แนะต้องปรับตัวตามโลกหมุน ชูแผนยุทธศาสตร์ 4 ปียกระดับเทคโนโลยี สร้างมาตรฐานผลิตภัณฑ์ ดีไซน์หนีคู่แข่ง มั่นใจสู้ได้แน่ ย้ำทุกฝ่ายต้องร่วมมือ
นางชุตาภรณ์ ลัมพสาระ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า สศอ. ร่วมมือกับสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ จัดเตรียมแผนยุทธศาสตร์ 4 ปี เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอในภาวะแข่งขันทางการค้ารอบด้าน และรองรับการเปิดเสรีทางการค้าแบบทวิภาคี (FTA) ซึ่งหากยังย่ำอยู่กับที่อุตสาหกรรมสิ่งทอไทยจะเสียเปรียบคู่แข่ง โดยแผนยุทธศาสตร์สิ่งทอได้มีการระดมความคิดเห็นจากผู้เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน ตั้งแต่อุตสาหกรรมต้นน้ำถึงปลายน้ำ รวมทั้งนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งมีแนวความคิดร่วมกันที่จะเพิ่มมูลค่าให้สิ่งทอ ในสามแนวทาง คือ 1. สร้างส่วนเชื่อมโยงอุตสาหกรรมที่สำคัญซึ่งขาดหายไป หรือ Missing Link Industry โดยการยกระดับเทคโนโลยีฟอกย้อมให้ดีขึ้น พัฒนาด้านการออกแบบผ้าผืน พัฒนาให้เกิดด้ายชนิดพิเศษ และสร้างตราสินค้าแฟชั่น
2. พัฒนาอุตสาหกรรมที่สร้างมูลค่าเพิ่มระดับสูง หรือ High Value Added Industry มุ่งที่จะพัฒนาเส้นใยชนิดพิเศษ พัฒนาผ้าชนิดพิเศษ เพื่อรองรับการใช้งานด้านการแพทย์ (Medical Textile) และด้านเคหะสิ่งทอ (Home Textile) นอกจากนี้จะต้องเร่งยกระดับอุตสาหกรรมการพิมพ์ผ้า อุตสาหกรรมออกแบบและผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูป ส่วนแนวทางที่ 3. พัฒนาอุตสาหกรรมที่สร้างจากพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์และฐานความรู้ หรือ Science & Knowledge Based Industry จะมุ่งเน้นการพัฒนาผ้าให้มีคุณสมบัติพิเศษ เช่น การผลิตผ้ากันน้ำด้วยนาโนเทคโนโลยี ผ้ากันไฟ สิ่งทอสำหรับอุตสาหกรรมรถยนต์ การก่อสร้าง
“อุตสาหกรรมสิ่งทอจำเป็นต้องเร่งปรับตัวเพื่อตั้งรับ และพร้อมรุกตามความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลาตามกรอบของ องค์การการค้าโลก (WTO) ว่าด้วยเรื่องการค้าเสรีภายใต้ข้อตกลงระหว่างประเทศ รวมทั้งเปิดเสรีทางการค้าแบบทวิภาคี หรือ FTA ที่จะกระตุ้นให้เกิดการใช้วัตถุดิบภายในประเทศโดยเฉพาะระหว่างไทยกับสหรัฐอเมริกา ซึ่งเราจะได้รับประโยชน์อย่างสูง หากสามารถพัฒนาอุตสาหกรรมต้นน้ำ กลางน้ำรองรับได้ทัน ซึ่งจากเดิมที่เรารับจ้างผลิตจะต้องปรับตัวให้สามารถเป็นผู้ออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ได้เอง จึงจะสามารถอยู่รอดได้ เนื่องจากหลายมาตรการที่เคยใช้ได้ถูกยกเลิกไป เช่น ระบบโควตาสิ่งทอ ถ้าหากผู้ประกอบการไม่เร่งปรับตัวจะเสียเปรียบในการแข่งขันได้ในอนาคตอันใกล้ ซึ่งภาครัฐจะเร่งให้การสนับสนุน ด้านการพัฒนาบุคลากรในอุตสาหกรรมสิ่งทอ (Knowledge Workers) ควบคู่ไปกับการพัฒนาการรวมกลุ่ม (Cluster) เพื่อให้เกิดความเข้มแข็งมากขึ้น และกำหนดให้มีนโยบายฟอกย้อมที่ชัดเจนขึ้น”
