สรุปภาวะการค้าไทย-สหรัฐระหว่างเดือน ม.ค.- ก.ย.2548

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday November 17, 2005 15:17 —กรมส่งเสริมการส่งออก

1. สหรัฐอเมริกาเป็นตลาดนำเข้าสำคัญอันดับ 1 ของโลก  (ม.ค.-ก.ย.48) มีมูลค่าการนำเข้ารวม  
1,221,334,411,357 เหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.77
2. แหล่งผลิตสำคัญที่สหรัฐอเมริกานำเข้าในปี 2548 (ม.ค.-ก.ย.) ได้แก่
- แคนาดา ร้อยละ 17.14 มูลค่า 209,313.655 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.02
- จีน ร้อยละ 14.42 มูลค่า 176,138.953 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.93
- เม็กซิโก ร้อยละ 10.02 มูลค่า 124,560.237 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.32
- ญี่ปุ่น ร้อยละ 8.37 มูลค่า 102,214.636 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.01
ส่วนการนำเข้าจากไทยอยู่อันดับที่ 17 สัดส่วนร้อยละ 1.20 มูลค่า 14,612.823 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.36
3. เศรษฐกิจสหรัฐฯ เป็นเศรษฐกิจที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก โดยมีมูลค่าผลผลิตมวลรวมในประเทศ(GDP) ใน
ปี 2004 เท่ากับ 11.6 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็น 28% ของ GDP โลกดังนั้นผลกระทบต่างๆ ที่เกิดขึ้น
กับสหรัฐฯ จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจทั่วโลกอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ทั้งนี้เศรษฐกิจสหรัฐฯ กำลังเผชิญกับภาวะ
ฟองสบู่รอบใหม่ จากราคาที่อยู่อาศัยที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในไตรมาส 2 ของปี 2005 โดยปัจจัยที่ทำให้เกิด
ฟองสบู่ในที่อยู่อาศัย ได้แก่
- อัตราดอกเบี้ยและอัตราเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับต่ำ กระตุ้นให้คนหันมาลงทุนในที่อยู่อาศัยมากขึ้น
- ผู้บริโภคขาดความเชื่อมั่นในตลาดหลักทรัพย์หลังฟองสบู่ในธุรกิจดอตคอมแตกปี 2000 และหันมา
ลงทุนในตลาดที่อยู่อาศัย
- รูปแบบที่หลากหลายของสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย เอื้ออำนวยให้คนหันมากู้เงินเพื่อหวังเก็งกำไรในตลาด
- ความต้องการที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้น จากจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น ขณะที่อุปทานมีอย่างจำกัด โดย
เฉพาะตามเมืองใหญ่ๆ เช่นนิวยอร์กซิตี้ ซานฟรานซิสโก เป็นต้น
ทั้งนี้จากปัจจัยข้างต้น หากธนาคารกลางสหรัฐฯ ต้องการลดความร้อนแรงของราคาที่อยู่อาศัยโดย
การเพิ่มอัตราดอกเบี้ยอย่างรวดเร็ว ซึ่งส่งผลต่อส่วนต่างระหว่างอัตราดอกเบี้ยของไทยและสหรัฐฯ เพิ่มมากขึ้น
ก็จะก่อให้เกิดความผันผวนของดุลบัญชีทุนเคลื่อนย้ายสุทธิ และค่าเงินบาท
เศรษฐกิจสหรัฐฯ ไตรมาส 3 ขยายตัวมากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 3.8
โดยการขยายตัวในไตรมาส 2 อยู่ที่ร้อยละ 3.3 ในขณะที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) ประกาศขึ้นดอกเบี้ยอีก
ร้อยละ 0.25 อยู่ที่ร้อยละ 4 ซึ่งนับเป็นการปรับขึ้นตรั้งที่ 12 ติดต่อกัน และเป็นอัตราสูงสุดในรอบ 4 ปี การ
ปรับดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่องแสดงให้เห็นว่า สหรัฐฯ มีความกังวลต่อแรงกดดันทางด้านเงินเฟ้อ
4. สหรัฐอเมริกาเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับหนึ่งของไทย โดยมีสัดส่วนการส่งออกไปตลาดนี้ (ม.ค.-ก.ย.2548)
มูลค่า 12,668.66 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สัดส่วนร้อยละ 15.45 เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.70 หรือคิดเป็นร้อยละ
74.22 ของเป้าหมายการส่งออก
5.การค้าระหว่างประเทศไทย-สหรัฐฯ
มูลค่า : ล้านเหรียญสหรัฐ
2545 2546 2547 2547 2548 อัตราการขยายตัว (ร้อยละ)
2545 2546 2547 2548
(ม.ค.-ก.ย.) (ม.ค.-ก.ย) (ม.ค.-ก.ย)
มูลค่าการค้า 19,656.45 20,688.79 22,732.18 16,697.94 19,206.93 -3.45 5.25 9.88 15.03
สินค้าออก 13,509.42 13,596.19 15,516.81 11,341.73 12,668.66 2.35 0.64 14.13 11.70
สินค้าเข้า 6,147.03 7,092.60 7,215.37 5,356.22 6,538.27 -14.14 15.38 1.73 22.07
ดุลการค้า 7,362.39 6,503.59 8,301.44 5,985.51 6,130.40 21.89 -11.66 27.64 2.42
6. สินค้าไทยส่งออกไปสหรัฐอเมริกา (ม.ค.-ก.ย. 2548) 25 อันดับแรกมีสัดส่วนรวมกันร้อยละ 78.59 ของ
มูลค่าการส่งออกโดยรวมไปตลาดนี้ สินค้าสำคัญที่มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นเกินกว่าร้อยละ 50 มี 3 รายการ สินค้า
สำคัญที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้นเกินกว่าร้อยละ 25 มี 6 รายการ และสินค้าที่มีมูลค่าลดลงเกินกว่าร้อยละ 20 มี
2 รายการ
สถิติการส่งออกสินค้าไทยไปสหรัฐที่มีมูลค่าการเปลี่ยนแปลงสูง
มูลค่า : ล้านเหรียญสหรัฐ
อันดับที่ มูลค่า : ล้านเหรียญสหรัฐ มูลค่าการ %เปลี่ยนแปลง สัดส่วน ร้อยละ2548
ตลาด ม.ค.-ก.ย47 ม.ค.-ก.ย48 เปลี่ยนแปลง ม.ค.-ก.ย 2547 ม.ค.-ก.ย
1. สินค้าที่มีมูลค่าการส่งออกไปสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นสูง
มากกว่าร้อยละ 50 มี 3 รายการ
(1) เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบอื่นๆ 8 250.18 417.36 167.18 66.82 2.33 3.29
(2) กุ้งสดแช่เย็น แช่แข็ง 9 238.67 378.40 139.73 58.55 2.41 2.99
(3) ผลิตภัณฑ์พลาสติก 12 140.62 250.10 109.48 77.86 1.29 1.97
2. สินค้าที่มีมูลค่าการส่งออกไปสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นสูง
มากกว่าร้อยละ 25 มี 5 รายการ
(1) อัญมณีและเครื่องประดับ 4 513.08 691.78 17.87 34.83 4.63 5.46
(2) ผลิตภัณฑ์ยาง 6 337.10 449.66 112.56 33.39 3.10 3.55
(3) วงจรพิมพ์ 11 255.88 326.64 70.76 27.66 2.20 2.58
(4) เครื่องใช้บนโต๊ะอาหารในครัวฯ 18 150.61 191.76 41.15 27.32 1.33 1.51
(5) เครื่องจักรกลและส่วนประกอบฯ 20 126.08 174.67 48.59 38.54 1.11 1.38
(6) เม็ดพลาสติก 23 95.58 138.24 42.66 44.64 0.79 1.09
3. สินค้าที่มีมูลค่าการส่งออกไปสหรัฐฯ ลดลง
มากกว่าร้อยละ 20 มี 2 รายการ
(1) ส่วนประกอบอากาศยานและอุปกรณ์การบิน 21 282.81 174.36 -108.45 -38.35 2.25 1.38
(2) แผงสวิสซ์และแผงควบคุม-กระแสไฟฟ้า 22 194.03 145.08 -48.95 -25.23 1.59 1.15
รวบรวมโดย : ศูนย์สารสนเทศการค้าระหว่างประเทศ
จากสถิติการส่งออกดังกล่าวมีข้อสังเกต ดังนี้
เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบ (HS. 85) Electrical Machinery
