ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. สินเชื่อในระบบธนาคารพาณิชย์เดือน ต.ค.48 ขยายตัว 8% ธนาคารแห่งประเทศไทย
(ธปท.) รายงานยอดคงค้างเงินให้สินเชื่อของ ธพ.ทั้งไทยและสาขา ตปท. ณ วันที่ 31 ต.ค.48 ว่ามียอดรวมทั้ง
สิ้น 5,650,839 ล.บาท ขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อน 424,635 ล.บาท หรือ 8% โดยเป็นยอดคงค้างสินเชื่อ
แก่ภาครัฐทั้งสิ้น 75,759 ล.บาท เพิ่มขึ้น 39,042 ล.บาท หรือ 106.33% รัฐวิสาหกิจและองค์กรของรัฐ
90,789 ล.บาท เพิ่มขึ้น 23,221 ล.บาท หรือ 34.3% สถาบันการเงินพิเศษของรัฐ 11,503 ล.บาท เพิ่มขึ้น
5,656 ล.บาท หรือ 97.7% โรงรับจำนวน 3,346 ล.เพิ่มขึ้น เพิ่มขึ้น 492 ล.บาท หรือ 17.23% ส่วนภาค
ธุรกิจมียอดคงค้างสินเชื่อทั้งสิ้น 3,381,221 ล.บาท เพิ่มขึ้น 203,416 ล.บาท หรือ 6.40% และบุคคลธรรมดา
1,561,393 ล.บาท เพิ่มขึ้น 172,469 ล.บาท หรือ 12.41% (ไทยโพสต์)
2. คาดว่าปี 48 การส่งออกของไทยจะขยายตัวเพียง 15.3% นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รอง
นรม.และ รมว.พาณิชย์ เปิดเผยถึงตัวเลขการส่งออกในเดือน พ.ย.48 ว่ามีมูลค่า 9,841.9 ล.ดอลลาร์ สรอ.
เพิ่มขึ้น 14.5% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ในขณะที่การนำเข้ามีมูลค่า 9,786.6 ล.ดอลลาร์ สรอ.
เพิ่มขึ้น 14.7% ส่งผลให้เกินดุลการค้า 55.3 ล.ดอลลาร์ สรอ. สำหรับตัวเลขการส่งออกในช่วง 11 เดือนมี
มูลค่า 101,437 ล.ดอลลาร์ สรอ. ขยายตัวเพิ่มขึ้น 15.2% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งถือเป็นครั้ง
แรกในประวัติศาสตร์ที่สามารถส่งออกได้เกิน 100,000 ล.ดอลลาร์ สรอ. ส่วนการนำเข้ามีมูลค่า 108,634.8
ล.ดอลลาร์ สรอ. ขยายตัวเพิ่มขึ้น 25.5% ส่งผลให้ในช่วง 11 เดือนไทยขาดดุลการค้าทั้งสิ้น 7,197.8 ล.
ดอลลาร์ สรอ. สำหรับการส่งออกทั้งปี 48 คาดว่าจะขยายตัวเพียง 15.3% หรือคิดเป็นมูลค่า 111,288 ล.
ดอลลาร์ สรอ. ต่ำกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ 20% ส่วนดุลการค้าคาดว่าจะขาดดุลกว่า 7,000 ล.ดอลลาร์ สรอ.
