ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท.หารือ ธพ.เพื่อกำหนดกรอบการดำเนินงานธุรกิจให้สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจ ผู้ว่าการ
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้เรียกประชุมสมาคมธนาคารไทยและสมาคมธนาคารต่างประเทศ หารือถึง
แนวทางเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีหลัง เพื่อให้ ธพ.ได้วางเป้าหมายการดำเนินธุรกิจได้ถูกทาง ซึ่งเป็นการประชุมตาม
วาระปกติ ทั้งนี้ในการประชุมได้นำประเด็นภาวะดอกเบี้ยมาพิจารณาด้วย ซึ่ง ธปท.เห็นว่า อัตราดอกเบี้ยจะอยู่ใน
ทิศทางขาขึ้นแน่นอน แต่ในการตัดสินใจปรับดอกเบี้ยนโยบายของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) นั้น จะขึ้น
อยู่กับสถานการณ์เศรษฐกิจในช่วงนั้น ๆ ขณะที่การปรับอัตราดอกเบี้ยของ ธพ.ขึ้นอยู่กับสภาพคล่องของธนาคารแต่ละ
แห่งเอง ด้านนายบัณฑิต นิจถาวร รองผู้ว่าการ ธปท.กล่าวถึงทิศทางของอัตราดอกเบี้ยและอัตราเงินเฟ้อที่เร่งตัว
สูงขึ้นถึงร้อยละ 5.3 ในเดือน ก.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นอัตราที่เร่งตัวสูงสุดในรอบ 6 ปีครึ่ง โดยเห็นว่าอัตราเงิน
เฟ้อดังกล่าวไม่ใช่ตัวเลขที่น่าประหลาดใจแต่อย่างใด เนื่องจากเป็นเรื่องที่ ธปท.ได้คาดการณ์ไว้แล้ว ขณะที่ นาง
ธาริษา วัฒนเกส รองผู้ว่าการ ธปท.ได้สรุปการดำเนินงานที่ผ่านมาว่าได้ทำอะไรไปบ้าง และต้องการทราบว่า
ฐานะของภาคธุรกิจสถาบันการเงินขณะนี้เป็นอย่างไร ปรากฏว่า ธพ.มีฐานะแข็งแกร่งขึ้นมาก รวมทั้งการรายงาน
และทบทวนผลความคืบหน้าของนโยบายที่ ธปท.ให้ไป ตลอดจนหารือถึงความคืบหน้าเรื่องของกฎหมายบรรษัทบริหาร
สินทรัพย์สถาบันการเงิน (บบส.) (ผู้จัดการรายวัน, กรุงเทพธุรกืจ, โลกวันนี้, ไทยรัฐ, เดลินิวส์, บ้านเมือง,มติชน)
2. ธปท.เตือนเอเชียรับมือกับความผันผวนของเศรษฐกิจโลก ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)
ฝ่ายนโยบายการเงิน โดยนายปิติ ดิษยทัต และนายสุรัช แทนบุญ ได้เสนอบทวิจัยเรื่อง “ความไม่สมดุลของ
เศรษฐกิจโลกและความท้าทายต่อภูมิภาคเอเชีย” ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของบทความในการสัมมนาทางวิชาการประจำปี
48 ของ ธปท. โดยบทวิจัยดังกล่าวระบุว่า ความไม่สมดุลของเศรษฐกิจโลกเกิดขึ้นจากการที่ สรอ.ขาดดุลบัญชีเดิน
สะพัดถึงร้อยละ 6 ของผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี) ในปี 47 โดยมีสาเหตุจากการออมของภาคครัวเรือนที่ลดลง
และการขาดดุลของภาครัฐที่เพิ่มขึ้น ขณะที่ประเทศที่มีระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัวโดยมีการจัดการนั้น ธ.กลาง
ของประเทศกลุ่มนี้โดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชีย ได้เข้าไปดูแลค่าเงินมิให้แข็งค่าขึ้น จนมีผลกระทบต่อการส่งออกและ
ฉุดการขยายตัวของเศรษฐกิจ ด้วยการเข้าไปซื้อหลักทรัพย์รัฐบาล สรอ. ในอัตราที่สูงขึ้นในช่วงที่ผ่านมา ส่วนกรณี
ที่ สรอ.ต้องพึ่งพาเงินทุนไหลเข้าโดยเฉพาะจากประเทศในภูมิภาคเอเชียเพื่อรองรับการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดที่เพิ่ม
ขึ้นต่อเนื่อง ในขณะที่ประเทศในภูมิภาคเอเชียก็มีความต้องการที่จะดำรงสภาวะปัจจุบันไว้เพื่อประโยชน์ในการส่ง
ออกนั้น สร้างความไม่สมดุลในเศรษฐกิจโลก ดังนั้น ในระยะยาวประเทศในภูมิภาคควรจะเตรียมการรับมือกับผล
