ปี 2547 เศรษฐกิจภาคเหนือโดยรวมขยายตัวในเกณฑ์ดี การอุปโภคบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนเป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่สำคัญ แม้จะขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงบ้างในช่วงครึ่งหลังของปี ส่วนหนึ่งเป็นผลจากรายได้เกษตรกรที่ชะลอลง ราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้น ประกอบกับความเชื่อมั่นของทั้งผู้บริโภคและนักลงทุนที่ปรับตัวลดลงจากความไม่แน่นอนต่างๆ ที่เกิดขึ้น ส่วนการส่งออกก็ขยายตัวในเกณฑ์สูง ทำให้ผลผลิตอุตสาหกรรมโดยเฉพาะเพื่อการส่งออกเพิ่มขึ้นมาก แต่ชะลอลงในช่วงปลายปี ตามอุปสงค์ต่างประเทศที่ชะลอตัว สำหรับภาคบริการขยายตัวดี ระดับราคาทั่วไปเร่งตัวขึ้น เงินฝากมีแนวโน้มขยายตัวเร่งขึ้น แต่เงินให้สินเชื่อชะลอลงจากระยะเดียวกันปีก่อน
รายละเอียดของแต่ละภาคเศรษฐกิจ มีดังนี้
1. ภาคเกษตร รายได้เกษตรกรจากพืชผลหลักเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 ชะลอลงเมื่อเทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.7 ปีก่อน เนื่องจากผลผลิตพืชหลักลดลงร้อยละ 0.2 จากภาวะภัยแล้งเป็นสำคัญ ขณะที่ราคาพืชผลหลักเฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 โดยผลผลิตข้าวนาปีและข้าวนาปรังลดลงร้อยละ 9.4 และร้อยละ 7.8 เนื่องจากพื้นที่เพาะปลูกหลายพื้นที่ถูกน้ำท่วมช่วงต้นฤดูและภาวะภัยแล้งช่วงปลายฤดูผลผลิตกระเทียมลดลงร้อยละ 8.0 จากนโยบายลดพื้นที่เพาะปลูกของภาครัฐ อย่างไรก็ดีพืชสำคัญได้แก่ อ้อยโรงงาน ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ลิ้นจี่และลำไย ผลผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 ร้อยละ 3.5 ร้อยละ 34.6 และร้อยละ 64.2 ตามลำดับ จากการขยายพื้นที่เพาะปลูกตามการส่งเสริมและแรงจูงใจของราคา รวมทั้งอากาศเหมาะสมช่วงติดดอก ด้านราคาพืชผลหลักเพิ่มขึ้นตามราคาข้าวนาปีและนาปรัง เป็นสำคัญ โดยราคาข้าวเปลือกเจ้านาปีและข้าวนาปรังเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.7 และร้อยละ 14.7 ตามลำดับ ตามราคาตลาดโลกและจากมาตรการของภาครัฐ ส่วนราคากระเทียม หอมแดง หอมหัวใหญ่และอ้อยโรงงาน ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 34.8 ร้อยละ 38.9 ร้อยละ 71.6 และร้อยละ 5.6 ตามลำดับ
2. ภาคอุตสาหกรรม ผลผลิตอุตสาหกรรมขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง แต่ยังอยู่ในเกณฑ์ดี โดยการผลิตและส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ผ่านด่านนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือเพิ่มขึ้นร้อยละ 25.5 เร่งตัวจากร้อยละ 16.4 ปีก่อน จากอุปสงค์ของต่างประเทศที่เพิ่มขึ้นจากกิจกรรมการแข่งขันฟุตบอลยุโรป กีฬาโอลิมปิกและการเลือกตั้งในสหรัฐอเมริกา อย่างไรก็ดีการผลิตและส่งออกชะลอตัวลงในช่วงปลายปีจากอุปสงค์ที่ชะลอตัว สำหรับผลผลิตน้ำตาลยังคงเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.8 เป็น 1,872.2 พันเมตริกตัน เพิ่มในอัตราที่ชะลอลงมากจากร้อยละ 30.1 ปีก่อน ส่วนหนึ่งจากฐานที่สูงขึ้นปีก่อน ประกอบกับผลผลิตอ้อยบางส่วนเสียหายจากภัยแล้ง