(โลกวันนี้, กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน)
3. กำไรจากการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนใน ตลท. (ไม่รวมภาคการเงิน) ในไตรมาส 3
ปี 48 เพิ่มขึ้น 22.4% ฝ่ายวิจัยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เปิดเผยผลกำไรจากการดำเนินงานก่อนหักค่า
เสื่อมและค่าตัดจำหน่าย (EBITDA) ของบริษัทจดทะเบียน (ไม่รวมภาคการเงิน) ในไตรมาสที่ 3 ปี 48 ว่าเพิ่ม
ขึ้น 22.4% โดยอุตสาหกรรมส่วนใหญ่สอดคล้องกับการขยายตัวของเศรษฐกิจโดยรวม เช่น หมวดพลังงานและหมวด
ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ยกเว้นหมวดยานยนต์ และหมวดสื่อสารและวัสดุก่อสร้างซึ่งขยายตัวชะลอลง (ไทยโพสต์)
4. ธ.แลนด์แอนด์เฮ้าส์ เริ่มเปิดบริการในวันที่ 19 ธ.ค.48 นายรัตน์ พานิชพันธ์ ประธาน
กรรมการบริหาร ธนาคารแลนด์แอนด์เฮ้าส์ เพื่อรายย่อย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ธนาคารเริ่มเปิดบริการ
ตั้งแต่วันที่ 19 ธ.ค.48 มีบริษัทแลนด์แอนด์เฮ้าส์ ถือหุ้นใหญ่ 43% บริษัทควอลิตี้เฮ้าส์ ถือหุ้น 27% ส่วนที่เหลือเป็นผู้
ถือหุ้นรายย่อย โดยมีทุนจดทะเบียนเริ่มแรก 1,500 ล.บาท ให้บริการด้านเงินฝากทุกประเภท และบริหารสินเชื่อ
ทุกรูปแบบ ทั้งนี้ คาดว่าปลายปี 49 จะสามารถเพิ่มทุนอีก 2,600 ล.บาท หลังจากนั้นภายใน 3 ปีหรือปี 51
ธนาคารจะสามารถจัดตั้งเป็นธนาคารพาณิชย์เต็มรูปแบบได้โดยมีทุนจดทะเบียนอยู่ที่ 5,000 ล.บาท (ไทยโพสต์, กรุงเทพธุรกิจ)
5. ธ.กสิกรไทยได้รับการคัดเลือกเป็นธนาคารที่มีการจัดการดีที่สุดในเอเชีย นิตยสารยูโร มันนี่
นิตยสารเศรษฐกิจการเงินชั้นนำของโลกฉบับเดือน พ.ย.48 ได้เปิดเผยรายงานการสำรวจเพื่อจัดอันดับองค์กรที่มี
การจัดการดีที่สุดในเอเชียในด้านต่างๆ อาทิ การวางยุทธศาสตร์ธุรกิจขององค์กร ความโปร่งใส โดยสำรวจความ
คิดเห็นจากนักวิเคราะห์ตลาดของสถาบันการเงินและสถาบันวิจัยชั้นนำในเอเชีย จากจำนวนองค์กรที่เข้ารอบ 368
แห่ง ทั้งนี้ ผลสำรวจในกลุ่ม ธพ.และสถาบันการเงิน พบว่า ธ.กสิกรไทย ได้รับเลือกเป็นธนาคารที่มีการจัดการดีที่
สุดในเอเชีย มีการวางกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจขององค์กรที่น่าเชื่อถือ โดดเด่น ชัดเจน และมีความเป็นไปได้ ใน
ส่วนของความโปร่งใสในการดำเนินธุรกิจนั้น ธ.กสิกรไทยอยู่อันดับ 9 ของเอเชีย ซึ่งเป็นสถาบันการเงินไทยแห่ง
เดียวที่ติดอันดับ สำหรับผลการสำรวจองค์กรที่มีการจัดการดีที่สุดในเอเชียแบบรวมทุกกลุ่มธุรกิจ มีบริษัทไทยติด 10
อันดับแรกอยู่ 3 บริษัท คือ บริษัท ปตท. ได้รับการเลือกให้เป็นอันดับที่ 1 โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ อันดับที่ 8
และ ธ.กสิกรไทย อันดับที่ 9 (กรุงเทพธุรกิจ)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. คาดว่าเศรษฐกิจสหภาพยุโรปในช่วงปลายปีนี้ถึงต้นปีหน้าจะขยายตัวอย่างแข็งแกร่ง รายงานจา
