ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท.พิจารณาคำขอสินเชื่อซอฟต์โลนของ ธพ.กรณีภูเก็ตแฟนตาซี นางธาริษา วัฒนเกส รองผู้ว่าการ
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยถึงกรณี ธพ.ไม่อนุมัติการปล่อยสินเชื่อให้กับเจ้าของกิจการภูเก็ต
แฟนตาซีนั้นด้วยเหตุผลที่ว่าบริษัทไม่ได้เป็นลูกหนี้สินเชื่อนั้น เรื่องนี้ ธพ.จะเป็นผู้พิจารณาว่า หากบริษัทดังกล่าวได้รับ
ผลกระทบจากสึนามิ และเข้าเกณฑ์ที่ ธปท.กำหนดก็จะสามารถปล่อยสินเชื่อได้ ถือเป็นลูกค้ารายใหม่ ถึงแม้ว่าบริษัท
นั้นจะอยู่ระหว่างการปรับโครงสร้างหนี้ แต่ถ้าธุรกิจมีความเป็นไปได้ ธพ.ก็อาจให้สินเชื่อได้ ขณะเดียวกัน ผอฝ.
สนับสนุนการบริหาร ธปท. กล่าวว่า ธปท.ได้พิจารณาอนุมัติคำขอสินเชื่อซอฟต์โลนของ ธพ.กรณีของเจ้าของกิจการ
ภูเก็ตแฟนตาซีแล้ววงเงินทั้งสิ้น 100 ล้านบาท โดยเป็นเงินจาก ธปท.จำนวน 80 ล้านบาท และของ ธพ.อีก 20
ล้านบาท เพื่อนำไปฟื้นฟูกิจการ (สยามรัฐ, แนวหน้า, โลกวันนี้, ผู้จัดการรายวัน, กรุงเทพธุรกิจ)
2. สศช. ยืนยันเศรษฐกิจไทยปีนี้ขยายตัวร้อยละ 5.5-6.5 เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการ
เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยว่า เศรษฐกิจไทยในปี 48 ยังสามารถขยายตัวในอัตราร้อยละ
5.5-6.5 โดยมีอัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ร้อยละ 3.0-3.2 ไม่เปลี่ยนแปลงจากเดิมที่เคยประมาณการไว้ แม้ว่าจะประสบ
ปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดในเดือน ม.ค. และภาวะน้ำมันที่ผันผวน เนื่องจากเชื่อมั่นว่ามาตรการด้านบวกของ
รัฐบาลสามารถชดเชยได้ เช่น การจัดสรรงบฯ เอสเอ็มแอลสู่ระดับรากหญ้า 50,000 ล้านบาท การปล่อยสินเชื่อ
ฟื้นฟูผู้ประสบภัยสึนามิ และการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ เป็นต้น ส่วนค่าใช้จ่ายของครัวเรือนมีแนวโน้มขยายตัว
ร้อยละ 5.3 ชะลอลงจากปี 47 ที่ขยายตัวร้อยละ 5.6 เนื่องจากผลกระทบราคาน้ำมัน ราคาสินค้าและดอกเบี้ยที่
เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ผู้บริโภคได้ใช้จ่ายแบบรอบคอบมากขึ้น (เดลินิวส์, บ้านเมือง, มติชน, ข่าวสด, สยามรัฐ, แนวหน้า,
โลกวันนี้, ผู้จัดการรายวัน, กรุงเทพธุรกิจ)
3. ก.คลังมอบหมายให้กรมสรรพากรศึกษารายละเอียดออกมาตรการภาษีจูงใจให้ประหยัดพลังงาน
รมว.คลังมอบนโยบายด้านภาษีให้กรมสรรพากรจัดการรูปแบบของการจัดเก็บภาษีในลักษณะที่ลดภาระให้กับ
ประชาชน ขณะเดียวกัน ก็ต้องเอื้อต่อการประกอบธุรกิจของผู้ประกอบการทุกขนาด เพื่อเป็นฐานภาษีของประเทศใน
อนาคต โดยมอบนโยบายให้ไปหามาตรการด้านภาษีเพื่อสนับสนุนการศึกษาและพลังงาน ด้านอธิบดีกรมสรรพากร