3. ภาคบริการ ภาวะการท่องเที่ยวขยายตัวดีจากปีก่อน เนื่องจากไม่ประสบปัญหาความกังวลเกี่ยวกับโรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง (SARS) เช่นปีก่อน ประกอบกับภาครัฐและเอกชนเร่งส่งเสริมและประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวมากขึ้น การแข่งขันด้านราคาของสายการบินต้นทุนต่ำ (Low Cost Airline) และได้รับผลดีจากสถานการณ์ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ทำให้นักท่องเที่ยวบางส่วนเปลี่ยนจากการท่องเที่ยวในภาคใต้มาภาคเหนือแทน ส่งผลให้กิจกรรมภาคบริการเร่งตัวจากปีก่อน โดยจำนวนผู้โดยสารผ่านท่าอากาศยานในภาคเหนือเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 35.7 จำนวนผู้โดยสารทุกประเภทการขนส่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.2 ยอดจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มประเภทโรงแรมและภัตตาคารสูงกว่าปีก่อนร้อยละ 18.2 อัตราการเข้าพักเฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.2 และราคาห้องพักเฉลี่ยปรับเพิ่มจาก 823.19 ในปีก่อน เป็น 887.98 บาท
4. การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนขยายตัวในเกณฑ์ดี แม้ว่าจะชะลอลงจากปีก่อน โดยยอดจดทะเบียนรถยนต์เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 27.9 เป็น 64,695 คัน สูงสุดในรอบ 10 ปี ทั้งประเภทรถยนต์นั่งส่วนบุคคลและรถยนต์เชิงพาณิชย์ จากอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในเกณฑ์ต่ำ การส่งเสริมการขายของผู้ประกอบการ การแนะนำรถยนต์รุ่นใหม่เข้าสู่ตลาด และการปรับลดภาษีสรรพสามิตรถยนต์ขนาดต่ำกว่า 2000 CC ส่วนยอดจดทะเบียนรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นจากปีก่อนเพียงร้อยละ 5.9 เป็น 313,260 คัน ชะลอลงจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 31.7 ในปีก่อน แต่ยังเป็นยอดจะทะเบียนที่สูงสุดในรอบ 10 ปี ส่วนยอดจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มประเภท การขายส่งขายปลีก เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 16.2 ขยายตัวเกือบทุกจังหวัดในภาคเหนือ
5. การลงทุนภาคเอกชน การลงทุนภาคเอกชนขยายตัว โดยการลงทุนผลิตเร่งตัวขึ้นทั้งอุตสาหกรรมผลิตเพื่อส่งออกและเพื่อขายในประเทศ มูลค่านำเข้าเครื่องจักรเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 67.8 เร่งตัวจากปีก่อนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.8 จากการขยายการลงทุนของโรงงานอิเล็กทรอนิกส์ ขณะที่เงินลงทุนของอุตสาหกรรมจดทะเบียนตั้งใหม่ขยายตัวในเกณฑ์ดี โดยเพิ่มขึ้นจากปีก่อนเกือบสองเท่า โดยเป็นการลงทุนผลิตในอุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมเกษตร ระบบบำบัดน้ำเสีย การผลิตและจำหน่ายพลังงานไฟฟ้า และการซ่อมรถยนต์และจักรยานยนต์ เป็นสำคัญ ส่วนเงินลงทุนของโครงการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุนอยู่ในเกณฑ์ดี ส่วนใหญ่เป็นความสนใจลงทุนผลิตสินค้าในหมวดอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องไฟฟ้า เกษตรกรรมและผลผลิตเกษตร โลหะภัณฑ์ เครื่องจักรและอุปกรณ์ อย่างไรก็ตาม การลงทุนก่อสร้างภาคเอกชนขยายตัวในอัตราชะลอลง เนื่องจากต้นทุนราคาเหล็ก วัสดุก่อสร้างและน้ำมันสูงขึ้น อีกทั้งไม่มีมาตรการส่งเสริมเช่นปีก่อน พื้นที่ก่อสร้างรับอนุญาตในเขตเทศบาลลดลงจากปีก่อนร้อยละ 4.8 โดยเฉพาะประเภทที่อยู่อาศัย พาณิชยกรรม และบริการ ขณะที่ค่าธรรมเนียมขายที่ดินเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.4 ชะลอลงเมื่อเทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 46.4 ปีก่อน
