ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. หนี้เอ็นพีแอลในไตรมาส 2 ปีนี้ลดลง 1.3 หมื่นล้านบาท นางธาริษา วัฒนเกส รองผู้ว่าการ
สายเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธปท. กล่าวว่า หนี้เอ็นพีแอลในไตรมาส 2 ลดลงจากไตรมาสแรกถึง 1.3 หมื่น
ล้านบาท จากเดิม 596,193.20 ล้านบาท หรือร้อยละ 10.7 ของสินเชื่อทั้งหมด มาอยู่ที่ 583,193.20 ล้าน
บาท หรือร้อยละ 10.3 ของสินเชื่อทั้งหมด ซึ่ง ธปท. จะไม่เข้าไปสั่งการให้แต่ละธนาคารตั้งสำรองหนี้สงสัยจะ
สูญ โดยเชื่อว่าหากธนาคารแห่งใดพบหนี้สงสัยจะสูญเพิ่มก็จะตั้งสำรองด้วยตัวเอง ไม่ต้องรอให้ ธปท. สั่งการ
อย่างเช่นกรณี ธ.ทหารไทยที่ตั้งสำรองเพิ่มขึ้นเอง โดยที่ ธปท. จะพิจารณาดูแลจากภาพรวมสถาบันการเงินทั้งหมด
เท่านั้น ทั้งนี้ ธ.กรุงเทพมียอดหนี้คงค้างเอ็นพีแอลสูงสุดร้อยละ 15.80 ของสินเชื่อรวม แต่เป็นยอดหนี้ที่ลดลง
จาก 158,676 ล้านบาท เมื่อสิ้นปี 47 เหลือ 153,918 ล้านบาท เมื่อสิ้นเดือน มิ.ย.48 ส่วน ธ.กรุงไทยมีหนี้
เอ็นพีแอล 113,918 ล้านบาท หรือร้อยละ 12.02 ของสินเชื่อรวมธ.ไทยพาณิชย์มีจำนวน 70,808 ล้านบาท หรือ
ร้อยละ 12 ของสินเชื่อรวม ธ.เอเชียมีจำนวน 17,712 ล้านบาท หรือร้อยละ 14.48 ของสินเชื่อรวม ธ.
ธนชาติ ธ.สแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดนครธน และ ธ.ยูโอบีรัตนสินมีสัดส่วนค้างไม่สูงมากเฉลี่ยร้อยละ 4.0-4.5 ขณะ
ที่ ธ.นครหลวงไทยมีหนี้เอ็นพีแอลต่ำสุด 11,243 ล้านบาท หรือร้อยละ 3.75 ของสินเชื่อรวม (โพสต์ทูเดย์,
กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน)
2. ธปท. พอใจการเคลื่อนไหวค่าเงินบาทหลังการเปลี่ยนแปลงค่าเงินหยวน ม.ร.ว.ปรีดิยาธร
เทวกุล ผู้ว่าการ ธปท. เปิดเผยว่า การเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทหลังการปล่อยลอยตัวค่าเงินหยวนถือว่าสบาย
ใจ เพราะค่าเงินบาทเคลื่อนไหวในระดับ 40-42 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ถือว่าเป็นระดับที่น่าพอใจ เนื่องจากปรับ
ค่าแข็งขึ้นเพียงร้อยละ 1 เมื่อเทียบกับเงินหยวน น้อยกว่าเงินสกุลอื่นที่แข็งค่าขึ้นร้อยละ 2 ด้านนายโฆสิต ปั้น
เปี่ยมรัษฎ์ ประธานกรรมการบริหาร ธ.กรุงเทพ กล่าวว่า ไทยไม่น่าจะได้รับผลกระทบอะไรในระยะสั้น เพราะ
การเปลี่ยนแปลงนโยบายค่าเงินเป็นประเด็นของ สรอ. และจีน จุดที่ต้องมองคือ การเปลี่ยนแปลงค่าเงินหยวนจะ
ส่งผลเพียงพอต่อการคลี่คลายปัญหาของ สรอ. หรือไม่ หากเศรษฐกิจของ สรอ. ได้รับการบรรเทาจะส่งผลดีต่อ
เศรษฐกิจไทยด้วย สำหรับมุมมองต่อการส่งออกเชื่อว่าจะไม่ได้รับผลกระทบมากเช่นกัน เพราะค่าเงินหยวนและค่า
เงินบาทแข็งค่าขึ้นใกล้เคียงกันจึงไม่น่าจะเห็นผลนักขณะที่ น.ส.อุสรา วิไลพิชญ์ นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส ธ.
สแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดนครธน เปิดเผยว่า ค่าเงินบาทอยู่ในลักษณะที่แกว่งตัวและมีโอกาสที่จะแข็งค่าขึ้นได้อีก เนื่อง
จากตลาดมองว่าจีนมีโอกาสที่จะเพิ่มค่าเงินหยวนได้อีกใน 6-12 เดือนข้างหน้า (โพสต์ทูเดย์, ไทยรัฐ)
3. จีนปรับค่าเงินหยวนส่งผลดีต่อการส่งออกและตลาดหุ้นไทย ศูนย์วิจัยกสิกรไทยระบุว่า หลังจากจีน
ปรับค่าเงินหยวนและปล่อยให้เงินหยวนเทียบต่อดอลลาร์ สรอ. สามารถเคลื่อนไหวในช่วงไม่เกินบวกลบร้อยละ
0.3 จากค่ากลางที่ทางการจีนกำหนด ทำให้ค่าเงินในภูมิภาคแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์ สรอ. ส่งผลให้ใน
ระยะแรกความสามารถในการแข่งขันของค่าเงินในภูมิภาคเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเงินหยวน ซึ่งน่าจะเป็นผลดีต่อความ
สามารถในการแข่งขันของประเทศอื่นในภูมิภาคเอเชียรวมทั้งไทย โดยที่ไทยน่าจะได้รับประโยชน์จากการส่งออกไป
ยังจีน โดยเฉพาะสินค้าโภคภัณฑ์และเคมีภัณฑ์ที่จีนใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิต ส่วนการส่งออกสินค้าในหมวดสิ่งทอและ
สินค้าอื่นที่ใช้แรงงานในสัดส่วนสูงที่มีจีนเป็นคู่แข่งโดยตรงอาจจะไม่สามารถประเมินผลได้ชัดเจนนัก เพราะความได้
เปรียบจากค่าเงินบาทที่แข็งขึ้นน้อยกว่าค่าเงินหยวนนั้นอาจจะยังมีขนาดไม่มากพอเมื่อเทียบกับความแตกต่างระหว่าง
ต้นทุนการผลิตของผู้ส่งออกของจีนกับผู้ประกอบการไทย นอกจากนี้ ยังมีประเด็นสำคัญอีกประการหนึ่งคือ จีนได้หัน
มาผูกค่าเงินหยวนกับตะกร้าเงิน ซึ่งระบบดังกล่าวเป็นการกำหนดค่าเงินแบบค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักที่จะทำให้การ
เคลื่อนไหวของเงินหยวนเทียบดอลลาร์ สรอ. มีอัตราน้อยกว่าการเคลื่อนไหวของเงินเยนและเงินยูโรเทียบ
ดอลลาร์ สรอ. ทั้งนี้กระแสการเก็งกำไรค่าเงินหยวนและค่าเงินสกุลต่าง ๆ ในภูมิภาคอาจจะส่งผลให้เงินทุนจาก
ต่างประเทศไหลเข้าสู่ตลาดทุนของไทยเพิ่มมากขึ้น ซึ่งอาจเป็นปัจจัยบวกหรืออาจทำให้ตลาดหุ้นและค่าเงินบาทมี
ความผันผวนมากขึ้น(กรุงเทพธุรกิจ)
4. ธปท. ปรับเกณฑ์การลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศ รายงานข่าวจาก ธปท. เปิดเผยว่า
ธปท. ได้ออกหนังสือเวียนส่งไปยัง ธ.พาณิชย์ทุกธนาคาร ธ.เพื่อการส่งออกและนำเข้าฯธ.อิสลามฯ ธ.ออมสิน ธ.
พัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางฯ และ บง.สินเอเชีย เพื่อแจ้งให้ทราบว่าเจ้าพนักงานควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินได้
กำหนดหลักเกณฑ์การขายหลักทรัพย์เงินตราต่างประเทศต่อของนิติบุคคลที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับปัจจัย
ชำระเงินตราต่างประเทศใหม่แทนกฎเกณฑ์เดิม เพื่อให้สอดคล้องกับการที่ ธปท. ได้ผ่อนผันการลงทุนในหลักทรัพย์
เงินตราต่างประเทศไปก่อนหน้านี้ สำหรับหลักเกณฑ์ใหม่ ได้แก่ หากขายหลักทรัพย์เงินตราต่างประเทศต่อให้กับผู้
ลงทุนในประเทศที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับปัจจัยชำระเงินตราต่างประเทศ นิติบุคคลที่ได้รับอนุญาตต้อง
ขายต่อให้ผู้ลงทุนประเภทสถาบันที่ได้รับหนังสืออนุญาตให้ลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศได้เท่านั้น และต้องเรียกให้ผู้
ซื้อแสดงหนังสืออนุญาต รวมทั้งตรวจสอบให้ถูกต้องก่อนทุกครั้ง (เดลินิวส์) (ผู้จัดการรายวัน)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ราคาขายปลีกน้ำมันของสรอ. ณ จุดบริการน้ำมันลดลงเป็นสัปดาห์ที่ 2 รายงานจากวอชิงตัน เมื่อ
วันที่ 25 ก.ค. 48 รัฐบาลสรอ. เปิดเผยว่า บรรดาผู้ขับรถของสรอ. ต่างได้รับการบรรเทาภาระจากภาวะน้ำมัน
แพงลงบ้าง เนื่องจากราคาน้ำมันที่จุดบริการน้ำมันลดลงเฉลี่ย 2.8 เซนต์ อยู่ที่แกลลอนละ 2.289 ดอลลาร์สรอ.
ลดลงเป็นสัปดาห์ที่สองหลังจากที่ทำสถิติสูงสุดที่แกลลอนละ 2.38 ดอลลาร์ สรอ. เมื่อสองสัปดาห์ก่อนหน้านั้น ส่วน
ราคาน้ำมันดิบอยู่ที่บาร์เรลละ 62 ดอลลาร์ สรอ. ทั้งนี้จากการสำรวจของ the Energy Information
Administration — EIA ที่สำรวจสถานีบริการน้ำมันมากกว่า 800 แห่งพบว่า ราคาน้ำมันที่จุดบริการน้ำมันของ
รัฐยังคงสูงกว่าปีที่แล้ว 38.4 เซนต์ (รอยเตอร์)
2. จีนเกินดุลการค้าในปี 48 สูงสุด 80 พันล้านดอลลาร์ สรอ. รายงานจากปักกิ่ง เมื่อวันที่ 26 ก.ค. 48
รองผอก.ส่วนการค้าต่างประเทศของจีนเปิดเผยว่า ในปีนี้จีนจะเกินดุลการค้ามากกว่า 80 พัน ล. ดอลลาร์สรอ.
เพิ่มขึ้นจาก 32 พัน ล. ดอลลาร์สรอ. ในปีที่แล้ว เนื่องจากการส่งออกจะขยายตัวมากกว่าร้อยละ 25
โดยการส่งออกในช่วงครึ่งหลังปีนี้จะชะลอตัว ขณะที่การนำเข้าจะเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ทั้งนี้การส่งออกในเดือนมิ.ย.
เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วร้อยละ 30.6 ส่วนการนำเข้าเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 15.1 ส่วนการเกินดุลการค้าในช่วง 6
เดือนแรกปีนี้สูงถึง 39 พัน ล. ดอลลาร์ สรอ. สำหรับการปรับค่าเงินหยวนให้แข็งค่าขึ้นร้อยละ 2.1 เป็นอุปสรรค
ต่อความสมดุลระหว่างการส่งออกที่จำเป็นต้องให้ชะลอตัวและให้มีการนำเข้าเพิ่มขึ้น สำหรับผู้ส่งออกของจีนในสินค้า
อิเล็กทรอนิกส์ สิ่งทอ และสินค้าอุตสาหกรรมการผลิตอื่นๆ ในจังหวัดชายฝั่งทะเลของ Zhejiang , Fujian
และ Guangdong ส่วนใหญ่มีความเห็นว่า สามารถรองรับผลกระทบต่อการปรับค่าเงินหยวนได้ ซึ่งจะต้องเร่งพัฒนา
สินค้าอุตสาหกรรมการผลิตจากต้นทุนต่ำมาเป็นการผลิตสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น แต่ยังคงมีความวิตกว่าการปรับค่า
เงินหยวนอีกในอนาคตอาจจะทำให้กำไรลดลง อย่างไรก็ตามบริษัทสิ่งทอเห็นว่าผลกระทบจากการปรับค่าเงินหยวน
ยังน้อยกว่าข้อเสนอจำกัดการนำเข้าสิ่งทอจากจีนของสรอ. และยุโรป (รอยเตอร์)
3. ดัชนีราคาผู้บริโภคในเดือน มิ.ย.48 ของสิงคโปร์ลดลงร้อยละ 0.2 ต่อปีลดลงเป็นครั้งแรกใน
รอบ 2 ปี รายงานจากสิงคโปร์ เมื่อ 25 ก.ค.48 ดัชนีราคาผู้บริโภคในเดือน มิ.ย.48ของสิงคโปร์ลดลงร้อยละ
0.2 ต่อปีและร้อยละ 0.7 ต่อปีหลังปรับตัวเลขตามฤดูกาลแล้ว ลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 2 ปีนับตั้งแต่เดือน มิ.ย.46
หลังการระบาดของโรคไข้หวัด SARS ในขณะที่ผลสำรวจรอยเตอร์คาดว่าดัชนีราคาผู้บริโภคจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4
ต่อปี โดยส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการลดค่าบริการและค่าธรรมเนียมห้องพักในอาคารชุดของรัฐบาลซึ่งคนสิงคโปร์
เกือบร้อยละ 80 พักอาศัยอยู่ทำให้ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับที่พักอาศัยลดลงร้อยละ 0.6 นอกจากนี้ยังเป็นผลจากการลด
ราคาประจำปีเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวของร้านขายเสื้อผ้าและรองเท้าซึ่งส่งผลให้ราคาเสื้อผ้าและรองเท้าลดลง
ร้อยละ 0.9 ในขณะที่ The Monetary Authority of Singapore ซึ่งทำหน้าที่เป็น ธ.กลางของสิงคโปร์
คาดว่าดัชนีราคาผู้บริโภคในปีนี้จะลดลงโดยอยู่ระหว่างร้อยละ 0 ถึง 1 ต่อปี จากระดับร้อยละ 1.7 ในปี 47 (รอยเตอร์)
4. ธ.กลางเกาหลีใต้คาดว่าเศรษฐกิจเกาหลีใต้จะขยายตัวร้อยละ 1.2 ในไตรมาสที่ 2 ปีนี้จากไตร
มาสก่อน รายงานจากโซล เมื่อ 26 ก.ค.48 ธ.กลางเกาหลีใต้ประมาณการล่วงหน้าว่าเศรษฐกิจของเกาหลีใต้จะ
ขยายตัวร้อยละ 1.2 ในไตรมาสที่ 2 ปีนี้หลังปรับตัวเลขตามฤดูกาลแล้วจากไตรมาสก่อน หรือขยายตัวร้อยละ 3.3
ต่อปีสูงกว่าที่คาดไว้ที่ร้อยละ 0.9 ต่อไตรมาสและร้อยละ 3.0 ต่อปีจากผลสำรวจความเห็นของนักเศรษฐศาสตร์
โดยรอยเตอร์ และนับเป็นอัตราการขยายตัวต่อไตรมาสสูงสุดในรอบ 1 ปีครึ่ง ทั้งนี้เป็นผลมาจากการบริโภคใน
ประเทศเริ่มฟื้นตัวโดยขยายตัวในอัตราต่อไตรมาสสูงสุดในรอบ 3 ปี ในขณะที่การใช้จ่ายลงทุนและการใช้จ่ายด้าน
การก่อสร้างก็เริ่มฟื้นตัวเช่นเดียวกัน โดยการใช้จ่ายด้านการก่อสร้างเพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 6 ไตรมาสและ
การใช้จ่ายลงทุนเพิ่มขึ้นในอัตราสูงสุดในรอบ 1 ปี นับเป็นครั้งแรกที่ ธ.กลางเกาหลีใต้ประมาณการการขยายตัว
ทางเศรษฐกิจรายไตรมาสล่วงหน้าโดยก่อนหน้านี้ ธ.กลางเกาหลีใต้จะเปิดเผยตัวเลขเบื้องต้นการขยายตัวทาง
เศรษฐกิจรายไตรมาสหลังจากที่ผ่านไตรมาสนั้นไปแล้วเกือบ 2 เดือน โดย ธ.กลางเกาหลีใต้มีแผนที่จะประกาศ
ตัวเลขเบื้องต้นการขยายตัวทางเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 2 ปีนี้ในวันที่ 5 ก.ย.48 นี้ (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 26 ก.ค. 48 25 ก.ค. 48 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 41.384 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 41.1986/41.4796 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 2.78125 — 2.8000 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 659.64/ 10.89 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 8,300/8,400 8,300/8,400 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 52.35 52.31 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 25.74*/22.99** 25.74*/22.99** 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับเพิ่ม 40 สตางค์ เมื่อ 12 ก.ค. 48