กล่าวว่า นโยบายภาษีเพื่อจูงใจให้เกิดการประหยัดพลังงานนั้น ในเบื้องต้นคาดว่าจะเริ่มจากการประหยัดการใช้
ไฟฟ้าเป็นอันดับแรก เพราะสามารถวัดผลได้ชัดเจน โดยจะเน้นไปที่กลุ่มนิติบุคคลเป็นหลัก เนื่องจากมีสัดส่วนการใช้
พลังงานถึงร้อยละ 70 ของการใช้พลังงานทั้งหมด สำหรับมาตรการภาษีที่จะออกมาเพื่อจูงใจนั้น คาดว่าจะเป็นการ
ให้สิทธิ์เพิ่มค่าลดหย่อนภาษี โดยนำส่วนต่างที่เกิดจากการประหยัดพลังงานมาเป็นส่วนลดในการยื่นแบบเสียภาษี โดย
ให้สิทธิ์ลดหย่อนแบบอัตราก้าวหน้า ทั้งนี้ มาตรการดังกล่าวไม่จำเป็นต้องผ่านการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร
เพียงขออนุมัติจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) ก็สามารถประกาศใช้ได้ทันที (บ้านเมือง, เดลินิวส์, สยามรัฐ, แนวหน้า,
กรุงเทพธุรกิจ)
4. คาดว่าในปีนี้ไทยจะสามารถส่งออกขยายตัวถึงร้อยละ 13-15 นายพินิจ จารุสมบัติ รอง นรม.
เปิดเผยภายหลังการประชุมติดตามสถานการณ์การส่งออกร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้ง ก.คลัง และก.พาณิชย์
วานนี้ว่า ในปีนี้คาดว่าไทยจะสามารถส่งออกได้ 110,000-112,356 ล้านดอลลาร์ สรอ. ขยายตัวร้อยละ 13-
15 ใกล้เคียงกับตัวเลขของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ที่แถลงว่าจะ
เติบโตร้อยละ 14.8 โดยมีพื้นฐานมาจากภาคอิเล็กทรอนิกส์ที่คาดว่าจะส่งออกได้ 844,600 ล้านบาท เครื่องใช้
ไฟฟ้า 630,000 ล้านบาท อัญมณีและเครื่องประดับ 118,700 ล้านบาท และยานยนต์ 392,418 ล้านบาท เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 30 ซึ่งถือว่าขยายตัวมากที่สุด โดยคาดว่าจะส่งออกรถยนต์ได้สูงถึง 5 แสนคัน ส่วนสิ่งทอ 287,560 ล้าน
บาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 12-13 ส่วนการนำเข้าในเดือน ม.ค.ที่ผ่านมา อันดับ 1 คือ ฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ 33,000 ล้าน
บาท รองลงมา คือ ไมโครแอสแซมบลี 11,000 ล้านบาท ซึ่งสินค้าประเภทอิเล็กทรอนิกส์เติบโตมากถึงร้อยละ 15
ขณะที่นำเข้าสินค้าประเภทฟุ่มเฟือยน้อยลง แต่จะมีการติดตามสถานการณ์ทุกเดือน (ผู้จัดการรายวัน)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ราคาน้ำมันดิบสูงขึ้นใกล้ระดับ 54 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรลในขณะที่กลุ่มโอเปคเห็นว่าปริมาณ
น้ำมันยังเพียงพอต่อความต้องการ รายงานจากนิวยอร์ค เมื่อ 7 มี.ค.48 ราคาน้ำมันดิบ light crude ของ
สรอ. เพิ่มขึ้น 11 เซนต์มาอยู่ที่ 53.89 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรลเมื่อวันที่ 7 มี.ค.48 หลังจากอยู่ในระดับสูงสุด
