เผยตัวเลขอัตราการว่างงานในไตรมาสแรกของปีนี้ว่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.9 จากร้อยละ 3.7 ในไตรมาสสุดท้ายปี
47 แต่ธุรกิจส่วนใหญ่คาดว่าจะมีการจ้างงานใหม่เพิ่มขึ้นในไตรมาส 2 ปีนี้ เพื่อบรรเทาความกังวลด้านอัตราการ
ว่างงานที่เพิ่มสูงขึ้น (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 16 มิ.ย. 48 15 มิ.ย .48 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 40.935 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 40. 7354/41.0223 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 2.5 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 687.47/15.98 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 8,200/8,300 8,150/8,250 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 50.92 49.37 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 22.94*/18.99** 22.94*/18.99** 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับเพิ่ม ลิตรละ 40 สตางค์ เมื่อ 14 มิ.ย. 48
* *ปรับเพิ่ม ลิตรละ 40 สตางค์ เมื่อ 14 มิ.ย 48
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ไอเอ็มเอฟคาดว่าเศรษฐกิจปีนี้จะขยายตัวต่ำกว่าร้อยละ 5.0 ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย
(ธปท.) เปิดเผยถึง การที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ส่งเจ้าหน้าที่มาเก็บข้อมูลและฟังความ
เห็นจาก ธปท. เพื่อนำไปประเมินภาพเศรษฐกิจประจำปีของไทยว่า หลังจากรับข้อมูลและความคิดเห็นจาก ธปท.
แล้ว ไอเอ็มเอฟมีความคิดเห็นต่อเศรษฐกิจไทยเช่นเดียวกับ ธปท. โดยเห็นว่า เศรษฐกิจไทยปีนี้จะขยายตัวต่ำกว่า
ร้อยละ 5.0 แต่การชะลอตัวของเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นนั้นยังไม่น่ากังวล เพราะเศรษฐกิจโลกอยู่ในภาวะชะลอตัวเช่น
กัน นอกจากนั้น ยังคาดว่าการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดของไทยทั้งปีจะลดลงจากการขาดดุล 3,000 ล้านดอลลาร์
สรอ.ในขณะนี้ สำหรับการลงทุนในโครงการลงทุนพื้นฐานขนาดใหญ่ของรัฐบาลนั้น ไอเอ็มเอฟเห็นว่าเป็นเรื่องที่จำ
เป็นต้องลงทุน แต่ได้ให้ความเห็นไว้ 2 เรื่อง คือ 1) ต้องเป็นการลงทุนในโครงการที่ได้ผลตอบแทนที่แท้จริงทาง
เศรษฐกิจ และ 2) จะไม่ทำให้การขาดดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุลมากขึ้น (ข่าวสด, แนวหน้า), สยามรัฐ, บ้าน
เมือง, เดลินิวส์, โลกวันนี้, ผู้จัดการรายวัน, กรุงเทพธุรกิจ)
2. ก.คลังเผยรายชื่อรัฐวิสาหกิจ 11 แห่งที่อยู่ระหว่างการแปรสภาพเป็นบริษัทเอกชน ผอ.สำนักงาน
คณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ ก.คลัง กล่าวในงานสัมมนา การพัฒนารัฐวิสาหกิจและการเตรียมความพร้อมใน
การเข้าจดทะเบียน ว่า ขณะนี้มีรัฐวิสาหกิจจำนวน 11 แห่ง ที่อยู่ระหว่างการแปรสภาพเป็นบริษัทเอกชน และ
เตรียมเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ซึ่งในจำนวนนี้มีบางแห่งจะดำเนินการแค่การ
แปรสภาพเป็นบริษัทเอกชนเท่านั้นไม่จำเป็นต้องเข้าจดทะเบียน เพราะอาจพัฒนาศักยภาพการดำเนินงานด้วยการหา
พันธมิตรภาคเอกชนเข้ามาร่วมบริหารก็ได้ โดยมีรัฐเป็นผู้ถือหุ้นอย่างน้อยร้อยละ 50 ทั้งนี้ รัฐวิสาหกิจทั้ง 11 แห่งที่
อยู่ระหว่างการแปรสภาพ ประกอบด้วย 1) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) 2) การไฟฟ้าส่วน
ภูมิภาค (กฟภ.) 3) การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) 4) การประปานครหลวง (กปน.) 5) องค์การฟอกหนัง 6)
องค์การเภสัชกรรม 7) การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) 8) บ.ขนส่ง จำกัด 9) บ.ไปรษณีย์ไทย
10) บ.ทศท.คอร์ปอเรชั่น 11) บ.กสท โทรคมนาคม ทั้งนี้ ปัญหาสำคัญที่ต้องดำเนินการในขณะนี้ คือระเบียบข้อ
บังคับต่าง ๆ ที่ต้องแก้ไขหรือผ่อนคลายเพื่อเพิ่มความคล่องตัวในการบริหารจัดการของรัฐวิสาหกิจ ซึ่งเป็นหลักสำคัญ
ที่จะเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารงาน (เดลินิวส์)
3. ก.พาณิชย์เตรียมพิจารณามาตรการตรึงราคาสินค้าหลังสิ้นสุดเวลาขอความร่วมมือวันที่ 30 มิ.ย.