นางชุตาภรณ์ กล่าวว่า อุตสาหกรรมสิ่งทอมีความจำเป็นต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ โดยสามารถทำให้เกิดการจ้างงานทั้งในโรงงานอุตสาหกรรม และกิจกรรมต่อเนื่องในปีที่ผ่านมากว่า 1.08 ล้านคน ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยส่งออกสินค้าสิ่งทอเป็นอันดับที่ 13 ของโลก เครื่องนุ่งห่มส่งออกเป็นอันดับที่ 11 ของโลกโดยมีส่วนแบ่งการตลาดเป็น ร้อยละ 1.6 และ ร้อยละ 2.0 ตามลำดับ มีมูลค่าสินค้าทั้งสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มประมาณ 5 แสนล้านบาท ซึ่งในปีที่ผ่านมา สามารถส่งออกได้กว่า 6,400 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 250,000 ล้านบาท (เพิ่มขึ้นร้อยละ 17 ) ตลาดส่งออกที่สำคัญคือ สหรัฐ ญี่ปุ่น และ สหราชอาณาจักร
“สำหรับในช่วง 4 เดือนแรกของปี (ม.ค.- เม.ย.) สิ่งทอของไทยมีภาวะการส่งออกอย่าง คึกคักโดยเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 6.5 หรือมีมูลค่ากว่า 2,011.0 ล้านเหรียญสหรัฐ จาก 1,888.1 ล้านเหรียญสหรัฐ พร้อมกันนั้น สินค้าในหมวดสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม เกือบทุกรายการมีการปรับตัวเพิ่มขึ้น และมีแนวโน้มที่ดี ซึ่งภาวะที่เกิดขึ้นถือเป็นสิ่งที่ดี ดังนั้นผู้ประกอบการควรเร่งปรับตัวให้เข้ากับการแข่งขันที่กำลังทวีความเข้มข้นทุกขณะรวมทั้งเร่งสร้างระบบความเชื่อมโยงระหว่างอุตสาหกรรมในกลุ่มสิ่งทอด้วยกันให้เข้มแข็ง หากไม่มีการปรับตัวยุทธศาสตร์ที่เร่งผลักดันก็จะไม่เกิดผลในทางปฏิบัติเท่าที่ควร ถ้าทุกฝ่ายร่วมมือกันอย่างดีแล้ว เชื่อว่าอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มของไทยจะต้องเติบโตท่ามกลางการแข่งขันรอบด้านได้อย่างไม่ยากนัก” นางชุตาภรณ์ กล่าวในที่สุด
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
นางชุตาภรณ์ ลัมพสาระ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า สศอ. ร่วมมือกับสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ จัดเตรียมแผนยุทธศาสตร์ 4 ปี เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอในภาวะแข่งขันทางการค้ารอบด้าน และรองรับการเปิดเสรีทางการค้าแบบทวิภาคี (FTA) ซึ่งหากยังย่ำอยู่กับที่อุตสาหกรรมสิ่งทอไทยจะเสียเปรียบคู่แข่ง โดยแผนยุทธศาสตร์สิ่งทอได้มีการระดมความคิดเห็นจากผู้เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน ตั้งแต่อุตสาหกรรมต้นน้ำถึงปลายน้ำ รวมทั้งนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งมีแนวความคิดร่วมกันที่จะเพิ่มมูลค่าให้สิ่งทอ ในสามแนวทาง คือ 1. สร้างส่วนเชื่อมโยงอุตสาหกรรมที่สำคัญซึ่งขาดหายไป หรือ Missing Link Industry โดยการยกระดับเทคโนโลยีฟอกย้อมให้ดีขึ้น พัฒนาด้านการออกแบบผ้าผืน พัฒนาให้เกิดด้ายชนิดพิเศษ และสร้างตราสินค้าแฟชั่น
2. พัฒนาอุตสาหกรรมที่สร้างมูลค่าเพิ่มระดับสูง หรือ High Value Added Industry มุ่งที่จะพัฒนาเส้นใยชนิดพิเศษ พัฒนาผ้าชนิดพิเศษ เพื่อรองรับการใช้งานด้านการแพทย์ (Medical Textile) และด้านเคหะสิ่งทอ (Home Textile) นอกจากนี้จะต้องเร่งยกระดับอุตสาหกรรมการพิมพ์ผ้า อุตสาหกรรมออกแบบและผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูป ส่วนแนวทางที่ 3. พัฒนาอุตสาหกรรมที่สร้างจากพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์และฐานความรู้ หรือ Science & Knowledge Based Industry จะมุ่งเน้นการพัฒนาผ้าให้มีคุณสมบัติพิเศษ เช่น การผลิตผ้ากันน้ำด้วยนาโนเทคโนโลยี ผ้ากันไฟ สิ่งทอสำหรับอุตสาหกรรมรถยนต์ การก่อสร้าง