กระทบที่อาจเกิดขึ้น โดยในส่วนของประเทศไทยได้มีการเตรียมตัวในระดับหนึ่งทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ทั้งนี้ การ
ลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ของภาครัฐอาจมีส่วนช่วยในการลดการพึ่งพาการส่งออก และเพิ่มบทบาทของอุปสงค์ใน
ประเทศเพื่อช่วยรักษาการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจ นอกจากนี้ การทำความเข้าใจกระบวนการและการส่งเสริม
การออมในประเทศจะมีส่วนช่วยในการรักษาเสถียรภาพภายนอกของประเทศ ทั้งนี้ การพัฒนาระบบบริหารความ
เสี่ยงจากการผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนของภาคเอกชน และการเตรียมความพร้อมของ ธพ.ต่อการเปลี่ยนแปลง
ของสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจและการเงิน จะเป็นอีกปัจจัยสำคัญในการเตรียมรับผลกระทบที่อาจเกิดได้ (ผู้
จัดการรายวัน, บ้านเมือง, มติชน)
3. ไทยนำเข้าสินค้าฟุ่มเฟือยในช่วงครึ่งแรกปี 48 เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.35 เทียบต่อปี รายงานจาก
ก.พาณิชย์ เปิดเผยถึง สถิติการนำเข้าสินค้าฟุ่มเฟือยในช่วงครึ่งแรกปี 48 ว่า ไทยนำเข้าสินค้าฟุ่มเฟือยทั้งสิ้น 28 รายการ คิดเป็นมูลค่ารวม 149,415.3 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.35 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี
ก่อนที่มีการนำเข้า 132,992.7 ล้านบาท สำหรับสินค้าที่นำเข้ามากที่สุด ได้แก่ เครื่องใช้เบ็ดเตล็ด รองลงมา
คือ เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน ผลิตภัณฑ์เวชกรรมและเภสัชกรรม นาฬิกาและส่วนประกอบ (โลกวันนี้, สยามรัฐ, แนวหน้า, ข่าวสด)
4. ครม.เห็นชอบแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาภาคตะวันออก 4 จังหวัดเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมของ
ประเทศ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุม ครม.เห็นชอบแผนยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มจังหวัด
ภาคตะวันออก 4 จังหวัด คือ ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด ให้เป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมของประเทศ โดย
เฉพาะ ปิโตรเคมี น้ำมัน ยานยนต์ เหล็ก เครื่องใช้ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งส่งเสริมการเป็นฐานการผลิต
และจำหน่ายผลไม้เพื่อส่งออก นอกจากนี้ ยังเห็นชอบแนวทางการแก้ปัญหาขาดแคลนน้ำ ราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ จัด
ระเบียบแหล่งท่องเที่ยว และสร้างเส้นทางคมนาคม ในการสนับสนุนการพัฒนาด้วย ซึ่งเน้นการพัฒนาอุตสาหกรรม
และพลังงานของอาเซียน สร้างมูลค่าเพิ่มในสินค้าเกษตรควบคู่กับการพัฒนาคุณภาพชีวิต การเชื่อมโยงการท่องเที่ยว
หลักของแต่ละจังหวัด (เดลินิวส์)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ผู้บริโภคใน สรอ.ใช้จ่ายในเดือน มิ.ย.48 เพิ่มขึ้นแต่อัตราเงินเฟ้อยังอยู่ในระดับคงที่ รายงาน
จากวอชิงตัน เมื่อ 2 ส.ค.48 การใช้จ่ายของผู้บริโภคใน สรอ.ในเดือน มิ.ย.48 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 จากเดือน
ก่อนหลังจากลดลงร้อยละ 0.1 ในเดือน พ.ค.48 อันเป็นผลจากการส่งเสริมการขายด้วยการลดราคาของบริษัทรถ
ยนต์ใน สรอ.โดยเฉพาะอย่างยิ่งการให้สิทธิพนักงานและประชาชนทั่วไปสามารถซื้อรถยนต์ในราคาพิเศษของบริษัท
รถยนต์ Ford และ GM ที่คาดว่าจะทำให้ยอดขายรถยนต์มีจำนวนเกิน 20 ล้านคันในช่วงเวลา 1 ปีสิ้นสุดเดือน ก.