สหรัฐฯ นำเข้าจากไทยเป็นอันดับที่ 8 มูลค่า 4,256.874 ล้านเหรียญสหรัฐ มีสัดส่วนร้อยละ 2.85
เพิ่มขึ้นร้อยละ 33.32 ด้านการนำเข้าจากตลาดโลกของสหรัฐฯ มูลค่า 149,376.108 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 11.54 นำเข้าจาก จีน เม็กซิโก ญี่ปุ่น เป็นหลัก (ม.ค.-ก.ย. 2548)
กุ้งสดแช่เย็น แช่แข็ง (HS. 030613) SHRIMP, PRAWN FROZEN
สหรัฐฯ นำเข้าจากไทยเป็นอันดับที่ 1 มูลค่า 399.505 ล้านเหรียญสหรัฐ มีสัดส่วนร้อยละ 21.34
เพิ่มขึ้นร้อยละ 49.01 ด้านการนำเข้าจากตลาดโลกของสหรัฐฯ มูลค่า 1,871.924 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง
ร้อยละ 0.47 นำเข้าจาก ไทย อินโดนีเซีย เวียดนาม เป็นหลัก (ม.ค.-ก.ย. 2548)
ผลิตภัณฑ์พลาสติก (HS. 3924) Tableware, Kitchenware, Other Household Articles and
Toilet Articles of Plastic
สหรัฐฯ นำเข้าจากไทยอันดับที่ 8 มูลค่า 22.542 ล้านเหรียญสหรัฐ มีสัดส่วนร้อยละ 1.18
เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.42 ด้านการนำเข้าจากตลาดโลกของสหรัฐฯ มูลค่า 1,905.214 ล้านเหรียญสหรัฐเพิ่มขึ้นร้อยละ
20.99 นำเข้าจาก จีน เม็กซิโก ไต้หวัน เป็นหลัก (ม.ค.-ก.ย. 2548)
อัณมณีและเครื่องประดับ
- (HS.7102) DIAMONS
สหรัฐฯ นำเข้าจากไทยเป็นอันดับที่ 15 มูลค่า 30.977 ล้านเหรียญสหรัฐ มีสัดส่วนร้อยละ 0.25
ลดลงร้อยละ 13.59 ด้านการนำเข้าจากตลาดโลกของสหรัฐฯ มูลค่า 12,239.345 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 11.28 นำเข้าจาก อิสราเอล อินเดีย เบลเยี่ยม เป็นหลัก (ม.ค.-ก.ย. 2548)
- (HS 7103) Precious And Semiprecious stone
สหรัฐฯ นำเข้าจากไทยเป็นอันดับที่ 1 มูลค่า 138.364 ล้านเหรียญสหรัฐ มีสัดส่วนร้อยละ 23.43
เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.96 ด้านการนำเข้าจากตลาดโลกของสหรัฐฯ มูลค่า 590.503 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ
13.43 นำเข้าจาก ไทย อินเดีย ฮ่องกง เป็นหลัก (ม.ค.-ก.ย. 2548)
- (HS 7113) Jewelry With Prec Met
สหรัฐฯ นำเข้าจากไทยเป็นอันดับที่ 4 มูลค่า 633.423 ล้านเหรียญสหรัฐ มีสัดส่วนร้อยละ 11.44
เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.16 ด้านการนำเข้าจากตลาดโลกของสหรัฐฯ มูลค่า 5,551.467 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 12.94 นำเข้าจาก อินเดีย จีน อิตาลี เป็นหลัก (ม.ค.-ก.ย. 2548)
ผลิตภัณฑ์ยาง
-(HS.4015) APPARL AND ACCESS, SFT, VUL (ถุงมือและถุงมือที่ใช้ทางศัลยกรรม เครื่อง
แต่งกายและของประดับ)
สหรัฐฯ นำเข้าจากไทยเป็นอันดับที่ 2 มูลค่า 271.729 ล้านเหรียญสหรัฐ มีสัดส่วนร้อยละ 32.67
เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.84 ด้านการนำเข้าจากตลาดโลกของสหรัฐฯ มูลค่า 831.797 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ
9.31 นำเข้าจาก มาเลเซีย ไทย จีน เป็นหลัก (ม.ค.-ก.ย. 2548)
-(HS 4016) OT ART OF UNHARD, VULC (เสื่อ ของอื่นๆ ทำด้วย Vulcanized ยางรัด
ยางลบ กระเบื้องปูพื้น
สหรัฐฯ นำเข้าจากไทยเป็นอันดับที่ 11 มูลค่า 33.013 ล้านเหรียญสหรัฐ มีสัดส่วนร้อยละ 1.81
เพิ่มขึ้นร้อยละ 30.89 ด้านการนำเข้าจากตลาดโลกของสหรัฐฯ มูลค่า 1,825.128 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 6.58 นำเข้าจาก แคนาดา ญี่ปุ่น เม็กซิโก เป็นหลัก (ม.ค.-ก.ย. 2548)