กบรัสเซล เมื่อวันที่ 19 ธ.ค. 48 แหล่งข่าวของ EU คาดว่าสหภาพยุโรปจะเปิดเผยในรายงานเศรษฐกิจราย
ไตรมาสของ 12 ประเทศในยูโรโซนที่ใช้เงินยูโร ถึงภาพรวมความเสี่ยงและภาวะเศรษฐกิจว่าจะยังคงขยาย
ตัวอย่างแข็งแกร่งในช่วงปลายปี 48 ถึงต้นปี 49 อย่างไรก็ตามแรงกดดันอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (Core
Inflation) ที่สำคัญได้แก่ราคาน้ำมัน ซึ่งความเสี่ยงในระยะสั้นน้อยกว่าเมื่อ 3 เดือนที่แล้ว อนึ่งดัชนีชี้นำภาวะ
เศรษฐกิจบ่งชี้ว่าเศรษฐกิจจะยังคงขยายตัวอย่างแข็งแกร่งในช่วงปลายปีนี้ถึงต้นปีหน้า อย่างไรก็ตามผลกระทบจาก
การสูงขึ้นของราคาน้ำมันต่อราคาผู้ผลิตจะส่งผลต่ออัตราเงินเฟ้อในปีหน้าหากราคาน้ำมันยังคงอยู่ในระดับปัจจุบัน แม้
ว่าการบริโภคภาคเอกชนส่วนใหญ่จะฟื้นตัว จากอุปสงค์ในประเทศที่ขยายตัวอย่างแข็งแกร่งที่มีส่วนช่วยสนับสนุนการ
ลงทุน นอกจากนั้นการส่งออกก็เป็นปัจจัยสำคัญของการขยายตัวทางเศรษฐกิจ เนื่องจากผู้ส่งออกในยูโรโซนได้รับ
ประโยชน์จากการค้าโลก และการอ่อนค่าของเงินยูโร มานับตั้งแต่ต้นปี (รอยเตอร์)
2. เศรษฐกิจเยอรมนีในปี 49 มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น รายงานจากกรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี
เมื่อวันที่ 19 ธ.ค.48 รัฐบาลเยอรมนีเปิดเผยว่า อาจจะปรับเพิ่มประมาณการอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของ
เยอรมนีในปี 49 จากที่เคยคาดการณ์ไว้ที่ระดับร้อยละ 1.2 เนื่องจากเศรษฐกิจมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น แต่ก็ยังคง
กังวลเกี่ยวกับการบริโภคภาคเอกชนที่ยังอ่อนตัวอยู่ ซึ่งดูขัดแย้งกับราคาน้ำมันและอัตราการว่างงานที่ปรับตัวลดลง
แล้ว ทั้งนี้ ก่อนหน้านี้ Ifo สถาบันวิจัยทางเศรษฐกิจชั้นนำของประเทศได้ปรับเพิ่มประมาณการอัตราการเติบโต
ทางเศรษฐกิจของเยอรมนีจากร้อยละ 1.2 เป็นร้อยละ 1.7 โดย Ifo กล่าวว่าเศรษฐกิจของเยอรมนีมีสัญญาการ
ปรับตัวดีขึ้นอย่างชัดเจนหลังจากที่ซบเซามานานกว่า 5 ปี ซึ่งคาดว่าในปี 49 การลงทุนจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.9 ขณะ
ที่การส่งออกจะขยายตัวร้อยละ 7.5 เพิ่มขึ้นจากปีนี้ที่คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 6.2 ส่วนดัชนีชี้วัดบรรยากาศการลง
ทุนประจำเดือน ธ.ค. เพิ่มขึ้นใกล้แตะระดับสูงสุดในรอบกว่า 5 ปี ด้าน ก.เศรษฐกิจของเยอรมนีเปิดเผยว่า
การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องของเยอรมนียังคงต้องพึ่งพาการส่งออกเป็นปัจจัยสำคัญ ขณะที่ความต้องการ
บริโภคภายในประเทศเริ่มปรับตัวดีขึ้น แม้ทัศนคติของผู้บริโภคต่อภาวะเศรษฐกิจยังไม่สู้ดีนักก็ตาม (รอยเตอร์)
