กรุงเทพ--23 ก.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อวันที่ 21 กันยายน 2548 ดร.กันตธีร์ ศุภมงคล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนเรื่องการพบหารือทวิภาคีกับประเทศต่าง ๆ นอกรอบการประชุมสหประชาชาติ สมัยสามัญ ครั้งที่ 60 สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1. การหารือทวิภาคีกับนายอิกนาซิโอ วอล์คเกอร์ (Mr. Ignacio Walker) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศชิลี ชิลีเป็นประเทศที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจที่มี การปรับนโยบายด้านเศรษฐกิจ และใช้นโยบายการค้าเสรีในการส่งเสริมขีดความสามารถในการแข่งขัน ในการหารือครั้งนี้ ทั้งสองฝ่ายได้หารือแนวทางกระชับความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ โดยทั้งสองฝ่ายต่างตระหนักถึงศักยภาพของประเทศทั้งสองในการเป็นประตูสู่ภูมิภาคลาตินอเมริกา และภูมิภาคเอเชียตะวันออก และเห็นว่า ควรส่งเสริมความร่วมมือระหว่างกันในด้านเศรษฐกิจมากขึ้น รวมทั้งได้ตกลงที่จะร่วมกันศึกษาความเป็นไปได้ของการจัดทำเขตการค้าเสรีระหว่างไทยและชิลี และความร่วมมือด้านการท่องเที่ยว ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีไทยมีกำหนดการที่จะไปเยือนชิลีอย่างเป็นทางการในโอกาสต่อไป หลังจากที่ต้องเลื่อนกำหนดการเยือนเดิมออกไปก่อน
2. การหารือทวิภาคีกับนายเบอร์นาร์ด รูดอล์ฟ โบต (Mr. Bernard Rudolf Bot) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเนเธอร์แลนด์ ทั้งสองฝ่ายได้แลกเปลี่ยนทัศนะเรื่องการปฏิรูปสหประชาชาติ โดยเฉพาะบทบาทสหประชาชาติในด้านการสร้างความมั่นคงของมนุษย์ โดยคำนึงว่า ปีนี้ประเทศไทยเป็นประธานเครือข่ายความมั่นคงของมนุษย์ (Human Security Network) ตลอดจนหารือเรื่องความร่วมมือด้านสาธารณสุขโดยเฉพาะเรื่องไข้หวัดนกซึ่งเนเธอร์แลนด์มีประสบการณ์ ในด้านนี้เป็นอย่างมาก นอกจากนี้ ได้มีการหารือเรื่องความร่วมมือภายใต้ความตกลงโอนตัวนักโทษระหว่างกันด้วย
3. การหารือทวิภาคีกับนางมิชเชลีน คาล์มี-เรย์ (Mrs. Micheline Calmy-Rey) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ทั้งสองฝ่ายได้หารือถึงความร่วมมือ ในการเจรจาเขตการค้าเสรีระหว่างไทยกับสมาคมการค้าเสรีแห่งยุโรป (European Free Trade Association) และความร่วมมือระหว่างกันเกี่ยวกับการปฏิรูปสหประชาชาติ ซึ่งฝ่ายสวิตเซอร์แลนด์ ก็ได้ขอให้ไทยสนับสนุนการดำเนินการเกี่ยวกับการจัดตั้ง Human Rights Council
4. การหารือทวิภาคีกับนายมุสตาฟา ออสมัน อิสมาอิล (Mr. Mustafa Osman Ismail) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศซูดาน ซูดานเป็นประเทศมุสลิมสายกลางที่มีความสำคัญ และมีทรัพยากรน้ำมัน ในระหว่างการหารือ ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องที่จะกระชับความร่วมมือระหว่างกันมากขึ้นโดยเฉพาะในด้านพลังงาน และการท่องเที่ยว นอกจากนี้ ปัจจุบัน ซูดานได้รับความช่วยเหลือด้านงบประมาณในการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานจำนวนมาก กล่าวคือ ประมาณ 8 พันล้านเหรียญสหรัฐ ฯ และสนับสนุนให้บริษัทไทยที่สนใจไปร่วมประมูลโครงการก่อสร้างต่าง ๆ ด้วย
5. การหารือทวิภาคีกับนายยอน ปีเตอร์เซน (Mr. Jan Petersen) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศนอร์เวย์ ทั้งสองฝ่ายได้หารือประเด็นต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการเจรจาเขตการค้าเสรีระหว่างไทยและ EFTA ความร่วมมือด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ตลอดจนได้มีการแลกเปลี่ยนทัศนะในประเด็นเรื่องพม่า และการเจรจาสันติภาพของศรีลังกา โดยนอร์เวย์มีแนวคิดใกล้เคียงกับไทย และสนับสนุนแนวทางและการดำเนินงานของไทยเกี่ยวกับสถานการณ์ในพม่า
