สุกร
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ในสัปดาห์นี้ ราคาเกษตรกรขายได้ปรับตัวสูงขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมา ความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น เนื่องจากข่าวการระบาดของโรคไข้หวัดนก ทำให้ผู้บริโภคหันมาบริโภคเนื้อสุกรมากขึ้น แนวโน้มคาดว่าราคาจะปรับตัวสูงขึ้น
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 47.48 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 45.88 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.49 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 47.94 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 44.77 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 47.91 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 50.89 บาท ส่วนราคาลูกสุกร ตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ตัวละ 1,200 บาท (บวกลบ 45 บาท) ทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 48.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 47.50 ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 2.11 ส่วนราคาขายส่งสุกรชำแหละเฉลี่ยกิโลกรัมละ 57.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 56.50 บาท ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 1.77
ไก่เนื้อ
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ตลาดไก่เนื้อในสัปดาห์นี้ ราคาเกษตรกรขายได้ลดลงอีกจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจาก ผู้บริโภคไม่มีความมั่นใจในการบริโภคเนื้อไก่ ตั้งแต่มีข่าวการแพร่ระบาดของไข้หวัดนกในรอบที่ 3 แนวโน้มคาดว่าราคาจะทรงตัว
มติของที่ประชุมการแก้ไขปัญหาโรคไข้หวัดนก ประเทศไทยจะยังไม่มีการใช้วัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดนกในสัตว์ปีกทุกชนิด ซึ่งสถานการณ์ขณะนี้ยังถือว่าควบคุมได้ ขณะที่การใช้วัคซีนมีความเสี่ยงเรื่องความปลอดภัยของคน เนื่องจากวัคซีนไม่ได้ทำให้เชื้อหมดไปเพราะสัตว์ยังสามารถรับเชื้อและแพร่เชื้อได้อีก และการใช้วัคซีนจะต้องใช้งบประมาณสูงถึงปีละ 7,000 ล้านบาท ซึ่งค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่จะเป็นค่าใช้จ่ายในการติดตามตรวจสอบสัตว์ โดยเฉพาะไก่บ้านที่มีมากกว่า 43 ล้านตัว
นายกรัฐมนตรีอนุมัติแผนแม่บทของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในการควบคุมไข้หวัดนกให้ได้ภายใน 3 ปี โดยจะมีการเอกซเรย์พื้นที่เฝ้าระวังทั้ง 21 จังหวัด ปีละ 2 ครั้ง ในฤดูฝนเดือนพฤษภาคม และฤดูหนาวเดือนตุลาคม ของทุกปี อย่างต่อเนื่องอย่างน้อย 5-7 ปี เพื่อให้มั่นใจว่าควบคุมโรคได้ โดยจะนำระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์หรือ GIS มาควบคุมการดำเนินมาตรการของเจ้าหน้าที่ให้มีความรัดกุมและโปร่งใส รวมทั้งจะมีการส่งเสริมการนำสัตว์ปีกเข้ามาเลี้ยงในระบบปลอดภัย ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นฟาร์มปิดแบบโรงงานใหญ่ แต่หลักการคือแยกประเภทสัตว์ปีกที่เลี้ยงออกจากกัน อย่าให้สัมผัสใกล้ชิด โดยจะให้การสนับสนุนเกษตรกรเพื่อปรับเปลี่ยนระบบการเลี้ยงด้วย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 35.56 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 36.74 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.21 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 42.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 33.49 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 30.35 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 41.65 บาท ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ตัวละ 15.50 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายในเฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 31.50 บาท ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 6.35 และราคาขายส่งไก่สดกิโลกรัมละ 41.50 บาท ลดลงจาก กิโลกรัมละ 44.50 บาท จากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 6.74
ไข่ไก่
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ลดลงจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากไข่ไก่ออกสู่ตลาดปริมาณผลผลิตมากขึ้น และผลกระทบทางจิตวิทยาในการบริโภคไข่ไก่ ภายหลังเกิดโรคไข้หวัดนก แนวโน้มคาดว่าราคาจะทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ เฉลี่ยร้อยฟองละ 234 บาท ลดลงจาก ร้อยฟองละ 245 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.80 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือร้อยฟองละ 241 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 270 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 217 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ 254 บาท ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี.ตัวละ 17 บาท ทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 196.33 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 221.67 ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 11.43
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ ร้อยฟองละ 302 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 304 บาท จากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.64 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือร้อยฟองละ 260 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 331 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 291 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 310 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 386 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
โค
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโค (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 48.03 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 47.81 จากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.46 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 42.18 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 53.61 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 44.02 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 48.13 บาท
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 38.28 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 36.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 37.38 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 49.80 ส่วนภาคใต้ไม่มีรายงานราคา
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 14-20 พ.ย.2548--
