ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. เดือน ม.ค.48 ไทยขาดดุลบัญชีเดินสะพัดสูงสุดในรอบ 7 ปี ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายเศรษฐกิจ
ในประเทศ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ภาวะเศรษฐกิจไทยในเดือน ม.ค.48 ขยายตัวลดลง
จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุลเป็นจำนวน 942 ล.ดอลลาร์ สรอ. สูงสุดในรอบ 7 ปี 9
เดือนนับตั้งแต่เดือน เม.ย.40 ที่ขาดดุล 1,401 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. เป็นผลจากการขาดดุลการค้าที่สูงถึง
1,475 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. ซึ่งมีสาเหตุจากมูลค่าการนำเข้าสูงสุดเป็นประวัติการณ์ 9.17 พัน ล.ดอลลาร์
สรอ. หรือขยายตัวเพิ่มขึ้น 33.6% จากระยะเดียวกันของปีก่อน โดยสินค้านำเข้าที่มีการขยายตัวสูงได้แก่ น้ำมันมี
มูลค่าสูงขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 79.9% สินค้าวัตถุดิบเพิ่มขึ้น 28.7% เครื่องจักรกลและชิ้นส่วนเพิ่มขึ้น
19.3% ในขณะที่การส่งออกในเดือน ม.ค.มีอัตราการเพิ่มที่ชะลอตัวลงโดยมีมูลค่า 7.695 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.
ขยายตัวเพียง 11.6% ชะลอลงจากเดือน ธ.ค.47 ที่ขยายตัว 16.7% สำหรับดุลบริการในเดือน ม.ค.ก็หดตัวลง
เช่นกัน สาเหตุจากการท่องเที่ยวในเดือน ม.ค.ขยายตัวลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนถึง 26.9% โดยมีจำนวน
8.9 แสนคน ลดลงจาก 1.21 ล.คนในเดือนก่อน อันเป็นผลจากเหตุการณ์สึนามิและความไม่สงบใน 3 จังหวัดชาย
แดนภาคใต้ ในส่วนของดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมขยายตัว 3.9% ชะลอลงจากเดือนก่อนที่ขยายตัว 5.3% สาเหตุจาก
อุปสงค์ภายในประเทศลดลงโดยเฉพาะในหมวดยานยนต์และขนส่ง สำหรับการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนลดลง
0.5% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนที่ขยายตัวลดลง 1.2% ส่วนดัชนีการลงทุนภาคเอกชนขยายตัวร้อยละ 5.1 เพิ่มขึ้นจาก
เดือนก่อนซึ่งหดตัวลงร้อยละ 7.4 นอกจากนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจในเดือน ม.ค.อยู่ที่ระดับ 48.5 ต่ำกว่า
ระดับ 50 เป็นเดือนที่ 9 โดยปัจจัยลบที่มีผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจคือ ค่าเงินบาทเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์
สรอ. ต้นทุนวัตถุดิบและพลังงานที่เพิ่มขึ้น และการสั่งซื้อจากต่างประเทศที่ชะลอตัว สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นทาง
ธุรกิจในอีก 3 เดือนข้างหน้ายังอยู่ในเกณฑ์ดีอย่างต่อเนื่อง สะท้อนว่าผู้ประกอบการยังคงมีความมั่นใจต่อภาวะธุรกิจ
ในอนาคต (กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน, โพสต์ทูเดย์, โลกวันนี้, ไทยโพสต์)