“อุตสาหกรรมสิ่งทอจำเป็นต้องเร่งปรับตัวเพื่อตั้งรับ และพร้อมรุกตามความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลาตามกรอบของ องค์การการค้าโลก (WTO) ว่าด้วยเรื่องการค้าเสรีภายใต้ข้อตกลงระหว่างประเทศ รวมทั้งเปิดเสรีทางการค้าแบบทวิภาคี หรือ FTA ที่จะกระตุ้นให้เกิดการใช้วัตถุดิบภายในประเทศโดยเฉพาะระหว่างไทยกับสหรัฐอเมริกา ซึ่งเราจะได้รับประโยชน์อย่างสูง หากสามารถพัฒนาอุตสาหกรรมต้นน้ำ กลางน้ำรองรับได้ทัน ซึ่งจากเดิมที่เรารับจ้างผลิตจะต้องปรับตัวให้สามารถเป็นผู้ออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ได้เอง จึงจะสามารถอยู่รอดได้ เนื่องจากหลายมาตรการที่เคยใช้ได้ถูกยกเลิกไป เช่น ระบบโควตาสิ่งทอ ถ้าหากผู้ประกอบการไม่เร่งปรับตัวจะเสียเปรียบในการแข่งขันได้ในอนาคตอันใกล้ ซึ่งภาครัฐจะเร่งให้การสนับสนุน ด้านการพัฒนาบุคลากรในอุตสาหกรรมสิ่งทอ (Knowledge Workers) ควบคู่ไปกับการพัฒนาการรวมกลุ่ม (Cluster) เพื่อให้เกิดความเข้มแข็งมากขึ้น และกำหนดให้มีนโยบายฟอกย้อมที่ชัดเจนขึ้น”
นางชุตาภรณ์ กล่าวว่า อุตสาหกรรมสิ่งทอมีความจำเป็นต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ โดยสามารถทำให้เกิดการจ้างงานทั้งในโรงงานอุตสาหกรรม และกิจกรรมต่อเนื่องในปีที่ผ่านมากว่า 1.08 ล้านคน ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยส่งออกสินค้าสิ่งทอเป็นอันดับที่ 13 ของโลก เครื่องนุ่งห่มส่งออกเป็นอันดับที่ 11 ของโลกโดยมีส่วนแบ่งการตลาดเป็น ร้อยละ 1.6 และ ร้อยละ 2.0 ตามลำดับ มีมูลค่าสินค้าทั้งสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มประมาณ 5 แสนล้านบาท ซึ่งในปีที่ผ่านมา สามารถส่งออกได้กว่า 6,400 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 250,000 ล้านบาท (เพิ่มขึ้นร้อยละ 17 ) ตลาดส่งออกที่สำคัญคือ สหรัฐ ญี่ปุ่น และ สหราชอาณาจักร
“สำหรับในช่วง 4 เดือนแรกของปี (ม.ค.- เม.ย.) สิ่งทอของไทยมีภาวะการส่งออกอย่าง คึกคักโดยเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 6.5 หรือมีมูลค่ากว่า 2,011.0 ล้านเหรียญสหรัฐ จาก 1,888.1 ล้านเหรียญสหรัฐ พร้อมกันนั้น สินค้าในหมวดสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม เกือบทุกรายการมีการปรับตัวเพิ่มขึ้น และมีแนวโน้มที่ดี ซึ่งภาวะที่เกิดขึ้นถือเป็นสิ่งที่ดี ดังนั้นผู้ประกอบการควรเร่งปรับตัวให้เข้ากับการแข่งขันที่กำลังทวีความเข้มข้นทุกขณะรวมทั้งเร่งสร้างระบบความเชื่อมโยงระหว่างอุตสาหกรรมในกลุ่มสิ่งทอด้วยกันให้เข้มแข็ง หากไม่มีการปรับตัวยุทธศาสตร์ที่เร่งผลักดันก็จะไม่เกิดผลในทางปฏิบัติเท่าที่ควร ถ้าทุกฝ่ายร่วมมือกันอย่างดีแล้ว เชื่อว่าอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มของไทยจะต้องเติบโตท่ามกลางการแข่งขันรอบด้านได้อย่างไม่ยากนัก” นางชุตาภรณ์ กล่าวในที่สุด
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-