3. ราคาบ้านของอังกฤษในช่วง 3 เดือนสิ้นสุดเดือน พ.ย.48 เพิ่มขึ้นที่ระดับ +4 รายงาน
จากลอนดอน เมื่อ 20 ธ.ค.48 The Royal Institution of Chartered Surveyors เปิดเผยว่า ราคา
บ้านในอังกฤษในช่วง 3 เดือนสิ้นสุดเดือน พ.ย.48 เพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ +4 หลังจากที่ลดลงอยู่ที่ระดับ —8 ในเดือน
ต.ค.48 ทั้งนี้ราคาบ้านได้ลดลงต่อเนื่องกันถึง 15 เดือน ทำให้การเพิ่มขึ้นในครั้งนี้เป็นการเพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ
มากกว่า 1 ปี 3 เดือน และจากการที่ยอดขายบ้านเพิ่มขึ้นขณะที่จำนวนบ้านพร้อมขายมีจำนวนลดลง ส่งผลให้ผู้ซื้อ
บ้านเกิดความเสียโอกาสในตลาด โดยจำนวนยอดขายบ้านในเดือน พ.ย.48 เพิ่มขึ้นอยู่ในระดับสูงสุดตั้งแต่เดือน
ต.ค.47 อยู่ที่ระดับ 23.4 จากระดับ 22.8 ในเดือนก่อนหน้า สำหรับอัตราส่วนยอดขายบ้านต่อบ้านคงเหลือ ซึ่งนัก
เศรษฐศาสตร์นิยมนำมาเป็นเครื่องชี้วัดความต้องการที่อยู่อาศัย เพิ่มขึ้นอยู่ที่ร้อยละ 31.8 จากร้อยละ 30.8 ใน
เดือน ต.ค.48 อย่างไรก็ตาม แม้จะอยู่ในระดับที่ดี แต่ยังต่ำว่าอัตราเฉลี่ยระยะยาวที่อยู่ที่ร้อยละ 37 นอกจากนี้
ในเดือน พ.ย.จำนวนผู้ที่มีแนวโน้มว่าจะซื้อบ้านเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 6 อยู่ในอัตราที่ต่ำกว่าเดือนก่อนหน้า บ่ง
ชี้ว่าการลดอัตราดอกเบี้ยของธ.กลางอังกฤษเพื่อสนับสนุนราคาบ้านนั้นไม่ได้ผลมากนัก อย่างไรก็ตาม ข้อมูลจากผู้ซื้อ
บ้านใหม่ในนครลอนดอนพบว่า จำนวนผู้ซื้อบ้านใหม่ในเดือน พ.ย.48 เพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบมากกว่า 2 ปี และนับเป็น
เมืองที่ราคาบ้านเพิ่มขึ้นอย่างแข็งแกร่งเป็นประวัติการณ์ (รอยเตอร์)
4. ญี่ปุ่นจะปรับลดงบประมาณช่วยเหลือต่างประเทศลงในปีงบประมาณ 49/50 รายงานจาก
โตเกียว เมื่อวันที่ 20 ธ.ค. 48 รมว.คลังญี่ปุ่น เปิดเผยว่า ในปีงบประมาณ 49/50 ญี่ปุ่นจะปรับลดงบประมาณ
ช่วยเหลือต่างประเทศลงจากปีนี้ ร้อยละ 3.4 ส่วนหนึ่งเป็นความพยายามที่จะลดการใช้จ่ายภาครัฐลงเพื่อปรับปรุง
ฐานะการคลังในประเทศ ทั้งนี้ร่างงบประมาณในปีงบประมาณ 49/50 ซึ่งจะเริ่มในต้นเดือนเม.ย.ปีหน้า งบช่วย
เหลือต่างประเทศของญี่ปุ่นที่ตั้งไว้จะอยู่ที่ 759.70 พัน ล. เยน (6.54 พัน ล. ดอลลาร์ สรอ.) ลดลงจาก
786.20 พัน ล. เยน ในปีนี้ หรือลดลงจากปีนี้ร้อยละ 3.4 ทั้งนี้ที่ผ่านมางบช่วยเหลือต่างประเทศซึ่งรวมทั้งเงิน
บริจาคของญี่ปุ่น ได้ถูกปรับลดลงมาอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ปีงบประมาณ 43/44 เนื่องจากญี่ปุ่นต้องควบคุมภาระหนี้
สาธารณะที่เพิ่มสูงมากถึงร้อยละ 150 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (GDP) และสูงที่สุดในบรรดาประเทศ
