ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. รัฐบาลเตรียมยกร่างกฎหมายเพิ่มโทษเจ้าหนี้ที่คิดดอกเบี้ยในอัตราสูง น.ส.ศันสนีย์ นาคพงศ์
รองโฆษกประจำสำนัก นรม. กล่าวว่า ที่ประชุม ครม. รับทราบมาตรการแก้ไขปัญหาหนี้สินภาคประชาชนตามที่ศูนย์
อำนวยการต่อสู้เพื่อเอาชนะความยากจนแห่งชาติเสนอ โดยครอบคลุมมาตรการแก้ไขปัญหาทั้งสินเชื่อส่วนบุคคลที่
ปล่อยโดยธุรกิจนันแบงก์ และการปล่อยกู้นอกระบบ โดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องยกร่างกฎหมายเพิ่มบทลงโทษเพื่อ
เอาผิดกับเจ้าหนี้ที่คิดดอกเบี้ยในอัตราสูง รวมทั้งเพิ่มบทลงโทษเพื่อป้องกันปัญหา เนื่องจากมีลูกหนี้สินเชื่อบุคคลที่กู้
จากนันแบงก์และบริษัทเงินด่วนถูกเก็บอัตราดอกเบี้ยสูงถึงร้อยละ 58 สูงกว่าเกณฑ์ที่ ธปท. กำหนดให้ไม่เกินร้อย
ละ 28 สำหรับหนี้เงินกู้นอกระบบมักจะมีการเก็บดอกเบี้ยเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้ร้อยละ 15 ต่อปี โดยเจ้าหนี้
มีทั้งข่มขู่ ทำลาย หรือยึดทรัพย์สิน นอกจากนี้ จะมีการตั้งศูนย์ปฏิบัติการกำจัดหนี้ที่ไม่เป็นธรรมเป็นหน่วยกลางรับ
แจ้งเรื่องเดือนร้อน ไกล่เกลี่ย และปรับปรุงโครงสร้างหนี้ โดยมีผู้แทนจากหน่วยงานรัฐ เช่น ก.ยุติธรรม ก.
มหาดไทย ก.คลัง สนง.อัยการสูงสุด สนง.ตำรวจแห่งชาติ กรมสรรพากร ธปท. สภาทนายความ และ ปปง.
หากพบว่ามีนายทุนทำผิดกฎหมายก็จะดำเนินคดีอาญาให้ ปปง. ยึดทรัพย์ และให้กรมสรรพากรเก็บภาษีย้อนหลัง รวม
ทั้งยังตั้งเป้าให้เร่งปราบปรามนายทุนเงินกู้นอกระบบที่มีพฤติกรรมฉ้อโกงและเป็นผู้มีอิทธิพล ซึ่งจะต้องเร่งดำเนิน
การให้เห็นผลชัดเจนใน 6 เดือน หรือ 1 ปี โดยจะเร่งรวบรวมหลักฐานเกี่ยวกับลูกหนี้ 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1
ลูกหนี้ที่ถูกศาลตัดสินแล้ว หรือลูกหนี้ไม่ยอมให้ศาลพิพากษาประนีประนอม กลุ่มที่ 2 ลูกหนี้ที่อยู่ระหว่างถูกฟ้องศาลแต่
ยังไม่ตัดสิน และกลุ่มสุดท้ายคือลูกหนี้ที่เป็นหนี้ปัจจุบันแต่ยังไม่มีการฟ้องร้อง ให้มาลงทะเบียนกับเจ้าหน้าที่เพื่อไกล
เกลี่ยต่อไป (โพสต์ทูเดย์)
2. สศช. ปรับประมาณการเติบโตของเศรษฐกิจปี 48 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 4.7 นายอำพน กิตติ
อำพน เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยว่า จีดีพีในไตรมาส 3 ปี
48 ขยายตัวร้อยละ 5.3 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 4.6 ในไตรมาส 2 เนื่องจากการส่งออกเพิ่มขึ้น ขณะที่การนำเข้า
ชะลอตัวลง ส่วนการท่องเที่ยวและภาคเกษตรปรับตัวดีขึ้น ซึ่งเมื่อรวม 3 ไตรมาสแรกของปี 48 เศรษฐกิจไทย
ขยายตัวร้อยละ 4.7 แต่เงินเฟ้อสูงขึ้นเป็นร้อยละ 5.6 เนื่องจากผลกระทบจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นมาก ใน
ขณะที่ดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดกลับมาเกินดุลเล็กน้อยในไตรมาส 3 ปี 48 จากที่ขาดดุลในสองไตรมาสแรก
ทั้งนี้ เศรษฐกิจยังมีแนวโน้มขยายตัวได้อย่างต่อเนื่องและคาดว่าจีดีพีในไตรมาสสุดท้ายจะขยายตัวร้อยละ 5.4 —
5.5 ซึ่ง สศช. ได้ปรับประมาณการเติบโตของเศรษฐกิจตลอดปี 48 เป็นร้อยละ 4.7 เพิ่มขึ้นจากเดิมที่เคยคาด
การณ์ไว้ที่ร้อยละ 3.8 — 4.3 ส่วนเงินเฟ้อจะอยู่ที่ระดับร้อยละ 4.5 ดุลบัญชีเดินสะพัดจะขาดดุล 3.2 พันล้าน