เป็นประวัติการณ์ที่ 55.67 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรลในช่วงปลายเดือน ต.ค.47 ที่ผ่านมา ในขณะที่ราคาน้ำมัน
ดิบ Brent crude ที่ตลาดลอนดอนเพิ่มขึ้น 15 เซนต์เป็น 51.95 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรล โดยราคาน้ำมันเพิ่ม
ขึ้นร้อยละ 19 ในช่วงเดือนที่ผ่านมา จากสภาพอากาศที่หนาวเย็นผิดปรกติใน สรอ.และยุโรปทำให้ความต้องการใช้
น้ำมันเพิ่มขึ้นและจากความกังวลว่าการขยายตัวอย่างรวดเร็วของเศรษฐกิจโลกจะทำให้ปริมาณการใช้น้ำมันสูงขึ้น
นอกจากนี้เมื่อวันที่ 6 มี.ค.48 ที่ผ่านมา รมต.น้ำมันของคูเวตซึ่งดำรงตำแหน่งประธานกลุ่มโอเปคได้กล่าวแสดง
ความกังวลเกี่ยวกับราคาน้ำมันที่สูงขึ้นในขณะนี้แต่มีความเห็นว่าปริมาณการผลิตน้ำมันในขณะนี้ซึ่งอยู่ในระดับเฉลี่ย
27.63 ล้านบาร์เรลต่อวันในเดือน ก.พ.48 ยังเพียงพอต่อความต้องการของตลาดโลกโดยดูได้จากปริมาณสำรอง
น้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นจึงยังไม่มีความจำเป็นต้องเพิ่มปริมาณการผลิตในขณะนี้ โดยปรกติกลุ่มโอเปคมักจะไม่เพิ่มกำลังการ
ผลิตน้ำมันในช่วงนี้เนื่องจากใกล้สิ้นสุดฤดูหนาวของประเทศในซีกโลกเหนือซึ่งจะส่งผลให้ปริมาณการใช้น้ำมันลดลง
ในขณะที่ประเทศสมาชิกกลุ่มโอเปคคือ แอลจีเรีย อิหร่าน กาตาร์และเวเนซูเอลาก็คัดค้านไม่ให้กลุ่มโอเปคเพิ่ม
ปริมาณการผลิตน้ำมัน แม้ว่าจะมีการผลิตน้ำมันดิบเกินกว่าที่กลุ่มโอเปคกำหนดไว้ที่ 27 ล้านบาร์เรลต่อวันโดยซาอุดิ
อาระเบียได้เพิ่มกำลังการผลิต 190,000 บาร์เรลต่อวันนับตั้งแต่เดือน ม.ค.48 ที่ผ่านมา ธ.กลางของประเทศ
ต่าง ๆ ทั่วโลกได้แสดงความกังวลเกี่ยวกับภาวะเงินเฟ้อจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้นแต่จากการศึกษาพบว่าจนถึงขณะนี้
ราคาน้ำมันยังไม่ส่งผลกระทบต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (รอยเตอร์)
2. รัฐบาลและ ธ.กลางญี่ปุ่นเห็นตรงกันว่าการจัดการกับภาวะเงินฝืดเป็นสิ่งที่ต้องรีบดำเนินการเป็น
ลำดับแรก รายงานจากโตเกียวเมื่อ 8 มี.ค.48 รมว.คลังญี่ปุ่น เปิดเผยว่า จากการหารือร่วมกันระหว่าง
รัฐบาล และ ธ.กลางญี่ปุ่น เห็นว่า การจัดการกับภาวะเงินฝืดเป็นสิ่งสำคัญที่สุดที่ต้องรีบดำเนินการเป็นลำดับแรก
แม้ว่าจะมีการคาดการณ์กันในช่วงนี้ว่า การใช้นโยบายอัตราดอกเบี้ยเป็นศูนย์อาจจะใกล้สิ้นสุดแล้ว เนื่องจากดัชนี
ราคาผู้บริโภคของญี่ปุ่นที่เคยลดลงต่อเนื่องมาเป็นเวลามากกว่า 5 ปี ปัจจุบันอัตราการลดลงได้ชะลอตัวในช่วงหลาย
เดือนที่ผ่านมา ซึ่งทำให้นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า ธ.กลางญี่ปุ่นอาจจะเลิกใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลายเร็วที่สุด
ในปลายปีนี้หรือต้นปีหน้า อย่างไรก็ตาม รมว.คลังยืนยันว่าจะยังคงใช้นโยบายอัตราดอกเบี้ยพิเศษต่อไป แม้ว่าจะมี