อุตสาหกรรมชั้นนำทั้งหลาย (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 20 ธ.ค. 48 19 ธ.ค.48 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 40.941 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 40.7346/41.0300 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 4.06953 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 691.28/ 14.32 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 9,800/9,900 9,700/9,800 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 51.53 52.42 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 25.64*/23.09** 25.64*/23.09** 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับเพิ่ม 40 สตางค์ เมื่อ 15 ธ.ค. 48
** ปรับเพิ่ม 40 สตางค์ เมื่อ 15 ธ.ค. 48
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. สินเชื่อในระบบธนาคารพาณิชย์เดือน ต.ค.48 ขยายตัว 8% ธนาคารแห่งประเทศไทย
(ธปท.) รายงานยอดคงค้างเงินให้สินเชื่อของ ธพ.ทั้งไทยและสาขา ตปท. ณ วันที่ 31 ต.ค.48 ว่ามียอดรวมทั้ง
สิ้น 5,650,839 ล.บาท ขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อน 424,635 ล.บาท หรือ 8% โดยเป็นยอดคงค้างสินเชื่อ
แก่ภาครัฐทั้งสิ้น 75,759 ล.บาท เพิ่มขึ้น 39,042 ล.บาท หรือ 106.33% รัฐวิสาหกิจและองค์กรของรัฐ
90,789 ล.บาท เพิ่มขึ้น 23,221 ล.บาท หรือ 34.3% สถาบันการเงินพิเศษของรัฐ 11,503 ล.บาท เพิ่มขึ้น
5,656 ล.บาท หรือ 97.7% โรงรับจำนวน 3,346 ล.เพิ่มขึ้น เพิ่มขึ้น 492 ล.บาท หรือ 17.23% ส่วนภาค
ธุรกิจมียอดคงค้างสินเชื่อทั้งสิ้น 3,381,221 ล.บาท เพิ่มขึ้น 203,416 ล.บาท หรือ 6.40% และบุคคลธรรมดา
1,561,393 ล.บาท เพิ่มขึ้น 172,469 ล.บาท หรือ 12.41% (ไทยโพสต์)
2. คาดว่าปี 48 การส่งออกของไทยจะขยายตัวเพียง 15.3% นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รอง
นรม.และ รมว.พาณิชย์ เปิดเผยถึงตัวเลขการส่งออกในเดือน พ.ย.48 ว่ามีมูลค่า 9,841.9 ล.ดอลลาร์ สรอ.
เพิ่มขึ้น 14.5% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ในขณะที่การนำเข้ามีมูลค่า 9,786.6 ล.ดอลลาร์ สรอ.
เพิ่มขึ้น 14.7% ส่งผลให้เกินดุลการค้า 55.3 ล.ดอลลาร์ สรอ. สำหรับตัวเลขการส่งออกในช่วง 11 เดือนมี
มูลค่า 101,437 ล.ดอลลาร์ สรอ. ขยายตัวเพิ่มขึ้น 15.2% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งถือเป็นครั้ง
แรกในประวัติศาสตร์ที่สามารถส่งออกได้เกิน 100,000 ล.ดอลลาร์ สรอ. ส่วนการนำเข้ามีมูลค่า 108,634.8
ล.ดอลลาร์ สรอ. ขยายตัวเพิ่มขึ้น 25.5% ส่งผลให้ในช่วง 11 เดือนไทยขาดดุลการค้าทั้งสิ้น 7,197.8 ล.
ดอลลาร์ สรอ. สำหรับการส่งออกทั้งปี 48 คาดว่าจะขยายตัวเพียง 15.3% หรือคิดเป็นมูลค่า 111,288 ล.
ดอลลาร์ สรอ. ต่ำกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ 20% ส่วนดุลการค้าคาดว่าจะขาดดุลกว่า 7,000 ล.ดอลลาร์ สรอ.