-พห-
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ในสัปดาห์นี้ ราคาเกษตรกรขายได้ปรับตัวสูงขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมา ความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น เนื่องจากข่าวการระบาดของโรคไข้หวัดนก ทำให้ผู้บริโภคหันมาบริโภคเนื้อสุกรมากขึ้น แนวโน้มคาดว่าราคาจะปรับตัวสูงขึ้น
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 47.48 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 45.88 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.49 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 47.94 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 44.77 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 47.91 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 50.89 บาท ส่วนราคาลูกสุกร ตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ตัวละ 1,200 บาท (บวกลบ 45 บาท) ทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 48.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 47.50 ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 2.11 ส่วนราคาขายส่งสุกรชำแหละเฉลี่ยกิโลกรัมละ 57.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 56.50 บาท ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 1.77
ไก่เนื้อ
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ตลาดไก่เนื้อในสัปดาห์นี้ ราคาเกษตรกรขายได้ลดลงอีกจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจาก ผู้บริโภคไม่มีความมั่นใจในการบริโภคเนื้อไก่ ตั้งแต่มีข่าวการแพร่ระบาดของไข้หวัดนกในรอบที่ 3 แนวโน้มคาดว่าราคาจะทรงตัว
มติของที่ประชุมการแก้ไขปัญหาโรคไข้หวัดนก ประเทศไทยจะยังไม่มีการใช้วัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดนกในสัตว์ปีกทุกชนิด ซึ่งสถานการณ์ขณะนี้ยังถือว่าควบคุมได้ ขณะที่การใช้วัคซีนมีความเสี่ยงเรื่องความปลอดภัยของคน เนื่องจากวัคซีนไม่ได้ทำให้เชื้อหมดไปเพราะสัตว์ยังสามารถรับเชื้อและแพร่เชื้อได้อีก และการใช้วัคซีนจะต้องใช้งบประมาณสูงถึงปีละ 7,000 ล้านบาท ซึ่งค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่จะเป็นค่าใช้จ่ายในการติดตามตรวจสอบสัตว์ โดยเฉพาะไก่บ้านที่มีมากกว่า 43 ล้านตัว
นายกรัฐมนตรีอนุมัติแผนแม่บทของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในการควบคุมไข้หวัดนกให้ได้ภายใน 3 ปี โดยจะมีการเอกซเรย์พื้นที่เฝ้าระวังทั้ง 21 จังหวัด ปีละ 2 ครั้ง ในฤดูฝนเดือนพฤษภาคม และฤดูหนาวเดือนตุลาคม ของทุกปี อย่างต่อเนื่องอย่างน้อย 5-7 ปี เพื่อให้มั่นใจว่าควบคุมโรคได้ โดยจะนำระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์หรือ GIS มาควบคุมการดำเนินมาตรการของเจ้าหน้าที่ให้มีความรัดกุมและโปร่งใส รวมทั้งจะมีการส่งเสริมการนำสัตว์ปีกเข้ามาเลี้ยงในระบบปลอดภัย ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นฟาร์มปิดแบบโรงงานใหญ่ แต่หลักการคือแยกประเภทสัตว์ปีกที่เลี้ยงออกจากกัน อย่าให้สัมผัสใกล้ชิด โดยจะให้การสนับสนุนเกษตรกรเพื่อปรับเปลี่ยนระบบการเลี้ยงด้วย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 35.56 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 36.74 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.21 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 42.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 33.49 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 30.35 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 41.65 บาท ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ตัวละ 15.50 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายในเฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 31.50 บาท ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 6.35 และราคาขายส่งไก่สดกิโลกรัมละ 41.50 บาท ลดลงจาก กิโลกรัมละ 44.50 บาท จากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 6.74
ไข่ไก่
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ลดลงจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากไข่ไก่ออกสู่ตลาดปริมาณผลผลิตมากขึ้น และผลกระทบทางจิตวิทยาในการบริโภคไข่ไก่ ภายหลังเกิดโรคไข้หวัดนก แนวโน้มคาดว่าราคาจะทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ เฉลี่ยร้อยฟองละ 234 บาท ลดลงจาก ร้อยฟองละ 245 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.80 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือร้อยฟองละ 241 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 270 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 217 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ 254 บาท ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี.ตัวละ 17 บาท ทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 196.33 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 221.67 ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 11.43
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ ร้อยฟองละ 302 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 304 บาท จากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.64 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือร้อยฟองละ 260 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 331 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 291 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 310 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 386 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
โค
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโค (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 48.03 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 47.81 จากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.46 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 42.18 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 53.61 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 44.02 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 48.13 บาท
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 38.28 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 36.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 37.38 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 49.80 ส่วนภาคใต้ไม่มีรายงานราคา
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 14-20 พ.ย.2548--
-พห-