นี้ รมว.พาณิชย์ เปิดเผยถึงแนวทางในการกำกับดูแลราคาสินค้า หลังจากวันที่ 30 มิ.ย.48 ซึ่งเป็นวันสิ้นสุดระยะ
เวลาการขอความร่วมมือตรึงราคาสินค้าของ ก.พาณิชย์ว่า หากผู้ประกอบการผลิตและจำหน่ายสินค้ารายใดจำเป็น
ต้องปรับขึ้นราคาจากภาระต้นทุนที่เพิ่มขึ้น สามารถส่งข้อมูลต้นทุนย้อนหลัง 1-2 ปี พร้อมชี้แจงเหตุผลเสนอขอปรับ
ราคาสินค้ามายัง ก.พาณิชย์ได้ ภายหลังจากวันที่ 30 มิ.ย.นี้ ทั้งนี้ ปัจจุบันกรมการค้าภายในสามารถกำกับดูแล
สถานการณ์ราคาสินค้าอุปโภคบริโภคได้ เนื่องจากทำให้อัตราเงินเฟ้อเพิ่มไม่มากนัก โดยในช่วง 5 เดือนที่ผ่านมามี
อัตราประมาณร้อยละ 3.2 เท่านั้นซึ่งยังไม่น่ากังวลเท่าใดนัก (โลกวันนี้, เดลินิวส์)
4. ยอดนักท่องเที่ยวเดินทางเข้าประเทศใน 5 เดือนแรกปีนี้เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.06 รายงานจากการ
ท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เปิดเผยว่า สถิติยอดนักท่องเที่ยวเดินทางเข้าประเทศผ่านสนามบินนานา
ชาติดอกเมืองใน 5 เดือนแรกปีนี้ (ม.ค.-พ.ค.48) มีจำนวน 3,184,496 คน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน
ที่มี 3,182,481 คน เพิ่มขึ้นเพียง 2,015 คน หรือเติบโตร้อยละ 0.06 อย่างไรก็ตาม ในส่วนของนักท่องเที่ยว
เอเชียตะวันออก ซึ่งประกอบด้วย จีน ญี่ปุ่น เกาหลี และอาเซียน ซึ่งเป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวหลักของไทยยังพบว่า มี
จำนวนติดลบจากปีก่อนร้อยละ 4.83 หรือมีจำนวนลดลง 77,477 คน โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวจีนลดลง 64,145
คน (เดลินิวส์)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ดัชนีราคาผู้บริโภคของ สรอ.ในเดือน พ.ค.48 ลดลงร้อยละ 0.1 จากเดือนก่อนลดลงเป็นครั้ง
แรกในรอบ 10 เดือนในขณะที่ผลผลิตอุตสาหกรรมในเดือนเดียวกันเพิ่มขึ้น รายงานจากวอชิงตัน เมื่อ 15 มิ.