ดอลลาร์ สรอ. คิดเป็นร้อยละ 1.8 ของจีดีพี สำหรับปี 49 เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวร้อยละ 4.7 —
5.7 จากแรงกระตุ้นของการลงทุนทั้งภาครัฐและเอกชน และการฟื้นตัวอย่างเต็มที่ของการท่องเที่ยว ด้าน นาง
อัจนา ไวความดี ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายการเงิน ธปท. กล่าวว่า เศรษฐกิจไทยยังมีแรงขับเคลื่อนต่อไปได้
โดยเชื่อว่าการส่งออกยังสามารถขยายตัวได้ดี เนื่องจากมียอดคำสั่งซื้อในช่วงปลายปีเป็นจำนวนมาก ประกอบกับจะ
มีการใช้จ่ายช่วงปีใหม่มากขึ้นและคาดว่าเศรษฐกิจในปีหน้าน่าจะดีกว่าปีนี้ (ไทยรัฐ, ผู้จัดการรายวัน, กรุงเทพธุรกิจ)
3. เศรษฐกิจภาคเหนือในเดือน ต.ค. ยังชะลอตัว แต่ภาคเกษตรฟื้นตัวเป็นครั้งแรกในรอบปีนี้
รายงานข่าวจาก ธปท. แจ้งว่า ภาวะเศรษฐกิจและการเงินของภาคเหนือในเดือน ต.ค.ที่ผ่านมา การลงทุนภาค
เอกชนยังคงชะลอตัวจากเดือนก่อน และชะลอจากระยะเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้นส่งผลกระทบ
ต่อกำลังซื้อและต้นทุนการผลิต เช่นเดียวกับภาคบริการที่ชะลอลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน แม้จะได้รับผลดีจากการ
จัดประชุมสัมมนาทั้งจากในประเทศและต่างประเทศ และการจัดงานส่งเสริมการท่องเที่ยวในบางจังหวัด แต่นักท่อง
เที่ยวระวังการใช้จ่ายจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้นและได้รับผลกระทบด้านจิตวิทยาจากสถานการณ์ความไม่สงบในภาคใต้
ตลอดจนภาวะน้ำท่วมภาคเหนือตอนบนอีกครั้ง ทำให้นักท่องเที่ยวบางกลุ่มชะลอการเดินทาง อย่างไรก็ตาม รายได้
เกษตรกรจากการจำหน่ายพืชผลสำคัญทั้งจากราคาและปริมาณเพิ่มขึ้นเป็นเดือนแรกหลังจากที่ลดลงต่อเนื่องตั้งแต่
ปลายปีก่อน เนื่องจากภาวะภัยแล้งคลี่คลาย โดยปริมาณผลผลิตหลักเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 0.5
ขณะที่ราคาพืชผลหลักเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.7 ส่งผลให้รายได้เกษตรกรเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.2 (มติชน)
4. ครม. ยังไม่ลงนามเขตการค้าเสรีอาเซียน - เกาหลีใต้ น.พ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี โฆษก
รัฐบาล เปิดเผยว่า ก.พาณิชย์ได้เสนอร่างความตกลงที่จะมีการลงนามระหว่างการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนที่กรุง
กัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ระหว่างวันที่ 13-14 ธ.ค.นี้ แต่ ครม. เห็นว่า หากลงนามในความตกลงดัง
กล่าวโดยที่สินค้าข้าวยังเป็นบัญชีสินค้าสงวน (Sensitive List) จะทำให้ไทยเสียประโยชน์ ไม่สามารถส่งออก
ข้าวไปยังเกาหลีใต้ ซึ่งไทยคงจะสงวนที่จะไม่ลงนามในเขตการค้าเสรีอาเซียน — เกาหลีใต้ ที่กำหนดจะลงนาม
โดย รมต.เศรษฐกิจอาเซียนระหว่างการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ทั้งนี้ หากความตกลงเขตการค้าเสรีอา
เซียน — เกาหลีใต้ มีผลบังคับใช้จะมีผลให้สินค้าราว 4,000 รายการ ที่ค้าขายระหว่างสองฝ่ายมีภาษีต่ำกว่าร้อย
ละ 20 ทันที และทยอยลดลงเหลือร้อยละ 0 ภายในปี 2552 (ไทยรัฐ)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ยอดสั่งซื้อสินค้าโรงงานของ สรอ.ในเดือน ต.ค.48 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 จากเดือนก่อน