(โลกวันนี้, กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน)
3. กำไรจากการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนใน ตลท. (ไม่รวมภาคการเงิน) ในไตรมาส 3
ปี 48 เพิ่มขึ้น 22.4% ฝ่ายวิจัยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เปิดเผยผลกำไรจากการดำเนินงานก่อนหักค่า
เสื่อมและค่าตัดจำหน่าย (EBITDA) ของบริษัทจดทะเบียน (ไม่รวมภาคการเงิน) ในไตรมาสที่ 3 ปี 48 ว่าเพิ่ม
ขึ้น 22.4% โดยอุตสาหกรรมส่วนใหญ่สอดคล้องกับการขยายตัวของเศรษฐกิจโดยรวม เช่น หมวดพลังงานและหมวด
ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ยกเว้นหมวดยานยนต์ และหมวดสื่อสารและวัสดุก่อสร้างซึ่งขยายตัวชะลอลง (ไทยโพสต์)
4. ธ.แลนด์แอนด์เฮ้าส์ เริ่มเปิดบริการในวันที่ 19 ธ.ค.48 นายรัตน์ พานิชพันธ์ ประธาน
กรรมการบริหาร ธนาคารแลนด์แอนด์เฮ้าส์ เพื่อรายย่อย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ธนาคารเริ่มเปิดบริการ
ตั้งแต่วันที่ 19 ธ.ค.48 มีบริษัทแลนด์แอนด์เฮ้าส์ ถือหุ้นใหญ่ 43% บริษัทควอลิตี้เฮ้าส์ ถือหุ้น 27% ส่วนที่เหลือเป็นผู้
ถือหุ้นรายย่อย โดยมีทุนจดทะเบียนเริ่มแรก 1,500 ล.บาท ให้บริการด้านเงินฝากทุกประเภท และบริหารสินเชื่อ
ทุกรูปแบบ ทั้งนี้ คาดว่าปลายปี 49 จะสามารถเพิ่มทุนอีก 2,600 ล.บาท หลังจากนั้นภายใน 3 ปีหรือปี 51
ธนาคารจะสามารถจัดตั้งเป็นธนาคารพาณิชย์เต็มรูปแบบได้โดยมีทุนจดทะเบียนอยู่ที่ 5,000 ล.บาท (ไทยโพสต์, กรุงเทพธุรกิจ)
5. ธ.กสิกรไทยได้รับการคัดเลือกเป็นธนาคารที่มีการจัดการดีที่สุดในเอเชีย นิตยสารยูโร มันนี่
นิตยสารเศรษฐกิจการเงินชั้นนำของโลกฉบับเดือน พ.ย.48 ได้เปิดเผยรายงานการสำรวจเพื่อจัดอันดับองค์กรที่มี
การจัดการดีที่สุดในเอเชียในด้านต่างๆ อาทิ การวางยุทธศาสตร์ธุรกิจขององค์กร ความโปร่งใส โดยสำรวจความ
คิดเห็นจากนักวิเคราะห์ตลาดของสถาบันการเงินและสถาบันวิจัยชั้นนำในเอเชีย จากจำนวนองค์กรที่เข้ารอบ 368
แห่ง ทั้งนี้ ผลสำรวจในกลุ่ม ธพ.และสถาบันการเงิน พบว่า ธ.กสิกรไทย ได้รับเลือกเป็นธนาคารที่มีการจัดการดีที่
สุดในเอเชีย มีการวางกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจขององค์กรที่น่าเชื่อถือ โดดเด่น ชัดเจน และมีความเป็นไปได้ ใน
ส่วนของความโปร่งใสในการดำเนินธุรกิจนั้น ธ.กสิกรไทยอยู่อันดับ 9 ของเอเชีย ซึ่งเป็นสถาบันการเงินไทยแห่ง
เดียวที่ติดอันดับ สำหรับผลการสำรวจองค์กรที่มีการจัดการดีที่สุดในเอเชียแบบรวมทุกกลุ่มธุรกิจ มีบริษัทไทยติด 10
อันดับแรกอยู่ 3 บริษัท คือ บริษัท ปตท. ได้รับการเลือกให้เป็นอันดับที่ 1 โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ อันดับที่ 8
และ ธ.กสิกรไทย อันดับที่ 9 (กรุงเทพธุรกิจ)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. คาดว่าเศรษฐกิจสหภาพยุโรปในช่วงปลายปีนี้ถึงต้นปีหน้าจะขยายตัวอย่างแข็งแกร่ง รายงานจา
กบรัสเซล เมื่อวันที่ 19 ธ.ค. 48 แหล่งข่าวของ EU คาดว่าสหภาพยุโรปจะเปิดเผยในรายงานเศรษฐกิจราย
ไตรมาสของ 12 ประเทศในยูโรโซนที่ใช้เงินยูโร ถึงภาพรวมความเสี่ยงและภาวะเศรษฐกิจว่าจะยังคงขยาย