ค.48 เป็นครั้งที่ 3 ในประวัติศาสตร์ของ สรอ. และทำให้ยอดขายสินค้าคงทนที่มีอายุใช้งานตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไปเพิ่ม
ขึ้นร้อยละ 3.3 ในขณะที่ยอดขายสินค้าไม่คงทนเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 เช่นเดียวกับยอดสั่งซื้อสินค้าโรงงานในเดือน
มิ.ย.48 ที่ ก.พาณิชย์ของ สรอ.รายงานว่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0 หลังจากเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.6 ในเดือน พ.ค.48
จากความต้องการที่เพิ่มขึ้นของคอมพิวเตอร์และสินค้าอิเล็กทรอนิคส์ นอกจากนี้ ก.พาณิชย์ยังรายงานรายได้ส่วน
บุคคลใน สรอ.เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อโดยรวมและอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานยังอยู่ในระดับคงที่โดย
เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 1.9 ในช่วง 1 ปีที่ผ่านมาทำให้นักวิเคราะห์คาดว่า ธ.กลาง สรอ.จะประกาศขึ้นอัตรา
ดอกเบี้ยนโยบายอีกร้อยละ 0.25 เป็นครั้งที่ 10 ติดต่อกันในการประชุมในวันที่ 9 ส.ค.48 นี้ซึ่งจะทำให้อัตรา
ดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 3.50 ต่อปี โดยตลาดคาดว่าจะเห็นอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 4.0 ต่อปีภายในสิ้นปีนี้ (รอยเตอร์)
2. ความเชื่อมั่นของผู้บริโภค สรอ.ลดลง ณ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 31 ก.ค.48 รายงานจากนิวยอร์ก
เมื่อ 2 ส.ค.48 The ABC News/Washington Post เปิดเผยผลการสำรวจ Consumer Comfort Index
ซึ่งเป็นดัชนีชี้วัดความเชื่อมั่นของผู้บริโภค สรอ. ณ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 31 ก.ค.48 ว่าลดลงที่ระดับ -11 จาก
-7 ในสัปดาห์ก่อนหน้า โดยจำนวนผู้บริโภคที่เห็นว่าเป็นช่วงเวลาที่ดีสำหรับการจับจ่ายใช้สอยลดลง
เหลือร้อยละ 33 จากร้อยละ 37 ในสัปดาห์ก่อนหน้า สำหรับจำนวนผู้บริโภคที่มีมุมมองที่ดีต่อภาวะเศรษฐกิจโดยรวม
ลดลงเหลือร้อยละ 41 จากร้อยละ 42 และจำนวนผู้บริโภคที่มีมุมมองในเชิงบวกต่อฐานะทางการเงินส่วนตัวลดลง
เหลือร้อยละ 59 จากร้อยละ 60 ในสัปดาห์ก่อนหน้า ทั้งนี้ ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับชี้วัด
การใช้จ่ายของผู้บริโภคซึ่งมีสัดส่วนเป็น 2 ใน 3 ของระบบเศรษฐกิจ สรอ. (รอยเตอร์)
3. ยอดขายของร้านค้าปลีก สรอ.เพิ่มขึ้น ณ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 30 ก.ค.48 รายงานจากนิวยอร์ก
เมื่อ 2 ส.ค.48 The International Council of Shopping Centers เปิดเผยว่า ยอดขายของร้านค้า
ปลีก สรอ. ณ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 30 ก.ค.48 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 ในสัปดาห์ก่อน
หน้า นับเป็นการเพิ่มขึ้นสูงสุดตั้งแต่สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 16 เม.ย.48 ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0 และเมื่อเทียบกับช่วง
เดียวกันของปีก่อนยอดขายเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.9 เป็นการเพิ่มขึ้นเทียบต่อปีสูงสุดนับตั้งแต่สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 19 มิ.