รายงานจากวอชิงตัน เมื่อ 6 ธ.ค.48 ยอดสั่งซื้อสินค้าโรงงานของ สรอ.ในเดือน ต.ค.48 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2
จากเดือนก่อน โดยยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนที่มีอายุใช้งานตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไปเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.7 จากเดือนก่อน ในขณะที่
สินค้าไม่คงทนเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.5 จากเดือนก่อน คำสั่งซื้อสินค้าคงทนที่เพิ่มขึ้นส่วนใหญ่เป็นอุปกรณ์เกี่ยวกับการ
ขนส่งซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.4 จากเดือนก่อนจากความต้องการเครื่องบินและชิ้นส่วนของเครื่องบินรบที่เพิ่มขึ้นถึงร้อย
ละ 142.0 จากเดือนก่อนและความต้องการเครื่องบินโดยสารที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 50.6 จากเดือนก่อน โดยหากไม่
รวมภาคการขนส่งแล้ว ยอดสั่งซื้อจะเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.6 จากเดือนก่อน ในขณะที่ยอดสั่งซื้อสินค้าทุนที่ไม่ใช่เพื่อ
การป้องกันประเทศและไม่รวมยอดสั่งซื้อเครื่องบินโดยสาร ซึ่งสามารถใช้เป็นตัวชี้วัดการใช้จ่ายลงทุนของภาคธุรกิจ
เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4 จากเดือนก่อน หลังจากลดลงร้อยละ 1.8 ในเดือน ก.ย.48 (รอยเตอร์)
2. คาดว่า ธ.กลางอังกฤษจะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 4.5 รายงานจากลอนดอน เมื่อ
วันที่ 6 ธ.ค. 48 ผลการสำรวจนักวิเคราะห์จำนวน 45 คนของรอยเตอร์คาดว่า ในการประชุมคณะกรรมการ
นโยบายการเงินของ ธ.กลางอังกฤษที่จะมีขึ้นในวันพฤหัสบดีนี้ ธ.กลางจะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ
4.5 ติดต่อกันเป็นเดือนที่ 4 โดยจะยังคงติดตามการใช้จ่ายของผู้บริโภคในช่วงฤดูคริสต์มาส และสัญญานที่บ่งชี้แรง
กดดันด้านเงินเฟ้อจากอัตราค่าจ้าง ซึ่งนักเศรษฐศาสตร์มีความรู้สึกว่าธ.กลางอังกฤษมองเศรษฐกิจของประเทศใน
แง่ดีมากเกินไป โดยประเมินผลกระทบจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องน้อยเกินไปรวมทั้งการใช้จ่ายผู้บริโภคที่
ไม่สดใสนัก ซึ่งปัจจัยดังกล่าวอาจกดดันให้นาย Gordon Brown รมว.คลังอังกฤษปรับลดคาดการณ์การเติบโตทาง
เศรษฐกิจของอังกฤษลง และเห็นความจำเป็นที่จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายให้อยู่ในระดับต่ำต่อไปเพื่อกระตุ้น
เศรษฐกิจ อย่างไรก็ตามมีโอกาสที่คณะกรรมการนโยบายการเงินจะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายในช่วงต้นปี 49
เนื่องจากอาจมีการปรับเพิ่มค่าจ้างแรงงานอันจะส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย (รอยเตอร์)
3. ผลผลิตโรงงานของอังกฤษในเดือน ต.ค.48 ลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 ต่ำสุดในรอบ 7
เดือน รายงานจากลอนดอนเมื่อ 6 ธ.ค.48 The Office for National Statistics เปิดเผยว่า ผลผลิต
โรงงาน (Manufacturing output) ของอังกฤษในเดือน ต.ค.48 ลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 ร้อยละ 0.7
