สำนักงานเศรษฐกิจการคลังรายงานภาวะเศรษฐกิจไทยโดยรวมในเดือนตุลาคม พบว่าขยายตัวใกล้เคียงกับเดือนก่อน โดยเศรษฐกิจภาคอุปทานยังอยู่ในเกณฑ์ดี ขณะที่การจ้างงานมีแนวโน้มที่จะสามารถขยายตัวต่อไปได้ในไตรมาสที่ 4 อันเป็นผลจากการฟื้นตัวของการจ้างงานในภาคอุตสาหกรรม และภาคบริการ โดยเฉพาะการจ้างงานภาคการโรงแรมปรับตัวดีขึ้นตามการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว โดยจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศ โดยเฉพาะจากยุโรป และอเมริกากลับมาขยายตัวสูงขึ้นจากเดือนก่อน ขณะที่ภาคการค้าต่างประเทศชะลอตัวลง และการนำเข้าก็ยังคงชะลอตัวลงตามเป้าหมายของนโยบายบริหารการนำเข้า โดยการนำเข้าน้ำมันดิบลดลงอย่างต่อเนื่อง เช่นเดียวกับสินค้ากลุ่มเหล็ก สำหรับความเชื่อมั่นของผู้บริโภค และภาคธุรกิจต่อเศรษฐกิจไทยได้เริ่มฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นสัญญาณที่ดีต่อแนวโน้มของเศรษฐกิจในอนาคต ขณะที่ระดับราคาภายในประเทศปรับตัวสูงตามแรงกดดันของราคาน้ำมันเชื้อเพลิง และอาหาร แต่คาดว่าแรงกดดันจากราคาน้ำมันจะลดลง เนื่องจากราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกได้ชะลอตัวลงมาบ้างแล้ว
นายสมชัย สัจจพงษ์ รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง และโฆษกกระทรวงการคลัง แถลงรายงานภาวะเศรษฐกิจการคลังประจำเดือนตุลาคม 2548 ดังนี้
การจ้างงานในระบบเศรษฐกิจโดยรวมชะลอตัวจากเดือนก่อนเล็กน้อย และคาดว่าการจ้างงานในไตรมาสที่ 4 จะขยายตัวใกล้เคียงกับในไตรมาสที่ 3 โดยระดับการจ้างงานในระบบเศรษฐกิจที่อยู่ในระดับสูงสะท้อนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจากไตรมาสที่ 1 และ 2 โดยอัตราการว่างงานในเดือนตุลาคม อยู่ที่ร้อยละ 1.8 ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการจ้างงานในภาคการเกษตรที่มีสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 38 ของการจ้างงานรวมปรับตัวลดลง
การจ้างงานในภาคเกษตรกลับมาหดตัวลง โดยลดลงร้อยละ 1.0 ต่อปี ในเดือนตุลาคม ซึ่งเป็นผลจากการว่างงานตามฤดูกาลก่อนการเก็บเกี่ยวพืชผลประจำปี สำหรับแนวโน้มในระยะต่อไป คาดว่าผลผลิตการเกษตรจะปรับตัวดีขึ้น จะช่วยสนับสนุนการขยายตัวเศรษฐกิจภาคเกษตร เนื่องจากปัญหาจากภัยแล้งได้คลี่คลายไปแล้ว ขณะที่ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรหลักในเดือนกันยายน ขยายตัวร้อยละ 2.4 ชะลอตัวลงจากร้อยละ 4.2 ในเดือนก่อน โดยมีปัจจัยบวกจากผลผลิตข้าวนาปีในฤดูกาลเพาะปลูกใหม่ และปาล์มน้ำมันออกสู่ตลาดเป็นหลัก ขณะที่พืชผลหลักอื่นส่วนใหญ่ปรับตัวลดลง หลังผ่านฤดูเก็บเกี่ยว
การจ้างงานในภาคอุตสาหกรรมในเดือนตุลาคมโดยรวมปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนเพื่อการผลิตตามคำสั่งซื้อก่อนสิ้นปี โดยขยายตัวร้อยละ 2.9 อย่างไรก็ตาม ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเดือนกันยายนขยายตัวได้ร้อยละ 4.9 ชะลอตัวลงจากเดือนก่อนหน้า โดยอุตสาหกรรมที่ยังมีการขยายตัวได้ดี ได้แก่ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถขยายตัวร้อยละ 11.4 โดยเฉพาะการผลิตแผงวงจร หมวดยาง และผลิตภัณฑ์ยาง รวมทั้งหมวดเคมีภัณฑ์ ก็ยังเติบโตได้ดีที่ร้อยละ 16.1 เช่นเดียวกับหมวดปิโตรเลียม และหมวดยานยนต์สามารถขยายตัวได้ดี