ความกังวลว่าจะเกิดอะไรขึ้นในอนาคตก็ตาม ทั้งนี้ รัฐบาลก็ยังมุ่งที่จะทำทุกอย่างที่จำเป็นเพื่อเอาชนะภาวะเงินฝืด
ของประเทศให้ได้ ซึ่งทั้งรัฐบาลและ ธ.กลางมีความเห็นตรงกันในเรื่องดังกล่าว (รอยเตอร์)
3. ปริมาณเงินหมุนเวียน (M2+CD) ของญี่ปุ่นในเดือนก.พ. เพิ่มขึ้น ขณะที่สินเชื่อธพ.ลดลง
รายงานจากโตเกียวเมื่อวันที่ 8 มี.ค. 48 ธ.กลางญี่ปุ่นเปิดเผยว่า ในเดือนก.พ. ปริมาณเงินตามความ
หมายกว้าง (M2+CD) ของญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 1.9 (ตัวเลขก่อนปรับฤดูกาล) ซึ่งก่อนหน้า
นั้น ธ.กลางได้คาดการณ์ว่าปริมาณเงินหมุนเวียนดังกล่าวจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0 ในไตรมาสแรกของปีนี้ ขณะที่สิน
เชื่อธพ. รวมทั้งสินเชื่อสหกรณ์ออมทรัพย์ ในเดือนเดียวกันนี้ ลดลงจากช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 2.7 ลดลงอย่าง
ต่อเนื่องติดต่อกันเป็นเดือนที่ 50 ก่อนหน้านั้นในเดือนม.ค. สินเชื่อดังกล่าวอยู่ที่ระดับ 444.9751 ล้านล้านเยน
(4,235 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.) ลดลงอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่เดือนม.ค. 44 แต่หากไม่นับรวมสหกรณ์ออมทรัพย์สิน
เชื่อธพ.ลดลงร้อยละ 3.0 อยู่ที่ระดับ 383.1254 ล้านล้านเยน ลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 86 เช่นเดียวกับสินเชื่อ
ของธพ.ต่างชาติที่ลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 30.6 อยู่ที่ระดับ 3.7782 ล้าน ล้านเยน (รอยเตอร์)
4. คาดว่าผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของมาเลเซียเดือน ม.ค.48 จะเติบโตเพียงเล็กน้อย รายงาน
จากกรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย เมื่อวันที่ 7 มี.ค.48 ผลสำรวจความคิดเห็นนักเศรษฐศาสตร์ของ
สำนักข่าวรอยเตอร์คาดว่า ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของมาเลเซียในเดือน ม.ค.48 จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.5 ปรับตัว
ดีขึ้นเล็กน้อยจากเดือน ธ.ค.47 ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.8 แต่ก็เป็นการเพิ่มขึ้นที่ลดลงอย่างมากเมื่อเทียบกับอัตราการ
เพิ่มที่เป็นตัวเลขสองหลักในช่วงกลางปี 47 สะท้อนให้เห็นรูปแบบการเติบโตที่ลดลงตามความต้องการของตลาด
สินค้าอิเล็กทรอนิกส์โลก โดยตลาดหลัก เช่น สรอ. และจีน ได้ลดการนำเข้าสินค้าอิเล็กทรอนิกส์จากมาเลเซีย
เนื่องจากเศรษฐกิจในประเทศของตนเองชะลอตัวลง อย่างไรก็ตาม จำนวนผลผลิตภาคอุตสาหกรรมอาจจะฟื้นตัว
ได้ แต่โดยภาพรวมของเศรษฐกิจยังคงอ่อนตัวอยู่จากการส่งออกที่ลดลง ทั้งนี้ การส่งออกของมาเลเซียเดือน ม.
