1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 โครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปี 2547/48
เป้าหมายรับจำนำ 9 ล้านตันข้าวเปลือก ดำเนินการโดย
- ธ.ก.ส. รับจำนำในยุ้งฉางของเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร เป้าหมาย 4.5 ล้านตันข้าวเปลือก แบ่งออกเป็น ข้าว
หอมมะลิ 3 ล้านตัน ข้าวเปลือกเจ้า 0.5 ล้านตัน และข้าวเปลือกเหนียว 1 ล้านตัน
- อคส. รับจำนำจากเกษตรกรและสถาบันเกษตรกรที่ไม่มียุ้งฉางของตนเอง โดยออกใบประทวนให้เกษตรกรไปจำนำ ธ.
ก.ส. เป้าหมาย 4.5 ล้านตันข้าวเปลือก แบ่งออกเป็นข้าวหอมมะลิ 2 ล้านตัน และข้าวเปลือกเจ้า 2.5 ล้านตัน
ราคารับจำนำ กำหนดราคารับจำนำข้าว ณ ระดับความชื้น 15% แยกตามชนิดข้าว
เริ่มรับจำนำ 1 พย.47- 31 มีค.48 ยกเว้นภาคใต้ให้รับจำนำ 15 มค.-15 พค.48
ระยะเวลาไถ่ถอน 3 เดือน นับถัดจากเดือนที่จำนำ
ระยะเวลาโครงการ 1 พย.47 -31 ตค.48
ผลการดำเนินงาน
สรุปผลการดำเนินงานรับจำนำข้าว (ณ.วันที่ 31 ตค.48)
รายการ เป้าหมาย การรับจำนำ ไถ่ถอน คงเหลือ
(ล้านตัน) ราย ปริมาณ มูลค่า ร้อยละของ ราย ปริมาณ มูลค่า ราย ปริมาณ มูลค่า
(ตัน) (ล้านบาท) เป้าหมาย (ตัน) (ล้านบาท) (ตัน) (ล้านบาท)
จำนำยุ้งฉาง ธกส. 4.5 59,146 304,850 2,762 6.77 44,074 173,134 1,530 15,072 131,716 1,232
ใบประทวน อคส. 4.5 442,432 4,455,516 36,512 99.01 4,238 174,883 1,499 438,195 4,280,633 35,013
รวมทั้งหมด 9 501,578 4,760,366 39,274 52.89 48,312 348,017 3,029 453,267 4,412,349 36,245
ที่มา : ธ.ก.ส. (กองธุรกิจสินเชื่อนโยบายรัฐ)
1.2 โครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปรัง ปี 2548
- เป้าหมายรับจำนำ 2.5 ล้านตันข้าวเปลือก โดยให้องค์การคลังสินค้า (อคส.) รับฝากและออก
ใบประทวน และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) รับจำนำใบประทวนที่ อคส. ออกให้แก่เกษตรกรและ
สถาบันเกษตรกร
- ราคารับจำนำ กำหนดราคารับจำนำ ณ ระดับความชื้นไม่เกิน 15% สูงกว่าราคารับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปี 2547/48 ตันละ
100 บาท ดังนี้ ข้าวเปลือกเจ้านาปรัง 100% ตันละ 6,700 บาท บาท ส่วนข้าวเปลือกเจ้าชนิดอื่นๆ ลดหลั่นลงชั้นละ 100 บาท ข้าวเปลือก
ปทุมธานี ตันละ 6,700 บาท และข้าวเปลือกหอมสุพรรณบุรี ตันละ 6,600 บาท
- เริ่มรับจำนำ 15 เม.ย. — 15 ส.ค. 2548 ยกเว้นภาคใต้ให้รับจำนำ ก.ค. — ก.ย. 2548
- ระยะเวลาไถ่ถอน 3 เดือน นับถัดจากเดือนที่รับจำนำ
- ระยะเวลาโครงการ 15 เม.ย. — ธ.ค. 2548
- ผลการดำเนินงาน (ณ วันที่ 30 กย.48) อคส. รับจำนำข้าวจำนวน 797,778 ตัน
การซื้อขายข้าวในช่วงสัปดาห์นี้ ภาวะการค้าข้าวค่อนข้างเงียบเหงา ผลผลิตข้าวนาปีเริ่มเข้าสู่ตลาดมากขึ้น ในขณะที่การซื้อขายมีน้อย
เนื่องจากไม่มีคำสั่งซื้อใหม่ ๆ จากต่างประเทศผู้ส่งออกบางรายออกมารับซื้อในราคาต่ำ ส่งผลให้ราคาข้าวลดลงในทุกตลาด
การส่งออก
ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม — 31 ตุลาคม 2548 ไทยส่งออกข้าวทั้งหมด จำนวน 6,061,971 ตัน ลดลงจาก 8,310,527 ตัน ของการ
ส่งออกข้าวในช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 27.06 (ที่มา: ข้อมูลเบื้องต้นจากกรมการค้าต่างประเทศ)
ราคา
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ราคาข้าวเปลือกเจ้าหอมมะลินาปี ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยเกวียนละ 7,253 บาท ราคา ลดลงจากเกวียนละ 7,771
บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 6.66
ราคาข้าวเปลือกเจ้านาปี 5% ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยเกวียนละ 6,739 บาท ราคาลดลงจากเกวียนละ 6,843 บาท ของ
สัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.52
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 10,775 บาท ราคา ลดลงจากตันละ 10,875 บาท
ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.92
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาข้าวหอมมะลิ ไทย ชั้น 2 ส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 389 ดอลลาร์สหรัฐ (15,906 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตัน
ละ 393 ดอลลาร์สหรัฐ (15,957 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.02 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 51 บาท
ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 281 ดอลลาร์สหรัฐ (11,490 บาท/ตัน) ราคาลดลง
จากตันละ 283 ดอลลาร์สหรัฐ (11,491 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.71 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 1 บาท
ราคาข้าวนึ่ง 5% ส่งออก เอฟ.โอ.บี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 280 ดอลลาร์สหรัฐ (11,449 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 287
ดอลลาร์สหรัฐ (11,653 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.44 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 204 บาท
2. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในต่างประเทศ
ฟิลิปปินส์นำเข้าข้าว ปี 2549 งวดแรก 3.5 แสนตัน
องค์การอาหารแห่งชาติของฟิลิปปินส์ หรือ National Food Authority วางแผนนำเข้าข้าวงวดแรก สำหรับปี 2549 จำนวน 3.5
แสนตัน เป็นข้าวชนิด 25% โดยจะมีการประมูลกันในวันที่ 8 ธันวาคม 2548 และจะส่งมอบในช่วงเดือนมกราคมถึงมีนาคม 2549 ซึ่งถือว่าเร็วกว่า
ปกติ เพราะโดยปกติฟิลิปปินส์จะเริ่มแผนการประมูลในช่วงเดือนกุมภาพันธุ์หรือมีนาคมของทุกปี แต่ปีนี้รัฐบาลต้องเร่งดำเนินการเร็วกว่าปกติเพื่อป้องกัน
การเก็งกำไรในตลาดซึ่งจะทำให้ราคาข้าวสูงขึ้น ทั้งนี้ แหล่งนำเข้าข้าวของฟิลิปปินส์ จะมาจากประเทศไทย จีน ปากีสถาน ออสเตรเลีย และ
สหรัฐอเมริกา สำหรับปี 2548 ฟิลิปปินส์นำเข้าข้าวแล้ว 1.8 ล้านตัน