6. การคลัง (มกราคม-พฤศจิกายน 2547) การเบิกจ่ายงบประมาณผ่านคลังจังหวัดในภาคเหนือเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 8.6 เป็น 113,180.6 ล้านบาท เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 5.4 ระยะเดียวกันปีก่อน โดยรายจ่ายประจำเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.1 รายจ่ายลงทุนเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.3 เร่งตัวตั้งแต่ต้นปี โดยเฉพาะหมวดเงินอุดหนุนองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น ปริมาณการเบิกจ่ายเพิ่มขึ้นในจังหวัดนครสวรรค์ เพชรบูรณ์ เชียงใหม่ และเชียงราย ด้านการจัดเก็บรายได้เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 13.8 เป็น 15,273.7 ล้านบาท สูงกว่าร้อยละ 10.6 ระยะเดียวกันปีก่อน จากการขยายตัวของเศรษฐกิจและการขยายฐานภาษี โดยการจัดเก็บภาษีเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.6 โดยเฉพาะภาษีธุรกิจเฉพาะ ภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีมูลค่าเพิ่ม ส่วนการจัดเก็บรายได้ในหมวดอื่นๆ เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.5 การจัดเก็บรายได้เพิ่มขึ้นมากที่จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย กำแพงเพชร และพิษณุโลก ทำให้ดุลเงินในงบประมาณขาดดุล 97,906.9 ล้านบาท สูงกว่า 90,769.6 ล้านบาท ระยะเดียวกันปีก่อน
7. การค้าต่างประเทศ มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 28.8 เป็น 2,162.3 ล้านดอลลาร์ สรอ. โดยการส่งออกผ่านด่านนิคมฯเพิ่มขึ้นร้อยละ 25.5 เป็น 1,589.1 ล้านดอลลาร์ สรอ. เร่งตัวมากในช่วงครึ่งปีแรก เนื่องจากอุปสงค์สินค้าสูงขึ้นจากการแข่งขันฟุตบอลยูโร การแข่งขันกีฬาโอลิมปิกและการเลือกตั้งในสหรัฐอเมริกา สินค้าสำคัญที่ส่งออกเพิ่มขึ้น คือ เครื่องตัดต่อวงจรไฟฟ้า เครื่องใช้ไฟฟ้า และอุปกรณ์เกี่ยวกับสายตา ส่วนการส่งออกผ่านด่านชายแดนเพิ่มขึ้นร้อยละ 60.3 เป็น 431.0 ล้านดอลลาร์ สรอ. จากการส่งออกไปพม่าเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 96.2 เป็น 355.3 ล้านดอลลาร์ สรอ. ขยายตัวมากในช่วง 10 เดือนแรกของปี และได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงผู้นำพม่าช่วงปลายเดือนตุลาคม แต่เริ่มปรับตัวดีขึ้นในเดือนธันวาคม 2547 ส่วนการส่งออกไปลาวเพิ่มขึ้นร้อยละ 76.8 เป็น 23.3 ล้านดอลลาร์ สรอ. จากการส่งออกลำไย ขณะที่การส่งออกไปจีนตอนใต้ลดลงร้อยละ 29.9 เหลือ 52.3 ล้านดอลลาร์ สรอ. จากการเปลี่ยนแปลงเส้นทางการขนส่งสินค้าผักและผลไม้ไปขนส่งทางทะเลมากขึ้น
มูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 21.3 เป็น 1,352.8 ล้านดอลลาร์ สรอ. จากการนำเข้าผ่านด่านนิคมฯภาคเหนือ เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.8 เป็น 1,250.7 ล้านดอลลาร์ สรอ. เนื่องจากนำเข้าวัตถุดิบและสินค้าทุนเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์เพิ่มขึ้นกว่า 10 เท่าตัว เครื่องจักรและส่วนประกอบเพิ่มขึ้นร้อยละ 39.9 ส่วนการนำเข้าผ่านชายแดนเพิ่มขึ้นร้อยละ 48.5 เป็น 84.8 ล้านดอลลาร์ สรอ. ตามการนำเข้าสินค้าจากพม่าที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 89.0 เป็น 44.1 ล้านดอลลาร์ สรอ. โดยนำเข้าโค-กระบือ และสินค้าประมงเพิ่มขึ้นมาก การนำเข้าจากจีนตอนใต้เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.9 เป็น 30.5 ล้านดอลลาร์ สรอ. ส่วนการนำเข้าจากลาวเพิ่มขึ้นร้อยละ 40.8 เป็น 10.1 ล้านดอลลาร์ สรอ. สำหรับดุลการค้าปี 2547 เกินดุล 809.5 ล้านดอลลาร์ สรอ. เทียบกับที่เกินดุล 563.5 ล้านดอลลาร์ สรอ. ในปีก่อน
8. ระดับราคา ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 2.8 เร่งตัวจากปีก่อนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.9 โดยราคาหมวดอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.8 เร่งตัวจากปีก่อน เนื่องจากราคาเนื้อสุกรและอาหารทะเลสูงขึ้นตามความต้องการบริโภคทดแทนเนื้อไก่ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไข้หวัดนก ขณะที่ราคาผักสดเพิ่มขึ้นตามปริมาณผลผลิตที่เข้าสู่ตลาดน้อยลง สำหรับราคาหมวดอื่นๆ ที่มิใช่อาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 เร่งตัวจากปีก่อน จากการสูงขึ้นของราคาน้ำมันเบนซิน ค่าเอฟทีกระแสไฟฟ้า และค่าบริการบำรุงรักษายานยนต์สูงขึ้นเป็นสำคัญ ด้านดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานอยู่ในเกณฑ์ต่ำเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนเพียงร้อยละ 0.1
9. การจ้างงาน จากข้อมูลการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติในเดือนพฤศจิกายน 2547 พบว่ามีกำลังแรงงานในภาคเหนือรวม 6.8 ล้านคน เป็นผู้มีงานทำ 6.6 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 98.1 ของกำลังแรงงานรวม สูงกว่าร้อยละ 97.8 ระยะเดียวกันปีก่อน เนื่องจากมีการจ้างงานนอกภาคเกษตรเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 9.3 ตามการขยายตัวของการจ้างงานในภาคอุตสาหกรรมและการท่องเที่ยว อย่างไรก็ตาม ปัญหาภัยแล้งทำให้อัตราการว่างงาน (Unemployment Rate) เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 1.8 เทียบกับร้อยละ 1.6 ระยะเดียวกันปีก่อน
10. การเงิน ณ สิ้นเดือนพฤศจิกายน 2547 ยอดคงค้างเงินฝากของสาขาธนาคารพาณิชย์ในภาคเหนือเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 6.2 เป็น 296,205 ล้านบาท ส่วนหนึ่งเป็นเงินฝากของเกษตรกรที่มีรายได้เพิ่มขึ้น นอกจากนี้เป็นเงินฝากของส่วนราชการและสหกรณ์ออมทรัพย์ โดยเพิ่มขึ้นมากในจังหวัดเชียงใหม่ นครสวรรค์ เชียงราย พิษณุโลกและพิจิตร ขณะที่สินเชื่อชะลอตัวลงโดยเฉพาะช่วงครึ่งปีหลัง โดยยอดคงค้างสินเชื่อ ณ สิ้นเดือนพฤศจิกายน 2547 เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 7.7 เป็น 215,628 ล้านบาท ชะลอลงเล็กน้อยตามกิจกรรมทางเศรษฐกิจและให้สินเชื่อเพิ่มมากแก่ธุรกิจส่งออก โดยเฉพาะข้าวและเกษตรแปรรูป โดยเพิ่มขึ้นที่จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย กำแพงเพชร พิจิตร พิษณุโลกและนครสวรรค์ สัดส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากอยู่ที่ระดับร้อยละ 72.8 สูงกว่าร้อยละ 71.7 ระยะเดียวกันปีก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคเหนือ--