ย.47 ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.9 เช่นกัน ทั้งนี้ การที่ยอดขายของร้านค้าปลีกในช่วงปลายเดือน ก.ค.เพิ่มขึ้น เนื่อง
จากอากาศร้อนมากขึ้น ทำให้ยอดขายสินค้าตามฤดูกาลเพิ่มขึ้น ประกอบกับเป็นช่วงเปิดภาคเรียน ทำให้ยอดขาย
สินค้าประเภทอุปกรณ์การเรียนเพิ่มขึ้น (รอยเตอร์)
4. คาดว่าอังกฤษจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงร้อยละ 0.25 รายงานจากกรุงลอนดอน ประเทศ
อังกฤษ เมื่อวันที่ 3 ส.ค.48 สำนักข่าวรอยเตอร์เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นนักเศรษฐศาสตร์ 47 คน ว่า มี
จำนวนถึง 43 คน ที่คาดการณ์ว่าคณะกรรมการนโยบายการเงิน (Monetary Policy Committee - MPC)
ของอังกฤษจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยมาตรฐานระยะสั้นลงร้อยละ 0.25 จากปัจจุบันร้อยละ 4.75 ลงเหลือร้อยละ
4.50 ในการประชุมในวันพฤหัสบดีนี้ ซึ่งถ้ามีการดำเนินการดังกล่าวก็จะเป็นครั้งแรกในรอบ 2 ปี ที่มีการปรับลด
อัตราดอกเบี้ย ทั้งนี้ เพื่อป้องกันการชะลอตัวของเศรษฐกิจที่เริ่มจะมีปัจจัยลบก่อตัวขึ้นจากตัวเลขการใช้จ่ายเพื่อการ
บริโภคที่ลดลงอย่างรุนแรงในช่วงที่ผ่านมา รวมถึงการก่อวินาศกรรมระบบขนส่งมวลชนในกรุงลอนดอนถึง 2 ครั้งใน
เดือน ก.ค.ที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม ยังไม่เป็นที่ชัดเจนว่าจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงเท่าใด หรืออาจจะ
มากกว่าร้อยละ 0.25 ในขณะที่นักวิเคราะห์ส่วนหนึ่งตั้งคำถามว่ามีความจำเป็นโดยเร่งด่วนหรือไม่ที่จะปรับลด
อัตราดอกเบี้ยลงทันที เนื่องจากค่าเงินปอนด์ลดลงอย่างรุนแรง และอัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับเป้าหมายที่ตั้งไว้คือ
ร้อยละ 2 ซึ่งหมายความว่าข้อมูลการพยากรณ์ภาวะเงินเฟ้อรายไตรมาสและอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ MPC
จะใช้ในการประชุมเพื่อพิจารณาในวันพฤหัสบดีที่ 4 ส.ค.นี้ จะเป็นสิ่งที่สำคัญมากในการตัดสินใจว่าจะปรับขึ้นอัตรา
ดอกเบี้ย หรือให้คงอัตราดอกเบี้ยไว้เหมือนเช่นในการประชุมเมื่อเดือน ก.ค.ที่ผ่านมาที่คณะกรรมการฯ โหวตให้คง
อัตราดอกเบี้ยไว้ด้วยคะแนนเสียง 5 ต่อ 4 (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 3 ส.ค. 48 2 ส.ค. 48 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 41.398 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 41.1996/41.4917 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 2.8025 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 683.16/ 17.30 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 8,400/8,500 8,450/8,550 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 55.08 54.11 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 25.74*/22.59** 25.74*/22.59** 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับเพิ่ม 40 สตางค์ เมื่อ 12 ก.ค. 48
**ปรับเลด 40 สตางค์เมื่อ 30 ก.ค. 48
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ธปท.หารือ ธพ.เพื่อกำหนดกรอบการดำเนินงานธุรกิจให้สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจ ผู้ว่าการ