6. การหารือทวิภาคีกับนายออสการ์ เมาร์ทัว (Mr. Oscar Maurtau) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเปรู ในฐานะที่เปรูเป็นประเทศที่มีความสำคัญในกลุ่มประเทศแอนเดียน (Andean) ไทยสนใจที่จะกระชับความสัมพันธ์ระหว่างกันมากขึ้น โดยในระหว่างการหารือได้มีการกล่าวถึงการเตรียมการเยือนเปรูอย่างเป็นทางการของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศไทยซึ่งกำหนดที่จะมีขึ้นในวันที่ 2 ตุลาคม 2548 ตลอดจนประเด็นต่าง ๆ ที่จะมีการหารือในระหว่างการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมไทย-เปรูครั้งที่ 1 นอกจากนี้ ในโอกาสนี้ ฝ่ายเปรูจะมอบอิสริยาภรณ์แก่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในฐานะผู้มีบทบาทความสำคัญในการบุกเบิกความสัมพันธ์ไทย-เปรู
7. การหารือทวิภาคีกับนายคาสซิม โซมาร์ท โทคาเอฟ (Mr. Kasymzhomart Tokayev) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศคาซัคสถาน ทั้งสองฝ่ายได้หารือความร่วมมือด้านพลังงาน และรัฐบาลคาซัคสถานได้เชิญ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เยือนคาซัคสถานในช่วงเวลาที่เหมาะสมปี 2549
8. การหารือทวิภาคีกับนางคาโรลินา บาร์โก (Mrs. Caroline Barco) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศโคลอมเบีย ทั้งสองฝ่ายได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นในประเด็นต่าง ๆ เช่น การแก้ปัญหาด้านยาเสพติดซึ่งโคลอมเบียมีประสบการณ์ในการแก้ปัญหาในด้านนี้ และประสงค์ที่จะมีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับฝ่ายไทยด้วย และหารือความร่วมมือด้านการท่องเที่ยว โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัจจุบันโคลอมเบียกำลังอยู่ในช่วงการปรับปรุงอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของโคลอมเบียซึ่งไทยมีประสบการณ์ในด้านนี้ จึงเป็นอีกด้านหนึ่งที่ทั้งสองฝ่ายสามารถร่วมมือกันได้ นอกจากนี้ ในระหว่างการหารือ โคลอมเบียได้ขอให้ไทยพิจารณาสนับสนุนโคลอมเบีย ในการสมัครเข้าเป็นสมาชิกความร่วมมือด้านเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิค (Asia-Pacific Economic Cooperation-APEC) หากมาตรการชั่วคราวที่ให้ระงับการรับสมาชิกของ APEC สิ้นสุดลง
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
เมื่อวันที่ 21 กันยายน 2548 ดร.กันตธีร์ ศุภมงคล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนเรื่องการพบหารือทวิภาคีกับประเทศต่าง ๆ นอกรอบการประชุมสหประชาชาติ สมัยสามัญ ครั้งที่ 60 สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1. การหารือทวิภาคีกับนายอิกนาซิโอ วอล์คเกอร์ (Mr. Ignacio Walker) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศชิลี ชิลีเป็นประเทศที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจที่มี การปรับนโยบายด้านเศรษฐกิจ และใช้นโยบายการค้าเสรีในการส่งเสริมขีดความสามารถในการแข่งขัน ในการหารือครั้งนี้ ทั้งสองฝ่ายได้หารือแนวทางกระชับความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ โดยทั้งสองฝ่ายต่างตระหนักถึงศักยภาพของประเทศทั้งสองในการเป็นประตูสู่ภูมิภาคลาตินอเมริกา และภูมิภาคเอเชียตะวันออก และเห็นว่า ควรส่งเสริมความร่วมมือระหว่างกันในด้านเศรษฐกิจมากขึ้น รวมทั้งได้ตกลงที่จะร่วมกันศึกษาความเป็นไปได้ของการจัดทำเขตการค้าเสรีระหว่างไทยและชิลี และความร่วมมือด้านการท่องเที่ยว ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีไทยมีกำหนดการที่จะไปเยือนชิลีอย่างเป็นทางการในโอกาสต่อไป หลังจากที่ต้องเลื่อนกำหนดการเยือนเดิมออกไปก่อน
2. การหารือทวิภาคีกับนายเบอร์นาร์ด รูดอล์ฟ โบต (Mr. Bernard Rudolf Bot) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเนเธอร์แลนด์ ทั้งสองฝ่ายได้แลกเปลี่ยนทัศนะเรื่องการปฏิรูปสหประชาชาติ โดยเฉพาะบทบาทสหประชาชาติในด้านการสร้างความมั่นคงของมนุษย์ โดยคำนึงว่า ปีนี้ประเทศไทยเป็นประธานเครือข่ายความมั่นคงของมนุษย์ (Human Security Network) ตลอดจนหารือเรื่องความร่วมมือด้านสาธารณสุขโดยเฉพาะเรื่องไข้หวัดนกซึ่งเนเธอร์แลนด์มีประสบการณ์ ในด้านนี้เป็นอย่างมาก นอกจากนี้ ได้มีการหารือเรื่องความร่วมมือภายใต้ความตกลงโอนตัวนักโทษระหว่างกันด้วย