2. ธปท.เตรียมพิจารณาอัตราดอกเบี้ยอาร์พีในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน ผู้ว่าการ
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า การประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในวันที่
2 มี.ค.48 นี้ จะพิจารณาเรื่องเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืน พธบ.ประเภท 14 วัน (อาร์/พี) ซึ่งปัจจุบันอยู่ที่
ระดับร้อยละ 2 ต่อปี โดยพิจารณาภาวะอัตราดอกเบี้ยจากภาวะเศรษฐกิจโดยรวมของไทยเป็นหลัก แม้ว่าอัตรา
ดอกเบี้ยของ ธ.กลาง สรอ.จะอยู่ในระดับสูงกว่าที่ระดับร้อยละ 2.50 ต่อปีก็ตาม (ผู้จัดการรายวัน)
3. กรมการค้าภายในจัดลำดับความสำคัญในการติดตามดูแลราคาสินค้าให้สอดคล้องกับสถานการณ์
ราคาน้ำมัน อธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผยว่า ในเดือน มี.ค.48 นี้ กรมการค้าภายในได้จัดลำดับความสำคัญใน
การติดตามดูแลราคาสินค้าและบริการใหม่ ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ภาวะราคาน้ำมันภายในประเทศและตลาด
โลก โดยในส่วนของสินค้าที่ติดตามดูแลจำนวน 100 รายการนั้น ได้เพิ่มปูนซีเมนต์เข้าอยู่ในบัญชีสินค้าที่ต้องติดตาม
ภาวะและสถานการณ์อย่างใกล้ชิดเป็นพิเศษสัปดาห์ละ 2 ครั้ง จากเดิมที่อยู่ในบัญชีสินค้าที่ต้องติดตามทุก 15 วัน
รวมทั้งจัดให้เหล็กเส้น เหล็กโครงสร้างรูปพรรณ เครื่องแบบนักเรียน และรองเท้านักเรียน ขึ้นมาอยู่ในบัญชีสินค้าที่
มีความอ่อนไหวเป็นพิเศษ (โลกวันนี้)
4. ก.คลังเสนอเรื่องจัดทำ งปม.กลางปีเพิ่มเติมวงเงิน 50,000 ล.บาทต่อที่ประชุม ครม. ผู้
อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยว่า ก.คลังเตรียมเสนอเรื่องการจัดทำ งปม.กลางปีเพิ่ม
เติมวงเงิน 50,000 ล.บาทต่อที่ประชุม ครม.พิจารณาในวันนี้ (1 ม.ค.48) และยืนยันว่าการจัดทำในครั้งนี้จะ
สามารถทำได้จริง เนื่องจากกรมสรรพากรจัดเก็บภาษีได้สูงกว่าประมาณการที่ตั้งไว้ โดยในช่วง 4 เดือนแรกของ
ปี งปม.48 (ต.ค.47-ม.ค.48) จัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ 20,000 ล.บาท และช่วงกลางปีจะมีรายได้เพิ่ม
จากการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีเพิ่มเติมกลางปีของนิติบุคคลอีก จึงคาดว่าจะมีรายได้เพียงพอต่อการ
จัดทำ งปม.แบบสมดุล (โลกวันนี้)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. จำนวนคนว่างงานในเยอรมนีในเดือน ก.พ.48 มี 5.216 ล้านคน สูงสุดนับตั้งแต่หลังสงคราม
โลก ครั้งที่ 1 รายงานจากเบอร์ลิน เมื่อ 28 ก.พ.48 แหล่งข่าวจาก สนง.แรงงานกลางของเยอรมนี
รายงานว่าจำนวนคนว่างงานในเยอรมนีเพิ่มขึ้น 161,000 คนในเดือน ก.พ.48 จากเดือนก่อน สูงกว่าที่รอยเตอร์
คาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นเพียง 90,000 คน ทำให้ยอดคนว่างงานเพิ่มขึ้นเป็น 5.216 ล้านคน จากจำนวน 5.037 ล้าน
คนในเดือน ม.ค.48 สูงสุดนับตั้งแต่ทศวรรษ 1930 ซึ่งเป็นช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 โดยส่วนใหญ่เป็นผลจาก
ปฏิรูปตลาดแรงงานที่เรียกกันว่า Harts IV ซึ่งเริ่มมีผลบังคับตั้งแต่ต้นปีนี้โดยกำหนดให้ผู้ที่จะรับสวัสดิว่างงานต้อง
ลงทะเบียนที่ สนง.แรงงานและตัดสิทธิการรับสวัสดิการของผู้ที่ว่างงานเป็นเวลานาน ทำให้มีผู้ที่ลงทะเบียนเป็นคน
ว่างงานเพิ่มขึ้น 130,000 คนในเดือน ก.พ.48 หลังจากเพิ่มขึ้น 222,000 คนในเดือน ม.ค.48 นัก
เศรษฐศาสตร์คาดว่าการปฏิรูปตลาดแรงงานดังกล่าวจะทำให้มีชาวเยอรมนีกลับไปทำงานมากขึ้นและทำให้จำนวนคน
ว่างงานลดลงในที่สุด สนง.แรงงานกลางมีกำหนดจะประกาศตัวเลขคนว่างงานในเดือน ก.พ.48 อย่างเป็นทาง
การในวันที่ 1 มี.ค.48 เวลา 8.55 น. ตามเวลากรีนนิช (รอยเตอร์)
2. คาดว่าเศรษฐกิจของเยอรมนีในปี 48 จะขยายตัวเพียงร้อยละ 1.0 ลดลงจากที่ประมาณการไว้
ก่อนหน้านี้ รายงานจากเบอร์ลิน เมื่อ 1 มี.ค.48 หัวหน้ากลุ่มที่ปรึกษาทางเศรษฐกิจของรัฐบาลเยอรมนี (Bert
Ruerup) คาดการณ์ว่า อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของเยอรมนีในปี 48 จะขยายตัวเพียงร้อยละ 1.0 ลดลง
จากที่ประมาณการไว้ก่อนหน้านี้ว่าจะขยายตัวร้อยละ 1.4 โดยกล่าวว่า อาจจะเป็นการยากลำบากสำหรับการเร่ง
ตัวทางเศรษฐกิจของเยอรมนีในปีนี้ หลังจากที่เศรษฐกิจเยอรมนีหดตัวเมื่อสิ้นปีก่อน แม้ว่าเมื่อปี 47 เศรษฐกิจ
เยอรมนีเติบโตร้อยละ 1.6 ซึ่งเป็นอัตราการเติบโตรวดเร็วที่สุดตั้งแต่ปี 43 ก็ตาม (รอยเตอร์)
3. อัตราการว่างงานของญี่ปุ่นในเดือนม.ค. 48 อยู่ที่ร้อยละ 4.5 ไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนธ.ค.
47 รายงานจากโตเกียวเมื่อวันที่ 1 มี.ค. 48 รัฐบาลญี่ปุ่นเปิดเผยว่า ในเดือนม.ค. อัตราการว่างงานของญี่ปุ่น
อยู่ที่ร้อยละ 4.5 ไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนธ.ค. (ตัวเลขหลังปรับฤดูกาล) และต่ำสุดในรอบ 6 ปี ซึ่งอัตราการ
ว่างงานได้ฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ที่เคยทำสถิติสูงสุดร้อยละ 5.5 เมื่อเดือนม.ค. 46 ขณะที่ภาคครัวเรือนมี
การใช้จ่ายเพิ่มขึ้นสร้างความหวังว่าการบริโภคมีแนวโน้มที่จะฟื้นตัว โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.6 จากปีก่อน และก่อน
หน้านั้นได้มีการคาดการณ์ว่าอัตราการว่างงานเฉลี่ยจะอยู่ที่ร้อยละ 4.4 ส่วน job-to-applicants ratio ใน
เดือนเดียวกันอยู่ที่ 0.91 ซึ่งหมายความว่าในจำนวนผู้สมัครงาน 100 คนจะมีงานรองรับ 91 ตำแหน่ง ซึ่งเท่ากับ
job-to-applicants ratio ในเดือนพ.ย. 47 และเดือนม.ค. 36 และเป็นระดับที่สูงสุดนับตั้งแต่เดือนธ.ค.
