ในปี 2547 ที่ผ่านมา มีการผันผวนของราคาน้ำมัน โดยราคาน้ำมันมีการปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งได้ส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจเลือกซื้อยานยนต์ และการชะลอการซื้อยานยนต์ของผู้บริโภค แต่อย่างไรก็ตาม การที่ภาครัฐได้มีการปรับปรุงโครงสร้างภาษีสรรพสามิตรถยนต์ ทำให้รถยนต์บางประเภทมีภาระภาษีที่ลดลงกว่าเดิม เป็นปัจจัยบวกที่กระตุ้นและตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค ทำให้ตลาดยานยนต์ไทยยังคงสามารถขยายตัวได้ นอกจากนี้ ได้มีการมอบหมายให้กระทรวงคมนาคมพิจารณาปรับขึ้นค่าธรรมเนียมจดทะเบียนรถยนต์และป้ายทะเบียนรถยนต์ และภาษีรถยนต์ประจำปีสำหรับรถยนต์ทุกประเภท เพื่อก่อให้เกิดการใช้รถยนต์อย่างประหยัดพลังงาน ซึ่งคาดว่าจะเกิดผลดีต่ออุตสาหกรรมยานยนต์ไทยในระยะยาว
สภาวะอุตสาหกรรมยานยนต์ ปี 2547
ในปี 2547 อุตสาหกรรมยานยนต์ของไทยมีการขยายตัวทั้งในด้านการผลิต การจำหน่าย และการส่งออก อันเนื่องมาจากการเติบโตด้านเศรษฐกิจของประเทศ สภาพคล่องทางการเงินที่เอื้ออำนวย และการจัดกิจกรรมส่งเสริมการตลาดของค่ายยานยนต์ ตลอดจน การนำเสนอยานยนต์รุ่นใหม่ๆ ที่สนองตอบต่อความต้องการของผู้บริโภคเป็นอย่างดี ทำให้สภาวะอุตสาหกรรมยานยนต์ในปี 2547 มีการผลิตรถยนต์รวมทุกประเภทประมาณ 920,000 คัน เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 22.58 โดยแบ่งเป็นการผลิตรถยนต์นั่ง
สัดส่วนประมาณร้อยละ 33 รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน ประมาณร้อยละ 64 และรถยนต์พาณิชย์อื่นๆ ประมาณ
ร้อยละ 3 มีการจำหน่ายประมาณ 620,000 คัน เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 16.28 โดยเป็นการจำหน่ายรถยนต์นั่งสัดส่วนประมาณร้อยละ 34 เป็นการจำหน่ายรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน ประมาณร้อยละ 58 ที่เหลืออีกประมาณร้อยละ 8 เป็นการจำหน่ายรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ และมีการส่งออกรถยนต์ประมาณ 320,000 คัน เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 36.16 สัดส่วนปริมาณการส่งออกรถยนต์ทุกประเภทต่อปริมาณการผลิต คิดเป็นร้อยละ 34.78 และหากพิจารณาปริมาณการส่งออกรถยนต์โดยแยกรายประเภท เป็นการส่งออกรถยนต์นั่งคิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 33 รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน ประมาณร้อยละ 67 ประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญของรถยนต์นั่งจากประเทศไทยในปี 2547 ได้แก่ อินโดนีเซีย, สิงคโปร์ และฟิลิปปินส์ ตลาดส่งออกรถแวนและปิกอัพที่สำคัญ ได้แก่ สหราชอาณาจักรฯ และออสเตรเลีย ตลาดส่งออกรถบัสและรถบรรทุกที่สำคัญ ได้แก่ ออสเตรเลีย สำหรับการนำเข้ารถยนต์ของไทยในปี 2547 มีการนำเข้ารถยนต์นั่งมูลค่าประมาณ 15,500 ล้านบาท ลดลงจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 4.48 ซึ่งแหล่งนำเข้ารถยนต์นั่งของไทยที่สำคัญ ได้แก่ ฟิลิปปินส์, ญี่ปุ่น และอินโดนีเซีย และมีการนำเข้ารถยนต์โดยสารและรถบรรทุกมูลค่าประมาณ 7,500 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วร้อยละ 45.77 ซึ่งแหล่งนำเข้ารถยนต์โดยสารและรถบรรทุกของไทยที่สำคัญ ได้แก่ ญี่ปุ่น
สำหรับอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ในปี 2547 มีการผลิตประมาณ 2,800,000 คัน เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 15.48 มีการจำหน่ายประมาณ 2,000,000 คัน เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 13.94 โดยเป็นการจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบครอบครัวถึงร้อยละ 99 ที่เหลืออีกร้อยละ 1 เป็นการจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบสปอร์ต และมีการส่งออกรถจักรยานยนต์(CBU&CKD) ประมาณ 830,000 คัน เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 37.19 ประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญของรถจักรยานยนต์จากประเทศไทยในปี 2547 ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และเบลเยี่ยม ในส่วนของการนำเข้ารถจักรยานยนต์ของไทยในปี 2547 มีมูลค่าประมาณ 1,500 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 11.31 ซึ่งแหล่งนำเข้ารถจักรยานยนต์ของไทยที่สำคัญในปี 2547 ได้แก่ ญี่ปุ่น
แนวโน้มของอุตสาหกรรมยานยนต์ ปี 2548
ในปี 2548 อุตสาหกรรมรถยนต์ไทยจะมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ทั้งด้านการผลิต การจำหน่าย และการส่งออก เนื่องจากบริษัทผู้ผลิตรถยนต์หลายรายอยู่ในระหว่างการย้ายฐานการผลิตรถยนต์ปิกอัพจากประเทศญี่ปุ่นมายังประเทศไทย ดังนั้น ปริมาณการผลิตเพื่อส่งออกรถยนต์ปิกอัพของไทยจึงเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เนื่องจากเป็นการถ่ายโอนโควต้าการผลิต นอกจากนี้ จากการที่ภาวะเศรษฐกิจในภาพรวมภายในประเทศที่กำลังขยายตัว ประกอบกับผู้ผลิตและจำหน่ายรถยนต์ต่างๆ ได้วางแผนที่จะนำเสนอรถยนต์รุ่นใหม่มากระตุ้นตลาด ตลอดจน มีการแข่งขันกันในการส่งเสริมกิจกรรมการขาย ปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้อุตสาหกรรมรถยนต์ไทยขยายตัว แม้ว่าในปี 2548 อัตราดอกเบี้ยของไทยมีแนวโน้มจะเพิ่มสูงขึ้น แต่ยังคงเป็นอัตราที่ไม่สูงเมื่อเทียบกับในอดีต ซึ่งคาดว่าจะไม่ส่งผลกระทบต่อการขยายตัวของอุตสาหกรรมรถยนต์ จึงเป็นไปได้ว่าในปี 2548 นี้ จะมีการผลิตรถยนต์ 1.10 ล้านคัน มีการจำหน่ายในประเทศ 0.70 ล้านคัน และส่งออก 0.40 ล้านคัน เพิ่มขึ้นจากปี 2547 ร้อยละ 19.57 , 12.90 และ 25.0 ตามลำดับ
ในส่วนของอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์จะยังคงมีแนวโน้มที่ดี เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจท้องถิ่นยังมีความคล่องตัว และมีกำลังซื้อในตลาด ประกอบกับ ผู้ผลิตแต่ละราย ได้มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้สนองความต้องการของตลาดมากขึ้น หลายบริษัทมีแผนที่จะนำเสนอรถจักรยานยนต์รุ่นใหม่ หรือปรับปรุงรุ่นเดิม มีการแข่งขันในธุรกิจจัดจำหน่ายและด้านสินเชื่อรถจักรยานยนต์อย่างเข้มข้น มีการนำกลยุทธ์ทางการตลาดรูปแบบใหม่ๆ มาใช้ให้เข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายโดยตรง ตลอดจน การจัดกิจกรรมที่ช่วยเสริมภาพลักษณ์ของยี่ห้อผลิตภัณฑ์ ทั้งในด้านความปลอดภัย การประหยัดพลังงาน และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม จึงคาดได้ว่า จะมีการผลิตรถจักรยานยนต์ 3.00 ล้านคัน มีการจำหน่ายในประเทศ 2.20 ล้านคัน ซึ่งจะเพิ่มขึ้นจากปี 2547 ร้อยละ 7.14 และ 10 ตามลำดับ และมีการส่งออก 0.80 ล้านคัน
สำหรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ ส่วนใหญ่แล้วจะขึ้นอยู่กับภาวะของอุตสาหกรรมรถยนต์และรถจักรยานยนต์ จึงเป็นที่คาดได้ว่าอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ในปี 2548 จะมีแนวโน้มเป็นไปในทิศทางเดียวกับอุตสาหกรรมรถยนต์ และรถจักรยานยนต์
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
สภาวะอุตสาหกรรมยานยนต์ ปี 2547
ในปี 2547 อุตสาหกรรมยานยนต์ของไทยมีการขยายตัวทั้งในด้านการผลิต การจำหน่าย และการส่งออก อันเนื่องมาจากการเติบโตด้านเศรษฐกิจของประเทศ สภาพคล่องทางการเงินที่เอื้ออำนวย และการจัดกิจกรรมส่งเสริมการตลาดของค่ายยานยนต์ ตลอดจน การนำเสนอยานยนต์รุ่นใหม่ๆ ที่สนองตอบต่อความต้องการของผู้บริโภคเป็นอย่างดี ทำให้สภาวะอุตสาหกรรมยานยนต์ในปี 2547 มีการผลิตรถยนต์รวมทุกประเภทประมาณ 920,000 คัน เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 22.58 โดยแบ่งเป็นการผลิตรถยนต์นั่ง
สัดส่วนประมาณร้อยละ 33 รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน ประมาณร้อยละ 64 และรถยนต์พาณิชย์อื่นๆ ประมาณ
ร้อยละ 3 มีการจำหน่ายประมาณ 620,000 คัน เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 16.28 โดยเป็นการจำหน่ายรถยนต์นั่งสัดส่วนประมาณร้อยละ 34 เป็นการจำหน่ายรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน ประมาณร้อยละ 58 ที่เหลืออีกประมาณร้อยละ 8 เป็นการจำหน่ายรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ และมีการส่งออกรถยนต์ประมาณ 320,000 คัน เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 36.16 สัดส่วนปริมาณการส่งออกรถยนต์ทุกประเภทต่อปริมาณการผลิต คิดเป็นร้อยละ 34.78 และหากพิจารณาปริมาณการส่งออกรถยนต์โดยแยกรายประเภท เป็นการส่งออกรถยนต์นั่งคิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 33 รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน ประมาณร้อยละ 67 ประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญของรถยนต์นั่งจากประเทศไทยในปี 2547 ได้แก่ อินโดนีเซีย, สิงคโปร์ และฟิลิปปินส์ ตลาดส่งออกรถแวนและปิกอัพที่สำคัญ ได้แก่ สหราชอาณาจักรฯ และออสเตรเลีย ตลาดส่งออกรถบัสและรถบรรทุกที่สำคัญ ได้แก่ ออสเตรเลีย สำหรับการนำเข้ารถยนต์ของไทยในปี 2547 มีการนำเข้ารถยนต์นั่งมูลค่าประมาณ 15,500 ล้านบาท ลดลงจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 4.48 ซึ่งแหล่งนำเข้ารถยนต์นั่งของไทยที่สำคัญ ได้แก่ ฟิลิปปินส์, ญี่ปุ่น และอินโดนีเซีย และมีการนำเข้ารถยนต์โดยสารและรถบรรทุกมูลค่าประมาณ 7,500 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วร้อยละ 45.77 ซึ่งแหล่งนำเข้ารถยนต์โดยสารและรถบรรทุกของไทยที่สำคัญ ได้แก่ ญี่ปุ่น
สำหรับอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ในปี 2547 มีการผลิตประมาณ 2,800,000 คัน เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 15.48 มีการจำหน่ายประมาณ 2,000,000 คัน เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 13.94 โดยเป็นการจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบครอบครัวถึงร้อยละ 99 ที่เหลืออีกร้อยละ 1 เป็นการจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบสปอร์ต และมีการส่งออกรถจักรยานยนต์(CBU&CKD) ประมาณ 830,000 คัน เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 37.19 ประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญของรถจักรยานยนต์จากประเทศไทยในปี 2547 ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และเบลเยี่ยม ในส่วนของการนำเข้ารถจักรยานยนต์ของไทยในปี 2547 มีมูลค่าประมาณ 1,500 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 11.31 ซึ่งแหล่งนำเข้ารถจักรยานยนต์ของไทยที่สำคัญในปี 2547 ได้แก่ ญี่ปุ่น
แนวโน้มของอุตสาหกรรมยานยนต์ ปี 2548
ในปี 2548 อุตสาหกรรมรถยนต์ไทยจะมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ทั้งด้านการผลิต การจำหน่าย และการส่งออก เนื่องจากบริษัทผู้ผลิตรถยนต์หลายรายอยู่ในระหว่างการย้ายฐานการผลิตรถยนต์ปิกอัพจากประเทศญี่ปุ่นมายังประเทศไทย ดังนั้น ปริมาณการผลิตเพื่อส่งออกรถยนต์ปิกอัพของไทยจึงเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เนื่องจากเป็นการถ่ายโอนโควต้าการผลิต นอกจากนี้ จากการที่ภาวะเศรษฐกิจในภาพรวมภายในประเทศที่กำลังขยายตัว ประกอบกับผู้ผลิตและจำหน่ายรถยนต์ต่างๆ ได้วางแผนที่จะนำเสนอรถยนต์รุ่นใหม่มากระตุ้นตลาด ตลอดจน มีการแข่งขันกันในการส่งเสริมกิจกรรมการขาย ปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้อุตสาหกรรมรถยนต์ไทยขยายตัว แม้ว่าในปี 2548 อัตราดอกเบี้ยของไทยมีแนวโน้มจะเพิ่มสูงขึ้น แต่ยังคงเป็นอัตราที่ไม่สูงเมื่อเทียบกับในอดีต ซึ่งคาดว่าจะไม่ส่งผลกระทบต่อการขยายตัวของอุตสาหกรรมรถยนต์ จึงเป็นไปได้ว่าในปี 2548 นี้ จะมีการผลิตรถยนต์ 1.10 ล้านคัน มีการจำหน่ายในประเทศ 0.70 ล้านคัน และส่งออก 0.40 ล้านคัน เพิ่มขึ้นจากปี 2547 ร้อยละ 19.57 , 12.90 และ 25.0 ตามลำดับ
ในส่วนของอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์จะยังคงมีแนวโน้มที่ดี เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจท้องถิ่นยังมีความคล่องตัว และมีกำลังซื้อในตลาด ประกอบกับ ผู้ผลิตแต่ละราย ได้มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้สนองความต้องการของตลาดมากขึ้น หลายบริษัทมีแผนที่จะนำเสนอรถจักรยานยนต์รุ่นใหม่ หรือปรับปรุงรุ่นเดิม มีการแข่งขันในธุรกิจจัดจำหน่ายและด้านสินเชื่อรถจักรยานยนต์อย่างเข้มข้น มีการนำกลยุทธ์ทางการตลาดรูปแบบใหม่ๆ มาใช้ให้เข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายโดยตรง ตลอดจน การจัดกิจกรรมที่ช่วยเสริมภาพลักษณ์ของยี่ห้อผลิตภัณฑ์ ทั้งในด้านความปลอดภัย การประหยัดพลังงาน และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม จึงคาดได้ว่า จะมีการผลิตรถจักรยานยนต์ 3.00 ล้านคัน มีการจำหน่ายในประเทศ 2.20 ล้านคัน ซึ่งจะเพิ่มขึ้นจากปี 2547 ร้อยละ 7.14 และ 10 ตามลำดับ และมีการส่งออก 0.80 ล้านคัน
สำหรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ ส่วนใหญ่แล้วจะขึ้นอยู่กับภาวะของอุตสาหกรรมรถยนต์และรถจักรยานยนต์ จึงเป็นที่คาดได้ว่าอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ในปี 2548 จะมีแนวโน้มเป็นไปในทิศทางเดียวกับอุตสาหกรรมรถยนต์ และรถจักรยานยนต์
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-