เทียบต่อเดือน ต่ำสุดในรอบ 7 เดือนนับตั้งแต่เดือน มี.ค.48 ขณะที่เมื่อเทียบต่อปีลดลงร้อยละ 0.9 สะท้อนภาวะ
ชะลอตัวของภาคโรงงานอังกฤษซึ่งเพิ่งจะเริ่มฟื้นตัวขึ้นในช่วงครึ่งแรกของปี 48 ทั้งนี้ การลดลงของผลผลิตโรง
งาน ประกอบกับการที่ราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้น และความต้องการภายในประเทศชะลอตัว ล้วนส่งผลกระทบอย่าง
หนักต่อเศรษฐกิจของอังกฤษ และอาจส่งผลให้ ก.คลังปรับลดประมาณการการเติบโตทางเศรษฐกิจในปี 48 ลง
สำหรับผลผลิตอุตสาหกรรม (Industrial output) ซึ่งรวมผลิตภัณฑ์น้ำมันและก๊าซ ในเดือนเดียวกัน ก็ลดลงต่ำ
สุดในรอบ 7 เดือน นับตั้งแต่เดือน มี.ค.48 เช่นกัน โดยลดลงร้อยละ 1.0 เทียบต่อเดือน และลดลงร้อยละ
1.8 เมื่อเทียบต่อปี (รอยเตอร์)
4. ยอดสั่งซื้อสินค้าอุตสาหกรรมของเยอรมนีในเดือน ต.ค.48 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0 จากเดือนก่อน
สูงกว่าที่คาดไว้ รายงานจากเบอร์ลิน เมื่อ 6 ธ.ค.48 ยอดสั่งซื้อสินค้าอุตสาหกรรมของเยอรมนีในเดือน ต.
ค.48 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0 จากเดือนก่อนสูงกว่าที่รอยเตอร์คาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 ต่อเดือน โดยส่วนใหญ่
เป็นผลจากความต้องการจากต่างประเทศที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.8 ต่อเดือน โดยแบ่งเป็นสินค้าสำหรับผู้บริโภคเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 5.0 ต่อเดือนและสินค้าขั้นกลางเพื่อนำไปผลิตต่อเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.2 ต่อเดือน ทั้งนี้เป็นผลจากค่าเงินยูโรที่
อ่อนตัวลงร้อยละ 13 เมื่อเทียบกับค่าเงินดอลลาร์ สรอ.นับตั้งแต่ต้นปีนี้ทำให้สินค้าของเยอรมนีมีราคาถูกลงและขาย
ได้มากขึ้นในตลาดโลก ในขณะที่ความต้องการในประเทศก็มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยยอดสั่งซื้อจากในประเทศเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 1.2 ต่อเดือน ตัวเลขยอดสั่งซื้อในเดือน ต.ค.48 ที่สูงขึ้น ทำให้นักวิเคราะห์คาดว่าเศรษฐกิจเยอรมนีจะ
ขยายตัวร้อยละ 0.4 ต่อไตรมาสในไตรมาสที่ 4 ปีนี้หลังจากเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 ในไตรมาสที่ 3 ปีนี้และคาดว่า
เศรษฐกิจในปีหน้าจะขยายตัวร้อยละ 1.8 ต่อปี ในขณะที่นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่คาดว่าเศรษฐกิจในปีนี้จะขยายตัว
ร้อยละ 1.0 ต่อปี (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 7 ธ.ค. 48 6 ธ.ค.48 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 41.374 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 41.1695/41.4633 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.83203 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 679.16/ 18.87 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 9,850/9,950 9,850/9,950 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 53.16 52.46 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) * ปรับลด 40 สตางค์ เมื่อ 30 พ.ย. 48 24.84*/22.69** 24.84*/22.69** 16.99/14.59 ปตท.