35 ทั้งนี้รัฐบาลญี่ปุ่นเห็นว่าภาวะตลาดแรงงานเริ่มฟื้นตัวแล้ว ส่วนดัชนี propensity-to-consume ซึ่งใช้ชี้วัดแนว
โน้มการบริโภคภาคครัวเรือนอยู่ที่ 74.8 (ตัวเลขหลังปรับฤดูกาล) ลดลงจาก 77.4 ในเดือนธ.ค. (รอยเตอร์)
4. เศรษฐกิจของมาเลเซียในไตรมาส 4 ปี 47 เติบโตลดลง รายงานจากกรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย เมื่อวันที่ 28 ก.พ.48 ธ.กลางของมาเลเซีย เปิดเผยว่า อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของ
มาเลเซียในไตรมาสสุดท้ายปี 47 เติบโตลดลงเหลือร้อยละ 5.6 ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่มีการเติบโตร้อยละ
5.2 ในไตรมาส 3 ปี 46 สาเหตุจากการส่งออกสินค้าอิเล็คทรอนิกส์ลดลง นอกจากนี้ ตัวเลขดังกล่าวยังต่ำกว่า
ผลความสำรวจความคิดเห็นนักเศรษฐศาสตร์ที่สำนักข่าวรอยเตอร์จัดทำขึ้นที่คาดว่าเศรษฐกิจจะเติบโตร้อยละ 5.8
ซึ่งช่วยสนับสนุนมุมมองที่ว่ารัฐบาลไม่ได้เร่งรีบเพิ่มแรงกดดันให้มีการเปลี่ยนแปลงค่าเงินริงกิตแต่อย่างใด และส่งผล
ให้การเก็งกำไรค่าเงินริงกิตของมาเลเซียลดลงด้วย ทั้งนี้ นักลงทุนคาดการณ์ว่ามาเลเซียจะต้องมีการเปลี่ยน
แปลงค่าเงินริงกิตในเร็ว ๆ นี้ เนื่องจากเชื่อว่าอัตราแลกเปลี่ยนคงที่ที่ระดับ 3.8 ริงกิต ต่อดอลลาร์ สรอ. เป็น
อัตราที่ต่ำกว่าความเป็นจริง โดยได้มีการซื้อสินทรัพย์มาเลเซียส่งผลให้ราคาหุ้นในตลาดหลักทรัพย์มาเลเซียเมื่อ
เดือนก่อนเพิ่มขึ้นเกือบถึงจุดสูงสุดในรอบ 5 ปี และทำให้อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลลดลงมากกว่า 70
basis point นับตั้งแต่เดือน ก.ย.47 ประกอบกับการคาดการว่าจีนจะมีการเปลี่ยนแปลงนโยบายเกี่ยวกับค่า
เงินหยวนและค่าเงินดอลลาร์ สรอ. ที่อ่อนตัวลงช่วยส่งเสริมให้มีการเก็งกำไรค่าเงินมากขึ้น ด้าน ธ.กลางของ
มาเลเซียไม่ได้แสดงความคิดเห็นใด ๆ เกี่ยวกับการตรึงค่าเงินริงกิตของมาเลเซีย แต่กล่าวว่าสามารถบริหาร
จัดการการไหลเข้าออกของเงินทุนจากต่างประเทศได้ โดยในไตรมาส 4 ปี 47 มีกระแสเงินไหลเข้า จำนวน
2.9 พันล้านดอลลาร์ สรอ. (รอยเตอร์)
5. การส่งออกของเกาหลีใต้ในเดือน ก.พ.48 เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 7.2 ต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้
รายงานจากเกาหลีใต้ เมื่อ 1 มี.ค.48 ก.พาณิชย์เกาหลีใต้ เปิดเผยว่า การส่งออกของเกาหลีใต้ในเดือน
ก.พ.48 อยู่ที่จำนวน 20.52 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 7.2 ขณะที่นำเข้ามีจำนวน 18.25
พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.5 ซึ่งต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์โดยรอยเตอร์คาดการณ์ไว้เมื่อสัปดาห์ก่อนว่า
การส่งออกจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.6 และนำเข้าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.3 ทั้งนี้ ตัวเลขดังกล่าวซึ่งเป็นตัวเลขที่ยังไม่ปรับ