คาดพื้นที่ปลูกข้าวสหรัฐฯ ปี 2549 ลด
จากการที่ราคาปุ๋ยและน้ำมันเพิ่มขึ้นในปัจจุบัน ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตข้าวสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นและผลตอบแทนที่เกษตรได้รับลดลง และประกอบ
กับสถาบันการเงินลังเลที่จะให้สินเชื่อแก่เกษตรกร ตลอดจนผลกระทบจากความเป็นไปได้ที่สหรัฐฯ จะเปลี่ยนแปลงนโยบายด้านการเกษตร รวมทั้งการ
ลดการอุดหนุน นักวิเคราะห์สหรัฐฯ จึงคาดว่าพื้นที่ปลูกข้าวสหรัฐฯ ในปี 2549 น่าจะลดลงไม่ต่ำกว่าร้อยละ 10 โดยในบางพื้นที่อาจลดถึง ร้อยละ
30 สำหรับผลผลิตข้าวสหรัฐฯ ปีนี้ คาดว่าจะได้ 10.147 ล้านตัน ลดลงจาก 10.379 ล้านตัน ที่คาดไว้ เมื่อเดือนกันยายน สาเหตุจากผลกระทบของ
พายุริต้า ที่ทำให้ผลผลิตในรัฐอาคันซอ ซึ่งผลิตข้าวได้ประมาณครึ่งหนึ่งของผลผลิต ทั้งหมดของสหรัฐฯ เสียหายเกินกว่าที่คาดไว้
ราคา
ราคาส่งออกข้าวของประเทศต่าง ๆ ในสัปดาห์นี้ มีดังนี้
- ไทย
ข้าวหอมมะลิ ราคาตันละ 389 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,906 บาท/ตัน)
ข้าว 5% ราคาตันละ 281 ดอลลาร์สหรัฐฯ (11,490 บาท/ตัน)
ข้าว 25% ราคาตันละ 251 ดอลลาร์สหรัฐฯ (10,264 บาท/ตัน)
- เวียดนาม
ข้าว 5% ราคาตันละ 262 ดอลลาร์สหรัฐฯ (10,713 บาท/ตัน)
ข้าว 25% ราคาตันละ 243 ดอลลาร์สหรัฐฯ (9,936 บาท/ตัน)
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 40.8907 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 7 - 13 ก.ย. 2548--
-พห-
1.1 โครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปี 2547/48
เป้าหมายรับจำนำ 9 ล้านตันข้าวเปลือก ดำเนินการโดย
- ธ.ก.ส. รับจำนำในยุ้งฉางของเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร เป้าหมาย 4.5 ล้านตันข้าวเปลือก แบ่งออกเป็น ข้าว
หอมมะลิ 3 ล้านตัน ข้าวเปลือกเจ้า 0.5 ล้านตัน และข้าวเปลือกเหนียว 1 ล้านตัน
- อคส. รับจำนำจากเกษตรกรและสถาบันเกษตรกรที่ไม่มียุ้งฉางของตนเอง โดยออกใบประทวนให้เกษตรกรไปจำนำ ธ.
ก.ส. เป้าหมาย 4.5 ล้านตันข้าวเปลือก แบ่งออกเป็นข้าวหอมมะลิ 2 ล้านตัน และข้าวเปลือกเจ้า 2.5 ล้านตัน
ราคารับจำนำ กำหนดราคารับจำนำข้าว ณ ระดับความชื้น 15% แยกตามชนิดข้าว
เริ่มรับจำนำ 1 พย.47- 31 มีค.48 ยกเว้นภาคใต้ให้รับจำนำ 15 มค.-15 พค.48
ระยะเวลาไถ่ถอน 3 เดือน นับถัดจากเดือนที่จำนำ
ระยะเวลาโครงการ 1 พย.47 -31 ตค.48
ผลการดำเนินงาน
สรุปผลการดำเนินงานรับจำนำข้าว (ณ.วันที่ 31 ตค.48)
รายการ เป้าหมาย การรับจำนำ ไถ่ถอน คงเหลือ
(ล้านตัน) ราย ปริมาณ มูลค่า ร้อยละของ ราย ปริมาณ มูลค่า ราย ปริมาณ มูลค่า
(ตัน) (ล้านบาท) เป้าหมาย (ตัน) (ล้านบาท) (ตัน) (ล้านบาท)
จำนำยุ้งฉาง ธกส. 4.5 59,146 304,850 2,762 6.77 44,074 173,134 1,530 15,072 131,716 1,232
ใบประทวน อคส. 4.5 442,432 4,455,516 36,512 99.01 4,238 174,883 1,499 438,195 4,280,633 35,013