3. การหารือทวิภาคีกับนางมิชเชลีน คาล์มี-เรย์ (Mrs. Micheline Calmy-Rey) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ทั้งสองฝ่ายได้หารือถึงความร่วมมือ ในการเจรจาเขตการค้าเสรีระหว่างไทยกับสมาคมการค้าเสรีแห่งยุโรป (European Free Trade Association) และความร่วมมือระหว่างกันเกี่ยวกับการปฏิรูปสหประชาชาติ ซึ่งฝ่ายสวิตเซอร์แลนด์ ก็ได้ขอให้ไทยสนับสนุนการดำเนินการเกี่ยวกับการจัดตั้ง Human Rights Council
4. การหารือทวิภาคีกับนายมุสตาฟา ออสมัน อิสมาอิล (Mr. Mustafa Osman Ismail) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศซูดาน ซูดานเป็นประเทศมุสลิมสายกลางที่มีความสำคัญ และมีทรัพยากรน้ำมัน ในระหว่างการหารือ ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องที่จะกระชับความร่วมมือระหว่างกันมากขึ้นโดยเฉพาะในด้านพลังงาน และการท่องเที่ยว นอกจากนี้ ปัจจุบัน ซูดานได้รับความช่วยเหลือด้านงบประมาณในการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานจำนวนมาก กล่าวคือ ประมาณ 8 พันล้านเหรียญสหรัฐ ฯ และสนับสนุนให้บริษัทไทยที่สนใจไปร่วมประมูลโครงการก่อสร้างต่าง ๆ ด้วย
5. การหารือทวิภาคีกับนายยอน ปีเตอร์เซน (Mr. Jan Petersen) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศนอร์เวย์ ทั้งสองฝ่ายได้หารือประเด็นต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการเจรจาเขตการค้าเสรีระหว่างไทยและ EFTA ความร่วมมือด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ตลอดจนได้มีการแลกเปลี่ยนทัศนะในประเด็นเรื่องพม่า และการเจรจาสันติภาพของศรีลังกา โดยนอร์เวย์มีแนวคิดใกล้เคียงกับไทย และสนับสนุนแนวทางและการดำเนินงานของไทยเกี่ยวกับสถานการณ์ในพม่า
6. การหารือทวิภาคีกับนายออสการ์ เมาร์ทัว (Mr. Oscar Maurtau) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเปรู ในฐานะที่เปรูเป็นประเทศที่มีความสำคัญในกลุ่มประเทศแอนเดียน (Andean) ไทยสนใจที่จะกระชับความสัมพันธ์ระหว่างกันมากขึ้น โดยในระหว่างการหารือได้มีการกล่าวถึงการเตรียมการเยือนเปรูอย่างเป็นทางการของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศไทยซึ่งกำหนดที่จะมีขึ้นในวันที่ 2 ตุลาคม 2548 ตลอดจนประเด็นต่าง ๆ ที่จะมีการหารือในระหว่างการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมไทย-เปรูครั้งที่ 1 นอกจากนี้ ในโอกาสนี้ ฝ่ายเปรูจะมอบอิสริยาภรณ์แก่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในฐานะผู้มีบทบาทความสำคัญในการบุกเบิกความสัมพันธ์ไทย-เปรู
7. การหารือทวิภาคีกับนายคาสซิม โซมาร์ท โทคาเอฟ (Mr. Kasymzhomart Tokayev) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศคาซัคสถาน ทั้งสองฝ่ายได้หารือความร่วมมือด้านพลังงาน และรัฐบาลคาซัคสถานได้เชิญ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เยือนคาซัคสถานในช่วงเวลาที่เหมาะสมปี 2549
8. การหารือทวิภาคีกับนางคาโรลินา บาร์โก (Mrs. Caroline Barco) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศโคลอมเบีย ทั้งสองฝ่ายได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นในประเด็นต่าง ๆ เช่น การแก้ปัญหาด้านยาเสพติดซึ่งโคลอมเบียมีประสบการณ์ในการแก้ปัญหาในด้านนี้ และประสงค์ที่จะมีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับฝ่ายไทยด้วย และหารือความร่วมมือด้านการท่องเที่ยว โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัจจุบันโคลอมเบียกำลังอยู่ในช่วงการปรับปรุงอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของโคลอมเบียซึ่งไทยมีประสบการณ์ในด้านนี้ จึงเป็นอีกด้านหนึ่งที่ทั้งสองฝ่ายสามารถร่วมมือกันได้ นอกจากนี้ ในระหว่างการหารือ โคลอมเบียได้ขอให้ไทยพิจารณาสนับสนุนโคลอมเบีย ในการสมัครเข้าเป็นสมาชิกความร่วมมือด้านเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิค (Asia-Pacific Economic Cooperation-APEC) หากมาตรการชั่วคราวที่ให้ระงับการรับสมาชิกของ APEC สิ้นสุดลง
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-