ปัจจัยตามฤดกาลได้ถูกกระทบโดยเทศกาลตรุษจีน ซึ่งในปีนี้อยู่ในเดือน ก.พ.ขณะที่ปีก่อนอยู่ในช่วงเดือน ม.ค.(รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 1 มี.ค. 48 28 ก.พ. 48 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 38.318 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 38.1328/38.4243 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 2.1875 - 2.2000 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 741.55/27.90 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 7,900/8,000 7,900/8,000 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 42.43 42.7 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 21.29*/15.59** 20.89*/15.59** 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับเพิ่ม ลิตรละ 40 สตางค์ เมื่อ 1 มี.ค. 48
* *ปรับเพิ่ม ลิตรละ 60 สตางค์ เมื่อ 22 ก.พ. 48
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. เดือน ม.ค.48 ไทยขาดดุลบัญชีเดินสะพัดสูงสุดในรอบ 7 ปี ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายเศรษฐกิจ
ในประเทศ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ภาวะเศรษฐกิจไทยในเดือน ม.ค.48 ขยายตัวลดลง
จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุลเป็นจำนวน 942 ล.ดอลลาร์ สรอ. สูงสุดในรอบ 7 ปี 9
เดือนนับตั้งแต่เดือน เม.ย.40 ที่ขาดดุล 1,401 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. เป็นผลจากการขาดดุลการค้าที่สูงถึง
1,475 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. ซึ่งมีสาเหตุจากมูลค่าการนำเข้าสูงสุดเป็นประวัติการณ์ 9.17 พัน ล.ดอลลาร์
สรอ. หรือขยายตัวเพิ่มขึ้น 33.6% จากระยะเดียวกันของปีก่อน โดยสินค้านำเข้าที่มีการขยายตัวสูงได้แก่ น้ำมันมี
มูลค่าสูงขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 79.9% สินค้าวัตถุดิบเพิ่มขึ้น 28.7% เครื่องจักรกลและชิ้นส่วนเพิ่มขึ้น
19.3% ในขณะที่การส่งออกในเดือน ม.ค.มีอัตราการเพิ่มที่ชะลอตัวลงโดยมีมูลค่า 7.695 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.
ขยายตัวเพียง 11.6% ชะลอลงจากเดือน ธ.ค.47 ที่ขยายตัว 16.7% สำหรับดุลบริการในเดือน ม.ค.ก็หดตัวลง
เช่นกัน สาเหตุจากการท่องเที่ยวในเดือน ม.ค.ขยายตัวลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนถึง 26.9% โดยมีจำนวน
8.9 แสนคน ลดลงจาก 1.21 ล.คนในเดือนก่อน อันเป็นผลจากเหตุการณ์สึนามิและความไม่สงบใน 3 จังหวัดชาย
แดนภาคใต้ ในส่วนของดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมขยายตัว 3.9% ชะลอลงจากเดือนก่อนที่ขยายตัว 5.3% สาเหตุจาก
อุปสงค์ภายในประเทศลดลงโดยเฉพาะในหมวดยานยนต์และขนส่ง สำหรับการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนลดลง
0.5% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนที่ขยายตัวลดลง 1.2% ส่วนดัชนีการลงทุนภาคเอกชนขยายตัวร้อยละ 5.1 เพิ่มขึ้นจาก
เดือนก่อนซึ่งหดตัวลงร้อยละ 7.4 นอกจากนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจในเดือน ม.ค.อยู่ที่ระดับ 48.5 ต่ำกว่า
