นายสมชัย สัจจพงษ์ รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวง การคลัง ได้แถลงผลการจัดเก็บรายได้รัฐบาลประจำเดือนธันวาคม 2547 และในช่วง 3 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2548 ซึ่งจัดเก็บได้สูงกว่าเป้าหมายอย่างต่อเนื่อง โดยจัดเก็บรายได้ สุทธิในช่วง 3 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2548 สูงกว่าประมาณการ 23,309 ล้านบาท หรือร้อยละ 9.9 และสูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 17.3 สะท้อนถึงการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งคาดการณ์แนวโน้มการจัดเก็บรายได้รัฐบาลปีงบประมาณ 2548 ว่าจะสามารถจัดเก็บได้ตามเป้าหมาย 1,200,000 ล้านบาท ตามเอกสารงบประมาณอย่างแน่นอน โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
1. เดือนธันวาคม 2547 รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิยังคงจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ โดยจัดเก็บได้รวม 84,662 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 3,655 ล้านบาท หรือร้อยละ 4.5 แต่ต่ำกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 18.9 เนื่องจากปีที่แล้วมีรายได้พิเศษจากการขายหุ้นให้กองทุนรวมวายุภักษ์ หนึ่ง จำนวน 25,075 ล้านบาท หากไม่รวมรายได้จากการขายหุ้นฯ ดังกล่าว การจัดเก็บรายได้ในเดือนนี้ จะสูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้ว 5,307 ล้านบาท หรือร้อยละ 6.7 โดยกรมสรรพากรและกรมศุลกากรจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการร้อยละ 8.1 และ 3.3 ตามลำดับ ในขณะที่กรมสรรพสามิตจัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณการร้อยละ 8.5 ทั้งนี้ เนื่องจากส่วนหนึ่งมาจากการปรับปรุงโครงสร้างภาษีรถยนต์ และส่วนหนึ่งมาจากมาตรการของภาครัฐในการณรงค์เมาไม่ขับ และการห้ามโฆษณาเบียร์ก่อน 4 ทุ่ม รวมทั้งการงดงานรื่นเริงและสังสรรค์ในช่วงเทศกาลปีใหม่สืบเนื่องจากกรณีธรณีพิบัติภัย (สึนามิ)
ภาษีที่เก็บได้สูงกว่าประมาณการที่สำคัญ ได้แก่
- ภาษีมูลค่าเพิ่มจัดเก็บได้ 30,106 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 1,937 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 6.9 (สูงกว่าปีที่แล้วร้อยละ 12.0)
- ภาษีเงินได้ปิโตรเลียมจัดเก็บได้ 1,764 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 1,422 ล้านบาท หรือร้อยละ 415.8 (สูงกว่าปีที่แล้วร้อยละ 308.3)
- ภาษีธุรกิจเฉพาะจัดเก็บได้ 2,500 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 691 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 38.2 (สูงกว่าปีที่แล้วร้อยละ 126.2)
นอกจากนี้ การนำส่งรายได้ของรัฐวิสาหกิจสูงกว่าประมาณการ 3,478 ล้านบาท เนื่องจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยได้นำส่งรายได้จำนวน 3,000 ล้านบาท (ตามประมาณการจะนำส่งในเดือนกุมภาพันธ์ 2548)
ส่วนภาษีที่เก็บได้ต่ำกว่าประมาณการที่สำคัญ ได้แก่
- ภาษีเบียร์จัดเก็บได้ 3,571 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการ 1,502 ล้านบาท หรือร้อยละ 29.6 (ต่ำกว่าปีที่แล้วร้อยละ 26.4)
- ภาษีสุราจัดเก็บได้ 2,471 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการ 852 ล้านบาท หรือร้อยละ 25.6 (ต่ำกว่าปีที่แล้วร้อยละ 23.5)
- ภาษีรถยนต์จัดเก็บได้ 5,836 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการ 769 ล้านบาท หรือร้อยละ 11.6 (สูงกว่าปีที่แล้วร้อยละ 5.2)
2. ในช่วง 3 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2548 (ตุลาคม — ธันวาคม 2547)
รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ 257,844 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 23,309 ล้านบาท หรือร้อยละ 9.9 และสูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 5.3 (หากไม่รวมรายได้จากการขายหุ้นให้กองทุนฯ สูงกว่าปีที่แล้วร้อยละ 17.3) โดยกรมสรรพากรและกรมศุลกากรจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ ร้อยละ 13.2 และ 6.3 ตามลำดับ ในขณะที่กรมสรรพสามิตจัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณการร้อยละ 4.9
ผลการจัดเก็บรายได้รัฐบาลจำแนกตามหน่วยงาน สรุปได้ ดังนี้
2.1 กรมสรรพากร จัดเก็บได้ 169,036 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 19,710 ล้านบาท หรือร้อยละ 13.2 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 19.3) เนื่องจากการจัดเก็บภาษีส่วนใหญ่สูงกว่าที่คาดไว้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีเงินได้นิติบุคคลจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ 10,109 และ 5,737 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 12.9 และ 16.7 ตามลำดับ