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้เรียกประชุมสมาคมธนาคารไทยและสมาคมธนาคารต่างประเทศ หารือถึง
แนวทางเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีหลัง เพื่อให้ ธพ.ได้วางเป้าหมายการดำเนินธุรกิจได้ถูกทาง ซึ่งเป็นการประชุมตาม
วาระปกติ ทั้งนี้ในการประชุมได้นำประเด็นภาวะดอกเบี้ยมาพิจารณาด้วย ซึ่ง ธปท.เห็นว่า อัตราดอกเบี้ยจะอยู่ใน
ทิศทางขาขึ้นแน่นอน แต่ในการตัดสินใจปรับดอกเบี้ยนโยบายของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) นั้น จะขึ้น
อยู่กับสถานการณ์เศรษฐกิจในช่วงนั้น ๆ ขณะที่การปรับอัตราดอกเบี้ยของ ธพ.ขึ้นอยู่กับสภาพคล่องของธนาคารแต่ละ
แห่งเอง ด้านนายบัณฑิต นิจถาวร รองผู้ว่าการ ธปท.กล่าวถึงทิศทางของอัตราดอกเบี้ยและอัตราเงินเฟ้อที่เร่งตัว
สูงขึ้นถึงร้อยละ 5.3 ในเดือน ก.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นอัตราที่เร่งตัวสูงสุดในรอบ 6 ปีครึ่ง โดยเห็นว่าอัตราเงิน
เฟ้อดังกล่าวไม่ใช่ตัวเลขที่น่าประหลาดใจแต่อย่างใด เนื่องจากเป็นเรื่องที่ ธปท.ได้คาดการณ์ไว้แล้ว ขณะที่ นาง
ธาริษา วัฒนเกส รองผู้ว่าการ ธปท.ได้สรุปการดำเนินงานที่ผ่านมาว่าได้ทำอะไรไปบ้าง และต้องการทราบว่า
ฐานะของภาคธุรกิจสถาบันการเงินขณะนี้เป็นอย่างไร ปรากฏว่า ธพ.มีฐานะแข็งแกร่งขึ้นมาก รวมทั้งการรายงาน
และทบทวนผลความคืบหน้าของนโยบายที่ ธปท.ให้ไป ตลอดจนหารือถึงความคืบหน้าเรื่องของกฎหมายบรรษัทบริหาร
สินทรัพย์สถาบันการเงิน (บบส.) (ผู้จัดการรายวัน, กรุงเทพธุรกืจ, โลกวันนี้, ไทยรัฐ, เดลินิวส์, บ้านเมือง,มติชน)
2. ธปท.เตือนเอเชียรับมือกับความผันผวนของเศรษฐกิจโลก ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)
ฝ่ายนโยบายการเงิน โดยนายปิติ ดิษยทัต และนายสุรัช แทนบุญ ได้เสนอบทวิจัยเรื่อง “ความไม่สมดุลของ
เศรษฐกิจโลกและความท้าทายต่อภูมิภาคเอเชีย” ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของบทความในการสัมมนาทางวิชาการประจำปี
48 ของ ธปท. โดยบทวิจัยดังกล่าวระบุว่า ความไม่สมดุลของเศรษฐกิจโลกเกิดขึ้นจากการที่ สรอ.ขาดดุลบัญชีเดิน
สะพัดถึงร้อยละ 6 ของผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี) ในปี 47 โดยมีสาเหตุจากการออมของภาคครัวเรือนที่ลดลง
และการขาดดุลของภาครัฐที่เพิ่มขึ้น ขณะที่ประเทศที่มีระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัวโดยมีการจัดการนั้น ธ.กลาง
ของประเทศกลุ่มนี้โดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชีย ได้เข้าไปดูแลค่าเงินมิให้แข็งค่าขึ้น จนมีผลกระทบต่อการส่งออกและ
ฉุดการขยายตัวของเศรษฐกิจ ด้วยการเข้าไปซื้อหลักทรัพย์รัฐบาล สรอ. ในอัตราที่สูงขึ้นในช่วงที่ผ่านมา ส่วนกรณี
ที่ สรอ.ต้องพึ่งพาเงินทุนไหลเข้าโดยเฉพาะจากประเทศในภูมิภาคเอเชียเพื่อรองรับการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดที่เพิ่ม
ขึ้นต่อเนื่อง ในขณะที่ประเทศในภูมิภาคเอเชียก็มีความต้องการที่จะดำรงสภาวะปัจจุบันไว้เพื่อประโยชน์ในการส่ง
ออกนั้น สร้างความไม่สมดุลในเศรษฐกิจโลก ดังนั้น ในระยะยาวประเทศในภูมิภาคควรจะเตรียมการรับมือกับผล
กระทบที่อาจเกิดขึ้น โดยในส่วนของประเทศไทยได้มีการเตรียมตัวในระดับหนึ่งทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ทั้งนี้ การ
ลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ของภาครัฐอาจมีส่วนช่วยในการลดการพึ่งพาการส่งออก และเพิ่มบทบาทของอุปสงค์ใน
ประเทศเพื่อช่วยรักษาการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจ นอกจากนี้ การทำความเข้าใจกระบวนการและการส่งเสริม
การออมในประเทศจะมีส่วนช่วยในการรักษาเสถียรภาพภายนอกของประเทศ ทั้งนี้ การพัฒนาระบบบริหารความ
เสี่ยงจากการผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนของภาคเอกชน และการเตรียมความพร้อมของ ธพ.ต่อการเปลี่ยนแปลง
ของสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจและการเงิน จะเป็นอีกปัจจัยสำคัญในการเตรียมรับผลกระทบที่อาจเกิดได้ (ผู้
จัดการรายวัน, บ้านเมือง, มติชน)
3. ไทยนำเข้าสินค้าฟุ่มเฟือยในช่วงครึ่งแรกปี 48 เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.35 เทียบต่อปี รายงานจาก
ก.พาณิชย์ เปิดเผยถึง สถิติการนำเข้าสินค้าฟุ่มเฟือยในช่วงครึ่งแรกปี 48 ว่า ไทยนำเข้าสินค้าฟุ่มเฟือยทั้งสิ้น 28 รายการ คิดเป็นมูลค่ารวม 149,415.3 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.35 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี
ก่อนที่มีการนำเข้า 132,992.7 ล้านบาท สำหรับสินค้าที่นำเข้ามากที่สุด ได้แก่ เครื่องใช้เบ็ดเตล็ด รองลงมา
คือ เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน ผลิตภัณฑ์เวชกรรมและเภสัชกรรม นาฬิกาและส่วนประกอบ (โลกวันนี้, สยามรัฐ, แนวหน้า, ข่าวสด)
4. ครม.เห็นชอบแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาภาคตะวันออก 4 จังหวัดเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมของ
ประเทศ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุม ครม.เห็นชอบแผนยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มจังหวัด
ภาคตะวันออก 4 จังหวัด คือ ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด ให้เป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมของประเทศ โดย
เฉพาะ ปิโตรเคมี น้ำมัน ยานยนต์ เหล็ก เครื่องใช้ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งส่งเสริมการเป็นฐานการผลิต
และจำหน่ายผลไม้เพื่อส่งออก นอกจากนี้ ยังเห็นชอบแนวทางการแก้ปัญหาขาดแคลนน้ำ ราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ จัด
ระเบียบแหล่งท่องเที่ยว และสร้างเส้นทางคมนาคม ในการสนับสนุนการพัฒนาด้วย ซึ่งเน้นการพัฒนาอุตสาหกรรม
และพลังงานของอาเซียน สร้างมูลค่าเพิ่มในสินค้าเกษตรควบคู่กับการพัฒนาคุณภาพชีวิต การเชื่อมโยงการท่องเที่ยว
หลักของแต่ละจังหวัด (เดลินิวส์)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ผู้บริโภคใน สรอ.ใช้จ่ายในเดือน มิ.ย.48 เพิ่มขึ้นแต่อัตราเงินเฟ้อยังอยู่ในระดับคงที่ รายงาน
จากวอชิงตัน เมื่อ 2 ส.ค.48 การใช้จ่ายของผู้บริโภคใน สรอ.ในเดือน มิ.ย.48 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 จากเดือน
ก่อนหลังจากลดลงร้อยละ 0.1 ในเดือน พ.ค.48 อันเป็นผลจากการส่งเสริมการขายด้วยการลดราคาของบริษัทรถ
ยนต์ใน สรอ.โดยเฉพาะอย่างยิ่งการให้สิทธิพนักงานและประชาชนทั่วไปสามารถซื้อรถยนต์ในราคาพิเศษของบริษัท
รถยนต์ Ford และ GM ที่คาดว่าจะทำให้ยอดขายรถยนต์มีจำนวนเกิน 20 ล้านคันในช่วงเวลา 1 ปีสิ้นสุดเดือน ก.
