นายสุรศักดิ์ พันธ์นพ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต3 สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) รายงานเกี่ยวกับมาตรการโครงการรับจำนำข้าวเปลือกเจ้านาปรัง ปี 2548 ซึ่งเป็นนโยบายของรัฐบาลเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร ในการเพิ่มทางเลือกให้เกษตรกร มีอำนาจต่อรองในการขายข้าวเปลือก ซึ่งปีนี้รัฐบาลรับจำนำข้าวในราคาสูงกว่าปีที่ผ่านมา โดยเริ่มดำเนินการรับจำนำระหว่างวันที่ 15 เมษายน — 15 สิงหาคม 2548
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 3 รับผิดชอบพื้นที่ จังหวัดอุดรธานี หนองคาย หนองบัวลำภู เลย สกลนคร นครพนม และมุกดาหาร ซึ่งอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน คาดว่าจะมีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการรับจำนำข้าวเปลือกเจ้านาปรังใน ปี 2548 เป็นจำนวนไม่มาก เนื่องจากเกษตรกรในแถบนี้ส่วนใหญ่จะทำการปลูกข้าวเหนียวนาปรัง จะมีเพียงจังหวัดหนองบัวลำภู ที่เกษตรกรปลูกข้าวเจ้านาปรังเป็นส่วนใหญ่ จากข้อมูลสำนักงานเกษตรจังหวัดหนองบัวลำภู (ตัดยอดเดือนมีนาคม 2548) มีพื้นที่เพาะปลูกข้าวเจ้านาปรัง จำนวน 13,225 ไร่ คาดว่าจะได้ผลผลิตประมาณ 6,600 ตัน โดยราคารับจำนำที่รัฐบาลกำหนดไว้ตันละ 6,200 — 6,700 บาท สูงกว่าราคารับซื้อในท้องตลาดขณะนี้อยู่ที่ราคาตันละ 5,500 — 5,700 บาท (ณ ความชื้นไม่เกิน 15%) คาดว่าจะเป็นแรงจูงใจให้เกษตรกรนำข้าวออกมาเข้าร่วมโครงการรับจำนำมากขึ้น
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 3 รับผิดชอบพื้นที่ จังหวัดอุดรธานี หนองคาย หนองบัวลำภู เลย สกลนคร นครพนม และมุกดาหาร ซึ่งอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน คาดว่าจะมีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการรับจำนำข้าวเปลือกเจ้านาปรังใน ปี 2548 เป็นจำนวนไม่มาก เนื่องจากเกษตรกรในแถบนี้ส่วนใหญ่จะทำการปลูกข้าวเหนียวนาปรัง จะมีเพียงจังหวัดหนองบัวลำภู ที่เกษตรกรปลูกข้าวเจ้านาปรังเป็นส่วนใหญ่ จากข้อมูลสำนักงานเกษตรจังหวัดหนองบัวลำภู (ตัดยอดเดือนมีนาคม 2548) มีพื้นที่เพาะปลูกข้าวเจ้านาปรัง จำนวน 13,225 ไร่ คาดว่าจะได้ผลผลิตประมาณ 6,600 ตัน โดยราคารับจำนำที่รัฐบาลกำหนดไว้ตันละ 6,200 — 6,700 บาท สูงกว่าราคารับซื้อในท้องตลาดขณะนี้อยู่ที่ราคาตันละ 5,500 — 5,700 บาท (ณ ความชื้นไม่เกิน 15%) คาดว่าจะเป็นแรงจูงใจให้เกษตรกรนำข้าวออกมาเข้าร่วมโครงการรับจำนำมากขึ้น
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-