แท็ก
หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์
กระทรวงการต่างประเทศ
สภาผู้แทนราษฎร
เอกอัครราชทูต
ประธานาธิบดี
ฟิลิปปินส์
กรุงเทพ--19 เม.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อวันที่ 12 เมษายน 2548 ดร.กันตธีร์ ศุภมงคล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
ได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนที่ทำเนียบเอกอัครราชทูต ณ กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ ภายหลังการเข้าเยี่ยมคารวะนาง Gloria Macapagal-Arroyo ประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ดังนี้
1. แนวความคิดหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์
ฟิลิปปินส์ประสบความสำเร็จในการนำแนวความคิดเรื่องโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ของไทยไปใช้ โดยประกาศชัดเจนว่าแนวความคิดดังกล่าวเป็นการริเริ่มของ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายเศรษฐกิจของนายกรัฐมนตรีไทย (Thaksinomic) ซึ่งเป็น แนวความคิดที่ดีและมองการณ์ไกลและยังมีประเทศอื่นสนใจที่จะนำแนวคิดนี้ไปใช้ด้วยเช่นกัน
2. ความร่วมมือด้านระบบเตือนภัยธรรมชาติ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศแสดงความขอบคุณที่ฟิลิปปินส์ได้ให้ความช่วยเหลือไทยในเหตุการณ์ธรณีพิบัติภัย (สึนามิ) ซึ่งไทยและฟิลิปปินส์จะร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดในด้านระบบเตือนภัยล่วงหน้าในภูมิภาคต่อไป นอกจากนี้ ประธานาธิบดีฟิลิปปินส์กล่าวว่ารัฐมนตรีต่างประเทศฟิลิปปินส์ได้แสดงความพอใจในข้อเสนอและบทบาทของไทยในระหว่างการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ (ASEAN Foreign Ministers’ Retreat) ที่เมืองเซบู เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2548 ซึ่งที่ประชุมเห็นชอบข้อเสนอของไทยในการจัดตั้งกลไกระดับภูมิภาคในการเตรียมความพร้อมเพื่อช่วยเหลือและบรรเทาภัยพิบัติทางธรรมชาติ (ASEAN Standby Arrangement on Disaster Relief and Emergency Response)
3. สถานการณ์ด้านพลังงาน
ประธานาธิบดีฟิลิปปินส์แสดงความกังวลเรื่องราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ปรับตัวสูงขึ้น โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทยได้แจ้งให้ทราบว่าในส่วนของไทยได้แก้ปัญหาโดยการใช้พลังงานทดแทน เช่น เอธานอล ซึ่งประธานาธิบดีฟิลิปปินส์แสดงความสนใจจะร่วมมือกับไทยและเห็นว่าควรทำเป็นมาตรฐานเดียวกัน (Standardization) เพื่อในอนาคต รถยนต์ที่ใช้เอธานอลสามารถนำไปใช้และเติมพลังงานชนิดเดียวกันได้ในประเทศเพื่อนบ้าน นอกจากนี้ ยังมีประเทศอื่น อาทิ ไอซ์แลนด์ ซึ่งประสบความสำเร็จในการนำพลังงานไฮโดรเจนมาใช้ ก็สนใจจะร่วมมือกับไทยในเรื่องดังกล่าว
4. ความร่วมมือด้านการท่องเที่ยว
ประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ชื่นชมในความสำเร็จของไทยในการส่งเสริมการท่องเที่ยวและปรารถนา
จะร่วมมือกับไทยอย่างใกล้ชิด เพื่อสนับสนุนให้นักท่องเที่ยวจากทวีปต่างๆ เดินทางมายังฟิลิปปินส์เพิ่มขึ้น
5. สถานการณ์ภาคใต้ของไทย
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศไทยและประธานาธิบดีฟิลิปปินส์เห็นว่า โดยที่ไทยและฟิลิปปินส์ต่างประสบปัญหาในลักษณะคล้ายคลึงกัน ดังนั้น จึงควรที่จะแลกเปลี่ยนความเห็นและประสบการณ์ ตลอดจนหารือด้านยุทธศาสตร์เพื่อวิเคราะห์ปัญหาอย่างลึกซึ้ง โดยอาจมีการทำความเข้าใจร่วมกันระหว่างประชาชนและผู้นำศาสนาในแต่ละประเทศ
6. ตำแหน่งเลขาธิการสหประชาชาติ
ประธานาธิบดีฟิลิปปินส์กล่าวยืนยันการสนับสนุนการสมัครชิงตำแหน่งเลขาธิการสหประชาชาติ (UNSG) ของ ดร. สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รองนายกรัฐมนตรี โดยเน้นว่าตำแหน่งดังกล่าวควรเป็นวาระของ
ภูมิภาคเอเชียที่ว่างเว้นมาเป็นเวลา 40 ปีแล้ว
อนึ่ง ภายหลังการเข้าเยี่ยมคารวะประธานาธิบดีฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทยได้พบปะกับนาย Jose De Venecia, Jr. ประธานสภาผู้แทนราษฎรฟิลิปปินส์ที่บ้านพักรับรองของประธานสภาฯ ซึ่งทั้งสองฝ่ายได้แลกเปลี่ยนความเห็นในประเด็นต่างๆ ระหว่างกันเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศทั้งสองด้วย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