ค.48 เป็นครั้งที่ 3 ในประวัติศาสตร์ของ สรอ. และทำให้ยอดขายสินค้าคงทนที่มีอายุใช้งานตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไปเพิ่ม
ขึ้นร้อยละ 3.3 ในขณะที่ยอดขายสินค้าไม่คงทนเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 เช่นเดียวกับยอดสั่งซื้อสินค้าโรงงานในเดือน
มิ.ย.48 ที่ ก.พาณิชย์ของ สรอ.รายงานว่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0 หลังจากเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.6 ในเดือน พ.ค.48
จากความต้องการที่เพิ่มขึ้นของคอมพิวเตอร์และสินค้าอิเล็กทรอนิคส์ นอกจากนี้ ก.พาณิชย์ยังรายงานรายได้ส่วน
บุคคลใน สรอ.เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อโดยรวมและอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานยังอยู่ในระดับคงที่โดย
เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 1.9 ในช่วง 1 ปีที่ผ่านมาทำให้นักวิเคราะห์คาดว่า ธ.กลาง สรอ.จะประกาศขึ้นอัตรา
ดอกเบี้ยนโยบายอีกร้อยละ 0.25 เป็นครั้งที่ 10 ติดต่อกันในการประชุมในวันที่ 9 ส.ค.48 นี้ซึ่งจะทำให้อัตรา
ดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 3.50 ต่อปี โดยตลาดคาดว่าจะเห็นอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 4.0 ต่อปีภายในสิ้นปีนี้ (รอยเตอร์)
2. ความเชื่อมั่นของผู้บริโภค สรอ.ลดลง ณ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 31 ก.ค.48 รายงานจากนิวยอร์ก
เมื่อ 2 ส.ค.48 The ABC News/Washington Post เปิดเผยผลการสำรวจ Consumer Comfort Index
ซึ่งเป็นดัชนีชี้วัดความเชื่อมั่นของผู้บริโภค สรอ. ณ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 31 ก.ค.48 ว่าลดลงที่ระดับ -11 จาก
-7 ในสัปดาห์ก่อนหน้า โดยจำนวนผู้บริโภคที่เห็นว่าเป็นช่วงเวลาที่ดีสำหรับการจับจ่ายใช้สอยลดลง
เหลือร้อยละ 33 จากร้อยละ 37 ในสัปดาห์ก่อนหน้า สำหรับจำนวนผู้บริโภคที่มีมุมมองที่ดีต่อภาวะเศรษฐกิจโดยรวม
ลดลงเหลือร้อยละ 41 จากร้อยละ 42 และจำนวนผู้บริโภคที่มีมุมมองในเชิงบวกต่อฐานะทางการเงินส่วนตัวลดลง
เหลือร้อยละ 59 จากร้อยละ 60 ในสัปดาห์ก่อนหน้า ทั้งนี้ ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับชี้วัด
การใช้จ่ายของผู้บริโภคซึ่งมีสัดส่วนเป็น 2 ใน 3 ของระบบเศรษฐกิจ สรอ. (รอยเตอร์)
3. ยอดขายของร้านค้าปลีก สรอ.เพิ่มขึ้น ณ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 30 ก.ค.48 รายงานจากนิวยอร์ก
เมื่อ 2 ส.ค.48 The International Council of Shopping Centers เปิดเผยว่า ยอดขายของร้านค้า
ปลีก สรอ. ณ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 30 ก.ค.48 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 ในสัปดาห์ก่อน
หน้า นับเป็นการเพิ่มขึ้นสูงสุดตั้งแต่สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 16 เม.ย.48 ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0 และเมื่อเทียบกับช่วง
เดียวกันของปีก่อนยอดขายเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.9 เป็นการเพิ่มขึ้นเทียบต่อปีสูงสุดนับตั้งแต่สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 19 มิ.