รวมทั้งหมด 9 501,578 4,760,366 39,274 52.89 48,312 348,017 3,029 453,267 4,412,349 36,245
ที่มา : ธ.ก.ส. (กองธุรกิจสินเชื่อนโยบายรัฐ)
1.2 โครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปรัง ปี 2548
- เป้าหมายรับจำนำ 2.5 ล้านตันข้าวเปลือก โดยให้องค์การคลังสินค้า (อคส.) รับฝากและออก
ใบประทวน และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) รับจำนำใบประทวนที่ อคส. ออกให้แก่เกษตรกรและ
สถาบันเกษตรกร
- ราคารับจำนำ กำหนดราคารับจำนำ ณ ระดับความชื้นไม่เกิน 15% สูงกว่าราคารับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปี 2547/48 ตันละ
100 บาท ดังนี้ ข้าวเปลือกเจ้านาปรัง 100% ตันละ 6,700 บาท บาท ส่วนข้าวเปลือกเจ้าชนิดอื่นๆ ลดหลั่นลงชั้นละ 100 บาท ข้าวเปลือก
ปทุมธานี ตันละ 6,700 บาท และข้าวเปลือกหอมสุพรรณบุรี ตันละ 6,600 บาท
- เริ่มรับจำนำ 15 เม.ย. — 15 ส.ค. 2548 ยกเว้นภาคใต้ให้รับจำนำ ก.ค. — ก.ย. 2548
- ระยะเวลาไถ่ถอน 3 เดือน นับถัดจากเดือนที่รับจำนำ
- ระยะเวลาโครงการ 15 เม.ย. — ธ.ค. 2548
- ผลการดำเนินงาน (ณ วันที่ 30 กย.48) อคส. รับจำนำข้าวจำนวน 797,778 ตัน
การซื้อขายข้าวในช่วงสัปดาห์นี้ ภาวะการค้าข้าวค่อนข้างเงียบเหงา ผลผลิตข้าวนาปีเริ่มเข้าสู่ตลาดมากขึ้น ในขณะที่การซื้อขายมีน้อย
เนื่องจากไม่มีคำสั่งซื้อใหม่ ๆ จากต่างประเทศผู้ส่งออกบางรายออกมารับซื้อในราคาต่ำ ส่งผลให้ราคาข้าวลดลงในทุกตลาด
การส่งออก
ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม — 31 ตุลาคม 2548 ไทยส่งออกข้าวทั้งหมด จำนวน 6,061,971 ตัน ลดลงจาก 8,310,527 ตัน ของการ
ส่งออกข้าวในช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 27.06 (ที่มา: ข้อมูลเบื้องต้นจากกรมการค้าต่างประเทศ)
ราคา
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ราคาข้าวเปลือกเจ้าหอมมะลินาปี ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยเกวียนละ 7,253 บาท ราคา ลดลงจากเกวียนละ 7,771
บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 6.66
ราคาข้าวเปลือกเจ้านาปี 5% ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยเกวียนละ 6,739 บาท ราคาลดลงจากเกวียนละ 6,843 บาท ของ
สัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.52
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 10,775 บาท ราคา ลดลงจากตันละ 10,875 บาท
ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.92
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาข้าวหอมมะลิ ไทย ชั้น 2 ส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 389 ดอลลาร์สหรัฐ (15,906 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตัน
ละ 393 ดอลลาร์สหรัฐ (15,957 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.02 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 51 บาท
ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 281 ดอลลาร์สหรัฐ (11,490 บาท/ตัน) ราคาลดลง