ค.48 เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.3 นับเป็นอัตราการเพิ่มขึ้นต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน พ.ย.46 ซึ่งเศรษฐกิจของมาเลเซียต้อง
พึ่งพาการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมที่จะช่วยทำให้เศรษฐกิจมีอัตราเติบโตดีขึ้น โดยสินค้าอิเล็กทรอนิกส์มีอัตราส่วน
เกือบครึ่งหนึ่งของการส่งออกทั้งหมด อนึ่ง สำนักงานสถิติกำหนดจะแถลงตัวเลขเดือน ม.ค.48 ในวันอังคารนี้ (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 8 มี.ค. 48 7 มี.ค. 48 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 38.398 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 38.2050/38.5006 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 2.25 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 737.42/20.42 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 7,900/8,000 7,900/8,000 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 44.33 43.38 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 21.69*/15.19** 21.69*/15.19** 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับเพิ่ม ลิตรละ 40 สตางค์ เมื่อ 5 มี.ค. 48
* *ปรับเพิ่ม ลิตรละ 60 สตางค์ เมื่อ 22 ก.พ. 48
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ธปท.พิจารณาคำขอสินเชื่อซอฟต์โลนของ ธพ.กรณีภูเก็ตแฟนตาซี นางธาริษา วัฒนเกส รองผู้ว่าการ
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยถึงกรณี ธพ.ไม่อนุมัติการปล่อยสินเชื่อให้กับเจ้าของกิจการภูเก็ต
แฟนตาซีนั้นด้วยเหตุผลที่ว่าบริษัทไม่ได้เป็นลูกหนี้สินเชื่อนั้น เรื่องนี้ ธพ.จะเป็นผู้พิจารณาว่า หากบริษัทดังกล่าวได้รับ
ผลกระทบจากสึนามิ และเข้าเกณฑ์ที่ ธปท.กำหนดก็จะสามารถปล่อยสินเชื่อได้ ถือเป็นลูกค้ารายใหม่ ถึงแม้ว่าบริษัท
นั้นจะอยู่ระหว่างการปรับโครงสร้างหนี้ แต่ถ้าธุรกิจมีความเป็นไปได้ ธพ.ก็อาจให้สินเชื่อได้ ขณะเดียวกัน ผอฝ.
สนับสนุนการบริหาร ธปท. กล่าวว่า ธปท.ได้พิจารณาอนุมัติคำขอสินเชื่อซอฟต์โลนของ ธพ.กรณีของเจ้าของกิจการ
ภูเก็ตแฟนตาซีแล้ววงเงินทั้งสิ้น 100 ล้านบาท โดยเป็นเงินจาก ธปท.จำนวน 80 ล้านบาท และของ ธพ.อีก 20
ล้านบาท เพื่อนำไปฟื้นฟูกิจการ (สยามรัฐ, แนวหน้า, โลกวันนี้, ผู้จัดการรายวัน, กรุงเทพธุรกิจ)
2. สศช. ยืนยันเศรษฐกิจไทยปีนี้ขยายตัวร้อยละ 5.5-6.5 เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการ
เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยว่า เศรษฐกิจไทยในปี 48 ยังสามารถขยายตัวในอัตราร้อยละ
5.5-6.5 โดยมีอัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ร้อยละ 3.0-3.2 ไม่เปลี่ยนแปลงจากเดิมที่เคยประมาณการไว้ แม้ว่าจะประสบ
ปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดในเดือน ม.ค. และภาวะน้ำมันที่ผันผวน เนื่องจากเชื่อมั่นว่ามาตรการด้านบวกของ
รัฐบาลสามารถชดเชยได้ เช่น การจัดสรรงบฯ เอสเอ็มแอลสู่ระดับรากหญ้า 50,000 ล้านบาท การปล่อยสินเชื่อ
ฟื้นฟูผู้ประสบภัยสึนามิ และการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ เป็นต้น ส่วนค่าใช้จ่ายของครัวเรือนมีแนวโน้มขยายตัว
ร้อยละ 5.3 ชะลอลงจากปี 47 ที่ขยายตัวร้อยละ 5.6 เนื่องจากผลกระทบราคาน้ำมัน ราคาสินค้าและดอกเบี้ยที่
เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ผู้บริโภคได้ใช้จ่ายแบบรอบคอบมากขึ้น (เดลินิวส์, บ้านเมือง, มติชน, ข่าวสด, สยามรัฐ, แนวหน้า,
โลกวันนี้, ผู้จัดการรายวัน, กรุงเทพธุรกิจ)
3. ก.คลังมอบหมายให้กรมสรรพากรศึกษารายละเอียดออกมาตรการภาษีจูงใจให้ประหยัดพลังงาน
รมว.คลังมอบนโยบายด้านภาษีให้กรมสรรพากรจัดการรูปแบบของการจัดเก็บภาษีในลักษณะที่ลดภาระให้กับ
ประชาชน ขณะเดียวกัน ก็ต้องเอื้อต่อการประกอบธุรกิจของผู้ประกอบการทุกขนาด เพื่อเป็นฐานภาษีของประเทศใน
อนาคต โดยมอบนโยบายให้ไปหามาตรการด้านภาษีเพื่อสนับสนุนการศึกษาและพลังงาน ด้านอธิบดีกรมสรรพากร
กล่าวว่า นโยบายภาษีเพื่อจูงใจให้เกิดการประหยัดพลังงานนั้น ในเบื้องต้นคาดว่าจะเริ่มจากการประหยัดการใช้
ไฟฟ้าเป็นอันดับแรก เพราะสามารถวัดผลได้ชัดเจน โดยจะเน้นไปที่กลุ่มนิติบุคคลเป็นหลัก เนื่องจากมีสัดส่วนการใช้
พลังงานถึงร้อยละ 70 ของการใช้พลังงานทั้งหมด สำหรับมาตรการภาษีที่จะออกมาเพื่อจูงใจนั้น คาดว่าจะเป็นการ
ให้สิทธิ์เพิ่มค่าลดหย่อนภาษี โดยนำส่วนต่างที่เกิดจากการประหยัดพลังงานมาเป็นส่วนลดในการยื่นแบบเสียภาษี โดย
ให้สิทธิ์ลดหย่อนแบบอัตราก้าวหน้า ทั้งนี้ มาตรการดังกล่าวไม่จำเป็นต้องผ่านการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร
เพียงขออนุมัติจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) ก็สามารถประกาศใช้ได้ทันที (บ้านเมือง, เดลินิวส์, สยามรัฐ, แนวหน้า,
กรุงเทพธุรกิจ)
4. คาดว่าในปีนี้ไทยจะสามารถส่งออกขยายตัวถึงร้อยละ 13-15 นายพินิจ จารุสมบัติ รอง นรม.
เปิดเผยภายหลังการประชุมติดตามสถานการณ์การส่งออกร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้ง ก.คลัง และก.พาณิชย์
วานนี้ว่า ในปีนี้คาดว่าไทยจะสามารถส่งออกได้ 110,000-112,356 ล้านดอลลาร์ สรอ. ขยายตัวร้อยละ 13-
15 ใกล้เคียงกับตัวเลขของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ที่แถลงว่าจะ
เติบโตร้อยละ 14.8 โดยมีพื้นฐานมาจากภาคอิเล็กทรอนิกส์ที่คาดว่าจะส่งออกได้ 844,600 ล้านบาท เครื่องใช้
ไฟฟ้า 630,000 ล้านบาท อัญมณีและเครื่องประดับ 118,700 ล้านบาท และยานยนต์ 392,418 ล้านบาท เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 30 ซึ่งถือว่าขยายตัวมากที่สุด โดยคาดว่าจะส่งออกรถยนต์ได้สูงถึง 5 แสนคัน ส่วนสิ่งทอ 287,560 ล้าน
บาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 12-13 ส่วนการนำเข้าในเดือน ม.ค.ที่ผ่านมา อันดับ 1 คือ ฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ 33,000 ล้าน
บาท รองลงมา คือ ไมโครแอสแซมบลี 11,000 ล้านบาท ซึ่งสินค้าประเภทอิเล็กทรอนิกส์เติบโตมากถึงร้อยละ 15
ขณะที่นำเข้าสินค้าประเภทฟุ่มเฟือยน้อยลง แต่จะมีการติดตามสถานการณ์ทุกเดือน (ผู้จัดการรายวัน)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ราคาน้ำมันดิบสูงขึ้นใกล้ระดับ 54 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรลในขณะที่กลุ่มโอเปคเห็นว่าปริมาณ
น้ำมันยังเพียงพอต่อความต้องการ รายงานจากนิวยอร์ค เมื่อ 7 มี.ค.48 ราคาน้ำมันดิบ light crude ของ
สรอ. เพิ่มขึ้น 11 เซนต์มาอยู่ที่ 53.89 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรลเมื่อวันที่ 7 มี.ค.48 หลังจากอยู่ในระดับสูงสุด
เป็นประวัติการณ์ที่ 55.67 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรลในช่วงปลายเดือน ต.ค.47 ที่ผ่านมา ในขณะที่ราคาน้ำมัน