**ปรับเพิ่ม 90 สตางค์เมื่อ13 ก.ค. 48
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. หนี้เอ็นพีแอลในไตรมาส 2 ปีนี้ลดลง 1.3 หมื่นล้านบาท นางธาริษา วัฒนเกส รองผู้ว่าการ
สายเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธปท. กล่าวว่า หนี้เอ็นพีแอลในไตรมาส 2 ลดลงจากไตรมาสแรกถึง 1.3 หมื่น
ล้านบาท จากเดิม 596,193.20 ล้านบาท หรือร้อยละ 10.7 ของสินเชื่อทั้งหมด มาอยู่ที่ 583,193.20 ล้าน
บาท หรือร้อยละ 10.3 ของสินเชื่อทั้งหมด ซึ่ง ธปท. จะไม่เข้าไปสั่งการให้แต่ละธนาคารตั้งสำรองหนี้สงสัยจะ
สูญ โดยเชื่อว่าหากธนาคารแห่งใดพบหนี้สงสัยจะสูญเพิ่มก็จะตั้งสำรองด้วยตัวเอง ไม่ต้องรอให้ ธปท. สั่งการ
อย่างเช่นกรณี ธ.ทหารไทยที่ตั้งสำรองเพิ่มขึ้นเอง โดยที่ ธปท. จะพิจารณาดูแลจากภาพรวมสถาบันการเงินทั้งหมด
เท่านั้น ทั้งนี้ ธ.กรุงเทพมียอดหนี้คงค้างเอ็นพีแอลสูงสุดร้อยละ 15.80 ของสินเชื่อรวม แต่เป็นยอดหนี้ที่ลดลง
จาก 158,676 ล้านบาท เมื่อสิ้นปี 47 เหลือ 153,918 ล้านบาท เมื่อสิ้นเดือน มิ.ย.48 ส่วน ธ.กรุงไทยมีหนี้
เอ็นพีแอล 113,918 ล้านบาท หรือร้อยละ 12.02 ของสินเชื่อรวมธ.ไทยพาณิชย์มีจำนวน 70,808 ล้านบาท หรือ
ร้อยละ 12 ของสินเชื่อรวม ธ.เอเชียมีจำนวน 17,712 ล้านบาท หรือร้อยละ 14.48 ของสินเชื่อรวม ธ.
ธนชาติ ธ.สแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดนครธน และ ธ.ยูโอบีรัตนสินมีสัดส่วนค้างไม่สูงมากเฉลี่ยร้อยละ 4.0-4.5 ขณะ
ที่ ธ.นครหลวงไทยมีหนี้เอ็นพีแอลต่ำสุด 11,243 ล้านบาท หรือร้อยละ 3.75 ของสินเชื่อรวม (โพสต์ทูเดย์,
กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน)
2. ธปท. พอใจการเคลื่อนไหวค่าเงินบาทหลังการเปลี่ยนแปลงค่าเงินหยวน ม.ร.ว.ปรีดิยาธร
เทวกุล ผู้ว่าการ ธปท. เปิดเผยว่า การเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทหลังการปล่อยลอยตัวค่าเงินหยวนถือว่าสบาย
ใจ เพราะค่าเงินบาทเคลื่อนไหวในระดับ 40-42 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ถือว่าเป็นระดับที่น่าพอใจ เนื่องจากปรับ
ค่าแข็งขึ้นเพียงร้อยละ 1 เมื่อเทียบกับเงินหยวน น้อยกว่าเงินสกุลอื่นที่แข็งค่าขึ้นร้อยละ 2 ด้านนายโฆสิต ปั้น
เปี่ยมรัษฎ์ ประธานกรรมการบริหาร ธ.กรุงเทพ กล่าวว่า ไทยไม่น่าจะได้รับผลกระทบอะไรในระยะสั้น เพราะ
การเปลี่ยนแปลงนโยบายค่าเงินเป็นประเด็นของ สรอ. และจีน จุดที่ต้องมองคือ การเปลี่ยนแปลงค่าเงินหยวนจะ
ส่งผลเพียงพอต่อการคลี่คลายปัญหาของ สรอ. หรือไม่ หากเศรษฐกิจของ สรอ. ได้รับการบรรเทาจะส่งผลดีต่อ
เศรษฐกิจไทยด้วย สำหรับมุมมองต่อการส่งออกเชื่อว่าจะไม่ได้รับผลกระทบมากเช่นกัน เพราะค่าเงินหยวนและค่า
เงินบาทแข็งค่าขึ้นใกล้เคียงกันจึงไม่น่าจะเห็นผลนักขณะที่ น.ส.อุสรา วิไลพิชญ์ นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส ธ.
สแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดนครธน เปิดเผยว่า ค่าเงินบาทอยู่ในลักษณะที่แกว่งตัวและมีโอกาสที่จะแข็งค่าขึ้นได้อีก เนื่อง
จากตลาดมองว่าจีนมีโอกาสที่จะเพิ่มค่าเงินหยวนได้อีกใน 6-12 เดือนข้างหน้า (โพสต์ทูเดย์, ไทยรัฐ)
3. จีนปรับค่าเงินหยวนส่งผลดีต่อการส่งออกและตลาดหุ้นไทย ศูนย์วิจัยกสิกรไทยระบุว่า หลังจากจีน
ปรับค่าเงินหยวนและปล่อยให้เงินหยวนเทียบต่อดอลลาร์ สรอ. สามารถเคลื่อนไหวในช่วงไม่เกินบวกลบร้อยละ
0.3 จากค่ากลางที่ทางการจีนกำหนด ทำให้ค่าเงินในภูมิภาคแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์ สรอ. ส่งผลให้ใน
ระยะแรกความสามารถในการแข่งขันของค่าเงินในภูมิภาคเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเงินหยวน ซึ่งน่าจะเป็นผลดีต่อความ
สามารถในการแข่งขันของประเทศอื่นในภูมิภาคเอเชียรวมทั้งไทย โดยที่ไทยน่าจะได้รับประโยชน์จากการส่งออกไป
ยังจีน โดยเฉพาะสินค้าโภคภัณฑ์และเคมีภัณฑ์ที่จีนใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิต ส่วนการส่งออกสินค้าในหมวดสิ่งทอและ
สินค้าอื่นที่ใช้แรงงานในสัดส่วนสูงที่มีจีนเป็นคู่แข่งโดยตรงอาจจะไม่สามารถประเมินผลได้ชัดเจนนัก เพราะความได้
เปรียบจากค่าเงินบาทที่แข็งขึ้นน้อยกว่าค่าเงินหยวนนั้นอาจจะยังมีขนาดไม่มากพอเมื่อเทียบกับความแตกต่างระหว่าง
ต้นทุนการผลิตของผู้ส่งออกของจีนกับผู้ประกอบการไทย นอกจากนี้ ยังมีประเด็นสำคัญอีกประการหนึ่งคือ จีนได้หัน
มาผูกค่าเงินหยวนกับตะกร้าเงิน ซึ่งระบบดังกล่าวเป็นการกำหนดค่าเงินแบบค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักที่จะทำให้การ
เคลื่อนไหวของเงินหยวนเทียบดอลลาร์ สรอ. มีอัตราน้อยกว่าการเคลื่อนไหวของเงินเยนและเงินยูโรเทียบ
ดอลลาร์ สรอ. ทั้งนี้กระแสการเก็งกำไรค่าเงินหยวนและค่าเงินสกุลต่าง ๆ ในภูมิภาคอาจจะส่งผลให้เงินทุนจาก
ต่างประเทศไหลเข้าสู่ตลาดทุนของไทยเพิ่มมากขึ้น ซึ่งอาจเป็นปัจจัยบวกหรืออาจทำให้ตลาดหุ้นและค่าเงินบาทมี
ความผันผวนมากขึ้น(กรุงเทพธุรกิจ)
4. ธปท. ปรับเกณฑ์การลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศ รายงานข่าวจาก ธปท. เปิดเผยว่า
ธปท. ได้ออกหนังสือเวียนส่งไปยัง ธ.พาณิชย์ทุกธนาคาร ธ.เพื่อการส่งออกและนำเข้าฯธ.อิสลามฯ ธ.ออมสิน ธ.
พัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางฯ และ บง.สินเอเชีย เพื่อแจ้งให้ทราบว่าเจ้าพนักงานควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินได้
กำหนดหลักเกณฑ์การขายหลักทรัพย์เงินตราต่างประเทศต่อของนิติบุคคลที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับปัจจัย
ชำระเงินตราต่างประเทศใหม่แทนกฎเกณฑ์เดิม เพื่อให้สอดคล้องกับการที่ ธปท. ได้ผ่อนผันการลงทุนในหลักทรัพย์
เงินตราต่างประเทศไปก่อนหน้านี้ สำหรับหลักเกณฑ์ใหม่ ได้แก่ หากขายหลักทรัพย์เงินตราต่างประเทศต่อให้กับผู้
ลงทุนในประเทศที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับปัจจัยชำระเงินตราต่างประเทศ นิติบุคคลที่ได้รับอนุญาตต้อง
ขายต่อให้ผู้ลงทุนประเภทสถาบันที่ได้รับหนังสืออนุญาตให้ลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศได้เท่านั้น และต้องเรียกให้ผู้
ซื้อแสดงหนังสืออนุญาต รวมทั้งตรวจสอบให้ถูกต้องก่อนทุกครั้ง (เดลินิวส์) (ผู้จัดการรายวัน)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ราคาขายปลีกน้ำมันของสรอ. ณ จุดบริการน้ำมันลดลงเป็นสัปดาห์ที่ 2 รายงานจากวอชิงตัน เมื่อ
วันที่ 25 ก.ค. 48 รัฐบาลสรอ. เปิดเผยว่า บรรดาผู้ขับรถของสรอ. ต่างได้รับการบรรเทาภาระจากภาวะน้ำมัน
แพงลงบ้าง เนื่องจากราคาน้ำมันที่จุดบริการน้ำมันลดลงเฉลี่ย 2.8 เซนต์ อยู่ที่แกลลอนละ 2.289 ดอลลาร์สรอ.
ลดลงเป็นสัปดาห์ที่สองหลังจากที่ทำสถิติสูงสุดที่แกลลอนละ 2.38 ดอลลาร์ สรอ. เมื่อสองสัปดาห์ก่อนหน้านั้น ส่วน
ราคาน้ำมันดิบอยู่ที่บาร์เรลละ 62 ดอลลาร์ สรอ. ทั้งนี้จากการสำรวจของ the Energy Information
Administration — EIA ที่สำรวจสถานีบริการน้ำมันมากกว่า 800 แห่งพบว่า ราคาน้ำมันที่จุดบริการน้ำมันของ
รัฐยังคงสูงกว่าปีที่แล้ว 38.4 เซนต์ (รอยเตอร์)
2. จีนเกินดุลการค้าในปี 48 สูงสุด 80 พันล้านดอลลาร์ สรอ. รายงานจากปักกิ่ง เมื่อวันที่ 26 ก.ค. 48
รองผอก.ส่วนการค้าต่างประเทศของจีนเปิดเผยว่า ในปีนี้จีนจะเกินดุลการค้ามากกว่า 80 พัน ล. ดอลลาร์สรอ.
เพิ่มขึ้นจาก 32 พัน ล. ดอลลาร์สรอ. ในปีที่แล้ว เนื่องจากการส่งออกจะขยายตัวมากกว่าร้อยละ 25
โดยการส่งออกในช่วงครึ่งหลังปีนี้จะชะลอตัว ขณะที่การนำเข้าจะเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ทั้งนี้การส่งออกในเดือนมิ.ย.
เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วร้อยละ 30.6 ส่วนการนำเข้าเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 15.1 ส่วนการเกินดุลการค้าในช่วง 6
เดือนแรกปีนี้สูงถึง 39 พัน ล. ดอลลาร์ สรอ. สำหรับการปรับค่าเงินหยวนให้แข็งค่าขึ้นร้อยละ 2.1 เป็นอุปสรรค
ต่อความสมดุลระหว่างการส่งออกที่จำเป็นต้องให้ชะลอตัวและให้มีการนำเข้าเพิ่มขึ้น สำหรับผู้ส่งออกของจีนในสินค้า
อิเล็กทรอนิกส์ สิ่งทอ และสินค้าอุตสาหกรรมการผลิตอื่นๆ ในจังหวัดชายฝั่งทะเลของ Zhejiang , Fujian
และ Guangdong ส่วนใหญ่มีความเห็นว่า สามารถรองรับผลกระทบต่อการปรับค่าเงินหยวนได้ ซึ่งจะต้องเร่งพัฒนา
สินค้าอุตสาหกรรมการผลิตจากต้นทุนต่ำมาเป็นการผลิตสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น แต่ยังคงมีความวิตกว่าการปรับค่า
เงินหยวนอีกในอนาคตอาจจะทำให้กำไรลดลง อย่างไรก็ตามบริษัทสิ่งทอเห็นว่าผลกระทบจากการปรับค่าเงินหยวน
ยังน้อยกว่าข้อเสนอจำกัดการนำเข้าสิ่งทอจากจีนของสรอ. และยุโรป (รอยเตอร์)
3. ดัชนีราคาผู้บริโภคในเดือน มิ.ย.48 ของสิงคโปร์ลดลงร้อยละ 0.2 ต่อปีลดลงเป็นครั้งแรกใน