รายละเอียดของแต่ละภาคเศรษฐกิจ มีดังนี้
1. ภาคเกษตร รายได้เกษตรกรจากพืชผลหลักเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 ชะลอลงเมื่อเทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.7 ปีก่อน เนื่องจากผลผลิตพืชหลักลดลงร้อยละ 0.2 จากภาวะภัยแล้งเป็นสำคัญ ขณะที่ราคาพืชผลหลักเฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 โดยผลผลิตข้าวนาปีและข้าวนาปรังลดลงร้อยละ 9.4 และร้อยละ 7.8 เนื่องจากพื้นที่เพาะปลูกหลายพื้นที่ถูกน้ำท่วมช่วงต้นฤดูและภาวะภัยแล้งช่วงปลายฤดูผลผลิตกระเทียมลดลงร้อยละ 8.0 จากนโยบายลดพื้นที่เพาะปลูกของภาครัฐ อย่างไรก็ดีพืชสำคัญได้แก่ อ้อยโรงงาน ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ลิ้นจี่และลำไย ผลผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 ร้อยละ 3.5 ร้อยละ 34.6 และร้อยละ 64.2 ตามลำดับ จากการขยายพื้นที่เพาะปลูกตามการส่งเสริมและแรงจูงใจของราคา รวมทั้งอากาศเหมาะสมช่วงติดดอก ด้านราคาพืชผลหลักเพิ่มขึ้นตามราคาข้าวนาปีและนาปรัง เป็นสำคัญ โดยราคาข้าวเปลือกเจ้านาปีและข้าวนาปรังเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.7 และร้อยละ 14.7 ตามลำดับ ตามราคาตลาดโลกและจากมาตรการของภาครัฐ ส่วนราคากระเทียม หอมแดง หอมหัวใหญ่และอ้อยโรงงาน ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 34.8 ร้อยละ 38.9 ร้อยละ 71.6 และร้อยละ 5.6 ตามลำดับ
2. ภาคอุตสาหกรรม ผลผลิตอุตสาหกรรมขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง แต่ยังอยู่ในเกณฑ์ดี โดยการผลิตและส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ผ่านด่านนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือเพิ่มขึ้นร้อยละ 25.5 เร่งตัวจากร้อยละ 16.4 ปีก่อน จากอุปสงค์ของต่างประเทศที่เพิ่มขึ้นจากกิจกรรมการแข่งขันฟุตบอลยุโรป กีฬาโอลิมปิกและการเลือกตั้งในสหรัฐอเมริกา อย่างไรก็ดีการผลิตและส่งออกชะลอตัวลงในช่วงปลายปีจากอุปสงค์ที่ชะลอตัว สำหรับผลผลิตน้ำตาลยังคงเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.8 เป็น 1,872.2 พันเมตริกตัน เพิ่มในอัตราที่ชะลอลงมากจากร้อยละ 30.1 ปีก่อน ส่วนหนึ่งจากฐานที่สูงขึ้นปีก่อน ประกอบกับผลผลิตอ้อยบางส่วนเสียหายจากภัยแล้ง