เมื่อวันที่ 12 เมษายน 2548 ดร.กันตธีร์ ศุภมงคล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
ได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนที่ทำเนียบเอกอัครราชทูต ณ กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ ภายหลังการเข้าเยี่ยมคารวะนาง Gloria Macapagal-Arroyo ประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ดังนี้
1. แนวความคิดหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์
ฟิลิปปินส์ประสบความสำเร็จในการนำแนวความคิดเรื่องโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ของไทยไปใช้ โดยประกาศชัดเจนว่าแนวความคิดดังกล่าวเป็นการริเริ่มของ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายเศรษฐกิจของนายกรัฐมนตรีไทย (Thaksinomic) ซึ่งเป็น แนวความคิดที่ดีและมองการณ์ไกลและยังมีประเทศอื่นสนใจที่จะนำแนวคิดนี้ไปใช้ด้วยเช่นกัน
2. ความร่วมมือด้านระบบเตือนภัยธรรมชาติ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศแสดงความขอบคุณที่ฟิลิปปินส์ได้ให้ความช่วยเหลือไทยในเหตุการณ์ธรณีพิบัติภัย (สึนามิ) ซึ่งไทยและฟิลิปปินส์จะร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดในด้านระบบเตือนภัยล่วงหน้าในภูมิภาคต่อไป นอกจากนี้ ประธานาธิบดีฟิลิปปินส์กล่าวว่ารัฐมนตรีต่างประเทศฟิลิปปินส์ได้แสดงความพอใจในข้อเสนอและบทบาทของไทยในระหว่างการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ (ASEAN Foreign Ministers’ Retreat) ที่เมืองเซบู เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2548 ซึ่งที่ประชุมเห็นชอบข้อเสนอของไทยในการจัดตั้งกลไกระดับภูมิภาคในการเตรียมความพร้อมเพื่อช่วยเหลือและบรรเทาภัยพิบัติทางธรรมชาติ (ASEAN Standby Arrangement on Disaster Relief and Emergency Response)
3. สถานการณ์ด้านพลังงาน
ประธานาธิบดีฟิลิปปินส์แสดงความกังวลเรื่องราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ปรับตัวสูงขึ้น โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทยได้แจ้งให้ทราบว่าในส่วนของไทยได้แก้ปัญหาโดยการใช้พลังงานทดแทน เช่น เอธานอล ซึ่งประธานาธิบดีฟิลิปปินส์แสดงความสนใจจะร่วมมือกับไทยและเห็นว่าควรทำเป็นมาตรฐานเดียวกัน (Standardization) เพื่อในอนาคต รถยนต์ที่ใช้เอธานอลสามารถนำไปใช้และเติมพลังงานชนิดเดียวกันได้ในประเทศเพื่อนบ้าน นอกจากนี้ ยังมีประเทศอื่น อาทิ ไอซ์แลนด์ ซึ่งประสบความสำเร็จในการนำพลังงานไฮโดรเจนมาใช้ ก็สนใจจะร่วมมือกับไทยในเรื่องดังกล่าว
4. ความร่วมมือด้านการท่องเที่ยว
ประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ชื่นชมในความสำเร็จของไทยในการส่งเสริมการท่องเที่ยวและปรารถนา
จะร่วมมือกับไทยอย่างใกล้ชิด เพื่อสนับสนุนให้นักท่องเที่ยวจากทวีปต่างๆ เดินทางมายังฟิลิปปินส์เพิ่มขึ้น
5. สถานการณ์ภาคใต้ของไทย
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศไทยและประธานาธิบดีฟิลิปปินส์เห็นว่า โดยที่ไทยและฟิลิปปินส์ต่างประสบปัญหาในลักษณะคล้ายคลึงกัน ดังนั้น จึงควรที่จะแลกเปลี่ยนความเห็นและประสบการณ์ ตลอดจนหารือด้านยุทธศาสตร์เพื่อวิเคราะห์ปัญหาอย่างลึกซึ้ง โดยอาจมีการทำความเข้าใจร่วมกันระหว่างประชาชนและผู้นำศาสนาในแต่ละประเทศ
6. ตำแหน่งเลขาธิการสหประชาชาติ
ประธานาธิบดีฟิลิปปินส์กล่าวยืนยันการสนับสนุนการสมัครชิงตำแหน่งเลขาธิการสหประชาชาติ (UNSG) ของ ดร. สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รองนายกรัฐมนตรี โดยเน้นว่าตำแหน่งดังกล่าวควรเป็นวาระของ
ภูมิภาคเอเชียที่ว่างเว้นมาเป็นเวลา 40 ปีแล้ว
อนึ่ง ภายหลังการเข้าเยี่ยมคารวะประธานาธิบดีฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทยได้พบปะกับนาย Jose De Venecia, Jr. ประธานสภาผู้แทนราษฎรฟิลิปปินส์ที่บ้านพักรับรองของประธานสภาฯ ซึ่งทั้งสองฝ่ายได้แลกเปลี่ยนความเห็นในประเด็นต่างๆ ระหว่างกันเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศทั้งสองด้วย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-