รอบ 2 ปี รายงานจากสิงคโปร์ เมื่อ 25 ก.ค.48 ดัชนีราคาผู้บริโภคในเดือน มิ.ย.48ของสิงคโปร์ลดลงร้อยละ
0.2 ต่อปีและร้อยละ 0.7 ต่อปีหลังปรับตัวเลขตามฤดูกาลแล้ว ลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 2 ปีนับตั้งแต่เดือน มิ.ย.46
หลังการระบาดของโรคไข้หวัด SARS ในขณะที่ผลสำรวจรอยเตอร์คาดว่าดัชนีราคาผู้บริโภคจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4
ต่อปี โดยส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการลดค่าบริการและค่าธรรมเนียมห้องพักในอาคารชุดของรัฐบาลซึ่งคนสิงคโปร์
เกือบร้อยละ 80 พักอาศัยอยู่ทำให้ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับที่พักอาศัยลดลงร้อยละ 0.6 นอกจากนี้ยังเป็นผลจากการลด
ราคาประจำปีเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวของร้านขายเสื้อผ้าและรองเท้าซึ่งส่งผลให้ราคาเสื้อผ้าและรองเท้าลดลง
ร้อยละ 0.9 ในขณะที่ The Monetary Authority of Singapore ซึ่งทำหน้าที่เป็น ธ.กลางของสิงคโปร์
คาดว่าดัชนีราคาผู้บริโภคในปีนี้จะลดลงโดยอยู่ระหว่างร้อยละ 0 ถึง 1 ต่อปี จากระดับร้อยละ 1.7 ในปี 47 (รอยเตอร์)
4. ธ.กลางเกาหลีใต้คาดว่าเศรษฐกิจเกาหลีใต้จะขยายตัวร้อยละ 1.2 ในไตรมาสที่ 2 ปีนี้จากไตร
มาสก่อน รายงานจากโซล เมื่อ 26 ก.ค.48 ธ.กลางเกาหลีใต้ประมาณการล่วงหน้าว่าเศรษฐกิจของเกาหลีใต้จะ
ขยายตัวร้อยละ 1.2 ในไตรมาสที่ 2 ปีนี้หลังปรับตัวเลขตามฤดูกาลแล้วจากไตรมาสก่อน หรือขยายตัวร้อยละ 3.3
ต่อปีสูงกว่าที่คาดไว้ที่ร้อยละ 0.9 ต่อไตรมาสและร้อยละ 3.0 ต่อปีจากผลสำรวจความเห็นของนักเศรษฐศาสตร์
โดยรอยเตอร์ และนับเป็นอัตราการขยายตัวต่อไตรมาสสูงสุดในรอบ 1 ปีครึ่ง ทั้งนี้เป็นผลมาจากการบริโภคใน
ประเทศเริ่มฟื้นตัวโดยขยายตัวในอัตราต่อไตรมาสสูงสุดในรอบ 3 ปี ในขณะที่การใช้จ่ายลงทุนและการใช้จ่ายด้าน
การก่อสร้างก็เริ่มฟื้นตัวเช่นเดียวกัน โดยการใช้จ่ายด้านการก่อสร้างเพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 6 ไตรมาสและ
การใช้จ่ายลงทุนเพิ่มขึ้นในอัตราสูงสุดในรอบ 1 ปี นับเป็นครั้งแรกที่ ธ.กลางเกาหลีใต้ประมาณการการขยายตัว
ทางเศรษฐกิจรายไตรมาสล่วงหน้าโดยก่อนหน้านี้ ธ.กลางเกาหลีใต้จะเปิดเผยตัวเลขเบื้องต้นการขยายตัวทาง
เศรษฐกิจรายไตรมาสหลังจากที่ผ่านไตรมาสนั้นไปแล้วเกือบ 2 เดือน โดย ธ.กลางเกาหลีใต้มีแผนที่จะประกาศ
ตัวเลขเบื้องต้นการขยายตัวทางเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 2 ปีนี้ในวันที่ 5 ก.ย.48 นี้ (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 26 ก.ค. 48 25 ก.ค. 48 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 41.384 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 41.1986/41.4796 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 2.78125 — 2.8000 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 659.64/ 10.89 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 8,300/8,400 8,300/8,400 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 52.35 52.31 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 25.74*/22.99** 25.74*/22.99** 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับเพิ่ม 40 สตางค์ เมื่อ 12 ก.ค. 48
**ปรับเพิ่ม 90 สตางค์เมื่อ13 ก.ค. 48
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--