จากตันละ 283 ดอลลาร์สหรัฐ (11,491 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.71 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 1 บาท
ราคาข้าวนึ่ง 5% ส่งออก เอฟ.โอ.บี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 280 ดอลลาร์สหรัฐ (11,449 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 287
ดอลลาร์สหรัฐ (11,653 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.44 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 204 บาท
2. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในต่างประเทศ
ฟิลิปปินส์นำเข้าข้าว ปี 2549 งวดแรก 3.5 แสนตัน
องค์การอาหารแห่งชาติของฟิลิปปินส์ หรือ National Food Authority วางแผนนำเข้าข้าวงวดแรก สำหรับปี 2549 จำนวน 3.5
แสนตัน เป็นข้าวชนิด 25% โดยจะมีการประมูลกันในวันที่ 8 ธันวาคม 2548 และจะส่งมอบในช่วงเดือนมกราคมถึงมีนาคม 2549 ซึ่งถือว่าเร็วกว่า
ปกติ เพราะโดยปกติฟิลิปปินส์จะเริ่มแผนการประมูลในช่วงเดือนกุมภาพันธุ์หรือมีนาคมของทุกปี แต่ปีนี้รัฐบาลต้องเร่งดำเนินการเร็วกว่าปกติเพื่อป้องกัน
การเก็งกำไรในตลาดซึ่งจะทำให้ราคาข้าวสูงขึ้น ทั้งนี้ แหล่งนำเข้าข้าวของฟิลิปปินส์ จะมาจากประเทศไทย จีน ปากีสถาน ออสเตรเลีย และ
สหรัฐอเมริกา สำหรับปี 2548 ฟิลิปปินส์นำเข้าข้าวแล้ว 1.8 ล้านตัน
คาดพื้นที่ปลูกข้าวสหรัฐฯ ปี 2549 ลด
จากการที่ราคาปุ๋ยและน้ำมันเพิ่มขึ้นในปัจจุบัน ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตข้าวสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นและผลตอบแทนที่เกษตรได้รับลดลง และประกอบ
กับสถาบันการเงินลังเลที่จะให้สินเชื่อแก่เกษตรกร ตลอดจนผลกระทบจากความเป็นไปได้ที่สหรัฐฯ จะเปลี่ยนแปลงนโยบายด้านการเกษตร รวมทั้งการ
ลดการอุดหนุน นักวิเคราะห์สหรัฐฯ จึงคาดว่าพื้นที่ปลูกข้าวสหรัฐฯ ในปี 2549 น่าจะลดลงไม่ต่ำกว่าร้อยละ 10 โดยในบางพื้นที่อาจลดถึง ร้อยละ
30 สำหรับผลผลิตข้าวสหรัฐฯ ปีนี้ คาดว่าจะได้ 10.147 ล้านตัน ลดลงจาก 10.379 ล้านตัน ที่คาดไว้ เมื่อเดือนกันยายน สาเหตุจากผลกระทบของ
พายุริต้า ที่ทำให้ผลผลิตในรัฐอาคันซอ ซึ่งผลิตข้าวได้ประมาณครึ่งหนึ่งของผลผลิต ทั้งหมดของสหรัฐฯ เสียหายเกินกว่าที่คาดไว้
ราคา
ราคาส่งออกข้าวของประเทศต่าง ๆ ในสัปดาห์นี้ มีดังนี้
- ไทย
ข้าวหอมมะลิ ราคาตันละ 389 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,906 บาท/ตัน)
ข้าว 5% ราคาตันละ 281 ดอลลาร์สหรัฐฯ (11,490 บาท/ตัน)
ข้าว 25% ราคาตันละ 251 ดอลลาร์สหรัฐฯ (10,264 บาท/ตัน)
- เวียดนาม
ข้าว 5% ราคาตันละ 262 ดอลลาร์สหรัฐฯ (10,713 บาท/ตัน)
ข้าว 25% ราคาตันละ 243 ดอลลาร์สหรัฐฯ (9,936 บาท/ตัน)
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 40.8907 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 7 - 13 ก.ย. 2548--
-พห-