ย.47 ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.9 เช่นกัน ทั้งนี้ การที่ยอดขายของร้านค้าปลีกในช่วงปลายเดือน ก.ค.เพิ่มขึ้น เนื่อง
จากอากาศร้อนมากขึ้น ทำให้ยอดขายสินค้าตามฤดูกาลเพิ่มขึ้น ประกอบกับเป็นช่วงเปิดภาคเรียน ทำให้ยอดขาย
สินค้าประเภทอุปกรณ์การเรียนเพิ่มขึ้น (รอยเตอร์)
4. คาดว่าอังกฤษจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงร้อยละ 0.25 รายงานจากกรุงลอนดอน ประเทศ
อังกฤษ เมื่อวันที่ 3 ส.ค.48 สำนักข่าวรอยเตอร์เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นนักเศรษฐศาสตร์ 47 คน ว่า มี
จำนวนถึง 43 คน ที่คาดการณ์ว่าคณะกรรมการนโยบายการเงิน (Monetary Policy Committee - MPC)
ของอังกฤษจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยมาตรฐานระยะสั้นลงร้อยละ 0.25 จากปัจจุบันร้อยละ 4.75 ลงเหลือร้อยละ
4.50 ในการประชุมในวันพฤหัสบดีนี้ ซึ่งถ้ามีการดำเนินการดังกล่าวก็จะเป็นครั้งแรกในรอบ 2 ปี ที่มีการปรับลด
อัตราดอกเบี้ย ทั้งนี้ เพื่อป้องกันการชะลอตัวของเศรษฐกิจที่เริ่มจะมีปัจจัยลบก่อตัวขึ้นจากตัวเลขการใช้จ่ายเพื่อการ
บริโภคที่ลดลงอย่างรุนแรงในช่วงที่ผ่านมา รวมถึงการก่อวินาศกรรมระบบขนส่งมวลชนในกรุงลอนดอนถึง 2 ครั้งใน
เดือน ก.ค.ที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม ยังไม่เป็นที่ชัดเจนว่าจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงเท่าใด หรืออาจจะ
มากกว่าร้อยละ 0.25 ในขณะที่นักวิเคราะห์ส่วนหนึ่งตั้งคำถามว่ามีความจำเป็นโดยเร่งด่วนหรือไม่ที่จะปรับลด
อัตราดอกเบี้ยลงทันที เนื่องจากค่าเงินปอนด์ลดลงอย่างรุนแรง และอัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับเป้าหมายที่ตั้งไว้คือ
ร้อยละ 2 ซึ่งหมายความว่าข้อมูลการพยากรณ์ภาวะเงินเฟ้อรายไตรมาสและอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ MPC
จะใช้ในการประชุมเพื่อพิจารณาในวันพฤหัสบดีที่ 4 ส.ค.นี้ จะเป็นสิ่งที่สำคัญมากในการตัดสินใจว่าจะปรับขึ้นอัตรา
ดอกเบี้ย หรือให้คงอัตราดอกเบี้ยไว้เหมือนเช่นในการประชุมเมื่อเดือน ก.ค.ที่ผ่านมาที่คณะกรรมการฯ โหวตให้คง
อัตราดอกเบี้ยไว้ด้วยคะแนนเสียง 5 ต่อ 4 (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 3 ส.ค. 48 2 ส.ค. 48 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 41.398 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 41.1996/41.4917 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 2.8025 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 683.16/ 17.30 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 8,400/8,500 8,450/8,550 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 55.08 54.11 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 25.74*/22.59** 25.74*/22.59** 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับเพิ่ม 40 สตางค์ เมื่อ 12 ก.ค. 48
**ปรับเลด 40 สตางค์เมื่อ 30 ก.ค. 48
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--