** ปรับลด 40 สตางค์ เมื่อ 14 พ.ย. 48
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. รัฐบาลเตรียมยกร่างกฎหมายเพิ่มโทษเจ้าหนี้ที่คิดดอกเบี้ยในอัตราสูง น.ส.ศันสนีย์ นาคพงศ์
รองโฆษกประจำสำนัก นรม. กล่าวว่า ที่ประชุม ครม. รับทราบมาตรการแก้ไขปัญหาหนี้สินภาคประชาชนตามที่ศูนย์
อำนวยการต่อสู้เพื่อเอาชนะความยากจนแห่งชาติเสนอ โดยครอบคลุมมาตรการแก้ไขปัญหาทั้งสินเชื่อส่วนบุคคลที่
ปล่อยโดยธุรกิจนันแบงก์ และการปล่อยกู้นอกระบบ โดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องยกร่างกฎหมายเพิ่มบทลงโทษเพื่อ
เอาผิดกับเจ้าหนี้ที่คิดดอกเบี้ยในอัตราสูง รวมทั้งเพิ่มบทลงโทษเพื่อป้องกันปัญหา เนื่องจากมีลูกหนี้สินเชื่อบุคคลที่กู้
จากนันแบงก์และบริษัทเงินด่วนถูกเก็บอัตราดอกเบี้ยสูงถึงร้อยละ 58 สูงกว่าเกณฑ์ที่ ธปท. กำหนดให้ไม่เกินร้อย
ละ 28 สำหรับหนี้เงินกู้นอกระบบมักจะมีการเก็บดอกเบี้ยเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้ร้อยละ 15 ต่อปี โดยเจ้าหนี้
มีทั้งข่มขู่ ทำลาย หรือยึดทรัพย์สิน นอกจากนี้ จะมีการตั้งศูนย์ปฏิบัติการกำจัดหนี้ที่ไม่เป็นธรรมเป็นหน่วยกลางรับ
แจ้งเรื่องเดือนร้อน ไกล่เกลี่ย และปรับปรุงโครงสร้างหนี้ โดยมีผู้แทนจากหน่วยงานรัฐ เช่น ก.ยุติธรรม ก.
มหาดไทย ก.คลัง สนง.อัยการสูงสุด สนง.ตำรวจแห่งชาติ กรมสรรพากร ธปท. สภาทนายความ และ ปปง.
หากพบว่ามีนายทุนทำผิดกฎหมายก็จะดำเนินคดีอาญาให้ ปปง. ยึดทรัพย์ และให้กรมสรรพากรเก็บภาษีย้อนหลัง รวม
ทั้งยังตั้งเป้าให้เร่งปราบปรามนายทุนเงินกู้นอกระบบที่มีพฤติกรรมฉ้อโกงและเป็นผู้มีอิทธิพล ซึ่งจะต้องเร่งดำเนิน
การให้เห็นผลชัดเจนใน 6 เดือน หรือ 1 ปี โดยจะเร่งรวบรวมหลักฐานเกี่ยวกับลูกหนี้ 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1
ลูกหนี้ที่ถูกศาลตัดสินแล้ว หรือลูกหนี้ไม่ยอมให้ศาลพิพากษาประนีประนอม กลุ่มที่ 2 ลูกหนี้ที่อยู่ระหว่างถูกฟ้องศาลแต่
ยังไม่ตัดสิน และกลุ่มสุดท้ายคือลูกหนี้ที่เป็นหนี้ปัจจุบันแต่ยังไม่มีการฟ้องร้อง ให้มาลงทะเบียนกับเจ้าหน้าที่เพื่อไกล
เกลี่ยต่อไป (โพสต์ทูเดย์)
2. สศช. ปรับประมาณการเติบโตของเศรษฐกิจปี 48 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 4.7 นายอำพน กิตติ
อำพน เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยว่า จีดีพีในไตรมาส 3 ปี
48 ขยายตัวร้อยละ 5.3 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 4.6 ในไตรมาส 2 เนื่องจากการส่งออกเพิ่มขึ้น ขณะที่การนำเข้า
ชะลอตัวลง ส่วนการท่องเที่ยวและภาคเกษตรปรับตัวดีขึ้น ซึ่งเมื่อรวม 3 ไตรมาสแรกของปี 48 เศรษฐกิจไทย
ขยายตัวร้อยละ 4.7 แต่เงินเฟ้อสูงขึ้นเป็นร้อยละ 5.6 เนื่องจากผลกระทบจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นมาก ใน
ขณะที่ดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดกลับมาเกินดุลเล็กน้อยในไตรมาส 3 ปี 48 จากที่ขาดดุลในสองไตรมาสแรก
ทั้งนี้ เศรษฐกิจยังมีแนวโน้มขยายตัวได้อย่างต่อเนื่องและคาดว่าจีดีพีในไตรมาสสุดท้ายจะขยายตัวร้อยละ 5.4 —
5.5 ซึ่ง สศช. ได้ปรับประมาณการเติบโตของเศรษฐกิจตลอดปี 48 เป็นร้อยละ 4.7 เพิ่มขึ้นจากเดิมที่เคยคาด
การณ์ไว้ที่ร้อยละ 3.8 — 4.3 ส่วนเงินเฟ้อจะอยู่ที่ระดับร้อยละ 4.5 ดุลบัญชีเดินสะพัดจะขาดดุล 3.2 พันล้าน
ดอลลาร์ สรอ. คิดเป็นร้อยละ 1.8 ของจีดีพี สำหรับปี 49 เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวร้อยละ 4.7 —
5.7 จากแรงกระตุ้นของการลงทุนทั้งภาครัฐและเอกชน และการฟื้นตัวอย่างเต็มที่ของการท่องเที่ยว ด้าน นาง
อัจนา ไวความดี ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายการเงิน ธปท. กล่าวว่า เศรษฐกิจไทยยังมีแรงขับเคลื่อนต่อไปได้
โดยเชื่อว่าการส่งออกยังสามารถขยายตัวได้ดี เนื่องจากมียอดคำสั่งซื้อในช่วงปลายปีเป็นจำนวนมาก ประกอบกับจะ
มีการใช้จ่ายช่วงปีใหม่มากขึ้นและคาดว่าเศรษฐกิจในปีหน้าน่าจะดีกว่าปีนี้ (ไทยรัฐ, ผู้จัดการรายวัน, กรุงเทพธุรกิจ)
3. เศรษฐกิจภาคเหนือในเดือน ต.ค. ยังชะลอตัว แต่ภาคเกษตรฟื้นตัวเป็นครั้งแรกในรอบปีนี้
รายงานข่าวจาก ธปท. แจ้งว่า ภาวะเศรษฐกิจและการเงินของภาคเหนือในเดือน ต.ค.ที่ผ่านมา การลงทุนภาค
เอกชนยังคงชะลอตัวจากเดือนก่อน และชะลอจากระยะเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้นส่งผลกระทบ
ต่อกำลังซื้อและต้นทุนการผลิต เช่นเดียวกับภาคบริการที่ชะลอลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน แม้จะได้รับผลดีจากการ
จัดประชุมสัมมนาทั้งจากในประเทศและต่างประเทศ และการจัดงานส่งเสริมการท่องเที่ยวในบางจังหวัด แต่นักท่อง
เที่ยวระวังการใช้จ่ายจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้นและได้รับผลกระทบด้านจิตวิทยาจากสถานการณ์ความไม่สงบในภาคใต้
ตลอดจนภาวะน้ำท่วมภาคเหนือตอนบนอีกครั้ง ทำให้นักท่องเที่ยวบางกลุ่มชะลอการเดินทาง อย่างไรก็ตาม รายได้
เกษตรกรจากการจำหน่ายพืชผลสำคัญทั้งจากราคาและปริมาณเพิ่มขึ้นเป็นเดือนแรกหลังจากที่ลดลงต่อเนื่องตั้งแต่
ปลายปีก่อน เนื่องจากภาวะภัยแล้งคลี่คลาย โดยปริมาณผลผลิตหลักเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 0.5
ขณะที่ราคาพืชผลหลักเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.7 ส่งผลให้รายได้เกษตรกรเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.2 (มติชน)
4. ครม. ยังไม่ลงนามเขตการค้าเสรีอาเซียน - เกาหลีใต้ น.พ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี โฆษก
รัฐบาล เปิดเผยว่า ก.พาณิชย์ได้เสนอร่างความตกลงที่จะมีการลงนามระหว่างการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนที่กรุง
กัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ระหว่างวันที่ 13-14 ธ.ค.นี้ แต่ ครม. เห็นว่า หากลงนามในความตกลงดัง
กล่าวโดยที่สินค้าข้าวยังเป็นบัญชีสินค้าสงวน (Sensitive List) จะทำให้ไทยเสียประโยชน์ ไม่สามารถส่งออก
ข้าวไปยังเกาหลีใต้ ซึ่งไทยคงจะสงวนที่จะไม่ลงนามในเขตการค้าเสรีอาเซียน — เกาหลีใต้ ที่กำหนดจะลงนาม
โดย รมต.เศรษฐกิจอาเซียนระหว่างการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ทั้งนี้ หากความตกลงเขตการค้าเสรีอา
เซียน — เกาหลีใต้ มีผลบังคับใช้จะมีผลให้สินค้าราว 4,000 รายการ ที่ค้าขายระหว่างสองฝ่ายมีภาษีต่ำกว่าร้อย
ละ 20 ทันที และทยอยลดลงเหลือร้อยละ 0 ภายในปี 2552 (ไทยรัฐ)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ยอดสั่งซื้อสินค้าโรงงานของ สรอ.ในเดือน ต.ค.48 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 จากเดือนก่อน
รายงานจากวอชิงตัน เมื่อ 6 ธ.ค.48 ยอดสั่งซื้อสินค้าโรงงานของ สรอ.ในเดือน ต.ค.48 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2
จากเดือนก่อน โดยยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนที่มีอายุใช้งานตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไปเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.7 จากเดือนก่อน ในขณะที่
สินค้าไม่คงทนเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.5 จากเดือนก่อน คำสั่งซื้อสินค้าคงทนที่เพิ่มขึ้นส่วนใหญ่เป็นอุปกรณ์เกี่ยวกับการ
ขนส่งซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.4 จากเดือนก่อนจากความต้องการเครื่องบินและชิ้นส่วนของเครื่องบินรบที่เพิ่มขึ้นถึงร้อย
ละ 142.0 จากเดือนก่อนและความต้องการเครื่องบินโดยสารที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 50.6 จากเดือนก่อน โดยหากไม่
รวมภาคการขนส่งแล้ว ยอดสั่งซื้อจะเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.6 จากเดือนก่อน ในขณะที่ยอดสั่งซื้อสินค้าทุนที่ไม่ใช่เพื่อ
การป้องกันประเทศและไม่รวมยอดสั่งซื้อเครื่องบินโดยสาร ซึ่งสามารถใช้เป็นตัวชี้วัดการใช้จ่ายลงทุนของภาคธุรกิจ
เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4 จากเดือนก่อน หลังจากลดลงร้อยละ 1.8 ในเดือน ก.ย.48 (รอยเตอร์)
2. คาดว่า ธ.กลางอังกฤษจะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 4.5 รายงานจากลอนดอน เมื่อ
วันที่ 6 ธ.ค. 48 ผลการสำรวจนักวิเคราะห์จำนวน 45 คนของรอยเตอร์คาดว่า ในการประชุมคณะกรรมการ
นโยบายการเงินของ ธ.กลางอังกฤษที่จะมีขึ้นในวันพฤหัสบดีนี้ ธ.กลางจะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ
4.5 ติดต่อกันเป็นเดือนที่ 4 โดยจะยังคงติดตามการใช้จ่ายของผู้บริโภคในช่วงฤดูคริสต์มาส และสัญญานที่บ่งชี้แรง
กดดันด้านเงินเฟ้อจากอัตราค่าจ้าง ซึ่งนักเศรษฐศาสตร์มีความรู้สึกว่าธ.กลางอังกฤษมองเศรษฐกิจของประเทศใน
แง่ดีมากเกินไป โดยประเมินผลกระทบจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องน้อยเกินไปรวมทั้งการใช้จ่ายผู้บริโภคที่
ไม่สดใสนัก ซึ่งปัจจัยดังกล่าวอาจกดดันให้นาย Gordon Brown รมว.คลังอังกฤษปรับลดคาดการณ์การเติบโตทาง
เศรษฐกิจของอังกฤษลง และเห็นความจำเป็นที่จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายให้อยู่ในระดับต่ำต่อไปเพื่อกระตุ้น
เศรษฐกิจ อย่างไรก็ตามมีโอกาสที่คณะกรรมการนโยบายการเงินจะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายในช่วงต้นปี 49
เนื่องจากอาจมีการปรับเพิ่มค่าจ้างแรงงานอันจะส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย (รอยเตอร์)
3. ผลผลิตโรงงานของอังกฤษในเดือน ต.ค.48 ลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 ต่ำสุดในรอบ 7
เดือน รายงานจากลอนดอนเมื่อ 6 ธ.ค.48 The Office for National Statistics เปิดเผยว่า ผลผลิต
โรงงาน (Manufacturing output) ของอังกฤษในเดือน ต.ค.48 ลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 ร้อยละ 0.7
เทียบต่อเดือน ต่ำสุดในรอบ 7 เดือนนับตั้งแต่เดือน มี.ค.48 ขณะที่เมื่อเทียบต่อปีลดลงร้อยละ 0.9 สะท้อนภาวะ
ชะลอตัวของภาคโรงงานอังกฤษซึ่งเพิ่งจะเริ่มฟื้นตัวขึ้นในช่วงครึ่งแรกของปี 48 ทั้งนี้ การลดลงของผลผลิตโรง
งาน ประกอบกับการที่ราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้น และความต้องการภายในประเทศชะลอตัว ล้วนส่งผลกระทบอย่าง
หนักต่อเศรษฐกิจของอังกฤษ และอาจส่งผลให้ ก.คลังปรับลดประมาณการการเติบโตทางเศรษฐกิจในปี 48 ลง
สำหรับผลผลิตอุตสาหกรรม (Industrial output) ซึ่งรวมผลิตภัณฑ์น้ำมันและก๊าซ ในเดือนเดียวกัน ก็ลดลงต่ำ
สุดในรอบ 7 เดือน นับตั้งแต่เดือน มี.ค.48 เช่นกัน โดยลดลงร้อยละ 1.0 เทียบต่อเดือน และลดลงร้อยละ
1.8 เมื่อเทียบต่อปี (รอยเตอร์)
4. ยอดสั่งซื้อสินค้าอุตสาหกรรมของเยอรมนีในเดือน ต.ค.48 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0 จากเดือนก่อน
สูงกว่าที่คาดไว้ รายงานจากเบอร์ลิน เมื่อ 6 ธ.ค.48 ยอดสั่งซื้อสินค้าอุตสาหกรรมของเยอรมนีในเดือน ต.
ค.48 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0 จากเดือนก่อนสูงกว่าที่รอยเตอร์คาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 ต่อเดือน โดยส่วนใหญ่
เป็นผลจากความต้องการจากต่างประเทศที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.8 ต่อเดือน โดยแบ่งเป็นสินค้าสำหรับผู้บริโภคเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 5.0 ต่อเดือนและสินค้าขั้นกลางเพื่อนำไปผลิตต่อเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.2 ต่อเดือน ทั้งนี้เป็นผลจากค่าเงินยูโรที่
อ่อนตัวลงร้อยละ 13 เมื่อเทียบกับค่าเงินดอลลาร์ สรอ.นับตั้งแต่ต้นปีนี้ทำให้สินค้าของเยอรมนีมีราคาถูกลงและขาย
ได้มากขึ้นในตลาดโลก ในขณะที่ความต้องการในประเทศก็มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยยอดสั่งซื้อจากในประเทศเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 1.2 ต่อเดือน ตัวเลขยอดสั่งซื้อในเดือน ต.ค.48 ที่สูงขึ้น ทำให้นักวิเคราะห์คาดว่าเศรษฐกิจเยอรมนีจะ
ขยายตัวร้อยละ 0.4 ต่อไตรมาสในไตรมาสที่ 4 ปีนี้หลังจากเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 ในไตรมาสที่ 3 ปีนี้และคาดว่า
เศรษฐกิจในปีหน้าจะขยายตัวร้อยละ 1.8 ต่อปี ในขณะที่นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่คาดว่าเศรษฐกิจในปีนี้จะขยายตัว
ร้อยละ 1.0 ต่อปี (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 7 ธ.ค. 48 6 ธ.ค.48 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 41.374 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 41.1695/41.4633 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.83203 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 679.16/ 18.87 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 9,850/9,950 9,850/9,950 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 53.16 52.46 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) * ปรับลด 40 สตางค์ เมื่อ 30 พ.ย. 48 24.84*/22.69** 24.84*/22.69** 16.99/14.59 ปตท.
** ปรับลด 40 สตางค์ เมื่อ 14 พ.ย. 48
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--