ระดับ 50 เป็นเดือนที่ 9 โดยปัจจัยลบที่มีผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจคือ ค่าเงินบาทเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์
สรอ. ต้นทุนวัตถุดิบและพลังงานที่เพิ่มขึ้น และการสั่งซื้อจากต่างประเทศที่ชะลอตัว สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นทาง
ธุรกิจในอีก 3 เดือนข้างหน้ายังอยู่ในเกณฑ์ดีอย่างต่อเนื่อง สะท้อนว่าผู้ประกอบการยังคงมีความมั่นใจต่อภาวะธุรกิจ
ในอนาคต (กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน, โพสต์ทูเดย์, โลกวันนี้, ไทยโพสต์)
2. ธปท.เตรียมพิจารณาอัตราดอกเบี้ยอาร์พีในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน ผู้ว่าการ
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า การประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในวันที่
2 มี.ค.48 นี้ จะพิจารณาเรื่องเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืน พธบ.ประเภท 14 วัน (อาร์/พี) ซึ่งปัจจุบันอยู่ที่
ระดับร้อยละ 2 ต่อปี โดยพิจารณาภาวะอัตราดอกเบี้ยจากภาวะเศรษฐกิจโดยรวมของไทยเป็นหลัก แม้ว่าอัตรา
ดอกเบี้ยของ ธ.กลาง สรอ.จะอยู่ในระดับสูงกว่าที่ระดับร้อยละ 2.50 ต่อปีก็ตาม (ผู้จัดการรายวัน)
3. กรมการค้าภายในจัดลำดับความสำคัญในการติดตามดูแลราคาสินค้าให้สอดคล้องกับสถานการณ์
ราคาน้ำมัน อธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผยว่า ในเดือน มี.ค.48 นี้ กรมการค้าภายในได้จัดลำดับความสำคัญใน
การติดตามดูแลราคาสินค้าและบริการใหม่ ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ภาวะราคาน้ำมันภายในประเทศและตลาด
โลก โดยในส่วนของสินค้าที่ติดตามดูแลจำนวน 100 รายการนั้น ได้เพิ่มปูนซีเมนต์เข้าอยู่ในบัญชีสินค้าที่ต้องติดตาม
ภาวะและสถานการณ์อย่างใกล้ชิดเป็นพิเศษสัปดาห์ละ 2 ครั้ง จากเดิมที่อยู่ในบัญชีสินค้าที่ต้องติดตามทุก 15 วัน
รวมทั้งจัดให้เหล็กเส้น เหล็กโครงสร้างรูปพรรณ เครื่องแบบนักเรียน และรองเท้านักเรียน ขึ้นมาอยู่ในบัญชีสินค้าที่
มีความอ่อนไหวเป็นพิเศษ (โลกวันนี้)
4. ก.คลังเสนอเรื่องจัดทำ งปม.กลางปีเพิ่มเติมวงเงิน 50,000 ล.บาทต่อที่ประชุม ครม. ผู้
อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยว่า ก.คลังเตรียมเสนอเรื่องการจัดทำ งปม.กลางปีเพิ่ม
เติมวงเงิน 50,000 ล.บาทต่อที่ประชุม ครม.พิจารณาในวันนี้ (1 ม.ค.48) และยืนยันว่าการจัดทำในครั้งนี้จะ
สามารถทำได้จริง เนื่องจากกรมสรรพากรจัดเก็บภาษีได้สูงกว่าประมาณการที่ตั้งไว้ โดยในช่วง 4 เดือนแรกของ
ปี งปม.48 (ต.ค.47-ม.ค.48) จัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ 20,000 ล.บาท และช่วงกลางปีจะมีรายได้เพิ่ม
จากการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีเพิ่มเติมกลางปีของนิติบุคคลอีก จึงคาดว่าจะมีรายได้เพียงพอต่อการ
จัดทำ งปม.แบบสมดุล (โลกวันนี้)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. จำนวนคนว่างงานในเยอรมนีในเดือน ก.พ.48 มี 5.216 ล้านคน สูงสุดนับตั้งแต่หลังสงคราม