-(HS 4014) HYG/ PHARM ART, SFT, VUL ของใช้ทางเภสัชกรรม
สหรัฐฯ นำเข้าจากไทยเป็นอันดับที่ 3 มูลค่า 5.333 ล้านเหรียญสหรัฐ มีสัดส่วนร้อยละ 12.55
ลดลงร้อยละ 28.93 ด้านการนำเข้าจากตลาดโลกของสหรัฐฯ มูลค่า 42.497 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ
2.09 นำเข้าจาก อินเดีย ญี่ปุ่น ไทย เป็นหลัก (ม.ค.-ก.ย. 2548)
วงจรพิมพ์ (HS. 8534) Printed Circuits
สหรัฐฯ นำเข้าจากไทยเป็นอันดับที่ 8 มูลค่า 49.092 ล้านเหรียญสหรัฐ มีสัดส่วนร้อยละ 3.07
เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.54 ด้านการนำเข้าจากตลาดโลกของสหรัฐฯ มูลค่า 1,599.036 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง
ร้อยละ 0.59 นำเข้าจาก จีน แคนาดา ไต้หวัน เป็นหลัก (ม.ค-ก.ย 2548)
เครื่องใช้บนโต๊ะอาหารในครัวและบ้านเรือน (HS. 3924) Tableware, O Household
สหรัฐฯ นำเข้าจากไทยเป็นอันดับที่ 8 มูลค่า 22.542 ล้านเหรียญสหรัฐ มีสัดส่วนร้อยละ 1.18
เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.42 ด้านการนำเข้าจากตลาดโลกของสหรัฐฯ มูลค่า 1,905.214 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 20.99 นำเข้าจาก จีน เม็กซิโก ไต้หวัน เป็นหลัก (ม.ค-ก.ย 2548)
เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ (HS. 84) MACHINERY
สหรัฐฯ นำเข้าจากไทยเป็นอันดับที่ 13 มูลค่า 2,486.558 ล้านเหรียญสหรัฐ มีสัดส่วนร้อยละ
1.51 เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.23 ด้านการนำเข้าจากตลาดโลกของสหรัฐฯ มูลค่า 164,613.271 ล้านเหรียญสหรัฐ
เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.31 นำเข้าจาก จีน ญี่ปุ่น เม็กซิโก เป็นหลัก (ม.ค.-ก.ย. 2548)
เม็ดพลาสติก (HS.3901 ) ETHYLENE, PRIMARY FORM
สหรัฐฯ นำเข้าจากไทยเป็นอันดับที่ 6 มูลค่า 16.251 ล้านเหรียญสหรัฐ มีสัดส่วนร้อยละ 0.74
เพิ่มขึ้นร้อยละ 481.89 ด้านการนำเข้าจากตลาดโลกของสหรัฐฯ มูลค่า 2,197.567 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 18.79 นำเข้าจาก แคนาดา เยอรมนี ญี่ปุ่น เป็นหลัก (ม.ค.-ก.ย. 2548)
7. ข้อมูลเพิ่มเติมและข้อคิดเห็นเกี่ยวกับการค้าระหว่างไทย-สหรัฐฯ
ประธานาธิบดีจอร์ช ดับเบิ้ลยู บุช ของสหรัฐฯ ได้เสนอชื่อนายเบน เบอร์นันเก้ ประธานที่ปรึกษา
ทางเศรษฐกิจของทำเนียบขาวขึ้นดำรงตำแหน่งประธานธนาคารสหรัฐฯ (เฟด) แทนนายอลัน กรีนสแปน ซึ่งจะ
หมดวาระลงในวันที่ 31 มกราคม 2549 ส่งผลให้ตลาดเงินและตลาดทุนสหรัฐฯ มีปฏิกริยาตอบสนองในทิศทางที่
ค่อนข้างหลากหลาย โดยเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ปรับตัวอ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่อง
เมื่อเทียบกับเงินเยนและเงินยูโร ทั้งนี้ปฏิกริยาตอบสนองดังกล่าวอาจเป็นการสะท้อนว่าตลาดมีความ
ไม่มั่นใจต่อจุดยืนของประธานาธิบดีเฟดคนใหม่ว่าจะดำเนินนโยบายการเงินโดยโน้มเอียงไปที่เป้าหมายใดมากกว่า
กัน ระหว่างเป้าหมายการรักษาเสถียรภาพของอัตราเงินเฟ้อหรือเป้าหมายของการขยายตัว ของเศรษฐกิจ ซึ่ง
จะสนับสนุนให้อัตราการว่างงานมีระดับต่ำ
อย่างไรก็ตามในระยะที่นายอลัน กรีนสแปน ยังคงดำรงตำแหน่งอยู่ การดำเนินนโยบายอัตราดอกเบี้ย