ภาคการบริการปรับตัวดีขึ้น โดยการจ้างงานภาคการบริการเดือนตุลาคมขยายตัวร้อยละ 1.6 ต่อปี ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อน เนื่องมาจากการขยายตัวของการจ้างงานในภาคขนส่ง และภาคการเงิน ขณะที่ภาคก่อสร้าง และภาคการค้า การจ้างงานยังคงลดลง เนื่องจากยังอยู่ในช่วงหน้าฝน ประกอบกับระดับราคาสินค้าที่สูงขึ้น กดดันกำลังซื้อของผู้บริโภค ทำให้ผู้บริโภคมีความรอบคอบมากขึ้นในการใช้จ่าย ขณะที่จำนวนนักท่องเที่ยวที่ผ่านท่าอากาศยานกรุงเทพเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 47,634 คน ส่วนหนึ่งเป็นผลจากจำนวนนักท่องเที่ยวจากยุโรปและอเมริกาที่เพิ่มขึ้น ขณะที่อัตราการขยายตัวของนักท่องเที่ยวขยายตัวร้อยละ 6.5 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 5.9 ในเดือนก่อน
การบริโภคภาคเอกชนขยายตัวได้ดีขึ้น ส่วนหนึ่งมาจากความเชื่อมั่นผู้บริโภคต่อเศรษฐกิจปรับตัวดีขึ้น โดยเครื่องชี้การบริโภคภาคเอกชนจากการจัดเก็บรายได้จากภาษีมูลค่าเพิ่มในเดือนตุลาคมขยายตัวร้อยละ 22.3 ซึ่งแม้ว่ารายได้ที่สูงขึ้นนั้นจะมาจากผลของราคาที่สูงขึ้น แต่เมื่อหักผลด้านราคาออกแล้วยังพบว่าปริมาณการจัดเก็บรายได้เพิ่มมากขึ้นจากเดือนก่อน ขณะที่การลงทุนภาคเอกชนทั้งในด้านเครื่องจักร และการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์อยู่ในระดับที่ทรงตัว
อัตราการขยายตัวของการส่งออกชะลอตัวลง โดยในเดือนตุลาคมมีการขยายตัวร้อยละ 8.4 เป็นมูลค่า 9,574 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยเป็นการชะลอตัวของการส่งออกสินค้าในเกือบทุกรายการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสินค้าอุตสาหกรรม เช่น เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ ที่มีการขยายตัวร้อยละ 9.5 จากที่เคยขยายตัวได้ร้อยละ 16.3 และ 27.7 ในเดือนสิงหาคม และกันยายนตามลำดับ เนื่องจากความต้องการในตลาดลดลงประกอบกับสินค้าจากประเทศจีนเข้ามาตีตลาด อย่างไรก็ตาม การส่งออกรถยนต์ยังคงมีแนวโน้มที่ดี มีการขยายตัวในอัตราเดียวกับเดือนก่อนและคาดว่าน่าจะมีความต้องการเพิ่มขึ้นในช่วงปลายปี ในส่วนของสินค้าเกษตรข้าวและข้าวโพดมีการส่งออกลดลง ในขณะที่มันสำปะหลังกลับมาขยายตัวเพิ่มขึ้นอีกครั้งหลังจากมีการส่งออกที่ลดลงในช่วงเดือนสิงหาคม และกันยายน
อัตราการขยายตัวของการนำเข้าชะลอตัวลงต่อเนื่องกันเป็นเดือนที่ 4 โดยในเดือนตุลาคมมีการนำเข้าเป็นมูลค่า 9,760 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 18.3 ซึ่งหากการนำเข้ามีการขยายตัวในอัตรานี้ต่อไป การนำเข้าเฉลี่ยทั้งปีของปี 2548 อาจจะต่ำกว่าเป้าหมายการควบคุมการนำเข้าที่ร้อยละ 28 สินค้าที่มีการนำเข้าลดลงอย่างมาก ได้แก่ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ หดตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 16.4 และปริมาณการนำเข้าที่ลดลงร้อยละ 27.0 ส่วนทองคำที่กำลังเป็นที่จับตาอยู่นั้น ปริมาณการนำเข้าทองคำในเดือนตุลาคมกลับเพิ่มขึ้นร้อยละ 44.4 สำหรับดุลการค้าในเดือนตุลาคมพบว่าขาดดุลทั้งสิ้น 185.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งเป็นการขาดดุลครั้งแรกในรอบ 2 เดือนหลังจากที่เกินดุลต่อเนื่องกันมาในเดือนสิงหาคม-กันยายน เนื่องจากการนำเข้าเครื่องบินของบริษัทการบินไทย