ดิบ Brent crude ที่ตลาดลอนดอนเพิ่มขึ้น 15 เซนต์เป็น 51.95 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรล โดยราคาน้ำมันเพิ่ม
ขึ้นร้อยละ 19 ในช่วงเดือนที่ผ่านมา จากสภาพอากาศที่หนาวเย็นผิดปรกติใน สรอ.และยุโรปทำให้ความต้องการใช้
น้ำมันเพิ่มขึ้นและจากความกังวลว่าการขยายตัวอย่างรวดเร็วของเศรษฐกิจโลกจะทำให้ปริมาณการใช้น้ำมันสูงขึ้น
นอกจากนี้เมื่อวันที่ 6 มี.ค.48 ที่ผ่านมา รมต.น้ำมันของคูเวตซึ่งดำรงตำแหน่งประธานกลุ่มโอเปคได้กล่าวแสดง
ความกังวลเกี่ยวกับราคาน้ำมันที่สูงขึ้นในขณะนี้แต่มีความเห็นว่าปริมาณการผลิตน้ำมันในขณะนี้ซึ่งอยู่ในระดับเฉลี่ย
27.63 ล้านบาร์เรลต่อวันในเดือน ก.พ.48 ยังเพียงพอต่อความต้องการของตลาดโลกโดยดูได้จากปริมาณสำรอง
น้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นจึงยังไม่มีความจำเป็นต้องเพิ่มปริมาณการผลิตในขณะนี้ โดยปรกติกลุ่มโอเปคมักจะไม่เพิ่มกำลังการ
ผลิตน้ำมันในช่วงนี้เนื่องจากใกล้สิ้นสุดฤดูหนาวของประเทศในซีกโลกเหนือซึ่งจะส่งผลให้ปริมาณการใช้น้ำมันลดลง
ในขณะที่ประเทศสมาชิกกลุ่มโอเปคคือ แอลจีเรีย อิหร่าน กาตาร์และเวเนซูเอลาก็คัดค้านไม่ให้กลุ่มโอเปคเพิ่ม
ปริมาณการผลิตน้ำมัน แม้ว่าจะมีการผลิตน้ำมันดิบเกินกว่าที่กลุ่มโอเปคกำหนดไว้ที่ 27 ล้านบาร์เรลต่อวันโดยซาอุดิ
อาระเบียได้เพิ่มกำลังการผลิต 190,000 บาร์เรลต่อวันนับตั้งแต่เดือน ม.ค.48 ที่ผ่านมา ธ.กลางของประเทศ
ต่าง ๆ ทั่วโลกได้แสดงความกังวลเกี่ยวกับภาวะเงินเฟ้อจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้นแต่จากการศึกษาพบว่าจนถึงขณะนี้
ราคาน้ำมันยังไม่ส่งผลกระทบต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (รอยเตอร์)
2. รัฐบาลและ ธ.กลางญี่ปุ่นเห็นตรงกันว่าการจัดการกับภาวะเงินฝืดเป็นสิ่งที่ต้องรีบดำเนินการเป็น
ลำดับแรก รายงานจากโตเกียวเมื่อ 8 มี.ค.48 รมว.คลังญี่ปุ่น เปิดเผยว่า จากการหารือร่วมกันระหว่าง
รัฐบาล และ ธ.กลางญี่ปุ่น เห็นว่า การจัดการกับภาวะเงินฝืดเป็นสิ่งสำคัญที่สุดที่ต้องรีบดำเนินการเป็นลำดับแรก
แม้ว่าจะมีการคาดการณ์กันในช่วงนี้ว่า การใช้นโยบายอัตราดอกเบี้ยเป็นศูนย์อาจจะใกล้สิ้นสุดแล้ว เนื่องจากดัชนี
ราคาผู้บริโภคของญี่ปุ่นที่เคยลดลงต่อเนื่องมาเป็นเวลามากกว่า 5 ปี ปัจจุบันอัตราการลดลงได้ชะลอตัวในช่วงหลาย
เดือนที่ผ่านมา ซึ่งทำให้นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า ธ.กลางญี่ปุ่นอาจจะเลิกใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลายเร็วที่สุด
ในปลายปีนี้หรือต้นปีหน้า อย่างไรก็ตาม รมว.คลังยืนยันว่าจะยังคงใช้นโยบายอัตราดอกเบี้ยพิเศษต่อไป แม้ว่าจะมี
ความกังวลว่าจะเกิดอะไรขึ้นในอนาคตก็ตาม ทั้งนี้ รัฐบาลก็ยังมุ่งที่จะทำทุกอย่างที่จำเป็นเพื่อเอาชนะภาวะเงินฝืด
ของประเทศให้ได้ ซึ่งทั้งรัฐบาลและ ธ.กลางมีความเห็นตรงกันในเรื่องดังกล่าว (รอยเตอร์)
3. ปริมาณเงินหมุนเวียน (M2+CD) ของญี่ปุ่นในเดือนก.พ. เพิ่มขึ้น ขณะที่สินเชื่อธพ.ลดลง
รายงานจากโตเกียวเมื่อวันที่ 8 มี.ค. 48 ธ.กลางญี่ปุ่นเปิดเผยว่า ในเดือนก.พ. ปริมาณเงินตามความ
หมายกว้าง (M2+CD) ของญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 1.9 (ตัวเลขก่อนปรับฤดูกาล) ซึ่งก่อนหน้า
นั้น ธ.กลางได้คาดการณ์ว่าปริมาณเงินหมุนเวียนดังกล่าวจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0 ในไตรมาสแรกของปีนี้ ขณะที่สิน
เชื่อธพ. รวมทั้งสินเชื่อสหกรณ์ออมทรัพย์ ในเดือนเดียวกันนี้ ลดลงจากช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 2.7 ลดลงอย่าง
ต่อเนื่องติดต่อกันเป็นเดือนที่ 50 ก่อนหน้านั้นในเดือนม.ค. สินเชื่อดังกล่าวอยู่ที่ระดับ 444.9751 ล้านล้านเยน
(4,235 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.) ลดลงอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่เดือนม.ค. 44 แต่หากไม่นับรวมสหกรณ์ออมทรัพย์สิน
เชื่อธพ.ลดลงร้อยละ 3.0 อยู่ที่ระดับ 383.1254 ล้านล้านเยน ลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 86 เช่นเดียวกับสินเชื่อ
ของธพ.ต่างชาติที่ลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 30.6 อยู่ที่ระดับ 3.7782 ล้าน ล้านเยน (รอยเตอร์)
4. คาดว่าผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของมาเลเซียเดือน ม.ค.48 จะเติบโตเพียงเล็กน้อย รายงาน
จากกรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย เมื่อวันที่ 7 มี.ค.48 ผลสำรวจความคิดเห็นนักเศรษฐศาสตร์ของ
สำนักข่าวรอยเตอร์คาดว่า ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของมาเลเซียในเดือน ม.ค.48 จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.5 ปรับตัว
ดีขึ้นเล็กน้อยจากเดือน ธ.ค.47 ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.8 แต่ก็เป็นการเพิ่มขึ้นที่ลดลงอย่างมากเมื่อเทียบกับอัตราการ
เพิ่มที่เป็นตัวเลขสองหลักในช่วงกลางปี 47 สะท้อนให้เห็นรูปแบบการเติบโตที่ลดลงตามความต้องการของตลาด
สินค้าอิเล็กทรอนิกส์โลก โดยตลาดหลัก เช่น สรอ. และจีน ได้ลดการนำเข้าสินค้าอิเล็กทรอนิกส์จากมาเลเซีย
เนื่องจากเศรษฐกิจในประเทศของตนเองชะลอตัวลง อย่างไรก็ตาม จำนวนผลผลิตภาคอุตสาหกรรมอาจจะฟื้นตัว
ได้ แต่โดยภาพรวมของเศรษฐกิจยังคงอ่อนตัวอยู่จากการส่งออกที่ลดลง ทั้งนี้ การส่งออกของมาเลเซียเดือน ม.
ค.48 เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.3 นับเป็นอัตราการเพิ่มขึ้นต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน พ.ย.46 ซึ่งเศรษฐกิจของมาเลเซียต้อง
พึ่งพาการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมที่จะช่วยทำให้เศรษฐกิจมีอัตราเติบโตดีขึ้น โดยสินค้าอิเล็กทรอนิกส์มีอัตราส่วน
เกือบครึ่งหนึ่งของการส่งออกทั้งหมด อนึ่ง สำนักงานสถิติกำหนดจะแถลงตัวเลขเดือน ม.ค.48 ในวันอังคารนี้ (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 8 มี.ค. 48 7 มี.ค. 48 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 38.398 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 38.2050/38.5006 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 2.25 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 737.42/20.42 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 7,900/8,000 7,900/8,000 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 44.33 43.38 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 21.69*/15.19** 21.69*/15.19** 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับเพิ่ม ลิตรละ 40 สตางค์ เมื่อ 5 มี.ค. 48
* *ปรับเพิ่ม ลิตรละ 60 สตางค์ เมื่อ 22 ก.พ. 48
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--