ของเฟดน่าจะยังคงเดินหน้าปรับอัตราดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่อง ซึ่งคงจะส่งผลให้ตลาดการเงินและตลาดทุนของสหรัฐฯ
หันกลับมาให้น้ำหนักกับประเด็นแวดล้อมทางเศรษฐกิจอื่นๆ อาทิ ข้อมูลเศรษฐกิจหลักๆ ของสหรัฐฯ
การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟดคงจะไม่ใช่ปัจจัยหลักที่ธนาคารแห่งประเทศไทยจะพิจารณาสำหรับ
การดำเนินนโยบายอัตราดอกเบี้ย โดยธนาคารแห่งประเทศไทยจะเน้นการให้น้ำหนักปัจจัยภายในประเทศและ
เลือกปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างค่อยเป็นค่อยไปในเวลาที่เหมาะสม พร้อมกับจะมีการดูแลค่าเงินบาทไม่ให้
เคลื่อนไหวออกนอกกรอบความเคลื่อนไหวของสกุลเงินภูมิภาค จนส่งผลในเชิงลบต่อความสามารถทางการแข่งขัน
ของประเทศเช่นกัน
ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์ เอเซียพลัส จำกัด (มหาชน) หรือ ASP เปิดเผยว่า
หากมีการเปิด FTA กับสหรัฐฯ จะมีแนวโน้มการควบคุมกิจการของบริษัทต่างๆ มากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะกลุ่ม
สถาบันการเงิน ซึ่งในกลุ่มนี้จะประกอบด้วยธนาคารพาณิชย์ บริษัทหลักทรัพย์ ประกันชีวิต และธุรกิจที่ไม่ใช่สถาบัน
การเงิน (NON BANK) ดังนั้นผู้ประกอบการไทยจะต้องปรับตัวเพื่อรองรับเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ทั้งนี้หาก
ในอนาคตจะมีการเปิดการค้าเสรีบริษัทขนาดเล็ก ก็อาจจะได้รับผลกระทบ และจะทำให้ธุรกิจหลักทรัพย์ในปีหน้า
มีการแข่งขันกันรุนแรงมากขึ้น เนื่องจากจะมีบริษัทจากต่างประเทศเข้ามาเป็นคู่แข่ง
ระหว่างวันที่ 15 - 19 พฤศจิกายน 2548 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
ดร.กันตธีร์ ศุภมงคล ได้เดินทางไปเข้าร่วมประชุมรัฐมนตรีกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจในเอเซีย - แปซิฟิก
(เอเปค) ครั้งที่ 17 และการประชุมผู้นำเศรษฐกิจเอเปคครั้งที่ 13 ณ เมืองปูซาน เกาหลีใต้ โดยการประชุม
ครั้งนี้จัดขึ้นภายใต้หัวข้อ "มุ่งหน้าสู่ความเป็นหนึ่งเดียว : เผชิญความท้าทายนำไปสู่ความเปลี่ยนแปลง" โดยใน
การประชุมครั้งนี้สหรัฐฯ เตรียมผลักดันเรื่องการดูแลความปลอดภัยการขนส่งสินค้า หรือ Supply Chain
Security ซึ่งข้อเสนอการคุ้มครองสินค้าตลอดสายการผลิตถึงผู้บริโภค จะส่งผลกระทบต่อการค้าและการส่งออก
ของไทย
ทั้งนี้ความร่วมมือดังกล่าวหมายถึงการดูแลการขนส่งสินค้าให้ได้รับความปลอดภัยจากโรงงานไปจนถึง
มือผู้บริโภคผ่านระบบการติดตั้งเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ไว้กับตู้ขนส่งสินค้า โดยสหรัฐฯ ต้องการให้ดำเนินการ
ต่อเนื่อง ทั้งการขนส่งทางทะเลและมาตรฐานความปลอดภัยทางอากาศ ซึ่งจะให้สอดคล้องกับกฎหมายระหว่าง
ประเทศ เน้นความสามารถการดูแลความปลอดภัยของท่าเรือและจะเป็นการเพิ่มขีดความสามารถทางการค้าอีก
ด้านหนึ่ง
ภาคเอกชนไทยแสดงท่าทีว่ารับได้ แต่จะต้องหารือเรื่องต้นทุนการขนส่งที่จะเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 40
ดอลลาร์ ต่อตู้คอนเทนเนอร์ ซึ่งในเบื้องต้นเห็นควรเป็นความร่วมมือที่อยู่บนมาตรฐานที่ใกล้เคียงกับที่ใช้อยู่แล้ว
ที่มา: http://www.depthai.go.th

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