ย.48 กรมแรงงานของ สรอ.รายงานดัชนีราคาผู้บริโภคของ สรอ.ลดลงร้อยละ 0.1 ในเดือน พ.ค.48 จาก
เดือนก่อน ลดลงเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือน ก.ค.47 อันเป็นผลจากราคาพลังงานลดลงร้อยละ 2.0 ซึ่งรวมถึง
ราคาน้ำมันที่ลดลงร้อยละ 4.4 โดยราคาพลังงานลดลงมากที่สุดนับตั้งแต่เดือน ก.ค.47 และลดลงเป็นครั้งแรกนับ
ตั้งแต่เดือน ม.ค.48 ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อชะลอตัวลงมาอยู่ที่ร้อยละ 2.8 เมื่อเทียบกับปีก่อน หลังจากในเดือน
เม.ย.48 เพิ่มขึ้นมาอยู่ในระดับที่น่ากังวลที่ร้อยละ 3.5 ต่อปี โดยดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานซึ่งไม่รวมราคาอาหาร
และพลังงานเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.1 น้อยกว่าที่คาดไว้ หลังจากอยู่ในระดับคงที่ในเดือน เม.ย.48 ส่งผลให้อัตรา
เงินเฟ้อพื้นฐานคงที่อยู่ที่ร้อยละ 2.2 เมื่อเทียบกับปีก่อน อันเป็นผลจากราคาอาหารที่เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.1 ใน
ขณะที่ ธ.กลาง สรอ.รายงานผลผลิตอุตสาหกรรมในเดือนเดียวกันเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 หลังจากลดลงร้อยละ 0.3
ในเดือน เม.ย.48 จากผลผลิตโรงงานที่เพิ่มขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับรายงานอีกฉบับของ ธ.กลาง สรอ.ที่เตรียมไว้
สำหรับการประชุมเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยในวันที่ 29-30 มิ.ย.48 นี้ว่าเศรษฐกิจ สรอ.กำลังขยายตัวโดยมีแรงกด
ดันด้านราคาเพียงเล็กน้อย นักเศรษฐศาสตร์มีความเห็นว่าผลผลิตอุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้นและอัตราเงินเฟ้อที่มีแนวโน้ม
เพิ่มสูงขึ้นทำให้มีความเป็นไปได้ว่า ธ.กลาง สรอ.อาจจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 3 ครั้ง ๆ ละร้อยละ 0.25 ภายใน
สิ้นปีนี้โดยคาดว่าหนึ่งในนั้นจะมีขึ้นในปลายเดือนนี้ (รอยเตอร์)
2. อัตราการว่างงานของอังกฤษเดือน พ.ค. เพิ่มขึ้นเป็นเดือนที่สี่ติดต่อกัน รายงานจากกรุง
ลอนดอน ประเทศอังกฤษ เมื่อวันที่ 15 มิ.ย.48 สนง.สถิติแห่งชาติของอังกฤษ เปิดเผยว่า จำนวนคนว่างงาน
และขอรับความช่วยเหลือจากรัฐในเดือน พ.ค.48 เพิ่มขึ้น 13,200 คน มากกว่าที่คาดไว้เพียง 5,000 คน เทียบ
กับเดือน เม.ย.48 ที่เพิ่มขึ้น 10,800 คน ซึ่งการเพิ่มขึ้นครั้งนี้นับเป็นการเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 4 และเป็น
การเพิ่มขึ้นติดต่อกันยาวนานที่สุดในรอบเกือบ 13 ปี สาเหตุหนึ่งมาจากการปิดโรงงานผลิตรถยนต์ของ MG Rover
ทำให้ตัวเลขคนว่างงานเพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้ ตัวเลขคนว่างงานที่ขอรับความช่วยเหลือจากรัฐในปีนี้เพิ่มขึ้นเป็น
41,500 คน ในขณะที่ ผู้ว่าการ ธ.กลางของอังกฤษ กล่าวว่า ขณะที่มีสัญญาณว่าตลาดแรงงานกำลังชะลอตัวลง
แต่ต้นทุนค่าจ้างแรงงานกลับเพิ่มสูงขึ้นและอาจส่งผลกระทบต่ออัตราเงินเฟ้อ ส่วน สนง.สถิติแห่งชาติกล่าวว่า
อัตราการเติบโตของรายได้เฉลี่ยต่อปีในช่วง 3 เดือน นับถึงเดือน เม.ย. เพิ่มขึ้นสูงถึงร้อยละ 4.6 แต่ยังต่ำกว่า
ที่คาดการณ์ไว้ที่ระดับร้อยละ 4.7 (รอยเตอร์)
3. ผลผลิตอุตสาหกรรมของจีนในเดือนพ.ค.เพิ่มขึ้นเหนือความคาดหมาย รายงานจากปักกิ่ง เมื่อวัน
ที่ 15 มิ.ย 48 รัฐบาลจีนเปิดเผยว่าในเดือนพ.ค. ผลผลิตอุตสาหกรรมของจีนขยายตัวร้อยละ 16.6 จากระยะ
เดียวกันปีก่อน มากกว่าผลการสำรวจนักเศรษฐศาสตร์จำนวน 7 คนของรอยเตอร์ที่คาดว่าผลผลิตอุตสาหกรรมดัง