3. ภาคบริการ ภาวะการท่องเที่ยวขยายตัวดีจากปีก่อน เนื่องจากไม่ประสบปัญหาความกังวลเกี่ยวกับโรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง (SARS) เช่นปีก่อน ประกอบกับภาครัฐและเอกชนเร่งส่งเสริมและประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวมากขึ้น การแข่งขันด้านราคาของสายการบินต้นทุนต่ำ (Low Cost Airline) และได้รับผลดีจากสถานการณ์ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ทำให้นักท่องเที่ยวบางส่วนเปลี่ยนจากการท่องเที่ยวในภาคใต้มาภาคเหนือแทน ส่งผลให้กิจกรรมภาคบริการเร่งตัวจากปีก่อน โดยจำนวนผู้โดยสารผ่านท่าอากาศยานในภาคเหนือเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 35.7 จำนวนผู้โดยสารทุกประเภทการขนส่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.2 ยอดจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มประเภทโรงแรมและภัตตาคารสูงกว่าปีก่อนร้อยละ 18.2 อัตราการเข้าพักเฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.2 และราคาห้องพักเฉลี่ยปรับเพิ่มจาก 823.19 ในปีก่อน เป็น 887.98 บาท
4. การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนขยายตัวในเกณฑ์ดี แม้ว่าจะชะลอลงจากปีก่อน โดยยอดจดทะเบียนรถยนต์เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 27.9 เป็น 64,695 คัน สูงสุดในรอบ 10 ปี ทั้งประเภทรถยนต์นั่งส่วนบุคคลและรถยนต์เชิงพาณิชย์ จากอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในเกณฑ์ต่ำ การส่งเสริมการขายของผู้ประกอบการ การแนะนำรถยนต์รุ่นใหม่เข้าสู่ตลาด และการปรับลดภาษีสรรพสามิตรถยนต์ขนาดต่ำกว่า 2000 CC ส่วนยอดจดทะเบียนรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นจากปีก่อนเพียงร้อยละ 5.9 เป็น 313,260 คัน ชะลอลงจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 31.7 ในปีก่อน แต่ยังเป็นยอดจะทะเบียนที่สูงสุดในรอบ 10 ปี ส่วนยอดจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มประเภท การขายส่งขายปลีก เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 16.2 ขยายตัวเกือบทุกจังหวัดในภาคเหนือ
5. การลงทุนภาคเอกชน การลงทุนภาคเอกชนขยายตัว โดยการลงทุนผลิตเร่งตัวขึ้นทั้งอุตสาหกรรมผลิตเพื่อส่งออกและเพื่อขายในประเทศ มูลค่านำเข้าเครื่องจักรเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 67.8 เร่งตัวจากปีก่อนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.8 จากการขยายการลงทุนของโรงงานอิเล็กทรอนิกส์ ขณะที่เงินลงทุนของอุตสาหกรรมจดทะเบียนตั้งใหม่ขยายตัวในเกณฑ์ดี โดยเพิ่มขึ้นจากปีก่อนเกือบสองเท่า โดยเป็นการลงทุนผลิตในอุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมเกษตร ระบบบำบัดน้ำเสีย การผลิตและจำหน่ายพลังงานไฟฟ้า และการซ่อมรถยนต์และจักรยานยนต์ เป็นสำคัญ ส่วนเงินลงทุนของโครงการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุนอยู่ในเกณฑ์ดี ส่วนใหญ่เป็นความสนใจลงทุนผลิตสินค้าในหมวดอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องไฟฟ้า เกษตรกรรมและผลผลิตเกษตร โลหะภัณฑ์ เครื่องจักรและอุปกรณ์ อย่างไรก็ตาม การลงทุนก่อสร้างภาคเอกชนขยายตัวในอัตราชะลอลง เนื่องจากต้นทุนราคาเหล็ก วัสดุก่อสร้างและน้ำมันสูงขึ้น อีกทั้งไม่มีมาตรการส่งเสริมเช่นปีก่อน พื้นที่ก่อสร้างรับอนุญาตในเขตเทศบาลลดลงจากปีก่อนร้อยละ 4.8 โดยเฉพาะประเภทที่อยู่อาศัย พาณิชยกรรม และบริการ ขณะที่ค่าธรรมเนียมขายที่ดินเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.4 ชะลอลงเมื่อเทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 46.4 ปีก่อน