โลก ครั้งที่ 1 รายงานจากเบอร์ลิน เมื่อ 28 ก.พ.48 แหล่งข่าวจาก สนง.แรงงานกลางของเยอรมนี
รายงานว่าจำนวนคนว่างงานในเยอรมนีเพิ่มขึ้น 161,000 คนในเดือน ก.พ.48 จากเดือนก่อน สูงกว่าที่รอยเตอร์
คาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นเพียง 90,000 คน ทำให้ยอดคนว่างงานเพิ่มขึ้นเป็น 5.216 ล้านคน จากจำนวน 5.037 ล้าน
คนในเดือน ม.ค.48 สูงสุดนับตั้งแต่ทศวรรษ 1930 ซึ่งเป็นช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 โดยส่วนใหญ่เป็นผลจาก
ปฏิรูปตลาดแรงงานที่เรียกกันว่า Harts IV ซึ่งเริ่มมีผลบังคับตั้งแต่ต้นปีนี้โดยกำหนดให้ผู้ที่จะรับสวัสดิว่างงานต้อง
ลงทะเบียนที่ สนง.แรงงานและตัดสิทธิการรับสวัสดิการของผู้ที่ว่างงานเป็นเวลานาน ทำให้มีผู้ที่ลงทะเบียนเป็นคน
ว่างงานเพิ่มขึ้น 130,000 คนในเดือน ก.พ.48 หลังจากเพิ่มขึ้น 222,000 คนในเดือน ม.ค.48 นัก
เศรษฐศาสตร์คาดว่าการปฏิรูปตลาดแรงงานดังกล่าวจะทำให้มีชาวเยอรมนีกลับไปทำงานมากขึ้นและทำให้จำนวนคน
ว่างงานลดลงในที่สุด สนง.แรงงานกลางมีกำหนดจะประกาศตัวเลขคนว่างงานในเดือน ก.พ.48 อย่างเป็นทาง
การในวันที่ 1 มี.ค.48 เวลา 8.55 น. ตามเวลากรีนนิช (รอยเตอร์)
2. คาดว่าเศรษฐกิจของเยอรมนีในปี 48 จะขยายตัวเพียงร้อยละ 1.0 ลดลงจากที่ประมาณการไว้
ก่อนหน้านี้ รายงานจากเบอร์ลิน เมื่อ 1 มี.ค.48 หัวหน้ากลุ่มที่ปรึกษาทางเศรษฐกิจของรัฐบาลเยอรมนี (Bert
Ruerup) คาดการณ์ว่า อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของเยอรมนีในปี 48 จะขยายตัวเพียงร้อยละ 1.0 ลดลง
จากที่ประมาณการไว้ก่อนหน้านี้ว่าจะขยายตัวร้อยละ 1.4 โดยกล่าวว่า อาจจะเป็นการยากลำบากสำหรับการเร่ง
ตัวทางเศรษฐกิจของเยอรมนีในปีนี้ หลังจากที่เศรษฐกิจเยอรมนีหดตัวเมื่อสิ้นปีก่อน แม้ว่าเมื่อปี 47 เศรษฐกิจ
เยอรมนีเติบโตร้อยละ 1.6 ซึ่งเป็นอัตราการเติบโตรวดเร็วที่สุดตั้งแต่ปี 43 ก็ตาม (รอยเตอร์)
3. อัตราการว่างงานของญี่ปุ่นในเดือนม.ค. 48 อยู่ที่ร้อยละ 4.5 ไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนธ.ค.
47 รายงานจากโตเกียวเมื่อวันที่ 1 มี.ค. 48 รัฐบาลญี่ปุ่นเปิดเผยว่า ในเดือนม.ค. อัตราการว่างงานของญี่ปุ่น
อยู่ที่ร้อยละ 4.5 ไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนธ.ค. (ตัวเลขหลังปรับฤดูกาล) และต่ำสุดในรอบ 6 ปี ซึ่งอัตราการ
ว่างงานได้ฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ที่เคยทำสถิติสูงสุดร้อยละ 5.5 เมื่อเดือนม.ค. 46 ขณะที่ภาคครัวเรือนมี
การใช้จ่ายเพิ่มขึ้นสร้างความหวังว่าการบริโภคมีแนวโน้มที่จะฟื้นตัว โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.6 จากปีก่อน และก่อน
หน้านั้นได้มีการคาดการณ์ว่าอัตราการว่างงานเฉลี่ยจะอยู่ที่ร้อยละ 4.4 ส่วน job-to-applicants ratio ใน
เดือนเดียวกันอยู่ที่ 0.91 ซึ่งหมายความว่าในจำนวนผู้สมัครงาน 100 คนจะมีงานรองรับ 91 ตำแหน่ง ซึ่งเท่ากับ
job-to-applicants ratio ในเดือนพ.ย. 47 และเดือนม.ค. 36 และเป็นระดับที่สูงสุดนับตั้งแต่เดือนธ.ค.
