สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ( สศก. ) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รายงานสถานการณ์การระบาดของโรคไข้หวัดนกในช่วงที่ผ่านมานั้น ส่งผลให้ปริมาณการผลิตสัตว์ปีกในประเทศ ลดลงเกือบครึ่งหนึ่งของที่เคยผลิตได้ ทำให้ประเทศไทยต้องสูญเสียตลาดการค้าต่างประเทศ ทั้งเนื้อไก่สดแช่แข็ง เนื้อเป็ดสดแช่แข็ง และไข่ไก่ ยังผลให้ธุรกิจส่งออกสัตว์ปีกซบเซาลงเป็นอย่างมาก อย่างไรก็ตามสถานการณ์เริ่มเข้าสู่สภาวะที่ดีขึ้นเมื่อต้นปี 2548 เป็นต้นมา เนื่องจากที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่ารัฐบาลมีมาตรการกำหนด ให้เกษตรกรเลี้ยงไก่เนื้อและไก่ไข่ในโรงเรือนที่มีลักษณะปิดทำให้สามารถควบคุมการแพร่ระบาดของไข้หวัดนกได
แม้ว่าที่ผ่านมาโดยตลอดนั้น รัฐบาลจะมีมาตรการในการเลี้ยงสัตว์ปีกอย่างเข้มงวด แต่ก็ยังพบว่ามีการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดนกเกิดขึ้นในช่วง 2 — 3 สัปดาห์ที่ผ่านมา สาเหตุหนึ่งอาจจะเกิดจากการเลี้ยงเป็ด ในลักษณะไล่ทุ่งของเกษตรกรผู้เลี้ยงเป็ดเนื้อและเป็ดไข่ ซึ่งการเลี้ยงในลักษณะเช่นนี้จะใช้ต้นทุนต่ำ โดยให้เป็ดหากินเมล็ดข้าว ปูนา และหอยเชอร์รี่ที่มีอยู่ในท้องนา อีกทั้งเป็ดยังช่วยกำจัดปูนา หอยเชอร์รี่ซึ่งถือเป็นศัตรูของข้าว นอกจากนี้ยังได้ปุ๋ยจากมูลเป็ดอีกทางหนึ่งด้วย โดยเป็ดจะเหยียบย่ำตอซังข้าวให้ราบและเน่าเปื่อยเป็นปุ๋ยเร็วขึ้น
ดังนั้นกรมปศุสัตว์จึงได้กำหนดมาตรการ เพื่อจำกัดเขตการเลี้ยง โดยต้องเลี้ยงภายในโซน หรือบริเวณเฉพาะที่แต่ละจังหวัดได้กำหนดไว้ ห้ามเคลื่อนย้ายข้ามโซน เกษตรกรผู้เลี้ยงต้องขึ้นทะเบียน มีการสุ่มตรวจมูลเป็ดทุก ๆ 2 เดือน ซึ่งท้ายที่สุดการเลี้ยงเป็ด ต้องปรับเปลี่ยนลักษณะการเลี้ยงให้เป็นฟาร์มที่มีโรงเรือนในลักษณะปิด และมีการจัดการฟาร์มตั้งแต่การอนุบาลไปจนถึงโรงฆ่าเช่นเดียวกับไก่เนื้อ ไก่ไข่ เพื่อเป็นการป้องกันโรคระบาดแบบยั่งยืนต่อไป
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-
แม้ว่าที่ผ่านมาโดยตลอดนั้น รัฐบาลจะมีมาตรการในการเลี้ยงสัตว์ปีกอย่างเข้มงวด แต่ก็ยังพบว่ามีการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดนกเกิดขึ้นในช่วง 2 — 3 สัปดาห์ที่ผ่านมา สาเหตุหนึ่งอาจจะเกิดจากการเลี้ยงเป็ด ในลักษณะไล่ทุ่งของเกษตรกรผู้เลี้ยงเป็ดเนื้อและเป็ดไข่ ซึ่งการเลี้ยงในลักษณะเช่นนี้จะใช้ต้นทุนต่ำ โดยให้เป็ดหากินเมล็ดข้าว ปูนา และหอยเชอร์รี่ที่มีอยู่ในท้องนา อีกทั้งเป็ดยังช่วยกำจัดปูนา หอยเชอร์รี่ซึ่งถือเป็นศัตรูของข้าว นอกจากนี้ยังได้ปุ๋ยจากมูลเป็ดอีกทางหนึ่งด้วย โดยเป็ดจะเหยียบย่ำตอซังข้าวให้ราบและเน่าเปื่อยเป็นปุ๋ยเร็วขึ้น
ดังนั้นกรมปศุสัตว์จึงได้กำหนดมาตรการ เพื่อจำกัดเขตการเลี้ยง โดยต้องเลี้ยงภายในโซน หรือบริเวณเฉพาะที่แต่ละจังหวัดได้กำหนดไว้ ห้ามเคลื่อนย้ายข้ามโซน เกษตรกรผู้เลี้ยงต้องขึ้นทะเบียน มีการสุ่มตรวจมูลเป็ดทุก ๆ 2 เดือน ซึ่งท้ายที่สุดการเลี้ยงเป็ด ต้องปรับเปลี่ยนลักษณะการเลี้ยงให้เป็นฟาร์มที่มีโรงเรือนในลักษณะปิด และมีการจัดการฟาร์มตั้งแต่การอนุบาลไปจนถึงโรงฆ่าเช่นเดียวกับไก่เนื้อ ไก่ไข่ เพื่อเป็นการป้องกันโรคระบาดแบบยั่งยืนต่อไป
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-