นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ ส.ส.นครศรีธรรมราช อภิปรายว่า การเสนอร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมของรัฐบาล ถือเป็นการจัดตั้งงบประมาณเพื่อสนองตอบท่านผู้นำของรัฐบาล เพื่อให้นายกฯใช้จ่ายงบประมาณได้อย่างคล่องตัว ตามใจชอบ ซึ่งตนขอให้ฉายางบประมาณนี้ว่า ‘งบประมาณเพิ่มเติมฉบับที่ได้ดั่งใจ’ คือเป็นการจัดตั้งงบประมาณแบบอำเภอใจ โดยเอาเงินไปไว้งบกลางทั้งหมด แล้วให้นายกฯ เป็นคนสั่งการ ทั้งนี้นายชินวรณ์ได้ตั้งข้อสังเกต โดยถามถึงจำนวนเงินงบประมาณประจำปี 2547 ซึ่งเป็นงบกลางเพิ่มเติมเมื่อครั้งที่แล้ว ที่มีการอนุมัติ แต่ยังเบิกจ่ายไม่ครบ ว่าเงินจำนวนนั้นอยู่ที่ไหน ยกตัวอย่างเช่น รายการค่าใช้จ่ายตามมาตรการในการพัฒนาและบริหารกำลังคน เพื่อรอรับการเปลี่ยนแปลงตั้งงบ 14,590 ล้านบาท แต่เบิกจ่ายไป 13,732 ล้านบาท ค่าใช้จ่ายในการประเมินค่าตอบแทนบุคลากรภาครัฐ 16,570 ล้านบาท เบิกจ่ายไป 11,910 ล้านบาท เงินอุดหนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 12,300 ล้านบาท เบิกจ่ายไป10,988 ล้านบาท เป็นต้น
นอกจากนั้นนายชินวรณ์ ยังเรียกร้องให้ การเสนอร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีต่อรัฐสภา ต้องแสดงเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ แสดงตัวชี้วัด และแสดงผลที่สามารถตรวจสอบการดำเนินงานและผลงานของรัฐบาล โดยเฉพาะเป้าหมายในการบริการสาธารณะ ที่สำคัญคือ ต้องกำหนดให้มีการรายงาน ติดตามและประเมินผลว่าการใช้งบประมาณเกิดประโยชน์สูงสุดตามเจตนารมณ์ ที่ได้ใช้เงินภาษีของพี่น้องประชาชนหรือไม่ และขอให้คณะกรรมาธิการได้ติดตามตรวจสอบว่า งบประมาณในลักษณะนี้ ภายใต้การบริหารของรัฐบาลนี้ มีโครงการไหนที่ล้มเหลวบ้าง เพราะรัฐบาลจะพูดถึงแต่โครงการที่ประสบความสำเร็จ
ทั้งนี้ตัวอย่างโครงการที่อยากให้ตรวจสอบ ได้แก่ งบประมาณค่าใช้จ่ายเพื่อการเสริมสร้างศักยภาพการแข่งขัน ในโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน โครงการจัดงานมหกรรมพืชสวนโลก โครงการจัดหาเครื่องบินลำเลียงขนาดกลางแบบแอร์บัส โครงการผู้ว่าซีอีโอ โครงการแผนยุทธศาสตร์ความปลอดภัยด้านอาหารและโครงการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำเพื่ออุปโภคและบริโภค ด้วยระบบประปาหมู่บ้าน เป็นต้น
‘การที่รัฐบาลสามารถจัดเก็บภาษีได้เข้าเป้า ไม่ได้หมายความว่ารัฐบาลต้องนำเงินดังกล่าวมาใช้ทั้งหมด และภายใต้การจัดตั้งงบประมาณเพิ่มเติมที่หละหลวม ไม่มีแผนงานและโครงการ อาจทำให้การใช้งบประมาณเป็นไปอย่างไม่มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล และอาจนำไปสู่การทุจริตคอร์รัปชั่น ผมจึงอยากให้คณะกรรมการกลับไปทบทวน 50,000 ล้านทั้งหมด ทำอย่างไรจึงสนองตอบต่อพี่น้องประชาชนอย่างแท้จริง เพราะทุกบาท ทุกสตางค์เป็นเงินภาษีของพี่น้องประชาชน ถึงแม้รัฐบาลจะมองและคิดว่าจะใช้เงินก้อนนี้ เพื่อดำเนินการให้สนองตอบต่อนโยบายที่นายกฯไปทัวร์นกขมิ้น หรือไปพูดตอนหาเสียง แต่ผมในฐานะฝ่ายค้านก็ต้องติดตามตรวจสอบว่าการใช้เงินภาษีของพี่น้องประชาชน ทำอย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุด’ นายชินวรณ์กล่าว
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 20 เม.ย. 2548--จบ--
-ดท-
นอกจากนั้นนายชินวรณ์ ยังเรียกร้องให้ การเสนอร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีต่อรัฐสภา ต้องแสดงเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ แสดงตัวชี้วัด และแสดงผลที่สามารถตรวจสอบการดำเนินงานและผลงานของรัฐบาล โดยเฉพาะเป้าหมายในการบริการสาธารณะ ที่สำคัญคือ ต้องกำหนดให้มีการรายงาน ติดตามและประเมินผลว่าการใช้งบประมาณเกิดประโยชน์สูงสุดตามเจตนารมณ์ ที่ได้ใช้เงินภาษีของพี่น้องประชาชนหรือไม่ และขอให้คณะกรรมาธิการได้ติดตามตรวจสอบว่า งบประมาณในลักษณะนี้ ภายใต้การบริหารของรัฐบาลนี้ มีโครงการไหนที่ล้มเหลวบ้าง เพราะรัฐบาลจะพูดถึงแต่โครงการที่ประสบความสำเร็จ
ทั้งนี้ตัวอย่างโครงการที่อยากให้ตรวจสอบ ได้แก่ งบประมาณค่าใช้จ่ายเพื่อการเสริมสร้างศักยภาพการแข่งขัน ในโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน โครงการจัดงานมหกรรมพืชสวนโลก โครงการจัดหาเครื่องบินลำเลียงขนาดกลางแบบแอร์บัส โครงการผู้ว่าซีอีโอ โครงการแผนยุทธศาสตร์ความปลอดภัยด้านอาหารและโครงการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำเพื่ออุปโภคและบริโภค ด้วยระบบประปาหมู่บ้าน เป็นต้น
‘การที่รัฐบาลสามารถจัดเก็บภาษีได้เข้าเป้า ไม่ได้หมายความว่ารัฐบาลต้องนำเงินดังกล่าวมาใช้ทั้งหมด และภายใต้การจัดตั้งงบประมาณเพิ่มเติมที่หละหลวม ไม่มีแผนงานและโครงการ อาจทำให้การใช้งบประมาณเป็นไปอย่างไม่มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล และอาจนำไปสู่การทุจริตคอร์รัปชั่น ผมจึงอยากให้คณะกรรมการกลับไปทบทวน 50,000 ล้านทั้งหมด ทำอย่างไรจึงสนองตอบต่อพี่น้องประชาชนอย่างแท้จริง เพราะทุกบาท ทุกสตางค์เป็นเงินภาษีของพี่น้องประชาชน ถึงแม้รัฐบาลจะมองและคิดว่าจะใช้เงินก้อนนี้ เพื่อดำเนินการให้สนองตอบต่อนโยบายที่นายกฯไปทัวร์นกขมิ้น หรือไปพูดตอนหาเสียง แต่ผมในฐานะฝ่ายค้านก็ต้องติดตามตรวจสอบว่าการใช้เงินภาษีของพี่น้องประชาชน ทำอย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุด’ นายชินวรณ์กล่าว
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 20 เม.ย. 2548--จบ--
-ดท-