เงินเฟ้อปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากแรงกดดันจากราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่ยังคงขยายตัวในระดับสูงแล้ว ราคาในหมวดอาหารก็ปรับตัวสูงขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มผักและผลไม้ในช่วงเทศกาลกินเจ โดยอัตราเงินเฟ้อขยายตัวร้อยละ 6.2 ต่อปีในเดือนตุลาคม สูงขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อน โดยสินค้าหมวดอาหารปรับตัวสูงขึ้นถึงร้อยละ 7.0 โดยเฉพาะในหมวดเนื้อสัตว์และผักผลไม้ ส่วนสินค้าหมวดที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มปรับตัวสูงขึ้นร้อยละ 5.9 โดยเฉพาะสินค้าประเภทพลังงานและค่าโดยสาร สำหรับดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานขยายตัวร้อยละ 2.4 ต่อปี
--ข่าวสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง--
นายสมชัย สัจจพงษ์ รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง และโฆษกกระทรวงการคลัง แถลงรายงานภาวะเศรษฐกิจการคลังประจำเดือนตุลาคม 2548 ดังนี้
การจ้างงานในระบบเศรษฐกิจโดยรวมชะลอตัวจากเดือนก่อนเล็กน้อย และคาดว่าการจ้างงานในไตรมาสที่ 4 จะขยายตัวใกล้เคียงกับในไตรมาสที่ 3 โดยระดับการจ้างงานในระบบเศรษฐกิจที่อยู่ในระดับสูงสะท้อนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจากไตรมาสที่ 1 และ 2 โดยอัตราการว่างงานในเดือนตุลาคม อยู่ที่ร้อยละ 1.8 ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการจ้างงานในภาคการเกษตรที่มีสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 38 ของการจ้างงานรวมปรับตัวลดลง
การจ้างงานในภาคเกษตรกลับมาหดตัวลง โดยลดลงร้อยละ 1.0 ต่อปี ในเดือนตุลาคม ซึ่งเป็นผลจากการว่างงานตามฤดูกาลก่อนการเก็บเกี่ยวพืชผลประจำปี สำหรับแนวโน้มในระยะต่อไป คาดว่าผลผลิตการเกษตรจะปรับตัวดีขึ้น จะช่วยสนับสนุนการขยายตัวเศรษฐกิจภาคเกษตร เนื่องจากปัญหาจากภัยแล้งได้คลี่คลายไปแล้ว ขณะที่ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรหลักในเดือนกันยายน ขยายตัวร้อยละ 2.4 ชะลอตัวลงจากร้อยละ 4.2 ในเดือนก่อน โดยมีปัจจัยบวกจากผลผลิตข้าวนาปีในฤดูกาลเพาะปลูกใหม่ และปาล์มน้ำมันออกสู่ตลาดเป็นหลัก ขณะที่พืชผลหลักอื่นส่วนใหญ่ปรับตัวลดลง หลังผ่านฤดูเก็บเกี่ยว
การจ้างงานในภาคอุตสาหกรรมในเดือนตุลาคมโดยรวมปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนเพื่อการผลิตตามคำสั่งซื้อก่อนสิ้นปี โดยขยายตัวร้อยละ 2.9 อย่างไรก็ตาม ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเดือนกันยายนขยายตัวได้ร้อยละ 4.9 ชะลอตัวลงจากเดือนก่อนหน้า โดยอุตสาหกรรมที่ยังมีการขยายตัวได้ดี ได้แก่ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถขยายตัวร้อยละ 11.4 โดยเฉพาะการผลิตแผงวงจร หมวดยาง และผลิตภัณฑ์ยาง รวมทั้งหมวดเคมีภัณฑ์ ก็ยังเติบโตได้ดีที่ร้อยละ 16.1 เช่นเดียวกับหมวดปิโตรเลียม และหมวดยานยนต์สามารถขยายตัวได้ดี
ภาคการบริการปรับตัวดีขึ้น โดยการจ้างงานภาคการบริการเดือนตุลาคมขยายตัวร้อยละ 1.6 ต่อปี ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อน เนื่องมาจากการขยายตัวของการจ้างงานในภาคขนส่ง และภาคการเงิน ขณะที่ภาคก่อสร้าง และภาคการค้า การจ้างงานยังคงลดลง เนื่องจากยังอยู่ในช่วงหน้าฝน ประกอบกับระดับราคาสินค้าที่สูงขึ้น กดดันกำลังซื้อของผู้บริโภค ทำให้ผู้บริโภคมีความรอบคอบมากขึ้นในการใช้จ่าย ขณะที่จำนวนนักท่องเที่ยวที่ผ่านท่าอากาศยานกรุงเทพเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 47,634 คน ส่วนหนึ่งเป็นผลจากจำนวนนักท่องเที่ยวจากยุโรปและอเมริกาที่เพิ่มขึ้น ขณะที่อัตราการขยายตัวของนักท่องเที่ยวขยายตัวร้อยละ 6.5 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 5.9 ในเดือนก่อน