35 ทั้งนี้รัฐบาลญี่ปุ่นเห็นว่าภาวะตลาดแรงงานเริ่มฟื้นตัวแล้ว ส่วนดัชนี propensity-to-consume ซึ่งใช้ชี้วัดแนว
โน้มการบริโภคภาคครัวเรือนอยู่ที่ 74.8 (ตัวเลขหลังปรับฤดูกาล) ลดลงจาก 77.4 ในเดือนธ.ค. (รอยเตอร์)
4. เศรษฐกิจของมาเลเซียในไตรมาส 4 ปี 47 เติบโตลดลง รายงานจากกรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย เมื่อวันที่ 28 ก.พ.48 ธ.กลางของมาเลเซีย เปิดเผยว่า อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของ
มาเลเซียในไตรมาสสุดท้ายปี 47 เติบโตลดลงเหลือร้อยละ 5.6 ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่มีการเติบโตร้อยละ
5.2 ในไตรมาส 3 ปี 46 สาเหตุจากการส่งออกสินค้าอิเล็คทรอนิกส์ลดลง นอกจากนี้ ตัวเลขดังกล่าวยังต่ำกว่า
ผลความสำรวจความคิดเห็นนักเศรษฐศาสตร์ที่สำนักข่าวรอยเตอร์จัดทำขึ้นที่คาดว่าเศรษฐกิจจะเติบโตร้อยละ 5.8
ซึ่งช่วยสนับสนุนมุมมองที่ว่ารัฐบาลไม่ได้เร่งรีบเพิ่มแรงกดดันให้มีการเปลี่ยนแปลงค่าเงินริงกิตแต่อย่างใด และส่งผล
ให้การเก็งกำไรค่าเงินริงกิตของมาเลเซียลดลงด้วย ทั้งนี้ นักลงทุนคาดการณ์ว่ามาเลเซียจะต้องมีการเปลี่ยน
แปลงค่าเงินริงกิตในเร็ว ๆ นี้ เนื่องจากเชื่อว่าอัตราแลกเปลี่ยนคงที่ที่ระดับ 3.8 ริงกิต ต่อดอลลาร์ สรอ. เป็น
อัตราที่ต่ำกว่าความเป็นจริง โดยได้มีการซื้อสินทรัพย์มาเลเซียส่งผลให้ราคาหุ้นในตลาดหลักทรัพย์มาเลเซียเมื่อ
เดือนก่อนเพิ่มขึ้นเกือบถึงจุดสูงสุดในรอบ 5 ปี และทำให้อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลลดลงมากกว่า 70
basis point นับตั้งแต่เดือน ก.ย.47 ประกอบกับการคาดการว่าจีนจะมีการเปลี่ยนแปลงนโยบายเกี่ยวกับค่า
เงินหยวนและค่าเงินดอลลาร์ สรอ. ที่อ่อนตัวลงช่วยส่งเสริมให้มีการเก็งกำไรค่าเงินมากขึ้น ด้าน ธ.กลางของ
มาเลเซียไม่ได้แสดงความคิดเห็นใด ๆ เกี่ยวกับการตรึงค่าเงินริงกิตของมาเลเซีย แต่กล่าวว่าสามารถบริหาร
จัดการการไหลเข้าออกของเงินทุนจากต่างประเทศได้ โดยในไตรมาส 4 ปี 47 มีกระแสเงินไหลเข้า จำนวน
2.9 พันล้านดอลลาร์ สรอ. (รอยเตอร์)
5. การส่งออกของเกาหลีใต้ในเดือน ก.พ.48 เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 7.2 ต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้
รายงานจากเกาหลีใต้ เมื่อ 1 มี.ค.48 ก.พาณิชย์เกาหลีใต้ เปิดเผยว่า การส่งออกของเกาหลีใต้ในเดือน
ก.พ.48 อยู่ที่จำนวน 20.52 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 7.2 ขณะที่นำเข้ามีจำนวน 18.25
พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.5 ซึ่งต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์โดยรอยเตอร์คาดการณ์ไว้เมื่อสัปดาห์ก่อนว่า
การส่งออกจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.6 และนำเข้าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.3 ทั้งนี้ ตัวเลขดังกล่าวซึ่งเป็นตัวเลขที่ยังไม่ปรับ
ปัจจัยตามฤดกาลได้ถูกกระทบโดยเทศกาลตรุษจีน ซึ่งในปีนี้อยู่ในเดือน ก.พ.ขณะที่ปีก่อนอยู่ในช่วงเดือน ม.ค.(รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 1 มี.ค. 48 28 ก.พ. 48 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 38.318 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 38.1328/38.4243 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 2.1875 - 2.2000 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 741.55/27.90 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 7,900/8,000 7,900/8,000 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 42.43 42.7 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 21.29*/15.59** 20.89*/15.59** 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับเพิ่ม ลิตรละ 40 สตางค์ เมื่อ 1 มี.ค. 48
* *ปรับเพิ่ม ลิตรละ 60 สตางค์ เมื่อ 22 ก.พ. 48
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--