2.2 กรมสรรพสามิต จัดเก็บได้ 71,748 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการ 3,724 ล้านบาท หรือร้อยละ 4.9 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 4.6) เนื่องจากภาษีรถยนต์และภาษีเบียร์จัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณการ 2,789 และ 2,474 ล้านบาท หรือร้อยละ 15.4 และ 19.0 ตามลำดับ
2.3 กรมศุลกากร จัดเก็บได้ 29,099 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 1,712 ล้านบาท หรือร้อยละ 6.3 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 3.3) โดยอากรขาเข้าจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ 1,556 ล้านบาท หรือร้อยละ 5.8
2.4 หน่วยงานอื่น นำส่งคลัง 22,340 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 7,114 ล้านบาท หรือร้อยละ 46.7 แต่ต่ำกว่าปีที่แล้วจำนวน 19,331 ล้านบาท หรือร้อยละ 46.4 เนื่องจากปีที่แล้วมีรายได้จากการขายหุ้นให้กองทุนรวมวายุภักษ์ หนึ่ง จำนวน 25,075 ล้านบาท หากไม่รวมรายได้จากการขายหุ้นดังกล่าว จะสูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 34.6 ทั้งนี้ การนำส่งรายได้ของหน่วยงานอื่น ประกอบด้วย
- ส่วนราชการอื่น 14,609 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 1,875 ล้านบาท หรือร้อยละ 14.7 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 25.5)
- กรมธนารักษ์ 1,103 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 629 ล้านบาท หรือร้อยละ 132.7 ล้านบาท (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 145.7)
- แปรรูปรัฐวิสาหกิจ 1,087 ล้านบาท จากการขายหุ้นบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) (ตามประมาณการจะนำส่งในเดือนมีนาคม 2548)
- รัฐวิสาหกิจ 5,541 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 3,523 ล้านบาท หรือร้อยละ 174.6 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 23.0) เนื่องจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยนำส่งรายได้จำนวน 3,000 ล้านบาท (ตามประมาณการจะนำส่งในเดือนกุมภาพันธ์ 2548)
3. การคาดการณ์รายได้ของรัฐบาลปีงบประมาณ 2548
จากผลการจัดเก็บรายได้รัฐบาลในช่วง 3 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2548 ที่สูงกว่าประมาณการร้อยละ 9.9 ถึงแม้จะได้รับผลกระทบจากการปรับโครงสร้างภาษีสรรพสามิตรถยนต์ และการปรับลดภาษีสรรพากรทั้งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และภาษีเงินได้นิติบุคคล ตลอดจนการเกิดธรณีพิบัติภัยใน 6 จังหวัดภาคใต้ก็ตาม คาดว่ารัฐบาลจะยังคงสามารถจัดเก็บได้รายได้ตามเป้าหมาย 1,200,000 ล้านบาท ที่ตั้งไว้ในเอกสารงบประมาณ
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 4/2548 11 มกราคม 2548--
1. เดือนธันวาคม 2547 รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิยังคงจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ โดยจัดเก็บได้รวม 84,662 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 3,655 ล้านบาท หรือร้อยละ 4.5 แต่ต่ำกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 18.9 เนื่องจากปีที่แล้วมีรายได้พิเศษจากการขายหุ้นให้กองทุนรวมวายุภักษ์ หนึ่ง จำนวน 25,075 ล้านบาท หากไม่รวมรายได้จากการขายหุ้นฯ ดังกล่าว การจัดเก็บรายได้ในเดือนนี้ จะสูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้ว 5,307 ล้านบาท หรือร้อยละ 6.7 โดยกรมสรรพากรและกรมศุลกากรจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการร้อยละ 8.1 และ 3.3 ตามลำดับ ในขณะที่กรมสรรพสามิตจัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณการร้อยละ 8.5 ทั้งนี้ เนื่องจากส่วนหนึ่งมาจากการปรับปรุงโครงสร้างภาษีรถยนต์ และส่วนหนึ่งมาจากมาตรการของภาครัฐในการณรงค์เมาไม่ขับ และการห้ามโฆษณาเบียร์ก่อน 4 ทุ่ม รวมทั้งการงดงานรื่นเริงและสังสรรค์ในช่วงเทศกาลปีใหม่สืบเนื่องจากกรณีธรณีพิบัติภัย (สึนามิ)
ภาษีที่เก็บได้สูงกว่าประมาณการที่สำคัญ ได้แก่
- ภาษีมูลค่าเพิ่มจัดเก็บได้ 30,106 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 1,937 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 6.9 (สูงกว่าปีที่แล้วร้อยละ 12.0)
- ภาษีเงินได้ปิโตรเลียมจัดเก็บได้ 1,764 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 1,422 ล้านบาท หรือร้อยละ 415.8 (สูงกว่าปีที่แล้วร้อยละ 308.3)
- ภาษีธุรกิจเฉพาะจัดเก็บได้ 2,500 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 691 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 38.2 (สูงกว่าปีที่แล้วร้อยละ 126.2)
นอกจากนี้ การนำส่งรายได้ของรัฐวิสาหกิจสูงกว่าประมาณการ 3,478 ล้านบาท เนื่องจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยได้นำส่งรายได้จำนวน 3,000 ล้านบาท (ตามประมาณการจะนำส่งในเดือนกุมภาพันธ์ 2548)
ส่วนภาษีที่เก็บได้ต่ำกว่าประมาณการที่สำคัญ ได้แก่
- ภาษีเบียร์จัดเก็บได้ 3,571 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการ 1,502 ล้านบาท หรือร้อยละ 29.6 (ต่ำกว่าปีที่แล้วร้อยละ 26.4)
- ภาษีสุราจัดเก็บได้ 2,471 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการ 852 ล้านบาท หรือร้อยละ 25.6 (ต่ำกว่าปีที่แล้วร้อยละ 23.5)
- ภาษีรถยนต์จัดเก็บได้ 5,836 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการ 769 ล้านบาท หรือร้อยละ 11.6 (สูงกว่าปีที่แล้วร้อยละ 5.2)
2. ในช่วง 3 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2548 (ตุลาคม — ธันวาคม 2547)
รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ 257,844 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 23,309 ล้านบาท หรือร้อยละ 9.9 และสูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 5.3 (หากไม่รวมรายได้จากการขายหุ้นให้กองทุนฯ สูงกว่าปีที่แล้วร้อยละ 17.3) โดยกรมสรรพากรและกรมศุลกากรจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ ร้อยละ 13.2 และ 6.3 ตามลำดับ ในขณะที่กรมสรรพสามิตจัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณการร้อยละ 4.9
ผลการจัดเก็บรายได้รัฐบาลจำแนกตามหน่วยงาน สรุปได้ ดังนี้
2.1 กรมสรรพากร จัดเก็บได้ 169,036 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 19,710 ล้านบาท หรือร้อยละ 13.2 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 19.3) เนื่องจากการจัดเก็บภาษีส่วนใหญ่สูงกว่าที่คาดไว้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีเงินได้นิติบุคคลจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ 10,109 และ 5,737 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 12.9 และ 16.7 ตามลำดับ
2.2 กรมสรรพสามิต จัดเก็บได้ 71,748 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการ 3,724 ล้านบาท หรือร้อยละ 4.9 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 4.6) เนื่องจากภาษีรถยนต์และภาษีเบียร์จัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณการ 2,789 และ 2,474 ล้านบาท หรือร้อยละ 15.4 และ 19.0 ตามลำดับ
2.3 กรมศุลกากร จัดเก็บได้ 29,099 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 1,712 ล้านบาท หรือร้อยละ 6.3 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 3.3) โดยอากรขาเข้าจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ 1,556 ล้านบาท หรือร้อยละ 5.8
2.4 หน่วยงานอื่น นำส่งคลัง 22,340 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 7,114 ล้านบาท หรือร้อยละ 46.7 แต่ต่ำกว่าปีที่แล้วจำนวน 19,331 ล้านบาท หรือร้อยละ 46.4 เนื่องจากปีที่แล้วมีรายได้จากการขายหุ้นให้กองทุนรวมวายุภักษ์ หนึ่ง จำนวน 25,075 ล้านบาท หากไม่รวมรายได้จากการขายหุ้นดังกล่าว จะสูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 34.6 ทั้งนี้ การนำส่งรายได้ของหน่วยงานอื่น ประกอบด้วย
- ส่วนราชการอื่น 14,609 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 1,875 ล้านบาท หรือร้อยละ 14.7 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 25.5)
- กรมธนารักษ์ 1,103 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 629 ล้านบาท หรือร้อยละ 132.7 ล้านบาท (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 145.7)
- แปรรูปรัฐวิสาหกิจ 1,087 ล้านบาท จากการขายหุ้นบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) (ตามประมาณการจะนำส่งในเดือนมีนาคม 2548)
- รัฐวิสาหกิจ 5,541 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 3,523 ล้านบาท หรือร้อยละ 174.6 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 23.0) เนื่องจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยนำส่งรายได้จำนวน 3,000 ล้านบาท (ตามประมาณการจะนำส่งในเดือนกุมภาพันธ์ 2548)
3. การคาดการณ์รายได้ของรัฐบาลปีงบประมาณ 2548
จากผลการจัดเก็บรายได้รัฐบาลในช่วง 3 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2548 ที่สูงกว่าประมาณการร้อยละ 9.9 ถึงแม้จะได้รับผลกระทบจากการปรับโครงสร้างภาษีสรรพสามิตรถยนต์ และการปรับลดภาษีสรรพากรทั้งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และภาษีเงินได้นิติบุคคล ตลอดจนการเกิดธรณีพิบัติภัยใน 6 จังหวัดภาคใต้ก็ตาม คาดว่ารัฐบาลจะยังคงสามารถจัดเก็บได้รายได้ตามเป้าหมาย 1,200,000 ล้านบาท ที่ตั้งไว้ในเอกสารงบประมาณ
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 4/2548 11 มกราคม 2548--