ตัวอย่างแข็งแกร่งในช่วงปลายปี 48 ถึงต้นปี 49 อย่างไรก็ตามแรงกดดันอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (Core
Inflation) ที่สำคัญได้แก่ราคาน้ำมัน ซึ่งความเสี่ยงในระยะสั้นน้อยกว่าเมื่อ 3 เดือนที่แล้ว อนึ่งดัชนีชี้นำภาวะ
เศรษฐกิจบ่งชี้ว่าเศรษฐกิจจะยังคงขยายตัวอย่างแข็งแกร่งในช่วงปลายปีนี้ถึงต้นปีหน้า อย่างไรก็ตามผลกระทบจาก
การสูงขึ้นของราคาน้ำมันต่อราคาผู้ผลิตจะส่งผลต่ออัตราเงินเฟ้อในปีหน้าหากราคาน้ำมันยังคงอยู่ในระดับปัจจุบัน แม้
ว่าการบริโภคภาคเอกชนส่วนใหญ่จะฟื้นตัว จากอุปสงค์ในประเทศที่ขยายตัวอย่างแข็งแกร่งที่มีส่วนช่วยสนับสนุนการ
ลงทุน นอกจากนั้นการส่งออกก็เป็นปัจจัยสำคัญของการขยายตัวทางเศรษฐกิจ เนื่องจากผู้ส่งออกในยูโรโซนได้รับ
ประโยชน์จากการค้าโลก และการอ่อนค่าของเงินยูโร มานับตั้งแต่ต้นปี (รอยเตอร์)
2. เศรษฐกิจเยอรมนีในปี 49 มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น รายงานจากกรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี
เมื่อวันที่ 19 ธ.ค.48 รัฐบาลเยอรมนีเปิดเผยว่า อาจจะปรับเพิ่มประมาณการอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของ
เยอรมนีในปี 49 จากที่เคยคาดการณ์ไว้ที่ระดับร้อยละ 1.2 เนื่องจากเศรษฐกิจมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น แต่ก็ยังคง
กังวลเกี่ยวกับการบริโภคภาคเอกชนที่ยังอ่อนตัวอยู่ ซึ่งดูขัดแย้งกับราคาน้ำมันและอัตราการว่างงานที่ปรับตัวลดลง
แล้ว ทั้งนี้ ก่อนหน้านี้ Ifo สถาบันวิจัยทางเศรษฐกิจชั้นนำของประเทศได้ปรับเพิ่มประมาณการอัตราการเติบโต
ทางเศรษฐกิจของเยอรมนีจากร้อยละ 1.2 เป็นร้อยละ 1.7 โดย Ifo กล่าวว่าเศรษฐกิจของเยอรมนีมีสัญญาการ
ปรับตัวดีขึ้นอย่างชัดเจนหลังจากที่ซบเซามานานกว่า 5 ปี ซึ่งคาดว่าในปี 49 การลงทุนจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.9 ขณะ
ที่การส่งออกจะขยายตัวร้อยละ 7.5 เพิ่มขึ้นจากปีนี้ที่คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 6.2 ส่วนดัชนีชี้วัดบรรยากาศการลง
ทุนประจำเดือน ธ.ค. เพิ่มขึ้นใกล้แตะระดับสูงสุดในรอบกว่า 5 ปี ด้าน ก.เศรษฐกิจของเยอรมนีเปิดเผยว่า
การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องของเยอรมนียังคงต้องพึ่งพาการส่งออกเป็นปัจจัยสำคัญ ขณะที่ความต้องการ
บริโภคภายในประเทศเริ่มปรับตัวดีขึ้น แม้ทัศนคติของผู้บริโภคต่อภาวะเศรษฐกิจยังไม่สู้ดีนักก็ตาม (รอยเตอร์)
3. ราคาบ้านของอังกฤษในช่วง 3 เดือนสิ้นสุดเดือน พ.ย.48 เพิ่มขึ้นที่ระดับ +4 รายงาน
จากลอนดอน เมื่อ 20 ธ.ค.48 The Royal Institution of Chartered Surveyors เปิดเผยว่า ราคา
บ้านในอังกฤษในช่วง 3 เดือนสิ้นสุดเดือน พ.ย.48 เพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ +4 หลังจากที่ลดลงอยู่ที่ระดับ —8 ในเดือน
ต.ค.48 ทั้งนี้ราคาบ้านได้ลดลงต่อเนื่องกันถึง 15 เดือน ทำให้การเพิ่มขึ้นในครั้งนี้เป็นการเพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ
มากกว่า 1 ปี 3 เดือน และจากการที่ยอดขายบ้านเพิ่มขึ้นขณะที่จำนวนบ้านพร้อมขายมีจำนวนลดลง ส่งผลให้ผู้ซื้อ
บ้านเกิดความเสียโอกาสในตลาด โดยจำนวนยอดขายบ้านในเดือน พ.ย.48 เพิ่มขึ้นอยู่ในระดับสูงสุดตั้งแต่เดือน
ต.ค.47 อยู่ที่ระดับ 23.4 จากระดับ 22.8 ในเดือนก่อนหน้า สำหรับอัตราส่วนยอดขายบ้านต่อบ้านคงเหลือ ซึ่งนัก
เศรษฐศาสตร์นิยมนำมาเป็นเครื่องชี้วัดความต้องการที่อยู่อาศัย เพิ่มขึ้นอยู่ที่ร้อยละ 31.8 จากร้อยละ 30.8 ใน
เดือน ต.ค.48 อย่างไรก็ตาม แม้จะอยู่ในระดับที่ดี แต่ยังต่ำว่าอัตราเฉลี่ยระยะยาวที่อยู่ที่ร้อยละ 37 นอกจากนี้
ในเดือน พ.ย.จำนวนผู้ที่มีแนวโน้มว่าจะซื้อบ้านเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 6 อยู่ในอัตราที่ต่ำกว่าเดือนก่อนหน้า บ่ง
ชี้ว่าการลดอัตราดอกเบี้ยของธ.กลางอังกฤษเพื่อสนับสนุนราคาบ้านนั้นไม่ได้ผลมากนัก อย่างไรก็ตาม ข้อมูลจากผู้ซื้อ
บ้านใหม่ในนครลอนดอนพบว่า จำนวนผู้ซื้อบ้านใหม่ในเดือน พ.ย.48 เพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบมากกว่า 2 ปี และนับเป็น
เมืองที่ราคาบ้านเพิ่มขึ้นอย่างแข็งแกร่งเป็นประวัติการณ์ (รอยเตอร์)
4. ญี่ปุ่นจะปรับลดงบประมาณช่วยเหลือต่างประเทศลงในปีงบประมาณ 49/50 รายงานจาก
โตเกียว เมื่อวันที่ 20 ธ.ค. 48 รมว.คลังญี่ปุ่น เปิดเผยว่า ในปีงบประมาณ 49/50 ญี่ปุ่นจะปรับลดงบประมาณ
ช่วยเหลือต่างประเทศลงจากปีนี้ ร้อยละ 3.4 ส่วนหนึ่งเป็นความพยายามที่จะลดการใช้จ่ายภาครัฐลงเพื่อปรับปรุง
ฐานะการคลังในประเทศ ทั้งนี้ร่างงบประมาณในปีงบประมาณ 49/50 ซึ่งจะเริ่มในต้นเดือนเม.ย.ปีหน้า งบช่วย
เหลือต่างประเทศของญี่ปุ่นที่ตั้งไว้จะอยู่ที่ 759.70 พัน ล. เยน (6.54 พัน ล. ดอลลาร์ สรอ.) ลดลงจาก
786.20 พัน ล. เยน ในปีนี้ หรือลดลงจากปีนี้ร้อยละ 3.4 ทั้งนี้ที่ผ่านมางบช่วยเหลือต่างประเทศซึ่งรวมทั้งเงิน
บริจาคของญี่ปุ่น ได้ถูกปรับลดลงมาอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ปีงบประมาณ 43/44 เนื่องจากญี่ปุ่นต้องควบคุมภาระหนี้
สาธารณะที่เพิ่มสูงมากถึงร้อยละ 150 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (GDP) และสูงที่สุดในบรรดาประเทศ
อุตสาหกรรมชั้นนำทั้งหลาย (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 20 ธ.ค. 48 19 ธ.ค.48 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 40.941 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 40.7346/41.0300 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 4.06953 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 691.28/ 14.32 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 9,800/9,900 9,700/9,800 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 51.53 52.42 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 25.64*/23.09** 25.64*/23.09** 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับเพิ่ม 40 สตางค์ เมื่อ 15 ธ.ค. 48
** ปรับเพิ่ม 40 สตางค์ เมื่อ 15 ธ.ค. 48
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--