การบริโภคภาคเอกชนขยายตัวได้ดีขึ้น ส่วนหนึ่งมาจากความเชื่อมั่นผู้บริโภคต่อเศรษฐกิจปรับตัวดีขึ้น โดยเครื่องชี้การบริโภคภาคเอกชนจากการจัดเก็บรายได้จากภาษีมูลค่าเพิ่มในเดือนตุลาคมขยายตัวร้อยละ 22.3 ซึ่งแม้ว่ารายได้ที่สูงขึ้นนั้นจะมาจากผลของราคาที่สูงขึ้น แต่เมื่อหักผลด้านราคาออกแล้วยังพบว่าปริมาณการจัดเก็บรายได้เพิ่มมากขึ้นจากเดือนก่อน ขณะที่การลงทุนภาคเอกชนทั้งในด้านเครื่องจักร และการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์อยู่ในระดับที่ทรงตัว
อัตราการขยายตัวของการส่งออกชะลอตัวลง โดยในเดือนตุลาคมมีการขยายตัวร้อยละ 8.4 เป็นมูลค่า 9,574 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยเป็นการชะลอตัวของการส่งออกสินค้าในเกือบทุกรายการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสินค้าอุตสาหกรรม เช่น เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ ที่มีการขยายตัวร้อยละ 9.5 จากที่เคยขยายตัวได้ร้อยละ 16.3 และ 27.7 ในเดือนสิงหาคม และกันยายนตามลำดับ เนื่องจากความต้องการในตลาดลดลงประกอบกับสินค้าจากประเทศจีนเข้ามาตีตลาด อย่างไรก็ตาม การส่งออกรถยนต์ยังคงมีแนวโน้มที่ดี มีการขยายตัวในอัตราเดียวกับเดือนก่อนและคาดว่าน่าจะมีความต้องการเพิ่มขึ้นในช่วงปลายปี ในส่วนของสินค้าเกษตรข้าวและข้าวโพดมีการส่งออกลดลง ในขณะที่มันสำปะหลังกลับมาขยายตัวเพิ่มขึ้นอีกครั้งหลังจากมีการส่งออกที่ลดลงในช่วงเดือนสิงหาคม และกันยายน
อัตราการขยายตัวของการนำเข้าชะลอตัวลงต่อเนื่องกันเป็นเดือนที่ 4 โดยในเดือนตุลาคมมีการนำเข้าเป็นมูลค่า 9,760 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 18.3 ซึ่งหากการนำเข้ามีการขยายตัวในอัตรานี้ต่อไป การนำเข้าเฉลี่ยทั้งปีของปี 2548 อาจจะต่ำกว่าเป้าหมายการควบคุมการนำเข้าที่ร้อยละ 28 สินค้าที่มีการนำเข้าลดลงอย่างมาก ได้แก่ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ หดตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 16.4 และปริมาณการนำเข้าที่ลดลงร้อยละ 27.0 ส่วนทองคำที่กำลังเป็นที่จับตาอยู่นั้น ปริมาณการนำเข้าทองคำในเดือนตุลาคมกลับเพิ่มขึ้นร้อยละ 44.4 สำหรับดุลการค้าในเดือนตุลาคมพบว่าขาดดุลทั้งสิ้น 185.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งเป็นการขาดดุลครั้งแรกในรอบ 2 เดือนหลังจากที่เกินดุลต่อเนื่องกันมาในเดือนสิงหาคม-กันยายน เนื่องจากการนำเข้าเครื่องบินของบริษัทการบินไทย
เงินเฟ้อปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากแรงกดดันจากราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่ยังคงขยายตัวในระดับสูงแล้ว ราคาในหมวดอาหารก็ปรับตัวสูงขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มผักและผลไม้ในช่วงเทศกาลกินเจ โดยอัตราเงินเฟ้อขยายตัวร้อยละ 6.2 ต่อปีในเดือนตุลาคม สูงขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อน โดยสินค้าหมวดอาหารปรับตัวสูงขึ้นถึงร้อยละ 7.0 โดยเฉพาะในหมวดเนื้อสัตว์และผักผลไม้ ส่วนสินค้าหมวดที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มปรับตัวสูงขึ้นร้อยละ 5.9 โดยเฉพาะสินค้าประเภทพลังงานและค่าโดยสาร สำหรับดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานขยายตัวร้อยละ 2.4 ต่อปี
--ข่าวสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง--