ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท. เผยมี ธ.พาณิชย์บางแห่งต้องกันสำรองเพิ่ม นางธาริษา วัฒนเกส รองผู้ว่าการ สาย
เสถียรภาพสถาบันการเงิน ธปท. เปิดเผยว่า จากการตรวจสอบงบการเงินประจำไตรมาส 4 ปี 47 ที่ ธ.พาณิชย์
ส่งมาให้ ธปท. พิจารณาก่อนประกาศในสัปดาห์หน้าพบว่า มี ธ.พาณิชย์บางแห่งต้องกันสำรองเพิ่มตามเกณฑ์คุณภาพ
สินทรัพย์ปกติของ ธปท. รวมทั้งมีบางแห่งต้องการกันสำรองเพิ่มด้วยตัวเองเพื่อสร้างความมั่นใจและน่าเชื่อถือแก่นัก
ลงทุน แต่มีหลายธนาคารที่กันสำรองลดลงเนื่องจากคุณภาพสินเชื่อดีขึ้น ซึ่งถ้าต้องกันสำรองเพิ่ม ธปท. ก็จะสั่ง แต่
จะเพิ่มมากน้อยเพียงใดคงต้องขึ้นอยู่กับแต่ละแห่ง ถ้าดูรวม ๆ กลุ่มธนาคารยังทำกำไรได้อยู่ หนี้เสียก็ไม่ได้เพิ่ม
(โพสต์ทูเดย์, ผู้จัดการรายวัน)
2. การจัดตั้งองค์กรพิเศษดูแลสถาบันการเงินต้องพิจารณาปัจจัยแวดล้อมหลายอย่าง นางธาริษา
วัฒนเกส รองผู้ว่าการ สายเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธปท. กล่าวถึงกรณีที่ ก.คลังจะเสนอให้จัดตั้งองค์กรพิเศษ
เพื่อดูแลกำกับสถาบันการเงินแทน ธปท. ว่า ก่อนหน้านี้กองทุนการเงินระหว่างประเทศ และธนาคารโลก ได้ทำ
การศึกษาซึ่งสะท้อนความเห็นออกมาในสองด้าน ทั้งเห็นว่าควรแยกการกำกับดูแลสถาบันการเงินออกจาก ธปท.
และไม่ควรแยกออกมา ซึ่งมีความเป็นไปได้ทั้งสองด้าน ทั้งนี้ ควรต้องพิจารณาถึงสภาพแวดล้อมและโครงสร้างทาง
เศรษฐกิจของแต่ละประเทศที่มีความแตกต่างกันด้วย (มติชน)
3. คาดว่าผลกำไรสุทธิปี 47 ของ ธ.พาณิชย์ทั้งระบบสูงถึง 8 หมื่นล้านบาท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย
ประเมินผลการดำเนินงานประจำปี 47 ของระบบ ธ.พาณิชย์จะแสดงกำไรสุทธิรวมกันประมาณ 8.69 หมื่นล้าน
บาท เพิ่มขึ้นจากระดับ 3.87 หมื่นล้านบาทของปี 46 คิดเป็นอัตราการเติบโตร้อยละ 124.83 โดยได้รับแรงหนุน
จาก 3 ปัจจัยหลัก คือ รายได้ดอกเบี้ย รายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ย และค่าใช้จ่ายด้านการสำรองหนี้ที่ลดลง ขณะที่
ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยจะขยับขึ้นจากร้อยละ 2.14 ในปี 46 เป็น 2.63 ในปี 47 ทั้งนี้ กลุ่มธนาคารเอกชนไทย
ขนาดใหญ่จะมีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้นประมาณ 6.3 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 127 จากปี 46 เนื่องจากการเพิ่มขึ้น
อย่างมีนัยสำคัญของรายได้ดอกเบี้ยสุทธิ หลังจากที่สามารถประหยัดดอกเบี้ยจ่ายจากการไถ่ถอนตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุน
ก่อนกำหนด รวมทั้งสามารถรักษาการขยายตัวของสินเชื่อดีได้อย่างต่อเนื่อง ส่วนกำไรสุทธิกลุ่มธนาคารของรัฐจะมี
ประมาณ 2.2 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 164 จากปีก่อนหน้า ขณะที่กลุ่มธนาคารที่ต่างชาติร่วมทุนจะมีกำไรสุทธิ
ประมาณ 1.84 พันล้านบาท ลดลงจาก 2.63 พันล้านบาท ในปี 46 เนื่องจากบางธนาคารในกลุ่มได้ตั้งสำรอง
จำนวนค่อนข้างสูงในช่วง 9 เดือนแรกของปี 47 (กรุงเทพธุรกิจ, โพสต์ทูเดย์)
4. ธ.กรุงไทยเตือนระวังถูกก๊อบปี้บัตรเอทีเอ็ม ว่าที่ ร.ต.ไพโรจน์ ดีรักษา ผอฝ.อาวุโส และผู้
บริหาร ฝ่ายสนับสนุนงานสาขา ธ.กรุงไทย เปิดเผยถึงการโจรกรรมเงินในบัญชีของลูกค้าโดยถอนจากเครื่องเอที
เอ็มทั้งที่บัตรยังอยู่กับเจ้าของบัตรว่า ขณะนี้มีกลุ่มมิจฉาชีพมาทำรายการและทำทีว่าบัตรมีปัญหา จึงให้ลูกค้าที่รอคิว
เข้าไปทำรายการก่อน โดยขอดูบัตรเพื่อก๊อบปี้ข้อมูลจากบัตรลูกค้าและแอบดูรหัสขณะทำรายการ หลังจากนั้นจะนำ
ข้อมูลไปทำบัตรใหม่และตระเวณถอนเงินจากเครื่องเอทีเอ็ม หรือบางครั้งได้เปลี่ยนรหัสบัตรเอทีเอ็มทำให้เจ้าของ
บัตรไม่สามารถใช้บริการได้ ทั้งนี้ เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น ผู้ใช้บัตรเอทีเอ็มจึงควรเพิ่มความระมัด
ระวังในการใช้บัตร อย่าเก็บรหัสไว้ที่เดียวกับบัตร อย่าให้คนแปลกหน้าสัมผัสบัตรเอทีเอ็ม ที่สำคัญควรเปลี่ยนรหัส
บ่อย ๆ ในกรณีพบว่าบัตรไม่สามารถใช้งานได้ให้รีบติดต่อธนาคารหรือแจ้งอายัดการใช้บัตรทันที (ข่าวสด)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ยอดค้าปลีกของ สรอ.เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 ในเดือน ธ.ค.47 จากเดือนก่อนในขณะที่จำนวนผู้ขอ
สวัสดิการว่างงานครั้งแรกเพิ่มขึ้น รายงานจากวอชิงตัน เมื่อ 13 ม.ค.48 ยอดค้าปลีกของ สรอ.ในเดือน
ธ.ค.47 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 จากเดือนก่อนสูงกว่าที่คาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0 ส่งผลให้ยอดค้าปลีกตลอดปี 47
เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.0 เมื่อเทียบกับปี 46 สูงสุดนับตั้งแต่ปี 42 โดยคาดว่าเป็นผลมาจากราคาก๊าซและน้ำมันลดลงทำ
ให้ผู้บริโภคมีเงินเหลือสำหรับซื้อสินค้าเพิ่มขึ้น โดยผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับน้ำมันมีราคาลดลงร้อยละ 11.5 เมื่อเทียบกับ
เดือนก่อน อย่างไรก็ดีหากไม่รวมยอดขายรถยนต์ซึ่งค่อนข้างผันผวนในแต่ละเดือนแล้ว ยอดค้าปลีกเพิ่มขึ้นเพียง
ร้อยละ 0.3 จากเดือน พ.ย.47 ต่ำกว่าที่คาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 เพียงเล็กน้อยและหากเทียบกับช่วงเวลา
เดียวกันปี 46 แล้วยอดค้าปลีกไม่รวมรถยนต์ในเดือน ธ.ค.47 เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.6 ต่อปี ตัวเลขยอดค้าปลีกที่เพิ่ม
ขึ้นดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าผู้บริโภคยังยินดีที่จะจับจ่ายซื้อสินค้าซึ่งมีส่วนทำให้เศรษฐกิจขยายตัว เนื่องจากการใช้จ่าย
ของผู้บริโภคมีสัดส่วนประมาณ 2 ใน 3 ของ GDP ของ สรอ. ทำให้นักวิเคราะห์คาดว่า ธ.กลาง สรอ.จะ
ประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมครั้งต่อไป ในขณะที่จำนวนผู้ขอสวัสดิการว่างงานเป็นครั้งแรกกลับเพิ่มขึ้น
อย่างไม่คาดหมายเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาโดยมีจำนวน 367,000 คนซึ่งอยู่ในระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือน ก.ย.47
อย่างไรก็ดีจำนวนผู้ขอสวัสดิการว่างงานที่ไม่ใช่ครั้งแรกกลับลดลงอยู่ในระดับต่ำสุดนับตั้งแต่กลางปี 44 (รอยเตอร์)
2. ธ.กลางอังกฤษประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับเดิมร้อยละ 4.75 ติดต่อกันเป็นเดือนที่
5 รายงานจากลอนดอน เมื่อ 13 ม.ค.48 ธ.กลางอังกฤษประกาศคงอัตราดอกเบี้ยกู้ยืม (อัตราดอกเบี้ย
นโยบาย) ที่ระดับร้อยละ 4.75 เมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา (12 ม.ค.48) อันเป็นระดับคงที่ติดต่อกันเป็นเดือนที่ 5
ขณะที่นักวิเคราะห์มีความเห็นแตกต่างกันไปเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยกู้ยืมวาจะสูงขึ้นอีกหรือไม่ในระยะต่อไปของปีนี้
โดยนักวิเคราะห์บางคนคาดการณ์เมื่อสัปดาห์ก่อนว่า คณะกรรมการนโยบายการเงิน ธ.กลางอังกฤษจะคงอัตรา
ดอกเบี้ยในระดับเดิมไม่เปลี่ยนแปลง และรายงานยอดขายปลีกที่ขัดแย้งกันช่วยสนับสนุนแนวคิดดังกล่าว นักวิเคราะห์
ส่วนใหญ่เห็นว่าคณะกรรมการนโยบายการเงินสามารถคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับเดิมได้จนกว่าจะสรุปตัวเลข
เศรษฐกิจในช่วงวันหยุดเทศกาลสมบูรณ์ ทั้งนี้ มุมมองสำหรับการคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายครั้งนี้ไม่ชัดเจนนัก โดยนัก
วิเคราะห์ 20 คนเห็นว่าอัตราดอกเบี้ยในขณะนี้อยู่ในระดับสูงสุดแล้ว ขณะที่นักวิเคราะห์อีก 23 คนคาดว่าคณะ
กรรมการนโยบายการเงินจะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยอย่างน้อยอีกครั้งหนึ่งในปีนี้ อนึ่ง ธ.กลางอังกฤษไม่ได้แถลงถึง
เหตุผลที่ตัดสินใจปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยในครั้งนี้แต่อย่างใด โดย ธ.กลางปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยมาแล้ว 5 ครั้ง
ตั้งแต่เดือน พ.ย.46 ที่อยู่ที่ร้อยละ 3.50 แต่คงที่ระดับเดิมมาตั้งแต่เดือน ส.ค.47 (รอยเตอร์)
3. ปี 47 จีดีพีของเยอรมนีขยายตัวสูงสุดในรอบ 4 ปี รายงานจาก Wiesbaden เมื่อ 13 ม.ค.48
Federal Statistics Office เปิดเผยว่า เศรษฐกิจของเยอรมนีในปี 47 ขยายตัวสูงสุดในรอบ 4 ปี
หลังจากที่ชะลอตัวลงเล็กน้อยในปีก่อน โดยผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี) ขยายตัวร้อยละ 1.7 เทียบต่อปี เป็นไป
ตามการคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ และเป็นอัตราการขยายตัวที่ยังคงอยู่เหนืออัตราถัวเฉลี่ยคือร้อยละ 1.2 ทั้ง
นี้ การที่จีดีพีขยายตัวเพิ่มขึ้นมีสาเหตุหลักจากการส่งออกที่แข็งแกร่ง ซึ่งเป็นปัจจัยที่ส่งผลให้จีดีพีขยายตัวเป็นสัดส่วน
ร้อยละ 1.2 อนึ่ง หากมองในภาพรวมแล้วจะเห็นภาพการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่ชัดเจนในปี 47 อย่างไรก็ตาม
ตลาดแรงงานและความต้องการภายในประเทศยังคงเป็นปัญหาอยู่ โดยการบริโภคส่วนบุคคล ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 60
ของระบบเศรษฐกิจ ลดลงร้อยละ 0.3 เทียบต่อปี นับเป็นการชะลอตัวลงเป็นปีที่ 2 ในรอบ 3 ปี (รอยเตอร์)
4. การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศของจีนในเดือนธ.ค. ลดลง รายงานจากปักกิ่ง เมื่อวันที่
13 ม.ค. 48 รมว.พาณิชย์ของจีนเปิดเผยว่า ในเดือนธ.ค. 47 เงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (Foreign
Direct Investment — FDI ) ของจีนอยู่ที่ระดับ 3.1 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.ต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนก.ค.46 จาก
ที่เคยทำสถิติสูงสุดถึง 8 พัน ล.ดอลลาร์สรอ.ในเดือนมิ.ย.อย่างไรก็ตามในปี 47 FDI ของจีนเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว
ร้อยละ 13.3 อยู่ที่ระดับ 60.6 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. ส่วน Contracted FDI อยู่ที่ระดับ 153.5 พัน ล.
ดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 33.4 นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ยังคงเห็นแนวโน้มที่ดีในระยะยาว หลังจากกิจการต่าง
ประเทศคลายความวิตกว่าจีนจะประสบกับภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ทั้งนี้การที่ FDI ไหลเข้าสู่จีนเป็นจำนวนมากเช่นนี้มี
ส่วนช่วยให้ทุนสำรองของจีนสูงถึง 610 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 50 ในปีที่แล้วนอกจากนั้น
การที่เงินหยวนผูกค่าไว้กับเงินดอลลาร์ สรอ.ที่ประมาณ 8.28 หยวนต่อ 1 ดอลลาร์ สรอ. ทำให้ธ.กลางจีนจำ
เป็นต้องซื้อเงินตราต่างประเทศที่ไหลเข้าประเทศจำนวนมาก นักวิเคราะห์กล่าวว่าได้มีการเก็งกำไรว่าจะมีการ
ปรับค่าเงินหยวนอย่างแน่นอน
ข้อมูลเศรษฐกิจ 14/1/2548 13/1/2548 30/1/2547 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 38.808 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 38.6239/38.9180 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 2.1875-2.2000 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 693.43/21.89 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 7,800/7,900 7,850/7,950 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 38.74 37.2 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 19.29*/14.59 19.29*/14.59 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับลด ลิตรละ 30 สตางค์ เมื่อ 17 ธ.ค.47
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ธปท. เผยมี ธ.พาณิชย์บางแห่งต้องกันสำรองเพิ่ม นางธาริษา วัฒนเกส รองผู้ว่าการ สาย
เสถียรภาพสถาบันการเงิน ธปท. เปิดเผยว่า จากการตรวจสอบงบการเงินประจำไตรมาส 4 ปี 47 ที่ ธ.พาณิชย์
ส่งมาให้ ธปท. พิจารณาก่อนประกาศในสัปดาห์หน้าพบว่า มี ธ.พาณิชย์บางแห่งต้องกันสำรองเพิ่มตามเกณฑ์คุณภาพ
สินทรัพย์ปกติของ ธปท. รวมทั้งมีบางแห่งต้องการกันสำรองเพิ่มด้วยตัวเองเพื่อสร้างความมั่นใจและน่าเชื่อถือแก่นัก
ลงทุน แต่มีหลายธนาคารที่กันสำรองลดลงเนื่องจากคุณภาพสินเชื่อดีขึ้น ซึ่งถ้าต้องกันสำรองเพิ่ม ธปท. ก็จะสั่ง แต่
จะเพิ่มมากน้อยเพียงใดคงต้องขึ้นอยู่กับแต่ละแห่ง ถ้าดูรวม ๆ กลุ่มธนาคารยังทำกำไรได้อยู่ หนี้เสียก็ไม่ได้เพิ่ม
(โพสต์ทูเดย์, ผู้จัดการรายวัน)
2. การจัดตั้งองค์กรพิเศษดูแลสถาบันการเงินต้องพิจารณาปัจจัยแวดล้อมหลายอย่าง นางธาริษา
วัฒนเกส รองผู้ว่าการ สายเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธปท. กล่าวถึงกรณีที่ ก.คลังจะเสนอให้จัดตั้งองค์กรพิเศษ
เพื่อดูแลกำกับสถาบันการเงินแทน ธปท. ว่า ก่อนหน้านี้กองทุนการเงินระหว่างประเทศ และธนาคารโลก ได้ทำ
การศึกษาซึ่งสะท้อนความเห็นออกมาในสองด้าน ทั้งเห็นว่าควรแยกการกำกับดูแลสถาบันการเงินออกจาก ธปท.
และไม่ควรแยกออกมา ซึ่งมีความเป็นไปได้ทั้งสองด้าน ทั้งนี้ ควรต้องพิจารณาถึงสภาพแวดล้อมและโครงสร้างทาง
เศรษฐกิจของแต่ละประเทศที่มีความแตกต่างกันด้วย (มติชน)
3. คาดว่าผลกำไรสุทธิปี 47 ของ ธ.พาณิชย์ทั้งระบบสูงถึง 8 หมื่นล้านบาท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย
ประเมินผลการดำเนินงานประจำปี 47 ของระบบ ธ.พาณิชย์จะแสดงกำไรสุทธิรวมกันประมาณ 8.69 หมื่นล้าน
บาท เพิ่มขึ้นจากระดับ 3.87 หมื่นล้านบาทของปี 46 คิดเป็นอัตราการเติบโตร้อยละ 124.83 โดยได้รับแรงหนุน
จาก 3 ปัจจัยหลัก คือ รายได้ดอกเบี้ย รายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ย และค่าใช้จ่ายด้านการสำรองหนี้ที่ลดลง ขณะที่
ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยจะขยับขึ้นจากร้อยละ 2.14 ในปี 46 เป็น 2.63 ในปี 47 ทั้งนี้ กลุ่มธนาคารเอกชนไทย
ขนาดใหญ่จะมีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้นประมาณ 6.3 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 127 จากปี 46 เนื่องจากการเพิ่มขึ้น
อย่างมีนัยสำคัญของรายได้ดอกเบี้ยสุทธิ หลังจากที่สามารถประหยัดดอกเบี้ยจ่ายจากการไถ่ถอนตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุน
ก่อนกำหนด รวมทั้งสามารถรักษาการขยายตัวของสินเชื่อดีได้อย่างต่อเนื่อง ส่วนกำไรสุทธิกลุ่มธนาคารของรัฐจะมี
ประมาณ 2.2 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 164 จากปีก่อนหน้า ขณะที่กลุ่มธนาคารที่ต่างชาติร่วมทุนจะมีกำไรสุทธิ
ประมาณ 1.84 พันล้านบาท ลดลงจาก 2.63 พันล้านบาท ในปี 46 เนื่องจากบางธนาคารในกลุ่มได้ตั้งสำรอง
จำนวนค่อนข้างสูงในช่วง 9 เดือนแรกของปี 47 (กรุงเทพธุรกิจ, โพสต์ทูเดย์)
4. ธ.กรุงไทยเตือนระวังถูกก๊อบปี้บัตรเอทีเอ็ม ว่าที่ ร.ต.ไพโรจน์ ดีรักษา ผอฝ.อาวุโส และผู้
บริหาร ฝ่ายสนับสนุนงานสาขา ธ.กรุงไทย เปิดเผยถึงการโจรกรรมเงินในบัญชีของลูกค้าโดยถอนจากเครื่องเอที
เอ็มทั้งที่บัตรยังอยู่กับเจ้าของบัตรว่า ขณะนี้มีกลุ่มมิจฉาชีพมาทำรายการและทำทีว่าบัตรมีปัญหา จึงให้ลูกค้าที่รอคิว
เข้าไปทำรายการก่อน โดยขอดูบัตรเพื่อก๊อบปี้ข้อมูลจากบัตรลูกค้าและแอบดูรหัสขณะทำรายการ หลังจากนั้นจะนำ
ข้อมูลไปทำบัตรใหม่และตระเวณถอนเงินจากเครื่องเอทีเอ็ม หรือบางครั้งได้เปลี่ยนรหัสบัตรเอทีเอ็มทำให้เจ้าของ
บัตรไม่สามารถใช้บริการได้ ทั้งนี้ เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น ผู้ใช้บัตรเอทีเอ็มจึงควรเพิ่มความระมัด
ระวังในการใช้บัตร อย่าเก็บรหัสไว้ที่เดียวกับบัตร อย่าให้คนแปลกหน้าสัมผัสบัตรเอทีเอ็ม ที่สำคัญควรเปลี่ยนรหัส
บ่อย ๆ ในกรณีพบว่าบัตรไม่สามารถใช้งานได้ให้รีบติดต่อธนาคารหรือแจ้งอายัดการใช้บัตรทันที (ข่าวสด)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ยอดค้าปลีกของ สรอ.เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 ในเดือน ธ.ค.47 จากเดือนก่อนในขณะที่จำนวนผู้ขอ
สวัสดิการว่างงานครั้งแรกเพิ่มขึ้น รายงานจากวอชิงตัน เมื่อ 13 ม.ค.48 ยอดค้าปลีกของ สรอ.ในเดือน
ธ.ค.47 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 จากเดือนก่อนสูงกว่าที่คาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0 ส่งผลให้ยอดค้าปลีกตลอดปี 47
เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.0 เมื่อเทียบกับปี 46 สูงสุดนับตั้งแต่ปี 42 โดยคาดว่าเป็นผลมาจากราคาก๊าซและน้ำมันลดลงทำ
