‘คณะทำงานด้านสังคม ปชป.’ เสนอแนะ 4 แนวทางช่วยเหลือผู้ใช้แรงงาน ช่วง ‘เศรษฐกิจขาลง’ หลังพบคนได้รับผลกระทบอย่างต่อเนื่องจากค่าครองชีพและค่าสินค้าอุปโภคบริโภคต่างๆที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ ส.ส.กรุงเทพมหานคร พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการด้านแรงงาน ในคณะทำงานด้านสังคมของพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า คณะอนุกรรมการฯได้ประชุมร่วมกันและพบว่าขณะนี้มีความเดือดร้อนของผู้ใช้แรงงานทั้งในและนอกระบบ ที่ได้รับผลกระทบอย่างต่อเนื่องจากราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ค่าครองชีพและสินค้าอุปโภคบริโภคต่างๆมีราคาสูงขึ้น และจากข้อมูลของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้รายงานว่า ปี 2547 มีคนจน 7.5 ล้านคนที่มีรายได้ต่ำกว่าเส้นความยากจน 1,243 บาท/คน/เดือน ซึ่งคนจนส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 80 มีอาชีพเกษตรกรรมและรับจ้าง ทั้งนี้มีประชาชนที่มาจดทะเบียนคนจนกับกระทรวงมหาดไทย ดังนี้
ระดับรายได้ของผู้จดทะเบียน จำนวน (คน) ร้อยละ
น้อยกว่า 500 บาท 1,379,177 17.1
500 - 1,000 บาท 1,523,927 19.0
1,001 — 2,000 บาท 1,572,222 19.6
2,001 — 4,000 บาท 2,076,448 25.8
4,001 บาทขึ้นไป 1,488,953 18.5
รวม 8,040,727 100
ทั้งนี้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีคนจน 3.2 ล้านคน ภาคเหนือมี 1.8 ล้านคน ซึ่งปัญหาส่วนใหญ่ของประชาชนเหล่านี้คือ ต้องการที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัย ต้องการอาชีพเสริม ต้องการทุน และขอขยายเวลาชำระหนี้ เป็นต้น อีกทั้งลูกจ้างที่อยู่ภายใต้ระบบประกันสังคม 8 ล้านกว่าคนมีจำนวนประมาณ 2 ล้านคนที่มีรายได้ต่ำกว่าค่าจ้างขั้นต่ำ ที่อยู่ระหว่าง 175 — 137 บาท
ดังนั้นพรรคประชาธิปัตย์จึงมีข้อเสนอเชิงนโยบายและมาตรการเพื่อช่วยเหลือผู้ใช้แรงงาน ดังนี้
1. รัฐบาลควรจัดปัจจัย อาหาร เครื่องนุ่งห่มที่จำเป็นให้กับคนจนที่จดทะเบียนทั้ง 8 ล้านคน ผ่านศูนย์แก้ไขปัญหาความยากจนระดับอำเภอทุกๆเดือนจนกว่าสถานการณ์เศรษฐกิจของประเทศจะปกติ
2. กรณีของค่าจ้างแรงงาน ให้รัฐบาลใช้มาตรการจูงใจทางภาษีในการหักลดหย่อนให้กับนายจ้างหรือสถานประกอบการ ซึ่งจัดสวัสดิการให้แก่แรงงาน เช่น จัดอาหารกลางวันฟรี จัดรถสวัสดิการ จัดให้มีสินค้าอุปโภคบริโภคราคาพิเศษ จัดหอพักให้คนงานฟรีหรือราคาถูก ฯลฯ
3. กรณีของการจ่ายเงินสบทบประกันสังคมที่ฝ่ายนายจ้างจ่าย 5% ลูกจ้างจ่าย 5% และรัฐบาลจ่าย 4.75% ควรที่จะมีการลดเงินสมทบลงมาให้เหมาะสม เช่น ฝ่ายละ 1% ซึ่งเคยทำมาแล้วในช่วงรัฐบาลประชาธิปัตย์เข้ามากู้วิกฤติหลังปี 2540
4. ในโครงการเมกะโปรเจ็กรัฐบาลได้ละเลยในเรื่องการพัฒนาฝีมือแรงงานโดยไม่ได้ระบุเรื่องดังกล่าวไว้ ดังนั้นรัฐบาลควรใช้ช่วงเวลานี้ในการเร่งพัฒนาฝีมือแรงงาน โดยการเพิ่มเติมงบประมาณและภาระกิจของกระทรวงแรงงานไว้ด้วย
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 11 ก.ค. 2548--จบ--
นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ ส.ส.กรุงเทพมหานคร พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการด้านแรงงาน ในคณะทำงานด้านสังคมของพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า คณะอนุกรรมการฯได้ประชุมร่วมกันและพบว่าขณะนี้มีความเดือดร้อนของผู้ใช้แรงงานทั้งในและนอกระบบ ที่ได้รับผลกระทบอย่างต่อเนื่องจากราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ค่าครองชีพและสินค้าอุปโภคบริโภคต่างๆมีราคาสูงขึ้น และจากข้อมูลของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้รายงานว่า ปี 2547 มีคนจน 7.5 ล้านคนที่มีรายได้ต่ำกว่าเส้นความยากจน 1,243 บาท/คน/เดือน ซึ่งคนจนส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 80 มีอาชีพเกษตรกรรมและรับจ้าง ทั้งนี้มีประชาชนที่มาจดทะเบียนคนจนกับกระทรวงมหาดไทย ดังนี้
ระดับรายได้ของผู้จดทะเบียน จำนวน (คน) ร้อยละ
น้อยกว่า 500 บาท 1,379,177 17.1
500 - 1,000 บาท 1,523,927 19.0
1,001 — 2,000 บาท 1,572,222 19.6
2,001 — 4,000 บาท 2,076,448 25.8
4,001 บาทขึ้นไป 1,488,953 18.5
รวม 8,040,727 100
ทั้งนี้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีคนจน 3.2 ล้านคน ภาคเหนือมี 1.8 ล้านคน ซึ่งปัญหาส่วนใหญ่ของประชาชนเหล่านี้คือ ต้องการที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัย ต้องการอาชีพเสริม ต้องการทุน และขอขยายเวลาชำระหนี้ เป็นต้น อีกทั้งลูกจ้างที่อยู่ภายใต้ระบบประกันสังคม 8 ล้านกว่าคนมีจำนวนประมาณ 2 ล้านคนที่มีรายได้ต่ำกว่าค่าจ้างขั้นต่ำ ที่อยู่ระหว่าง 175 — 137 บาท
ดังนั้นพรรคประชาธิปัตย์จึงมีข้อเสนอเชิงนโยบายและมาตรการเพื่อช่วยเหลือผู้ใช้แรงงาน ดังนี้
1. รัฐบาลควรจัดปัจจัย อาหาร เครื่องนุ่งห่มที่จำเป็นให้กับคนจนที่จดทะเบียนทั้ง 8 ล้านคน ผ่านศูนย์แก้ไขปัญหาความยากจนระดับอำเภอทุกๆเดือนจนกว่าสถานการณ์เศรษฐกิจของประเทศจะปกติ
2. กรณีของค่าจ้างแรงงาน ให้รัฐบาลใช้มาตรการจูงใจทางภาษีในการหักลดหย่อนให้กับนายจ้างหรือสถานประกอบการ ซึ่งจัดสวัสดิการให้แก่แรงงาน เช่น จัดอาหารกลางวันฟรี จัดรถสวัสดิการ จัดให้มีสินค้าอุปโภคบริโภคราคาพิเศษ จัดหอพักให้คนงานฟรีหรือราคาถูก ฯลฯ
3. กรณีของการจ่ายเงินสบทบประกันสังคมที่ฝ่ายนายจ้างจ่าย 5% ลูกจ้างจ่าย 5% และรัฐบาลจ่าย 4.75% ควรที่จะมีการลดเงินสมทบลงมาให้เหมาะสม เช่น ฝ่ายละ 1% ซึ่งเคยทำมาแล้วในช่วงรัฐบาลประชาธิปัตย์เข้ามากู้วิกฤติหลังปี 2540
4. ในโครงการเมกะโปรเจ็กรัฐบาลได้ละเลยในเรื่องการพัฒนาฝีมือแรงงานโดยไม่ได้ระบุเรื่องดังกล่าวไว้ ดังนั้นรัฐบาลควรใช้ช่วงเวลานี้ในการเร่งพัฒนาฝีมือแรงงาน โดยการเพิ่มเติมงบประมาณและภาระกิจของกระทรวงแรงงานไว้ด้วย
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 11 ก.ค. 2548--จบ--