กล่าวจะขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 15.5 ชะลอตัวจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 16 ในเดือนเม.ย. เนื่องจากการภาคการส่ง
ออกขยายตัวอย่างแข็งแกร่งมากกว่าด้านการลงทุนที่รัฐบาลจีนพยายามควบคุมเพื่อให้ขยายตัวอย่างมีเสถียรภาพ รวม
ทั้งยอดค้าปลีกก็ขยายตัวอย่างแข็งแกร่งเช่นเดียวกันโดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เนื่องจากการ
ใช้จ่ายของผู้บริโภคส่วนการส่งออกขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนมากกว่าร้อยละ 30 การขยายตัวของการส่งออก
ดังกล่าวเนื่องจากต้นทุนการผลิตสินค้าทุกๆอย่างของจีนอยู่ในระดับต่ำ ทั้งนี้นักเศรษฐศาสตร์จากสถาบันวิจัย Daiwa
ในเชียงไฮ้กล่าวว่า การขยายตัวอย่างมากของผลผลิตอุตสาหกรรมในเดือนพ.ค.ดังกล่าวส่วนใหญ่ได้รับแรงสนับสนุน
จากอุปสงค์จากต่างประเทศคาดว่าการส่งออกในช่วงครึ่งปีแรกจะยังคงขยายตัวอย่างแข็งแกร่งแต่จะชะลอตัวลงใน
ช่วงครึ่งปีหลัง (รอยเตอร์)
4. ยอดขายปลีกของสิงคโปร์ในเดือน เม.ย.48 ลดลงสูงสุดในรอบ 9 เดือนที่ร้อยละ 1.5 เทียบต่อ
เดือน รายงานจากสิงคโปร์ เมื่อ 15 มิ.ย.48 รัฐบาลสิงคโปร์ เปิดเผยว่า ยอดการขายปลีกของสิงคโปร์ในเดือน เม.ย.48 ลดลงถึงร้อยละ 1.5 เทียบต่อเดือน (ตัวเลขหลังปรับปัจจัยทางฤดูกาลแล้ว) ซึ่งเป็นการลดลง
มากที่สุดในรอบ 9 เดือน (เคยลดลงสูงสุดที่ร้อยละ 5.0 เมื่อเดือน ก.ค.47) แต่ลดลงน้อยกว่าที่นักวิเคราะห์คาด
การณ์ก่อนหน้านี้ว่าจะลดลงร้อยละ 2.0 เนื่องจากยอดขายสินค้าหมวดรถยนต์ ผลิตภัณฑ์ยา และเครื่องสำอางค์ชะลอ
ตัวลง ทั้งนี้ นักวิเคราะห์กล่าวเพิ่มเติมว่า ตัวเลขการชะลอตัวของยอดขายปลีกแสดงให้เห็นว่าความเชื่อมั่นของผู้
บริโภคสิงคโปร์เริ่มลดลง (โดยตัวเลขยอดขายปลีกและขายส่ง เป็นเครื่องชี้วัดความเชื่อมั่นของผู้บริโภค ซึ่งมีสัด
ส่วนถึงร้อยละ 14 ของระบบเศรษฐกิจสิงคโปร์) อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจสิงคโปร์ในไตรมาสแรก ปี 48 นี้ขยาย
ตัวลดลงเพียงร้อยละ 5.5 หลังจากที่แข็งแกร่งอย่างมากเมื่อปี 47 ขณะที่รัฐบาลคาดการณ์ว่า เศรษฐกิจสิงคโปร์ใน
ครึ่งหลังของปีนี้จะฟื้นตัวดีขึ้น เนื่องจากสินค้าหมวดเทคโนโลยีทั่วโลกกระเตื้องขึ้น นอกจากนี้ รัฐบาลสิงคโปร์ยังเปิด
เผยตัวเลขอัตราการว่างงานในไตรมาสแรกของปีนี้ว่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.9 จากร้อยละ 3.7 ในไตรมาสสุดท้ายปี
47 แต่ธุรกิจส่วนใหญ่คาดว่าจะมีการจ้างงานใหม่เพิ่มขึ้นในไตรมาส 2 ปีนี้ เพื่อบรรเทาความกังวลด้านอัตราการ
ว่างงานที่เพิ่มสูงขึ้น (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 16 มิ.ย. 48 15 มิ.ย .48 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 40.935 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 40. 7354/41.0223 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 2.5 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 687.47/15.98 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 8,200/8,300 8,150/8,250 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 50.92 49.37 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 22.94*/18.99** 22.94*/18.99** 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับเพิ่ม ลิตรละ 40 สตางค์ เมื่อ 14 มิ.ย. 48
* *ปรับเพิ่ม ลิตรละ 40 สตางค์ เมื่อ 14 มิ.ย 48
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--