ให้ผู้บริโภคมีเงินเหลือสำหรับซื้อสินค้าเพิ่มขึ้น โดยผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับน้ำมันมีราคาลดลงร้อยละ 11.5 เมื่อเทียบกับ
เดือนก่อน อย่างไรก็ดีหากไม่รวมยอดขายรถยนต์ซึ่งค่อนข้างผันผวนในแต่ละเดือนแล้ว ยอดค้าปลีกเพิ่มขึ้นเพียง
ร้อยละ 0.3 จากเดือน พ.ย.47 ต่ำกว่าที่คาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 เพียงเล็กน้อยและหากเทียบกับช่วงเวลา
เดียวกันปี 46 แล้วยอดค้าปลีกไม่รวมรถยนต์ในเดือน ธ.ค.47 เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.6 ต่อปี ตัวเลขยอดค้าปลีกที่เพิ่ม
ขึ้นดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าผู้บริโภคยังยินดีที่จะจับจ่ายซื้อสินค้าซึ่งมีส่วนทำให้เศรษฐกิจขยายตัว เนื่องจากการใช้จ่าย
ของผู้บริโภคมีสัดส่วนประมาณ 2 ใน 3 ของ GDP ของ สรอ. ทำให้นักวิเคราะห์คาดว่า ธ.กลาง สรอ.จะ
ประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมครั้งต่อไป ในขณะที่จำนวนผู้ขอสวัสดิการว่างงานเป็นครั้งแรกกลับเพิ่มขึ้น
อย่างไม่คาดหมายเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาโดยมีจำนวน 367,000 คนซึ่งอยู่ในระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือน ก.ย.47
อย่างไรก็ดีจำนวนผู้ขอสวัสดิการว่างงานที่ไม่ใช่ครั้งแรกกลับลดลงอยู่ในระดับต่ำสุดนับตั้งแต่กลางปี 44 (รอยเตอร์)
2. ธ.กลางอังกฤษประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับเดิมร้อยละ 4.75 ติดต่อกันเป็นเดือนที่
5 รายงานจากลอนดอน เมื่อ 13 ม.ค.48 ธ.กลางอังกฤษประกาศคงอัตราดอกเบี้ยกู้ยืม (อัตราดอกเบี้ย
นโยบาย) ที่ระดับร้อยละ 4.75 เมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา (12 ม.ค.48) อันเป็นระดับคงที่ติดต่อกันเป็นเดือนที่ 5
ขณะที่นักวิเคราะห์มีความเห็นแตกต่างกันไปเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยกู้ยืมวาจะสูงขึ้นอีกหรือไม่ในระยะต่อไปของปีนี้
โดยนักวิเคราะห์บางคนคาดการณ์เมื่อสัปดาห์ก่อนว่า คณะกรรมการนโยบายการเงิน ธ.กลางอังกฤษจะคงอัตรา
ดอกเบี้ยในระดับเดิมไม่เปลี่ยนแปลง และรายงานยอดขายปลีกที่ขัดแย้งกันช่วยสนับสนุนแนวคิดดังกล่าว นักวิเคราะห์
ส่วนใหญ่เห็นว่าคณะกรรมการนโยบายการเงินสามารถคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับเดิมได้จนกว่าจะสรุปตัวเลข
เศรษฐกิจในช่วงวันหยุดเทศกาลสมบูรณ์ ทั้งนี้ มุมมองสำหรับการคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายครั้งนี้ไม่ชัดเจนนัก โดยนัก
วิเคราะห์ 20 คนเห็นว่าอัตราดอกเบี้ยในขณะนี้อยู่ในระดับสูงสุดแล้ว ขณะที่นักวิเคราะห์อีก 23 คนคาดว่าคณะ
กรรมการนโยบายการเงินจะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยอย่างน้อยอีกครั้งหนึ่งในปีนี้ อนึ่ง ธ.กลางอังกฤษไม่ได้แถลงถึง
เหตุผลที่ตัดสินใจปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยในครั้งนี้แต่อย่างใด โดย ธ.กลางปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยมาแล้ว 5 ครั้ง
ตั้งแต่เดือน พ.ย.46 ที่อยู่ที่ร้อยละ 3.50 แต่คงที่ระดับเดิมมาตั้งแต่เดือน ส.ค.47 (รอยเตอร์)
3. ปี 47 จีดีพีของเยอรมนีขยายตัวสูงสุดในรอบ 4 ปี รายงานจาก Wiesbaden เมื่อ 13 ม.ค.48
Federal Statistics Office เปิดเผยว่า เศรษฐกิจของเยอรมนีในปี 47 ขยายตัวสูงสุดในรอบ 4 ปี
หลังจากที่ชะลอตัวลงเล็กน้อยในปีก่อน โดยผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี) ขยายตัวร้อยละ 1.7 เทียบต่อปี เป็นไป
ตามการคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ และเป็นอัตราการขยายตัวที่ยังคงอยู่เหนืออัตราถัวเฉลี่ยคือร้อยละ 1.2 ทั้ง
นี้ การที่จีดีพีขยายตัวเพิ่มขึ้นมีสาเหตุหลักจากการส่งออกที่แข็งแกร่ง ซึ่งเป็นปัจจัยที่ส่งผลให้จีดีพีขยายตัวเป็นสัดส่วน
ร้อยละ 1.2 อนึ่ง หากมองในภาพรวมแล้วจะเห็นภาพการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่ชัดเจนในปี 47 อย่างไรก็ตาม
ตลาดแรงงานและความต้องการภายในประเทศยังคงเป็นปัญหาอยู่ โดยการบริโภคส่วนบุคคล ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 60
ของระบบเศรษฐกิจ ลดลงร้อยละ 0.3 เทียบต่อปี นับเป็นการชะลอตัวลงเป็นปีที่ 2 ในรอบ 3 ปี (รอยเตอร์)
4. การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศของจีนในเดือนธ.ค. ลดลง รายงานจากปักกิ่ง เมื่อวันที่
13 ม.ค. 48 รมว.พาณิชย์ของจีนเปิดเผยว่า ในเดือนธ.ค. 47 เงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (Foreign
Direct Investment — FDI ) ของจีนอยู่ที่ระดับ 3.1 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.ต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนก.ค.46 จาก
ที่เคยทำสถิติสูงสุดถึง 8 พัน ล.ดอลลาร์สรอ.ในเดือนมิ.ย.อย่างไรก็ตามในปี 47 FDI ของจีนเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว
ร้อยละ 13.3 อยู่ที่ระดับ 60.6 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. ส่วน Contracted FDI อยู่ที่ระดับ 153.5 พัน ล.
ดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 33.4 นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ยังคงเห็นแนวโน้มที่ดีในระยะยาว หลังจากกิจการต่าง
ประเทศคลายความวิตกว่าจีนจะประสบกับภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ทั้งนี้การที่ FDI ไหลเข้าสู่จีนเป็นจำนวนมากเช่นนี้มี
ส่วนช่วยให้ทุนสำรองของจีนสูงถึง 610 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 50 ในปีที่แล้วนอกจากนั้น
การที่เงินหยวนผูกค่าไว้กับเงินดอลลาร์ สรอ.ที่ประมาณ 8.28 หยวนต่อ 1 ดอลลาร์ สรอ. ทำให้ธ.กลางจีนจำ
เป็นต้องซื้อเงินตราต่างประเทศที่ไหลเข้าประเทศจำนวนมาก นักวิเคราะห์กล่าวว่าได้มีการเก็งกำไรว่าจะมีการ
ปรับค่าเงินหยวนอย่างแน่นอน
ข้อมูลเศรษฐกิจ 14/1/2548 13/1/2548 30/1/2547 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 38.808 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 38.6239/38.9180 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 2.1875-2.2000 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 693.43/21.89 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 7,800/7,900 7,850/7,950 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 38.74 37.2 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 19.29*/14.59 19.29*/14.59 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับลด ลิตรละ 30 สตางค์ เมื่อ 17 ธ.ค.47
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--