6. การคลัง (มกราคม-พฤศจิกายน 2547) การเบิกจ่ายงบประมาณผ่านคลังจังหวัดในภาคเหนือเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 8.6 เป็น 113,180.6 ล้านบาท เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 5.4 ระยะเดียวกันปีก่อน โดยรายจ่ายประจำเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.1 รายจ่ายลงทุนเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.3 เร่งตัวตั้งแต่ต้นปี โดยเฉพาะหมวดเงินอุดหนุนองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น ปริมาณการเบิกจ่ายเพิ่มขึ้นในจังหวัดนครสวรรค์ เพชรบูรณ์ เชียงใหม่ และเชียงราย ด้านการจัดเก็บรายได้เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 13.8 เป็น 15,273.7 ล้านบาท สูงกว่าร้อยละ 10.6 ระยะเดียวกันปีก่อน จากการขยายตัวของเศรษฐกิจและการขยายฐานภาษี โดยการจัดเก็บภาษีเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.6 โดยเฉพาะภาษีธุรกิจเฉพาะ ภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีมูลค่าเพิ่ม ส่วนการจัดเก็บรายได้ในหมวดอื่นๆ เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.5 การจัดเก็บรายได้เพิ่มขึ้นมากที่จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย กำแพงเพชร และพิษณุโลก ทำให้ดุลเงินในงบประมาณขาดดุล 97,906.9 ล้านบาท สูงกว่า 90,769.6 ล้านบาท ระยะเดียวกันปีก่อน
7. การค้าต่างประเทศ มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 28.8 เป็น 2,162.3 ล้านดอลลาร์ สรอ. โดยการส่งออกผ่านด่านนิคมฯเพิ่มขึ้นร้อยละ 25.5 เป็น 1,589.1 ล้านดอลลาร์ สรอ. เร่งตัวมากในช่วงครึ่งปีแรก เนื่องจากอุปสงค์สินค้าสูงขึ้นจากการแข่งขันฟุตบอลยูโร การแข่งขันกีฬาโอลิมปิกและการเลือกตั้งในสหรัฐอเมริกา สินค้าสำคัญที่ส่งออกเพิ่มขึ้น คือ เครื่องตัดต่อวงจรไฟฟ้า เครื่องใช้ไฟฟ้า และอุปกรณ์เกี่ยวกับสายตา ส่วนการส่งออกผ่านด่านชายแดนเพิ่มขึ้นร้อยละ 60.3 เป็น 431.0 ล้านดอลลาร์ สรอ. จากการส่งออกไปพม่าเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 96.2 เป็น 355.3 ล้านดอลลาร์ สรอ. ขยายตัวมากในช่วง 10 เดือนแรกของปี และได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงผู้นำพม่าช่วงปลายเดือนตุลาคม แต่เริ่มปรับตัวดีขึ้นในเดือนธันวาคม 2547 ส่วนการส่งออกไปลาวเพิ่มขึ้นร้อยละ 76.8 เป็น 23.3 ล้านดอลลาร์ สรอ. จากการส่งออกลำไย ขณะที่การส่งออกไปจีนตอนใต้ลดลงร้อยละ 29.9 เหลือ 52.3 ล้านดอลลาร์ สรอ. จากการเปลี่ยนแปลงเส้นทางการขนส่งสินค้าผักและผลไม้ไปขนส่งทางทะเลมากขึ้น
มูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 21.3 เป็น 1,352.8 ล้านดอลลาร์ สรอ. จากการนำเข้าผ่านด่านนิคมฯภาคเหนือ เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.8 เป็น 1,250.7 ล้านดอลลาร์ สรอ. เนื่องจากนำเข้าวัตถุดิบและสินค้าทุนเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์เพิ่มขึ้นกว่า 10 เท่าตัว เครื่องจักรและส่วนประกอบเพิ่มขึ้นร้อยละ 39.9 ส่วนการนำเข้าผ่านชายแดนเพิ่มขึ้นร้อยละ 48.5 เป็น 84.8 ล้านดอลลาร์ สรอ. ตามการนำเข้าสินค้าจากพม่าที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 89.0 เป็น 44.1 ล้านดอลลาร์ สรอ. โดยนำเข้าโค-กระบือ และสินค้าประมงเพิ่มขึ้นมาก การนำเข้าจากจีนตอนใต้เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.9 เป็น 30.5 ล้านดอลลาร์ สรอ. ส่วนการนำเข้าจากลาวเพิ่มขึ้นร้อยละ 40.8 เป็น 10.1 ล้านดอลลาร์ สรอ. สำหรับดุลการค้าปี 2547 เกินดุล 809.5 ล้านดอลลาร์ สรอ. เทียบกับที่เกินดุล 563.5 ล้านดอลลาร์ สรอ. ในปีก่อน
8. ระดับราคา ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 2.8 เร่งตัวจากปีก่อนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.9 โดยราคาหมวดอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.8 เร่งตัวจากปีก่อน เนื่องจากราคาเนื้อสุกรและอาหารทะเลสูงขึ้นตามความต้องการบริโภคทดแทนเนื้อไก่ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไข้หวัดนก ขณะที่ราคาผักสดเพิ่มขึ้นตามปริมาณผลผลิตที่เข้าสู่ตลาดน้อยลง สำหรับราคาหมวดอื่นๆ ที่มิใช่อาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 เร่งตัวจากปีก่อน จากการสูงขึ้นของราคาน้ำมันเบนซิน ค่าเอฟทีกระแสไฟฟ้า และค่าบริการบำรุงรักษายานยนต์สูงขึ้นเป็นสำคัญ ด้านดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานอยู่ในเกณฑ์ต่ำเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนเพียงร้อยละ 0.1
9. การจ้างงาน จากข้อมูลการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติในเดือนพฤศจิกายน 2547 พบว่ามีกำลังแรงงานในภาคเหนือรวม 6.8 ล้านคน เป็นผู้มีงานทำ 6.6 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 98.1 ของกำลังแรงงานรวม สูงกว่าร้อยละ 97.8 ระยะเดียวกันปีก่อน เนื่องจากมีการจ้างงานนอกภาคเกษตรเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 9.3 ตามการขยายตัวของการจ้างงานในภาคอุตสาหกรรมและการท่องเที่ยว อย่างไรก็ตาม ปัญหาภัยแล้งทำให้อัตราการว่างงาน (Unemployment Rate) เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 1.8 เทียบกับร้อยละ 1.6 ระยะเดียวกันปีก่อน
10. การเงิน ณ สิ้นเดือนพฤศจิกายน 2547 ยอดคงค้างเงินฝากของสาขาธนาคารพาณิชย์ในภาคเหนือเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 6.2 เป็น 296,205 ล้านบาท ส่วนหนึ่งเป็นเงินฝากของเกษตรกรที่มีรายได้เพิ่มขึ้น นอกจากนี้เป็นเงินฝากของส่วนราชการและสหกรณ์ออมทรัพย์ โดยเพิ่มขึ้นมากในจังหวัดเชียงใหม่ นครสวรรค์ เชียงราย พิษณุโลกและพิจิตร ขณะที่สินเชื่อชะลอตัวลงโดยเฉพาะช่วงครึ่งปีหลัง โดยยอดคงค้างสินเชื่อ ณ สิ้นเดือนพฤศจิกายน 2547 เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 7.7 เป็น 215,628 ล้านบาท ชะลอลงเล็กน้อยตามกิจกรรมทางเศรษฐกิจและให้สินเชื่อเพิ่มมากแก่ธุรกิจส่งออก โดยเฉพาะข้าวและเกษตรแปรรูป โดยเพิ่มขึ้นที่จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย กำแพงเพชร พิจิตร พิษณุโลกและนครสวรรค์ สัดส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากอยู่ที่ระดับร้อยละ 72.8 สูงกว่าร้อยละ 71.7 ระยะเดียวกันปีก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคเหนือ--