พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรตั้งแต่ระหว่างวันที่ 9 - 10 พ.ย. พ.ศ. 2548

ข่าวทั่วไป Wednesday November 9, 2005 14:25 —กรมอุตุนิยมวิทยา

          พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร  
วันพุธที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548 ฉบับที่ 134 /2548
คาดหมายลักษณะอากาศเพื่อการเกษตรใน 7 วันข้างหน้า
ตั้งแต่วันที่ 9-15 พฤศจิกายน 2548
ในช่วงวันที่ 9-10 พ.ย. แนวพัดสอบเข้าหากันของลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พาดผ่านประเทศไทย ตอนบน และร่องความกดอากาศต่ำพาดผ่านภาคใต้ตอนล่าง จึงทำให้ทั่วทุกภาคประเทศไทยรวมทั้งกรุงเทพมหานครมีฝนหนาแน่นในระยะนี้ ในช่วงวันที่ 11-14 พ.ย. ลมตะวันออกพัดปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้มีฝนลดน้อยลง สำหรับร่องความกด อากาศต่ำยังคงพาดผ่านภาคใต้ตอนล่าง ทำให้ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองอยู่ในเกณฑ์กระจาย
ข้อควรระวัง
ในภาคใต้ฝั่งตะวันออกมีฝนตกหนักบางพื้นที่ เกษตรกรที่อยู่บริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันออกควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว
ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่างๆในระยะ7วันข้างหน้ามีดังนี้
เหนือ
ลักษณอากาศ
# ในช่วงวันที่ 9-10 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย 30-60 %ของพื้นที่ ต่อจากนั้นจะมีฝนลดลง และอากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า ส่วนยอดดอยอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 10-12 องศา ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม.
ผลกระทบต่อการเกษตร
# ในช่วงวันที่ 9-10 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ถึงกระจาย 30-60 % ของพื้นที่ ต่อจากนั้นจะมีฝนลดลง และอากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า ส่วนยอดดอยอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 10-12 องศา ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม. เกษตรกรควรให้ความอบอุ่นแก่ตนเองและสัตว์เลี้ยง สำหรับผลผลิตที่เก็บเกี่ยวมาแล้วต้องระวังการเปียกชื้น
ตะวันออกเฉียงเหนือ
ลักษณะอากาศ
# ในช่วงวันที่ 9-10 พ.ย.มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย 20-40% ของพื้นที่ส่วนมากทางตอนล่างของภาค ต่อจากนั้นมีฝนลดลง ทางตอนบนของภาคมีอากาศเย็นและมีหมอกบางในตอนเช้า บริเวณยอดภูมีอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 13-15 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.
ผลกระทบต่อการเกษตร
# ในช่วงวันที่ 9-10 พ.ย.มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ถึงกระจาย 20-40% ของพื้นที่ส่วนมากทางตอนล่างของภาค ต่อจากนั้นมีฝนลดลง สำหรับข้าวนาปีที่อยู่ในระยะตั้งท้องและออกรวงต้องระวังอย่าให้ข้าวขาดน้ำ เพราะจะส่งผลต่อเนื่องทำให้ผลผลิตลดลง รวมทั้งควรวางแผนการใช้น้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุด ส่วนทางตอนบนของภาคมีอากาศเย็นและมีหมอกบางในตอนเช้า บริเวณยอดภูมีอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 13-15 องศา ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.
กลาง
ลักษณะอากาศ
# ในช่วงวันที่ 9-10 พ.ย.มีฝนฟ้าคะนองกระจาย 40-60 %ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ต่อจากนั้นจะมีฝนฟ้าคะนองบางพื้นที่ถึงเป็นแห่งๆ 10-30%ของพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม.
ผลกระทบต่อการเกษตร
# ในช่วงวันที่ 9-10 พ.ย.มีฝนฟ้าคะนองกระจาย 40-60 % ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ต่อจากนั้นจะมีฝนฟ้าคะนองบางพื้นที่ถึงเป็นแห่งๆ 10-30% ของพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม. สำหรับบริเวณที่มีฝนตกโดยเฉพาะทางตอนล่างของภาค เกษตรกรควรระวังการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคเน่าเละใน ผักตระกูลกะหล่ำ
ตะวันออก
ลักษณะอากาศ
#ในช่วงวันที่ 9-10 พ.ย.มีฝนฟ้าคะนองกระจาย 40-60 %ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนตั้งแต่ในวันที่ 11 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองบางบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ 10-30%ของพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร
ผลกระทบต่อการเกษตร
# ในช่วงวันที่ 9-10 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย 40-60 % ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังการระบาดของโรคเน่าคอดินในถั่วเขียวและถั่วลิสง ส่วนตั้งแต่วันที่ 11 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ 10-30% ของพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. เกษตรกรควรกักเก็บน้ำไว้ใช้เนื่องจากระยะต่อไปปริมาณฝนจะลดลง
ใต้
ลักษณะอากาศ
# ในช่วงวันที่ 9-12 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองเกือบทั่วไป 70-80 %ของพื้นที่และมีฝนตกหนักบางพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 13-15 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย 40-60 %ของพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม/ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร
# มีฝนฟ้าคะนองกระจาย 40-60% ของพื้นที่ตลอดช่วง ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม/ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร
ผลกระทบต่อการเกษตร
# ฝั่งตะวันออกในช่วงวันที่ 9-12 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองเกือบทั่วไป 70-80 % ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 13-15 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย 40-60 % ของพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม/ชม. ส่วนทางฝั่งตะวันตกมีฝนฟ้าคะนองกระจาย 40-60% ของพื้นที่ตลอดช่วง ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม/ชม. เกษตรควรขุดลอกคูคลองและทางระบายน้ำเพื่อป้องกันน้ำท่วมในช่วงที่มีฝนตกหนัก สำหรับชาวสวนยางพารา ควรดูแลบริเวณสวนให้โปร่งอากาศถ่ายเทสะดวกเพื่อลดความชื้นภายในสวน และป้องกันการระบาดของโรคพืช ที่เกิดจากเชื้อรา
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74
-สส-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